กด ๑ | น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด ว่า มาตรากดหรือแม่กด. |
จ | (จอ) พยัญชนะตัวที่ ๘ เรียกว่า จอ จาน เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น กิจ วินิจฉัย ตำรวจ. |
ช ๑ | พยัญชนะตัวที่ ๑๐ เรียกว่า ชอ ช้าง เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ราช คช กริช แซนด์วิช. |
ซ | (ซอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๑ เรียกว่า ซอ โซ่ เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้นและเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ก๊าซ. |
ฎ | (ดอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๔ เรียกว่า ฎอ ชฎา เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น กฎ มงกุฎ. |
ฏ | (ตอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๕ เรียกว่า ฏอ ปฏัก เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ปรากฏ นาฏ. |
ฐ | (ถอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๖ เรียกว่า ฐอ ฐาน เป็นอักษรสูง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น รัฐ อัฐ. |
ฑ | (ทอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๗ เรียกว่า ฑอ มณโฑ เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้น ออกเสียงเป็น ด บ้าง เช่น บัณฑิต มณฑป หรือ ท บ้าง เช่น มณฑล มณฑา และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ษัฑ. |
ฒ | (ทอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๘ เรียกว่า ฒอ ผู้เฒ่า เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น วัฒน์ วุฒิ. |
ด | (ดอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๐ เรียกว่า ดอ เด็ก เป็นอักษรกลางใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น มดกัด. |
ต | (ตอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๑ เรียกว่า ตอ เต่า เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น จิต เมตตา ฟุต. |
ถ | (ถอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๒ เรียกว่า ถอ ถุง เป็นอักษรสูง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น รถ นาถ. |
ท ๑ | (ทอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๓ เรียกว่า ทอ ทหาร เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ประมาท บท. |
ธ ๑ | (ทอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๔ เรียกว่า ธอ ธง เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น สุเมธ มคธ. |
มาตรา | แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า มาตรา ก กา หรือ แม่ ก กา, หลักเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกดอยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ในมาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือแม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด จัดอยู่ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากมหรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในมาตราเกอวหรือแม่เกอว |
แม่ | คำหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือมาตรา ก กา, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กกหรือมาตรากก, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กงหรือมาตรากง, คำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กดหรือมาตรากด, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กนหรือมาตรากน, คำหรือพยางค์ที่มีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด เรียกว่า แม่กบหรือมาตรากบ, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กมหรือมาตรากม, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกยหรือมาตราเกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอวหรือมาตราเกอว. |
ศ | (สอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๘ เรียกว่า ศอ ศาลา เป็นอักษรสูง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ปราศจาก อัศวิน อากาศ. |
ษ | (สอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๙ เรียกว่า ษอ ฤๅษี เป็นอักษรสูง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น เศรษฐี พิษ อังกฤษ. |
ส ๑ | (สอ) พยัญชนะตัวที่ ๔๐ เรียกว่า สอ เสือ เป็นอักษรสูง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น รส สัมผัส สวิส. |
สะกด | เขียนหรือบอกตัวอักษรที่ประกอบกันเป็นคำ, เรียกพยัญชนะที่บังคับตัวอักษรข้างหน้าให้เป็นมาตราต่าง ๆ เช่น แม่กน น สะกด แม่กด ด สะกด. |