บรรดาศักดิ์ | (บันดา-) น. ฐานันดรศักดิ์ที่พระราชทานแก่ข้าราชการหรือบุคคลทั่วไป แบ่งออกเป็น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน และทนาย โดยมีราชทินนามต่อท้าย เช่น เจ้าพระยายมราช พระยาพลเทพ. |
กรม ๓ | (กฺรม) น. หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในราชการและเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็นเจ้ากรม ปลัดกรม ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้เจ้านายปกครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่าตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรมขึ้นต่างหากออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีอำนาจตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามบรรดาศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมหลวงกรมพระ และกรมพระยา หรือ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. |
ขันสาคร | น. ขันขนาดใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สัมฤทธิ์ ทองเหลือง ตัวขันเป็นทรงลูกมะนาวตัด ก้นขันมีเชิง ข้างขันทำเป็นรูปหน้าสิงโตปากคาบห่วงซึ่งใช้เป็นหูหิ้วข้างละหู ใช้บรรจุน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ หรือสำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์ใช้อาบ. |
ขุน ๑ | น. ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า, บรรดาศักดิ์ข้าราชการรองจากหลวงลงมา เช่น ขุนวิจิตรมาตรา |
ขุนหลวง | น. คำเรียกพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ขุนหลวงพะงั่ว ขุนหลวงหาวัด ขุนหลวงตาก ภายหลังใช้เป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางด้วย เช่น ขุนหลวงพระไกรศรี. |
คำนำหน้าชื่อ | น. คำที่ใช้นำหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงสถานภาพ ตำแหน่งทางวิชาการ ยศ บรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์, คำนำหน้านาม ก็เรียก. |
คำนำหน้านาม | น. คำที่ใช้นำหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงสถานภาพ ตำแหน่งทางวิชาการ ยศ บรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์, คำนำหน้าชื่อ ก็เรียก. |
จ่า ๑ | ยศทหารและตำรวจชั้นประทวน เช่น จ่าตรี จ่าสิบตำรวจ, บรรดาศักดิ์ในราชสำนัก เช่น จ่าแผลงฤทธิรอนราญ จ่าเร่งงานรัดรุด, ตำแหน่งหัวหน้าธุรการบางอย่าง เช่น จ่าศาล |
เจ้าคุณ | น. บรรดาศักดิ์ฝ่ายในที่ทรงแต่งตั้ง |
เจ้าคุณ | คำเรียกผู้มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่ชั้นพระยาขึ้นไป |
เจ้าพระยา ๑ | น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการผู้ใหญ่ สูงกว่าพระยา ต่ำกว่าสมเด็จเจ้าพระยา เช่น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี. |
ชนะ ๒ | น. ชื่อกลองสองหน้า ลักษณะคล้ายกลองแขกหรือกลองมลายู ตีด้วยไม้ปลายงอ เป็นเครื่องประโคมของหลวง มีกลองชนะทอง เงิน เขียว หรือแดง ใช้ตีตามลำดับอิสริยยศและบรรดาศักดิ์. |
ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง | เครื่องสักการะที่เจ้านายหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่เจ้าพระยาขึ้นไปถวายแด่พระเจ้าแผ่นดิน เมื่อได้รับสถาปนาให้ทรงกรมหรือเลื่อนกรมให้สูงขึ้น หรือเมื่อได้รับพระราชทานตั้งยศ. |
ถอดหัวโขน | ก. พ้นจากตำแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์. |
ท่าน | น. คำที่ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์หรือตำแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์ ท่านเจ้าอาวาส. |
ท้าวนาง | น. หญิงซึ่งรับบรรดาศักดิ์และมีหน้าที่รับราชการฝ่ายในในพระบรมมหาราชวัง |
ทิพพยาน | (ทิบพะยาน) น. กลพยานประเภทหนึ่ง เป็นพยานที่เชื่อถือได้ เช่น ภิกษุผู้ทรงธรรม พราหมณาจารย์ผู้ทรงศีลพรต นักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้ทรงธรรม ขุนนางผู้มีบรรดาศักดิ์, ในสามดวงเขียนเป็น ทิพญาณ หรือ ทิพพญาณ, ทิพยพยาน ก็ว่า. |
ทิพยพยาน | น. กลพยานประเภทหนึ่ง เป็นพยานที่เชื่อถือได้ เช่น ภิกษุผู้ทรงธรรม พราหมณาจารย์ผู้ทรงศีลพรต นักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้ทรงธรรม ขุนนางผู้มีบรรดาศักดิ์, ทิพพยาน ก็ว่า. |
นาง ๑ | คำนำหน้าชื่อภรรยาที่เรียกตามราชทินนามของสามีที่มีบรรดาศักดิ์ตํ่ากว่าพระยาลงมา เช่น นางมหาเทพกษัตรสมุห (บรรเลง สาคริก) |
นาย | เมื่อใช้เป็นคำนำราชทินนาม เป็นบรรดาศักดิ์ของข้าราชการในราชสำนักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา |
พระ | บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้านามพระสนม เช่น พระอินทราณี พระสุจริตสุดา ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระครู | บรรดาศักดิ์พราหมณ์ เช่น พระครูวามเทพมุนี. |
พระเดชพระคุณ | ส. คำเรียกผู้มียศบรรดาศักดิ์หรือพระภิกษุสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์สูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
พระยา | น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการผู้ใหญ่สูงกว่าพระ ตํ่ากว่าเจ้าพระยา เช่น พระยาอนุมานราชธน. |
พระยาโต๊ะทอง | น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา และได้รับพระราชทานโต๊ะทอง (พานก้นตื้น) เป็นเครื่องสำหรับยศ, ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่งที่ได้รับโต๊ะทอง. |
พระยาพานทอง | น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา และได้รับพระราชทานพานทองเป็นเครื่องสำหรับยศ, ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าขึ้นไป มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่งที่ได้รับพานทอง. |
พัน ๑ | น. ตำแหน่งหัวหน้าทหารสมัยโบราณสูงกว่าหัวปาก, บรรดาศักดิ์ชั้นประทวนตํ่ากว่าหมื่น, ชื่อตำแหน่งหัวหน้านายเวรในกระทรวงมหาดไทยและกลาโหม, ยศทหารชั้นสัญญาบัตรรองจากนายพล. |
รัตนวราภรณ์ | น.ชื่อตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่จะพระราชทานได้ทั่วไปทุกชั้นบุคคลตามพระราชประสงค์ ไม่เกี่ยวด้วยยศหรือบรรดาศักดิ์. |
ราชทินนาม | (ราดชะทินนะนาม) น. ชื่อพระราชทานที่ตั้งกำกับยศหรือบรรดาศักดิ์แก่ขุนนาง เช่น เจ้าพระยายมราช เจ้าพระยาเป็นยศ ยมราชเป็นราชทินนาม หรือกำกับสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์ เช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สมเด็จเป็นสมณศักดิ์ พระพุทธโฆษาจารย์เป็นราชทินนาม. |
เลื่อนที่ | ก. เปลี่ยนที่, ได้ยศหรือบรรดาศักดิ์สูงไปกว่าเก่า. |
วงเล็บ | ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ลายมือชื่อ เช่น
ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็นหัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรมสามค่ำเป็นสำคัญ (๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 - b2 = (a + b)(a – b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า. |
สมเด็จ | น. ยศหรือบรรดาศักดิ์อย่างสูงของเจ้านาย ขุนนาง และพระสงฆ์ ใช้นำหน้าชื่อฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดหรือได้รับแต่งตั้ง เช่น สมเด็จพระราชินี สมเด็จเจ้าฟ้า สมเด็จเจ้าพระยา สมเด็จพระราชาคณะ. |
สมบัติบ้า | น. ทรัพย์สินหรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่เพ้อฝันว่าจะได้ เช่น คิดสมบัติบ้า |
สวมหัวโขน | ก. เอาหัวโขนสวมศีรษะ, โดยปริยายหมายความว่า ดำรงตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แล้วมักลืมตัวชอบแสดงอำนาจ. |
สัญญาบัตร | น. ใบตั้งยศ บรรดาศักดิ์ หรือสมณศักดิ์ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้ง เช่น นายทหารสัญญาบัตร พระราชาคณะสัญญาบัตร พระครูสัญญาบัตร, ถ้าเป็นใบที่เจ้ากระทรวงตั้ง เรียกว่า ใบประทวน. |
สาคร ๒ | (-คอน) น. ชื่อขันขนาดใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สัมฤทธิ์ ทองเหลือง ตัวขันเป็นทรงลูกมะนาวตัด ก้นขันมีเชิง ข้างขันทำเป็นรูปหน้าสิงโตปากคาบห่วงซึ่งใช้เป็นหูหิ้วข้างละหู ใช้บรรจุน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ หรือสำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์ใช้อาบ เรียกว่า ขันสาคร. |
หม่อม | เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า ที่ต้องโทษถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์, คำนำหน้านามสตรีสามัญที่ไม่มีบรรดาศักดิ์ซึ่งเป็นภรรยาของบุคคลในตระกูลบุนนาคที่ได้รับยกย่องเป็นพิเศษ เช่น หม่อมปาน หม่อมรอด, คำนำหน้านามบุคคลที่เป็นบุตรขุนนางผู้ใหญ่ เช่น หม่อมบุนนาค สมัยกรุงธนบุรี. |
หม่อมราชนิกุล, หม่อมราชนิกูล | น. อิสริยยศที่พระราชทานแก่หม่อมราชวงศ์ชายที่รับราชการมีความชอบ อยู่ระหว่างหม่อมเจ้ากับหม่อมราชวงศ์ เช่น หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ถ้าเทียบกับบรรดาศักดิ์ฝ่ายขุนนาง อยู่ระหว่างพระยากับพระ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาใช้ว่า เจ้าราชนิกุล ซึ่งรวมทั้งหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ ที่สืบสายราชสกุลห่างไกลมาหลายชั้น ตลอดจนพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้าที่ห่างออกไป เจ้าราชนิกุลนี้ครั้งต้นพระบรมราชจักรีวงศ์ มีคำเรียกว่าคุณว่าหม่อม ต่อมารัชกาลที่ ๔ โปรดให้เปลี่ยนใช้คำว่า หม่อม แทนคำว่า เจ้า, หม่อมราชินิกูล ก็เรียก. |
หมื่น ๒ | น. ชื่อบรรดาศักดิ์ในราชการ เหนือพันขึ้นไป. |
หลวง ๑ | น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการ สูงกว่าขุน ต่ำกว่าพระ เช่น หลวงวิจิตรวาทการ |
หัวโขน ๑ | น. รูปหัวยักษ์ ลิง ที่ใช้สวมเวลาเล่นโขนหรือละคร, โดยปริยายหมายถึงตำแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่ดำรงอยู่ มักใช้ในสำนวน เช่น สวมหัวโขน ถอดหัวโขน. |
อสัญกรรม | น. ความตาย, ใช้แก่ผู้ตายที่มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา หรือผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี องคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานสภา หรือผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าว่า ถึงแก่อสัญกรรม. |
ออก ๑ | น. คำนำหน้าบรรดาศักดิ์ เช่น ออกพระ ออกหลวง ออกขุน |
ออกญา | น. บรรดาศักดิ์ชั้นสูงที่พระราชทานในสมัยอยุธยา สูงกว่าออกพระ เข้าใจว่ามาจากเขมร. |