กรด ๓ | (กฺรด) น. ชื่อไม้เถาชนิด <i> Combretum</i><i> tetralophum</i> C. B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่นํ้าท่วม เช่น ตามฝั่งนํ้าลำคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดำ เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก |
กรวย ๒ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i> Horsfieldia irya</i> (Gaertn.) Warb. ในวงศ์ Myristicaceae ขึ้นตามฝั่งนํ้าลำคลอง ใบเป็นมันคล้ายใบจำปี แต่เรียวและนิ่มกว่า ดอกสีเหลือง ผลกลมเป็นพวงคล้ายมะไฟ, กรวยบ้าน ก็เรียก. |
กระไดลิง ๒ | น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด <i> Bauhinia scandens</i> L. var. <i> horsfieldii</i> (Miq.) K. Larson et S.S. Larsen ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นทั่วไป และตามริมแม่นํ้าลำคลอง เถาแบนยาว งอกลับไปกลับมาคล้ายขั้นบันได ดอกเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เปลือกเหนียวใช้แทนเชือก เถาใช้ทำยาได้, กระไดวอก มะลืมดำ บันไดลิง หรือ ลางลิง ก็เรียก. |
กระทิง ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล <i> Mastacembelus</i> วงศ์ Mastacembelidae ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้ายปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่นํ้าลำคลองและที่ลุ่ม ที่พบทั่วไปในประเทศไทย เช่น ชนิด <i> M</i>.<i> armatus</i> (Lacepéde), M. favus Hora, และกระทิงไฟ (<i> M. erythrotaenia</i>Bleeker) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร. |
กระทุง | น. ชื่อนกนํ้าขนาดใหญ่ชนิด <i> Pelecanus</i><i> philip-pensis</i> Gmelin ในวงศ์ Pelecanidae ตัวขนาดห่าน ขนสีขาวหรือสีเทา ปากยาวใหญ่ ระหว่างขากรรไกรล่างมีลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่สำหรับจับปลาทีละมาก ๆ อาศัยอยู่ตามแม่นํ้าลำคลองและชายทะเล. |
กระสา ๓ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด <i> Broussonetia papyrifera</i> (L.) Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามริมแม่นํ้าลำคลอง ใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือกว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบเป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น ๓ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน เปลือกใช้ทำกระดาษได้ เรียก กระดาษสา, พายัพเรียก สา. |
กะวะ ๑ | น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง สำหรับใช้ไสรุนกุ้งรุนเคยตามชายฝั่งแม่นํ้า ลำคลอง หรือทะเล รูปคล้ายสวิง มีถุงตาข่ายอย่างละเอียด. |
ข่อย | น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลางชนิด <i> Streblus asper</i> Lour. ในวงศ์ Moraceae มักขึ้นตามป่าตํ่าและริมแม่นํ้าลำคลอง ใบเล็ก สากคาย ใช้ขัดถูได้ เปลือกใช้ทำกระดาษ เรียกว่า กระดาษข่อย ใบ เปลือก เนื้อไม้ และเมล็ดใช้ทำยาได้. |
เขิน ๒ | ว. ตื้นสูงเป็นเนินขึ้นมา (ใช้แก่พื้นที่ในแม่นํ้า ลำคลอง หนอง บึง เป็นต้น), มักใช้ว่า ตื้นเขิน เช่น แม่นํ้าตื้นเขิน |
คลื่น | (คฺลื่น) น. นํ้าในทะเลหรือแม่นํ้าลำคลองเป็นต้น ซึ่งบางส่วนมีอาการเคลื่อนไหวนูนสูงกว่าระดับโดยปรกติแล้วลดลงและแลเห็นเคลื่อนไปเป็นระยะยาวหรือสั้นบนผิวนํ้า, โดยปริยายใช้แก่สิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลื่นเสียง คลื่นมนุษย์ ผมดัดเป็นคลื่น ถนนเป็นคลื่น. |
ตลิ่ง | (ตะหฺลิ่ง) น. ส่วนของฝั่งริมแม่นํ้าลำคลอง. |
ตะพาน | น. สิ่งที่สร้างหรือทำขึ้นสำหรับข้ามแม่นํ้าลำคลองเป็นต้น, สิ่งที่สร้างหรือทำยื่นลงไปในนํ้าสำหรับขึ้นลง, สะพาน ก็ว่า. |
เต่าหวาย | น. ชื่อเต่านํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด <i> Heosemys grandis</i> (Gray) ในวงศ์ Emydidae หัวสีน้ำตาลมีลายจุดสีส้ม กระดองสีนํ้าตาลแดงอาศัยอยู่บนบกใกล้บึงและแม่นํ้าลำคลอง ผสมพันธุ์ในน้ำ ปัจจุบันพบน้อยในถิ่นธรรมชาติ. |
ท่า ๑ | เรียกนํ้าในแม่นํ้าลำคลอง ว่า นํ้าท่า, คู่กับ นํ้าฝน. |
นายท้าย | น. ผู้ถือท้ายเรือ มีหน้าที่ควบคุมเรือให้แล่นไปตามทิศทาง โดยเฉพาะตามแม่นํ้าลำคลอง. |
น้ำเกิด | น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลำคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับทะเลหรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น มีระดับนํ้าขึ้นสูงมากและลงตํ่ามากเนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่ในวงโคจรเกือบเป็นแนวเดียวกันกับโลก นํ้าเกิดจะมี ๒ ช่วง คือ ช่วงวันเดือนเพ็ญ ตั้งแต่วันขึ้น ๑๓ คํ่า ถึงวันแรม ๒ คํ่า และช่วงวันเดือนดับ ตั้งแต่วันแรม ๑๓ คํ่า ถึงวันขึ้น ๒ คํ่า. |
น้ำขึ้น | น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลำคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับทะเลหรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้นที่มีระดับนํ้าสูงขึ้น ในวันหนึ่ง ๆ ตามปรกตินํ้าจะขึ้น ๒ ครั้ง และนํ้าขึ้นครั้งแรกจะมีระดับสูงกว่าขึ้นครั้งที่ ๒. |
น้ำทรง | น. นํ้าในแม่น้ำลำคลองที่หยุดขึ้นหรือหยุดลงช่วงเวลาหนึ่ง ขณะที่นํ้ากำลังจะเปลี่ยนระดับจากนํ้าขึ้นเต็มที่มาเป็นนํ้าลง หรือจากน้ำลงเต็มที่มาเป็นน้ำขึ้น. |
น้ำท่า | น. นํ้าในแม่นํ้าลำคลอง. |
น้ำลง | น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลำคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับทะเลหรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้นที่มีระดับนํ้าตํ่าลง ในวันหนึ่ง ๆ ตามปรกตินํ้าจะลง ๒ ครั้ง และนํ้าลงครั้งแรกจะมีระดับตํ่ากว่าลงครั้งที่ ๒. |
น้ำเงิน ๓ | น. ชื่อปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดพวกปลาเนื้ออ่อน ชนิด <i>Phalacronotus apogon</i> (Bleeker) หรือ <i>Micronema apogon</i> (Bleeker) ในวงศ์ Siluridae ปากเชิดขึ้น หนวดที่ขากรรไกรบนยาวไม่ถึงขอบแผ่นปิดเหงือกคล้ายปลาแดง แต่ไม่มีหนวดที่ขากรรไกรล่าง หรือมีเป็นเพียงตุ่มขนาดเล็กมาก และมีกลุ่มฟันที่กระดูกฐานจมูกเรียงเป็นแถบรูปโค้ง ลำตัวมีสีเงินคล้ายตะกั่ว ไม่มีครีบหลัง ครีบก้นมักมีขอบสีดำคล้ำ อาศัยอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ที่มีความเป็นธรรมชาติ กินสัตว์อื่น ขนาดยาวได้ถึง ๗๗ เซนติเมตร, เนื้ออ่อน นาง หรือ ชะโอน ก็เรียก. |
บก | น. ส่วนของผิวพื้นโลกที่ไม่ใช่ทะเลหรือแม่นํ้าลำคลองเป็นต้น, ภาคพื้นดิน เช่น ทหารบก ทางบก, ที่ที่แห้ง, ที่ที่พ้นจากนํ้า, เช่น ขึ้นบก บนบก. |
บ้า ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด <i>Leptobarbus hoeveni</i> (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวค่อนข้างยาวหนาเกือบเป็นรูปทรงกระบอก หัวกว้าง มีหนวด ๒ คู่ ท้องกลมมน ด้านหลังและข้างตัวสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีขาวแต้มเหลือง ครีบท้อง ครีบก้น และครีบหลังสีแดงอ่อน ในปลาขนาดเล็กมีแถบสีดำคลํ้าพาดตลอดข้างตัว พบอาศัยตามแม่นํ้าลำคลองและบึงใหญ่ทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร ในธรรมชาติกินผลไม้รวมทั้งผลกระเบา เมื่อมีผู้นำไปบริโภคทำให้เกิดอาการมึนเมา, อ้ายบ้า หรือ พวง ก็เรียก. |
บาง ๑ | น. ทางนํ้าเล็ก ๆ, ทางนํ้าเล็กที่ไหลขึ้นลงตามระดับนํ้าในแม่นํ้า ลำคลอง หรือทะเล |
เบ็ดราว | น. เบ็ดที่ผูกไว้กับเชือกหรือแท่งไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก แล้วนำไปผูกห้อยไว้กับเชือกราว โดยเว้นระยะห่างกันเป็นตอน ๆ เพื่อนำไปหย่อนลงในแม่น้ำลำคลอง. |
ปลาแดง | น. ชื่อปลานํ้าจืดไม่มีเกล็ด พวกปลาเนื้ออ่อน ชนิด <i> Phalacronotus bleekeri</i> (Günther)หรือ <i> Micronema bleekeri</i> (Günther) ปากเชิดขึ้น มีหนวด ๒ คู่ หนวดที่ขากรรไกรบนยาวไม่ถึงขอบแผ่นปิดเหงือก หนวดที่ขากรรไกรล่างสั้นมากคล้ายปลาน้ำเงิน แต่มีกลุ่มฟันที่กระดูกฐานจมูกเรียงเป็นแถบมีมุมแหลมคล้ายหัวลูกศร ลำตัวมีสีเงินอมแดงหรือชมพู ไม่มีครีบหลัง ครีบก้นใสไม่มีสี อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำคลองหรือแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ที่มีความเป็นธรรมชาติ กินสัตว์อื่น, เนื้ออ่อน นาง ชะโอน หรือ เกด ก็เรียก. |
ผีหลอก ๑ | น. เรือแจวจับสัตว์นํ้าในลำคลองและลำนํ้าชนิดหนึ่ง จับได้ทั้งปลาและกุ้ง กราบเรือด้านหนึ่งติดแผ่นกระดานทาสีขาว ปล่อยริมข้างหนึ่งให้ลงนํ้า กราบอีกด้านหนึ่งมีตาข่ายกันมิให้ปลาและกุ้งกระโดดข้าม ใช้จับเวลากลางคืน ปลาตกใจจะกระโดดเข้ามาหาเรือเอง. |
ฝั่ง | น. ที่ดินริมนํ้าเป็นขอบเขตทะเล แม่นํ้า ลำคลอง เป็นต้น. |
มอง ๒ | น. เครื่องจับปลาชนิดหนึ่งจำพวกอวน แต่เล็กสั้น และตาถี่กว่าอวน ใช้ในแม่น้ำลำคลอง. |
ริ้น | น. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Ceratopogonidae ขนาดเล็กเท่าแมลงหวี่ มีปีกคู่เดียว มักพบบินอยู่ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง หรือชายทะเล ดูดกินเลือดคนและสัตว์ ทำให้เกิดอาการระคายเคือง ที่พบมากอยู่ในสกุล <i>Culicoides</i> และ <i>Leptoconops</i> ถ้าพบมากตามเขตติดต่อกับทะเล เรียก ริ้นน้ำเค็ม. |
เร่ | ว. ที่ไม่อยู่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น พ่อค้าเร่, เรียกละครที่มิได้อยู่แสดงประจำที่ ว่า ละครเร่, เรียกเรือที่ตระเวนขายของต่าง ๆ ไปตามแม่น้ำลำคลอง ว่า เรือเร่, เรียกพ่อค้าแม่ค้าที่หาบของขายไปเรื่อย ๆ ไม่อยู่ประจำที่ ว่า พ่อค้าหาบเร่ แม่ค้าหาบเร่, เรียกสั้น ๆ ว่า หาบเร่. |
เรือผีหลอก | น. เรือแจวชนิดหนึ่ง สำหรับจับสัตว์น้ำในลำคลองและลำน้ำในเวลากลางคืน กราบเรือทางขวาติดแผ่นกระดานทาสีขาวปล่อยริมข้างหนึ่งให้ลงน้ำ กราบซ้ายมีตาข่ายกันมิให้ปลาและกุ้งกระโดดข้าม ปลาตกใจจะกระโดดเข้ามาหาเรือเอง. |
เรือไฟ | น. เรือโดยสารที่ใช้ฟืนเป็นต้นเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน มีขนาดเล็กกว่าเรือกลไฟ นิยมใช้แล่นในแม่น้ำลำคลอง. |
เรือส่ง | น. เรือบรรทุกสินค้านานาชนิดขึ้นล่องส่งสินค้าขายเรื่อยไปตามแม่น้ำลำคลอง. |
วางเบ็ด, วางเบ็ดราว | ก. นำเบ็ดราวที่เกี่ยวเหยื่อแล้วไปหย่อนลงในแม่น้ำลำคลอง. |
สงกรานต์ ๒ | (-กฺราน) น. สัตว์พวกหนอนทะเล มีหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Phyllodocidae ชั้น Polychaeta ลำตัวยาวเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์ ๑ คู่อยู่ข้างลำตัว อาศัยอยู่ในทะเล ช่วงประมาณกลางเดือนเมษายนใกล้วันสงกรานต์จะพบอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือแม่น้ำลำคลองที่ติดต่อกับทะเลเพื่อผสมพันธุ์ จึงเรียกว่า ตัวสงกรานต์. |
สะพาน | น. สิ่งที่สร้างหรือทำขึ้นสำหรับข้ามแม่นํ้าลำคลอง เป็นต้น, สิ่งที่สร้างหรือทำยื่นลงในนํ้าสำหรับขึ้นลง, ตะพาน ก็ว่า, ไม้ที่ทอดระหว่างหัวเสาสำหรับรับคอสองของอาคารที่เป็นตึกโบราณ, โดยปริยายหมายความว่า สื่อเชื่อมโยง เช่น ตีสนิทกับน้องชายเพื่อเป็นสะพานไปรู้จักกับพี่สาว. |
สะพานเชือก | น. สะพานชั่วคราวที่ทำด้วยเชือกสำหรับข้ามแม่นํ้าลำคลอง. |
สะพานทุ่น | น. สะพานชั่วคราวที่ใช้ทุ่นรองไม้กระดานเป็นต้นสำหรับข้ามแม่นํ้าลำคลอง. |
สาธารณสมบัติ | น. ทรัพย์สินของรัฐมีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของประชาชน เช่น ถนนสาธารณะ แม่นํ้า ลำคลอง. |
โสทก | ลำคลอง, ทางนํ้า. |
เอ่อ | ว. เริ่มไหลขึ้น, มีระดับสูงขึ้น, (ใช้แก่นํ้าในแม่นํ้าลำคลองเป็นต้น). |