ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

การทูต

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: -การทูต-, *การทูต*
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
การทูต(n) diplomacy, See also: statecraft, statesmanship, foreign affairs, external affairs, Example: เขาชอบใช้วิธีการทูตในการเจรจาหว่านล้อมและสร้างพันธมิตรทางการค้า

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
diplomacyการทูต [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
shirt-sleeve diplomacyการทูตอย่างไม่เป็นทางการ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
diplomacy, shirt-sleeveการทูตอย่างไม่เป็นทางการ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
coercive diplomacyการทูตแบบบีบบังคับ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
diplomacy, coerciveการทูตแบบบีบบังคับ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
conference diplomacyการทูตแบบประชุม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
diplomacy, gunboatการทูตแบบใช้นาวิกานุภาพ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
gunboat diplomacyการทูตแบบใช้นาวิกานุภาพ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
big stick diplomacyการทูตแบบใช้แสนยานุภาพ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
diplomacy, big stickการทูตแบบใช้แสนยานุภาพ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Diplomacyการทูต [TU Subject Heading]
Cultural Diplomacyการทูตวัฒนธรรม หมายถึง กิจกรรมด้านวัฒนธรรมในกรอบกว้าง ทั้งภาษา ความคิด อุดมการณ์ ทัศนคติ ประเพณี วิทยาการความรู้ การกีฬาและวิถีชีวิต (ไม่เพียงแต่การส่งคณะนาฏศิลป์ไปแสดงในต่างประเทศเท่านั้น) ทั้งนี้ เพื่อ ใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้สึกที่ดีต่อกัน โดยใช้แนวทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่องในลักษณะซึมลึกเพื่อให้เข้าถึงประชาชน [การทูต]
Diplomacyการทูต, Example: คำว่าการทูต มีหลายท่านได้ให้คำอธิบายความหมายแตกต่างกัน บางท่านเห็นว่าการทูตเป็นศิลปะหรือศาสตร์ หรือวิธีปฏิบัติขั้นการเจรจากันระหว่างรัฐ บ้างว่า เป็นการจัดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยวิธีการเจรจา ซึ่งจะกระทำโดยเอกอัครราชทูต หรือผู้แทนการทูตเป็นส่วนใหญ่หนังสือ ?Satow?s A Guide to Diplomatic Practice? ซึ่งเรียบเรียงแก้ไขใหม่เป็นครั้งที่ 4 โดย Sir Neville Bland ได้กล่าวว่า การทูต (Diplomacy) คือการนำเอาสติปัญญา (Intelligence) และปฏิภาณ (Tact) ออกใช้ในการเจรจาเป็นทางการระหว่างรัฐบาลของรัฐเอกราชด้วยกัน หรือหากจะกล่าวโดยสรุปก็หมายถึงการที่รัฐต่อรัฐยกเอาเรื่องต่าง ๆ ขึ้นเจรจากันอย่างเอาจริงเอาจังโดยสันติวิธีนั่นเองวิธีการที่รัฐหันมาใช้ การเจรจากันเพื่อทำความตกลงในเรื่องต่าง ๆ นั้นได้เริ่มกระทำกันมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมันในระยะหลัง ๆ ก่อนที่อาณาจักรจะล่มสลาย นัยว่าจักรพรรดิทั้งหลายของอาณาจักรจะล่มสลาย นัยว่าจักรพรรดิทั้งหลายของอาณาจักรไบซานเตอุม (Byzanteum) ในสมัยนั้นมีชื่อโด่งดังว่าเป็นบรมครูหรือปรมาจารย์ในการเจรจาทีเดียว แต่การทูตได้กลายเป็นที่รับรองกันทั่วไปว่าเป็นอาชีพอย่างหนึ่ง ก็ตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ในตอนที่รัฐต่างๆ ของอิตาลีได้เริ่มแต่งตั้งเอกอัครราชทูตไปประจำเป็นการถาวร แต่ในสมัยนั้นก็ยังไม่มีการกำหนดสถานภาพและระเบียบข้อบังคับของอาชีพการทูต แต่อย่างใด จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 19 คือใน ค.ศ. 1815 จึงได้มีการทำความตกลงกันระหว่างประเทศกำหนดสถานภาพและกฎข้อบังคับขึ้นเป็น กิจลักษณะ คือหลังจากเสร็จสงครามนโปเลียน รัฐต่าง ๆ ที่เข้าร่มประชุมกัน ณ กรุงเวียนนา หรือเรียกว่าคองเกรสแห่งเวียนนา ได้ตกลงจัดจำแนกผู้แทนทางการทูตรวมทั้งจัดลำดับอาวุโสขึ้น เพื่อให้รัฐทั้งหลายได้ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ จะเห็นได้ว่าในทุกวันนี้ การทูตได้กลายเป็นส่วนหนึ่ง หรือสาขาหนึ่งของระบบการปกครองประเทศในทุกประเทศ ซึ่งทวีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในโลกปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างสงครามเย็น (Cold War) ต่างเพียรพยายามใช้การทูตทุกวิถีทางเพื่อระงับปัญหาหรือข้อพิพาท โดยมิให้เกิดสงครามเบ็ดเสร็จ (Total War) ซึ่งเป็นหนทางสุดท้ายขึ้น เป็นต้นมีข้อน่าสังเกตว่า แต่เดิมรัฐต่าง ๆ จะใช้วิธีการเจรจาระหว่างรัฐบาลตามปกติ โดยผ่านทางผู้แทนทางการทูตถาวรหรือเอกอัครราชทูต ต่อมาหลังจากเสร็จสงครามโลกครั้งแรกเกิดความนิยมใช้วิธีระงับปัญหาระหว่าง ประเทศโดยการประชุมโต๊ะกลมมากขึ้น (Round table conferences) ในการประชุมระหว่างประเทศเช่นนี้ รัฐบาลของประเทศที่ร่วมการประชุมจะส่งคนของตนไปร่วมประชุมในฐานะผู้แทนผู้ ได้รับมอบอำนาจเต็มและให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนในการเจรจา แทนที่จะเป็นเอกอัครราชทูตดังแต่ก่อน อย่างไรก็ดี วิธีการประชุมเช่นนี้ยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่สองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรจะใช้วิธีการประชุมแก้ปัญหาระหว่างประเทศโดยวิถีทางการ ทูตตามปกติ โดยให้เอกอัครราชทูตเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน เพราะถือว่าเอกอัครราชทูตเป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพการทูตอยู่แล้ว ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งสนับสนุนการประชุมโต๊ะกลม หรือที่เรียกว่า Diplomacy by Conferenceในสมัยปัจจุบัน วิธีเจรจาทางการทูตที่ใช้ปฏิบัติกันมีอยู่หลายวิธี วิธีแรกคือ การเจรจาทางการทูตตามปกติ ซึ่งปฏิบัติกันตลอดมาจนเป็นธรรมเนียม (Normal หรือ Traditional Diplomacy) ในกรณีนี้ เอกอัครราชทูตจะเป็นตัวแทนของประเทศของตนเจรจากับกระทรวงการต่างประเทศของ รัฐผู้รับประการที่สอง คือ การทูตด้วยวิธีการประชุม (Conference Diplomacy) ซึ่งคณะผู้แทนเจรจาจะมีบุคคลผู้ได้รับมอบอำนาจเต็มเป็นหัวหน้าคณะ และส่งไปจากประเทศที่ร่วมการประชุมประการที่สาม ได้แก่ วิธีที่เรียกว่า การทูตส่วนบุคคล (Personal Diplomacy) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐสองแห่งหรือมากกว่านั้น จะทำการเจรจากันโดยตรง เพื่อระงับหรือทำความตกลงในเรื่องบางเรื่องที่มีผลประโยชน์ร่วมกันประการที่ สี่ คือ การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) โดยประมุขของรัฐบาลหรือของรัฐจะไปร่วมประชุมกันเพื่อหาทางระงับปัญหาของตน ประการสุดท้าย ได้แก่ การทูตโดยทางองค์กรนิติบัญญัติหรือรัฐสภา (Parliamentary Diplomacy) คือให้นำปัญหาไปพิจารณากันในการประชุมปรึกษา เช่น การประชุมขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งนักเขียนเกี่ยวกับวิชาการทูตบางท่านเรียกว่า การทูตโดยคะแนนเสียง (Diplomacy by ballot)อย่างไรก็ตาม มีผู้ทรงคุณความรู้ด้านการทูตบางท่านเห็นว่า ยังมีวิธีการเจรจาทางการทูตอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า การทูตสื่อมวลชน (Diplomacy by News Conference) ในกรณีนี้ ประมุขของรัฐหรือของรัฐบาลประเทศหนึ่งจะแถลงนโยบายของประเทศตนต่อที่ประชุม สื่อมวลชน เกี่ยวกับปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นกับอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งโดยปกติย่อมจะแถลงโดยวิถีทางการทูตตามปกติให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบได้ แต่กลับหันไปใช้วิธีแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบโดยการแถลงต่อที่ประชุมสื่อมวล ชนเท่ากับแจ้งให้ทราบโดยทางอ้อม [การทูต]
Diplomacy for the Peoplesการทูตเพื่อประชาชน หมายถึง การดำเนินนโยบายต่างประเทศหรือกิจกรรมทางการทูต ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชน เช่น โครงการส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปช่วยรักษาพยาบาลชาวกัมพูชา [การทูต]
Forward Engagementการทูตเชิงรุก ยุทธศาสตร์กรอบใหญ่ในนโยบายต่างประเทศของไทย ที่มีเป้าหมายที่จะขยายกรอบความร่วมมือให้ครอบคลุมทุกมิติความร่วมมือกับ ต่างประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์กับทุกประเทศทั่วโลก เพื่อสันติภาพที่ยั่งยืนและความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจสำหรับประชาคมโลก [การทูต]
New Diplomacyการทูตแบบใหม่ ภายหลังสงครามโลกครั้งแรก หรือตั้งแต่ ค.ศ. 1918 เป็นต้นมา ได้เกิดการทูตแบบใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจาการทูตแบบเก่า อันได้ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี นักวิชาการบางท่านมีความเอนเอียงที่จะตำหนิว่า การที่เกิดสงครามโลกขึ้นนั้น เป็นเพราะการทูตประสบความล้มเหลวมากกว่าอย่างไรก็ดี บางท่านเห็นว่าแม้ส่วนประกอบของการทูตจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา แต่เนื้อหาหรือสาระสำคัญของการทูตยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เป็นการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่างการทูตแบบเก่ากับการทูตแบบใหม่อาจกล่าวได้ ว่า มีปัจจัยสำคัญ ๆ อยู่สามประการ ที่มีอิทธิพลหรือบังเกิดผลโดยเฉพาะต่อวิธีการหรือทฤษฎีของการเจรจาระหว่าง ประเทศ กล่าวคือ ข้อแรก ชุมชนนานาชาติทั้งหลายเกิดการตื่นตัวมากขึ้น ข้อที่สอง ได้มีการเล็งเห็นความสำคัญของมติสาธารณะ ( Public Opinion) มากขึ้น และประการสุดท้าย เป็นเพราะการสื่อสารคมนาคมได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วอดีตนักการทูตผู้มี ชื่อเสียงคนหนึ่งของอินเดีย ได้แสดงความไม่พอใจและรังเกียจความหยาบอย่างปราศจากหน่วยก้านของการดำเนิน การทูตแบบใหม่ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อเข้าใส่กัน การใช้ถ้อยคำในเชิงผรุสวาทต่อกัน การเรียกร้องกันอย่างดื้อ ๆ ขาดความละมุนละไมและประณีต อาทิเช่น การเรียกร้องข้ามหัวรัฐบาลไปยังประชาชนโดยตรงในค่ายของฝ่ายตรงกันข้ามการ กระทำต่าง ๆ ที่จะให้รัฐบาลต้องเสียชื่อหรือขาดความน่าเชื่อถือ ตลอดจนการใส่ร้ายป้ายสีกันด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา ห้ามไม่ให้ประชาชนติดต่อกันทางสังคม และอื่น ๆ เป็นต้น [การทูต]
Parliamentary Diplomacyการทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต]
Public Diplomacyการทูตสาธารณะ หมายถึง การดำเนินการทางการทูตแบบหนึ่งเพื่อโน้มน้าวชักจูงให้สาธารณชนและกลุ่มเป้า หมายและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ในต่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจของรัฐให้มีความชื่นชมและเข้าใจ ถึงแนวทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศของประเทศใคประเทศหนึ่ง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระดับประชาชนให้มีความใกล้ชิดแน่นแฟ้น และประสบผลสำเร็จอน่างแนบเนียน โดยจะมี ความแตกต่างจากการดำเนินการทางการทูตแบบดั้งเดิม ที่เน้นการสื่อสารระหว่างรัฐต่อรัฐ(Government to Government)แต่การทูตสาธารณะจะเน้นวิธีการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชน( Government to People) ภาคเอกชน ประชาสังคม หรือสื่อมวลชนในต่างประเทศหรือระหว่าประชาชนด้วยกันเอง อนึ่ง การทูตวัฒนธรรม (Cultural Diplomacy) ที่ใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อเชื่อมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนนั้น ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งของการดำเนินการทางการทูตสู่สาธารณชนนี้ [การทูต]
Shuttle Diplomacyการทูตแบบกระสวย หมายถึง การเดินทางไปเจรจาทางการทูตเพื่อคลี่คลายปัญหาหรือกรณีพิพาทโดยผู้ไกล่ เกลี่ยจะต้องเดินทางกลับไป-กลับมาระหว่างประเทศหรือคู่กรณีที่มีความขัดแย้ง กัน เช่น การแก้ปัญหาในตะวันออกกลาง [การทูต]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
The United States has broken off diplomatic relations with Russia.สหรัฐอเมริกาได้หักออก ความสัมพันธ์ทางการทูตกับ รัสเซีย 2010: The Year We Make Contact (1984)
my granddad was an envoy. my dad was an envoy.ปู่ฉันเป็นนักการทูต พ่อฉันก็เป็นนักการทูต Spies Like Us (1985)
I was born into the trade.ฉันเกิดมาก็เป็นนักการทูตแล้ว Spies Like Us (1985)
But I... I have diplomatic immunity.ผมได้รับการคุ้มครองทางการทูต The Jackal (1997)
An envoy approaches. Remember your manners.วิธีการทูต จำมารยาทของคุณ Princess Mononoke (1997)
Georges Valombreuse Rise And Fall Of A Diplomatจอร์จ วาลอมบรัว "เกิดและดับของชีวิตการทูต" Pola X (1999)
I'm entitled to diplomatic immunity.ในนามของการทูตด้านความปลอดภัย! Ghost in the Shell (1995)
In case you haven't been briefed, this is the minister's interpreter.ในฐานะที่คุณยังไม่ได้ฟังสรุป, นี่คือหุ่นการทูต Ghost in the Shell (1995)
There's diplomatic considerations too.มันขึ้นอยู่กับทางการทูตด้วย Ghost in the Shell (1995)
Your people at Section 9 came across his work too in that ghost-hacking incident involving the Foreign Minister's interpreter.คนในแผนก 9 ของคุณ มีเอี่ยวในเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน, ในการเจาะระบบจิตนั่น จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มันเข้ามาอยู่ในตัวของหุ่นการทูต Ghost in the Shell (1995)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
การทูต[kānthūt] (n) EN: diplomacy ; statecraft ; statesmanship ; foreign affairs ; external affairs  FR: diplomatie [ f ]

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
diplomacy(n) การทูต, See also: การต่างประเทศ, ศิลปะการทูต, Syn. tact, address, savoir, faire, Ant. tactlessness, crudeness

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
diplomacy(ดิพโพล'มะซี) n. การทูต, ศิลปะการทูต
diplomat(ดิพ'ละแมท) n. นักการทูต
diplomatic(ดิพละแมท'ทิค) adj. เกี่ยวกับการทูต, Syn. adep
protocol(โพร'ทะคอล) n.พิธีสาร, สนธิสัญญาเบื้องต้น, ต้นร่าง, พิธีทูต, พิธีการทูต, โปรโตคอล, บันทึกความทรงจำของการสนทนา.vi. ร่างต้นร่าง, ร่างพิธีสาร, ร่างพิธีการทูต., See also: protocolar adj. protocolary adj. protocolic adj.

English-Thai: Nontri Dictionary
diplomacy(n) การทูต, ศิลปะการทูต
diplomat(n) ทูต, นักการทูต, ทูตานุทูต
diplomatic(adj) เกี่ยวกับการทูต, ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการทูต
protocol(n) พิธีการทูต, พิธีสาร, สนธิสัญญาชั้นต้น, ต้นร่าง

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top