โดยปริยาย | ว. โดยอ้อม, โดยความหมายเปรียบเทียบ, โดยขยายความหมายออกไป, เช่น โดดร่ม ความหมายตรงว่า กระโดดจากเครื่องบินโดยมีร่มชูชีพเป็นเครื่องพยุง ความหมายโดยปริยายว่า หนีงาน, หนีโรงเรียน. |
กก ๔ | ก. แนบไว้กับอก โดยปรกติเป็นอิริยาบถนอน เช่น กกกอด กกไข่ กกลูก, โดยปริยายหมายความว่า เก็บนิ่งไว้นานเกินควร เช่น เอาเรื่องไปกกไว้. |
กด ๔ | ก. บังคับลง, ข่ม, ใช้กำลังดันให้ลง, โดยปริยายหมายความว่า แกล้งกักไว้ เช่น กดคดี |
ก้น | น. ส่วนเบื้องล่างของลำตัวของคนหรือส่วนท้ายของลำตัวของสัตว์, โดยปริยายหมายความถึงบริเวณก้นด้วย เช่น ล้างก้น |
ก้นกบ | น. ปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่าง, พายัพเรียก ก้นหย่อน, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ก้นกบว่าวจุฬา. |
ก้นบึ้ง | น. ส่วนสุดของสิ่งที่ลึก, ส่วนใต้สุด, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ก้นบึ้งของหัวใจ. |
ก้นหอย | น. รอยเส้นขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่างรูปก้นหอยมีที่นิ้วมือเป็นต้น, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ม้วนผมแบบก้นหอย. |
กบดาน | ก. นอนพังพาบกับพื้นใต้นํ้า เป็นอาการของจระเข้, โดยปริยายหมายถึงหลบซ่อนตัวไม่ออกมา. |
ก้มหัว | ก. น้อมหัวลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ, โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร. |
กรอก ๑ | (กฺรอก) ก. เทลงในช่องแคบ เช่น กรอกหม้อ กรอกขวด, หรือใช้โดยปริยายก็ได้ เช่น พูดกรอกหู |
กรอบ ๑ | (กฺรอบ) น. สิ่งที่ประกอบตามริมวัตถุมีรูปภาพเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า ขอบเขตกำหนด เช่น ทำงานอยู่ในกรอบ. |
กร่อย | (กฺร่อย) ว. ไม่จืดสนิทหรือไม่หวานสนิท เพราะมีรสเค็มเจือ, โดยปริยายหมายความว่า หมดรสสนุกหรือหมดความครึกครื้น เช่น การแสดงที่ไม่สนุกทำให้คนดูรู้สึกกร่อย. |
กระจาด | น. ภาชนะสาน รูปเตี้ย ๆ ปากกว้าง ก้นสอบ, โดยปริยายเรียกเครื่องสานที่ทำเป็นตาโต ๆ ขอบปากแบบพานปากกระจับ สำหรับใส่ของเครื่องกัณฑ์เทศน์มหาชาติ. |
กระโจม ๑ | น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกำบังแดดลมเป็นต้น, โจม ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นลอม เช่น กระโจมปืน หรือสิ่งที่ผูกรวบยอดให้รวมกัน เช่น ปากผูกกระโจม หรือผ้าที่ทำเป็นลอมเพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อออก เช่น เข้ากระโจม. |
กระชาก | ก. ดึงเข้ามาโดยเร็วและแรง เช่น กระชากผม, โดยปริยายหมายความว่า กระตุกโดยแรง เช่น ออกรถกระชาก, พูดกระแทกเสียงดังห้วน ๆ ในความว่า พูดกระชากเสียง, มักใช้เข้าคู่กับคำ กระโชก เป็น กระโชกกระชาก. |
กระดาน ๑ | โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะอย่างกระดาน. |
กระดิ่ง | น. เครื่องทำเสียงสัญญาณทำด้วยโลหะ มีรูปคล้ายระฆัง แต่ขนาดเล็กกว่า มีตุ้มเล็ก ๆ อยู่ข้างใน สำหรับทำให้เกิดเสียง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระดิ่งจักรยาน. |
กระดูกสันหลัง | น. กระดูกที่อยู่ในแนวกึ่งกลางทางด้านหลังของลำตัว เป็นแกนของร่างกาย มีลักษณะเป็นข้อ ๆ ต่อกันเป็นแนวตั้งแต่บริเวณคอต่อจนถึงบริเวณด้านหลังของทวารหนัก ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่ไขสันหลัง, โดยปริยายหมายถึงส่วนที่สำคัญ, ส่วนที่เป็นพลังคํ้าจุน, เช่น ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ. |
กระโดด | ก. ใช้กำลังเท้าดันพื้นให้ตัวลอยสูงขึ้นหรือเคลื่อนจากที่เดิม เช่น กระโดดสูง ดีใจกระโดดจนตัวลอย, ภาษาปากว่า โดด, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลากระโดด ตัวพิมพ์กระโดด. |
กระต้วมกระเตี้ยม | ว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่กิริยาเดินหรือคลาน), โดยปริยายหมายความว่า ชักช้า เช่น เธอมัวแต่กระต้วมกระเตี้ยมอยู่นั่นแหละ เดี๋ยวก็ไม่ทันรถไฟหรอก, ต้วมเตี้ยม ก็ว่า, ใช้ว่า กระด้วมกระเดี้ยม ก็มี. |
กระตุก | ก. ดึงเข้ามาโดยเร็วทันที เช่น กระตุกเชือก, ดึงเข้ามาโดยเร็วทันทีแล้วผ่อนออก เช่น กระตุกสายป่านว่าว, โดยปริยายหมายความว่า สะดุด, ไม่ราบรื่น, เช่น เครื่องยนต์กระตุก |
กระตุ้น | ก. ใช้มือหรือสิ่งใด ๆ กระแทกเบา ๆ ให้รู้ตัว เช่น กระตุ้นม้า, โดยปริยายหมายความว่า เตือนหรือหนุน เช่น กระตุ้นให้รีบทำงาน, ช่วยเร่ง เช่น ใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจที่หยุดเต้นให้เต้นต่อไป. |
กระโตกกระตาก | ก. ส่งเสียงให้เขารู้อย่างไก่กำลังออกไข่, โดยปริยายหมายความว่า เปิดเผยข้อความที่ต้องการปิดบัง. |
กระทง ๒ | ว. เรียกไก่อ่อนอายุประมาณ ๓ เดือนว่า ไก่กระทง, ใช้สำหรับเรียกไก่ตัวผู้ที่เพิ่งสอนขัน ว่า ไก่รุ่นกระทง, โดยปริยายใช้เรียกชายกำลังแตกเนื้อหนุ่มเป็นเชิงเปรียบเปรย ว่า หนุ่มรุ่นกระทง. |
กระทุ้ง | ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาวกระแทก เช่น เอาสามเกลอกระทุ้งดิน เอาศอกกระทุ้งสีข้าง, ทุ้ง ก็ว่า, โดยปริยายหมายความว่า หนุนให้กระทำหรือกล่าวแสดงออกมา เช่น กระทุ้งให้ร้องเพลง. |
กระทุ่ม ๒ | โดยปริยายหมายความว่า ผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง (แช่งน้ำ). |
กระเท่เร่ | ว. เอียงทื่ออยู่, เอียงไปมาก, มักพูดเข้าคู่กับ เอียง เป็น เอียงกระเท่เร่, โดยปริยายหมายความว่า ลำเอียงมาก. |
กระเทือน | ก. มีอาการสั่นไหวเพราะถูกกระทบ เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิดทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า เป็นทุกข์กังวล เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า. |
กระแทก | โดยปริยายหมายถึง อาการที่พูดกระชากเสียงให้ดังผิดปรกติแสดงว่าไม่พอใจหรือโกรธ เช่น กระแทกเสียง. |
กระเบื้องถ้วยกะลาแตก | น. เศษภาชนะดินเผาที่แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย, โดยปริยายหมายถึงของเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่เป็นชิ้นเป็นอันที่ชำรุดหรือขาดชุดหมดราคา. |
กระพี้ | ว. โดยปริยายหมายความว่า ไม่เป็นแก่นสาร. |
กระพือ | ก. เอาสิ่งที่เป็นผืนแผ่นบาง ๆ โบกขึ้นลง, พัดหรือโบกด้วยอาการเช่นนั้น, โดยปริยายหมายถึงแพร่กระจาย เช่น ข่าวนี้กระพือไปอย่างรวดเร็ว. |
กระเย้อกระแหย่ง | (-แหฺย่ง) ก. ขะเย้อแขย่ง, เขย่งแล้วเขย่งอีก, โดยปริยายหมายความว่า พยายามจะให้ได้สิ่งที่สุดเอื้อม. |
กระสอบทราย | น. ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้างขนาดใหญ่ เดิมบรรจุทราย ปัจจุบันบรรจุขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของนักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, โดยปริยายเรียกผู้ที่ถูกทำร้ายร่างกายอย่างบอบช้ำ เนื่องจากถูกชก เตะ ต่อย โดยไม่มีทางสู้หรือไม่กล้าต่อสู้. |
กระแส | น. นํ้าหรือลมเป็นต้นที่ไหลหรือพัดเรื่อยเป็นแนวเป็นทางไปไม่ขาดสาย เช่น กระแสนํ้า กระแสลม, โดยปริยายหมายถึงอาการเช่นนั้น |
กระหม่อม | น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวกลางศีรษะ แต่ตํ่ากว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า |
กราบ ๒ | (กฺราบ) ก. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ประนมอยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ เช่น กราบลงบนตัก, เรียกกราบโดยให้อวัยวะทั้ง ๕ คือ เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และหน้าผาก จดลงกับพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด, โดยปริยายใช้เป็นคำแสดงอาการเคารพเหมือนอย่างกราบ เช่น กราบทูล กราบเรียน. |
กริบ | โดยปริยายหมายความว่า เงียบไม่มีเสียงดัง เช่น เงียบกริบ ย่องกริบ. |
กรีดน้ำตา | ว. เช็ดน้ำตาด้วยนิ้วอย่างละครรำ, โดยปริยายเป็นคำแสดงความหมั่นไส้ว่าแสร้งร้องไห้ทำให้ดูน่าสงสาร เช่น เรื่องแค่นี้มานั่งกรีดน้ำตาอยู่ได้. |
กรุ ๑ | (กฺรุ) น. ห้องที่ทำไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งมีค่าอื่น ๆ, โดยปริยายหมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการในสังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำ โดยมิได้มีตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. |
กรุ่น | (กฺรุ่น) ว. อาการของไฟที่ยังไม่ดับแต่ไม่ถึงกับลุกโพลง เช่น ไฟติดกรุ่นอยู่, โดยปริยายหมายความว่า ยังเหลืออยู่บ้าง, มีเรื่อย ๆ อยู่, เช่น ควันกรุ่น หอมกรุ่น |
กรุ่ม | โดยปริยายหมายความว่า สบายเรื่อย ๆ ไป เช่น มีเงินตรากินกรุ่มเป็นภูมิฐาน (นิ. เดือน) |
กรุย ๑ | โดยปริยายหมายความว่า เปิดทางให้สะดวก. |
กลไก | (กน-) น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่าบุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การที่บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร, ระบบที่จะให้งานสำเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง |
กลบ | (กฺลบ) ก. เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง เช่น เอาขี้เถ้าไปกลบขี้แมว, เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่งเพื่อให้เต็มหรือไม่ให้เห็นร่องรอย, โดยปริยายหมายความว่า ปิดบัง เช่น กลบความ, ทดแทน เช่น ให้เอาสินไหมมากลบทรัพย์นั้นเสีย (กฎ. ราชบุรี). |
กลมดิก | ว. กลมทีเดียว, กลิ้งไปได้รอบตัว, โดยปริยายหมายความว่า กลิ้งกลอก. |
กลอนสด | น. กลอนที่ผูกและกล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยไม่ได้คิดมาก่อน, โดยปริยายหมายความว่า ข้อความที่กล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยมิได้เตรียมตัวมาก่อน เช่น พูดกลอนสด. |
กล่อม ๒ | โดยปริยายหมายความว่า เหมาะเจาะ เช่น นํ้าหอมกล่อมกลิ่นดอกไม้กลั่น (ขุนช้างขุนแผน). |
กล่อมเกลา | (-เกฺลา) ก. ทำให้เรียบร้อย, ทำให้ดี, โดยปริยายหมายความว่า อบรมให้มีนิสัยไปในทางดี. |
กล่อม ๓ | (กฺล่อม) ก. ร้องเป็นทำนองเพื่อเล้าโลมใจหรือให้เพลิน, โดยปริยายหมายความว่า พูดให้น้อมใจตาม หรือทำให้เพลิดเพลิน เช่น กล่อมใจ กล่อมอารมณ์. |