authoring system | ระบบการเขียนโปรแกรมหมายถึง ระบบการเขียนโปรแกรมโดยที่ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านโปรแกรมเลย ผู้เขียนเพียงแต่ใช้ภาษาง่าย ๆ ในรูปแบบเชิงโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์เท่านั้น |
bank switching | การสลับชิปไปมาหมายถึง การสลับไปมาของการใช้ชิปในหน่วยความจำเดิมที่ติดมากับเครื่อง กับหน่วยความจำที่เพิ่มภายหลัง ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งทำให้รู้สึกเสมือนว่า หน่วยความจำทั้งสองนั้นเป็นหน่วยความจำเดียวกัน เช่น บริษัทไอบีเอ็มผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกมาขายในตลาดโดยมีหน่วยความจำติดมาภายในตัวเครื่องเพียง 640 เคไบต์ แต่เรานำไปเพิ่มหน่วยความจำเป็นถึง 16 เมกกะไบต์ การที่จะทำให้หน่วยความจำเดิมกับหน่วยความจำที่เพิ่มมาใหม่ทำงานสลับกันไปมาได้ ก็จะต้องอาศัยการสลับชิปไปมานี้ อย่างไรก็ตาม หากเราเป็นเพียงผู้ใช้เครื่อง (user) ก็ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องนี้เท่าไรนัก เป็นหน้าที่ของช่างฝ่ายเทคนิคที่จะต้องติดตั้งหรือจัดการทำให้ |
black box | กล่องดำหมายถึง แผงวงจรหรืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งแยกออกมาต่างหาก โดยปกติผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเข้าใจว่า วงจรนั้นทำงานอย่างไร เป็นต้นว่า การถอดรหัสสัญญาณ |
client application | โปรแกรมเฉพาะเครื่อง1. ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) คำนี้หมายถึง โปรแกรมที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์บางเครื่อง โดยปกติ ในระบบเครือข่ายนั้น จะต้องมีคอมพิวเตอร์กลางเครื่องหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นที่เก็บโปรแกรมต่าง ๆ ไว้ให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถเรียกไปใช้ได้ เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) (คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมเหล่านั้น) แต่ถ้าเครื่องบริการแฟ้มนั้นเสีย คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายเดียวกันนั้นก็จะทำงานไม่ได้เลย ฉะนั้น เราจึงมักจะให้คอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือข่ายมีโปรแกรมเก็บไว้ในเครื่องของตนเองด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่แม้จะอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน จะไม่สามารถเรียกโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ไปใช้ได้ เราเรียกโปรแกรมที่เก็บอยู่เฉพาะในเครื่องนี้ว่า " client application "2. โปรแกรมบนระบบวินโดว์ที่สามารถโยงถึงที่มาของภาพหรือข้อความที่เป็นต้นแบบได้ หากเมื่อใดมีการแก้ไขในแฟ้มต้นแบบ โปรแกรมก็จะจัดการแก้ไขในแฟ้มใหม่ ให้ด้วย ดู OLE เปรียบเทียบ |
compiler | (คัมไพ'เลอะ) n. ผู้รวบรวม, ผู้เรียบเรียง ตัวแปลโปรแกรมคอมไพเลอร์หมายถึง โปรแกรมที่แปลโปรแกรมภาษาต่าง ๆ เช่นภาษา FORTRAN, COBOL ฯ เป็นภาษาเครื่อง (machine language) การแปลโดยใช้โปรแกรมแปลนี้ จะใช้วิธีแปลทั้งโปรแกรม นำคำแปลเก็บไว้ในหน่วยความจำ แล้วจึงลงมือปฏิบัติการ (execute) ไปทีละคำสั่ง ถ้ามีการสั่งให้ทำบางคำสั่งซ้ำ ก็ไม่จำเป็นต้องแปลใหม่ดู translator ประกอบดู interpreter เปรียบเทียบ |
dispensable | (ดิสเพน'ซะเบิล) adj. ไม่จำเป็น, ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้., See also: dispensability n. ดูdispensable, Syn. unnecessary |
dispense | (ดิสเพนซฺ') vt. แจกจ่าย, จัดการ, ปรุงยาและจ่ายยา vi. แจกจ่าย, ละเว้น, งด, ขจัด, ยกเว้น, ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้, Syn. scatter |
doctorate | (ดอค'เทอะเรท) n. ปริญญาเอก, ดุษฎีบัณฑิต, ปริญญาแพทยศาสตร์ (ไม่จำเป็นต้องจบปริญญาเอก) |
ebcdic | (เอบซีดิก) ย่อมาจาก extended binary coded decimal interchange code (แปลว่า รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยาย) เป็นชื่อของรหัสคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่กำหนดไว้สำหรับเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองแบบขยาย บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้คิดและคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้รหัสนี้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCll) มากกว่า อันที่จริงแล้ว ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของรหัสเหล่านี้เลยก็ได้ |
extended binary coded dec | extended binary coded decimal interchange code รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยายใช้ตัวย่อว่า EBCDIC (อ่านว่า เอ็บซีดิก) เป็นชื่อของรหัสคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่กำหนดไว้สำหรับเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองแบบขยาย บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้คิดและคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้รหัสนี้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCll) มากกว่า อันที่จริงแล้ว ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของรหัสเหล่านี้เลยก็ได้ |
fcb | (เอฟซีบี) เป็นตัวย่อของ file control block (แปลว่า กลุ่มแฟ้มข้อมูล) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลที่อยู่เป็นกลุ่ม ซึ่งพวกนักเขียนโปรแกรมเท่านั้นที่จะต้องรู้ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ |
file control block | กลุ่มแฟ้มข้อมูลใช้ตัวย่อว่า FCB เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล ที่อยู่เป็น กลุ่ม ซึ่งพวกนักเขียนโปรแกรมเท่านั้นที่จะต้องรู้ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ |
hashing | (แฮชชิง) หมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมให้จานบันทึกเก็บข้อมูลได้โดยอาศัยวิธีการคำนวณ การจะเข้าถึงข้อมูลได้ จะต้องรู้เลขประจำตำแหน่งต่าง ๆ เหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ถ้าคิดเพียงจะเป็น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องรู้จักคำนี้เลยก็ได้ |
high level language | ภาษาระดับสูงหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องรู้ถึงโครงสร้างภายในของเครื่องแต่อย่างใด ภาษาระดับสูงมีอยู่ด้วยกันหลายภาษา เช่น ภาษาซี (C) ภาษาเบสิก (BASIC) และภาษาปาสกาล (PASCAL) เป็นต้น ตรงข้ามกับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ซึ่งเรียกกันว่าเป็นภาษาระดับต่ำ ผู้เขียนจะต้องรู้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เสียก่อน จึงจะเขียนโปรแกรมเป็นภาษานั้นได้ อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์จะยังไม่สามารถเข้าใจภาษาระดับสูงนี้ได้ แต่จะต้องใช้ตัวแปล (compiler) จัดการแปลเสียก่อน จึงจะปฏิบัติตามคำสั่งได้ดู computer language ประกอบ |
inclusive or | (อินคลูซีฟ ออร์) และ/หรือเป็นตัวดำเนินการ (operator) ตัวหนึ่งที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ใช้มากในคำสั่งที่เกี่ยวกับการเขียนภาพ ผลลัพธ์ของ inclusive OR จะเห็นได้จากตารางที่แสดง 1 คือจริง (true) และ 0 คือ เท็จ หรือ (false) ถ้าไม่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม ก็ไม่จำเป็นต้องรู้จักคำสั่งนี้ก็ได้ |
integrated services digit | โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอลใช้ตัวย่อว่า ISDN (อ่านว่า ไอเอสดีเอ็น) สายโทรศัพท์ ISDN ก็คือสายที่สามารถใช้ส่งข้อมูล ส่งคลื่นโทรทัศน์ และส่งคลื่นเสียง ได้ในสายเดียวกัน (ถ้าใช้สายชนิดนี้ คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องใช้โมเด็ม) |
isdn | (ไอเอสดีเอ็น) ย่อมาจากคำว่า integrated services digital network (แปลว่า โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล) สายโทรศัพท์ ISDN ก็คือสายที่สามารถใช้ส่งข้อมูล ส่งคลื่นโทรทัศน์ และส่งคลื่นเสียง ได้ในสายเดียวกัน (ถ้าใช้สายชนิดนี้ คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องใช้โมเด็ม) |
low-level format | จัดรูปแบบอย่างต่ำหมายถึง การจัดรูปแบบการบันทึกข้อมูล (format) ของจานบันทึกว่าจะต้องจัดรูปแบบ การบันทึกแบบนี้เมื่อเราใช้จานแข็งเป็นครั้งแรก หลังจากนั้น ก็ต้องใช้คำสั่งFORMAT ในระบบดอสเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับจานอ่อน (floppy disk) นั้น เราไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามกระบวนการนี้ |
macintosh | (แมค' คินทอช) n. ชื่อคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง แมคอินทอชเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตระกูลสำคัญตระกูลหนึ่ง ออกแบบสร้างขึ้นโดยบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ นำออกสู่ตลาดครั้งแรกในปี ค.ศ.1984 คอมพิวเตอร์ตระกูลนี้ประกอบด้วยตัวประมวลผลแบบจุลภาค (microprocesssor) ขนาด 32 บิต เป็นเครื่องแรก อีกทั้งได้สร้างตัวประสานกับผู้ใช้ (user interface) ทำให้ผู้ใช้เครื่องรู้สึก สะดวกสบายเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถเรียนรู้เข้าใจได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานในวิทยาการคอมพิวเตอร์มากนัก เนื่องจากใช้ภาพเป็นสื่อทำให้เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ต่อมาเครื่องพีซีก็สร้างระบบวินโดว์ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ตาม เครื่องยี่ห้อนี้มีส่วนแบ่งการตลาดสูงรองจากเครื่องของบริษัทไอบีเอ็มเท่านั้น |
memory map | แผนที่แสดงการใช้หน่วยความจำหมายถึงแผนที่หรือแผนผังที่แสดงถึงการใช้หน่วยความจำส่วนที่เรียกว่า แรม (RAM) ในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะคล้ายกับแผนที่แสดงที่ตั้งจังหวัดต่าง ๆ ในแต่ละประเทศนั้นเอง สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องนี้เลยก็ได้ |
menu-driven system | ระบบทำงานด้วยเมนูหมายถึงระบบการทำงานของโปรแกรมที่ใช้เมนูเป็นหลัก กล่าวคือ มีรายการคำสั่งต่าง ๆ ปรากฏบนจอภาพให้เลือก ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจำคำสั่งเลย เพียงแต่ใช้เมาส์เลื่อนไปที่คำสั่งที่ต้องการแล้วกด คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานให้ ระบบดังกล่าวนี้ทำให้การทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์นั้นง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก |
object-oriented programmi | การทำโปรแกรมเชิงวัตถุหมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมของนักเขียนโปรแกรมรุ่นใหม่ ที่จัดแบ่งการเขียนคำสั่งกันออกเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า "วัตถุ" (object) แล้วจึงนำเอาชุดคำสั่งแต่ละชุดนั้นมารวมกันเป็นโปรแกรมชุดใหญ่อีกทีหนึ่ง ในบางครั้งยังอาจนำ "วัตถุ" ของโปรแกรม หนึ่งไปรวมกับ "วัตถุ" ของอีกโปรแกรมหนึ่ง แล้วเรียกออกมาใช้ได้เลย ทั้งนี้ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมใหม่ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด วิธีการดังกล่าวนี้ช่วยประหยัดเวลาได้มาก พูดให้ง่ายก็คือ ทุกโปรแกรมไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ อนึ่ง คำว่า "วัตถุ" นั้น หมายรวมไปถึงภาพหรือกราฟิกด้วย ภาพหนึ่งภาพ เช่น การสร้างวงกลมนั้น เกิดจากการเขียนโปรแกรมโดยใช้สูตรคำนวณเส้นโค้ง ซึ่งจะประกอบด้วยคำสั่งหลายร้อยคำสั่ง แล้วเก็บไว้เป็น "วัตถุ" หนึ่ง ฉะนั้น เมื่อใดที่เราสั่งวาดวงกลม ก็เท่ากับไปเรียก "วัตถุ" นี้มาใช้ หลังจากนั้น หากเราจะต่อเติมเป็นภาพอื่นต่อไป คอมพิวเตอร์ก็จะไปดึงอีก "วัตถุ" หนึ่งมาทำต่อให้ |
oop | (โอโอพี, อุป) ย่อมาจาก object-oriented programming หมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมของนักเขียนโปรแกรมรุ่นใหม่ ที่จัดแบ่งการเขียนคำสั่งกันออกเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า "วัตถุ" (object) แล้วจึงนำเอาชุดคำสั่งแต่ละชุดนั้นมารวมกันเป็นโปรแกรมชุดใหญ่อีกทีหนึ่ง ในบางครั้งยังอาจนำ "วัตถุ" ของโปรแกรม หนึ่งไปรวมกับ "วัตถุ" ของอีกโปรแกรมหนึ่ง แล้วเรียกออกมาใช้ได้เลย ทั้งนี้ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมใหม่ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด วิธีการดังกล่าวนี้ช่วยประหยัดเวลาได้มาก พูดให้ง่ายก็คือ ทุกโปรแกรมไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ อนึ่ง คำว่า "วัตถุ" นั้น หมายรวมไปถึงภาพหรือกราฟิกด้วย ภาพหนึ่งภาพ เช่น การสร้างวงกลมนั้น เกิดจากการเขียนโปรแกรมโดยใช้สูตรคำนวณเส้นโค้ง ซึ่งจะประกอบด้วยคำสั่งหลายร้อยคำสั่ง แล้วเก็บไว้เป็น "วัตถุ" หนึ่ง ฉะนั้น เมื่อใดที่เราสั่งวาดวงกลม ก็เท่ากับไปเรียก "วัตถุ" นี้มาใช้ หลังจากนั้น หากเราจะต่อเติมเป็นภาพอื่นต่อไป คอมพิวเตอร์ก็จะไปดึงอีก "วัตถุ" หนึ่งมาทำต่อให้ |
packet switching network | ข่ายงานแบบสลับกลุ่มข้อมูลใช้ตัวย่อว่า PSN (อ่านว่า พีเอสเอ็น) หมายถึง วิธีส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง โดยการแบ่งสายข้อมูลเป็นกลุ่ม (packet) แล้วส่งไปยังปลายทาง ฉะนั้น กลุ่มข้อมูลอาจจะไปในทิศทางต่าง ๆ กันได้ และไม่จำเป็นต้องถึงปลายทางตามลำดับที่ส่งออก เครื่องปลายทาง (terminal) จะทำหน้าที่รวบรวมกลุ่มข้อมูล แล้วจัดกลับเป็นสายข้อมูลเอง |
psn | (พีเอสเอ็น) ย่อมาจาก packet switching network (ข่ายงานแบบสลับกลุ่มข้อมูล) หมายถึง วิธีส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง โดยการแบ่งสายข้อมูลเป็นกลุ่ม (packet) แล้วส่งไปยังปลายทาง ฉะนั้น กลุ่มข้อมูลอาจจะไปในทิศทางต่าง ๆ กันได้ และไม่จำเป็นต้องถึงปลายทางตามลำดับที่ส่งออก เครื่องปลายทาง (terminal) จะทำหน้าที่รวบรวมกลุ่มข้อมูล แล้วจัดกลับเป็นสายข้อมูลเอง |
structured programming | หมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมวิธีหนึ่ง ซึ่งใช้วิธีการแบ่งเป็นโปรแกรมย่อย (subprogram) หรือ โมดุล (module) หลาย ๆ อัน ทำให้เข้าใจได้ง่าย หลักการเขียนก็คือ แต่ละส่วนจะประกอบด้วยข้อคำสั่ง 3 ประเภท คือ กำหนดคำสั่งให้เรียงไปตามลำดับการทำงาน ที่เรียกว่า sequential มีคำสั่งให้เลือกทิศทางที่เรียกว่า conditional คือ มี IF-THEN-ELSE และมีการวนไปทำคำสั่งเดิมที่เรียกว่า loop คือมีคำสั่ง DO WHLE อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่คิดจะเป็นนักเขียนโปรแกรม ก็อาจจะไม่รู้จักคำสั่งประเภทนี้ และก็ไม่จำเป็นต้องรู้จักโปรแกรมโครงสร้างด้วย |
teleconference | การประชุมทางวีดิทัศน์หมายถึง การประชุมหรือการสัมมนาผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ร่วมประชุมไม่จำเป็นต้องอยู่ในที่เดียวกัน แต่คุยกันได้ มองเห็นกันได้โดยผ่านทางจอภาพของคอมพิวเตอร์ ส่วนหนึ่งของจอภาพ อาจแบ่งไว้เป็นที่สำหรับเขียนข้อความหรือภาพ หรือแสดงข้อมูลจากโปรแกรมที่เตรียมไว้ ลักษณะการทำงานเป็นระบบเครือข่าย (network) มีความหมายเหมือน videoconference |
videoconference | หมายถึง การประชุมหรือการสัมมนาผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ร่วมประชุมไม่จำเป็นต้องอยู่ในที่เดียวกัน แต่คุยกันได้ มองเห็นกันได้โดยผ่านทางจอภาพของคอมพิวเตอร์ ส่วนหนึ่งของจอภาพ อาจแบ่งไว้เป็นที่สำหรับเขียนข้อความหรือภาพ หรือแสดงข้อมูลจากโปรแกรมที่เตรียมไว้ ลักษณะการทำงานเป็นระบบเครือข่าย (network) มีความหมายเหมือน teleconference |
word wrap | ยกคำไปขึ้นบรรทัดใหม่หมายถึง การบรรจุข้อความลงในขอบเขตหนึ่ง ๆ เมื่อถึงจุดสิ้นสุดเขตที่กำหนด ข้อความก็จะไหลลงมาขึ้นบรรทัดใหม่โดยอัตโนมัติ กล่าวคือ ไม่จำเป็นต้องกดแป้น <RETURN> เมื่อสิ้นสุดบรรทัดหนึ่ง ๆ เหมือนการใช้พิมพ์ดีดโดยจะไหลมาลงบรรทัดล่างเป็นคำ (ลงมาทั้งคำ) การทำเช่นนี้ จะทำให้ข้อความที่อยู่ในบรรทัดล่างไหลกลับขึ้นไปบรรทัดบนได้เอง ถ้ามีที่ว่าง (เช่น มีการลบข้อความบางตอนในบรรทัดบนออก) |