กฎหมาย | ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้ (พงศ. อยุธยา), ทำหนังสือเป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทำหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า…(พระราชกำหนดเก่า) |
กฎหมายตราสามดวง | น. ประมวลกฎหมายโบราณของไทยซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชำระและปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อทำเสร็จแล้วได้ประทับดวงตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง. |
กบเต้น | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น สมัยอยุธยาใช้ขับร้องและบรรเลงตอนโศกเศร้า ต่อมามีผู้นำไปทำเป็นเพลงเถา. |
กระจับปี่ | น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ลักษณะคล้ายพิณ มี ๔ สาย ตั้งเสียงต่างกันเป็น ๒ คู่ เดิมใช้บรรเลงในวงมโหรีเครื่อง ๔ และมโหรีเครื่อง ๖ ในสมัยอยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ใช้จะเข้บรรเลงแทน. |
กระต่ายชมจันทร์ | ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น สมัยอยุธยา. |
กระทงน้อย | น. ชื่อเพลงไทย สมัยอยุธยา อยู่ในตำรามโหรีของเก่า. |
กระบอก ๔ | น. ชื่อเพลงไทย อัตราชั้นเดียว สมัยอยุธยา มี ๔ เพลง คือ เพลงกระบอก เพลงกระบอกเงิน เพลงกระบอกทอง และเพลงกระบอกนาก. |
กระบี่ลีลา | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น สมัยอยุธยา |
กระโหนด | (-โหฺนด) น. ตาล เช่น ย่านป่าขายพัดกระโหนดคันกลมคันแบนใหญ่น้อย (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา). |
กราบ ๔ | (กฺราบ) ว. ตราบ เช่น กราบเท่ากัลปาวสาน (พงศ. อยุธยา). |
กฤดา, กฤดาการ | (กฺริดา, กฺริดากาน) น. บารมีอันยิ่งที่ทำไว้ (กร่อนมาจาก กฤดาธิการ) เช่น ทรงพระกฤดาเดชานุภาพยิ่งทวีขึ้น (พงศ. อยุธยา), ผู้ใดมีบุญญากฤดาการ (เสภาสุนทรภู่). |
จาก ๒ | บ. คำนำหน้านามของต้นทางที่มา เช่น ดื่มนํ้าจากแก้ว เขามาจากอยุธยา |
เชื้อพระวงศ์ | น. ผู้ที่สืบเชื้อสายราชสกุล ตลอดลงมาจนถึงผู้ที่นับเนื่องอยู่ในราชสกุล ได้แก่ หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง และผู้ที่ใช้คำว่า ณ อยุธยา ต่อท้ายชื่อสกุล แต่มิได้หมายรวมถึงสตรีที่สมรสกับผู้สืบสายราชสกุล. |
ณ ๒ | (นะ) บ. ใน, ที่, เป็นคำบ่งเวลาหรือสถานที่ว่า ตรงนั้นตรงนี้, เช่น ณ ที่นั้น ณ ห้องประชุม, ถ้าใช้นำหน้าสกุล หมายความว่า แห่ง เช่น ณ อยุธยา ณ เชียงใหม่ ณ นคร. |
ตรีบูร | น. กำแพงล้อม ๓ ชั้น (รวมทั้งคู) เช่น เมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา (จารึกสยาม), ต่อมาแม้จะเป็นกำแพงชั้นเดียวก็เรียกตรีบูรด้วย เช่น อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร (กำสรวล). |
แถว | น. แถบ, บริเวณ, เช่น คนแถวอยุธยา แถวนี้มีอาหารอร่อย, คนหรือสิ่งที่เรียงเป็นเส้นเป็นแนว เช่น แถวทหาร ต้นไม้ขึ้นเป็นแถว, ลักษณนามใช้เรียกคนหรือสิ่งที่เรียงเป็นเส้นเป็นแนว เช่น นักเรียนเข้าแถวเป็น ๒ แถว. |
ทะแย | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น สมัยอยุธยา หน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน ที่เป็นอัตรา ๓ ชั้น นิยมทำเป็นเพลงเดี่ยว |
นฤพาน | (นะรึ-) ก. ตาย (ใช้แก่พระมหากษัตริย์บางพระองค์ เท่าที่ปรากฏในเอกสารสมัยอยุธยา) เช่น ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จนฤพาน (พงศ. กรุงเก่า). |
แปดบท | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น สมัยอยุธยา หน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน, ลิกินแปดบท หรือ ยิกินแปดบท ก็เรียก |
พงศาวดาร | (-สาวะดาน) น. เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น เช่น พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์. |
พระสนมเอก | น. เจ้าจอมมารดา เจ้าจอม หรือเจ้าจอมอยู่งานที่ได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี พานทอง และเครื่องทองคำอย่างใหญ่ เป็นเครื่องยศ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามี ๔ ตำแหน่ง คือ ท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าวศรีจุฬาลักษณ์. |
ราชนิกุล | น. ผู้สืบสายราชสกุลตั้งแต่หม่อมราชวงศ์ทั้งชายและหญิงลงมาจนถึงผู้ที่ใช้คำว่า ณ อยุธยา ต่อท้ายชื่อราชสกุล แต่มิได้หมายรวมถึงสตรีที่สมรสกับผู้สืบสายราชสกุล. |
ลินลากระบี่ | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น สมัยอยุธยา, ปัจจุบันเรียกว่า กระบี่ลีลา. |
วังหน้า | น. วังที่ประทับของพระมหาอุปราช มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เรียกในราชการว่า พระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งอยู่ด้านหน้าพระราชวังหลวงหรือพระบรมมหาราชวัง, ในรัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบวรราชวัง, ปัจจุบันเรียกพระราชวงศ์ฝ่ายนี้ ว่า ฝ่ายวังหน้า. |
วังหลวง | น. วังที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ในสมัยอยุธยาเรียกว่า พระราชวังหลวง, ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบรมมหาราชวัง. |
วังหลัง | น. วังที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ในสมัยอยุธยามักตั้งอยู่ทางด้านหลังของพระราชวังหลวง. |
วิหารแกลบ | (-แกฺลบ) น. วิหารขนาดเล็ก มีพื้นที่ภายในสำหรับพระภิกษุนั่งปฏิบัติกรรมฐานได้เพียงรูปเดียว เช่น วิหารแกลบที่วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. |
วิหารราย | น. วิหารขนาดใกล้เคียงกับวิหารน้อย ตั้งเรียงรายภายในพุทธาวาสโดยรอบ เช่น วิหารรายวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ศาลารายที่ใช้สำหรับพิธีสวดโอ้เอ้วิหารราย เช่น ศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร. |
สนมเอก | น. เจ้าจอมมารดา เจ้าจอม หรือเจ้าจอมอยู่งานที่ได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี พานทอง และเครื่องทองคำอย่างใหญ่ เป็นเครื่องยศ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามี ๔ ตำแหน่ง คือ ท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าวศรีจุฬาลักษณ์, พระสนมเอก ก็เรียก. |
หม่อมราชนิกุล, หม่อมราชนิกูล | น. อิสริยยศที่พระราชทานแก่หม่อมราชวงศ์ชายที่รับราชการมีความชอบ อยู่ระหว่างหม่อมเจ้ากับหม่อมราชวงศ์ เช่น หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ถ้าเทียบกับบรรดาศักดิ์ฝ่ายขุนนาง อยู่ระหว่างพระยากับพระ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาใช้ว่า เจ้าราชนิกุล ซึ่งรวมทั้งหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ ที่สืบสายราชสกุลห่างไกลมาหลายชั้น ตลอดจนพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้าที่ห่างออกไป เจ้าราชนิกุลนี้ครั้งต้นพระบรมราชจักรีวงศ์ มีคำเรียกว่าคุณว่าหม่อม ต่อมารัชกาลที่ ๔ โปรดให้เปลี่ยนใช้คำว่า หม่อม แทนคำว่า เจ้า, หม่อมราชินิกูล ก็เรียก. |
ออกญา | น. บรรดาศักดิ์ชั้นสูงที่พระราชทานในสมัยอยุธยา สูงกว่าออกพระ เข้าใจว่ามาจากเขมร. |