ชุกชุม | ว. มีดื่นดาษ, มีมากมาย, เช่น แถวนี้ขโมยชุกชุม. |
กดเหลือง | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Hemibagrus nemurus (Valenciennes) ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด หัวแบน หนวดยาวถึงครีบก้น ข้างลำตัวสีเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลดำ มีชุกชุมทั่วไป แม้ในเขตน้ำกร่อยใกล้ปากแม่น้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๖๕ เซนติเมตร, กดขาว หรือ ชงโลง ก็เรียก. |
กระจอก ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็ก วงศ์ย่อย Passerinae ในวงศ์ Passeridae ปากหนารูปกรวย ขนตัวลาย ปลายหางเว้าตื้น มี ๔ ชนิด ชนิดที่มีชุกชุมอาศัยตามชายคาบ้านเรือน คือ กระจอกบ้าน [ Passer montanus (Linn.) ] และกระจอกใหญ่ [ P. domesticus (Linn.) ] อีก ๒ ชนิดอาศัยอยู่ตามป่า คือ กระจอกตาล ( P. flaveolusBlyth) และกระจอกป่าท้องเหลือง[ P. rutilans (Temminck) ]. |
กระทุงเหว | น. ชื่อปลาผิวนํ้าทุกชนิด ในวงศ์ Belonidae และ Hemiramphidae ลำตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือเฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมากน้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล ส่วนใหญ่พบในเขตนํ้ากร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล Hemiramphus, Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongyluraและ Zenarchopterusชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ คือ กระทุงเหวบั้ง [ Ablennes hians (Valenciennes) ] ซึ่งมีชุกชุมที่สุด บางชนิดพบอาศัยอยู่ในนํ้าจืด เช่น กระทุงเหวเมือง [ Xenentodon cancila (Hamilton) ] ขนาดยาวได้ถึง ๑.๒๕ เมตร, เข็ม ก็เรียก. |
กระสุนพระอินทร์ | น. ชื่อกิ้งกือในสกุล Sphaerotherium วงศ์ Sphaerotheriidae ยาวประมาณ ๔ เซนติเมตร หัวแบนเล็ก ลำตัวโค้งนูน มี ๑๓ ปล้อง ผิวลำตัวเรียบมัน ด้านหลังสีน้ำตาล ดำ ครีม หรือเขียว เมื่อถูกกระทบจะม้วนเข้าสอดกับปล้องสุดท้ายจนกลมคล้ายลูกกระสุนดินปั้น พบชุกชุมช่วงต้นฤดูฝนตามพื้นที่สูงที่มีใบไม้ทับถมและชุ่มชื้น, ปักษ์ใต้เรียก มวนชิด. |
เกล็ดถี่ | น ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Thynnichthys thynnoides (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็กมาก พื้นลำตัวสีเงินเป็นประกาย พบทั่วไป แต่มีชุกชุมในเขตภาคกลางของประเทศไทย ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, นางเกล็ด พรม หรือ ลิง ก็เรียก. |
แก้มช้ำ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntius orphoides (Valenciennes) ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่มีลักษณะเด่นที่มีลำตัวยาวกว่า โดยเฉพาะที่แผ่นปิดเหงือกมีสีแดงเรื่อคล้ายรอยชํ้า สุดแผ่นปิดเหงือกดำ โคนครีบหางมีจุดสีดำ พื้นครีบสีแดง ขอบบนและล่างดำ มีชุกชุมทั่วไป ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก ปก. |
ช่อน | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa striatus Bloch ในวงศ์ Channidae ลำตัวทรงกระบอก ส่วนท้ายแบนข้างเล็กน้อย มีเกล็ดในแนวเส้นข้างตัวราว ๕๒-๕๗ เกล็ด ด้านหลังลำตัวเป็นสีค่อนข้างดำ ด้านข้างสีอ่อนกว่าและมีลายสีดำพาดเฉียง ท้องสีขาว ครีบต่าง ๆ มีจุดหรือริ้วสีนํ้าตาลดำ พบชุกชุมทั่วไป อาจยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, พายัพเรียก หลิม, อีสานเรียก ค่อ. |
ชาปีไหน | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Caloenas nicobarica Linn. ในวงศ์ Columbidae ลำตัวสีเขียวเหลือบเทา มีสร้อยคอสีเขียวเห็นได้ชัด ขนหางสีขาว มักเกาะตามกิ่งไม้หนาทึบ หากินตามพื้นดิน กินเมล็ดพืช พบตามหมู่เกาะทางภาคใต้ของประเทศไทย แต่มีชุกชุมทางด้านทะเลอันดามัน, กะดง ก็เรียก. |
ดาบเงิน | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในวงศ์ Trichiuridae ได้แก่ ชนิด Trichiurus lepturus Linn. ซึ่งชุกชุมที่สุด ชนิด Tentoriceps cristatus (Klunzinger), Eupleurogrammus muticus (Gray) และ Lepturacanthus savala (Cuvier & Valenciennes) ทุกชนิดมีลักษณะคล้ายกันมาก คือมีหัวแหลมลาดตํ่าไปข้างหน้า ปลายปากล่างยื่น ฟันคมแข็งแรง ตัวยาวมาก แบนข้าง เรียวแหลมเป็นเส้นไปทางหาง แต่ไม่มีครีบหาง ครีบหลังยาวเกือบตลอดแนวสันหลังยกเว้นใกล้หัว ครีบก้นเป็นเพียงแถวของหนามแข็งขนาดเล็กโผล่จากสันท้อง ไม่มีครีบท้องหรือมีแต่เล็กมาก ไม่มีเกล็ด ผิวหนังสีเงินหรือเทา, ดาบ ก็เรียก. |
ตาพอง ๓ | น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Priacanthus วงศ์ Priacanthidae ลำตัวป้อม แบนข้าง ปากเชิดขึ้น คางยื่น ตาโตคลุมด้วยเยื่อใส เกล็ดเล็กสากมือ ลำตัวและครีบสีแดงสด อาศัยอยู่ใกล้พื้นท้องนํ้าหรือในระดับนํ้าลึก ที่ชุกชุมได้แก่ ชนิด P. tayenus Richardson ขนาดโตได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ตาโต หรือ ตาหวาน ก็เรียก. |
ตุ่ม ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntius bulu (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียน ไม่มีหนวด กระโดงครีบหลังแข็งและหยักเป็นฟันเลื่อย ลำตัวมีลายพาดสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๓๖ เซนติเมตร เคยพบชุกชุมมากในเขตทะเลสาบสงขลาตอนในที่เรียกทะเลน้อย. |
ท้องขาว ๒ | น. ชื่อหนูขนาดกลางชนิด Rattus rattus (Linn.) ในวงศ์ Muridae ตัวสีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลแดง พื้นท้องสีขาว มีเส้นสีนํ้าตาลหรือดำพาดขวางหน้าอก จมูกแหลม ใบหูใหญ่ หางสีดำยาวไล่เลี่ยกับความยาวของส่วนหัวและลำตัว กินเมล็ดพืชและเศษอาหาร มีชุกชุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย. |
เทโพ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด Pangasius larnaudii Bocourt ในวงศ์ Pangasiidae ไม่มีเกล็ด ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย รูปร่างคล้ายปลาสวาย แต่มีจุดสีดำเด่นอยู่บนลำตัวเหนือครีบอก และพื้นลำตัวสีเรียบไม่มีลายพาดตามยาว พบชุกชุมตามแม่นํ้าในเขตภาคกลางและลุ่มแม่นํ้าโขง ขนาดยาวได้ถึง ๑.๓ เมตร. |
มังกง | น. ชื่อปลาชนิด Mystus gulio (Hamilton) ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ หัวแบนลง ปากอยู่ตํ่าที่ตอนปลายของหัว ครีบหลังตอนที่ ๒ ซึ่งเป็นแผ่นเนื้อมีขนาดเล็ก ลำตัวและครีบมีเพียงพื้นสีนํ้าตาลคลํ้าหรือเทาดำ มีชุกชุมทั่วไปตามแหล่งนํ้าจืดใกล้ทะเล บางครั้งจับได้ในนํ้ากร่อย ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, แขยงหนู ก็เรียก. |
เยภุย-, เยภุยยะ | (เยพุยยะ-) ว. มาก, ชุกชุม. |
ลัง ๒ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Rastrelliger kanagurta (Cuvier) ในวงศ์ Scombridae รูปร่างและลักษณะทั่วไปคล้ายปลาทู แต่ขนาดใหญ่และลำตัวเพรียวกว่าเล็กน้อย ปากกว้าง ลำตัวสีน้ำเงินปนเทาและมีแถวจุดบริเวณ ๒ ข้างของครีบหลังเข้มกว่าปลาทู มีลายเส้นสีทึบพาดตามยาวข้างลำตัว ๒-๓ เส้น มีชุกชุมโดยอยู่รวมกันเป็นฝูงในบริเวณห่างฝั่งมากกว่าปลาทู, ทูโม่ง หรือ ทูลัง ก็เรียก. |
ไส้เดือน ๑ | น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มที่มีลำตัวกลมเป็นปล้องหลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ ขนาดแตกต่างกันมีตั้งแต่ ๒๐ เซนติเมตร ถึง ๑ เมตร มีสองเพศในตัวเดียวกัน สืบพันธุ์โดยการจับคู่ ชนิดที่รู้จักกันดี คือ ชนิด Pheretima peguana (Rosa) ในวงศ์ Megascolecidae มักพบชุกชุมตามดินร่วนซุย ตามใต้กองขยะมูลฝอย อยู่ในรูขนาดเท่าลำตัว กินดินที่มีอินทรียวัตถุและถ่ายมูลไว้ที่ปากรู มักใช้เป็นเหยื่อตกปลา, ไส้เดือนดิน หรือ รากดิน ก็เรียก. |
หมู ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดทุกชนิดในสกุล Botia วงศ์ Cobitidae ลำตัวยาวป้อม แบนข้าง คอดหางกว้างมาก มีหนวด ๓ คู่ หนังหนาคลุมเกล็ดมิด บริเวณใต้ตามีเงี่ยงเป็นง่ามกระดูกกางและพับซ่อนตามยาวในร่องเนื้อได้ มีหลายชนิด เช่น ชนิด B. beauforti Smith, B. helodesSauvage, B. modesta Bleeker พบทั่วไปและชุกชุมในฤดูฝน. |
หลอด ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Solenidae เปลือกประกบกันเป็นรูปทรงกระบอก มีช่องเปิดทั้งด้านหน้าและด้านท้าย มีสีเขียว เขียวอมเหลือง น้ำตาลอมเหลือง ฝังตัวอยู่ใต้พื้นที่เป็นโคลน เช่น ชนิด Solen strictus Gould ดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงครามได้ชื่อเพราะมีหอยชนิดนี้ชุกชุม. |