อิสริยยศ | (อิดสะริยะยด) น. ยศที่พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาเจ้านายให้สูงขึ้น เนื่องจากได้ปฏิบัติราชการแผ่นดิน มีความดีความชอบ เช่น สถาปนาพระองค์เจ้าขึ้นเป็นเจ้าฟ้า สถาปนาหม่อมเจ้าขึ้นเป็นพระองค์เจ้า, ยศอันยิ่งใหญ่ที่สามัญชนได้รับสถาปนาขึ้นเป็นเจ้า. |
กรม ๓ | (กฺรม) น. หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในราชการและเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า <b><i>สังกัดกรม </i></b> มีหัวหน้าควบคุมเป็น<b><i>เจ้ากรม ปลัดกรม </i></b> ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้เจ้านายปกครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า<b><i>ตั้งกรม </i></b>แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ <b><i>ทรงกรม </i></b> เป็น <b><i>เจ้าต่างกรม </i></b> เพราะมีกรมขึ้นต่างหากออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีอำนาจตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามบรรดาศักดิ์เจ้ากรมว่า <b><i>กรมหมื่น กรมขุน </i></b>กรมหมื่น กรมขุน <b><i>กรมหลวง </i></b>กรมหลวง<b><i>กรมพระ </i></b>และ<b><i>กรมพระยา </i></b>หรือ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ <b><i>เลื่อนกรม </i></b> ขึ้น โดยเจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. |
โกศ ๑ | (โกด) น. สิ่งที่ทำขึ้นสำหรับประกอบนอกพระลองหรือลองที่ใส่พระบรมศพ พระศพ หรือศพ รูปทรงกระบอก ก้นสอบ ปากผาย มีฐาน และมีฝาครอบเป็นเครื่องยอด มีลักษณะแตกต่างกันไปตามอิสริยยศ, ที่ใส่พระบรมอัฐิ พระอัฐิ หรืออัฐิ มีขนาดต่าง ๆ ฝาครอบมียอด, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระโกศ |
เครื่องสูง | น. เครื่องแสดงพระอิสริยยศ เช่น ฉัตร พัดโบก จามร. |
เจ้า ๑ | เชื้อสายของพระมหากษัตริย์นับตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป และผู้ได้รับสถาปนาอิสริยยศขึ้นเป็นเจ้า, บางแห่งหมายถึงกษัตริย์ก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน |
เจ้านาย | น. เชื้อสายของพระมหากษัตริย์นับตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป และผู้ได้รับสถาปนาอิสริยยศขึ้นเป็นเจ้า, เจ้า ก็เรียก |
ชฎาห้ายอด | น. เครื่องราชศิราภรณ์อย่างหนึ่ง ลักษณะคล้ายพระชฎากลีบ ปลายทำเป็นอย่างกระหนกหางไหล ๕ เส้นสะบัดไปทางด้านหลัง มีพระยี่ก่า ใบสน หรือขนนกการเวก เป็นเครื่องประดับประกอบพระอิสริยยศ เรียกว่า พระชฎาห้ายอด. |
ชนะ ๒ | น. ชื่อกลองสองหน้า ลักษณะคล้ายกลองแขกหรือกลองมลายู ตีด้วยไม้ปลายงอ เป็นเครื่องประโคมของหลวง มีกลองชนะทอง เงิน เขียว หรือแดง ใช้ตีตามลำดับอิสริยยศและบรรดาศักดิ์. |
ต่างกรม | ว. เรียกเจ้านายที่ได้รับพระราชทานอิสริยยศให้มีข้าคนหมู่หนึ่งจัดตั้งเป็นกรมในปกครองเพื่อช่วยราชการแผ่นดิน เจ้าที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองข้าในกรมของพระองค์ เรียกว่า เจ้านายต่างกรม กรมของเจ้ามีชื่อต่าง ๆ กันไปตามนามของผู้เป็นเจ้ากรม. |
นิล ๒ | (นิน) น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด <i>Oreochromis</i> <i>niloticus</i> (Linn.) ในวงศ์ Cichlidae ลักษณะคล้ายปลาหมอเทศ แต่มีลำตัวสีเขียวหรือฟ้าปนน้ำตาล มีจุดดำด่างทั่วตัว ปลาขนาดเล็กจะมีลายเข้มพาดขวางลำตัว ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีลายหรือแนวจุดสีคลํ้าหรือขาวพาดขวางหรือทแยงอยู่โดยตลอด ขนาดยาวได้ถึง ๔๖ เซนติเมตร ทำรังเป็นแอ่งดินและปกป้องดูแลลูกอ่อนไว้ในโพรงปาก สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อว่า ปลานิล. |
บพิตร | (บอพิด) น. พระองค์ท่าน เช่น บำรุงฤทัยตระโบม บพิตรผู้อย่าดูเบา, โดยมากเป็นคำที่พระสงฆ์ใช้แก่เจ้านาย ซึ่งใช้คำเปลี่ยนไปตามพระอิสริยยศของเจ้านาย เช่น สมเด็จพระราชภคินีบพิตร สมเด็จพระบรมวงศบพิตร บรมวงศบพิตร พระเจ้าวรวงศบพิตร พระวรวงศบพิตร. |
พระ | อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคำแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา |
พระองค์เจ้า | น. สกุลยศสำหรับพระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดา, สกุลยศสำหรับพระโอรสหรือพระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าที่พระมารดาเป็นพระองค์เจ้า, สกุลยศสำหรับพระโอรสหรือพระธิดาในพระองค์เจ้าที่ประสูติแต่พระมารดาซึ่งเป็นพระองค์เจ้า, อิสริยยศสำหรับหม่อมเจ้าหรือสามัญชนที่ได้รับสถาปนา. |
พานพระศรี | น. พานใส่หมากพลูเครื่องเสวยของพระมหากษัตริย์, พานใส่หมากพลูเครื่องเสวยซึ่งเป็นเครื่องราชูปโภค ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ หรือเป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศเจ้านายฝ่ายหน้าฝ่ายในชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า จนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า มีลักษณะแตกต่างกันไปตามชั้นยศ สำหรับเจ้านายนั้นจะเรียกว่า พานหมากเสวย ก็มี ซึ่งสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เรียก. |
พานหมากเสวย | น. พานใส่หมากพลูเครื่องเสวยของเจ้านาย, พานใส่หมากพลูเครื่องเสวยซึ่งเป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศของเจ้านายฝ่ายหน้าฝ่ายในชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า จนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า มีลักษณะแตกต่างกันไปตามชั้นยศ จะเรียกว่า พานพระศรี ก็มี ซึ่งสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เรียก. |
ภูษามาลา | น. ข้าราชการในราชสำนักมีหน้าที่รักษาเครื่องราชอิสริยยศและเครื่องแต่งพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ตลอดจนถวายทรงพระเครื่องใหญ่ ถวายพระกลด ถวายสุกำ ทำสุกำ เปลื้องเครื่องสุกำศพพระบรมศพ พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกำศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น เรียกว่า เจ้าพนักงานภูษามาลา, โบราณมีหน้าที่ถวายเครื่องต้นด้วย, ในกฎหมายตราสามดวงเรียกแยกเป็น พนักงานพระภูษา พนักงานพระมาลา. |
ราชินีนาถ | น. พระราชินีที่ทรงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และทรงได้รับการสถาปนาพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ, พระเจ้าแผ่นดินที่เป็นผู้หญิง เช่น พระราชินีนาถวิกตอเรีย. |
เสลี่ยง | (สะเหฺลี่ยง) น. ที่นั่งมีคานหามคู่หนึ่งสอดรับ เป็นเครื่องแสดงอิสริยยศ, ถ้าหามไป เรียกว่า เสลี่ยงหาม, ถ้าหิ้วไป เรียกว่า เสลี่ยงหิ้ว. |
หม่อมราชนิกุล, หม่อมราชนิกูล | น. อิสริยยศที่พระราชทานแก่หม่อมราชวงศ์ชายที่รับราชการมีความชอบ อยู่ระหว่างหม่อมเจ้ากับหม่อมราชวงศ์ เช่น หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ถ้าเทียบกับบรรดาศักดิ์ฝ่ายขุนนาง อยู่ระหว่างพระยากับพระ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาใช้ว่า เจ้าราชนิกุล ซึ่งรวมทั้งหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ ที่สืบสายราชสกุลห่างไกลมาหลายชั้น ตลอดจนพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้าที่ห่างออกไป เจ้าราชนิกุลนี้ครั้งต้นพระบรมราชจักรีวงศ์ มีคำเรียกว่าคุณว่าหม่อม ต่อมารัชกาลที่ ๔ โปรดให้เปลี่ยนใช้คำว่า หม่อม แทนคำว่า เจ้า, หม่อมราชินิกูล ก็เรียก. |