กระจับ ๑ | น. ชื่อไม้นํ้าหลายชนิดในสกุล Trapa วงศ์ Trapaceae ขึ้นลอยอยู่ในนํ้าโดยอาศัยก้านใบเป็นทุ่น ฝักแก่สีดำแข็ง มี ๒ เขา คล้ายเขาควาย เนื้อในขาว รสหวานมัน |
กระโฉม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Limnophila rugosa (Roth) Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลำต้นและกิ่งอวบน้ำ สีม่วง ใบรูปไข่ ค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขน ขอบหยักห่าง ๆ ก้านใบแบน ๆ โคนก้านโอบกิ่งหรือลำต้น ดอกเล็ก ๆ สีม่วงแกมชมพู กลางเหลือง ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ทุกส่วนของไม้นี้มีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหาร และใช้ทำยาได้, ผักโฉม ก็เรียก เช่น ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน (เห่เรือ). |
กระดาด | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Alocasia macrorrhizos (L.) G. Don ในวงศ์ Araceae มีหัวใต้ดิน ต้นคล้ายบอนหรือเผือกแต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า ก้านใบตอนล่างเป็นกาบสีเขียว ทั้งต้นใช้ทำยา หัวทำให้สุกแล้วกินได้, กระดาดขาว ปึมปื้อ เผือกกะลา หรือ เผือกโทป้าด ก็เรียก. |
กระดาดแดง | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Alocasia indica Schott var. metallica Schott ในวงศ์ Araceae โคนใบเว้าลึกและห่างไม่มาก ก้านใบสีม่วงแดง กาบหุ้มช่อดอกด้านในสีเหลืองหรือม่วงแดง ใช้ทำยาได้. |
กระดูกไก่ดำ | น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Justicia วงศ์ Acanthaceae ได้แก่ชนิด J. gendarussa Burm. f. ใบยาวรี ออกตรงข้ามกัน ลำต้น กิ่ง ก้านใบ และเส้นกลางใบสีม่วงดำ ใช้ทำยาได้, กระดูกดำ เฉียงพร้ามอญ หรือ สันพร้ามอญ ก็เรียก และชนิด J. grossa C. B. Clarke ดอกสีขาวอมเขียว ฝักยาว เปลือกแข็งและมีขน ผลแก่แตกตามยาว. |
กระท่อม ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. ในวงศ์ Rubiaceae ชอบขึ้นริมนํ้าทั่วไป ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ยอด ใบอ่อน และก้านใบสีแดงเรื่อ ๆ ช่อดอกกลมสีเหลืองออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ ใบมีรสขม กินแล้วเมา เป็นยาเสพติด, อีถ่าง ก็เรียก. |
กระทุ่ม ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลำกิ่งและระหว่างก้านใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับกิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อน หอม เนื้อไม้เหลืองหรือขาว ใช้ทำเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบก ตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. |
กวาด | (กฺวาด) น. สิ่งที่ใช้ปัดกวาด ทำด้วยวัสดุต่าง ๆ อย่างก้านใบมะพร้าว ดอกอ่อนของต้นหญ้าบางชนิด เป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยก้านใบมะพร้าว เรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว. |
กะพ้อ ๒ | น. ชื่อปาล์มขนาดย่อมในสกุล Licuala วงศ์ Palmae มีหลายชนิด เช่น ชนิด L. spinosa Thunb. มักขึ้นเป็นกออยู่ริมทะเล หรือในที่ซึ่งนํ้าเค็มขึ้นถึง ลำต้นสูงถึง ๔ เมตร ใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๐-๑๑๐ เซนติเมตร เว้าเป็นแฉกลึก ก้านใบยาว ขอบก้านมีหนาม, ชนิด L. peltata Roxb. ขึ้นตามป่าดอนในที่ชุ่มชื้นและที่แฉะ ลักษณะคล้ายชนิดแรก แต่ก้านใบลํ้าอยู่ใต้โคนใบ ทั้ง ๒ ชนิดใบใช้ห่อทำไต้ ห่อของ เย็บเป็นร่ม มุงหลังคาชั่วคราว ใบอ่อนใช้มวนบุหรี่, กะชิง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ชิง หรือ ชิ่ง, ปาล์มพวกนี้เรียก พ้อ ก็มี เช่น ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา (โลกนิติ). |
กะเพรา | (-เพฺรา) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Ocimum tenuiflorum L. ในวงศ์ Labiatae กลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหาร พันธุ์ที่กิ่งและก้านใบสีเขียวอมแดงเรียก กะเพราแดง ใช้ทำยาได้. |
กะลอ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมหลายชนิดในสกุล Macaranga วงศ์ Euphorbiaceae มักขึ้นในป่าใสในที่ชุ่มชื้น ก้านใบลํ้าอยู่ใต้โคนใบ เช่น ชนิด M. tanarius Müll. Arg. |
กีบแรด | น. ชื่อเฟินชนิด Angiopteris evecta (G. Forst.) Hoffm. ในวงศ์ Marattiaceae ทางใบยาวแยกแขนง ที่โคนก้านใบมีส่วนคล้ายกีบแรดหรือกีบม้ากำกับอยู่ ใช้ทำยาได้, ว่านกีบแรด หรือ ว่านกีบม้า ก็เรียก. |
ค้อ | น. ชื่อปาล์มชนิด Livistona speciosa Kurz ในวงศ์ Palmae ลำต้นตรง ใบออกเป็นกระจุกทรงกลม แต่ละใบแผ่เป็นรูปวงกลมคล้ายพัด ขอบก้านหยักเป็นสันคม ผลกลม ผิวเรียบ ออกเป็นพวงตามง่ามโคนก้านใบ. |
คูน ๑ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Colocasia gigantea Hook. f. ในวงศ์ Araceae คล้ายบอน ก้านใบและแผ่นใบสีเขียวอ่อน มีนวล ก้านใบทำให้สุกกินได้, ปักษ์ใต้เรียก อ้อดิบ. |
จอกหูหนู | น. ชื่อผักกูดหรือเฟินนํ้า ชนิด Salvinia cucullata Roxb. ex Bory ในวงศ์ Salviniaceae ลอยอยู่บนผิวนํ้า มีรากเป็นฝอยยาวคล้ายจอก ที่ต่างกับจอก คือ มีใบ ๒ ใบอยู่ตรงข้ามกัน ก้านใบสั้น ตัวใบกลม สีเขียวแก่ โคนใบเว้าเข้าเล็กน้อย ตั้งชูขึ้นคล้ายหูหนู. |
ชายผ้าสีดา | น. ชื่อเฟินอิงอาศัยหลายชนิดในสกุล Platycerium วงศ์ Polypodiaceae เหง้าใหญ่สั้น ใบมี ๒ แบบ ใบที่ทาบกับต้นไม้เป็นใบไม่สร้างอับสปอร์ แผ่นใบตั้ง ไม่มีก้านใบ ติดอยู่กับต้นตลอดไป ส่วนใบสร้างอับสปอร์แผ่นใบตั้งขึ้นหรือห้อยลง ขอบหยักเว้า ใบจะร่วงไปตามอายุ. |
ชิงชี่ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Capparis micracantha DC. ในวงศ์ Capparaceae สูง ๒-๔ เมตร มีหนามเล็กสั้น ๆ ขนาบโคนก้านใบข้างละอัน ดอกขาว โคนกลีบดอกสีเหลือง ใกล้โรยกลายเป็นสีม่วงแก่ ออกเป็นตับตามลำกิ่งเหนือง่ามใบตับละ ๒-๗ ดอก ผลกลม ๆ หรือรูปไข่ เมื่อสุกสีแดง ก้านผลยาว, กระโรกใหญ่ หรือ แส้ม้าทะลาย ก็เรียก. |
ตานเสี้ยน | น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Xantolis วงศ์ Sapotaceae คือ ชนิด X. siamensis (H.R. Fletcher) P. Royen และชนิด X. burmanica (Collett et Hemsl.) P. Royen ดอกสีขาว ออกเป็นกระจุกตามกิ่ง ผลกลมรี ปลายมีติ่งแหลม ชนิดหลังก้านใบและก้านดอกยาวกว่าชนิดแรก. |
บอน | น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Araceae เช่น ชนิด Colocasia esculenta (L.) Schott ขึ้นตามชายนํ้าหรือที่ลุ่มนํ้าขัง ยางคัน ก้านใบทำให้สุกแล้วกินได้ และอีกหลายชนิดในสกุล Caladium ใบมีสีและลายต่าง ๆ ปลูกเป็นไม้ประดับ เช่น บอนสี [ C. bicolor (Aiton) Vent. ] บอนพระยาเศวต [ C. humboltii (Raf.)Schott ]. |
บัว | น. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ ในสกุล Nelumbo วงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง (N. nucifera Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม, ปัทม์ ก็เรียก, พันธุ์ดอกป้อมสีขาว เรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกป้อมสีชมพู เรียก สัตตบงกช ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, ในสกุล Nymphaea วงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบหรือจัก อยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (N. lotus L. var. pubescens Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาว เรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (N. nouchaliBurm.f.) ขอบใบเรียบ ดอกสีม่วงอ่อน, ในสกุล Victoria วงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบกระด้งหรือบัววิกตอเรีย [ V. amazonica (Poeppig) Sowerby ] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้านดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก |
บานชื่น | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Zinnia violaceaCav. ในวงศ์ Compositae ลำต้นกลวง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน ไม่มีก้านใบ ช่อดอกออกที่ยอด มีหลายสี เช่น ขาว แดง ม่วง ชมพู เหลือง. |
ใบ | น. ส่วนของพืชที่ติดอยู่กับกิ่งหรือลำต้น โดยมากมีลักษณะเป็นแผ่นแบน ๆ รูปร่างต่าง ๆ กัน มีก้านใบหรือไม่มีก็ได้ มักมีสีเขียว |
ใบก้นปิด | น. ชื่อไม้เถาชนิด Stephania japonica (Thunb.) Miers var. discolor (Blume) Forman ในวงศ์ Menispermaceae ก้านใบลํ้าอยู่ใต้แผ่นใบ ใบใช้ทำยาได้, ย่านปด ก็เรียก. |
เป้ง ๑ | น. ชื่อปาล์ม ๓ ชนิดในสกุล Phoenix วงศ์ Palmae ก้านใบมีหนาม คือ เป้งทะเล ( P. paludosa Roxb.) ขึ้นตามชายทะเล, เป้งดอย ( P. loureiroiKunth) ขึ้นตามป่าดอน, และ เป้งบก ปุ่มเป้ง หรือ ปุ้มเป้ง ( P. acaulis Roxb.) ขึ้นในป่าเต็งรัง. |
ผักหนาม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Lasia spinosa (L.) Thwaites ในวงศ์ Araceae ก้านใบ ก้านช่อดอก และต้นมีหนาม ใบอ่อนมีพิษ แต่ดองหรือต้มแล้วกินได้ เหง้าใช้ทำยาได้. |
พลูแก | น. ชื่อไม้เถาในสกุล Piper วงศ์ Piperaceae คล้ายพลู แต่ก้านใบยาวกว่า ใช้ทำยาได้. |
เมาะ ๓ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Alocasia odora (Roxb.) K. Koch ในวงศ์ Araceae ลำต้นอวบ ใบใหญ่ ก้านใบกินได้ มีมากทางภาคใต้. |
ไม้กวาด | น. สิ่งที่ใช้ปัดกวาด ทำด้วยวัสดุต่าง ๆ อย่างก้านใบมะพร้าว ช่อดอกของต้นหญ้าบางชนิดเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ. |
ระกำ ๑ | ชื่อปาล์มชนิด Salacca wallichiana Mart. ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอ ก้านใบมีหนามแข็ง เนื้อฟ่าม ผลมีเปลือกเป็นเกล็ดหนามออกเป็นกระปุก กินได้. |
สบู่ ๑ | (สะ-) น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Jatropha วงศ์ Euphorbiaceae คือ สบู่ขาวหรือสบู่ดำ (J. curcasL.) ก้านใบและใบอ่อนสีเขียว เมล็ดนำไปหีบได้นํ้ามันใช้เป็นเชื้อเพลิงและหล่อลื่น และสบู่แดง (J. gossypiifoliaL.) ก้านใบและใบสีแดง, ทั้ง ๒ ชนิดมียางใส ทุกส่วนเป็นพิษ. |
โสม ๑ | ชื่อไม้ล้มลุกหลายปี หลายชนิดในสกุล Panax วงศ์ Araliaceae ใบเป็นใบประกอบ รากอวบ มักมีรูปร่างคล้ายคน เรียกว่า โสมคน ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ที่สำคัญ เช่น โสมเกาหลีหรือโสมจีน (P. ginsengC. A. Mey.) ก้านช่อดอกยาวกว่าก้านใบ และโสมอเมริกัน (P. quinquefolium L.) ก้านช่อดอกยาวใกล้เคียงกับก้านใบ. |
หวาย | น. ชื่อเรียกปาล์มหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอ ลำต้นยาวทอดเลื้อย ผิวเกลี้ยงเหนียว กาบและก้านใบมีหนาม เช่น หวายตะค้าทอง (Calamus caesiusBlume), หวายขม (C. viminalis Willd.) หัวใช้ทำยาได้, หวายนํ้า (Daemonorops angustifolia (Griff.) Mart.). |