กฎหมายตราสามดวง | น. ประมวลกฎหมายโบราณของไทยซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชำระและปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อทำเสร็จแล้วได้ประทับดวงตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง. |
กระหม่อม | คำสำหรับใช้ควบกับคำที่ขึ้นต้นว่า “เกล้า” เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทนก็ได้ เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวาย. |
เกล้ากระผม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพมากหรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
เกล้ากระหม่อม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย กราบทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ | น. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด. |
จางวาง | เจ้าเมืองที่พ้นตำแหน่งแล้ว ซึ่งได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาของเจ้าเมือง เรียกว่า จางวางเมือง. |
ฎีกา | คำร้องทุกข์ที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์ |
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ | น. ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ หรือทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าฯ ถวาย หรือทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใด นอกจากที่ทรงได้มาในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ รวมทั้งดอกผลที่เกิดจากบรรดาทรัพย์สินเช่นว่านั้นด้วย. |
ทราบเกล้าทราบกระหม่อม | ก. รู้ (ใช้กราบทูลเจ้านายตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป), เขียนย่อว่า ทราบเกล้าฯ. |
ท้าว ๑ | ตำแหน่งหญิงอาวุโส ซึ่งเป็นเจ้าจอม เจ้าจอมมารดาในรัชกาลก่อนหรือหญิงราชนิกุล ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินโปรดเกล้าฯ ตั้งไว้ในตำแหน่งสำหรับดูแลราชกิจฝ่ายในพระราชวัง เช่น ท้าวทรงกันดาล ท้าวสมศักดิ์, (ปาก) คุณท้าว นางท้าว |
ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย | ก. ถวาย (ใช้แก่สิ่งของเล็กหรือของที่ยกได้ที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี), เขียนว่า ทูลเกล้าฯ ถวาย ก็ได้ แต่ต้องอ่านว่า ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย. |
เทศาภิบาล | การปกครองหัวเมืองที่จัดเป็นมณฑล โดยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทำหน้าที่ปกครองในแต่ละมณฑล เรียกว่า ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑล เว้นแต่มณฑลชายแดนบางมณฑล เรียกว่า ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑล ภายหลังเรียกว่า สมุหเทศาภิบาลมณฑล หรือสมุหเทศาภิบาล. |
ธงบรมราชวงศ์น้อย | น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี แบ่งตามความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับตอนต้นของธงบรมราชวงศ์ใหญ่แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีแดงแปลงเป็นรูปธงยาวเรียว โดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของธงตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงบรมราชวงศ์ใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ. |
ธงมหาราชน้อย | น. ธงสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ แบ่งตามความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงมหาราชใหญ่ แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลงเป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงมหาราชใหญ่ หมายความว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ. |
ธงเยาวราชน้อย | น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระยุพราช แบ่งความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงเยาวราชใหญ่ แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลงเป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงเยาวราชใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ. |
ธงราชินีน้อย | น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระราชินี มีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงมหาราชน้อย เว้นแต่ชายต่อเป็นสีแดง ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงราชินีใหญ่ หมายความว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ. |
น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย | ก. ถวาย (ใช้แก่สิ่งของใหญ่หรือของที่ยกขึ้นให้ไม่ได้ที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี), เขียนว่า น้อมเกล้าฯ ถวาย ก็ได้ แต่ต้องอ่านว่า น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย. |
นางท้าว | น. ตำแหน่งหญิงอาวุโส ซึ่งเป็นเจ้าจอม เจ้าจอมมารดาในรัชกาลก่อน หรือหญิงราชนิกุล ซึ่งพระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ตั้งไว้ในตำแหน่งสำหรับดูแลราชกิจฝ่ายในพระราชวัง |
นิล ๒ | (นิน) น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด <i>Oreochromis</i> <i>niloticus</i> (Linn.) ในวงศ์ Cichlidae ลักษณะคล้ายปลาหมอเทศ แต่มีลำตัวสีเขียวหรือฟ้าปนน้ำตาล มีจุดดำด่างทั่วตัว ปลาขนาดเล็กจะมีลายเข้มพาดขวางลำตัว ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีลายหรือแนวจุดสีคลํ้าหรือขาวพาดขวางหรือทแยงอยู่โดยตลอด ขนาดยาวได้ถึง ๔๖ เซนติเมตร ทำรังเป็นแอ่งดินและปกป้องดูแลลูกอ่อนไว้ในโพรงปาก สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อว่า ปลานิล. |
บารมี | คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. |
ไปยาล | น. เครื่องหมายละคำ รูปดังนี้ ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย สำหรับละคำที่ประกอบคำหน้า เช่น กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ, รูปดังนี้ ฯลฯ หรือ ฯเปฯ เรียกว่า ไปยาลใหญ่ สำหรับละข้อความข้างท้าย เช่น ในป่ามีช้าง เสือ ลิง ค่าง ฯลฯ อ่านว่า “ละ”, หรือละข้อความในระหว่าง เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมีว่า ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย ชโย อ่านว่า “ละถึง”, เปยยาล ก็เรียก. |
ผ่าน | ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ผ่านเกล้าฯ ผ่านเผ้า ผ่านพิภพ ผ่านฟ้า หมายความว่า พระเจ้าแผ่นดิน. |
พระราชพิธี | น. พิธีที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดไว้ตามราชประเพณี เช่น พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีสงกรานต์ พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี. |
พัดยศ | น. พัดพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ภิกษุสามเณรที่สอบเปรียญธรรมได้ตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไป หรือแก่พระภิกษุที่มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา การบริหาร หรือการเผยแผ่พระศาสนา เป็นต้น เป็นเครื่องหมายแสดงลำดับชั้นแห่งสมณศักดิ์ มีรูปและชื่อต่าง ๆ กัน คือ พัดหน้านาง พัดพุดตาน พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์. |
ยศ | (ยด) น. ความยกย่องนับถือเกียรติของตน, เกียรติคุณ, ฐานันดรที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีสูงต่ำตามลำดับกันไป |
ยศ | เครื่องหมายพิเศษที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ผู้มีฐานันดร มีสูงต่ำตามลำดับกันไป, เครื่องกำหนดหมายฐานะหรือชั้นของบุคคล. |
ยุพราช | น. รัชทายาทที่พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาขึ้นเป็นตำแหน่งสมเด็จพระยุพราช โดยพระราชทานยุพราชาภิเษกหรือโดยพิธีอย่างอื่นสุดแท้แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ. |
ร้องฎีกา | ก. ทูลเกล้าฯ ถวายฎีการ้องทุกข์. |
ราชินีนาถ | น. พระราชินีที่ทรงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และทรงได้รับการสถาปนาพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ, พระเจ้าแผ่นดินที่เป็นผู้หญิง เช่น พระราชินีนาถวิกตอเรีย. |
เรือพระที่นั่งชัย | น. เรือพระที่นั่ง เช่น เรือสุพรรณหงส์ เรืออนันตนาคราช เรือเอนกชาติภุชงค์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระชัยวัฒน์ประดิษฐานขึ้นเป็นประธานบนบุษบกกลางลำ เป็นเรือนำกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชสงคราม หรือการพระราชพิธีสำคัญ, เรียกย่อว่า เรือชัย. |
ล้นเกล้าล้นกระหม่อม | ว. ใช้เป็นราชาศัพท์ หมายความว่า มากล้นพ้นประมาณ, ใช้เขียนย่อว่า ล้นเกล้าฯ ก็ได้ เช่น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้. |
วัดหลวง | น. พระอารามหลวง, วัดที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าจำนวนในบัญชีเป็นพระอารามหลวง. |
สุพรรณบัฏ | แผ่นทองคำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่จารึกราชทินนามของสมเด็จพระราชาคณะ ขุนนางชั้นสมเด็จเจ้าพระยา และขุนนางชั้นเจ้าพระยาบางคน ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นพิเศษ |
หมายกำหนดการ | น. เอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานพระราชพิธีซึ่งต้องอ้างพระบรมราชโองการ คือขึ้นต้นด้วยข้อความว่า “นายกรัฐมนตรีหรือเลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่า” เสมอไป. |