assembly language | ภาษาแอสเซมบลีหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งซึ่งจะตรงเข้าไปจัดการกับตัวไมโครโพรเซสเซอร์ หรือ "ตัวประมวลผล" ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และจะทำการประมวลผลโดยตรงได้เลย โดยปกติ ภาษานี้จะเรียนยากและต้องเขียนยาวกว่าภาษา C หรือภาษา BASIC แต่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ (result) เร็วกว่า และใช้เนื้อที่เก็บน้อยกว่าโปรแกรมภาษาอื่นมาก นิยมใช้ภาษานี้เมื่อต้องการประหยัดเวลาทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรม โดยไม่ต้องพะวงถึงความชัดเจนมากนัก และที่สำคัญก็คือ โปรแกรมภาษานี้จะเขียนขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะกับเครื่องใดเครื่องหนึ่ง หากจะนำไปใช้กับเครื่องคนละรุ่น ก็จะต้องมีการปรับแก้ก่อน (ขึ้นกับหน่วยประมวลผลหรือ CPU) |
autoexec.bat | ชื่อแฟ้มคำสั่งรวม <คำแปล>เป็นชื่อของแฟ้มเก็บคำสั่งรวม (batch file) แฟ้มหนึ่ง ถือเป็นแฟ้มพิเศษ เพราะคอมพิวเตอร์จะทำตามคำสั่งในแฟ้มที่ชื่อนี้ทันทีที่เปิดเครื่อง โดยมาก จะเขียนขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เรียกโปรแกรมต่าง ๆ มาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องเสียเวลาหาว่า โปรแกรมที่ต้องการอยู่ในสารบบ (directory) ใด ใช้คำสั่งเข้าไปในสารบบนั้น แล้วจึงตามด้วยชื่อแฟ้มที่เป็นโปรแกรม แต่ผู้ใช้สามารถพิมพ์ชื่อโปรแกรมได้เลย ตัวอย่างแฟ้ม autoexec.bat ที่นำเข้าสู่ โปรแกรม FoxPro โดยผ่านโปรแกรม VTHAI อาจมีข้อความดังนี้ echo off cls cd FOXPRO25 VTHAI/U CD\ AUX : axis : |
circuit switching | การสลับวงจรในด้านการสื่อสารข้อมูล (data communications) หมายถึงเทคนิคในการสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เมื่อมีการเชื่อมต่อกันแล้วจะติดต่อกันได้ตลอดเวลา ผู้อื่นจะแทรกเข้ามาไม่ได้เลย จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปลดวงจรออก ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น การติดต่อทางสายโทรศัพท์ เมื่อเริ่มพูดกันได้แล้ว คนอื่นจะต่อสายแทรกเข้ามาไม่ได้ จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะวางหูลง (ปลดวงจร) ดู packet switching เปรียบเทียบ |
client application | โปรแกรมเฉพาะเครื่อง1. ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) คำนี้หมายถึง โปรแกรมที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์บางเครื่อง โดยปกติ ในระบบเครือข่ายนั้น จะต้องมีคอมพิวเตอร์กลางเครื่องหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นที่เก็บโปรแกรมต่าง ๆ ไว้ให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถเรียกไปใช้ได้ เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) (คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมเหล่านั้น) แต่ถ้าเครื่องบริการแฟ้มนั้นเสีย คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายเดียวกันนั้นก็จะทำงานไม่ได้เลย ฉะนั้น เราจึงมักจะให้คอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือข่ายมีโปรแกรมเก็บไว้ในเครื่องของตนเองด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่แม้จะอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน จะไม่สามารถเรียกโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ไปใช้ได้ เราเรียกโปรแกรมที่เก็บอยู่เฉพาะในเครื่องนี้ว่า " client application "2. โปรแกรมบนระบบวินโดว์ที่สามารถโยงถึงที่มาของภาพหรือข้อความที่เป็นต้นแบบได้ หากเมื่อใดมีการแก้ไขในแฟ้มต้นแบบ โปรแกรมก็จะจัดการแก้ไขในแฟ้มใหม่ ให้ด้วย ดู OLE เปรียบเทียบ |
daughterboard | แผงวงจรตัวลูกหมายถึง แผงวงจรอีกชุดหนึ่ง ที่ทำเพิ่มไว้เผื่อให้เลือกใช้ได้ สามารถเสียบเข้าใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคู่ไปกับแผงวงจรหลักได้เลย เมื่อเรียกแผงวงจรหลักว่า ตัวแม่ (motherboard) จึงได้เรียกตัวนี้ว่า ตัวลูก |
detailed flowchart | ผังงานละเอียดหมายถึงผังงานที่แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียด จนแทบจะนำแต่ละขั้นตอนมาถอดโยงกันเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมได้เลยดู program flowchart ประกอบ |
direct access | การเข้าถึงโดยตรงหมายถึง การเข้าถึงข้อมูลโดยใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลได้เร็วเท่ากันหมด ไม่ขึ้นกับตำแหน่งที่เก็บ หมายความว่า ไม่ว่าข้อมูลจะเก็บอยู่ที่ส่วนใดของสื่อที่ใช้บันทึก หัวอ่าน (read head) ก็จะเจาะตรงลงไปอ่านได้เลย เช่น การอ่านข้อมูลจากจานบันทึก ซึ่งผิดกับการอ่านข้อมูลจากแถบบันทึก (tape) ที่ต้องอ่านเรียงไปตามลำดับตั้งแต่ต้นเทปไปจนกว่าจะถึงข้อมูลที่ต้องการทุกครั้ง ทำให้ช้ากว่ากันมากดู indirect access เทียบ |
dumb terminal | เครื่องปลายทางใบ้เครื่องปลายทางธรรมดาหมายถึง เครื่องปลายทางหรือเทอร์มินัลของคอมพิวเตอร์ชนิดธรรมดา ดูเผิน ๆ จะเหมือนกับไมโครคอมพิวเตอร์ แต่จริง ๆ แล้ว จะมีแต่แป้นพิมพ์และจอภาพ ซึ่งเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe) ที่อื่น เครื่องปลายทางชนิดนี้ไม่มีหน่วยบันทึกข้อมูล หน่วยความจำ หรือตัวประมวลผล ฉะนั้นจะเก็บข้อมูลหรือประมวลผลอะไรไม่ได้เลยดู intelligent terminal หรือ smart terminal เปรียบเทียบ |
end of line | ปลายบรรทัดใช้ตัวย่อว่า EOL (อ่านว่า อีโอแอล) โปรแกรมประมวลผลคำมักจะมีคำสั่งพิเศษนี้ที่จะสั่งให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) กระโดดไปปลายบรรทัดได้เลย |
eol | (อีโอแอล) ย่อมาจาก end of line ซึ่งก็แปลตรง ๆ ได้ว่า ปลายบรรทัด โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) มักจะมีคำสั่งพิเศษที่จะสั่งให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) กระโดดไปปลายบรรทัดได้เลย |
expansion bus | บัสส่วนขยายหมายถึง บัส (bus) เพิ่มพิเศษที่เครื่องคอมพิวเตอร์เตรียมไว้ให้เสียบแผ่นวงจรเพิ่มเข้าไป เพื่อที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คอมพิวเตอร์สมัยก่อนไม่มีส่วนนี้ ทำให้เพิ่มขีดความสามารถไม่ได้เลย คอมพิวเตอร์ปัจจุบันจะคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นสำคัญ และจะมีเตรียมไว้ให้ทุกเครื่องทุกยี่ห้อ |
function keys | แป้นกำหนดหน้าที่หมายถึง แป้นพิเศษกลุ่ม หนึ่งที่มักจะถูกจัดไว้ให้อยู่แถวบน สุดของแป้นพิมพ์ (บางทีก็อยู่ ด้านซ้ายมือ) ปกติจะมีอยู่ราว ๆ 10-15 แป้น บนแป้นจะมีตัวอักษร F ตามด้วยเลขตั้งแต่ 1-15 (แล้วแต่ว่ามีกี่แป้น) แป้นเหล่านี้จะถูกกำหนด หน้าที่ เฉพาะ ให้ใช้แทนคำสั่งบางคำสั่งได้เลย เช่น ในระบบดอส แป้น F3 จะใช้แทนคำสั่ง copy ได้ เป็นต้น |
gigo | (กิโก) ย่อมาจาก garbage in , garbage out พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานแปลว่า เข้าผิด ออกผิด แต่ถ้าแปลตามตัวจะได้ว่า ขยะเข้า ขยะออก เป็นคำกล่าวที่ใช้เตือนสติผู้ใช้คอมพิวเตอร์ว่า ถ้าใส่ข้อมูลที่ไร้คุณค่าลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องก็มิอาจจะทำให้ข้อมูลนั้นมีค่าขึ้นมาได้เลย อีกนัยหนึ่ง เป็นการบอกให้นักคอมพิวเตอร์มือใหม่รู้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์หาใช่สิ่งมหัศจรรย์ที่จะเนรมิตข้อมูลเลว ๆ ให้เป็นสารสนเทศ (information) ดี ๆ ได้ ถ้าใส่ขยะ (ข้อมูลเลว ๆ) เข้าไป ก็จะได้ขยะ (สารสนเทศเลว ๆ) ออกมา |
immediate access | หมายถึง การเข้าถึงข้อมูลโดยใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลได้เร็วเท่ากันหมด ไม่ขึ้นกับตำแหน่งที่เก็บ หมายความว่า ไม่ว่าข้อมูลจะเก็บอยู่ที่ส่วนใดของสื่อที่ใช้บันทึก หัวอ่าน (read head) ก็จะเจาะตรงลงไปอ่านได้เลย เช่น การอ่านข้อมูลจากจานบันทึก ซึ่งผิดกับการอ่านข้อมูลจากแถบบันทึก (tape) ที่ต้องอ่านเรียงไปตามลำดับตั้งแต่ต้นเทปไปจนกว่าจะถึงข้อมูลที่ต้องการทุกครั้ง ทำให้ช้ากว่ากันมากมีความหมายเหมือน direct access |
interpreted language | ภาษาที่แปลด้วยตัวแปลภาษาหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่คอมพิวเตอร์จะอ่านคำสั่งทีละคำสั่ง จัดการแปลให้แล้วปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ๆ ทันที ก่อนที่จะไปอ่านคำสั่งใหม่ เช่น ภาษา BASIC, LISP, PROLOG และ LOGO เป็นต้น การใช้ภาษาประเภทนี้ ที่ใช้จะรู้สึกทันใจกว่า เพราะรายงานผลได้ทันที ถ้ามีที่ผิด ก็จะได้แก้ไขได้เลย ภาษาเหล่านี้เป็นภาษาที่ใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่า Interpreter เป็นตัวแปล |
oa | (โอเอ) ย่อมาจาก office automation แปลว่า การอัตโนมัติสำนักงาน, สำนักงานอัตโนมัติ หมายถึง การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ภายในสำนักงาน เพื่อให้ดำเนินการไปโดยอัตโนมัติ หลีกเลี่ยงการปฏิบัติด้วยมือให้มากที่สุด เป็นต้นว่า การทำจดหมายเวียน (ข้อความในจดหมายเหมือน ๆ กัน แต่ส่งถึงชื่อคนหลายคน) ในกรณีนี้ หากใช้คอมพิวเตอร์ทำ ก็จะประหยัดเวลาได้มาก เพราะสามารถสั่งทีเดียวได้เลย ส่วนในความหมายของคำแปลที่ว่า "สำนักงานอัตโนมัติ" นั้น อธิบายง่าย ๆ ได้ว่า หมายถึง สำนักงานที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง (ในภาษาอังกฤษ บางทีใช้ automated office) |
object-oriented programmi | การทำโปรแกรมเชิงวัตถุหมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมของนักเขียนโปรแกรมรุ่นใหม่ ที่จัดแบ่งการเขียนคำสั่งกันออกเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า "วัตถุ" (object) แล้วจึงนำเอาชุดคำสั่งแต่ละชุดนั้นมารวมกันเป็นโปรแกรมชุดใหญ่อีกทีหนึ่ง ในบางครั้งยังอาจนำ "วัตถุ" ของโปรแกรม หนึ่งไปรวมกับ "วัตถุ" ของอีกโปรแกรมหนึ่ง แล้วเรียกออกมาใช้ได้เลย ทั้งนี้ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมใหม่ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด วิธีการดังกล่าวนี้ช่วยประหยัดเวลาได้มาก พูดให้ง่ายก็คือ ทุกโปรแกรมไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ อนึ่ง คำว่า "วัตถุ" นั้น หมายรวมไปถึงภาพหรือกราฟิกด้วย ภาพหนึ่งภาพ เช่น การสร้างวงกลมนั้น เกิดจากการเขียนโปรแกรมโดยใช้สูตรคำนวณเส้นโค้ง ซึ่งจะประกอบด้วยคำสั่งหลายร้อยคำสั่ง แล้วเก็บไว้เป็น "วัตถุ" หนึ่ง ฉะนั้น เมื่อใดที่เราสั่งวาดวงกลม ก็เท่ากับไปเรียก "วัตถุ" นี้มาใช้ หลังจากนั้น หากเราจะต่อเติมเป็นภาพอื่นต่อไป คอมพิวเตอร์ก็จะไปดึงอีก "วัตถุ" หนึ่งมาทำต่อให้ |
office automation | การอัตโนมัติสำนักงานใช้ตัวย่อว่า OA (อ่านว่า โอเอ) หมายถึง การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ภายในสำนักงาน เพื่อให้ดำเนินการไปโดยอัตโนมัติ หลีกเลี่ยงการปฏิบัติด้วยมือให้มากที่สุด เป็นต้นว่า การทำจดหมายเวียน (ข้อความในจดหมายเหมือน ๆ กัน แต่ส่งถึงชื่อคนหลายคน) ในกรณีนี้ หากใช้คอมพิวเตอร์ทำ ก็จะประหยัดเวลาได้มาก เพราะสามารถสั่งทีเดียวได้เลย ส่วนในความหมายของคำแปลที่ว่า "สำนักงานอัตโนมัติ" นั้น อธิบายง่าย ๆ ได้ว่า หมายถึง สำนักงานที่ใช้เครื่อวคอมพิวเตอร์นั่นเอง (ในภาษาอังกฤษ บางทีใช้ automated office) |
oop | (โอโอพี, อุป) ย่อมาจาก object-oriented programming หมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมของนักเขียนโปรแกรมรุ่นใหม่ ที่จัดแบ่งการเขียนคำสั่งกันออกเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า "วัตถุ" (object) แล้วจึงนำเอาชุดคำสั่งแต่ละชุดนั้นมารวมกันเป็นโปรแกรมชุดใหญ่อีกทีหนึ่ง ในบางครั้งยังอาจนำ "วัตถุ" ของโปรแกรม หนึ่งไปรวมกับ "วัตถุ" ของอีกโปรแกรมหนึ่ง แล้วเรียกออกมาใช้ได้เลย ทั้งนี้ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมใหม่ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด วิธีการดังกล่าวนี้ช่วยประหยัดเวลาได้มาก พูดให้ง่ายก็คือ ทุกโปรแกรมไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ อนึ่ง คำว่า "วัตถุ" นั้น หมายรวมไปถึงภาพหรือกราฟิกด้วย ภาพหนึ่งภาพ เช่น การสร้างวงกลมนั้น เกิดจากการเขียนโปรแกรมโดยใช้สูตรคำนวณเส้นโค้ง ซึ่งจะประกอบด้วยคำสั่งหลายร้อยคำสั่ง แล้วเก็บไว้เป็น "วัตถุ" หนึ่ง ฉะนั้น เมื่อใดที่เราสั่งวาดวงกลม ก็เท่ากับไปเรียก "วัตถุ" นี้มาใช้ หลังจากนั้น หากเราจะต่อเติมเป็นภาพอื่นต่อไป คอมพิวเตอร์ก็จะไปดึงอีก "วัตถุ" หนึ่งมาทำต่อให้ |
paper tape | แถบกระดาษเทปกระดาษเป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกของคอมพิวเตอร์เมนเฟรมในสมัยแรก ๆ โดยทั่วไป แถบกระดาษที่เคยนิยมใช้มีขนาดกว้าง 0.75 ถึง 1 นิ้ว แถบกระดาษม้วนหนึ่ง ๆ ยาว 30 - 1000 ฟุต ม้วนอยู่บนล้อวงกลม ลักษณะการบันทึก ใช้วิธีการเจาะเป็นรูกลม ๆ มีความจุประมาณ 10 ล้านตัวอักขระต่อเทป 1 นิ้ว ปัจจุบัน ไม่มีใครรู้จักแล้ว เพราะแก้ไขยาก ใช้ซ้ำไม่ได้เลย ทำให้สิ้นเปลืองมาก ในการอ่านข้อมูลบนแถบกระดาษ ใช้เครื่องอ่านแถบกระดาษ เรียกว่า paper tape reader ในการบันทึก ใช้เครื่องเจาะแถบกระดาษ ซึ่งเรียกว่า paper tape punch ซึ่งจะทำงานเมื่อได้รับสัญญาณจากหน่วยประมวลผลกลาง สามารถเจาะได้ประมาณ 10 - 150 แถวต่อวินาที |
plug and play | ต่อแล้วใช้หมายถึงเทคโนโลยีในการนำอุปกรณ์บางอย่างมาใช้ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเพียงแต่เสียบต่อกัน ก็ใช้ได้เลย ไม่ต้องมีการติดตั้งให้ลำบากอย่างเครื่องพิมพ์ |
read only memory | หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวใช้ตัวย่อว่า ROM (อ่านว่า รอม) แปลว่าหน่วยความจำอ่านอย่างเดียว หมายถึงหน่วยความจำลักษณะหนึ่งที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลออกมาได้อย่างเดียวเท่านั้น จะบันทึกข้อมูลลงไปไม่ได้เลย หน่วยความจำส่วนนี้จะเก็บคำสั่งเบื้องต้นต่าง ๆ ไว้ และจะเก็บอยู่ตลอดไป แม้ว่าจะปิดสวิตซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลในรอม ก็จะไม่สูญหายไปไหนดู RAM เปรียบเทียบ |
rom | รอมย่อมาจาก read only memory (แปลว่าหน่วยความจำอ่านอย่างเดียว) หมายถึงหน่วยความจำลักษณะหนึ่งที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลออกมาได้อย่างเดียวเท่านั้น จะบันทึกข้อมูลลงไปไม่ได้เลย หน่วยความจำส่วนนี้จะเก็บคำสั่งเบื้องต้นต่าง ๆ ไว้ และจะเก็บอยู่ตลอดไป แม้ว่าจะปิดสวิตซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลในรอมก็จะไม่ศูนย์หายไปไหนดู RAM เปรียบเทียบ |
system disk | จานบันทึกระบบหมายถึง จานบันทึกที่บรรจุระบบปฏิบัติการ (ถ้าเป็นพีซี ก็หมายถึง MS DOS) สามารถนำมาใช้เริ่มเครื่องใหม่ได้ (boot) โดยใส่ในหน่วยบันทึก A : จานบันทึกระบบต้องมีโปรแกรม 3 โปรแกรม เป็นอย่างน้อย คือ lo.sys, Msdos.sys และ Command.com สองแฟ้มแรกจะถูกซ่อนอยู่ (hidden files) แม้ว่าจะใช้คำสั่ง Dir ก็จะไม่แสดงบนจอภาพโปรแกรม lo.Sys จะดูแลในเรื่องการนำข้อมูลเข้า และการแสดงผล ส่วน MSDOS.sys จะจัดการเกี่ยวกับเรื่องการอ่านและการบันทึกข้อมูลลงในแผ่นจานบันทุกนั้น ส่วน Command.com ก็จะมีคำสั่งพื้นฐานต่าง ๆ เช่น dir, copy, delete จานบันทึกระบบนี้มีความสำคัญมาก (โดยเฉพาะเครื่องที่ไม่มีฮาร์ดดิสก์) ถ้าไม่มีจานบันทึกนี้จะเริ่มต้นใช้คอมพิวเตอร์ไม่ได้เลย ถ้ามีฮาร์ดดิสก์ อาจใช้ฮาร์ดดิสก์เป็นจานบันทึกระบบเลยก็ได้ |
taskbar | แถบงานหมายถึง แถบที่อยู่ด้านล่างสุดของจอภาพในระบบวินโดว์ 95 และ 98 ซ้ายสุด จะเป็นปุ่ม Start ซึ่งเป็นปุ่มที่เราจะต้องใช้ทุกครั้งที่เข้ามาในระบบ บนแถบนี้ จะมีสัญรูปเล็ก ๆ ของ นาฬิกา ลำโพง หรือบางที หากกำลังสั่งพิมพ์งาน ก็จะมีสัญรูปเครื่องพิมพ์ และเป็นที่บอกว่า ขณะนั้นเราเปิดวินโดว์อะไรไว้แล้วบ้าง แถบงานนี้ ปกติจะกว้างเท่ากับขนาดของปุ่ม Start คือประมาณ .5 นิ้ว แต่เราสามารถย่อให้เล็กลงไปอีก หรือขยายให้ใหญ่ขึ้น หรือหากต้องการย้ายที่ กล่าวคืออาจย้ายไปไว้ด้านข้าง ฯ ก็สามารถใช้เมาส์ลากไปได้เลย หากเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วไม่มีแถบงานนี้ ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่า แถบงานถูกซ่อนไว้ ทดลองเลื่อนเมาส์ไปทางด้านล่าง ต่ำลงไปจนชิดกับที่แถบงานเคยอยู่ หากยังไม่มีแถบงานปรากฏให้เห็น ก็อาจเป็นได้ว่า มีคนย้ายแถบงานไปไว้ที่อื่น ต้องลองหาดูให้ดี ๆ |
turnkey system | ระบบพร้อมสรรพหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีบริภัณฑ์รอบข้าง (peripherals equipment) ครบบริบูรณ์หนึ่งชุด ที่พร้อมจะทำงานทันทีที่เปิดเครื่อง ศัพท์คำนี้มาจากระบบอุตสาหกรรมรถยนต์ กล่าวคือ พอไขกุญแจ (ภาษาอังกฤษใช้ว่า turn key) เมื่อใด ก็จะขับออกไปได้เลย สรุป ก็คือ ระบบนี้หมายถึงระบบคอมพิวเตอร์เบ็ดเสร็จทั้งระบบ ตั้งแต่ส่วนตัวเครื่อง (hardware) รวมทั้งซอฟต์แวร์ที่จะใช้ (มักใช้ในความหมายที่เป็นการส่งมอบให้ลูกค้า) |
typeface | แบบอักษรหมายถึง การออกแบบตัวอักขระในรูปลักษณ์ต่าง ๆ กัน ในบางที่ใช้แทนคำ font ได้เลยดู font ประกอบ |