*เคี่ยว* แปลว่าอะไร ดูความหมาย ตัวอย่างประโยค หมายความว่า พจนานุกรม Longdo Dictionary แปลภาษา คำศัพท์
×
Dictionaries languages







English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


102 ผลลัพธ์ สำหรับ *เคี่ยว*
ภาษา
หรือค้นหา: เคี่ยว, -เคี่ยว-

มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
เคี่ยว(v) simmer, See also: boil, cook, Syn. ต้ม, Example: แม่ค้าก๋วยเตี๋ยวเคี่ยวเนื้อจนเปื่อย, Thai Definition: ต้มให้เดือดนานๆ เพื่อให้งวดให้เปื่อย
ขับเคี่ยว(v) fight, See also: deal with, contend with, Syn. แข่งขัน, ต่อสู้, Example: ทั้งคู่ต้องมาขับเคี่ยวกันในงานซีไรท์ปีนี้อย่างไม่เต็มใจเท่าไหร่, Thai Definition: ต่อสู้หรือแข่งขันกันไปจนถึงที่สุด หรือจนแพ้ชนะไปข้างหนึ่ง
เคี่ยวเข็ญ(v) drive, See also: compel, force, urge, encourage, Syn. บังคับ, ผลักดัน, Ant. ละเลย, ไม่สนใจ, Example: แม่เคี่ยวเข็ญน้องให้ทำการบ้าน, Thai Definition: บีบบังคับ, บีบคั้นให้ได้ความลำบาก

