ดุจ | (ดุด, ดุดจะ) ว. เหมือน, คล้าย, เช่น, เพียงดัง, ราวกะ, บางทีในกลอนใช้ว่า ดวจ ก็มี. |
ดุจดัง, ดุจหนึ่ง | (ดุด-) ว. เหมือน, คล้าย, เช่น, เพียงดัง, ราวกะ. |
ประดุจ | ว. เช่น, คล้าย, เหมือน, ดัง. |
เปรียบประดุจดัง, เปรียบเหมือน, เปรียบเสมือน | ก. ประดุจดัง, เหมือน, เสมือน, ราวกะ, เพียงดัง. |
กช, กช- | (กด, กดชะ-) น. ดอกบัว เช่น ดุจบัวอันบานชู กชกรรณิกามาศ (สมุทรโฆษ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคำ กร เป็น กรกช เช่น กรกชชุลีคัล (อิเหนาคำฉันท์). |
กมเลศ | พระนารายณ์ เช่น ดุจองค์สมเด็จกมเลศอันลีลาศ ลงจากชั้นสุทธาวาสบวรวิมาน (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์). |
กรรณิกา | (กัน-) น. ดอกไม้ เช่น ดุจบัวอันบานชู กชกรรณิกามาศ (สมุทรโฆษ). |
กระกลับกลอก | ก. กลับกลอก เช่น มีตาดุจแก้วแสงสาย กระกลับกลอกพราย ชื่อรัตนจักษุมงคล (ตำราช้างคำฉันท์). |
กลไก | (กน-) น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่าบุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การที่บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร, ระบบที่จะให้งานสำเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง |
กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ | ว. กว่าจะได้ผลดังประสงค์ ก็ต้องเสียอย่างใดอย่างหนึ่งไป ดุจเอาถั่วกับงามาคั่วพร้อมกัน กว่าจะคั่วจนถั่วสุก งาก็จะไหม้หมดไปก่อน. |
กั้ง ๒ | ก. กั้น เช่น นา ๑๖๐๐ กินเมืองเจียดเบื้ออหักรองตลุ่มกั้งกแอทาชาต (สามดวง), ดุจจันทราทิตยมณฑล เกือบกั้งเบื้องบน บุรีระเรื่อยฉายา (อนิรุทธ์). |
กัมปี | ก. ไหว เช่น อันว่ามหาปรัตพีผืนผไทแท่น แผ่นผเทศมณฑล สกลกัมปี ดุจครวีไหวหว่นนป่นนไปมาเมื่อน้นน (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กำเลา | ว. โง่, อ่อน, ไม่รู้เท่าทัน, ไม่มีไหวพริบ, เช่น ดุจตักแตนเต้นเห็นไฟ บมิใฝ่หนีไกล กำเลากำเลาะหวังเขญ (อนิรุทธ์). |
กินริน, กินรี | (กินนะริน, กินนะรี) น. กินนรเพศหญิง เช่น ดุจกินรินแน่ง พักตราแพ่งมานุษย์ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), กินรีแอ่นกินรากร (ม. คำหลวง วนปเวสน์). |
เกาะกิน | ก. อาศัยกินอยู่กับคนอื่นโดยเอาแต่ประโยชน์ฝ่ายเดียว ไม่ช่วยทำงานหรือช่วยเหลือจุนเจือผู้นั้น, ทำตัวดุจกาฝาก. |
เครือดิน | น. ไม้เถาตามที่กล่าวไว้ในไตรภูมิวินิจฉัยว่ามีสัณฐานประดุจดังผักบุ้งและแพงพวย. |
แครง ๔ | (แคฺรง) ว. งามพรายแพรว, หมดจด, ผ่องใส, เช่น ธก็ทรงพสตรพาสแครง ดุจแสงสังข์ใสสุทธ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), อนนธกทำด้วยไหมประไพแครงเครื่องฟ้า (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), พายคํ่าจำรัสแครง ใสส่อง (ทวาทศมาส). |
จ่ามงกุฎ | น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง คล้ายกะละแมขาว มีไส้เป็นถั่วลิสงเม็ด ห่อด้วยใบตองอ่อนนาบ เช่น งามจริงจ่ามงกุฎ ใส่ชื่อดุจมงกุฎทอง (เห่ชมเครื่องคาวหวาน). |
ฉาทนะ | (ฉาทะนะ) น. เครื่องปิดคลุม, เครื่องกำบัง, หนัง, การซ่อน, การบัง, เช่น ท้าวก็แรงสุกลพัสตรฉาทน อนนขาวตระดาษดุจสังข์ โสดแล (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
ชาดหรคุณ | (ชาดหอระ-) น. ชาดประสมกับปรอทและกำมะถันเพื่อจะให้ชาดจับแน่นกับเนื้อทองดุจกะไหล่และเพื่อจะให้สุก. |
ดาวหาง | น. ชื่อดาวจรชนิดหนึ่งที่ส่วนท้ายมีแสงลักษณะเป็นทางยาวดุจหาง. |
ตระกอง | (ตฺระ-) ก. กอด, เกี่ยวพัน, เช่น ดุจมือไตรโลกยตระกอง เศิกเสี้ยนยากปอง จะป่ายจะปีนเปลืองตน (อนิรุทธ์), กระกอง ก็ว่า. |
ตระสัก | ไพเราะ เช่น จักจั่นแลปักษี ดุจดนตรีตระสักสวรรค (ม. คำหลวง มหาพน). |
ตรีสินธุรส | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาที่มีรสอันชื่นใจ (ประดุจได้ดื่มน้ำ) ๓ อย่าง คือ รากมะตูม เทียนขาว นํ้าตาลกรวด. |
ตละ ๑ | (ตะละ) ว. เช่น, เหมือน, ดุจ, เช่น หน้าตาตละยักษ์มักกะสัน (สังข์ทอง). |
ตะพัด ๑ | ว. อาการที่เคลื่อนไหวเรื่อยไปอย่างรวดเร็วดุจกระแสนํ้าไหล, สะพัด ก็ว่า. |
ตะละ ๑ | ว. ดุจ, เหมือน, เช่น ลำต้นตะละคันฉัตร. |
โตฎก | (-ดก) น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ บทหนึ่งมี ๔ บาท แต่ละบาทมี ๑๒ พยางค์, ประกอบด้วย ส คณะ (ลหุ ลหุ ครุ) ล้วน เช่น รถนั้นนลแท้ นลแน่มนใน นรอื่นบ่มีใคร รถแขงดุจนล (พระนลคำฉันท์). |
ทลบม | (ทนละบม) ก. ประพรม, ลูบไล้, ฉาบทา, เช่น เหตุนางมีองค์อันอุดดม ดุจทลบมด้วยรัตตจันทน์น้นน (ม. คำหลวง ทศพร). |
ทางผ่าน | น. บุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือดุจสะพานเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ. |
นรพยัคฆ์ | (นอระ-) น. คนที่เก่งกล้าดุจเสือ. |
นรสิงห์ | (นอระ-) น. คนที่เก่งกล้าดุจราชสีห์, อวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์ มีหน้าเป็นสิงห์ตัวเป็นมนุษย์. |
นรสีห์ | (นอระ-) น. คนที่เก่งกล้าดุจราชสีห์, สัตว์หิมพานต์พวกหนึ่ง ท่อนบนเป็นมนุษย์ผู้ชาย ท่อนล่างเป็นราชสีห์. |
บราลี | (บะรา-) น. ยอดเล็ก ๆ มีสัณฐานดุจยอดพระเจดีย์ทราย ใช้เสียบเรียงรายไปตามสันหลังคา หรือเสียบบนสันหลังคาบันแถลงบนหลังคาเครื่องยอด. |
บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ | น. แท่นหินมีสีดุจผ้ากัมพลเหลือง เป็นที่สถิตของพระอินทร์. |
โบกขรพรรษ | (-พัด) น. ฝนดุจนํ้าตกลงบนใบบัว, ฝนชนิดนี้ กล่าวไว้ว่า ใครอยากจะให้เปียก ก็เปียก ถ้าไม่อยากให้เปียก ก็ไม่เปียก เหมือนนํ้าตกลงบนใบบัว. |
ประเล่ห์ | ว. ประหนึ่ง, ประดุจ, เช่น, กล. |
ประเหล | (ปฺระเหน) ว. ประหนึ่ง, ประดุจ, มักใช้เลือนเป็น ประเล่ห์. |
ปรำ | (ปฺรำ) ก. ทำอาการดุจกระทุ้ง |
ไปยาล | น. เครื่องหมายละคำ รูปดังนี้ ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย สำหรับละคำที่ประกอบคำหน้า เช่น กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ, รูปดังนี้ ฯลฯ หรือ ฯเปฯ เรียกว่า ไปยาลใหญ่ สำหรับละข้อความข้างท้าย เช่น ในป่ามีช้าง เสือ ลิง ค่าง ฯลฯ อ่านว่า “ละ”, หรือละข้อความในระหว่าง เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมีว่า ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย ชโย อ่านว่า “ละถึง”, เปยยาล ก็เรียก. |
พก ๑ | พัง, ทำลาย, เช่น ดุจพสุธาพังดังพสุธาพก (ม. ร่ายยาว มหาราช) |
เพียงดัง | ว. ดุจดัง, ราวกับ. |
รุหาญ | ว. เปรียบ, ดุจ. |
วัวใครเข้าคอกคนนั้น | น. กรรมที่มีผู้ใดทำไว้ย่อมส่งผลให้แก่ผู้นั้น ดุจวัวที่กลับเข้าคอกของมันเอง. |
แววตา | โดยปริยายหมายความว่า เป็นยอดรักประดุจดวงตา เช่น โอ้พ่อพลายแก้วแววตา มรณาแน่แล้วฤๅอย่างไร (ขุนช้างขุนแผน). |
สะพัด ๑ | ว. อาการที่เคลื่อนไหวเรื่อยไปอย่างรวดเร็วดุจกระแสนํ้าไหล เช่น ข่าวแพร่สะพัด เงินหมุนเวียนสะพัด, ตะพัด ก็ว่า. |
เสียใจ | คลุ้มคลั่ง เช่น กลัวศัตรูฝ่ายหน้า หลังพระเสียใจข้า ดุจดับแก้วสองดวง (ลอ). |
เสียงแก้ว | น. ลักษณะของเสียงที่กังวานและใสดุจแก้ว โดยเฉพาะในการตีระนาดเอก มโหรีจะต้องจับไม้ตีให้หัวแม่มือเน้นที่ปลายก้านไม้ตีให้แน่นและตีทั้งแขนหรือทั้งตัว เสียงจึงจะแข็งเป็นกังวานออกมาเป็นเสียงแก้ว. |
หงสโปดก | (หงสะโปดก) น. ลูกหงส์, เขียนเป็น หงษโปฎก ก็มี เช่น ดุจหงษโปฎก กระเหว่าเหล่านก พลัดแม่สูญหาย (ม. คำหลวง มัทรี). |
หาง | เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสงลักษณะเป็นทางยาวดุจหาง ว่า ดาวหาง |