474 ผลลัพธ์ สำหรับ *มอบ*
ภาษา
หรือค้นหา: มอบ, -มอบ-Longdo Unapproved TH - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
trade terms | [เทรด เทอมส] (n) "ข้อตกลงในการส่งมอบสินค้า" ยังไม่เจาะจงลงไปว่าเป็นแหล่งอ้างอิงจากชื่อใด เข่น AFTD: American Foreign Trade Definition หรือ RWO: Rules of Warsaw and Oxford หรือ GCDM: General Conditions for Delivery of Merchandise หรือ Combiterms หรือ Incoterms ซึ่งในแต่ละแหล่งอ้างอิงมี Terms ให้ใช้คล้ายกัน เช่น Ex Works, FOB หรือ CIF เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แหล่งอ้างอิงที่เสถียรในเรื่องค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงในการส่งมอบ คือแหล่ง Incoterms ทำให้หลายแหล่ง เช่น ล่าสุดทางอเมริกา ประกาศยกเลิก ธรรมนูญการค้าหรือ UCC บางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้าของตน ซึ่ง UCC นี้เองได้เป็นฐานในการกำหนดงเป็น AFTD ล่าสุดอเมริกาและแทบทั้งโลกมาขอใช้ร่วมกับ Incoterms ของ ICC International Chamber of Commerce, Paris, France นี้ เป็นมีการกำหนดจุดรับภาระที่แน่นอนกว่า |
ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ | [ชุ-ติ-กาญน์ ศรี-วิ-บูลย์] (n, name) รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รับมอบยาฟ้าทะลายโจร จํานวน ๕๐๐ ขวด จากคุณปรินดา ตั้งวิรุฬธรรม ผู้จัดการบริษัทฉมา แอ็สเซ็ท ในวันศุกร์ที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๕ เพื่อนําไปใช้ในการดูแลสุขภาพของบุคลากร และประชาชนทั่วไปในคลินิคแพทย์แผนไทยวังสวนสุนันทา |
Longdo Unapproved TH - EN
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: N | [มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: N] (n, vi, vt, modal, verb, aux, verb, adj, adv, prep, conj, pron, phrase, jargon, slang, colloq, vulgar, abbrev, name, o) มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: Norma Jeane Mortenson) เกิดวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1926 – 5 สิงหาคม ค.ศ. 1962) เป็นอดีตนักแสดง นักร้อง นางแบบชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงจากบทบาท "dumb blonde" เธอกลายเป็นสัญลักษณ์ทางเพศที่ได้รับความนิยมในคริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นสัญลักษณ์ของทัศนคติที่มีต่อเพศแห่งยุค แม้ว่าเธอได้เป็นนักแสดงระดับต้น ๆ เพียงแค่หนึ่งทศวรรษ ภาพยนตร์ของเธอทำรายได้ได้ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐก่อนที่เธอจะเสียชีวิตอย่างไม่คาดคิดใน ค.ศ. 1962[ 1 ] เธอยังถือว่าเป็นสัญรูปของวัฒนธรรมสมัยนิยมหลัก ๆ นับแต่นั้นมา[ 2 ] มอนโรเกิดและเติบโตในลอสแอนเจลิส วัยเด็กเธออาศัยอยู่ในบ้านรับเลี้ยงเด็ก และสถานเด็กกำพร้า และสมรสครั้งแรกเมื่ออายุ 16 ปี ขณะทำงานในโรงงานเป็นส่วนหนึ่งของกำลังสงคราม ใน ค.ศ. 1944 เธอพบกับช่างภาพคนหนึ่ง และเริ่มทำอาชีพนางแบบ งานของเธอทำให้เธอได้เซ็นสัญญากับภาพยนตร์ขนาดสั้น 2 เรื่องกับค่ายทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ (1946-1947) และโคลัมเบียพิกเจอส์ (1948) หลังจากรับบทย่อยในภาพยนตร์จำนวนหนึ่ง เธอเซ็นสัญญาใหม่กับฟอกซ์ใน ค.ศ. 1951 เธอกลายเป็นนักแสดงที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วด้วยบทบาทตลกขบขันหลายบทบาท เช่นในเรื่อง แอสยังแอสยูฟีล (1951) และมังกีบิสเนส (1952) และในภาพยนตร์ดรามาเรื่อง แคลชบายไนต์ (1952) และ โดนต์บาเดอร์ทูน็อก (1952) มอนโรเผชิญหน้ากับข่าวลือหลังจากมีการเปิดเผยว่าเธอเคยถ่ายแบบเปลือยก่อนมาเป็นนักแสดง แต่แทนที่จะทำลายอาชีพเธอ มันกลับทำรายได้ให้กับบอกซ์ออฟฟิศ ก่อน ค.ศ. 1953 มอนโรเป็นหนึ่งในดาราฮอลลิวูดที่มีบทบาทนำในภาพยนตร์ 3 เรื่อง ได้แก่ ฟิล์มนัวร์ เรื่อง ไนแอการา (ภาพยนตร์ ค.ศ. 1953)|ไนแอการา ซึ่งมุ่งจุดสนใจที่เสน่ห์ทางเพศของเธอ และภาพยนตร์ตลกเรื่อง เจนเทิลเม็นพรีเฟอร์บลอนส์ และ ฮาวทูแมร์รีอะมิลเลียนแนร์ ซึ่งสร้างภาพลักษณ์ให้เธอเป็น "dumb blonde" แม้ว่าเธอจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างและจัดการภาพลักษณ์สาธารณะของเธอตลอดอาชีพการทำงาน เธอรู้สึกผิดหวังต่อสตูดิโอที่ไทป์แคสต์ และการให้ค่าตัวเธอต่ำไป เธอถูกพักงานเป็นช่วงสั้น ๆ ในต้นปี ค.ศ. 1954 เนื่องจากเธอปฏิเสธโครงการทำภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง แต่กลับมาเป็นดาราในภาพยนตร์เรื่องที่ประสบความสำเร็จที่สุดเรื่องหนึ่งคือ เดอะเซเวนเยียร์อิตช์ (1955) เมื่อสตูดิโอยังลังเลที่จะเปลี่ยนแปลงสัญญาของเธอ มอนโรก่อตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ใน ค.ศ. 1954 ชื่อ มาริลิน มอนโร โพรดักชันส์ (MMP) ขณะก่อสร้างบริษัท เธอเริ่มศึกษาการแสดงที่แอกเตอส์สตูดิโอ ในปลายปี ค.ศ. 1955 ฟอกซ์มอบฉันทะให้เธอควบคุมและให้เงินเดือนสูงขึ้น หลังจากได้รับคำสรรเสริญจากการแสดงในเรื่อง บัสสต็อป (1956) และการแสดงในภาพยนตร์อิสระเรื่องแรกของบริษัท MMP เรื่อง เดอะพรินซ์แอนด์เดอะโชว์เกิร์ล (1957) เธอได้รับรางวัลลูกโลกทองคำจากเรื่อง ซัมไลก์อิตฮอต (1959) ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของเธอที่ถ่ายทำจนเสร็จคือเรื่อง เดอะมิสฟิตส์ (1961) |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
มอบ | (v) fasten, See also: smoothen, Example: ฉันกับน้องช่วยกันมอบปากกระทงให้ดูเรียบร้อยสวยงาม, Thai Definition: ทำให้แน่นหรือให้เรียบด้วยการหุ้มหรือขลิบตามริม เช่น มอบปากกระทง |
มอบ | (v) give, See also: bestow, grant, hand out, Syn. ให้, ส่งให้, ส่งมอบ, ยกให้, มอบให้, Example: นักโบราณคดีได้มอบทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งมีมากมายมหาศาลให้กับทางราชการ, Thai Definition: สละให้หรือยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ |
มอบ | (n) muzzle, Example: พ่อสวมมอบที่ปากวัวไม่ให้มันเล็มต้นอ่อนของข้าวโพดในไร่ได้, Thai Definition: เครื่องสานสำหรับสวมปากม้าปากวัว |
หมอบ | (v) crouch, See also: prostrate, kowtow, Syn. ยอบตัว, หมอบราบ, Example: แมวตัวหนึ่งหมอบอยู่กับพื้นตาจ้องนกกระจอกกำลังจิกหนอน, Thai Definition: กิริยาที่ยอบตัวลงให้ขาและแขนราบอยู่กับพื้น, ยอบตัวลงในอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น |
มอบตัว | (v) surrender oneself, See also: give oneself up, hand (someone) over, Example: ตำรวจกดดันให้ผู้ต้องสงสัยมอบตัว, Thai Definition: ยอมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุม |
มอบให้ | (v) give, See also: bestow, grant, hand out, Syn. ให้, สละให้, ส่งให้, ส่งมอบ, ยกให้, มอบให้, Example: ข้าพเจ้านำหนังสือจำนวน 5, 000 เล่มมามอบให้แก่ห้องสมุดของโรงเรียน, Thai Definition: สละให้หรือยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ผู้อื่น |
รับมอบ | (v) accept (something), See also: receive (something), Example: อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ยืนยันว่าหากรับมอบปุ๋ยอินทรีย์ แล้วตรวจสอบพบว่าปุ๋ยไม่ได้คุณภาพ ก็พร้อมบอกเลิกสัญญากับผู้ได้รับสัมปทาน, Thai Definition: รับเอาสิ่งที่ผู้อื่นให้มาเป็นของตน |
รับมอบ | (v) accept (something), See also: receive (something), Example: อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ยืนยันว่าหากรับมอบปุ๋ยอินทรีย์ แล้วตรวจสอบพบว่าปุ๋ยไม่ได้คุณภาพ ก็พร้อมบอกเลิกสัญญากับผู้ได้รับสัปทาน, Thai Definition: รับเอาสิ่งที่ผู้อื่นให้มาเป็นของตน |
ส่งมอบ | (v) deliver, See also: carry, Syn. มอบ, มอบให้, นำไปให้, ส่งให้ |
ส่งมอบ | (v) send to, See also: transfer, Syn. มอบ, ให้, มอบให้, ส่งให้, Ant. รับมอบ, Example: เรือหลวงนเรศวรและเรือหลวงตากสินได้รับความเสียหาย ไม่สามารถส่งมอบให้กองทัพเรือไทย ได้ |
หมอบลง | (v) crouch, See also: lie prone, lie on one's stomach, Ant. ลุกขึ้น, Example: แม่กวางวิ่งหนีกระสุนปืนไปได้ 2-3 ก้าวก็ล้มหมอบลงอีก, Thai Definition: กิริยาที่ยอบตัวลงให้ขาและแขนราบอยู่กับพื้น |
มอบหมาย | (v) assign, See also: commit, entrust, Syn. มอบ, มอบหมายให้, มอบหมายงาน, มอบหน้าที่, Example: พ่อมอบหมายให้พี่ชายคนโตดูแลกิจการส่งออกทั้งหมด, Thai Definition: สั่งเสียให้หรือกำหนดให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง |
มอบฉันทะ | (v) authorize, See also: empower, give a proxy to, Ant. รับมอบฉันทะ, Example: เพื่อนมอบฉันทะให้ฉันไปลงทะเบียนแทน, Thai Definition: ไว้ธุระด้วยความวางใจ, ยินยอมให้ทำแทนโดยมีหลักฐาน |
มอบอำนาจ | (v) authorize, See also: assign authority, Syn. ให้อำนาจ, มอบสิทธิ์, Ant. รับมอบอำนาจ, Example: อธิการแต่ละแห่งอาจจะมอบอำนาจให้รองอธิการปฏิบัติราชการแทน |
หมอบคลาน | (v) prostrate, See also: crouch, crawl, grovel, fall into swoon, kowtow, Example: ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ประกาศยกเลิกประเพณีหมอบคลาน ซึ่งใครมาเฝ้าพระองค์ ไม่ต้องหมอบคลาน และทรงอนุญาตให้นั่งเก้าอี้ได้ |
ส่งมอบตัว | (v) hand over (to), See also: deliver (to), Example: รัฐบาลอัฟกานิสถานปฏิเสธที่จะส่งมอบตัวผู้ก่อการร้ายให้กับสหรัฐฯ, Thai Definition: นำตัวไปให้, เอาตัวไปให้ |
ส่งมอบตัว | (v) hand over (to), See also: deliver (to), Example: รัฐบาลอัฟกานิสถานปฏิเสธที่จะส่งมอบตัวผู้ก่อการร้ายให้กับสหรัฐฯ, Thai Definition: นำตัวไปให้, เอาตัวไปให้ |
การมอบหมาย | (n) assignation, See also: assignment, entrusting, delegation, committing, giving in charge, Syn. การมอบ, การมอบอำนาจ, การมอบฉันทะ, Example: เขาได้รับการมอบหมายให้จัดการเรื่องการเงินของบริษัทแทนผู้จัดการการเงิน, Thai Definition: การกำหนดให้ |
ความอบอุ่น | (n) warmth, See also: proximity, closeness, Ant. ความว้าเหว่, Example: นักจิตวิทยาส่วนใหญ่ศึกษาพบว่าเด็กที่ขาดความอบอุ่นใกล้ชิดจากมารดาในตอนเริ่มต้นชีวิตจะมีความบกพร่องหลายอย่างเกิดขึ้นทางด้านจิตใจ |
ความอบอุ่น | (n) warmth, See also: heat, Example: ชาวบ้านเอากิ่งไม้แห้งมาก่อไฟให้เกิดความอบอุ่น, Thai Definition: ความอุ่นสบายของอากาศ |
รับมอบหมาย | (v) accept an assignment, See also: receive responsibility, be entrusted, Example: กองทัพได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เป็นหัวหอกในการจัดที่ทำกินให้ราษฎร |
ใบมอบฉันทะ | (n) power of attorney, See also: proxy, Example: พ่อเซ็นมอบใบฉันทะให้ลูกชายไปโอนที่ดิน, Thai Definition: ใบที่แสดงความยินยอมให้บุคคลอื่นทำธุระแทนโดยมีหลักฐาน |
ผู้มอบอำนาจ | (n) proxy, See also: substitute, representative, Syn. ผู้มอบฉันทะ, Example: การถอนเงินจะต้องมีลายเซ็นของผู้มอบอำนาจมา จึงจะถือว่าสมบูรณ์, Count Unit: คน, Thai Definition: บุคคลที่มอบหมายให้ผู้อื่นมีอำนาจจัดการหรือทำการแทนตนเอง |
ผู้รับมอบอำนาจ | (n) attorney, Ant. ผู้มอบอำนาจ, Example: ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดได้เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการภายในเขตจังหวัดแทนนายกรัฐมนตรีได้, Count Unit: คน, Thai Definition: ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจจัดการหรือทำการแทน |
หนังสือมอบฉันทะ | (n) proxy, See also: (letter of) power of attorney, Syn. หนังสือมอบอำนาจ, ใบมอบฉันทะ, Example: ผู้ใดต้องการจะถอนเงินแทนผู้อื่น ก็ต้องนำหนังสือมอบฉันทะมาด้วย, Thai Definition: หนังสือซึ่งบุคคลหนึ่งให้อำนาจแก่บุคคลอีกคนหนึ่งให้ทำหน้าที่แทนตน |
หนังสือมอบฉันทะ | (n) proxy, See also: (letter of) power of attorney, Syn. หนังสือมอบอำนาจ, ใบมอบฉันทะ, Example: ผู้ใดต้องการจะถอนเงินแทนผู้อื่น ก็ต้องนำหนังสือมอบฉันทะมาด้วย, Thai Definition: หนังสือซึ่งบุคคลหนึ่งให้อำนาจแก่บุคคลอีกคนหนึ่งให้ทำหน้าที่แทนตน |
หนังสือมอบอำนาจ | (n) power of attorney, See also: proxy, Syn. หนังสือมอบฉันทะ, ใบมอบฉันทะ, Example: รัฐที่จะเจรจาทำสนธิสัญญานั้นจะต้องมีการออกหนังสือมอบอำนาจให้แก่ผู้ที่จะทำการเจรจานั้นก่อน |
เสมอบ่าเสมอไหล่ | (adv) equally, See also: pari passu, Syn. เทียบเท่ากัน, เทียมบ่าเทียมไหล่, เท่าเทียมกัน, Ant. เหลื่อมล้ำกัน, Example: ผู้นำลงไปทำงานกับประชาชนอย่างเสมอบ่าเสมอไหล่ และคงเส้นคงวา |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กระมอบ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมชนิด Gardenia obtusifolia Roxb. ex Kurz ในวงศ์ Rubiaceae คล้ายกระเบียน (๒) ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ใบคายและเล็กกว่า ปลายใบป้าน ยอดอ่อนมียางเหนียว ผลย่อมกว่า เนื้อไม้ขาวละเอียด ใช้แกะสลักได้. |
กระหมอบ | ว. แขม่ว ๆ เช่น หายใจกระหมอบหอบเต็มที (คาวี). |
ฝีหมอบ | น. ดู พญารากดำ. |
ฝีหมอบ | ดู มะดูก (๑). |
มอบ ๑ | ก. เวนให้ เช่น มอบราชสมบัติ, สละให้ เช่น มอบกายถวายชีวิต มอบชีวิตเป็นราชพลี, ยกให้ เช่น มอบทรัพย์สมบัติ, ให้ไว้ เช่น มอบเงินให้เป็นค่าอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน. |
มอบฉันทะ | ก. มอบธุระไว้ด้วยความไว้วางใจ, ยินยอมให้ทำแทนโดยมีหลักฐาน, (กฎ) ดู มอบอำนาจ.มอบอำนาจ. |
มอบตัว | ก. นำเด็กนักเรียนไปมอบให้อยู่ในความปกครองของโรงเรียน เช่น มอบตัวนักเรียน, ยอมตัวให้อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่เพื่อสู้คดี เช่น ผู้ร้ายเข้ามอบตัว. |
มอบหมาย | ก. กำชับสั่งเสีย เช่น มอบหมายการงาน, กะให้, กำหนดให้, เช่น มอบหมายหน้าที่ให้แต่ละคนรับผิดชอบ. |
มอบอำนาจ | ก. มอบหมายให้มีอำนาจจัดการหรือทำการแทน. |
มอบ ๒ | น. เครื่องสานสำหรับสวมปากวัวปากควายเพื่อกันไม่ให้กินต้นกล้าและสวมปากม้าเพื่อกันม้ากัด. |
มอบ ๓ | ก. ทำให้แน่นหรือให้เรียบด้วยการหุ้มหรือขลิบตามริม เช่น มอบปากกระทง. |
มอบ ๓ | น. ไม้ที่ตีเป็นขอบตามแนวเพดานห้องทั้ง ๔ ด้านเพื่อให้ดูเรียบร้อยหรือเพื่อทับรอยต่อตอนมุมที่ฝาเรือน ๒ ด้านมาบรรจบกัน หรือไม้ที่ตีประกบด้านนอกของกราบเรือทั้ง ๒ ด้าน เรียกว่า ไม้มอบ. |
ไม้มอบ | น. ไม้ที่ตีเป็นขอบตามแนวเพดานห้องทั้ง ๔ ด้านเพื่อให้ดูเรียบร้อยหรือเพื่อทับรอยต่อตอนมุมที่ฝาเรือน ๒ ด้านมาบรรจบกันหรือไม้ที่ตีประกบด้านนอกของกราบเรือทั้ง ๒ ด้าน. |
เสมอบ่าเสมอไหล่ | ว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายามสร้างฐานะจนเสมอบ่าเสมอไหล่กับญาติพี่น้อง, เทียมบ่าเทียมไหล่ หรือ เทียมหน้าเทียมตา ก็ว่า. |
เสือหมอบ | ดู สาบเสือ. |
หมอบ | (หฺมอบ) ก. กิริยาที่คู้เข่าลงและยอบตัวให้ท่อนแขนส่วนล่างราบอยู่กับพื้น, ยอบตัวลงในอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น |
หมอบ | สิ้นเรี่ยวสิ้นแรง, ลุกไม่ขึ้น, เช่น ถูกตีเสียหมอบ เป็นไข้เสียหมอบ. |
หมอบกระแต | ก. หมอบนิ่งไม่มีทางสู้. |
หมอบกราบ | ก. หมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ประนมอยู่กับพื้น. |
หมอบราบคาบแก้ว | ก. ยอมตามโดยไม่ขัดขืน, ยอมแพ้โดยดี. |
กฐิน, กฐิน- | คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [ กะถินนะกาน ] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่าเทศกาลกฐิน [ เทดสะกานกะถิน ] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [ บอริวานกะถิน ] เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [ อะนุโมทะนากะถิน ] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน , ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน). |
กระบอก ๑ | เสื้อชนิดหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า เสื้อกระบอก |
กระยาดอกเบี้ย | น. สิ่งที่ส่งชำระแทนดอกเบี้ยเงินกู้ เช่น มอบบุตรภริยาให้รับใช้การงานแทนการจ่ายดอกเบี้ย, กระยาเบี้ย หรือ เชิงกระยาดอกเบี้ย ก็เรียก. |
กราน ๒ | (กฺราน) ใช้เข้าคู่กับคำอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า คํ้า, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลำพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี. |
กราบ ๒ | (กฺราบ) ก. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ประนมอยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ เช่น กราบลงบนตัก, เรียกกราบโดยให้อวัยวะทั้ง ๕ คือ เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และหน้าผาก จดลงกับพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด, โดยปริยายใช้เป็นคำแสดงอาการเคารพเหมือนอย่างกราบ เช่น กราบทูล กราบเรียน. |
กังหันน้ำชัยพัฒนา | น. ชื่อเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอยแบบหนึ่ง เป็นอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียชนิดหนึ่ง มีลักษณะการทำงานคล้ายกังหันวิดน้ำขึ้นเหนือผิวน้ำเพื่อเติมอากาศหรือออกซิเจนในแหล่งน้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาและประดิษฐ์อุปกรณ์เติมอากาศขึ้นแล้วทรงมอบหมายมูลนิธิชัยพัฒนา ศึกษาวิจัยเพื่อทำต้นแบบพร้อมสนับสนุนงบประมาณให้กรมชลประทานสร้าง นำไปใช้งานตามแหล่งน้ำเสียทั่วประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ ๓๑๒๗ และองค์กรนักประดิษฐ์โลกจากประเทศเบลเยียมได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลในฐานะที่ทรงสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม. |
กาฟักไข่ | น. ชื่อการเล่นอย่างหนึ่ง ผู้เล่นหาไม้หรือของอื่นมาคนละชิ้นสมมุติเป็นไข่ มอบให้แก่ผู้ที่ถูกจับสลากสมมุติเป็นกา ผู้เป็นการักษาสิ่งนั้นไว้ในวงเขตที่กำหนด ผู้เล่นนอกนั้นคอยลักไข่. |
กาน้า | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Canarium album (Lour.) Raeusch. ในวงศ์ Burseraceae ผลคล้ายสมอบางชนิด กินได้ มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน, สมอจีน ก็เรียก. |
ของรับไหว้ | น. สิ่งของที่มอบให้แก่คู่บ่าวสาวเมื่อมาไหว้หลังพิธีแต่งงาน มักเป็นแก้วแหวนเงินทอง. |
ของหมั้น | น. ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น. |
ข้าหลวง ๒ | ผู้ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ราชการเฉพาะกิจ |
โขลน ๑ | เจ้าหน้าที่ประจำศาสนสถาน, เขียนเป็น โขลญ ก็มี เช่น มอบไว้ในความดูแลของโขลญพล (จารึกสยาม). |
คณะกรรมาธิการร่วมกัน | น. คณะกรรมาธิการของรัฐสภาที่สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเลือกและแต่งตั้งจากผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ เพื่อพิจารณาหรือดำเนินการเรื่องใดที่รัฐสภามอบหมาย. |
คณะกรรมาธิการวิสามัญ | น. คณะกรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา แต่งตั้งจากผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเรื่องที่สภามอบหมาย และเมื่อปฏิบัติหน้าที่เสร็จแล้ว คณะกรรมาธิการนั้นย่อมพ้นจากตำแหน่ง. |
เงินก้นถุง | น. เงินจำนวนหนึ่งที่ผู้ใหญ่มอบให้ในงานแต่งงานเป็นต้น เพื่อเก็บไว้เป็นเงินก้อนแรก, ก้นถุง ก็ว่า. |
เงินขวัญถุง | น. เงินจำนวนหนึ่งที่ผู้ใหญ่มอบให้ในงานแต่งงานเป็นต้น เพื่อเก็บไว้เป็นสิริมงคล. |
จ่อม ๒ | ฟุบ, หมอบ, (ใช้แก่สัตว์ เช่น โค กระบือ). |
จำนอง | น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง. |
จำนำ | น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้. |
ฉันท- ๒, ฉันท์ ๒, ฉันทะ | ความร่วมความคิดความเห็นกัน เช่น ลงมติเป็นเอกฉันท์, ความไว้เนื้อเชื่อใจ เช่น มอบฉันทะ. |
ฉันทานุมัติ | (ฉันทานุมัด) น. ความเห็นชอบตามโดยความพอใจ, การได้รับมอบหมายด้วยความเต็มใจ. |
ชังคา | น. คำสั่ง, คำพูด, เช่น อย่าหมอบมัวคอยฟังพระชังคา (พาลีสอนน้อง). |
ตัวการ | ในทางแพ่งหมายถึง บุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. |
ตัวแทน | น. ผู้ที่ได้รับมอบให้ทำการแทนบุคคลอื่น |
ตัวแทนขายตรง | น. บุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจขายตรงให้นำสินค้าหรือบริการไปเสนอขายตรงต่อผู้บริโภค. |
ตัวแทนประกันชีวิต | น. ผู้ซึ่งบริษัทประกันชีวิตหรือสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท. |
ตัวแทนประกันวินาศภัย | น. ผู้ซึ่งบริษัทประกันวินาศภัยหรือสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท. |
ถวาย | (ถะหฺวาย) ก. ให้, มอบให้, เช่น ถวายของ (ใช้แก่พระสงฆ์) |
ถวาย | ให้, มอบให้, (ใช้แก่สมเด็จเจ้าฟ้าลงมาจนถึงหม่อมเจ้า), ให้สิ่งที่เป็นนามธรรมแก่พระมหากษัตริย์และเจ้านาย เช่น ถวายพระพร ถวายชีวิต. |
ถวายตัว | ก. เข้าเฝ้ามอบตัวเป็นข้ารับใช้เจ้านาย. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
proxy | ผู้รับมอบฉันทะ, ผู้รับมอบอำนาจ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
place of delivery | สถานที่ส่งมอบ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
power of attorney | หนังสือมอบอำนาจ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
powers, full | หนังสือมอบอำนาจ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
powers, permissive; permissive powers | อำนาจที่มอบให้องค์การส่วนท้องถิ่น (ใช้ตามที่เห็นสมควร) (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
permissive powers; powers, permissive | อำนาจที่มอบให้องค์การส่วนท้องถิ่น (ใช้ตามที่เห็นสมควร) (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
powers, delegation of | การมอบหมายอำนาจ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
lying in grant | การโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่จำต้องส่งมอบ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
letter of attorney | หนังสือมอบอำนาจ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
land grant | การมอบที่สาธารณะให้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
lie in livery | โอนให้กันได้โดยการส่งมอบ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
repetition | การเรียกคืนทรัพย์สิน (ที่ส่งมอบโดยสำคัญผิด) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
reference | ๑. การส่งร่างกฎหมายให้คณะกรรมาธิการพิจารณา๒. การมอบคดีให้ทนายความที่ศาลตั้ง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
short delivery | การส่งมอบขาดจำนวน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
symbolic delivery | การส่งมอบโดยนัย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
steam tent | กระโจมอบไอน้ำ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