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ขบเขี้ยวเคี้ยวฟันก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทำอะไรเขาไม่ได้.
ของขบเคี้ยวน. ของกินเล่นที่ไม่เจตนากินให้อิ่ม.
ขับเคี่ยวก. เร่งรัด, ต่อสู้หรือแข่งขันกันไปจนถึงที่สุด หรือจนแพ้ชนะไปข้างหนึ่ง.
คดเคี้ยวว. คดไปคดมา, ลดเลี้ยว, วกไปวกมา.
เคี่ยวก. ต้มให้เดือดนาน ๆ เพื่อให้งวด ข้น หรือเปื่อยเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า รํ่าไป, ไม่หยุดหย่อน, เช่น อันซึ่งพระรามฤทธิรงค์ มาเคี่ยวฆ่าวงศ์ยักษี (รามเกียรติ์ ร. ๑).
เคี่ยวขันก. พยายามต่อสู้หรือแข่งขันด้วยความลำบาก.
เคี่ยวขับก. เร่งรัด, พยายามให้ถึงที่สุด.
เคี่ยวเข็ญก. บีบบังคับ, บีบคั้นให้ได้รับความลำบาก เช่น เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย (พระราชนิพนธ์ ร. ๖)
เคี่ยวเข็ญบังคับให้ทำงานให้มากขึ้น เช่น เคี่ยวเข็ญให้ขยันหมั่นเพียรในการเล่าเรียน.
เคี้ยว ๑ก. บดให้แหลกด้วยฟัน.
เคี้ยวฟันก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทำอะไรเขาไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข่นเขี้ยว เป็น เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน.
เคี้ยวเอื้องก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสำรอกอาหารออกมาเคี้ยวอีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า ๆ, บดเอื้อง ก็ว่า.
เคี้ยว ๒ว. คด เช่น นํ้าเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม (โลกนิติ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคำ คด เป็น คดเคี้ยว.
ชั่วเคี้ยวหมากจืดน. เวลาประมาณ ๒๐-๓๐ นาที (มาจากระยะเวลาในการเคี้ยวหมาก ๑ คำ ตั้งแต่เริ่มเคี้ยวจนหมากจืดหมดคำ จึงคายชานหมากทิ้ง), พูดเพี้ยนเป็น ชั่วเคี้ยวหมากแหลก ก็มี.
ชั่วเคี้ยวหมากแหลกดู ชั่วเคี้ยวหมากจืด.
ยาเคี้ยวน. ส่วนใดส่วนหนึ่งของใบยาแห้ง นอกจากใบยาแห้งพันธุ์ยาสูบพื้นเมือง ซึ่งได้ปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำเพื่ออมหรือเคี้ยว.
กรวบ, กร๊วบ(กฺรวบ, กฺร๊วบ) ว. เสียงดังอย่างเคี้ยวถูกของแข็งหรือของกรอบ.
กร้วมว. เสียงดังอย่างเคี้ยวสิ่งของที่เปราะให้แตก หรือเสียงของแข็งกระทบกันอย่างแรง
กรอบเค็มน. ชื่อขนมทำด้วยแป้งหมี่นวดกับน้ำมัน ตัดเป็นแผ่นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ริมเป็นจัก ๆ ทอดให้กรอบ เคล้ากับน้ำตาลเคี่ยว ใส่เกลือ และรากผักชี กระเทียมพริกไทยโขลก มีรสหวานเค็ม.
กร๊อบ(กฺร๊อบ) ว. เสียงดังอย่างเคี้ยวของแข็งหรือของกรอบ.
กระจงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Tragulidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่เล็กที่สุด กระเพาะมี ๓ ส่วน รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวบนที่แหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย [ Tragulus napu (Cuvier) ] สูงประมาณ ๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก [ T. javanicus (Osbeck) ] สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้.
กระดาก ๒ก. กระเดาะ, กระดก, เช่น สิ้นทั้งพันปากกระดากลิ้น, สิบปากกระดากลิ้นเคี้ยวฟัน (รามเกียรติ์ ร. ๑).
กระบูนเลือดน. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง หัวและต้นดั่งขมิ้นอ้อย ต้นและใบเขียว หัวขนาดหัวเผือก กลมเกลี้ยงเป็นมัน มีปล้องห่าง ๆ เนื้อขาว ฉุนร้อน ถ้าเคี้ยวจะทำให้ฟันโยก เชื่อกันว่าใช้ฝนกับนํ้าปูนใสหรือต้มเสียก่อนก็ได้ กินแก้ดานเลือด ดานลม และกระชับมดลูกให้แห้งสนิท.
กราม(กฺราม) น. ฟันที่ใช้บดเคี้ยวอาหาร.
กรำ(กฺรำ) ว. ตรำ, ฝ่า, สู้ทนลำบาก, เช่น กรำแดด กรำฝน, เคี่ยวเข็ญเย็นคํ่ากรำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย (พระราชนิพนธ์ ร. ๖).
กรุบ(กฺรุบ) ว. เสียงดังเช่นนั้นเมื่อเคี้ยวของแข็งที่พอเคี้ยวได้เช่นกระดูกอ่อน ข้อไก่.
กล้อมแกล้ม(กฺล้อมแกฺล้ม) ก. เคี้ยวไม่ทันแหลกแล้วรีบกลืน, เคี้ยวไม่ถนัด
กลีบมะเฟืองน. ชื่อเรียกกระเพาะอาหารกระเพาะที่ ๔ ของสัตว์เคี้ยวเอื้องเช่นวัวควาย เยื่อบุภายในมีลักษณะเป็นกลีบห่าง ๆ คล้ายกลีบมะเฟือง.
กวน ๒ก. คนให้ทั่วกันหรือให้วนไปโดยรอบ เช่น กวนนํ้า, คนให้เข้ากัน, เคี่ยวและคนให้เข้ากันจนข้น, เช่น กวนขนม กวนกาละแม.
กวน ๒น. เรียกของกินที่ทำด้วยผลไม้เป็นต้น เคี่ยวกับนํ้าตาลแล้วคนให้เข้ากันจนข้น เช่น ขนมกวน ทุเรียนกวน สับปะรดกวน.
กวยจี๊น. เมล็ดแตงโมต้มแล้วตากให้แห้ง ใช้ขบเคี้ยว.
กวาง ๑(กฺวาง) น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Cervidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องกีบคู่ มีหลายชนิด รูปร่างลำตัวเพรียว คอยาว ขายาว หางสั้น ตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้ ผลัดเขาปีละครั้ง ชนิดที่พบทั้งตัวผู้และตัวเมียมีเขา ได้แก่ กวางเรนเดียร์ [ Rangifer tarandus (Linn.) ] ชนิดที่ตัวเมียไม่มีเขา ได้แก่ กวางป่าหรือกวางม้า ( Cervus unicolor Kerr) ส่วนพวกที่ตัวผู้และตัวเมียไม่มีเขา ได้แก่ กวางชะมด (Moschus spp.) และกวางวอเตอร์เดียร์ ( Hydropotes inermis Swinhoe).
กะล่อมกะแล่มก. เคี้ยวไม่ทันแหลกแล้วรีบกลืน, เคี้ยวไม่ถนัด
กาว ๑น. ของเหนียวที่เคี่ยวมาจากเอ็น หนัง กีบสัตว์ เป็นต้น สำหรับใช้ติดหรือผนึกสิ่งของ.
กินก. เคี้ยว เช่น กินหมาก, เคี้ยวกลืน เช่น กินข้าว, ดื่ม เช่น กินนํ้า, ทำให้ล่วงลำคอลงไปสู่กระเพาะ
กุย ๑น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Saiga tatarica (Linn.) ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง หัวใหญ่ ตัวอ้วน มีเขาเฉพาะตัวผู้ รูปร่างคล้ายพิณฝรั่ง สีขาวนวลโปร่งแสง มีวงเป็นข้อนูนต่อเนื่องกันจากโคนถึงปลาย จมูกลักษณะคล้ายกระเปาะ พองมีสันตามยาว หางสั้นมาก มีถิ่นกำเนิดในแถบไซบีเรียตอนใต้ มองโกเลียตะวันตก และจีนตะวันตกเฉียงเหนือ ไม่พบในประเทศไทย เขามีราคาแพง ใช้ทำยาได้.
เกรียด(เกฺรียด) ว. เสียงเขียดร้อง เช่น เสียงกรอดเกรียดเขียดกบเข้าขบเคี้ยว (นิ. เพชร).
แกะ ๑น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Ovis วงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องรูปร่างคล้ายแพะ แต่ไม่มีเครา มีเขา ๑ คู่ ไม่ผลัดเขา มีขนาดใหญ่โค้งงอ ปลายบิดไปข้างหน้า โคนเขาถึงประมาณกลางเขามีวงนูนลักษณะคล้ายพาลี ขนบนลำตัวยาวและอ่อนนุ่ม ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม ชนิดที่นำเลี้ยง ได้แก่ ชนิดย่อย Ovis amon aries Linn.
ขบฉันก. เคี้ยวกิน (ใช้แก่นักบวช).
ขอบกระด้งน. ชื่อเรียกกระเพาะอาหารกระเพาะแรกของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่นวัวควาย มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวน ๔ กระเพาะ เยื่อบุภายในมีสันคล้ายขอบกระด้ง.
ขัช, ขัชกะ(ขัด, ขัดชะกะ) น. อาหารควรเคี้ยว เช่น ตั้งขัชกโภชนาหาร (ม. ร่ายยาว ชูชก).
ขาทนียะ(ขาทะ-) น. อาหารควรเคี้ยว, มักใช้เข้าคู่กับคำ โภชนียะ เป็น ขาทนียโภชนียะ หมายความว่า อาหารที่ควรเคี้ยวและอาหารที่ควรบริโภค.
ข้าวยาคูน. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทำด้วยเมล็ดข้าวอ่อนตำแล้วคั้นเอานํ้าตั้งไฟจนสุก ใส่น้ำตาล เรียกว่า ข้าวยาคูน้ำ, ถ้าเคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า ข้าวยาคูแห้ง.
ขี้โล้กะทิที่เคี่ยวจนเป็นน้ำมันใช้ทำอาหารบางอย่าง.
ขี้อ้ายน. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Terminalia tripteraStapf ในวงศ์ Combretaceae เปลือกชั้นในสีแสด รสฝาด ใช้เคี้ยวกับหมาก, กำจาย ก็เรียก, จันทบุรีเรียก หอมกราย.
เข่นเขี้ยวก. กัดฟันด้วยความโกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคำ เคี้ยวฟัน เป็น เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน.
ไข่จิ้งหรีดน. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทำด้วยข้าวตากคั่วจนพองเหลืองกวนกับนํ้าตาลปีบที่เคี่ยวเหนียว บางทีโรยมะพร้าวขูดด้วย.
ไข่ลูกเขยน. อาหารของคาวทำด้วยไข่ต้มทั้งลูก ปอกเปลือกแล้วทอดนํ้ามัน เคล้ากับนํ้าตาลนํ้าปลาที่เคี่ยวจนงวด, (โบ) ไข่ญี่ปุ่น.
ครองแครง(คฺรองแคฺรง) น. ชื่อขนมทำด้วยแป้งกดบนพิมพ์ที่เป็นรอยริ้ว ๆ คล้ายฝาหอยแครง ต้มกับกะทิ, ถ้าทอดกรอบเคล้านํ้าตาลเคี่ยว เรียกว่า ครองแครงกรอบ.
ควาย(คฺวาย) น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Bubalus bubalis Linn. ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดใหญ่กีบคู่ ลำตัวสีดำหรือเทา เขาโค้งยาว ไม่ผลัดเขา ที่ใต้คางและหน้าอกมีขนขาวเป็นรูปง่าม ครึ่งล่างของขาทั้งสี่มีขนสีขาวหรือขาวอมเทา

ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
exhortationการบีบบังคับ, การเคี่ยวเข็ญ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Neutralization, Neutrality หรือ Neutralismคำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต]
Potsdam Proclamationคือคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม ออกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 โดยหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน ลงนามโดยประธานาธิบดีของรัฐบาลจีนคณะชาติ เป็นคำประกาศเมื่อตอนใกล้จะเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฝ่ายสัมพันธมิตรดังกล่าวกำลังทำสงครามขับเคี่ยวอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่น พึงสังเกตว่า สหภาพโซเวียต ในตอนนั้นมิได้มีส่วนร่วมในการออกคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดมแต่อย่างใดโดยแท้จริงแล้ว คำประกาศนี้เท่ากับเป็นการยื่นคำขาดให้ฝ่ายญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกเอาว่าจะทำ การสู้รบต่อไป หรือจะยอมจำนนเพื่อยุติสงคราม คำประกาศได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า หากญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะสู้รบต่อไป แสนยานุภาพอันมหาศาลของสัมพันธมิตรก็จะมุ่งหน้าโจมตีบดขยี้กองทัพและประเทศ ญี่ปุ่นให้แหลกลาญ แต่หากว่าญี่ปุ่นยอมโดยคำนึงถึงเหตุผล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ตั้งเงื่อนไขไว้หลายข้อ สรุปแล้วก็คือ ลัทธิถืออำนาจทหารเป็นใหญ่จะต้องถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปจากโลกอำนาจและอิทธิพล ของบรรดาผู้ที่ชักนำให้พลเมืองญี่ปุ่นหลงผิด โดยกระโจนเข้าสู่สงครามเพื่อครองโลกนั้น จะต้องถูกทำลายให้สิ้นซาก รวมทั้งพลังอำนาจในการก่อสงครามของญี่ปุ่นด้วยจุดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด จะต้องถูกยึดครองไว้จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของสัมพันธมิตรเป็นผล สำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นให้จำกัดอยู่เฉพาะภายในเกาะฮอนซู ฮ็อกไกโด กิวชู ชิโกกุ และเกาะเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด อาชญากรสงครามทุกคนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาล รวมทั้งที่ทำทารุณโหดร้ายต่อเชลยศึกของสัมพันธมิตร รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องกำจัดสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่เป็นอุปสรรคต่อการรื้อฟื้น และเสริมสร้างความเชื่อถือในหลักประชาธิปไตยในระหว่างพลเมืองญี่ปุ่น และจัดให้มีเสรีภาพในการพูด การนับถือศาสนา และในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมที่จะเกื้อกูลต่อภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถที่จะชำระค่าปฏิกรรมสงคราม แต่จะไม่ยอมให้คงไว้ซึ่งกิจการอุตสาหกรรมชนิดที่จะช่วยให้ญี่ปุ่นสร้างสม อาวุธเพื่อทำสงครามขึ้นมาอีก ในทีสุด กำลังทหารสัมพันธมิตรจะถอนตัวออกจากประเทศญี่ปุ่นในทันทีที่จุดประสงค์ต่าง ๆ ได้บรรลุผลเรียบร้อยแล้ว ในตอนท้ายของเงื่อนไข สัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เสียโดยไว [การทูต]
Caramelน้ำตาลไหม้, น้ำตาลเคี่ยวไหม้, สีที่ได้จากการนำน้ำตาลมาเผาเป็นน้ำตาลเคี่ยวไหม้ [การแพทย์]

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
ขนมขบเคี้ยว[khanom khop khīo] (n, exp) EN: ?  FR: ?
เคี่ยว[khīo] (v) EN: simmer ; boil ; cook  FR: mijoter ; mitonner
เคี้ยว[khīo] (v) EN: chew ; grind ; masticate ; crush ; manducate  FR: mastiquer ; mâcher ; chiquer
เคี้ยวเอื้อง[khīo-eūang] (v) EN: ruminate ; chew the cud  FR: ruminer
เคี้ยวฟัน[khīo fan] (v, exp) EN: grind one's teeth ; grate  FR: grincer des dents
เคี่ยวเข็ญ[khīokhen] EN: drive ; compel ; force ; urge ; encourage
คดเคี้ยว[khotkhīo] (v) EN: crook ; wind ; twist ; curve
คดเคี้ยว[khotkhīo] (adj) FR: sinueux ; tortueux
ทันตกรรมบดเคี้ยว[thantakam bot khīo] (n, exp) EN: occlusion

Longdo Approved EN-TH
casserole(n) ชามก้นลึกหรือหม้อสำหรับอบหรือปิ้ง, อาหารอบหรือปิ้งจากภาชนะดังกล่าว, ชามเล็กๆ ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ, หม้อที่มีฝาปิดสำหรับต้มหรือเคี่ยว เช่น In the casserole dish, heat the water with the salt and pepper.

NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
braise(vt) เคี่ยว
grind into(phrv) ยัดเยียด, See also: เคี่ยวเข็ญ, Syn. hammer into
macerate(vt) ทำให้เปื่อย, See also: ทำให้ยุ่ย, เคี่ยวจนเปื่อย, Syn. steep
poach(vt) เคี่ยวอาหาร, See also: ต้ม, เคี่ยว, Syn. boil, steam, coddle
press(vt) กดดันผู้อื่นให้ทำบางสิ่งบางอย่าง, See also: เคี่ยวเข็ญ, กระตุ้น, Syn. depress, deject, discourage, Ant. elate, hearten
reduce(vt) เคี่ยวจนข้น, See also: ทำให้เข้มข้นขึ้น, Syn. thicken
simmer(vi) ตุ๋น, See also: เคี่ยว, Syn. stew, seethe, steam
simmer(vt) ตุ๋น, See also: เคี่ยว, Syn. stew, seethe, steam
simmer(n) การเคี่ยว
stew(vt) เคี่ยว, See also: ตุ๋น
stewed(adj) ซึ่งเคี่ยวแล้ว
simmer down(phrv) เคี่ยวให้ค่อยๆ เดือด, See also: ต้มให้ค่อยๆ เดือด
stew in(phrv) ต้มด้วยไฟอ่อนๆ, See also: เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ

Hope Dictionary
casseroln. ชามหรือหม้ออบหรือปิ้ง, หม้อมีฝาปิดสำหรับต้มและเคี่ยว
decoct(ดิคอคทฺ') vt.ต้มยา, เคี่ยวยา, ผสม, ประดิษฐ์
decoction(ดิคอค'เชิน) n. การต้มยา, การเคี่ยวยา, ยาต้ม., See also: decoctive adj. ดูdecoction, Syn. condensation
exhort(เอคซอร์ทฺ') v. เคี่ยวเข็ญ, แนะนำ, ตักเตือน, สนับสนุน., See also: exhortation n. exhorter n.
extort(อิคซฺทอร์ทฺ') vt. ขู่เข็ญ, บีบบังคับ, กรรโชก, เคี่ยวเข็ญ., See also: extorter n. extortive adj.
extortion(อิคซฺทอร์'เชิน) n. การขู่เข็ญ, การบีบบังคับ, การกรรโชก, การเคี่ยวเข็ญ., See also: extortionary adj., Syn. blackmail
gelatin(เจล'ละทิน) n. โปรตีนวุ้นที่ได้จากการเคี่ยวหนังหรือกระดูกสัตว์., Syn. gelatine
grind(ไกรดฺ) { ground, grinding, grinds } vt., vi., n. (การ) ฝน, บด, โม่, ถูอย่างแรง, บรรเลงเพลงดังลั่น, กดขี่, เคี่ยวเข็ญ, รบกวน, เสียงฝน, งานหนัก, นักเรียนที่ขยันมากผิดปกติ, ระบำส่ายตะโพก., See also: grindable adj. grindingly adv., Syn. cr
simmer(ซิม'เมอะ) vt., vi., n. (การ) เคี่ยว, ตุ๋น, ต้ม, เดือดกรุ่น ๆ , ต้มอาหารให้ร้อนต่ำกว่าจุดเดือดหน่อย, simmer down สงบใจ, สงบจิต., See also: simmeringly adv., Syn. seethe
stew(สทิว) vt. ตุ๋น, เคี่ยว, ต้มอาหารโดยใช้ไฟอ่อน ๆ vi. ตุ๋น, เคี่ยวต้มโดยใช้ไฟอ่อน ๆ , กังวลใจ, ร้อนใจ, กลัดกลุ้ม, -Phr. (stew in one's own juice ได้ผลจากการกระทำของตัวเอง) n. อาหารตุ๋น, อาหารเคี่ยว, เนื้อเปื่อย, การกังวลใจ, ความร้อนใจ, stews สภาพที่อยู่แวดล้อมที่ยัดเยีย

Nontri Dictionary
compel(vt) บังคับ, ผลักดัน, ขู่เข็ญ, เคี่ยวเข็ญ, เกณฑ์
decoct(vt) ผสมขึ้น, ต้มยา, เคี่ยวยา, สกัดยา
exhort(vt) คะยั้นคะยอ, เคี่ยวเข็ญ, แนะนำ, สนับสนุน
exhortation(n) การคะยั้นคะยอ, การแนะนำ, การเคี่ยวเข็ญ
extort(vt) บีบคั้น, รีดไถ, ขู่เข็ญ, บีบบังคับ, ขู่กรรโชก, เคี่ยวเข็ญ
force(vt) บังคับ, ขับเคี่ยว, คาดคั้น, ฝืนใจ, ดัน, รุน
forced(adj) ฝืน, ยัดเยียด, ถูกบังคับ, หักโหม, ขับเคี่ยว
simmer(vi, vt) กรุ่นๆ, เคี่ยวให้เดือด, หัวเราะคิกๆ
stew(n) อาหารที่เคี่ยวนาน
stew(vt) ตุ๋น, เคี่ยว, ทำให้เปื่อย

Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
contendขับเคี่ยวกัน

Saikam JP-TH-EN Dictionary
駆る[かる, karu] TH: เคี่ยวเข็ญ  EN: to spur on

ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ

Time: 0.6287 seconds
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม