จริย- | (จะริยะ-) น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคำสมาส เช่น จริยศึกษา. |
จริยา | (จะ-) น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคำสมาส เช่น ธรรมจริยา. |
จุล- | (จุนละ-) ว. เล็ก, น้อย, (มักใช้นำหน้าคำสมาส) เช่น จุลศักราช จุลพน. |
ตรัย | (ไตฺร) ว. สาม, หมวด ๓, ใช้ในคำสมาส เช่น รัตนตรัย. |
นิยม | ก. ชมชอบ, ยอมรับนับถือ, ชื่นชมยินดี, ใช้ประกอบท้ายคำสมาสบางคำใช้เป็นชื่อลัทธิ เช่น ลัทธิชาตินิยม ลัทธิสังคมนิยม. |
ภาพ, ภาพ- | (พาบ, พาบพะ-) น. ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย |
ษัฏ | ว. หก. (ใช้ในคำสมาส เมื่อนำหน้าพยัญชนะพวกอโฆษะ). |
ษัฑ | ว. หก. (ใช้ในคำสมาส เมื่อนำหน้าพยัญชนะพวกโฆษะ เว้นจาก ณ ม ย). |
ษัณ | ว. หก. (ใช้ในคำสมาส เมื่อนำหน้าตัว ณ ม ย). |
ษัษ | ว. หก. (คำสมาสใช้ ษัฏ บ้าง ษัฑ บ้าง ษัณ บ้างตามวิธีสนธิ). |
หัส, หัส- | การรื่นเริง, ใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาส เช่น หัสดนตรี หัสนาฏกรรม หัสนิยาย. |
อันดร | (-ดอน) น. ภายใน, ระหว่าง, มักใช้เข้าสนธิกับคำอื่น เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น พุทธ + อันดร = พุทธันดร นิร + อันดร = นิรันดร. |
อาทีนพ, อาทีนวะ | ผลร้าย, บางทีใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น กามาทีนพ = โทษของกาม. |
อานนท์ ๑, อานันท์ | น. ความเพลิดเพลิน, ความยินดี, ความปลื้มใจ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น จิตกานนท์. |
อาภรณ์ | (-พอน) น. เครื่องประดับ, บางทีก็ใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น พัสตราภรณ์ = เครื่องประดับคือเสื้อผ้า สิราภรณ์ = เครื่องประดับศีรษะ คชาภรณ์ = เครื่องประดับช้าง พิมพาภรณ์ = เครื่องประดับร่างกาย ในคำว่า ถนิมพิมพาภรณ์ ธรรมาภรณ์ = มีธรรมะเป็นเครื่องประดับ. |
อายัน ๒ | น. การมาถึง, นิยมใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น เหมายัน หมายถึง การมาถึงฤดูหนาว ครีษมายัน หมายถึง การมาถึงฤดูร้อน, ทางดาราศาสตร์ หมายถึงจุดหยุด คือจุดสุดทางเหนือและทางใต้ที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึง. |
อารัมภ-, อารัมภะ, อารัมภ์ | (อารำพะ-) น. การปรารภ มักใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาส เช่น อารัมภบท อารัมภกถา |
อิงค์ | น. ท่าทาง, อาการ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น พุทธสิหิงค์ ซึ่งเป็นนามพระพุทธรูป หมายความว่า พระพุทธรูปที่มีท่าทางสง่างามดุจราชสีห์. |