objects of a power | ผู้ได้รับมอบอำนาจให้แต่งตั้งผู้อื่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
assign | ๑. โอนสิทธิ์๒. กำหนดให้๓. มอบหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
assignment | ๑. การกำหนดให้, การมอบหมาย (หน้าที่)๒. การโอนสิทธิ์ให้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
attorney in fact | ผู้รับมอบอำนาจ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
attorney, power of | หนังสือมอบอำนาจ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
attribution | อำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
act, enabling | กฎหมายมอบอำนาจพิเศษ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
agent, universal | ตัวแทนซึ่งได้รับมอบอำนาจทั่วไป [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
attorney | ผู้รับมอบอำนาจ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
binder | ๑. หนังสือคุ้มครองชั่วคราว๒. หนังสือมอบอำนาจผู้รับประกันภัย [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
breach of trust | ๑. การทำผิดหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย๒. การทำผิดหน้าที่ทรัสตี (ก. อังกฤษ และ ก. อเมริกัน) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
bailee | ผู้รับมอบการครอบครองทรัพย์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
bailment | การมอบการครองครองทรัพย์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
bailor | ๑. ผู้มอบการครอบครองทรัพย์๒. ผู้ประกัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
mandatary; mandatory | ผู้ได้รับมอบอาณัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
mandate | ๑. คำสั่งศาลสูง (ป. วิ. แพ่ง)๒. การมอบอำนาจ (ก. แพ่ง)๓. อาณัติ (ก. ระหว่างประเทศ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
mandatory; mandatary | ผู้ได้รับมอบอาณัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
manual delivery | การส่งมอบโดยตรง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
M๖bius strip | แถบเมอบิอุส [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] |
conditions of vesting | เงื่อนไขในการมอบสิทธิให้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
collecting note | ใบมอบฉันทะรับค่าสินไหมทดแทน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
constructive delivery | การส่งมอบโดยปริยาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
disavow | ปฏิเสธ, ไม่ยอมรับ (การกระทำที่ไม่ได้รับมอบหมาย) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
demand the surrender of a written | เรียกให้เวนคืนหนังสือมอบอำนาจ authority [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
delegation | ๑. คณะผู้แทน (ของรัฐบาลหรือองค์การ) (ก. ระหว่างประเทศ)๒. การมอบอำนาจ (ก. แพ่ง)๓. การมอบหมายอำนาจ (ก. ปกครอง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
delegation of authority | การมอบหมายอำนาจหน้าที่ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
delegation of authority | การมอบหมายอำนาจหน้าที่ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
delegation of powers | การมอบหมายอำนาจ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
delegation of powers | การมอบหมายอำนาจ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
delivery | การส่งมอบ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
delivery guarantee cover | ความคุ้มครองการส่งมอบ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
delivery, manual | การส่งมอบโดยตรง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
devolution | การมอบอำนาจปกครอง, การคลายอำนาจ [ ดู decentralization และ deconcentration ประกอบ ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
delegated legislation | กฎหมายที่ออกตามอำนาจที่ได้รับมอบหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
ทักษิโณทก | นํ้าที่หลั่งในเวลาทําทานเพื่ออุทิศผลให้แก่ผู้ตาย, นํ้าที่หลั่งลงเป็นการแสดงว่ามอบให้เป็นสิทธิ์ขาด, นํ้ากรวด คือนํ้าที่ใช้แทนสิ่งของที่ให้ซึ่งใหญ่โตหรือไม่มีรูปที่จะหยิบยกให้ได้ เช่นวัด ศาลา บุญกุศล เป็นต้น [ศัพท์พระราชพิธี] |
Annual Contract Quantity | ปริมาณก๊าซรวมที่ส่งและรับมอบในหนึ่งปี, Example: เป็นผลบวกของ Daily Contract Quantity (DCQ) คือ ปริมาณก๊าซที่ผู้ขายจะต้องส่งมอบตามสัญญาให้แก่ผู้ซื้อในแต่ละวัน แต่ไม่จำเป็นจะต้องเท่ากับ 365 x DCQ [ปิโตรเลี่ยม] |
Daily Contract Quantity | ปริมาณก๊าซที่ผู้ขายจะต้องส่งมอบตามสัญญาให้แก่ผู้ซื้อในแต่ละวัน [ปิโตรเลี่ยม] |
Delivery of goods | การส่งมอบสินค้า [เศรษฐศาสตร์] |
Radiation safety officer | เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี, เจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการป้องกันรังสีที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย และได้รับการแต่งตั้งจากผู้รับใบอนุญาตให้ดูแลด้านความปลอดภัยทางรังสีตามข้อกำหนด [นิวเคลียร์] |
Radiation protection officer | เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี, เจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการป้องกันรังสีที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย และได้รับการแต่งตั้งจากผู้รับใบอนุญาตให้ดูแลด้านความปลอดภัยทางรังสีตามข้อกำหนด [นิวเคลียร์] |
Clearing and settlement | การชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์, Example: กระบวนการที่บริษัทสมาชิกผู้ซื้อชำระราคาหลักทรัพย์และรับมอบหลักทรัพย์ที่ซื้อจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และบริษัทสมาชิกศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ซึ่งต้องกระทำในวันทำการที่ 3 ภายหลังวันตกลงซื้อขายหลักทรัพย์ การชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ดังกล่าวกระทำกันโดยใช้ยอดสุทธิซื้อและยอดสุทธิขายของแต่ละบริษัทสมาชิก [ตลาดทุน] |
Proxy | ใบมอบฉันทะ, Example: หนังสือซึ่งผู้ถือหุ้นลงลายมือชื่อมอบฉันทะให้ผู้อื่นใช้สิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นแทนตน [ตลาดทุน] |
Baked products | ผลิตภัณฑ์ขนมอบ [TU Subject Heading] |
Baked products industry | อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ขนมอบ [TU Subject Heading] |
Bakeries | ร้านขนมอบ [TU Subject Heading] |
Bakers | คนทำขนมอบ [TU Subject Heading] |
Bakery employees | พนักงานขนมอบ [TU Subject Heading] |
Delegated legislation | กฎหมายที่ออกตามอำนาจที่ได้รับมอบหมาย [TU Subject Heading] |
Power of attorney | หนังสือมอบอำนาจ [TU Subject Heading] |
หนังสือรับมอบที่ดิน | หนังสือรับมอบที่ดิน, Example: หนังสือที่สำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมมอบให้แก่เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกร เพื่อแสดงให้ทราบถึงการได้รับมอบที่ดินและได้รับอนุญาต ให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฎิรูปที่ดินตามแบบที่สำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมกำหนด [สิ่งแวดล้อม] |
accredit | แต่งตั้งให้ไปประจำ หมายถึง การแต่งตั้งมอบหมายให้หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไปประจำยังประเทศอื่น และมีอำนาจดูแลประเทศนั้นหรือเขตอาณาต่าง ๆ ซึ่งในกรณีนี้เรียกว่า Accredited Ambassador [การทูต] |
Ad hoc | เพื่อวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายโดยเฉพาะ เช่น คณะกรรมการการเมืองพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะ ตามที่รับมอบหมายจากสมัชชาสหประชาชาตินั้น แต่เดิมมีชื่อว่าคณะกรรมการการเมืองเฉพาะเรื่อง (Ad hoc Committee) [การทูต] |
Aide-memoire หรือ Memoire | แปลตามตัวอักษรว่า ช่วยความจำ เป็นหนังสือโต้ตอบทางการทูตประเภทหนึ่ง คือ บันทึกสังเขปของการเจรจาที่ได้กระทำกันเสร็จสิ้นแล้ว บันทึกช่วยจำเช่นนี้ไม่มีการกล่าวนำเป็นทางการและไม่มีการลงชื่อ ซึ่งจะมอบให้แก่กันเมื่อเสร็จการเจรจากันแล้ว ความมุ่งหมายของบันทึกนี้คือ เพื่อบันทึกข้อเท็จจริงไว้เป็นหลักฐานซึ่งผู้รับบันทึกทราบดีแล้วบันทึกช่วย จำก็คือ บันทึกสรุปการสนทนาทางการทูตอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างผู้แทนหรือพนักงานทางการทูตกับหัวหน้าหรือพนักงานของกระทรวงการต่าง ประเทศ จุดประสงค์ตามที่ชื่อบ่งอยู่แล้วว่า เป็นการสรุปประเด็นต่าง ๆ ในการสนทนาเพื่อเตือนความจำนั้นเอง ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะมอบบันทึกนี้ไว้กับกระทรวงการต่างประเทศ ในบันทึกนั้นบรรทัดแรกจะระบุว่าใครเป็นผู้ส่งและใครเป็นผู้รับบันทึก ผู้ส่งบันทึกจะต้องลงชื่อย่อกำกับบันทึกไว้ด้วยบันทึกช่วยจำอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า pro memoria โดยปกติภาษาที่ใช้ใน pro memoria จะมีลักษณะถ้อยคำเป็นทางการมากกว่า aide-memoire [การทูต] |
Ambassador | เอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว [การทูต] |
Break of Diplomatic Relations | การตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต] |
Common Foreign and Security Policy | นโยบายร่วมต่างประเทศและความมั่นคง (ของสหภาพยุโรป) " ผู้ที่ได้รับการมอบหมายให้ดูแลในเรื่องนี้ คือ ผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายร่วมต่างประเทศและความมั่นคง (High Representative) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า Mr. CFSP " [การทูต] |
Conciliation | การไกล่เกลี่ย คือ กระบวนการของการส่งเรื่องกรณีพิพาทไปให้คณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นทางการ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริง แล้วเสนอรายงาน ซึ่งประกอบด้วยข้อเสนอแนะในอันที่จะระงับกรณีพิพาทนั้น อย่างไรก็ดี ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการนี้ไม่มีผลบังคับแก่คู่พิพาทแต่อย่างใด ไม่เหมือนกับคำวินิจฉัยในการตัดสินชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ (Arbitration) [การทูต] |
Conduct of Diplomatic Mission Towards the Receiving State | ในการปฏิบัติของคณะผู้แทนทางการทูตต่อรัฐผู้รับ นั้นหน้าที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของนักการทูตคือ จะต้องละเว้นจากการเข้าแทรกแซงใด ๆ ในกิจการภายในของรัฐผู้รับ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตราที่ 41 ว่า1. โดยไม่เสื่อมเสียแก่เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของตน เป็นหน้าที่ของบุคคลทั้งมวลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นนี้ ที่จะเคารพกฎหมายรวมทั้งข้อบังคับของรัฐผู้รับ บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ที่จะไม่แทรกสอดในกิจการภายในของรัฐนั้นด้วย2. ธุรกิจในทางการทั้งมวลกับรัฐผู้รับ ซึ่งรัฐผู้ส่งได้มอบหมายแก่คณะผู้แทนให้กระทำกัน โดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นเช่นที่อาจจะตกลงกัน3. สถานที่ของคณะผู้แทนต้องไม่ใช้ไปในทางที่ไม่ต้องด้วยกับการหน้าที่ของคณะผู้ แทน ดังที่ได้กำหนดลงไว้ในอนุสัญญานี้ หรือโดยกฎเกณฑ์อื่นของกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป หรือด้วยการตกลงพิเศษอื่นใดที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ข้อ 42 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติด้วยว่า ตัวแทนทางการทูตจะต้องไม่ปฏิบัติกิจกรรมใดทางวิชาชีพหรือพาณิชย์เพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวในรัฐผู้รับตามบทบัญญัติข้างต้นของอนุสัญญากรุงเวียนนา พอจะตีความหมายได้ว่า ผู้แทนทางการทูตจะต้องเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อที่จะธำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้งความปลอดภัยในรัฐผู้รับ การปฏิบัติใดๆ ที่ถูกต้องของผู้แทนทางการทูตนั้นย่อมเป็นเครื่องประกันอย่างดีที่สุด ที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตนั้นจะถูกล่วงละเมิดมิได้ตามที่กล่าวอ้าง [การทูต] |
Conference Diplomacy | กระบวนการเจรจาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลในรูปของการ ประชุม แทนที่จะกระทำโดยวิถีทางการทูตตามปกติ คือ โดยทางเอกอัครราชทูต หรือผู้แทนทางการทูตถาวร การประชุมแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่า การประชุมโต๊ะกลม เพื่อทำหน้าที่ระงับปัญหาระหว่างประเทศนั้น เริ่มนิยมกระทำกันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การประชุมระหว่างประเทศนี้จะประกอบด้วยคณะผู้แทน ซึ่งมีหัวหน้าคณะที่ได้รับมอบอำนาจเต็ม และรัฐบาลของประเทศที่ร่วมประชุมเป็นผู้ส่งไป ในเรื่องนี้มีความเห็นแตกต่างกันอยู่บ้าง บ้างเห็นว่า ควรเป็นการประชุมทางการทูตตามประเพณีที่กระทำกันโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยอาชีพ ซึ่งเป็นไปตามวิถีทางการทูตตามปกติมากกว่า [การทูต] |
Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] |
Consular Office | บุคคลรวมทั้งหัวหน้าของที่ทำการทางกงสุล ซี่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในฐานะกงสุลโดยได้รับ ภาระหน้าที่ทางกงสุล เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลมีอยู่ 2 ประเภทคือ 1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลอาชีพ (Career Consular Office)2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consular Office) [การทูต] |
deposit the instrument of ratification | มอบสัตยาบันสารไว้กับตัวกลางหรือประเทศภาคีหนึ่งใดที่ตกลงกัน [การทูต] |
Diplomatic Pouch | ถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique? [การทูต] |
Eisenhower Doctrine | ลัทธิไอเซนฮาวร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1957 ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความวิตกห่วงใยในสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่ออันตรายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้อ่านสารพิเศษต่อที่ประชุมร่วมระหว่างสภาผู้แทนกับวุฒิสภาขอร้องให้รัฐสภา สหรัฐฯ ลงมติรับรองโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางทหาร เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติของบรรดาประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการสนองตอบสารพิเศษดังกล่าว รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านข้อมติร่วมกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1957 มอบให้ประธานาธิบดีมีอำนาจให้ความร่วมมือและอำนวยความช่วยเหลือแก่ชาติหรือ กลุ่มชาติต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งต้องการความช่วยเหลือเช่นนั้น ในการที่จะพัฒนาพลังทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติตน และให้จัดโครงการช่วยเหลือทางทหารแก่ชาติต่างๆ ในภาคนั้นซึ่งต้องการความช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งได้มอบอำนาจให้ประธานาธิบดีสามารถใช้กองทัพสหรัฐฯ เข้าช่วยเหลือชาติเหล่านั้นที่แสดงเจตนาขอความช่วยเหลือ เพื่อต่อต้านการรุกรานจากประเทศใด ๆ ที่อยู่ใต้อำนาจควบคุมของคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศ [การทูต] |
Exemption from Customs Duties and Inspection of Diplomatic Mission?s Articles | การยกเว้นจากอากรศุลกากร และการตรวจสิ่งของเครื่องใช้ของคณะผู้แทนทางการทูต การยกเว้นดังกล่าวนี้ไม่ถือว่าเป็นสิทธิ แต่เป็นเรื่องของการแสดงอัธยาศัยไมตรีระหว่งประเทศที่ให้ต่อกันมากกว่า กฎหมายระหว่างประเทศก็มิได้กำหนดพันธะที่จะต้องให้การยกเว้นจากอากรศุลกากร อย่างไรก็ดี รัฐส่วนมากได้แสดงอัธยาศัยไมตรีโดยให้ผู้แทนทางการทูตได้รับการยกเว้นอากร ศุลกากรแก่สินค้าและเครื่องใช้ที่นำเข้ามาใช้ในส่วนตัวเองอนุสัญญากรุง เวียนนาได้ระบุไว้ในมาตรที่ 36 ว่า1. รัฐผู้รับจะอนุญาตให้นำเข้าและอำนวยให้มีการยกเว้นจากอากรศุลกากร ภาษี ตลอดจนค่าภาระที่เกี่ยวข้องทั้งมวล นอกจากค่าภาระในการเก็บรักษา การขนส่งและบริการ ให้ทำนองเดียวกันตามกฎหมายหรือข้อบังคับ ซึ่งรัฐผู้รับอาจกำหนดไว้แก่ก. สิ่งของสำหรับใช้ในทางการของคณะผู้แทนข. สิ่งของสำหรับใช้ส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต หรือคนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสิ่งของที่แสดงเจตนาสำหรับการตั้งถิ่นฐานของตัวแทนทางการทูตด้วย2. หีบห่อส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต ให้ได้รับยกเว้นจากการตรวจตรา นอกจากมีมูลเหตุอันร้ายแรงที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า หีบห่อส่วนตัวนั้นบรรจุสิ่งของซึ่งไม่อยู่ในข่ายแห่งการยกเว้นที่ได้ระบุไว้ ในวรรค 1 ของข้อนี้ หรือสิ่งของซึ่งการนำเข้าหรือส่งออกนั้นต้องห้ามทางกฎหมาย หรือถูกควบคุมตามข้อบังคับว่าด้วยการกักตรวจโรคของรัฐผู้รับ การตรวจตราเช่นว่านี้ให้กระทำต่อหน้าตัวแทนทางการทูต หรือต่อหน้าผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจของตัวแทนทางการทูตเท่านั้น [การทูต] |
Exercise of Consular Functions in a Third State | การปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐที่สาม (A Third State) ในเรื่องนี้ข้อ 7 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้ระบุว่า?เมื่อได้บอกกล่าวให้รัฐที่เกี่ยวข้องทราบ แล้ว รัฐูผู้ส่งอาจมอบหมายให้สถานีที่ทำการทางกงสุลที่ได้ตั้งอยู่ในรัฐหนึ่งโดย เฉพาะปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในอีกรัฐหนึ่งได้ นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดเจนโดยรัฐหนึ่งในบรรดารัฐที่เกี่ยวข้อง?นอกจาก นี้ สถานที่ทำการทางกงสุลยังอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลแทนรัฐที่สามได้ เรื่องนี้ข้อ 8 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้กำหนดว่า เมื่อบอกกล่าวอย่างเหมาะสมแก่รัฐผู้รับแล้ว สถานที่ทำการทางกงสุลของรัฐผู้ส่งอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐผู้รับ แทนรัฐที่สามได้ นอกจากรัฐผู้รับนั้นจะคัดค้าน และพนักงานฝ่ายกงสุลอาจปฏิบัติการหน้าที่ของตนนอกเขตกงสุลได้ในพฤติการณ์ พิเศษ และด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อ 6 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา อย่างไรก็ดี ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่จะให้พนักงานฝ่ายกงสุลปฏิบัติการหน้าที่ทาง กงสุลนอกเขตกงสุล ฝ่ายที่เห็นด้วยว่าควรปฏิบัติการนอกเขตกงสุลได้ อ้างว่า การใช้เอกสิทธิ์เช่นนั้นเป็นการชอบแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า อาจจะมีภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้นในสถานที่นอกเขตกงสุล ซึ่งเป็นความจำเป็นที่พนักงานฝ่ายกงสุลจะได้ให้บริการในทันที่ที่มีการแจ้ง โดยกะทันหัน [การทูต] |
Exequatur | คำนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า ?let him perform? เป็นหนังสือหรืออนุมัติบัตรแสดงการรับรองผู้ที่ดำรงตำแหน่งกงสุลโดยประมุข หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐซึ่งกงสุลผู้นั้นได้ถูกส่งไป ประจำ Exequatur เป็นอนุมัติบัตรที่มอบให้กงสุล แสดงว่ามีอำนาจที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ของกงสุลทั้งหมด สามารถเป็นหลักฐานที่ใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นภายในเขตอาณัติของกงสุล ด้วย รัฐที่ปฏิเสธไม่ออก Exequatur ให้นั้น ไม่จำเป็นต้องบอกเหตุผลแก่รัฐผู้ส่งว่าเพราะเหตุผลใดจึงปฏิเสธ ในเรื่องนี้ข้อ 12 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลได้บัญญัติไว้ว่า?1. หัวหน้า สถานที่ทำการทางกงสุล จะเข้าปฏิบัติการหน้าที่ของตนได้ โดยอนุมัติจากรัฐผู้รับเรียกว่า อนุมัติบัตรไม่ว่าการให้อนุมัติจะเป็นไปในรูปใดก็ตาม 2. รัฐซึ่งปฏิเสธไม่ให้อนุมัติบัตรไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการปฏิเสธ เช่นว่านั้นแก่รัฐผู้ส่ง 3. ภายในข้อบังคับแห่งบทของข้อ 13 และ 15 หัวหน้าสถานที่ทำการทางกงสุลจะไม่เข้ารับหน้าที่ของตนจนกว่าจะได้รับอนุมัติ บัตรแล้ว? [การทูต] |
Freedom of Communication | เสรีภาพในการติดต่อและสื่อสาร ถือเป็นสิทธิทางกฎหมาย (ไม่ใช่เพียงเอกสิทธิ์เท่านั้น) ที่สำคัญอันหนึ่งของนักการทูตย่อมจะเห็นได้ชัดว่า คณะทูต จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างพึงพอใจ นอกจากจะมีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการที่จะมีหนังสือหรือวิถีทางอื่นๆ เพื่อติดต่อกับรัฐบาลของตน หรือจะส่งและรับจดหมาย หรือหนังสือต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ถือสารพิเศษ หรือโดยถุงทางการทูต (Diplomatic pouch) สำหรับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ดังนี้?1. ให้รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางการทั้งมวลเพื่อการติดต่อกับรัฐบาล และกับคณะผู้แทนและสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่ง ไม่ว่าตั้งอยู่ ณ ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางที่เหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้ถือสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการ หมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงทางการทูต (Diplomatic Pouch) จะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูต จะต้องมีเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน สามารถแสดงลักษณะของถุงทางการทูต ซึ่งอาจบรรจุเพียงเอกสารหรือสิ่งของทางการทูตที่เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่า นั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการแสดงสถานภาพของตน และจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ส่วนบุคคลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ ในกรณีที่ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการแสดงจำนวนหีบห่อซึ่ง รวมเป็นถุง แต่ไม่ใช่ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรง และโดยเสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน? [การทูต] |
full powers | หนังสือมอบอำนาจเต็ม [การทูต] |
Functions of Diplomatic Mission | ภาระหน้าที่ต่าง ๆ ของคณะผู้แทนทางการทูต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หน้าที่ที่ปฏิบัติเป็นประจำของผู้แทนทางการทูตนั้น ได้แก่ หน้าที่การเจรจา การสังเกต และการคุ้มครอง อย่างไรก็ดี มีบางประเทศได้มอบอำนาจให้ผู้แทนทางการทูตของตนปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล และกิจกรรมเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ด้วย ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญใด ๆ กับการทูตเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า1. นอกจากประการอื่นแล้ว การหน้าที่ของคณะผู้แทนทางการทูตประกอบด้วยก. ทำหน้าที่แทนรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับข. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่งและของคนชาติของรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดอันกฎหมายระหว่างประเทศได้อนุญาตให้ค. เจรจากับรัฐบาลของรัฐผู้รับง. สืบเสาะให้แน่ด้วยวิถีทางทั้งมวลอันชอบด้วยกฎหมายถึงสถาวะและพัฒนาการในรัฐ ผู้รับ แล้วรายงานไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่งจ. ส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ตลอดจนพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ2. ไม่มีข้อความในอนุสัญญานี้ ที่จะหมายความได้ว่าเป็นการห้ามไม่ให้คณะผู้แทนทางการทูตปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล [การทูต] |
head of consular post | หัวหน้าสถานทำการทางกงสุล " หมายถึงบุคคลที่ได้รับมอบหน้าที่ให้กระทำการในฐานะนั้น หัวหน้าสถานทำการทางกงสุลแบ่งออกเป็น 4 ชั้น คือ (1) กงสุลใหญ่ (2) กงสุล (3) รองกงสุล (4) ตัวแทนทางกงสุล (อนุสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล พ.ศ. 2506) " [การทูต] |
Head of Diplomatic Mission | บุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐผู้ส่งให้ทำหน้าที่ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ในกรณีของสถานเอกอัครราชทูตผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ทางการทูต เรียกว่า เอกอัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม (Ambassador Extraordinary and plenipotentiary) หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะได้แก่ อัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม หรือเรียกว่าอุปทูต (Chargé d?Affaires entitre) คองเกรสแห่งเวียนนาและที่ประชุมแห่งเอกซ์ ลา ชา แปล (Congress of Aix-la-Chapelle) ได้จำแนกหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไว้ดังต่อไปนี้ คือ1. เอกอัครราชทูต (Ambassadors) หรือเอกอัครสมณทูต (Papal Nucios)2. อัครราชทูต (Envoys Extraordinary and Ministers Plenipotentiary)3. อัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนัก (Mission Resident)4. อุปทูต (Chargé d?Affaires)แต่อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในมาตร 14 ว่า?1. หัวหน้าคณะผู้แทนแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือก. ชั้นเอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐ และหัวหน้าคณะผู้แทนอื่นที่มีชั้นเท่ากันข. ชั้นรัฐทูต อัครราชทูต และอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐค. ชั้นอุปทูตซึ่งแต่งตั้งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 2. ข้อยกเว้นที่เกี่ยวกับลำดับอาวุโสและมารยาท ต้องไม่ให้มีความแตกต่างกันระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทน ในมาตรา 15 ก็ได้ระบุว่า ชั้นที่กำหนดให้แก่หัวหน้าคณะผู้แทนนั้น ต้องทำความตกลงกันระหว่างรัฐ? [การทูต] |
Honorary Consul | กงสุลกิตติมศักดิ์ " ได้แก่ บุคคลในท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งและมอบหมายให้ดูแล ส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศและคนชาติในพื้นที่ในเขตอาณา และดำเนินการตรวจลงตราหนังสือเดินทางแก่บุคคลที่จะเดินทางเข้าประเทศที่ กงสุลกิตติมศักดิ์เป็นผู้แทน การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ และต้องยื่นสัญญาบัตร และได้รับอนุมัติบัตรเช่นเดียวกับผู้แทนฝ่ายกงสุลอาชีพ (career consular officer) ทั้งนี้ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์จะได้รับมอบหมายให้ดูแลเขตอาณาที่ครอบคลุมพื้นที่ กว้างกว่าและสำคัญกว่า ในส่วนของไทย กงสุลกิตติมศักดิ์แตกต่างจากกงสุลอาชีพใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) กงสุลกิตติมศักดิ์ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม หรือเป็นผู้นำที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับไทย (2) กงสุลกิตติมศักดิ์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสำนักงาน ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์หรือสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ทั้งหมด (3) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุลน้อยกว่ากงสุลอาชีพ ในการปฏิบัติงานของกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยจะมีคู่มือกงสุลกิตติมศักดิ์ เป็นระเบียบกฎเกณฑ์และข้อมูลสำหรับการปฏิบัติงาน " [การทูต] |
International Atomic Energy Agency | สำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Inviolability of the Mission Premises | คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต] |
nuclear non-proliferation | การไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ หมายถึง การไม่ส่งมอบอาวุธและเทคโนโลยีนิวเคลียร์แก่ประเทศที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ และการไม่รับหรือแสวงหาอาวุธหรือเทคโนโลยีนิวเคลียร์จากประเทศที่มีอาวุธ นิวเคลียร์ [การทูต] |
Passport | หนังสือเดินทาง คือเอกสารทางราชการที่ใช้แสดงตัวและสัญชาติ ซึ่งทางราชการออกให้แก่บุคคลที่จะเดินทางไป หรือพำนักอยู่ชั่วคราวในต่างประเทศเมื่อสมัยก่อนสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศต่าง ๆ มิได้ขอให้คนต่างด้าวที่จะเข้าไปในประเทศของตนต้องมีหนังสือเดินทาง มีการเริ่มใช้หนังสือเดินทางอย่างแพร่หลายก็ในระยะหลังสงครามดังกล่าว ทุกวันนี้ ประเทศส่วนมากในโลกต่างต้องการให้คนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้าไปในดินแดนของ ตนมีหนังสือเดินทางซึ่งได้รับการตรวจลงตรา (Visa) โดยถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนเสียก่อน อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ประเทศส่วนมากได้มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนในต่าง ประเทศเป็นผู้ออกหนังสือเดินทางได้ด้วยหนังสือเดินทางที่ใช้กันในปัจจุบันมี อยู่หลายประเภทอันได้แก่1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic passports ) ออกให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งเอกอัครราชทูต อัครราชทูต เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งทางการทูต รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น2. หนังสือเดินทางพิเศษ (Special passports) ออกให้ แก่ข้าราชการที่ไม่มีสถานะทางการทูต และบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น3. หนังสือเดินทางธรรมดา ( Regular passports ) ออกให้แก่บุคคลธรรมดา (Private persons) ซึ่งมีสิทธิจะขอหนังสือเดินทางดังกล่าวได้ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของ ประเทศของตนมีบางประเทศได้ออกหนังสือเดินทางประเภทอื่น นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นด้วยเหตุผลเฉพาะ เช่น ภายใต้ระบบของสหรัฐอเมริกา มีการออกหนังสือเดินทางที่เรียกว่า1. หนังสือเดินทางบริการ (Service passports) ออกให้แก่คนอเมริกัน หรือชนชาติที่สวามิภักดิ์ต่อสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในต่างประเทศ2. หนังสือเดินทางบุคคลในครอบครัว (Dependent passports) ออกให้แก่บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางนี้ในกรณีที่เดินทางไปชั่วคราว หรือพำนักอยู่นาน ๆ ในต่างประเทศในฐานะที่เป็นบุคคลในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ หรือพลเรือนอเมริกันที่ยังรับราชการอยู่นอกเขตประเทศสหรัฐอเมริกา [การทูต] |
power of attorney | หนังสือมอบอำนาจ [การทูต] |
Presentation of Credentials | หมายถึง การยื่นสารตราตั้ง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศใดประเทศหนึ่ง ก่อนที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ จะต้องนำสารตราตั้ง (Credentials) ไปยื่นต่อประมุขของรัฐนั้น ๆ พิธียื่นสารตราตั้งจะกระทำไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ แล้วแต่จะพิจารณาเห็นความเหมาะสม และความเคร่งต่อธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นสำคัญ เช่น อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่พิธียื่นสารตราตั้งของเอกอัครราชทูตต่อองค์ประมุข ของประเทศค่อนข้างวิจิตรพิสดารมาก ส่วนบางประเทศมีพิธียื่นสารอย่างง่าย ๆ แทบจะไม่มีพิธีรีตองอย่างใดในสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตันดีซี พิธียื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดีของสหรัฐฯ กระทำอย่างเรียบง่าย กล่าวคือ พอถึงเวลาที่กำหนดในวันยื่นสารตราตั้ง อธิบดีกรมพิธีการทูตหรือผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะนำรถยนต์ลีมูซีนสีดำไปยังทำเนียบของเอกอัครราชทูต เพื่อรับเอกอัครราชทูตและครอบครัวไปยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ณ ตึกทำเนียบขาว ( White House)มีข้อน่าสนใจอันหนึ่งคือ ทางฝ่ายสหรัฐฯ จะสนับสนุนให้เอกอัครราชทูตพาภรรยาและบุตรทั้งชายหญิงไปร่วมในการยื่นสารตรา ตั้งนั้นด้วย การแต่งกายของเอกอัครราชทูตก็สวมชุดสากลผูกเน็คไทตามธรรมดา ระหว่างที่ยื่นสารมีการปฏิสันถารกันพอสมควรระหว่างเอกอัครราชทูตกับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีช่างภาพของทางราชการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และมอบภาพถ่ายให้แก่เอกอัครราชทูตในวันหลัง (ต่างกับพิธีของอังกฤษมาก) เอกอัครราชทูตไม่ต้องพาคณะเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย หลังจากพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว อธิบดีกรมพิธีการทูตจะนำเอกอัครราชทูตและครอบครัวกลับไปยังทำเนียบที่พักโดย รถยนต์คันเดิม เป็นอันเสร็จพิธียื่นสารตราตั้ง โดยที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างมีสถานเอกอัครราชทูตของตนตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี ดังนั้น ในวันไหนที่มีการยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ทางการทำเนียบขาวมักจะกำหนดให้เอกอัครราชทูตใหม่จากประเทศต่าง ๆ เข้ายื่นสารในวันนั้นราว 4-5 ประเทศติดต่อกัน มิใช่วันละคนอย่างที่ปฏิบัติในบางประเทศทันทีที่เอกอัครราชทูตยื่นสารตรา ตั้งต่อประธานาธิบดีเรียบร้อยแล้ว เอกอัครราชทูตจะมีหนังสือเวียนไปยังหัวหน้าคณะทูตทุกแห่งในกรุงวอชิงตันดีซี แจ้งให้ทราบว่าในวันนั้น ๆ เขาได้ยื่นสารตราตั้งต่อประมุขของรัฐ ในฐานะเอกอัครราชทูตเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับแสดงความหวังในหนังสือว่าความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างคณะผู้ แทนทางการทูตทั้งสอง ทั้งในทางราชการและทางส่วนตัว จะมั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้นอีก จากนั้น เอกอัครราชทูตใหม่ก็จะหาเวลาไปเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซีทีละราย กว่าจะเยี่ยมหมดทุกคนก็กินเวลานานอยู่หลายเดือนทีเดียว [การทูต] |
State Peace and Development Council | สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ เป็นองค์กรปกครองสูงสุดของพม่าในปัจจุบัน เดิมมีชื่อว่าสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (SLORC - State Law and Order Restoration Council) อันเป็น กลุ่มทหารพม่าที่เข้ายึดอำนาจการปกครองในวันที่ 18 กันยายน 2531 ภายหลังจากที่ประชาชนชาวพม่าได้ออกมาเดินขบวนประท้วงรัฐบาลภายใต้การนำของ พรรคโครงการสังคมนิยมพม่า การเข้ายึดอำนาจรัฐในครั้งนั้นเป็นไปอย่างนองเลือดและคณะทหารดังกล่าวได้ให้ สัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้ง แต่ภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 27 พฤษภาคม 2533 SLORC กลับปฏิเสธที่จะมอบอำนาจการปกครองให้แก่พรรค National League for Democracy (NLD) และเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 SLORC ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น SPDC [การทูต] |
Special Envoy | ผู้แทนพิเศษที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายใน กรณีต่าง ๆ [การทูต] |
Termination of Mission of Diplomatic Agent | ภารกิจของผู้แทนทางการทูตหรือหัวหน้าคณะทูตจะสิ้น สุดลง 1. ระยะเวลาที่ผู้แทนทางการทูตได้รับแต่งตั้งให้ประจำอยู่ในประเทศผู้รับได้ครบ กำหนดตามวาระ2. เมื่อวัตถุประสงค์ของภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติได้สัมฤทธิผลเรียบ ร้อยแล้ว3. ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากต้องโยกย้ายไปที่อื่น หรือลาออก หรือเนื่องจากครบเกษียณอายุ4. ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของรัฐบาลของตน หรือกระทำตามคำขอร้องของรัฐบาลของประเทศผู้รับ ซึ่งเขาได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงานอยู่5. เนื่องจากการเสด็จสวรรคตของพระมหากษัตริย์ของประเทศตน หรือประเทศที่ตนได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงาน6. หากตัวเขาเองได้กระทำการอันเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศบางอย่าง หรือเนื่องจากเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่คาดไม่ถึง และมีลักษณะร้ายแรงจริง ๆ ตัวเขาเองจะต้องรับผิดชอบในการตัดความสัมพันธ์7. เมื่อรัฐบาลผู้รับ ซึ่งตัวเขาได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงานอยู่นั้น แล้วจะด้วยเหตุผลอย่างใดก็ตาม ได้แจ้งให้เขาเดินทางออกไปจากประเทศในทันที โดยไม่ต้องระให้รัฐบาลของตนเรียกตัวกลับ8. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งของผู้แทนทางการทูต ดังเช่น ได้รับเลื่อนตำแหน่งจากอัครราชทูตขึ้นเป็นเอกอัครราชทูต9. เนื่องจากเกิดสงครามขึ้นระหว่างรัฐทั้งสอง10. เนื่องจากถูกถอดจากตำแหน่ง หรือสละราชบัลลังก์ของประมุขของประเทศใดประเทศหนึ่ง 11. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในประเทศใดประเทศหนึ่ง จากระบบพระมหากษัตริย์เป็นระบบสาธารณรัฐ หรือเป็นระบบสาธารณรัฐอันมีประมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมาย12. เนื่องจากรัฐใดรัฐหนึ่งของทั้งสองรัฐต้องสูญสภาวะในการเป็นรัฐเหตุผลข้างต้น ทั้งหมดนี้ เป็นทรรศนะของเซอร์เออร์เนสท์ ซาทาว ซึ่งได้ให้ไว้ในหนังสือของท่าน ชื่อว่า ?A Guide to Diplomatic Practice? ฉบับเรียบเรียงใหม่ครั้งที่ 4 โดยเซอร์เนวิลล์ แบลนด์ [การทูต] |
Waiver of Immunity | การสละความคุ้มกันทางการทูต ในเรื่องนี้บางประเทศออกกฎไว้ว่า ความคุ้มกันจากอำนาจทั้งทางแพ่งหรืออาญาของผู้แทนทางการทูตที่ประจำอยู่ใน ประเทศผู้รับ ตามที่กฎหมายระหว่างประเทศได้มอบให้ รวมทั้งคณะเจ้าหน้าที่ทางการทูตและบุคคลในครอบครัวของเขานั้น ย่อมสละมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมอย่างชัดแจ้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศของผู้นั้น เหตุผลของการออกกฎข้อนี้เป็นเพราะเขาถือว่า ความคุ้มกันนั้นมิได้เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่โดยตรงหากแต่เกี่ยวกับตำแหน่ง หน้าที่ของเขามากกว่าเรื่องการสละความคุ้มกันข้างต้น อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 32 ว่า?1. ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูตและของบุคคลที่อุปโภคความคุ้มกัน ภายใต้ขอ้ 37 อาจสละได้โดรัฐผู้ส่ง 2. การสละต้องเป็นที่ชัดแจ้งเสมอ 3. การริเริ่มคดีโดยตัวแทนทางการทูต หรือโดยบุคคลที่อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลภายใต้ข้อ 37 จะกันตัวแทนทางการทูตหรือบุคคลนั้นจากการอ้างความคุ้มกันของอำนาจศาล ในส่วนที่เกี่ยวกับการฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียกร้องสิทธิ สำคัญนั้น 4. การสละความคุ้มกันจากอำนาจศาลในส่วนที่เกี่ยวกับคดีแพ่งหรือคดีปกครอง ไม่ให้ถือว่ามีนัยเป็นการสละความคุ้มกันในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตาม คำพิพากษา ซึ่งจำเป็นต้องมีการสละต่างหากอีก? [การทูต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
ใบมอบฉันทะ | [bai møpchantha] (n, exp) EN: power of attorney ; letter of attorney ; proxy |
ใบส่งมอบสินค้า | [bai songmøp] (n) EN: invoice ; delivery note ; D/N ; delivery receipt ; delivery order ; packing slip FR: facture [ f ] ; bon de livraison [ m ] |
ชำระเงินเมื่อมอบสินค้า | [chamra ngoen meūa songmøp sinkhā] (v, exp) EN: payable on delivery |
ได้รับมอบอำนาจ | [dāirap møp-amnāt] (v, exp) EN: be authorized ; have been authorized |
อึ่งกรายหมอบุญส่ง | [eung krāi Mø Bunsong] (n, exp) EN: Boonsong's Horned Toad |
จดหมายมอบฉันทะ | [jotmāi møpchantha] (n, exp) EN: letter of attorney |
การชำระเงินหลังการส่งมอบสินค้า | [kān chamra ngoen lang kān songmøp sinkhā] (n, exp) EN: cash on delivery (COD) |
การจ่ายเงินสดเมื่อได้รับมอบเอกสาร | [kān jāi ngoensot meūa dāi rap møp ēkkasān] (xp) EN: cash against documents |
การเข้ารับมอบตำแหน่ง | [kān khao rap møp tamnaeng] (n, exp) EN: assumption of office |
การมอบหมาย | [kān møpmāi] (n) EN: assignation ; assignment ; entrusting ; delegation ; committing ; giving in charge FR: délégation [ f ] |
การมอบหมายอำนาจ | [kān møpmāi amnāt] (n, exp) EN: delegation of powers |
การมอบหมายอำนาจหน้าที่ | [kān møpmāi amnāt nāthī] (n, exp) EN: delegation of authority |
การมอบหมายความรับผิดชอบ | [kān møpmāi khwām rapphitchøp] (n, exp) EN: delegation of responsibility |
การมอบหมายงาน | [kān møpmāi ngān] (n, exp) EN: delegation of work |
การส่งมอบ | [kān songmøp] (n) EN: delivery FR: livraison [ f ] |
การส่งมอบโดยตรง | [kān songmøp dōitrong] (n, exp) EN: direct delivery ; manual delivery |
การส่งมอบสินค้า | [kān songmøp sinkhā] (n, exp) EN: delivery of goods FR: livraison de marchandises [ f ] |
ขอมอบ | [khømøp] (v) FR: délivrer |
กระรอกหลากสีหมอบุญส่ง | [krarøk lāk sī Mø Bunsung] (n, exp) EN: Dr. Boonsong's Variable Squirrel |
มอบ | [møp] (v) EN: award ; give ; confer ; grant ; bestow FR: conférer ; décerner ; attribuer ; délivrer ; remettre |
มอบ | [møp] (v) EN: deliver ; hand in ; hand over ; turn over ; surrender FR: livrer ; délivrer ; confier ; remettre ; se livrer |
หมอบ | [møp] (v) EN: crouch ; prostrate ; kowtow FR: se prosterner ; s'agenouiller |
มอบอำนาจ | [møp-amnāt] (v, exp) EN: authorize ; assign authority FR: accréditer ; mandater |
มอบบรรณาการแก่ | [møp bannākān kaē] (v, exp) EN: pay tribute to |
มอบฉันทะ | [møpchantha] (v) EN: authorize ; empower ; give a proxy to |
มอบให้ | [møp hai] (v, exp) EN: give ; bestow ; grant ; hand out FR: attribuer ; conférer |
หมอบคลาน | [møp khlān] (v, exp) EN: prostrate ; crouch ; crawl ; grovel ; fall into swoon ; kowtow |
หมอบลง | [møp long] (v, exp) EN: crouch ; lie prone ; lie on one's stomach |
มอบหมาย | [møpmāi] (v) EN: assign ; commit ; entrust FR: charger de ; confier |
มอบตัว | [møp tūa] (v, exp) EN: surrender oneself ; give oneself up ; hand (s.o.) over FR: se rendre ; capituler |
หนังสือมอบอำนาจ | [nangseū møp amnāt] (n, exp) EN: power of attorney ; proxy |
หนังสือมอบฉันทะ | [nangseū møp chantha] (n, exp) EN: proxy ; letter of power of attorney |
เงื่อนไขการส่งมอบสินค้า | [ngeūoenkhai kān songmøp sinkhā] (n, exp) EN: shipping terms |
เงื่อนไขส่งมอบ | [ngeūoenkhai songmøp] (n, exp) EN: terms of delivery |
งูลายสอหมอบุญส่ง | [ngū lāisø Mø Bunsong] (n, exp) EN: Boonsong's Keelback |
นกจับแมลงคอน้ำตาลแดง(หมอบุญส่ง) | [nok jap malaēng khø nāmtān daēng (Mø Bunsong)] (n, exp) EN: Hill Blue Flycatcher FR: Gobemouche des collines [ m ] ; Cyornis alpestre [ m ] ; Gobemouche de montagne [ m ] |
นกปรอดเล็กตาขาวหมอบุญส่ง | [nok prøt lek tā khāo Mø Bunsong] (n, exp) EN: Grey-eyed Bulbul |
ผู้มอบ | [phū møp] (n) EN: transferor |
ผู้มอบอำนาจ | [phū møp amnāt] (n) EN: proxy ; substitute ; representative |
ผู้รับมอบ | [phūrapmøp] (n) EN: consignee |
ผู้รับมอบอำนาจ | [phūrapmøp-amnāt] (n) EN: attorney |
ผู้รับมอบฉันทะ | [phūrap møpchantha] (n, exp) EN: proxy |
ผู้รับมอบที่ดิน | [phūrapmøp thīdin] (n, exp) EN: feoffee ; grantee ] |
รับมอบ | [rap møp] (v, exp) EN: accept (sth) ; receive (sth) FR: prendre en charge |
รับมอบหมาย | [rap møp] (v, exp) EN: accept an assignment ; receive responsibility ; be entrusted |
ส่งมอบ | [songmøp] (v) EN: deliver ; carry ; send to ; transfer FR: livrer ; fournir ; remettre |
ส่งมอบสินค้า | [songmøp sinkhā] (v, exp) EN: deliver goods |
ส่งมอบตัว | [songmøp tūa] (v, exp) EN: hand over (to) ; deliver (to) |
วันส่งมอบสินค้า | [wan songmøp sinkhā] (n, exp) EN: date of delivery ; delivery date |
Longdo Approved EN-TH
emeritus | (adj, n) กิตติคุณ เป็นตำแหน่งที่มหาวิทยาลัยมอบให้แก่บุคลากรอาวุโสที่เกษียณอายุแล้ว โดยเป็นผู้ที่ทำคุณประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เช่น president emeritus อธิการบดีกิตติคุณ, professor emeritus ศาสตราจารย์กิตติคุณ |
backorder | (n, vt) การสั่งซื้อสินค้าซึ่งยังไม่สามารถส่งมอบได้ในขณะนั้นเนื่องจากสินค้าหมด และผู้ขายจะส่งมอบได้เมื่อมีสินค้าพร้อมส่ง |
breach of trust | (n) การทำผิดหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย |
principal | (n) ผู้มอบฉันทะ |
Viennoiserie | (n) ขนมอบ ประเภทที่ใช้แป้งที่มียีสต์คล้ายกับขนมปัง แต่มีการใส่ส่วนประกอบเพิ่มเติมเช่น ไข่ เนย นม ครีม น้ำตาล เข้าไป ทำให้ได้ออกมาเป็นขนมที่ rich และมีรสหวาน โดยมากมักจะใช้แป้งที่ทำออกมาเป็นลักษณะเป็นชั้นๆ (laminated dough) ตัวอย่างขนมอบประเภทนี้ เช่น ครัวซอง (croissants), บริยอช (brioche), ขนมปังไส้ช็อกโกแลต (pain au chocolat) คำนี้เป็นภาษาฝรั่งเศส แปลตรงตัวคือ "things of Vienna" ของแห่งกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
accord | (vt) ให้, See also: มอบ, ทำให้, Syn. grant, concede, bestlow |
accordance | (n) การมอบรางวัลหรือตำแหน่งให้ |
accredit | (vt) แต่งตั้ง, See also: เพิ่มอำนาจให้, มอบอำนาจให้, Syn. authorize, give credentials to, certify |
adjunct | (adj) ซึ่งได้รับมอบหมายชั่วคราว, See also: ที่เข้ามาเสริมชั่วคราว |
appoint | (vt) มอบหมาย, See also: กำหนดหน้าที่, แต่งตั้ง, Syn. name, elect, select, designate |
appoint | (vi) มอบหมาย, See also: กำหนดหน้าที่, แต่งตั้ง |
assign | (vt) มอบหมาย, See also: สั่งงาน, Syn. appoint, authorize |
assignment | (n) การมอบหมาย, Syn. designation, authorization, nomination |
assignment | (n) งาน, See also: งานที่ได้รับมอบหมาย, Syn. task, responsibility, job |
authorization | (n) เอกสารอนุญาต, See also: เอกสารมอบอำนาจ, Syn. mandate |
authorize | (vt) ให้อำนาจ, See also: มอบอำนาจ, ให้สิทธิ, อนุญาต, Syn. empower, commission |
award | (vt) ให้รางวัล, See also: มอบรางวัล, ปูนบำเหน็จ, Syn. grant, give, confer |
allow for | (phrv) ีจ่ายให้ (มักเป็นทางกฎหมาย เกี่ยวกับการให้เงิน), See also: ยกให้, มอบให้ |
assign to | (phrv) มอบหมายให้ (มักใช้รูป passive voice), See also: กำหนดให้ |
bailor | (n) ผู้ส่งมอบทรัพย์สินให้ประกันตัว, Syn. bondsman |
bake sale | (n) ช่วงขายอาหารหรือขนมอบ |
baking sheet | (n) กระทะโลหะแบนสำหรับทำขนมอบกรอบ (เช่น ขนมปังกรอบ), Syn. cookie sheet |
baking tray | (n) ที่ใส่ขนมอบลักษณะแบนและทำด้วยโลหะ, Syn. baking sheet |
bequeath | (vt) ยกมรดกให้, See also: มอบทรัพย์สินให้, Syn. will, leave |
bestow | (vt) ให้, See also: สละให้, มอบรางวัลให้, มอบให้, Syn. confer, donate |
bestow on | (phrv) มอบให้, See also: พระราชทาน, ให้ |
bestow upon | (phrv) มอบให้, See also: พระราชทาน, ให้ |
blank cheque | (idm) คำอนุญาต, See also: อำนาจที่ได้รับมอบหมาย |
bow before | (phrv) ก้มตัว, See also: ค้อมตัว, หมอบ, โค้งคำนับ, Syn. prostrate before |
bow to | (phrv) ก้มตัว, See also: ค้อมตัว, หมอบ, โค้งคำนับ, Syn. prostrate before |
cash on delivery | (adj) ที่จ่ายเงินเมื่อส่งมอบของ, Syn. cash down, money down |
charge | (vt) ทำให้รับหน้าที่, See also: ทำให้แบกรับภาระหน้าที่, มอบหมายให้ |
charge | (vt) มอบ, See also: ส่งมอบ |
comfort | (n) ความสบายใจ, See also: ความสุขสบาย, ความอบอุ่นใจ, Syn. relaxation, satisfaction, contentment, ease, rest, assuagement, gratification, pleasure, happiness, complacency, complancence, Ant. discomfort, uneasiness, distress |
commit | (vt) มอบหมายให้, See also: ให้รับผิดชอบ, Syn. consign, entrust |
confide | (vt) ให้ความไว้วางใจ, See also: มอบความรับผิดชอบให้, Syn. entrust, charge, consign |
cordiality | (n) ความอบอุ่นเป็นกันเอง, Syn. friendly feeling, warm |
couch | (vt) ทำให้นอนลง, See also: ทำให้หมอบลง |
couch | (vi) นอนลง, See also: หมอบลง |
couchant | (adj) ที่หมอบอยู่ (ใช้กับสัตว์), Syn. lying down |
cower | (vi) ทำตัวงอ (ด้วยความกลัว), See also: หมอบ, งอตัว เนื่องจากความกลัว, Syn. crawl, creep, cringe |
crouch | (n) ท่าหมอบ |
crouch | (vt) หมอบ (ใช้กับสัตว์ที่อยู่ในท่าเตรียมวิ่งหรือกระโดดไปข้างหน้า) |
crouching | (adj) ที่อยู่ในท่าหมอบ, Syn. crouched, hunkered down |
crown | (vt) มอบตำแหน่งสูงสุดให้ |
cast in | (phrv) มอบบทบาท, See also: ให้รับบท |
charge with | (phrv) มอบหมายหน้าที่ให้, See also: มอบให้ |
commend to | (phrv) มอบให้ด้วยความไว้วางใจ, Syn. recommend to |
commit for | (phrv) มอบตัวเพื่อ, See also: ส่งตัวเพื่อ |
commit to | (phrv) มอบ (ภาระหน้าที่, ความไว้วางใจ, คน) ให้อยู่ในอำนาจของ, See also: มอบให้, มอบหมายให้, ส่งให้, Syn. confide to, consign to |
confide to | (phrv) มอบความไว้วางใจให้กับ, See also: มอบหมายให้, ส่งมอบให้, Syn. commit to, consign to |
consign to | (phrv) มอบหมายให้, See also: มอบความไว้วางใจให้, ส่งมอบให้ดูแล, Syn. commit to |
crouch down | (phrv) หมอบลง |
decorate with | (phrv) ติดเหรียญ (กล้าหาญ), See also: ประดับเหรียญตรา, มอบเหรียญตรา |
delegate to | (phrv) มอบหมายให้เป็นตัวแทน, See also: ให้แทน, Syn. depute to |
Hope Dictionary
abentee ballot | บัตรเลือกตั้งของผู้ที่ไม่มา (ซื่งมอบไว้ให้ก่อนล่วงหน้า) for an absentee Vote |
assign | (อะไซนฺ') vt. กำหนด, มอบหมาย, นัด, ระบุ, จัดให้, มอบหมายให้, อ้างว่า, โอนสิทธิให้แก่. -vi. โอนทรัพย์สิน. -assigner, assignor n., Syn. designate, appoint, attribute |
assignation | (แอสซิกเน'เชิน) n. การนัดพบ, การมอบหมาย, ภาระหน้าที่, การบ้านจากโรงเรียน, การโอน (สิทธิ์, ทรัพย์สิน, ดอกเบี้ย, ฯลฯ) , การบรรยาย, Syn. rendezvous, engagement |
assignment | (อะไซ'เมินทฺ) n. หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย, การบ้าน, การโอน (สิทธิทรัพย์สิน, ดอกเบี้ยหรืออื่น ๆ), Syn. duty, task, mission |
attorney | (อะเทอ'นี) n., (pl. -neys) ทนายความ, นักกฎหมาย, ตัวแทน, ผู้รับมอบอำนาจ |
attorney-in-fact | ตัวแทน, ผู้รับมอบอำนาจ |
authoris | (z) e (ออ'เธอไรซ') มอบอำนาจ, แต่งตั้งมอบหมาย. -authoris (z) er n. |
authorisation | (ออเธอริเ''เชิน) n. การประพันธ์, การอนุญาตหรืออำนาจที่ได้มอบหมาย (sanction, approval) |
authorization | (ออเธอริเ''เชิน) n. การประพันธ์, การอนุญาตหรืออำนาจที่ได้มอบหมาย (sanction, approval) |
award | (อะวอร์ด') vt. ให้รางวัล, มอบให้, ตัดสิน |
bail | (เบล) { bailed, bailing, bails } n. เงินประกัน, ผู้ประกันตัว, การประกันตัว vt. ประกันตัวให้แก่, อนุญาตให้ประกันตัว, เอาทรัพย์สินมอบให้, ช่วยให้หลุดพ้นจากภาวะที่ลำบาก, Syn. bond, security |
bailor | (เบ'เลอะ) n. ผู้ส่งมอบทรัพย์สินเพื่อประกันตัว |
bestow | (บีส'โท) { bestowed, bestowing, bestows } vt. มอบของขวัญให้, มอบรางวัลให้, ให้ใช้, จ่าย, สละให้, เก็บ, วาง, See also: bestowal n. ดูbestow bestowment n. ดูbestow, Syn. present, grant |
bounty | (เบา'ที) n. ความใจบุญ, ความอารี, ของขวัญ, เงินสงเคราะห์, สิ่งที่มอบให้, รางวัล, Syn. gifts, godsend |
cessionary | n. ผู้รับมอบ, ผู้ได้รับการยกให้ |
charge | (ชาร์ดจฺ) vt. บรรจุ, ประจุ, อัดไฟ, ทำให้เต็ม, วางเงื่อนไข, สั่ง, ตักเตือน, แนะนำ, กล่าวหา, ฟ้องร้อง, เรียกเก็บเงิน, โจมตี, เป็นภาระ บันทึกเป็นหนี้ -vi. พุ่งเข้าไป, พุ่งไปข้างหน้า, โจมตี, เรียกเก็บ, หมอบลง (ตามคำสั่ง) -n. การอัดประจุไฟฟ้า, กระแสไฟที่อัด, ปริมาณดินระเบิด, ภาระ |
commend | (คะเมนดฺ') { commended, commending, commends } vt. มอบ, แนะนำ, ให้ความไว้วางใจ, ฝากฝัง, สรรเสริญ, ยกย่อง, See also: commendable adj. ดูcommend commendableness n. ดูcommend |
commendation | (คอมมันเด'เชิน) n. การมอบ, การแนะนำ, การสรรเสริญ, การยกย่อง, สิ่งที่สรรเสริญ, การฝากฝัง, Syn. approbation |
commission | (คะมิช'เชิน) { commissioned, commissioning, commissions } n. การมอบหมายหน้าที่, การมอบหมาย, อำนาจที่มอบหมายให้, เอกสารมอบอำนาจ, คณะบุคคลที่ได้รับมอบหมายอำนาจให้กระทำบางอย่าง, คณะกรรมการ, คณะกรรมาธิการ, ค่านายหน้า, ค่าคอมมิชชั่น, สัญญาบัตร -Phr. (in commission เข้าประจ |
commissioned | (คะมิช'เชินดฺ) adj. ประจำการ, ซึ่งได้รับมอบอำนาจหน้าที่ |
commissioner | (สคะมิช'เชินเนอะ) n. ผู้ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่, ผู้ตรวจการณ์, กรรมาธิการ, กรรมการ, หัวหน้ากรม, อธิบดี |
commit | (คะมิท') { committed, committing, commits } vt. มอบ, มอบให้แก่, มอบหมาย (หน้าที่ ความไว้วางใจ) , ส่งโรงพยาบาลโรคจิต, ให้คำมั่น, กระทำ, ทำผิด -Phr. (commit to memory ท่องจำ จดจำ), See also: committable adj. |
commitment | (คะมิท'เมินทฺ) n. การมอบ, การมอบหมาย (หน้าที่ความไว้วางใจ) , การส่งให้พิจารณา, การกักตัวไว้ในโรงพยาบาลโรคจิต, การส่งเข้าคุก, การให้คำมั่นสัญญา, คำสั่งศาลให้กักหรือเข้าคุก, การกระทำความผิด, การพัวพัน, การเข้าสู่สงคราม., Syn. committal, delive |
conferee | (คอน ฟะรี') n. ที่ปรึกษา, ผู้ประชุม, ผู้ถูกมอบให้, ผู้รับปริญญา |
conferree | (คอน ฟะรี') n. ที่ปรึกษา, ผู้ประชุม, ผู้ถูกมอบให้, ผู้รับปริญญา |
confide | (คันไฟดฺ') vi., vt. มอบ, ไว้วางใจ, มอบความลับไว้อย่างไว้วางใจ, ปรับทุกข์., See also: confider n., Syn. trust, tell, entrust |
consign | (คันไซน์') { consigned, consigning, consigns } vt. ส่งมอบ, มอบให้กับ, ส่ง (ของ) โดยทางเรือ vi. เห็นด้วย., See also: consignable adj. ดูconsign consignation n. ดูconsign |
consignment | (คันไซนฺ'เมินทฺ) n. การส่งของ, การส่งมอบ, สิ่งของที่ส่งไป, Syn. transmittal |
contribution | (คอนทระบิว'เชิน) n. การบริจาค, การช่วยเหลือ, การอุดหนุน, การสนับสนุน, เรื่องเขียนที่ส่งไปตีพิมพ์, สิ่งที่มอบ, สิ่งที่บริจาค, ภาษีพิเศษ, Syn. grant |
cordiality | (คอร์ดิแอล'ลิที) n. คำพูดหรือพฤติการณ์ให้ความสนิทสนมหรือความอบอุ่น |
couch | (เคาชฺ) { couched, couching, couches } n. ที่นอน, เก้าอี้นอน, เก้าอี้ยาว, ถ้ำสัตว์. vt. ทำให้นอนลง, เอนลง, ขจัดออก, แสดงด้วยถ้อยคำ, เขียนด้วยคำพูด vi. นอนลง, ก้มลง, หมอบ, กอง, Syn. express |
couchant | (เคา'เชินทฺ) n. ซึ่งนอนลง, ซึ่งหมอบอยู่ |
couching | (เคา'ชิง) n. การนอนลง, การหมอบลง |
cower | (คาว'เออะ) { cowered, cowering, cowers } vt., vi. หมอบด้วยความกลัว, ยืนหรือนั่งเอาเข่าชิดกันและก้มตัวด้วยความกลัว, Syn. cringe, shrink, Ant. strut |
crouch | (เคราชฺ) { crouched, crouching, crouches } vi., vt., n. (การ) หมอบ, ย่อตัวลง, ย่อตัวและเข่าชิดแบบนอบน้อม, Syn. bend, stoop, bow |
delegate | (เดล'ละเกท) n. ตัวแทน, ผู้แทน vt. มอบหน้าที่ให้ทำการแทน, แต่งตั้งตัวแทน, See also: delegable adj. ดูdelegate, Syn. legate |
deliver | (ดิลิฟ'เวอะ) { delivered, delivering, delivers } vt. นำส่ง, ส่ง, ปล่อย, มอบ, นำข้าม, ส่งจดหมาย, ส่ง, ส่งต่อ, เสนอ, ช่วยคลอดลูก, คลอดลูก, ให้กำเนิด, ส่ง. adj. เร็ว, คล่องแคล่ว., See also: deliverable adj. ดูdeliver deliverer n. ดูdeliver |
demob | (ดิมอบ') n. ดูdemobilization |
deputation | (เดพยะเท'เชิน) n. การแต่งตั้งผู้รักษาการแทน, การแต่งตั้งตัวแทน, การมอบหมายหน้าที่ให้กับผู้รักษาการแทน, Syn. delegation |
devolve | (ดิวอลว') vt. ตกมาอยู่กับ, ทำให้กลิ้งลง, ตกทอดมรดก. vi. ถูกย้ายจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง, ถูกมอบงาน, See also: devolvement n. ดูdevolve |
dignify | (ดิก'นะไฟ) { dignified, dignifying, dignifies } vt. มอบเกียรติยศแก่, ทำให้เป็นเกียรติแก่, ทำให้สง่า, ทำให้ภูมิฐาน, Syn. exalt |
disposition | (ดิสโพซิซ'เชิน) n. ความโน้มน้าว, อารมณ์, การจัดการ, การมอบให้ |
docter | (ดอค'เทอะ) n. นายแพทย์, หมอ, ดอกเตอร์ vt. รักษา, ซ่อมแซม, ปลอม, ปรับปรุง, มอบปริญญาเอกให้ vi. รักษา, รับยา., See also: doctoral adj. ดูdocter doctorial adj. ดูdocter doctorship n. ดูdocter |
donate | (โด'เนท) vt. บริจาค, มอบให้, ให้, อภินันทนาการ. vi. มอบของขวัญให้, บริจาค, อภินันทนาการ. n., Syn. give |
donation | (โดเน'เชิน) n. การบริจาค, การมอบให้, ของที่บริจาค, เงินที่บริจาค, ของขวัญ, Syn. grant |
dower | (เดา'เออะ) n., vt. (มอบ) ทรัพย์สินของสามีที่ตายไปและหญิงหม้ายมีสิทธิได้รับ, สินสมรส, พรสวรรค์ |
drop | (ดรอพ) { dropped, dropping, drops } n. หยด, หยาด, จำนวนเล็กน้อย, หยดยา, ลูกตุ้ม, การตกลง vi., vt. (ทำให้) หยดลง, หย่อนลง, ตก, จมลง, สิ้นสุด, ถอน, ยุติ, หายไป, หมอบ, ตกต่ำลง, ถอยหลัง, เคลื่อนต่ำลง -Phr. (drop behind ล้าหลัง, ไม่ครบ, ไม่ถึง) |
empower | vt. ให้อำนาจ, มอบอำนาจ, อนุญาต., See also: empowerment n. ดูempower |
endorsee | n. ผู้รับโอน, ผู้รับเอกสารหรือตั๋วเงินที่ผู้อื่นเซ็นมอบไว้ให้ |
endow | (เอนเดา') vt. บริจาค, มอบของขวัญให้, มอบทุน, See also: endower n. ดูendow, Syn. provide |
Nontri Dictionary
assign | (vt) กำหนด, มอบหมาย, แต่งตั้ง, จัดให้ |
assignment | (n) การกำหนด, การมอบหมาย, การแต่งตั้ง |
authorize | (vt) ให้อำนาจ, ให้สิทธิ์, อนุญาต, มอบอำนาจ, แต่งตั้ง, มอบหมาย |
award | (vt) ให้รางวัล, ตัดสิน, มอบรางวัล |
bestow | (vt) ให้, มอบรางวัลให้, สละให้ |
charge | (vi) คิดราคา, กล่าวหา, ฟ้อง, บรรจุ, มอบหมาย, มอบให้ทำ |
closeness | (n) ความใกล้ชิด, ความสนิทสนม, ความทึบ, ความอบอ้าว, ความลับ |
commission | (vt) แต่งตั้ง, มอบหมายให้ทำ, มอบอำนาจหน้าที่, สั่งการ |
commit | (vt) ทำผิด, มอบหมาย, มอบให้แก่, ให้คำมั่น |
commitment | (n) การทำผิด, การมอบหมาย, การมอบความไว้วางใจ, การให้คำมั่น |
confer | (vt) มอบ, ให้, ประสาทให้ |
consign | (vt) ส่งให้, ส่งของ, ส่งมอบ |
consignment | (n) สิ่งที่ส่งไป, การส่งมอบ, การส่งของ |
couch | (vi) หมอบลง, ก้มลง |
couchant | (adj) ซึ่งหมอบอยู่, ซึ่งนอนลง |
crouch | (vi) คู้ตัว, หมอบ, ยอบตัว |
dedicate | (vt) อุทิศ, มอบให้, ถวาย |
delegate | (vt) ตั้งตัวแทน, มอบหน้าที่ |
delegation | (n) คณะผู้แทน, กลุ่มตัวแทน, การมอบหมายหน้าที่ |
deliver | (vt) ช่วยให้รอดพ้น, ช่วยทำคลอด, นำส่ง, มอบ, โยน, กล่าว |
deliverer | (n) ผู้ช่วยเหลือ, ผู้ช่วยชีวิต, ผู้ส่งให้, ผู้มอบอิสรภาพ |
delivery | (n) การพูดจา, การกล่าวสุนทรพจน์, การส่งมอบ, การคลอดลูก |
deputation | (n) คณะผู้แทน, การมอบหน้าที่, การตั้งตัวแทน |
devote | (vt) มอบให้, อุทิศ, ยกให้, สละ |
donate | (vt) อภินันทนาการ, บริจาค, ให้, มอบให้ |
donation | (n) การมอบให้, การบริจาค, ของบริจาค, ของขวัญ |
donor | (n) ผู้ให้, ผู้บริจาค, ผู้บริจาคเลือด, ผู้มอบ |
empower | (vt) มอบอำนาจ, ทำให้สามารถ, อนุญาต |
enable | (vt) ทำให้สามารถ, ให้สิทธิ์, ให้อำนาจ, มอบอำนาจ |
endow | (vt) ให้, บริจาค, มอบให้, มอบทุน, ยกสมบัติให้ |
endowment | (n) การบริจาค, การให้, ของบริจาค, เงินบริจาค, การมอบทุน |
endue | (vt) สวม, ใส่, มอบให้, ประสิทธิ์ประสาท |
entail | (vt) ถ่ายทอด, ยกให้, มอบให้, นำมาซึ่ง |
enthrone | (vt) ยกขึ้นไว้สูงสุด, ตั้งให้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน, ถวายราชสมบัติ, มอบอำนาจให้ |
entrust | (vt) ไว้ใจ, มอบหมาย, มอบความรับผิดชอบ |
give | (vi, vt) ให้, มอบ, ยกให้, อุทิศ, สละให้, แจก, ถึง, เสนอ, ยอม, ออกคำสั่ง |
giver | (n) ผู้ให้, ผู้มอบ |
graduation | (n) การได้รับปริญญา, การสำเร็จการศึกษา, พิธีมอบปริญญา |
grant | (vi, vt) ยอมรับ, อนุญาต, ยินยอม, ยอมให้, ตกลงตาม, มอบให้ |
hand | (vt) จับ, จูง, ถือ, หิ้ว, พยุง, ส่งให้, มอบ, ยื่น |
impart | (vt) บอก, แจ้ง, เล่าเรื่อง, ให้, ส่ง, มอบให้ |
inception | (n) การเริ่มต้น, พิธีมอบปริญญา |
instate | (vt) ติดตั้ง, เอาเข้าประจำตำแหน่ง, มอบตำแหน่ง |
intrust | (vt) มอบให้ไว้, ไว้ใจ |
investiture | (n) พิธีแต่งตั้ง, พิธีพระราชทาน, การมอบหมาย, การลงทุน |
investment | (n) การลงทุน, การซื้อหุ้น, เงินลงทุน, การให้, การมอบตำแหน่ง |
job | (vt) ขายส่ง, ให้เช่า, เหมาให้ทำ, มอบงาน |
lie | (vi) นอนลง, อยู่, พูดปด, โกหก, วางลง, หมอบ, พิง, เอกเขนก |
lodge | (vt) ให้ที่อาศัย, ให้อยู่, ฝาก, มอบ, เสนอ, รับรอง, พำนัก |
mandate | (n) คำสั่ง, อำนาจที่ได้รับมอบหมาย, อาณัติ, กฤษฎีกา, ประกาศิต |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
award to | (vt) มอบให้ |
awarded to | (vt) มอบให้ |
cfs : container freight station | [ซีเอ็ฟเอ็ส : คอนเท็นเน่อร์เฟรจสเตชั่น] (n) บริการนำสินค้าใส่ตู้และนำออกจากตู้ที่สถานีขนถ่ายสินค้าในตู้คอนเท็นเน่อร์ ผู้ส่งออกต้องนำตัวสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งที่ต้นทาง เพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ให้ CFS Charge จะเรียกเก็บจากผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าแล้วแต่กรณีของ INCOTERMS® หากขึ้นต้นด้วยตัวอักษร C เช่น CPT หรือ CIP จะเก็บจากผู้ส่งออก หากขึ้นต้นด้วยอักษร F เช่น FCA จะเก็บจากผู้นำเข้า และค่าบริการนี้จะรวมถึงเมื่อตู้สินค้าถึงปลายทางตัวแทนผู้ประกอบการที่ปลายทางจะทำการเปิดตู้นำสินค้าออกให้ที่ CFS เช่นเดียวกัน : awp |
consignee | [คันไซ้นี่] (n) ผู้รับมอบกรรมสิทธิ์ในสินค้า หากระบุในใบตราส่งจะอยู่ในช่องที่ 2 อ้านซ้ายริมบน ซึ่งมีเรียงกัน 3 ช่องเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด คือ ช่อง 1 Shipper คือ ผู้ส่งสินค้าซึ่งจะเป็นใครก็ได้ ช่อง 2 Consignee คือ ผู้รับมอบกรรมสิทธิ์ในสินค้า จะระบุต้นทาง หรือปลายทางก็ได้ตามบริบทแวดล้อม ช่อง 3 คือ Notify Party คือ ผู้รับแจ้งเมื่อมีการส่งสินค้าออกไปจากต้นทางแล้ว |
Free Carrier ( FCA ) | การเสนอราคา ที่ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อผู้ขายได้จัดสินค้าส่งมอบให้กับผู้รับขนส่ง ณ สถานที่ของผู้รับขนส่ง(เช่น บรรดาบริษัท shipping ต่างๆ) ตามที่ผู้ซื้อระบุไว้เพราะฉะนั้นในการเสนอราคา ผู้ขายก็จะเสนอราคาขาย ที่บวกค่าส่งมอบสินค้าในเบื้องต้นลงไปด้วย |
give a proxy to lawyer | มอบฉันทะให้ทนายความ |
handover | (n) การส่งมอบ, การส่งคืน, ยื่นให้, ให้, คืน |
Incoterms | (phrase) (International Commercial Terms)ข้อตกลงการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ |
place congestion charge | (n) ค่าธรรมเนียมความแออัดของสถานที่ส่งมอบ |
Service Provision | [เซอร์วิส โปรวิชันนิ่ง] (n) การส่งมอบบริการแก่ลูกค้าหลังผ่านการตรวจสอบ ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการให้บริการโทรคมนาคม |
turn in | [เทิร์น อิน] (phrase) เข้านอน, มอบตัว(turn [ N. ] in) |
Turnkey | (n) ลักษณะสัญญาซื้อทรัพย์สินโดยมีเงื่อนไขว่า มูลค่าทรัพย์สินเป็นมูลค่ารวมเบ็ดเสร็จจนกระทั่งทรัพย์สินสามารถใช้งานได้ โดยผู้ซื้อไม่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มอีก เนื่องจากการส่งมอบทรัพย์สินประเภทนี้ จำเป็นต้องมีขั้นตอนการดำเนินการติดตั้ง ทดสอบ อบรมวิธีการใช้ ตรวจรับ ฯลฯ ทรัพย์สินเหล่านี้จึงจะสามารถใช้งานได้ สัญญาซื้อทรัพย์สินเหล่านี้จึงมี 2 ลักษณะคือ Time and Material และ Turnkey โดย Time and Material จะเป็นการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ซื้อตามระยะเวลา (เช่น จำนวนวัน-คน หรือ Man-Day) ที่ใช้ไปจริง ตามอัตราที่ตกลงกันตามสัญญา |
under-commit and over-deliver | (phrase) ทำงานให้เหนือความคาดหมาย, ให้คำมั่นไว้น้อยๆ แต่ส่งมอบให้ได้มากกว่าที่คาดหวัง (เป็นวิธีบริหารงานเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า), See also: over deliver, Syn. under promise |
value date | (n) วันที่มีการส่งมอบ, วันที่มีผล |
ป้ายรางวัล | แผ่นบ้ายที่ใช้มอบรางวัลบนเวที |
เศียรนราฐ | [เศียรนราฐ, ] (name) ผู้มอบความตาย, See also: A. pon, thai, Syn. pon |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
委託 | [いたく, itaku] (n) การมอบหมาย |
施す | [ほどこす, hodokosu] (vi) 1. ให้, มอบให้ 2. ดำเนินการ, ทำการ |
担当 | [たんとう, tantou] (n) หน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมาย |
担当者 | [たんとうしゃ, tantousha] (n) ผู้รับผิดชอบ, ผู้ได้รับมอบหมาย |
授ける | [さずける, sazukeru] มอบให้, ให้(แบบนอบน้อม) (มักใช้กับการมอบรางวัล การให้ความรุ้) |
依頼 | [いらい, irai] มอบหมายหน้าที่ให้ |
代え | [かえ, kae] (n) (พรอค'ซี) n. ตัวแทน, ผู้แทน, การมอบฉันทะ pl. proxies, S. agency, deputy |
委任状 | [いにんじょう, ininjou] การมอบฉันทะ การมอบอำนาจ |
Saikam JP-TH-EN Dictionary
遣い | [つかい, tsukai] TH: ภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ทำ EN: mission (vs) |
委せる | [まかせる, makaseru] TH: มอบหมายให้ |
奉る | [たてまつる, tatematsuru] TH: มอบให้(แก่ผู้ที่สูงกว่า) EN: to offer |
引き継ぐ | [ひきつぐ, hikitsugu] TH: ส่งมอบงานต่อ EN: to hand over |
任す | [まかす, makasu] TH: มอบหมาย EN: to entrust |
寄付 | [きふ, kifu] TH: การบริจาคหรือมอบเงินให้แก่บุคคลอื่นเพื่อนำไปใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสั EN: donation |
贈る | [おくる, okuru] TH: มอบให้ EN: to give to |
贈る | [おくる, okuru] TH: มอบรางวัล EN: to award to |
贈る | [おくる, okuru] TH: มอบ(เหรียญตรา หรือ ยศ) EN: to confer on |
Longdo Approved DE-TH
Auftrag | (n) |der, pl. Aufträge| ใบสั่งงาน, ใบมอบหมายงาน เช่น Der Schreiner hatte den Auftrag, den Stühl zu reparieren. ช่างไม้ได้รับใบสั่งงานให้ซ่อมเก้าอี้, James Bond hat einen Auftrag erhalten, eine Bombe zu entschärfen. เจมส์ บอนด์ ได้รับมอบหมายงานให้กู้ระเบิดลูกหนึ่ง |
reichen | (vt) |reichte, hat gereicht| ส่งให้, มอบให้, ยื่น เช่น Kannst du bitte ein Buch meinem Freund in Thailand reichen? เธอช่วยมอบหนังสือเล่มหนึ่งให้แฟนฉันที่เมืองไทยได้ไหม, See also: Related: geben |
Longdo Unapproved DE-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
*ufgeben; verzichten (auf) | aufgebend; verzichtend* | ลาออก, สละ, ยกให้, เลิก, ทิ้ง, หนังสือลาออก, ปล่อยตัว, มอบตัว |
Longdo Approved FR-TH
chaud | (n) le chaud = ความร้อน, ความอบอุ่น, Ant. le froid |
ouef de Pâques | (phrase) ขนมที่ทำจากช็อคโกแลตชนิดหนึ่ง เป็นรูปไข่ ข้างในมักกลวง ไว้ใส่ขนมและลูกอมต่างๆ นิยมมอบให้แก่กันในช่วงวันอีสเตอร์ (Pâques) |
Longdo Unapproved FR-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
decommisssion | (vt) take out of commission. ไม่มีการมอบหมาย, ไม่มีการแต่งตั้ง |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 1.045 seconds
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม