329 ผลลัพธ์ สำหรับ *การปฏิบัติ*
ภาษา
หรือค้นหา: การปฏิบัติ, -การปฏิบัติ-NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
การปฏิบัติ | (n) practice, See also: performance, commitment, Syn. การกระทำ |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กฎ | ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง |
กฎข้อบังคับ | น. ข้อกำหนดที่กำหนดไว้เป็นแนวทางหรือระเบียบในการปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย. |
กฎหมายเหตุ | กฎเกณฑ์การปฏิบัติที่ตราขึ้นหรือเนื่องจากประเพณีซึ่งมีค่าบังคับ. |
การก่อวินาศกรรม | น. การกระทำใด ๆ อันเป็นการมุ่งทำลายทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ หรือสิ่งอันเป็นสาธารณูปโภค หรือการรบกวนขัดขวางหน่วงเหนี่ยวระบบการปฏิบัติงานใด ๆ ตลอดจนการประทุษร้ายต่อบุคคลอันเป็นการก่อให้เกิดความปั่นป่วนทางการเมืองการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของรัฐ. |
ข่มขืนใจ | ก. บังคับจิตใจหรือฝืนใจให้ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เช่น ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งเป็นความผิดต่อเจ้าพนักงาน. |
แขวง | (แขฺวง) น. เขต, แดน, ส่วน, ฝ่าย, อาณาบริเวณที่กำหนดไว้เพื่อสะดวกในการปฏิบัติราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง. |
ความรู้ | น. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ เช่น ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์, สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ เช่น ความรู้เรื่องสุขภาพ ความรู้เรื่องนิทานพื้นบ้าน |
คู่มือ | น. สมุดหรือหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ต้องการรู้เพื่อใช้ประกอบตำรา เพื่ออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการศึกษาหรือการปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเพื่อแนะนำวิธีใช้อุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง. |
เครือข่าย | น. ระบบ เส้นทาง หรือการปฏิบัติงานที่ติดต่อประสานกันเป็นโยงใย เช่น เครือข่ายโทรคมนาคม เครือข่ายวิทยุชุมชน, กลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่มีความเห็นใกล้เคียงกัน มีการติดต่อสนับสนุนซึ่งกันและกัน เช่น เครือข่ายนักวิจัย. |
จดหมายเหตุ | น. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน. |
จริยศึกษา | น. การศึกษาเกี่ยวกับความเจริญงอกงามในทางความประพฤติและการปฏิบัติตน เพื่อให้อยู่ในแนวทางของศีลธรรมและวัฒนธรรม. |
เซน, เซ็น ๑ | น. นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน แพร่หลายในญี่ปุ่น เป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุความรู้แจ้งอย่างฉับพลัน โดยการทำสมาธิและใช้ปัญญาขบคิดปริศนาธรรม. |
ดุริยางคศาสตร์ | (ดุริยางคะ-) น. วิชาว่าด้วยการบรรเลงเครื่องดุริยางค์ รวมถึงวิชาว่าด้วยทฤษฎีและการปฏิบัติด้านดนตรี. |
ถือศีล | ก. ปฏิบัติตนโดยไม่ฝ่าฝืนข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดการปฏิบัติกายและวาจาให้เป็นปรกติ. |
ทางสายกลาง | การปฏิบัติที่ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก, การปฏิบัติที่ไม่ตึงไปทางใดทางหนึ่ง. |
ทุจริตต่อหน้าที่ | ก. ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น. |
ธุร-, ธุระ | (ทุระ-) น. หน้าที่การงานที่พึงกระทำ, กิจในพระศาสนา มี ๒ อย่าง คือ การเล่าเรียน เรียกว่า คันถธุระ และ การปฏิบัติทางใจ เรียกว่า วิปัสสนาธุระ |
นมาซ | น. การปฏิบัติศาสนกิจในศาสนาอิสลามเพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ปฏิบัติวันละ ๕ เวลา, ละหมาด ก็เรียก. |
บริการ | (บอริกาน) น. การปฏิบัติรับใช้, การให้ความสะดวกต่าง ๆ, เช่น ให้บริการ ใช้บริการ. |
เบี้ยกันดาร | น. เงินที่จ่ายช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้างประจำ เนื่องจากการปฏิบัติราชการประจำในท้องที่กันดารหรือในโรงเรียนที่กันดาร. |
ปฏิบัติบูชา | น. การบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งสอน, คู่กับ อามิสบูชา ซึ่งเป็นการบูชาด้วยสิ่งของ. |
ปฐมพยาบาล | (ปะถม-) น. การปฏิบัติขั้นต้นยามฉุกเฉินตามวิธีแพทย์ก่อนลงมือรักษาพยาบาล. |
ประเมินผล | ก. พิจารณาและวัดคุณค่าของกิจการใด ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น ประเมินผลการสัมมนา ประเมินผลการปฏิบัติงานในรอบปีของบริษัท |
ประสบการณ์นิยม | การปฏิบัติที่เน้นประสบการณ์ |
ผู้ตรวจสอบภายใน | น. เจ้าหน้าที่ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินการเป็นการภายในขององค์กร เช่น ตรวจสอบการปฏิบัติงาน การใช้จ่าย การปฏิบัติตามคำสั่ง. |
ผู้ใหญ่บ้าน | น. ตำแหน่งผู้ปกครองท้องที่ ทำหน้าที่ช่วยเหลือนายอำเภอในการปฏิบัติหน้าที่และเป็นหัวหน้าราษฎรในหมู่บ้าน. |
ฝีมือ | โดยปริยายหมายถึง ความสามารถหรือทักษะและชั้นเชิงในการปฏิบัติการใด ๆ เช่น เขามีฝีมือในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้โดยรวดเร็ว. |
พรต | (พฺรด) น. กิจวัตร, การปฏิบัติ |
พรต | ข้อกำหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกายใจ มีศีลวินัยเป็นต้น เช่น บำเพ็ญพรต ทรงพรต ถือพรต, เรียกผู้บำเพ็ญพรต ว่า นักพรต. |
มัดจำ | น. เงินที่มอบไว้แก่คู่สัญญา โดยตกลงว่า ถ้าตนไม่ทำตามสัญญา ให้รับเงินนั้นเสีย เรียกว่า เงินวางมัดจำ, ประจำ ก็ว่า, (กฎ) สิ่งที่ให้ไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา และเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญากันขึ้นแล้ว. |
มายาการ | น. ความเชื่อถือและการปฏิบัติที่มุ่งให้เกิดผลด้วยการใช้พลังหรืออำนาจเหนือธรรมชาติ เช่นของขลัง พิธีกรรม หรือหลักลี้ลับ บังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ. |
ราชการบริหารส่วนกลาง, ราชการส่วนกลาง | น. การปกครอง ดูแล และการปฏิบัติภารกิจของรัฐในฐานะเป็นศูนย์กลางของการบริหารราชการแผ่นดิน โดยจัดแบ่งองค์กรในการปฏิบัติหน้าที่เป็นสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม เช่น ราชบัณฑิตยสถาน. |
ราชการบริหารส่วนภูมิภาค, ราชการส่วนภูมิภาค | น. การปกครอง ดูแล จัดการ และการปฏิบัติภารกิจของรัฐ ที่แยกไปดำเนินงานในพื้นที่นอกเขตนครหลวง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในท้องที่ในฐานะตัวแทนของราชการบริหารส่วนกลาง โดยแบ่งเขตการดำเนินงานออกเป็น จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน. |
ร่ำรวยผิดปกติ | น. การมีทรัพย์สินมากผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติหรือการมีหนี้สินลดลงมากผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติตามหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่. |
เรือลาดตระเวน | น. เรือรบขนาดใหญ่ ระวางขับน้ำประมาณ ๖, ๐๐๐-๒๐, ๐๐๐ ตัน มีความเร็วและมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานมากกว่าเรือประจัญบานมีหน้าที่ลาดตระเวน ตรวจการรุกล้ำทางฝั่งน้ำและทางอากาศยาน คุ้มกัน สนับสนุนกองเรือลำเลียงเป็นต้น. |
โรคศิลปะ | (โรกสินละปะ) น. การปฏิบัติเพื่อรักษาโรค. |
ละหมาด | น. การปฏิบัติศาสนกิจในศาสนาอิสลามเพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ปฏิบัติวันละ ๕ เวลา, นมาซ ก็เรียก. |
วต-, วตะ | การจำศีล, การบำเพ็ญทางศาสนา, การปฏิบัติ |
วัตร, วัตร- | ความประพฤติ เช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตร อุปัชฌายวัตร, การจำศีล. |
วัตรปฏิบัติ | (วัดตฺระ-, วัด-) น. การปฏิบัติตามหน้าที่หรือตามศีล. |
ศิลปะปฏิบัติ | น. วิชาว่าด้วยการปฏิบัติทางศิลปะ เช่น วาดเขียน ปั้นดิน จักสาน เย็บปักถักร้อย. |
ศีล | (สีน) น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดการปฏิบัติกายและวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม (ดู ทศพิธราชธรรม) |
ส่ง | น. การบรรเลงหรือขับร้องเมื่อจบท่อนหรือจบเพลง แล้วมีการทอดเสียงส่งต่อให้มีการปฏิบัติต่อไปอีก เช่น ร้องส่ง คือ ร้องจบส่งให้ดนตรีรับ ส่งรำ คือ ดนตรีบรรเลงจบแล้วทอดเสียงให้ผู้รำรำ. |
สถานี | ฐานส่งกำลังบำรุงของกองทัพเรือที่ประจำอยู่บนบก มีฐานใหญ่ ๆ ๓ แห่ง เรียกว่า สถานีทหารเรือ คือ สถานีทหารเรือกรุงเทพ สถานีทหารเรือสงขลา สถานีทหารเรือพังงา, ฐานส่งกำลังบำรุงหน่วยย่อยสำหรับการปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง เรียกว่า สถานีเรือ เช่น สถานีเรืออำเภอเชียงคาน สถานีเรืออำเภอโขงเจียม สถานีเรืออำเภอธาตุพนม |
ส่วนหน้า | น. เรียกเขตที่มีการรบ ว่า พื้นที่ส่วนหน้า, เรียกส่วนราชการที่แยกออกไปเพื่ออำนวยความสะดวกในการควบคุมบังคับบัญชาในการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติงานพิเศษ เช่น เรียกกองบัญชาการทหารสูงสุด ว่า กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า. |
สัญนิยม | (สันยะนิยม) น. การปฏิบัติหรือธรรมเนียมทั่วไปที่ใช้กันอยู่ในกลุ่มสังคมในขณะนั้น เช่น การไหว้เป็นสัญนิยมอย่างหนึ่งของคนไทย การใช้ตะเกียบคีบอาหารเป็นสัญนิยมในการกินอาหารของคนจีน. |
สุดโต่ง | มากเกินขอบเขตที่ควรเป็น, ตึงหรือหย่อนเกินไป, เช่น การปฏิบัติสุดโต่ง. |
สูติศาสตร์ | น. วิชาว่าด้วยการปฏิบัติรักษาเรื่องการตั้งครรภ์ การทำคลอด และภาวะหลังคลอด. |
หัวรุนแรง | ว. ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็น การปฏิบัติ หรือนโยบายเป็นต้น อย่างหักหาญโดยไม่ยอมประนีประนอมใด ๆ. |
องค์การบริหารส่วนจังหวัด | น. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยทับซ้อนกับพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น มีอำนาจหน้าที่ในการประสานและร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น รวมตลอดทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตพื้นที่ของตน. (ดู ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ประกอบ) |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
performance | ๑. การปฏิบัติการ๒. การชำระหนี้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
performance appraisal | การประเมินผลการปฏิบัติงาน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
performance bond | หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
practice | การปฏิบัติ, การประกอบกิจ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
reprisal | การตอบโต้, การปฏิบัติตอบโต้ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
reprisal | การตอบโต้, การปฏิบัติตอบโต้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
rating, service | การประเมินผลการปฏิบัติงาน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Rules of Practice | กฎวิธีการปฏิบัติ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
rule application | การใช้กฎ, การปฏิบัติตามกฎ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
service rating | การประเมินผลการปฏิบัติงาน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
survey of knowledge, attitude and practice (KAP survey) | การสำรวจความรู้ เจตคติหรือทัศนคติ และการปฏิบัติ (การสำรวจ เคเอพี) [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
observation | ๑. การสังเกต, ข้อสังเกต๒. การปฏิบัติตาม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
operation | การดำเนินการ, การปฏิบัติการ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
operation and maintenance (O&M) | การปฏิบัติการและบำรุงรักษา (โอแอนด์เอ็ม) [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
O&M (operation and maintenance) | โอแอนด์เอ็ม (การปฏิบัติการและบำรุงรักษา) [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
application, rule | การใช้กฎ, การปฏิบัติตามกฎ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
appraisal, performance | การประเมินผลการปฏิบัติงาน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
action | ๑. การกระทำ, การปฏิบัติ, การทำงาน๒. กิริยา๓. การแสดงฤทธิ์ (ยา) [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
abuse of function | การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
miscarriage | ๑. การปฏิบัติโดยมิชอบ๒. การแท้ง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
mala praxis | การปฏิบัติมิชอบในการประกอบวิชาชีพ [ ดู malpractice ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
malpractice | การปฏิบัติโดยมิชอบ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
malpractice | การปฏิบัติมิชอบในการประกอบวิชาชีพ [ ดู mala praxis ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
modus operandi (L.) | วิธีการปฏิบัติ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
consideration | ค่าตอบแทน (การปฏิบัติตามสัญญา), สินจ้าง [ ดู causa ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
computer operation | การดำเนินการคอมพิวเตอร์, การปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
del credere (L.) | การเข้ารับประกันของตัวแทนค้าต่าง (ในการปฏิบัติตามสัญญา) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
grapevine | ๑. สายสนกลใน (ในการปฏิบัติงาน)๒. การส่งข่าวโดยวิธีลับ, การซุบซิบ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
floating point operations per second (FLOPS) | การปฏิบัติการจุดลอยตัวต่อวินาท (ฟล็อปส์) [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
floating point operations per second (FLOPS) | การปฏิบัติการจุดลอยตัวต่อวินาที (ฟล็อปส์) [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
FLOPS (floating point operations per second) | ฟล็อปส์ (การปฏิบัติการจุดลอยตัวต่อวินาที) [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
FLOPS (floating point operations per second) | ฟล็อปส์ (การปฏิบัติการจุดลอยตัวต่อวินาที) [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
follow the fortunes | การปฏิบัติตาม [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
execution | ๑. การปฏิบัติเพื่อให้บังเกิดผล๒. การบังคับคดี๓. การประหารชีวิต [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
execution | ๑. การปฏิบัติตาม (ก. แพ่ง)๒. การบังคับคดี (ก. วิ.)๓. การประหารชีวิต (ก. อาญา) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
execution of a contract | การปฏิบัติตามสัญญา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
illegal practice | การปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
vicarious performance of contract | การปฏิบัติตามสัญญาโดยให้ผู้อื่นกระทำการแทน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
treatment | ๑. การปฏิบัติ๒. การรักษาพยาบาล [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
KAP survey (survey of knowledge, attitude and practice) | การสำรวจ เคเอพี (การสำรวจความรู้ เจตคติหรือทัศนคติ และการปฏิบัติ) [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
national treatment | การปฏิบัติต่อชนชาติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
unfair consumer practice | การปฏิบัติต่อผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
unfair trade practice | การปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Innovation | นวัตกรรม, นวัตกรรม หรือนวกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมา หรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่และเหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลองพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น โดย มีหลักการที่สำคัญอยู่ 3 ประการ ที่จัดเป็นหลักพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาหรือไม่ คือ <ul><li>สิ่งนั้นควรเป็นสิ่งที่ค้นพบ หรือประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ หรือการปรับปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมกับกาลสมัยมาใช้ในวงการศึกษา เพื่อให้ระบบการศึกษาก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ</li><li>ได้ผ่านการทดลอง การปรับปรุงพัฒนา จนเป็นที่ยอมรับกับอย่างแพร่หลาย</li><li>ได้มีการนำมาปฏิบัติจริงในวงการนั้น</li></ul> [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Company Man | พนักงานของบริษัทผู้ดำเนินการ, พนักงานของบริษัทผู้ดำเนินการ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของบริษัทสำหรับดูแลการปฏิบัติงานทุกอย่างที่แท่นเจาะตั้งแต่การวางแผนการเจาะ สั่งอุปกรณ์การเจาะ และทำหน้าที่ตัดสินใจในระหว่างปฏิบัติการเจาะหลุม [ปิโตรเลี่ยม] |
Company Representative | พนักงานของบริษัทผู้ดำเนินการ, พนักงานของบริษัทผู้ดำเนินการ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของบริษัทสำหรับดูแลการปฏิบัติงานทุกอย่างที่แท่นเจาะ ตั้งแต่การวางแผนการเจาะ สั่งอุปกรณ์การเจาะ และทำหน้าที่ตัดสินใจในระหว่างปฏิบัติการเจาะหลุม [ปิโตรเลี่ยม] |
Down Time | ระยะเวลาที่การปฏิบัติงานในทะเล, ระยะเวลาที่การปฏิบัติงานในทะเล, Example: ระยะเวลาที่การปฏิบัติงานในทะเลไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องมาจากสภาพอากาศผิดปรกติหรือจากสาเหตุอื่นๆ [ปิโตรเลี่ยม] |
Escape clause action | การปฏิบัติตามข้อกำหนดงดเว้น [เศรษฐศาสตร์] |
Best practices | วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ [การจัดการความรู้] |
Waste package | หีบห่อกากกัมมันตรังสี, ภาชนะที่มีกากกัมมันตรังสีในรูปแบบต่างๆ หลังการปรับสภาพบรรจุอยู่ รวมทั้งวัสดุดูดซับ และ/หรือ วัสดุบุผนังภาชนะ ซึ่งต้องจัดเตรียมให้เป็นไปตามข้อกำหนดว่าด้วยการปฏิบัติงาน การเก็บรักษา การขนส่ง และการขจัดกากกัมมันตรังสี เช่น ถังเหล็กขนาด 200 ลิตร ที่มีกากแก้วกัมมันตรังสีหลังจากปรับสภาพแล้วบรรจุอยู่ [นิวเคลียร์] |
Task related monitoring | การเฝ้าสังเกตตามภารกิจ, การตรวจติดตามปริมาณรังสีที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการเฉพาะ เพื่อให้ได้ข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจอย่างเร่งด่วนสำหรับการบริหารจัดการในการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจเป็นการเฝ้าสังเกตรายบุคคล หรือ การเฝ้าสังเกตสถานปฏิบัติการ [นิวเคลียร์] |
Routine monitoring | การเฝ้าสังเกตประจำ, การตรวจติดตามปริมาณรังสีอย่างต่อเนื่อง โดยมีความมุ่งหมายเพื่อแสดงว่า สภาพการปฏิบัติงาน รวมทั้งระดับของปริมาณรังสีรายบุคคล เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด การเฝ้าสังเกตประจำ อาจเป็นการเฝ้าสังเกตรายบุคคล หรือการเฝ้าสังเกตสถานปฏิบัติการ, Example: [นิวเคลียร์] |
Radiation worker | ผู้ปฏิบัติงานรังสี, ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีชนิดก่อไอออน เช่น ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีอาจรวมถึงผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเทคนิค แต่มีความจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณรังสีหรือรังสีดังกล่าวเป็นประจำ ทำให้มีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าประชาชนทั่วไป เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานขับรถขนส่งสารกัมมันตรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีจะกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติงานทางรังสีตามกฎระเบียบ หรือแล้วแต่กรณี</br> <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีโอกาสได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานเป็นปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี หรือผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี จะมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ</br> [นิวเคลียร์] |
Public exposure | การรับรังสีของบุคคลทั่วไป, การได้รับรังสีของบุคคลทั่วไปจากต้นกำเนิดรังสี หรือจากการดำเนินกิจการทางรังสีซึ่งได้รับอนุญาต หรือกรณีเกิดอุบัติเหตุ ทั้งนี้ไม่รวมถึงการได้รับรังสีจากการปฏิบัติงาน จากการรักษาทางการแพทย์ และจากต้นกำเนิดรังสีในธรรมชาติ (ดู occupational exposure และ medical exposure ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Nuclear fuel cycle | วัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์, การปฏิบัติการทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เริ่มตั้งแต่การทำเหมืองแร่ยูเรเนียมหรือทอเรียม ผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อให้มีความบริสุทธิ์ และการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม การประกอบชุดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ การแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้ว การวิจัยและพัฒนาใดๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดการกากกัมมันตรังสี รวมถึงการเลิกดำเนินงานด้วย [นิวเคลียร์] |
Internal radiation | รังสีในร่างกาย, รังสีจากต้นกำเนิดรังสีใดๆ ที่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์ รวมทั้งที่ร่างกายได้รับจาก น้ำ อาหาร อากาศ การบำบัดรักษาทางการแพทย์ การปฏิบัติงานทางรังสี และจากอุบัติเหตุทางรังสี [นิวเคลียร์] |
Internal exposure | รังสีในร่างกาย, รังสีจากต้นกำเนิดรังสีใดๆ ที่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์ รวมทั้งที่ร่างกายได้รับจาก น้ำ อาหาร อากาศ การบำบัดรักษาทางการแพทย์ การปฏิบัติงานทางรังสี และจากอุบัติเหตุทางรังสี [นิวเคลียร์] |
Action research | การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, การวิจัยแบบมีส่วนร่วม เน้นการปฏิบัติและมีการร่วมมือ ใช้การทำงานเป็นกลุ่ม ผู้ร่วมวิจัยทุกคนมีส่วนสำคัญและมีบทบาทเท่าเทียมกันในทุกกระบวนการของการวิจัย ทั้งการเสนอความคิดเชิงทฤษฎี และการปฏิบัติ ตลอดจนการวางนโยบายการวิจัย [Assistive Technology] |
Field research | การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, การวิจัยแบบมีส่วนร่วม เน้นการปฏิบัติและมีการร่วมมือ ใช้การทำงานเป็นกลุ่ม ผู้ร่วมวิจัยทุกคนมีส่วนสำคัญและมีบทบาทเท่าเทียมกันในทุกกระบวนการของการวิจัย ทั้งการเสนอความคิดเชิงทฤษฎี และการปฏิบัติ ตลอดจนการวางนโยบายการวิจัย [Assistive Technology] |
Fuel cycle | วัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์, การปฏิบัติการทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เริ่มตั้งแต่การทำเหมืองแร่ยูเรเนียมหรือทอเรียม ผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อให้มีความบริสุทธิ์ และการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม การประกอบชุดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ การแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้ว การวิจัยและพัฒนาใดๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดการกากกัมมันตรังสี รวมถึงการเลิกดำเนินงานด้วย [นิวเคลียร์] |
Compliance unit | หน่วยงานดูแลการปฏิบัติงานของสมาชิก, Example: ก.ล.ต. กำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนาคาร ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จัดตั้ง Compliance Unit ขึ้นในบริษัท เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแล การปฏิบัติงานของบริษัทซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง หรือจรรยาบรรณในทางวิชาชีพ รวมถึงการรับเรื่องร้องเรียนของลูกค้า หลักการนี้นับเป็นแนวทางในการให้สมาชิกได้มีการกำกับดูแลตนเอง [ตลาดทุน] |
Abuse of | การปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม [TU Subject Heading] |
Malpractice | การปฏิบัติโดยมิชอบ [TU Subject Heading] |
Practice (Philosophy) | การปฏิบัติ (ปรัชญา) [TU Subject Heading] |
Undercover operations | การปฏิบัติการลับ [TU Subject Heading] |
Nuclear fuel cycle | วัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์, การปฏิบัติการทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เริ่มตั้งแต่การทำเหมืองแร่ยูเรเนียมหรือทอเรียม ผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อให้มีความบริสุทธิ์ และการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม การประกอบชุดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ การแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้ว การวิจัยและพัฒนาใดๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดการกากกัมมันตรังสี รวมถึงการเลิกดำเนินงานด้วย [นิวเคลียร์] |
ASEAN Environment Year | ปีสิ่งแวดล้อมอาเซียน กำหนดให้มีขึ้นทุก 3 ปี เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับ ประชาชนทุกระดับในสังคม รวมทั้งส่งเสริมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม แก่สาธารณชนในการนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน [การทูต] |
Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman and Degrading Treatment or Punishment | อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติ หรือการลงโทษอื่น ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี [การทูต] |
Commencement of the Functions of the Head of Diplomatic Mission | การเริ่มต้นรับหน้าที่ของหัวหน้าคณะผู้แทนทางการ ทูต กล่าวคือ เมื่อหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตเดินทางไปถึงนครหลวงของประเทศผู้รับแล้ว ควรรีบแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทราบว่า ตนได้เดินทางมาถึงแล้วและขอนัดเยี่ยมคารวะ ตามปกติกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของอธิบดีกรมพิธีการทูตจะดำเนินการตระเตรียมให้หัวหน้าคณะ ผู้แทนทางการทูตได้เข้ายื่นสารตราตั้งต่อไประหว่างนั้น หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะต้องไม่ไปพบเยี่ยมผู้ใดเป็นทางการ จนกว่าจะได้ยื่นสารตราตั้งเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี หัวหน้าคณะผู้แทนอาจขอพบเป็นการภายในกับหัวหน้าของคณะทูตานุทูต (Dean หรือ Doyen of the Diplomatic Corps) ได้ เพื่อขอทราบพิธีการปฏิบัติในการเข้ายื่นสารตราตั้งต่อประมุขของประเทศผู้รับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 13 ว่า1. พึงถือได้ว่าหัวหน้าคณะผู้แทนได้เข้ารับภารกิจหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้งหรือเมื่อตนได้บอกกล่าวการมาถึงของตน พร้อมทั้งได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้งต่อกระทรวงการต่างประเทศของ รัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกันในแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป2. ลำดับของการยื่นสารตราตั้ง หรือสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง จะได้พิจารณากำหนดตามวันและเวลาของการมาถึงของหัวหน้าคณะผู้แทน [การทูต] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] |
Conduct of Diplomatic Mission Towards the Receiving State | ในการปฏิบัติของคณะผู้แทนทางการทูตต่อรัฐผู้รับ นั้นหน้าที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของนักการทูตคือ จะต้องละเว้นจากการเข้าแทรกแซงใด ๆ ในกิจการภายในของรัฐผู้รับ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตราที่ 41 ว่า1. โดยไม่เสื่อมเสียแก่เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของตน เป็นหน้าที่ของบุคคลทั้งมวลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นนี้ ที่จะเคารพกฎหมายรวมทั้งข้อบังคับของรัฐผู้รับ บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ที่จะไม่แทรกสอดในกิจการภายในของรัฐนั้นด้วย2. ธุรกิจในทางการทั้งมวลกับรัฐผู้รับ ซึ่งรัฐผู้ส่งได้มอบหมายแก่คณะผู้แทนให้กระทำกัน โดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นเช่นที่อาจจะตกลงกัน3. สถานที่ของคณะผู้แทนต้องไม่ใช้ไปในทางที่ไม่ต้องด้วยกับการหน้าที่ของคณะผู้ แทน ดังที่ได้กำหนดลงไว้ในอนุสัญญานี้ หรือโดยกฎเกณฑ์อื่นของกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป หรือด้วยการตกลงพิเศษอื่นใดที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ข้อ 42 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติด้วยว่า ตัวแทนทางการทูตจะต้องไม่ปฏิบัติกิจกรรมใดทางวิชาชีพหรือพาณิชย์เพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวในรัฐผู้รับตามบทบัญญัติข้างต้นของอนุสัญญากรุงเวียนนา พอจะตีความหมายได้ว่า ผู้แทนทางการทูตจะต้องเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อที่จะธำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้งความปลอดภัยในรัฐผู้รับ การปฏิบัติใดๆ ที่ถูกต้องของผู้แทนทางการทูตนั้นย่อมเป็นเครื่องประกันอย่างดีที่สุด ที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตนั้นจะถูกล่วงละเมิดมิได้ตามที่กล่าวอ้าง [การทูต] |
Consular Fees and Charges | ค่าธรรมเนียมและค่าภาระทางกงสุล ตามข้อ 39 ของอนุสัญญากรุงเวียนนา ได้กำหนดไว้ว่า1. สถานที่ทำการทางกงสุล อาจเรียกเก็บในอาณาเขตของรัฐผู้รับ สำหรับการปฏิบัติงานทางกงสุลซึ่งค่าธรรมเนียม ค่าภาระตามที่ได้บัญญัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง2. จำนวนเงินที่เก็บได้ในรูปค่าธรรมเนียมและค่าภาระตามที่อ้างถึงในวรรค 1 ของข้อนี้ ใบรับสำหรับค่าธรรมเนียมหรือค่าภาระเช่นว่านั้น จะได้รับยกเว้นจากค่าติดพันและภาษีทั้งปวงในรัฐผู้รับ [การทูต] |
Diplomatic Pouch | ถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique? [การทูต] |
Diplomatic Privilege of Accommodation | มาตรา 21 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตบัญญัติไว้ว่า ?1. รัฐผู้ต้อนรับจะต้องอำนวยความสะดวกตามบทกฎหมายของประเทศของตน ในการจัดการให้ได้มาซึ่งดินแดนของตนให้แก่รัฐผู้ส่ง ซึ่งจำเป็นแก่การปฏิบัติภาระหน้าที่ของรัฐนั้น หรือช่วยเหลือให้รัฐผู้ส่งได้รับอาคารที่พำนักด้วยวิธีการหนึ่งใด 2. ในกรณีจำเป็น รัฐผู้รับจะต้องช่วยให้คณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ได้มีสถานที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม?เมื่อตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่ง ตั้งได้เดินทางไปถึงประเทศที่เขาจะเข้าดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ณ ที่นั้นมีคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลของเขาประจำทำงานอยู่แล้ว ตามปกติตัวแทนทูตดังกล่าวจะมีสำนักงานทางการทูตตั้งอยู่แล้วในสถานที่เหมาะ สม มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับการปฏิบัติงานโดยครบครัน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาหรืออุปทูตชั่วคราวมักจะเตรียมการไว้ก่อน แล้วเกี่ยวกับที่พักอาศัย เรียกว่าทำเนียบ นอกจากว่าจะมีทำเนียบตั้งอยู่ภายในบริเวณตึกสถานเอกอัครราชทูตซึ่งรัฐบาลของ เขาเป็นเจ้าของเองแต่ถ้าหากตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ จะต้องตั้งคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ก็จะต้องประสบกับปัญหาเรื่องหาสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ตั้งสถานเอกอัคร ราชทูตขึ้น ในกรณีเช่นนี้จึงจำเป็นจะต้องอาศัยคำแนะนำและความช่วยเหลือจากกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ กระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศจะมีแผนกหนึ่งทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่คณะทูตต่างประเทศโดยเฉพาะ เป็นแผนกหนึ่งในกรมพิธีการทูต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อยู่แล้ว [การทูต] |
Diplomatic Privileges and Immunities | เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต] |
Duration of Diplomatic Privileges and Immunities | ระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน? [การทูต] |
Economic and Social Council | คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (แห่งสหประชาชาติ) เป็นองค์กรหลักของสหประชาชาติ ที่ทำหน้าที่ในการศึกษาและรายงานเกี่ยวกับเรื่องระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา อนามัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจัดทำคำแนะนำเสนอต่อสมัชชา สมาชิกของสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมการเคารพ และการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน และอิสรภาพของมวลมนุษย์ ทั้งนี้ ประกอบด้วยสมาชิกของสหประชาชาติ 54 ประเทศ [การทูต] |
Excellency | เป็นคำแสดงตำแหน่งที่ใช้เรียกตัวเอกอัครราชทูต ทั้งโดยวาจาและโดยลายลักษณ์อักษร เป็นคำที่เริ่มใช้กันตั้งแต่สมัยทำสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) เมื่อ ค.ศ. 1648 และได้นำมาใช้ทั่วทวีปยุโรปหลังจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนา (ค.ศ. 1815) แต่ถ้าบังเอิญเอกอัครราชทูตของประเทศหนึ่งใดเป็นบุคคลเชื้อพระวงศ์ แทนที่จะเรียกเอกอัครราชทูตผู้นั้นด้วยคำว่า Excellency ก็ให้เรียกด้วยคำว่า ?Royal Highness? แทนแต่เดิมคำ ?Excellency? ซึ่งเป็นคำเติมหน้าชื่อแสดงตำแหน่งนี้ใช้เรียกเฉพาะตัวเอกอัครราชทูตเท่า นั้น แต่ในทางปฏิบัติ ทุกวันนี้ได้นิยมใช้เรียกตัวอัครราชทูต (Ministers) เช่นกัน ส่วนภริยาของเอกอัครราชทูตนั้นก็ได้รับการยกย่องโดยใช้คำ Excellency ด้วย แต่สำหรับเอกอัครราชทูตที่เป็นสตรี สามีของเธอจะไม่ได้รับเรียกเช่นนั้น นอกจากนั้น คำแสดงตำแหน่งนี้ยังใช้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีหลายประเทศได้นำไปใช้เรียกประมุขของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีด้วย แต่การปฏิบัติดังนี้ย่อมแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ส่วนเลขาธิการสหประชาชาตินั้น ใช้เรียกกันเป็นทางการว่า Excellency และสำหรับกรณีที่ไม่เป็นทางการก็เรียกว่า Mr. Secretary-General [การทูต] |
Exercise of Consular Functions in a Third State | การปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐที่สาม (A Third State) ในเรื่องนี้ข้อ 7 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้ระบุว่า?เมื่อได้บอกกล่าวให้รัฐที่เกี่ยวข้องทราบ แล้ว รัฐูผู้ส่งอาจมอบหมายให้สถานีที่ทำการทางกงสุลที่ได้ตั้งอยู่ในรัฐหนึ่งโดย เฉพาะปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในอีกรัฐหนึ่งได้ นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดเจนโดยรัฐหนึ่งในบรรดารัฐที่เกี่ยวข้อง?นอกจาก นี้ สถานที่ทำการทางกงสุลยังอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลแทนรัฐที่สามได้ เรื่องนี้ข้อ 8 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้กำหนดว่า เมื่อบอกกล่าวอย่างเหมาะสมแก่รัฐผู้รับแล้ว สถานที่ทำการทางกงสุลของรัฐผู้ส่งอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐผู้รับ แทนรัฐที่สามได้ นอกจากรัฐผู้รับนั้นจะคัดค้าน และพนักงานฝ่ายกงสุลอาจปฏิบัติการหน้าที่ของตนนอกเขตกงสุลได้ในพฤติการณ์ พิเศษ และด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อ 6 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา อย่างไรก็ดี ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่จะให้พนักงานฝ่ายกงสุลปฏิบัติการหน้าที่ทาง กงสุลนอกเขตกงสุล ฝ่ายที่เห็นด้วยว่าควรปฏิบัติการนอกเขตกงสุลได้ อ้างว่า การใช้เอกสิทธิ์เช่นนั้นเป็นการชอบแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า อาจจะมีภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้นในสถานที่นอกเขตกงสุล ซึ่งเป็นความจำเป็นที่พนักงานฝ่ายกงสุลจะได้ให้บริการในทันที่ที่มีการแจ้ง โดยกะทันหัน [การทูต] |
Exercise by Diplomatic Missions of Consular functions | การปฏิบัติหน้าที่กงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูต ตามข้อ 70 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้บัญญัติไว้ว่า1. บทของอนุสัญญานี้ใช้แก่ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูตด้วย เท่าที่บริบทจะอำนวยให้2. ชื่อของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในแผนกกงสุล หรือมิฉะนั้นได้รับภาระให้ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลของคณะผู้แทนนั้น จะต้องแจ้งไปยังกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่กระทรวงนั้นที่แต่งตั้งไว้3. ในการปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุล คณะผู้แทนทางการทูตอาจติดต่อกับก. เจ้าหน้าที่ท้องที่ของเขตกงสุลนั้นข. เจ้าหน้าที่ส่วนกลางของรัฐผู้รับ ถ้าหากกระทำได้ตามกฎหมาย ข้อบังคับ และจารีตประเพณีของรัฐผู้รับ หรือตามความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง4. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูตที่อ้างถึงในวรรค 2 ของข้อนี้ จะยังคงอยู่ในบังคับแห่งกฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับความ สัมพันธ์ทางการทูต [การทูต] |
Freedom of Communication | เสรีภาพในการติดต่อและสื่อสาร ถือเป็นสิทธิทางกฎหมาย (ไม่ใช่เพียงเอกสิทธิ์เท่านั้น) ที่สำคัญอันหนึ่งของนักการทูตย่อมจะเห็นได้ชัดว่า คณะทูต จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างพึงพอใจ นอกจากจะมีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการที่จะมีหนังสือหรือวิถีทางอื่นๆ เพื่อติดต่อกับรัฐบาลของตน หรือจะส่งและรับจดหมาย หรือหนังสือต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ถือสารพิเศษ หรือโดยถุงทางการทูต (Diplomatic pouch) สำหรับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ดังนี้?1. ให้รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางการทั้งมวลเพื่อการติดต่อกับรัฐบาล และกับคณะผู้แทนและสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่ง ไม่ว่าตั้งอยู่ ณ ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางที่เหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้ถือสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการ หมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงทางการทูต (Diplomatic Pouch) จะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูต จะต้องมีเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน สามารถแสดงลักษณะของถุงทางการทูต ซึ่งอาจบรรจุเพียงเอกสารหรือสิ่งของทางการทูตที่เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่า นั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการแสดงสถานภาพของตน และจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ส่วนบุคคลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ ในกรณีที่ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการแสดงจำนวนหีบห่อซึ่ง รวมเป็นถุง แต่ไม่ใช่ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรง และโดยเสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน? [การทูต] |
Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-China | การประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Honorary Consul | กงสุลกิตติมศักดิ์ " ได้แก่ บุคคลในท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งและมอบหมายให้ดูแล ส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศและคนชาติในพื้นที่ในเขตอาณา และดำเนินการตรวจลงตราหนังสือเดินทางแก่บุคคลที่จะเดินทางเข้าประเทศที่ กงสุลกิตติมศักดิ์เป็นผู้แทน การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ และต้องยื่นสัญญาบัตร และได้รับอนุมัติบัตรเช่นเดียวกับผู้แทนฝ่ายกงสุลอาชีพ (career consular officer) ทั้งนี้ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์จะได้รับมอบหมายให้ดูแลเขตอาณาที่ครอบคลุมพื้นที่ กว้างกว่าและสำคัญกว่า ในส่วนของไทย กงสุลกิตติมศักดิ์แตกต่างจากกงสุลอาชีพใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) กงสุลกิตติมศักดิ์ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม หรือเป็นผู้นำที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับไทย (2) กงสุลกิตติมศักดิ์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสำนักงาน ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์หรือสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ทั้งหมด (3) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุลน้อยกว่ากงสุลอาชีพ ในการปฏิบัติงานของกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยจะมีคู่มือกงสุลกิตติมศักดิ์ เป็นระเบียบกฎเกณฑ์และข้อมูลสำหรับการปฏิบัติงาน " [การทูต] |
Inter-Governmental Maritime Consultative Organization | องค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต] |
International Civil Aviation Organization | เรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต] |
International Finance Corporation | คือบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1956 และเริ่มมีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษที่มีสัมพันธ์กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957 แม้บรรษัทจะดำเนินงานใกล้ชิดกับธนาคารโลก แต่ก็มีฐานะเป็นสิ่งที่มีตัวตนทางกฎหมายแยกต่างหาก และมีกองทุนที่แตกต่างจากกองทุนของธนาคารโลกด้วยวัตถุประสงค์ของบรรษัทคือ ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนให้การผลิตของวิสาหกิจของเอกชนในประเทศสมาชิกเจริญเติบโตยิ่ง ขึ้น การที่จะกระทำตามวัตถุประสงค์นี้ได้ บรรษัทจะนำเงินไปลงทุนในวิสาหกิจด้านการผลิตฝ่ายเอกชน โดยดำเนินงานร่วมกับเอกชนผู้ลงทุน ทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) คล้ายกับเป็นแหล่งรวมโอกาสต่าง ๆ ของการลงทุนฝ่ายเอกชนทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ รวมทั้งฝ่ายจัดการที่มีประสบการณ์ชำนาญ นอกจากนั้น ยังช่วยกระตุ้นการลงทุนด้านการผลิตของเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศด้วย บรรษัทยังได้รับอนุญาตให้ทำการกู้ยืมเงินโดยใช้วิธีขายพันธบัตรของตนเอง รวมทั้งตั๋วสัญญาการใช้เงินบรรษัทการเงินระหว่างประเทศดำเนินงานโดยองค์กร ต่าง ๆ ของตน คืออำนาจทั้งหมดของบรรษัทจะขึ้นอยู่กับคณะผู้ว่าการ (Board of Govemors) ประกอบด้วยผู้ว่าการและผู้ว่าการสำรอง (Altemates) จากธนาคารโลกซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศต่าง ๆ อันเป็นสมาชิกของบรรษัทด้วย คณะผู้ว่าการจะคอยควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของบรรษัทให้ถูกต้อง ตัวประธานธนาคารโลก จะทำหน้าที่เป็นประธานคณะผู้ว่าการของบรรษัทโดยตำแหน่งด้วย บรรษัทมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] |
International Telecommunica-tion Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1865 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในตอนนั้นมีชื่อว่าสหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ.1932 จึงมีการรับรองอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน และหลังจากนั้นอีก 2 ปี คือ ค.ศ.1934 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออนุสัญญาโทรเลขและวิทยุโทรเลข เป็นอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 ได้มีการปรับปรุงใหม่ ณ เมืองแอตแลนติกซิตี้ สหรัฐอเมริกา แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1954 เป็นต้นมา สหภาพดังกล่าวหรือที่เรียกโดยย่อว่า ITU อยู่ภายใต้การบริหารปกครองตามอนุสัญญา ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมเต็มคณะ ณ กรุงบุเอนอสไอเรส เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1952วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การไอทียูคือ ต้องการวางระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศสำหรับโทรเลข โทรศัพท์และบริการทางวิทยุ เพื่อที่จะส่งเสริมและขยับขยายให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้บริการเหล่านี้ให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยต้องการให้อัตราค่าบริการต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กล่าวโดยทั่วไปองค์การไอทียูนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศ เพื่อปรับปรุงการใช้โทรคมนาคมทุกชนิดให้เป็นประโยชน์ก้าวหน้าขึ้น พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือทางเทคนิคให้นำออกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้และพยายามประสานการปฏิบัติของชาติต่าง ๆ ให้กลมกลืนกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน หัวหน้าของสหโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีตำแหน่งเรียกว่า เลขาธิการ องค์การนี้ตั้งอยู่ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
International Trade Organization | องค์การการค้าระหว่างประเทศ มีหน้าที่ดำเนินงานเกี่ยวกับความตกลงทั้วไปว่าด้วยภาษี ศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ ต้องการขยายการค้าของโลกให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น ขจัดการกีดกันการค้า หรือพยายามลดให้เหลือน้อยที่สุด เช่น การตั้งข้อจำกัดโควต้า เป็นต้น ตัดทอนภาษีศุลกากรทั่วโลกให้ต่ำลง ดูแลตลาดวัตถุดิบให้เป็นไปอย่างยุติธรรม และพยายามควบคุมด้านการค้าของการร่วมมือกันทางธุรกิจ (Cartels) จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดคือ ป้องกันมิให้กลับไปสู่การดำเนินการทางการค้าที่ตัดราคากันอย่างหั่นแหลก เหมือนเมื่อระยะปี ค.ศ. 1930 ถึง 1939 นั่นเองอย่างไรก็ดี ตั้งแต่มีการปฏิบัติใช้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้ามาจนบัด นี้ ก็ได้รับผลสำเร็จตามแนววัตถุประสงค์อย่างมากมาย เช่น มีประเทศสมาชิกหลายสิบประเทศลดภาษีศุลกากรและรักษาระดับภาษีอย่างมีเสรีภาพ แต่ละปี ประเทศสมาชิกจะได้ยินได้ฟังเสียงร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการค้า ละเมิดกฎเกณฑ์ของความตกลงทั่วไป แล้วเสียงร้องเรียนดังกล่าวก็ได้รับการแก้ไขจนเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการปรับปรุงและดัดแปลงข้อกำหนดของความตกลงทั่วไป ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา [การทูต] |
marginalisation (marginalization) | การถูกเบียดตกขอบ สภาวการณ์ด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่ออนาคตการพัฒนาและเศรษฐกิจของประเทศใด ประเทศหนึ่ง ทำให้ไม่สามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากเศรษฐกิจโลกที่มีบูรณาการ (integration) เพิ่มขึ้น สภาพการณ์ดังกล่าวมักถูกมองว่าเกิดขึ้นควบคู่ไปกับโลกาภิวัตน์ และประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดมีโอกาสเสี่ยงที่จะตกอยู่ใน สภาวการณ์นี้ เนื่องจากประสบความยากลำบากในการปฏิบัติตามพันธกรณีการเปิดเสรีทางการค้า กอปรกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ประเทศเหล่านี้พึ่งพาตกต่ำลง [การทูต] |
New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] |
Organization of American States | คือองค์การของรัฐในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ยกเว้นประเทศนิคารากัวและอีเควดอร์ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐในอเมริกาด้วยกัน ณ กรุงริโอเดจาเนโร เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาริโอ ประเทศเหล่านั้นต่างมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากรัฐในอเมริกาหนึ่งใดถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธหรือถูกคุกคามจาการรุกราน ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดตั้งองค์การของรัฐอเมริกัน (Organization of American States) ขึ้น ณ กรุงโบโกตา ประเทศโบลิเวีย ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ในอเมริการวม 21 ประเทศ ยกเว้นประเทศแคนาดา เพื่อดำเนินการให้เป็นผลตามสนธิสัญญาริโอ และจัดวางระบบการรักษาความมั่นคงร่วมกันขึ้น กฎบัตร (Charter) ขององค์การได้มีผลบังคับให้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1951องค์การโอเอเอสนี้ เป็นองค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง ภายในกรอบของสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกต่างปฏิญาณร่วมกันที่จะทำการธำรงรักษากระชับสันติภาพ ตลอดจนความมั่นคงในทวีปอเมริกา เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุแห่งความยุ่งยากใด ๆ และต้องการระงับกรณีพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันโดย สันติวิธี อนึ่ง ถ้าหากมีการรุกรานเกิดขึ้นก็จะมีการปฏิบัติการร่วมกัน นอกจากนี้ ยังจะหาทางระงับปัญญาหาทางการเมือง ทางการศาล และทางเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิก พร้อมทั้งจะพยายามร่วมกัน ในการหาหนทางส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม สำนักงานใหญ่ขององค์การโอเอเอสตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตันดีซี นครหลวงของสหรัฐอเมริกา [การทูต] |
peace keeping | การรักษาสันติภาพ " หมายถึง การส่งคณะเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนในนามของสหประชาชาติเข้าไปใน พื้นที่ที่มีความขัดแย้งโดยความยินยอมของ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่ดูแลให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิง หรือความตกลงสันติภาพ หรือกระบวนการแก้ไขปัญหาโดยวิถีทาง การเมือง " [การทูต] |
Persons Entitled to Diplomatic Privileges and Immunities | บุคคลทีมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้ม ครองกันทางการทูต มาตรา 37 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ว่า ?1. คนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ระบุไวในข้อ 29 ถึง 36 2. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการของคณะผู้แทน รวมทั้งคนในครอบครัวของตน ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตน ตามลำดับ ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ระบุไว้ในข้อ 29 ถึง 35 เว้นแต่ว่าความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่งและทางปกครองของรัฐผู้รับ ที่ได้ระบุไว้ในวรรค 1 ของข้อ 31 นั้น ไม่ให้ขยายไปถึงการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปเกินภารกิจหน้าที่ของตน ให้บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการได้อุปโภคเอกสิทธิ์ ที่ได้ระบุไว้ในข้อ 36 วรรค 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งของที่ได้นำเข้าเมื่อเข้ารับหน้าที่ครั้งแรกด้วย 3. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการของคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้ รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับให้ได้อุปโภคความคุ้มกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติตามภารกิจหน้าที่ตน การยกเว้นจากค่าภาระผูกพันรวมทั้งภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่ตนได้รับโดยเหตุผล จากการรับจ้างของตน และการยกเว้นที่ได้บรรจุไว้ในข้อ 33 4. คนรับใช้ส่วนตัวของบุคคลในคณะผู้แทน ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ประจำในรัฐผู้รับ ให้ได้รับการยกเว้นจากค่าภาระผูกพัน หรือภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่เขาได้รับโดยเหตุผลจากการรับจ้างของตนในส่วน อื่น คนรับใช้ส่วนตัวเช่นว่านี้ อาจได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเท่าที่รัฐผู้รับยอมให้เท่านั้น อย่างไรก็ดี รัฐผู้รับต้องใช้อำนาจของตนเหนือบุคคลเช่นว่านี้ ในการที่จะไม่แทรกสอดโดยไม่สมควรในการปฏิบัติการหน้าที่ของคณะผู้แทน [การทูต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
โดยการปฏิบัติ | [dōi kān patibat] (x) EN: by doing FR: par la pratique |
การปฏิบัติ | [kān patibat] (n) EN: practice ; performance ; commitment FR: pratique [ f ] ; procédé [ m ] |
การปฏิบัติโดยมิชอบ | [kān patibat dōi michøp] (n, exp) EN: malpractice |
การปฏิบัติการ | [kān patibatikān] (n) EN: operating ; actions FR: opération [ f ] |
การปฏิบัติการฉุกเฉิน | [kān patibatikān chukchoēn] (n, exp) EN: crisis management |
การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ | [kān patibat nāthī dōi michøp] (n, exp) EN: abuse of function |
การปฏิบัติหน้าที่ทางการทูต | [kān patibat nāthī thāng kānthūt] (n, exp) EN: performance of diplomatic acts |
การปฏิบัติหน้าที่ทางทูต | [kān patibat nāthī thāng thūt] (n, exp) EN: performance of diplomatic acts |
การปฏิบัติงาน | [kān patibatngān] (n, exp) EN: performance ; action |
การปฏิบัติตามสัญญา | [kān patibat tām sanyā] (n, exp) EN: execution of a contract |
การปฏิบัติตามกลยุทธ์ | [kān patibat tām konlayut] (n, exp) EN: strategy implementation |
การปฏิบัติตามวินัย | [kān patibat tām winai] (n, exp) EN: disciplinary action |
การประเมินผลการปฏิบัติงาน | [kān pramoēnphon kān patibat ngān] (n, exp) EN: performance appraisal |
การเรียนโดยการปฏิบัติ | [kān rīenrū dōi kān patibat] (n, exp) EN: learning by doing FR: apprentissage par la pratique |
ขอบเขตการปฏิบัติ | [khøpkhēt kān patibat] (n, exp) EN: sphere of activity |
คู่มือการปฏิบัติงาน | [khūmeū kān patibat ngān] (n, exp) EN: work manual |
กระบวนการปฏิบัติงานมาตรฐาน | [krabūankān patibat ngān māttrathān] (n, exp) EN: standard operating procedure (SOP) |
แผนการปฏิบัติ | [phaēn kān patibat] (n, exp) EN: action plan FR: plan d'action [ m ] |
ผลการปฏิบัติงาน | [phon kān patibatngān] (n, exp) EN: performance |
ประเมินผลการปฏิบัติงาน | [pramoēn phon kān patibatngān] (n, exp) EN: assess the performance ; performance appraisal |
ระบบการปฏิบัติการ | [rabop kān patibatikān] (n, exp) EN: operating system FR: système d'exploitation [ m ] |
วิธีการปฏิบัติ | [withīkān patibat] (n, exp) EN: procedure |
Longdo Approved EN-TH
adherence | การปฏิบัติตาม |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
abuse | (n) การข่มเหง, See also: การกระทำทารุณ, การปฏิบัติไม่ดีต่อ, Syn. mistreatment, harm, damage, Ant. help |
act | (n) การทำหน้าที่, See also: การปฏิบัติหน้าที่ |
agency | (n) หน้าที่, See also: การปฏิบัติงาน |
attention | (n) การรักษาที่เหมาะสม, See also: การปฏิบัติที่สมควร, การดูแล |
Catholicism | (n) ศรัทธาและการปฏิบัติของนิกายโรมันคาทอลิก |
deal by | (phrv) ได้รับการปฏิบัติอย่างดีหรือไม่ด (มักใช้รูป passive voice) |
dose of one's own medicine | (idm) การปฏิบัติแบบเดียวกับที่เคยกระทำกับผู้อื่น (มักเป็นสิ่งไม่ดี) |
DOS | (n) ระบบการปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์, See also: ระบบดอส, Syn. Disk Operating System |
ecumenicity | (n) ความเชื่อและการปฏิบัติตนเพื่อส่งเสริมความสามัคคีของคริสเตียนทั่วโลก, Syn. ecumenism |
ecumenism | (n) ความเชื่อและการปฏิบัติตนเพื่อส่งเสริมความสามัคคีของคริสเตียนทั่วโลก, Syn. ecumenicity |
execution | (n) ิการดำเนินการ, See also: การจัดการ, การปฏิบัติการ, Syn. administration |
function | (n) การทำงาน, See also: การทำหน้าที่, การปฏิบัติหน้าที่, Syn. operation, performance, working |
get a raw deal | (idm) ได้รับการปฏิบัติไม่ดี, See also: ได้รับการปฏิบัติที่ไม่ยุติธรรม |
get the red carpet treatment | (idm) ได้รับการปฏิบัติอย่างดีหรือเป็นพิเศษ |
get what is coming to one | (idm) ได้รับการปฏิบัติอย่างสาสม |
ill-treatment | (n) ความทารุณต่อคนหรือสัตว์, See also: การปฏิบัติไม่ดีต่อ คน / สัตว์, Syn. abuse, maltreatment |
ill-use | (n) การทำร้าย, See also: การทารุณ, การข่มเหง, การปฏิบัติไม่ดีต่อคน / สัตว์, Syn. ill-treat |
irregularity | (n) การปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามระเบียบปกติ, Syn. disorganization, desultoriness |
linkage | (n) การเชื่อมต่อ, See also: การต่อ, การประสาน, การผนึก, การปฏิบัติการร่วมกัน |
maltreatment | (n) การทารุณ, See also: การกระทำผิด, การประทุษร้าย, การปฏิบัติไม่ดี, Syn. injustice, injury, abuse, violation |
misuse | (n) การปฏิบัติอย่างเลวร้าย, See also: การกระทำทารุณ, การปฏิบัติไม่ดีต่อบางคนอย่างไม่สุจริตใจ |
observance | (n) การปฏิบัติตาม, Syn. compliance, obedience, Ant. non-observance |
piety | (n) การปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา, See also: ธรรมจริยา |
pragmatic | (adj) เน้นการปฏิบัติ, Syn. pragmatic, useful, Ant. impractical |
purview | (n) ขอบเขต (อำนาจ, การปฏิบัติงาน), Syn. foreground, jurisdiction |
technology | (n) เทคโนโลยี, See also: การนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในการปฏิบัติ, วิทยาศาสตร์ประยุกต์ |
tour | (n) ระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ |
treatment | (n) การปฏิบัติ |
voodooism | (n) การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาและความเชื่อของชาววูดู, See also: ในหมู่เกาะอินเดียตะวันตก |
workableness | (n) การทำได้, See also: การปฏิบัติได้ |
Hope Dictionary
abstractionism | (แอ็บสแทรค' ชันนิสซึม) การปฏิบัติหรือศิลปของนามธรรม |
acquittal | (อะควิท' เทิล) n. การตัดสินให้พ้นโทษ, การปฏิบัติ, การชำระหนี้, Syn. discharge |
act | (แอคทฺ) n., vt., vi. การกระทำ, พฤติการณ์, ฉาก, องก์ (ละคร) , การเล่นละคร, ฤทธิ์, อำนาจ, การดำเนินคดี, การปฏิบัติหน้าที่, การบังเกิดผล, การแกล้งทำ, เหตุการณ์ในละครหรือหนังสือ, เครื่องจักร, การเคลื่อนไหว, การรบ, Syn. perform, do, pl abbr. activated clotting enzyme |
action | (แอค' เชิน) n. การกระทำ, การปฏิบัติ, การดำเนินการ, ท่าทาง, ขั้นตอน, การฟ้องร้อง, ฤทธิ์, อำนาจ, เหตุการณ์, การใช้กำลัง, การเดิน, การเคลื่อนไหว, การรบ, การพนัน, การกระทำที่ตื่นเต้น. -actions ความประพฤติ |
agency | (เอ'เจนซี) n. หน่วยงานบริการ, สำ-นักงานของตัวแทน, บริษัทตัวแทน, หน่วยงานราชการ, หน้าที่หรือการปฏิบัติงานของตัวแทน, กำลัง, พลัง, Syn. organization, office, means |
altruism | (แอล' ทรูอิสซึม) n. หลักการปฏิบัติที่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง (philanthropy) -altruist n. |
anga | (อัง' กะ) n. วิธีการปฏิบัติข้อหนึ่งข้ใดของโยคะ |
blackbox | กล่องไม่ติดไฟของเครื่องบิน/ใช้บันทึกการปฏิบัติการบินตลอดเวลา, Syn. flight recorder |
catholicism | (คะธอล'ลิซิสซึม) n. ศรัทธาระบบและการปฏิบัติการของนิกายคาทอลิก, ความมีใจกว้าง, การแพร่หลาย, การมีอยู่ทั่วไป, Syn. catholicity |
computer operation | การดำเนินการคอมพิวเตอร์การปฏิบัติการคอมพิวเตอร์หมายถึง การที่คอมพิวเตอร์ทำงานไปตามคำสั่ง เช่น อ่านข้อมูล นำข้อมูลไปเก็บ นำข้อมูลมาบวก ลบ ฯ เป็นต้น แล้วได้ผลตามที่ต้องการ |
cycle time | เวลาครบรอบหมายถึงเวลาที่หน่วยประมวลผลกลางใช้ในการปฏิบัติตามคำสั่ง โดยเริ่มตั้งแต่ไปดึงคำสั่งมา (fetch) และลงมือกระทำการ (execute) มีหน่วยวัดเป็น นาโนวินาที (nano second) หรือหนึ่งในพันล้านวินาที และพิโกวินาที (picosecond) หรือหนึ่งในล้านล้านวินาที |
doing | (ดู'อิง) n. การกระทำ, การปฏิบัติการ, พฤติการณ์, สิ่งที่กระทำ., See also: doings n., pl. เหตุการณ์, สิ่งที่ปรากฎขึ้น, สิ่งที่กระทำ, Syn. acts, actions |
dysfunction | (ดิสฟัง'เชิน) n. ความผิดปกติของการปฏิบัติหน้าที่ |
entry point | เลขที่อยู่แรกเข้าจุดแรกเข้าหมายถึง จุดเริ่มต้นของคำสั่งแรกในชุดคำสั่ง (program) หรือชุดคำสั่งประจำ (routine) การปฏิบัติงานจะเริ่มต้น ณ จุดนี้ |
flowchart symbol | สัญลักษณ์ผังงานหมายถึงรูปสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้แทนการปฏิบัติงานของข้อมูล และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน (flowchart) ดู flowchart ประกอบ |
fulfillment | n. การทำให้บรรลุผล, การบรรลุผล, การปฏิบัติภารกิจ, การทำให้พอใจ, การทำให้สมบูรณ์. |
fulfilment | n. การทำให้บรรลุผล, การบรรลุผล, การปฏิบัติภารกิจ, การทำให้พอใจ, การทำให้สมบูรณ์. |
function | (ฟังคฺ'เชิน) หน้าที่, การปฏิบัติงาน, ภาระกิจ, งาน, พิธี, บทบาท, ประสิทธิภาพ, การชุมนุมใหญ่, (คณิตศาสตร์) จำนวนที่ขึ้นอยู่กับจำนวนอื่น, ฟังค์ชัน. vi. ปฏิบัติหน้าที่, กระทำ, ใช้ตำแหน่งหน้าที่, Syn. perform, work, do |
ide | (ไอดีอี) ย่อมาจาก integrated drive electronics ซึ่งก็คือตัวประสานอีกตัวหนึ่งที่ใช้ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดดิสก์ แบบต่าง ๆ ที่รู้จักกันดีมีหลายรูปแบบ เช่น SCSI, ESDI และ ST 506 |
ill-use | vt. ปฏิบัติต่ออย่างไม่ดี, ทำทารุณ, บีบคั้น. n. การปฏิบัติต่อที่ไม่ดี, การทารุณ, การบีบคั้น, Syn. maltreatment |
inactivate | (อินแอค' ทะเวท) vt. ทำให้เฉื่อยชา, ทำให้ขี้เกียจ, หยุดยั้งการปฏิบัติงานของ., See also: inactivation n. |
job control program | ชุดคำสั่งควบคุมงานหมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมชุดหนึ่ง ที่มีหน้าที่ควบคุมสายงานในการปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ เริ่มตั้งแต่อ่านข้อมูลเข้าไปเก็บ กำหนดว่าจะต้องใช้อุปกรณ์หรือชุดคำสั่งใดบ้าง (เช่น ตัวแปลภาษาใด) กำหนดการเริ่มกระทำการ (execute) และการส่งผลที่คำนวณแล้วไปยังเครื่องพิมพ์ ฯมีความหมายเหมือน job control language |
learning | (เลิร์น'นิง) n. การเรียนรู้, การศึกษา, ความรู้, การปรับบุคลิกภาพจากการปฏิบัติฝึกฝนหรือประสบการณ์, Syn. education |
legality | (ลิแกล'ลิที) n. ความถูกต้องตามกฎหมาย, การปฏิบัติตามกฎหมาย, หน้าที่หรือความรับผิดชอบด้วยกฎหมาย |
linkage | (ลิง'คิจฺ) n. การเชื่อมต่อ, การต่อ, การประสาน, การผนึก, การปฏิบัติการร่วมกัน, เครื่องต่อ, ลิ้นร่วม, Syn. union, Ant. breach |
machine | (มะชีน') n. เครื่องจักร, เครื่อง, จักร, อุปกรณ์, ระบบที่ซับซ้อน, ระบบการทำงาน, การปฏิบัติงาน, กิจกรรมของพรรคหรือองค์การ. vt. กระทำด้วยเครื่อง, เตรียมด้วยเครื่อง. |
malpractice | (แมลแพรค'ทิส) n. การปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือไม่ถูกต้อง, การประกอบโรคศิลปะที่บกพร่องหรือไม่ถูกต้อง, การประพฤติผิด |
master-slave arrangement | การจัดแบบ "นาย-บ่าว"หมายถึง การจัดอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในลักษณะที่เรียกว่า "นาย-บ่าว" กล่าวคือให้อุปกรณ์ตัวหนึ่งเป็นนาย ควบคุมการปฏิบัติงานของอุปกรณ์อีกตัวหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นบ่าว |
missal | (มิส'เซิล) n. หนังสือสวดมนต์และการปฏิบัติต่าง ๆ ของพิธีฉลองการรับประทานอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซูคริสต์ |
oa | (โอเอ) ย่อมาจาก office automation แปลว่า การอัตโนมัติสำนักงาน, สำนักงานอัตโนมัติ หมายถึง การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ภายในสำนักงาน เพื่อให้ดำเนินการไปโดยอัตโนมัติ หลีกเลี่ยงการปฏิบัติด้วยมือให้มากที่สุด เป็นต้นว่า การทำจดหมายเวียน (ข้อความในจดหมายเหมือน ๆ กัน แต่ส่งถึงชื่อคนหลายคน) ในกรณีนี้ หากใช้คอมพิวเตอร์ทำ ก็จะประหยัดเวลาได้มาก เพราะสามารถสั่งทีเดียวได้เลย ส่วนในความหมายของคำแปลที่ว่า "สำนักงานอัตโนมัติ" นั้น อธิบายง่าย ๆ ได้ว่า หมายถึง สำนักงานที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง (ในภาษาอังกฤษ บางทีใช้ automated office) |
obeisance | (โอเบ'เซินซฺ) n. การก้มคำนับ, การปฏิบัติตาม, การเคารพ., See also: obeisant adj., Syn. fealty |
observance | (อับเซิร์ฟ'เวินซฺ) n. การสังเกต, การปฏิบัติตาม, การฉลอง, พิธี, พิธีการ, ขบวนการ, ธรรมเนียมปฏิบัติ, กฎ, วินัยศาสนา (ของนิกายโรมันคาทอลิก) |
observation | (ออบเซอเว'เชิน) n. การสังเกต, การปฏิบัติตามกฎหรือระเบียบหรือหน้าที่, ข้อสังเกต, ความเห็น, ข้อเตือนใจ, ข้อมูล, ข้อความ, ข่าว, สิ่งที่ได้จากการสังเกต, Syn. perception |
office automation | การอัตโนมัติสำนักงานใช้ตัวย่อว่า OA (อ่านว่า โอเอ) หมายถึง การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ภายในสำนักงาน เพื่อให้ดำเนินการไปโดยอัตโนมัติ หลีกเลี่ยงการปฏิบัติด้วยมือให้มากที่สุด เป็นต้นว่า การทำจดหมายเวียน (ข้อความในจดหมายเหมือน ๆ กัน แต่ส่งถึงชื่อคนหลายคน) ในกรณีนี้ หากใช้คอมพิวเตอร์ทำ ก็จะประหยัดเวลาได้มาก เพราะสามารถสั่งทีเดียวได้เลย ส่วนในความหมายของคำแปลที่ว่า "สำนักงานอัตโนมัติ" นั้น อธิบายง่าย ๆ ได้ว่า หมายถึง สำนักงานที่ใช้เครื่อวคอมพิวเตอร์นั่นเอง (ในภาษาอังกฤษ บางทีใช้ automated office) |
operating system | ระบบปฏิบัติการใช้ตัวย่อว่า OS หมายถึง ซอฟต์แวร์ระบบ (systems software) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด รวมทั้งการปฏิบัติงานของโปรแกรมด้วย เปรียบเสมือนเป็นแม่บ้าน ที่คอยดูแลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานประสานกัน ระบบปฏิบัติการของโมโครคอมพิวเตอร์ จะเรียกว่า ระบบปฏิบัติการแบบใช้จาน (disk operating systemหรือที่ใช้ตัวย่อว่า DOS) ที่มีชื่อโด่งดังอยู่ในขณะนี้ ก็คือ MS DOS (ใช้กับพีซี) และ System 7 (ใช้กับแมคอินทอช) หลังจากดอสแล้ว ก็มานิยมใช้ระบบวินโดว์แทน |
os | (โอเอส) ย่อมาจาก operating system (ระบบปฏิบัติการ) หมายถึง ซอฟต์แวร์ระบบ (systems software) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด รวมทั้งการปฏิบัติงานของโปรแกรมด้วย เปรียบเสมือนเป็นแม่บ้าน ที่คอยดูแลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานประสานกัน ระบบปฏิบัติการของโมโครคอมพิวเตอร์ จะเรียกว่า ระบบปฏิบัติการแบบใช้จาน (disk operating systemหรือที่ใช้ตัวย่อว่า DOS) ที่มีชื่อโด่งดังอยู่ในขณะนี้ ก็คือ MS DOS (ใช้กับพีซี) และ System 8 (ใช้กับแมคอินทอช) หลังจากดอสแล้ว ก็มานิยมใช้ระบบวินโดว์ (Windows) แทน ระบบเหล่านี้ได้รับการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เช่น ขณะนี้ ในขณะที่แมคใช้ System 8 หรือ 8.5 พีซีกำลังนิยมใช้ วินโดว์ 95 และ98 |
performance | (เพอฟอม'เมินซฺ) n. การกระทำ, การปฏิบัติ, การดำเนินการ, การทำให้บรรลุผลสำเร็จ, การแสดง, การบรรเลง, พฤติการณ์, พฤติกรรม, สมรรถภาพ, สมรรถนะ, Syn. practice, operation, deed, show, play |
play | (เพล) n. การเล่น, การละเล่น, การหยอกล้อ, การหยอกเย้า, การแสดง, การบรรเลง, ละคร, เรื่องละคร, การปฏิบัติ vt., vi. เล่น, ล้อเล่น, หยอกเย้า, แสดง, บรรเลง, เล่นละคร, ปฏิบัติ, พนัน, See also: playable adj. playability, n. |
practical | (แพรค'ทิเคิล) adj. เกี่ยวกับการปฏิบัติ, เกี่ยวกับการกระทำ, ใช้ได้, เหมาะสม, มีประโยชน์, ตามความเป็นจริง, เน้นในทางปฏิบัติ, ได้ผล., See also: practicality, practicalness n. |
practice | (แพรค'ทิส) n. การปฏิบัติ, การดำเนิน, กิจวัตร, กิจการ, พิธีการ, การฟ้องร้อง, ความเป็นจริง, การวางแผน, เล่ห์. vt., vi. ปฏิบัติ, ประกอบพิธี, ฟ้องร้อง, ฝึกหัด., See also: practicer n., Syn. operation |
pragmatic | (แพรคแมท'ทิค) adj. เกี่ยวกับความเป็นจริง, เกี่ยวกับผลที่แท้จริง, เกี่ยวกับการเน้นการปฏิบัติหรือการประยุกต์, พลการ, ยุ่ง, เสือก, ดื้อรั้น, ถือทิฐิ, เกี่ยวกับสาเหตุของเหตุการณ์ n. ผู้ยุ่ง, ผู้ทำโดยพลการ, ผู้ดื้อรั้น, ผู้ถือทิฐิ, See also: pragmaticism n. |
printout | หมายถึงผลที่ได้จากการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ตามคำสั่งที่สั่งให้พิมพ์ ลงในกระดาษหรือวัสดุอื่น |
privileged instruction | คำสั่งเอกสิทธิ์หมายถึง คำสั่งภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งจำกัดโปรแกรมต่าง ๆ ไม่ให้ทำงานผิดแนวทาง โดยปกติ คำสั่งเอกสิทธิ์จะประกอบด้วย คำสั่งข้อจำกัดการใช้ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยรับข้อมูลเข้า หน่วยแสดงผล การป้องกันหน่วยความจำ การหยุดชะงักการทำงานของเครื่อง และปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุม และการกำหนดเวลา คำสั่งนี้ผู้ใช้เครื่องธรรมดาไม่มีสิทธิใช้ และจะทำงานได้เฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะการใช้ระบบปฏิบัติการ (operating system mode) |
procedure | (โพรซี'เจอะ) n. ขบวนการ, วิธีการ, ระเบียบการ, วิธีการปฏิบัติ, แนวทาง, ขั้นตอน, กำหนดการ., See also: procedural adj., Syn. course |
proceeding | (พระซี'ดิง) n. การดำเนินการ, ขั้นตอน, วิธีการ, ขบวนการ, แนวทาง, , See also: proceedings กิจกรรมที่ดำเนินต่อเนื่องในระยะหนึ่ง, การปฏิบัติตามกฎหมาย, วิธีการทางกฎหมาย |
process | (โพร'เซส, พรอส'เซส) n. ขบวนการ, ขบวนแห่กระบวนการ, ระบบ, การดำเนินการ, แนวทาง, กรรมวิธี, วิธีปฏิบัติ, ขั้นตอนการปฏิบัติ, หมายศาล, ปุ่ม, ส่วนยื่น, สิ่งงอก, เนื้องอก, การทำแม่พิมพ์, การเปลี่ยนแปลง, การล้างรูป vt. ทำให้ผ่านกระบวนการ, ปฏิบัติการ, จัดการ, ทำแม่พิมพ์สอดสี, ล้างรูป, |
protect mode | ภาวะอารักขาหมายถึง แนวกั้น หรือแนวอารักขาในส่วนของแรม (RAM) ที่เป็น 386 หรือสูงกว่านั้น เพื่อไม่ให้มีการสับสนกัน เมื่อมีการปฏิบัติการมากกว่าสองโปรแกรมในเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม โปรแกรมระบบดอส (DOS) และวินโดว์ (Windows) ยังไม่สามารถใช้ภาวะอารักขานี้ได้ แต่จะใช้ได้ใน Windows NT และ OS/2 |
purview | (เพอ'วิว) n. ขอบเขต (อำนาจ, การปฏิบัติงาน) , บทบัญญัติ, บทบัญญัติของกฎหมาย, ตัวบทกฎหมาย, Syn. scope, overview |
real mode | ภาวะจริงหมายถึง แบบวิธีการปฏิบัติงานของไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) 80286 ขึ้นไป ที่สามารถทำการได้เหมือนกับรุ่น 8088 ของไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นแรก ๆ |
reboot | ปลุกเครื่องอีกครั้งหมายถึง การเริ่มเครื่องใหม่อีกครั้งหนึ่ง (การเปิดสวิตซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเริ่มการปฏิบัติงานครั้งแรกนั้น เรียกว่า "boot") ทำได้ 2 วิธี คือปิดแล้วเปิดสวิตซ์ใหม่ เรียกว่า "cold boot" ส่วนอีกวิธีหนึ่งที่เรียกว่า "warm boot" คือการกดแป้น Ctrl, Alt, Del พร้อม ๆ กัน หรือกดปุ่ม Reset ที่ตัวเครื่อง (เฉพาะเครี่องพีซี) มักใช้เมื่อเครี่องหยุดชะงัก (hang) การทำเช่นนี้จะลบล้างทุกอย่างที่สร้างไว้แล้วให้หมดไปด้วย |
Nontri Dictionary
action | (n) การกระทำ, การปฏิบัติ, พฤติกรรม, กิริยา, การแสดง |
behaviour | (n) ความประพฤติ, พฤติกรรม, พฤติการณ์, อาการ, การปฏิบัติ |
conduct | (n) การชี้นำ, การทำ, ความประพฤติ, การปฏิบัติ |
demeanour | (n) ความประพฤติ, การวางตัว, ท่าทาง, การกระทำ, การปฏิบัติตัว |
doings | (n) การปฏิบัติ, ความประพฤติ, พฤติกรรม, การกระทำ |
execution | (n) การบริหารงาน, การดำเนินการ, การปฏิบัติ, การทำให้สำเร็จ, การจัดการ |
executive | (adj) ฝ่ายบริหาร, เกี่ยวกับการปฏิบัติ, เกี่ยวกับการบริหาร |
fulfillment | (n) การทำให้สำเร็จ, การบรรลุผล, ความสมปรารถนา, การปฏิบัติภารกิจ |
fulfilment | (n) การทำให้สำเร็จ, การบรรลุผล, ความสมปรารถนา, การปฏิบัติภารกิจ |
malpractice | (n) การปฏิบัติผิดพลาด, การประพฤติผิด, การทุจริตต่อหน้าที่ |
maltreatment | (n) การทารุณ, การปฏิบัติไม่ดี, การกระทำผิด |
observance | (n) การปฏิบัติตาม, การสังเกต, ธรรมเนียมปฏิบัติ |
operation | (n) การปฏิบัติการ, ยุทธการ, การเคลื่อนไหวทางทหาร, การทำงาน, การผ่าตัด |
performance | (n) การแสดงละคร, การกระทำ, การปฏิบัติ, การเดินเครื่อง, การดำเนินการ |
practice | (n) การฝึกหัด, การปฏิบัติ, การประกอบพิธี, กิจวัตร, นิสัย |
procedure | (n) ระเบียบการ, วิธีดำเนินการ, การปฏิบัติ, พฤติการณ์, ขบวนการ, แนวทาง |
proceeding | (n) การดำเนินการ, พฤติกjรณ์, การปฏิบัติ, แนวทาง, ขั้นตอน |
proceedings | (n) รายงาน, ระเบียบการ, การปฏิบัติ |
process | (n) การดำเนินการ, การปฏิบัติ, แนวทาง, กระบวนการ, กรรมวิธี |
tack | (n) ตะปู, หมุด, การปฏิบัติ, การพูด, นโยบาย |
treatment | (n) การกระทำ, การรักษา, การปฏิบัติ, การเลี้ยง |
working | (n) การปฏิบัติงาน, การใช้แรงงาน, ชุดทำงาน |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Execution premium | (n) กลยุทธสู่การปฏิบัติการที่เป็นเลืศ |
Sulaltern Agency | (n) การถูกกดทับทางสังคม การตกเป็นเบี้ยล่างทางสังคม การปฏิบัติทางสังคมของกลุ่มที่ต้องการต่อรองกับอำนาจที่กดทับพวกเขาอยู่ |
Longdo Approved JP-TH
実践 | [じっせん, jissen] การปฏิบัติ การกระทำ วิธีปฏิบัติ สิ่งที่ปฏิบัติ |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ゴッグル | [ごっぐる, gogguru] (n) แว่นตาแบบปิดลงมาด้านข้างใส่ในการปฏิบัติงานสำหรับป้องกันเศษผงกระเด็นเข้าตา |
作業 | [さぎょう, sagyou] (n) การปฏิบัติในแต่ละขั้นตอน |
追従 | [ついじゅう, tsuijuu] (n) การปฏิบัติตาม, การประจบประแจง |
特典 | [とくてん, tokuten] การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์เป็นพิเศษเฉพาะผู้เกี่ยวข้อง |
勤務 | [きんむ, kinmu] 1.การปฏิบัติงาน 2.การปฏิบัติหน้าที่ |
Longdo Approved DE-TH
Pragmatismus | (n) |der, nur Sg.| ปฏิบัตินิยม, หลักการหรือปรัชญาที่ว่าผลของการปฏิบัติเป็นแกนหรือความหมายของความรู้ |
Aktion | (n) |die, pl. Aktionen| อากัปกิริยา, การกระทำ, การปฏิบัติ, การดำเนินการ, ท่าทาง |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 3.0545 seconds
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม