กระเด็น | ก. เคลื่อนจากที่เดิมหรือแตกแยกจากที่เดิมออกไปโดยเร็วเพราะกระทบสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแรง. |
ตัดประเด็น | ก. ตัดข้อความสำคัญบางเรื่องที่หยิบยกขึ้นพิจารณาออก เช่น คดีนี้ตำรวจตัดประเด็นชู้สาวออก. |
ประเด็น | น. ข้อความสำคัญของเรื่องที่แยกหยิบยกขึ้นพิจารณา |
ประเด็น | ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอันเป็นสาระสำคัญที่มีการยกขึ้นเป็นข้ออ้างในคดี. |
ระเด่น | น. โอรสหรือธิดาของกษัตริย์เมืองใหญ่. |
เลือดตากระเด็น | ว. ลำบากหรือยากแค้นอย่างแสนสาหัส เช่น กว่าจะหาเงินมาซื้อบ้านได้แทบเลือดตากระเด็นทีเดียว. |
หัวกระเด็น | น. สิ่งของที่โตและเด่นกว่าเพื่อนในหมู่หนึ่งหรือกองหนึ่ง, โดยมากมักใช้แก่ผลไม้บางชนิด เช่น ผลมะม่วง ผลมะปราง, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความสามารถดีเด่นเป็นพิเศษ เช่น นักเรียนห้องนี้ล้วนแต่หัวกระเด็นทั้งนั้น. |
กระเซ็น | ก. อาการที่ของเหลวเช่นนํ้าเป็นต้นกระเด็นเป็นฝอย. |
กระทงแถลง | น. ส่วนสำคัญในสำนวนความที่เป็นประเด็นและที่เกี่ยวกับประเด็นอันพึงเสนอวินิจฉัย. |
กระท้อน ๒ | ก. กระเด็นกลับ, กระดอนขึ้น. |
ข้อ | สิ่ง, ประเด็น, เช่น ข้อตกลง ข้อสำคัญ ข้อกล่าวหา |
ข้อกฎหมาย | น. เรื่องหรือประเด็นที่เกี่ยวกับกฎหมาย เช่น ความหมายของบทบัญญัติของกฎหมาย ผลบังคับของกฎหมาย หรือการปรับใช้ข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วเข้ากับบทบัญญัติของกฎหมาย. |
ข้อคิด | น. ประเด็นที่เสนอให้คิด, ประเด็นที่ชวนคิด. |
ข้อเท็จจริง | เรื่องหรือประเด็นที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ พฤติกรรม หรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดขึ้น ที่มีอยู่ หรือที่เป็นไป. |
เข็มขัดนิรภัย | น. เข็มขัดที่ติดอยู่ที่นั่งในรถยนต์หรือเครื่องบินเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้โดยสารถูกเหวี่ยงกระเด็นจากที่นั่งเมื่อมีอุบัติเหตุ. |
เข้าเรื่อง | ว. ตรงประเด็นของเรื่อง |
คำคู่ความ | น. บรรดาคำฟ้อง คำให้การหรือคำร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ. |
คำพิพากษา | น. คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลในประเด็นแห่งคดีที่ฟ้องต่อศาล. |
จุด | ประเด็นสำคัญของเรื่องที่พูดหรือถกเถียงกันเป็นต้น เช่น พูดไม่ถูกจุด ตอบไม่ตรงจุด. |
ชี้สองสถาน | ก. กระบวนการที่ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดี และระบุให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลัง. |
ดอกไม้พวง | น. ชื่อเพลงยาวกลอักษร ตัวอย่างว่า นิจาเอ๋ยกะไรเลยไม่เคยเห็น นิจาเอ๋ยกะไรน่านํ้าตากระเด็น นิจาเอ๋ยกะไรเปนได้เช่นนี้ (กลบท). |
ตะเครียว, ตะเคียว ๑ | (-เคฺรียว) น. ถุงที่ทำด้วยผ้าหรือถักด้วยด้ายหรือไหมเป็นตาถี่ ๆ มีหูรูดใช้ใส่อาหารแห้งเป็นต้นเวลาเดินทาง เช่น สองเต้าห้อยตุงดังถุงตะเคียว โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม (ระเด่นลันได), ถุงที่ถักด้วยด้ายหรือไหมเป็นต้น เป็นตาถี่ มีหูรูด สำหรับหุ้มถลกบาตรหรือบาตร, เรียกว่า ถุงตะเครียว หรือ ถุงตะเคียว. |
ตะล่อม ๑ | ว. ลักษณะการพูดหว่านล้อมหรือรวบรัดให้เข้าสู่จุดหมายหรือเข้าประเด็น เช่น พูดตะล่อม. |
ตุ้งก่า | น. หม้อสูบกัญชาของโบราณ เลียนแบบหม้อสูบยาของชาวอาหรับ เช่น แล้วเชิญหม้อตุ้งก่าออกมาตั้ง นางนั่งเป่าชุดจุดถวาย ทรงศักดิ์ชักพลางทางยิ้มพราย โฉมฉายควั่นอ้อยคอยแก้คอ (ระเด่นลันได), สองแขกขยับตุ้งก่า จ้าหลิ่มยัดกัญชาไฟจุดเข้า (ขุนช้างขุนแผน). |
ถาม | ก. ตั้งปัญหาหรือประเด็นเพื่อให้ได้คำตอบ. |
ถูกน้อย | ก. อาการที่ผู้ขี่ใช้ขากระตุ้นม้าเบา ๆ เพื่อให้ม้าซอยเท้าพร้อมจะเคลื่อนไป เช่น ครั้นใกล้รถระเด่นบุษบา ก็ชักม้าถูกน้อยคอยที (อิเหนา). |
แถลงปิดคดี | ก. การที่โจทย์และจำเลยแถลงด้วยปากหรือหนังสือ หรือทั้ง ๒ อย่างเมื่อสืบพยานจำเลยเสร็จแล้ว เพื่อสรุปประเด็นข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายต่อศาลก่อนมีคำพิพากษา. |
ธง | ข้อความที่อธิบายนำไว้เป็นตัวอย่าง, ประเด็นหลัก. |
บังโกลน, บังโคลน | (-โกฺลน, -โคฺลน) น. เครื่องบังเหนือล้อรถ ป้องกันโคลนมิให้กระเด็นขึ้นมาเปื้อนรถ. |
ประกาย | น. แสงที่เห็นกระเด็นกระจายออกจากวัตถุที่ลุกเป็นไฟ เช่น ประกายลูกไฟ, แสงที่เห็นกระเด็นกระจายออกจากของแข็งบางอย่างที่กระทบกันอย่างแรง เช่น ดาบกระทบกันเป็นประกาย ตีเหล็กไฟเป็นประกาย, ความแวววาวที่เหลี่ยมเพชรเป็นต้นกระทบแสง, แสงแปลบปลาบอย่างแสงฟ้าแลบ, โดยปริยายหมายถึง แสงที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตาเป็นประกาย, แสงสะท้อนจากสิ่งที่เป็นมันเป็นเงา เช่น ประกายแสงจากกระเบื้องหลังคาโบสถ์. |
เปะปะ | ว. ไม่ตรงเป้า เช่น ชกเปะปะ, ไม่ตรงประเด็น เช่น พูดเปะปะ ให้การเปะปะ, ไม่ตรงทาง เช่น เมาเหล้าเดินเปะปะ, ไม่เป็นระเบียบ เช่น นอนมือเท้าเปะปะ, บางทีใช้ว่า สะเปะสะปะ. |
พยานแวดล้อมกรณี | น. พยานหลักฐานทางอ้อมที่อนุมานมาจากพฤติการณ์ต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นโดยตรง. |
ย่อยข่าว | ก. หยิบยกเฉพาะประเด็นสำคัญของข่าวมากล่าว. |
แยกแยะ | ก. กระจายออกให้เห็นชัดเจน เช่น แยกแยะปัญหาให้เห็นเป็นประเด็น ๆ ไป. |
ลูกไฟ | น. ส่วนที่แยกออกจากวัตถุกำลังลุกเป็นไฟแล้วกระเด็นหรือกระจายออกไปเป็นดวงไฟน้อย ๆ จำนวนมากบ้างน้อยบ้าง เช่น ลูกไฟพะเนียง ลูกไฟจากปล่องเรือโยง ลูกไฟจากเตาถ่าน. |
สรุป, สรูป | (สะหฺรุบ, สะหฺรูบ) ก. ย่อเอาเฉพาะใจความสำคัญของเรื่องเป็นประเด็น ๆ ไป เช่น สรุปข่าว สรุปสถานการณ์, โบราณใช้ว่า สรวป ก็มี. |
สรุป, สรูป | (สะหฺรุบ, สะหฺรูบ) น. ประเด็นย่อ ๆ ของเรื่อง เช่น กล่าวโดยสรุป. |
สะเปะสะปะ | ว. ไม่ตรงเป้า เช่น ชกต่อยสะเปะสะปะ, ไม่ตรงทาง เช่น คนเมาเดินสะเปะสะปะ, ไม่เป็นระเบียบ เช่น นอนแขนขาก่ายกันสะเปะสะปะ, อาการที่พูดเลอะเทอะเรื่อยเจื้อยไม่มีประเด็น เช่น พูดสะเปะสะปะ. |
หวือ | ว. มีเสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงสะเก็ดไม้กระเด็นอย่างแรง. |