คำหลวง | น. คำประพันธ์ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ มีโคลงฉันท์กาพย์ร่าย คือ มหาชาติคำหลวงและพระนลคำหลวง, คำประพันธ์ที่แต่งมีลักษณะอย่างมหาชาติคำหลวง คือ นันโทปนันท-สูตรคำหลวง และพระมาลัยคำหลวง. |
กณิกนันต์ | (กะนิกนัน) ว. ละเอียดยิ่ง เช่น ลวดหลายลายกณิกนันต์ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
ก่น ๑ | ก. ตั้งหน้า, มุ่ง, เช่น อยู่เย็นยงงก่นเกอดพิจลการ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กบูร | (กะบูน) ว. งาม เช่น ก็ใช้สาวสนมอนนกบูร (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), คำนี้บางทีเขียนเป็น กระบูร กระบวร ขบูร ขบวร. |
กปณ, กปณา | (กะปะนะ, กะปะนา) ว. อนาถา, ไร้ญาติ, น่าสงสาร, (กลอน) เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น แม้มนุษยกปนาจำนง ขอสิ่งประสงค์ประสาททาน (ม. คำหลวง มัทรี). |
กปณก | (กะปะนก) น. ผู้อนาถา, ผู้ไร้ญาติ, ผู้น่าสงสาร, เขียนเป็น กปนก ก็มี เช่น เถ้ากปนกแพนกพล้าว มีแม่ย้าวสาวศร หนึ่งน้นน (ม. คำหลวง ชูชก). |
กมณฑลาภิเษก | (กะมนทะ-) น. หม้อนํ้าสรง เช่น อนนเต็มในกมณฑลาภิเษก (ม. คำหลวง มหาราช). |
กมณฑโลทก | (กะมนทะ-) น. นํ้าในหม้อ เช่น ชำระพระองค์ด้วยกมณฑโลทก (ม. คำหลวง มหาราช). |
กมล | (กะมน) ว. เหมือนบัว เช่น เต้าสุวรรณกมลคนที (ม. คำหลวง หิมพานต์), บางทีใช้ว่า กระมล. |
กมุท | (กะมุด) น. บัว เช่น ส่งดวงกมุทให้กัณหา (ม. คำหลวง มัทรี). |
กรนทา | (กฺรน-) น. ไม้คนทา (ลิปิ) เช่น กรนทาดาษดวงพรายก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
กรนนเช้า | (กฺรัน-) น. กระเช้า เช่น คร้นนเช้าก็หิ้วกรนนเช้า ชายป่าเต้าไปหาชาย (ม. คำหลวง มัทรี). |
กรพินธุ์ | (กอระ-) น. ทับทิม เช่น จงแต่งเขนแต่งขันธ์ ผ้าเกราะพรรณรายแพร้ว ดยรดาษแก้วกรพินธุ์ (ม. คำหลวง มหาราช). |
กรรกง | (กัน-) น. ที่ล้อมวง เช่น จำเนียรกรรกงรอบนั้น (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), ใช้เป็น กงกรร ก็มี เช่น แลสับสังกัดกงกรร (สมุทรโฆษ). |
กรรกศ | (กันกด) ว. หยาบช้า, เขียนเป็น กรรกษ ก็มี เช่น อันว่าพระญาติท่ววไท้ บมิหวังไหว้พระตถาคต ใจแลไปกรรกษ บารนีฯ (ม. คำหลวง ทศพร). |
กรรซ้นน | (กันซั้น) ก. ทัน, กระชั้น, เช่น พราหมณ์จะมากรรซ้นน (ม. คำหลวง กุมาร). |
กรรณยุคล | (กันนะ-) น. หูทั้ง ๒ ข้าง เช่น ในพระกรรณยุคลท่านนั้น (ม. คำหลวง มหาราช). |
กรรพุม, กรรพุ่ม | (กัน-) น. มือที่ประนม เช่น ถวายกรกรรพุม (ม. คำหลวง ทศพร) |
กรรแสง ๒ | (กัน-) น. ผ้า, ผ้าสไบ เช่น กรรแสงสวมคอหิ้ว ตายบทันลัดนิ้ว หนึ่งดี (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กรรเหิม | (กัน-) ก. เหิม เช่น กรรเหิมหายหว่นนหว่า (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กรลุมพาง | (กฺระ-) น. กระลุมพาง, กลองหน้าเดียว, เช่น ปี่จีนโสดสรในใดต่าง ทงงกรลุมพางพอฟงง (ม. คำหลวง มหาราช). |
กรสาปน, กรสาปน์ | (กฺระสาบ) น. กระษาปณ์ เช่น แลพราหมณ์น้นนได้ทองร้อยกรสาปน เปนลาภด้วยเดอรขอทานทุกวันวารแก่มหาชนทงงหลายบมิขาดเลย (ม. คำหลวง ชูชก). |
กระกรับกระเกรียบ | ว. กระด้าง, หยาบ, เช่น หนงงหยาบสุรเสียงศัพท์ ดูก็กระกรับกระเกรียบ (ม. คำหลวง กุมาร). |
กระกวด | ว. สูงชัน, กรวด, เขียนเป็น กรกวด ก็มี เช่น อยู่จอมด้วยกรกวด กิ่งก้านรวดรยงงามอยู่น้นน (ม. คำหลวง มัทรี). |
กระกัด | ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น ด้วยกระกัดศรัทธา (มาลัยคำหลวง), ใช้ว่า ตระกัด ก็มี, โบราณเขียนเป็น กรกัติ หรือ กระกัติ ก็มี. |
กระเกรี้ยว | ว. เสียงขบฟันเกรี้ยว ๆ เช่น คุกคามขบฟันกระเกรี้ยว (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กระชอม | ว. มาก, ใหญ่, เช่น ผักกาดกองกระชอมก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
กระช่าง | ว. กระจ่าง เช่น เวหาเห็นกระช่าง (ม. คำหลวง กุมาร), กระซ่าง ก็ว่า. |
กระซ่าง | ว. กระจ่าง เช่น กระซ่างฟ้าเห็นกัน (ม. คำหลวง สักบรรพ), กระช่าง ก็ว่า. |
กระดก ๒ | ก. ตระหนก, กลัว, เช่น ก็กระดกตกใจกลววแก่มรณภยานตราย (ม. คำหลวง ชูชก). |
กระดาษเทศ | น. ตาดเทศ เช่น อันทำด้วยกระดาษเทศทอพราย (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
กระเทียมหอม | น. ต้นหอม เช่น กระเทียมหอมรำแย้ ก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
กระไทชาย | น. กระทาชาย, คนผู้ชาย, เช่น อันว่ากระไทชายผู้หนึ่ง (ม. คำหลวง กุมาร; มหาราช). |
กระบอกหัว | น. กะโหลกหัว เช่น อีกกระบอกหววมึงกูจะผ่า (ม. คำหลวง ชูชก), ปักษ์ใต้ว่า บอกหัว. |
กระแบ่ | น. กระแบะ เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนำใจ (ลอ), ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย (ม. คำหลวง กุมาร). |
กระแบก | น. ต้นตะแบก เช่น หูกวางพรรค์กระแบก (ม. คำหลวง จุลพน), ตระแบก ก็เรียก. |
กระป่ำ ๑ | ว. เป็นปุ่มป่ำ เช่น บนเขากระป่ำ (ม. คำหลวง กุมาร), มักใช้เข้าคู่กับคำ กระปุ่ม เป็น กระปุ่มกระป่ำ. |
กระป่ำ ๒ | ว. อร่อย เช่น อนี้ต้นหว้าหวานกระป่ำ (ม. คำหลวง กุมาร; มัทรี). |
กระลบ | (-หฺลบ) ก. ตระหลบ. ว. ฟุ้ง เช่น ก็หอมกระลบอบองค์ (ม. คำหลวง จุลพน). |
กระเวนกระวน | ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา (นิ. นรินทร์), หวนตลบ เช่น หอมกระเวนกระวน, เขียนเป็น กรเวนกรวล ก็มี เช่น ชื่อจลาจรเรนทร์ หอมกรเวนกรวล อาจจิญจญจวนใจ (ม. คำหลวง มหาราช). |
กระสัน | ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสองกระสันเข้าให้มั่นกับมือ (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน |
กระเหน็จ | น. วิธี, อย่าง, อุบาย, เช่น กลกระเหน็จต่าง ๆ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
กระเห่อ | ก. เห่อ เช่น คนห่ามกระเห่อทำ อวดรู้ (พระนลคำหลวง อารัมภกถา). |
กระอิด | ว. อิดโรย เช่น อกกระอิดกว่าชื่นแล (ม. คำหลวง กุมาร). |
กระอึก | ก. อึกทึก, อึง, เช่น ตระคอกคึกกระอึกอึง (กลบท ๒; ม. คำหลวง จุลพน). |
กระเอบ | ว. อร่อย, หอมหวาน, เช่น ลิ้มไล้โอชกระเอบหวาน (ม. คำหลวง จุลพน). |
กระเอิบ | ก. เอิบ, อิ่ม, เช่น เถ้ากระเอิบเรอสมออกแล (ม. คำหลวง กุมาร). |
กราง ๒ | (กฺราง) ว. เสียงอย่างเสียงใบตาลแห้งที่ถูกลมพัดกระทบกัน เช่น ด่งงไม้รงงรจิตร อันอยู่ชชิดทางเทา ร่มเย็นเอาใจโลกย์ ลำโล้โบกใบกราง (ม. คำหลวง ชูชก). |
กราบ ๓ | (กฺราบ) ก. นอน เช่น เถ้าก็กราบกรนอึงอยู่นั้น (ม. คำหลวง กุมาร). |
กรามพลู | (กฺรามพฺลู) น. กานพลู เช่น แห้วหมูพิชกรามพลูก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |