283 ผลลัพธ์ สำหรับ *ในเรื่อง*
ภาษา
หรือค้นหา: ในเรื่อง, -ในเรื่อง-Longdo Unapproved TH - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
trade terms | [เทรด เทอมส] (n) "ข้อตกลงในการส่งมอบสินค้า" ยังไม่เจาะจงลงไปว่าเป็นแหล่งอ้างอิงจากชื่อใด เข่น AFTD: American Foreign Trade Definition หรือ RWO: Rules of Warsaw and Oxford หรือ GCDM: General Conditions for Delivery of Merchandise หรือ Combiterms หรือ Incoterms ซึ่งในแต่ละแหล่งอ้างอิงมี Terms ให้ใช้คล้ายกัน เช่น Ex Works, FOB หรือ CIF เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แหล่งอ้างอิงที่เสถียรในเรื่องค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงในการส่งมอบ คือแหล่ง Incoterms ทำให้หลายแหล่ง เช่น ล่าสุดทางอเมริกา ประกาศยกเลิก ธรรมนูญการค้าหรือ UCC บางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้าของตน ซึ่ง UCC นี้เองได้เป็นฐานในการกำหนดงเป็น AFTD ล่าสุดอเมริกาและแทบทั้งโลกมาขอใช้ร่วมกับ Incoterms ของ ICC International Chamber of Commerce, Paris, France นี้ เป็นมีการกำหนดจุดรับภาระที่แน่นอนกว่า |
เมพขิงๆ | (phrase, slang) มาจากการพิมพ์คำว่า เทพจิงๆ ผิด, ซึ่งเพี้ยนมาจาก เทพจริงๆ อีกที ซึ่งแปลว่า เก่งจริงๆ, เหนือชั้นจริงๆ เป็นภาษาตามสมัยนิยม ใช้กันมากในอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บบอร์ด, เกมออนไลน์ โดยคำว่าเทพในที่นี้ใช้ในความหมายว่า เก่งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากๆ, เนื่องจากแป้นคีย์บอร์ด ตัว ท กับ ม และ ข กับ จ อยู่ติดกัน |
แหก | [แหก] (jargon) การเปิดโปง ออกมาแฉ บอกความจริง ในเรื่องหรือกรณีต่างๆ ที่คนหนึ่งได้เคยออกมาโกหก หรือ จกตา ไว้ก่อนหน้านี้ ตัวอย่าง จกตาเพื่อนมาได้ตั้งนาน สุดท้ายเป็นไงละ โดน “แหก” จนได้ |
Longdo Unapproved TH - EN
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: N | [มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: N] (n, vi, vt, modal, verb, aux, verb, adj, adv, prep, conj, pron, phrase, jargon, slang, colloq, vulgar, abbrev, name, o) มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: Norma Jeane Mortenson) เกิดวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1926 – 5 สิงหาคม ค.ศ. 1962) เป็นอดีตนักแสดง นักร้อง นางแบบชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงจากบทบาท "dumb blonde" เธอกลายเป็นสัญลักษณ์ทางเพศที่ได้รับความนิยมในคริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นสัญลักษณ์ของทัศนคติที่มีต่อเพศแห่งยุค แม้ว่าเธอได้เป็นนักแสดงระดับต้น ๆ เพียงแค่หนึ่งทศวรรษ ภาพยนตร์ของเธอทำรายได้ได้ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐก่อนที่เธอจะเสียชีวิตอย่างไม่คาดคิดใน ค.ศ. 1962[ 1 ] เธอยังถือว่าเป็นสัญรูปของวัฒนธรรมสมัยนิยมหลัก ๆ นับแต่นั้นมา[ 2 ] มอนโรเกิดและเติบโตในลอสแอนเจลิส วัยเด็กเธออาศัยอยู่ในบ้านรับเลี้ยงเด็ก และสถานเด็กกำพร้า และสมรสครั้งแรกเมื่ออายุ 16 ปี ขณะทำงานในโรงงานเป็นส่วนหนึ่งของกำลังสงคราม ใน ค.ศ. 1944 เธอพบกับช่างภาพคนหนึ่ง และเริ่มทำอาชีพนางแบบ งานของเธอทำให้เธอได้เซ็นสัญญากับภาพยนตร์ขนาดสั้น 2 เรื่องกับค่ายทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ (1946-1947) และโคลัมเบียพิกเจอส์ (1948) หลังจากรับบทย่อยในภาพยนตร์จำนวนหนึ่ง เธอเซ็นสัญญาใหม่กับฟอกซ์ใน ค.ศ. 1951 เธอกลายเป็นนักแสดงที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วด้วยบทบาทตลกขบขันหลายบทบาท เช่นในเรื่อง แอสยังแอสยูฟีล (1951) และมังกีบิสเนส (1952) และในภาพยนตร์ดรามาเรื่อง แคลชบายไนต์ (1952) และ โดนต์บาเดอร์ทูน็อก (1952) มอนโรเผชิญหน้ากับข่าวลือหลังจากมีการเปิดเผยว่าเธอเคยถ่ายแบบเปลือยก่อนมาเป็นนักแสดง แต่แทนที่จะทำลายอาชีพเธอ มันกลับทำรายได้ให้กับบอกซ์ออฟฟิศ ก่อน ค.ศ. 1953 มอนโรเป็นหนึ่งในดาราฮอลลิวูดที่มีบทบาทนำในภาพยนตร์ 3 เรื่อง ได้แก่ ฟิล์มนัวร์ เรื่อง ไนแอการา (ภาพยนตร์ ค.ศ. 1953)|ไนแอการา ซึ่งมุ่งจุดสนใจที่เสน่ห์ทางเพศของเธอ และภาพยนตร์ตลกเรื่อง เจนเทิลเม็นพรีเฟอร์บลอนส์ และ ฮาวทูแมร์รีอะมิลเลียนแนร์ ซึ่งสร้างภาพลักษณ์ให้เธอเป็น "dumb blonde" แม้ว่าเธอจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างและจัดการภาพลักษณ์สาธารณะของเธอตลอดอาชีพการทำงาน เธอรู้สึกผิดหวังต่อสตูดิโอที่ไทป์แคสต์ และการให้ค่าตัวเธอต่ำไป เธอถูกพักงานเป็นช่วงสั้น ๆ ในต้นปี ค.ศ. 1954 เนื่องจากเธอปฏิเสธโครงการทำภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง แต่กลับมาเป็นดาราในภาพยนตร์เรื่องที่ประสบความสำเร็จที่สุดเรื่องหนึ่งคือ เดอะเซเวนเยียร์อิตช์ (1955) เมื่อสตูดิโอยังลังเลที่จะเปลี่ยนแปลงสัญญาของเธอ มอนโรก่อตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ใน ค.ศ. 1954 ชื่อ มาริลิน มอนโร โพรดักชันส์ (MMP) ขณะก่อสร้างบริษัท เธอเริ่มศึกษาการแสดงที่แอกเตอส์สตูดิโอ ในปลายปี ค.ศ. 1955 ฟอกซ์มอบฉันทะให้เธอควบคุมและให้เงินเดือนสูงขึ้น หลังจากได้รับคำสรรเสริญจากการแสดงในเรื่อง บัสสต็อป (1956) และการแสดงในภาพยนตร์อิสระเรื่องแรกของบริษัท MMP เรื่อง เดอะพรินซ์แอนด์เดอะโชว์เกิร์ล (1957) เธอได้รับรางวัลลูกโลกทองคำจากเรื่อง ซัมไลก์อิตฮอต (1959) ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของเธอที่ถ่ายทำจนเสร็จคือเรื่อง เดอะมิสฟิตส์ (1961) |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กฎ | ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. |
กรณี | (กะระ-, กอระ-) น. คดี, เรื่อง, เหตุ, เช่น ในกรณีนี้ = ในเรื่องนี้. |
กระดากปาก, กระดากลิ้น | ก. ตะขิดตะขวงใจที่จะพูดในเรื่องที่ไม่ควรพูด. |
กันชน | น. เครื่องป้องกันการกระทบกระแทกด้านหน้าและด้านหลังรถยนต์, เรียกประเทศหรือรัฐที่กั้นอยู่ระหว่างดินแดนของ ๒ ประเทศ เพื่อมิให้พิพาทกันในเรื่องดินแดนและผลประโยชน์ ว่า ประเทศกันชน หรือ รัฐกันชน. |
กัปปิยการก | (-การก) น. ผู้ปฏิบัติภิกษุในเรื่องปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค. |
การออกเสียงประชามติ | น. การขอความเห็นชอบจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่อาจกระทบถึงประโยชน์ส่วนได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน โดยวิธีการให้ออกเสียงลงมติโดยตรง. |
การเวก ๑ | (การะ-) น. ชื่อนกในเรื่องปรัมปรา เชื่อกันว่ามีอยู่ในป่าหิมพานต์ บินสูงเหนือเมฆ ร้องเพราะ สัตว์ทั้งหลายได้ยินก็หยุดชะงักไป. |
กุมภนิยา | น. ชื่อพิธีชุบศรพรหมาสตร์ของอินทรชิตในเรื่องรามเกียรติ์. |
เก๋า ๒ | ว. เชี่ยวชาญ, มีประสบการณ์หรือความชำนาญมาก, เช่น คุณปู่เก๋ามากในเรื่องพระเครื่อง |
โกวิท | (-วิด) ว. ฉลาด, ชำนิชำนาญ, รอบรู้ในการอันใดอันหนึ่ง, เช่น อัศวโกวิท ว่า ผู้มีความชำนาญในเรื่องม้า. |
ข้อกำหนด | น. ข้อความที่ระบุเป็นหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้บุคคลที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติหรือดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง. |
ข้อกำหนดพินัยกรรม | น. ข้อความที่ระบุไว้ในพินัยกรรมในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นทรัพย์มรดก หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว เช่น สิทธิในการรับมรดก การจัดการทรัพย์มรดก การโอนทรัพย์มรดก. |
ขอดค่อน | ก. ค่อนว่า, พูดแคะไค้ในเรื่องที่ไม่ดี, พูดให้เขาอายหรือเจ็บใจ, ยกความชั่วขึ้นมาว่าให้เจ็บใจ, ค่อนขอด ก็ว่า. |
เข้าตามตรอกออกตามประตู | ก. ทำตามธรรมเนียมในเรื่องการสู่ขอ. |
เข้ารกเข้าพง | ก. พูดหรือทำไม่ถูกต้องกับเรื่อง เพราะขาดความชำนาญในเรื่องนั้น. |
ค่อนขอด | ก. ค่อนว่า, พูดแคะไค้ในเรื่องที่ไม่ดี, พูดให้เขาอายหรือเจ็บใจ, ยกความชั่วขึ้นมาว่าให้เจ็บใจ, ขอดค่อน ก็ว่า. |
คำฟ้องแย้ง | น. คำฟ้องที่จำเลยฟ้องโจทก์มาในคำให้การในเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์, ฟ้องแย้ง ก็ว่า เช่น ยกฟ้องแย้ง. |
จุ้นจ้าน | ก. เข้าไปยุ่งเกี่ยวในสถานที่หรือในเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่ของตัวจนน่าเกลียด, (ปาก) จุ้น. |
เจ้าถิ่น | น. เจ้าของถิ่น, ผู้ชำนาญในเรื่องของท้องถิ่นนั้น ๆ, (ปาก) นักเลงโต. |
ชาติ ๒, ชาติ- ๒ | กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกัน หรืออยู่ในปกครองรัฐบาลเดียวกัน. |
ซอกแซก | ก. ไปทั่วทุกแห่งทุกที่ที่ต้องการจะไปหรือที่คนอื่นไม่คิดจะไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น ในความว่า ซอกแซกไป, เสาะค้นขึ้นมาถามในเรื่องที่ต้องการจะรู้หรือเรื่องที่คนอื่นไม่คิดจะถามด้วยความอยากรู้อยากเห็น ในความว่า ซอกแซกถาม. |
ดักดาน | ว. คงสภาพอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานาน (มักใช้ในเรื่องที่ไม่เจริญก้าวหน้า) เช่น เป็นเสมียนอยู่ดักดาน โง่ดักดาน. |
ตกลึก | โดยปริยายหมายความว่า ถลำลึกเข้าไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง. |
ต่อตาม | ก. พูดเกี่ยงราคาในเรื่องซื้อขาย, พูดเกี่ยงผลประโยชน์ในการทำความตกลงกัน. |
ตัวเอก | น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น. |
ตาบอดสอดตาเห็น | อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. |
ตีตนก่อนไข้, ตีตนตายก่อนไข้ | ก. กังวลทุกข์ร้อนหรือหวาดกลัวในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น. |
เตียว ๑ | น. เรียกพลลิงจำพวกหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ที่ใช้ผ้าตะบิดโพกศีรษะ ว่า เตียวเพชร |
โต้ตอบ | ก. มีหนังสือไปมา, ตอบกันไปมาในเรื่องนั้น ๆ. |
โต้วาที | ก. แสดงคารมโดยมีฝ่ายเสนอและฝ่ายค้านในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง. |
ถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน | ว. ต่างฝ่ายต่างปฏิบัติดีต่อกันในเรื่องเดียวกันหรือในทำนองเดียวกัน. |
ทศกัณฐ์ | น. “ผู้มีสิบคอ” คือ ท้าวราพณ์ในเรื่องรามเกียรติ์. |
นวนิยาย | น. บันเทิงคดีร้อยแก้วขนาดยาวรูปแบบหนึ่ง มีตัวละคร โครงเรื่อง เหตุการณ์ในเรื่อง และสถานที่ ที่ทำให้เนื้อเรื่องมีความสมจริง เช่น เรื่องหญิงคนชั่ว ของ ก. สุรางคนางค์ เรื่องเรือมนุษย์ ของ กฤษณา อโศกสิน, ถ้ามีขนาดสั้น เรียกว่า นวนิยายขนาดสั้น เช่น เรื่องดรรชนีนาง ของ อิงอร เรื่องสร้อยทอง ของ นิมิต ภูมิถาวร. |
น้ำตาเช็ดหัวเข่า | เสียใจเพราะชํ้าใจหรือต้องผิดหวังอย่างหนักในเรื่องคู่ครอง (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น เพราะเธอเชื่อผู้ชายคนนี้ จึงต้องน้ำตาเช็ดหัวเข่า. |
บำเพ็ญ | ก. ทำให้เต็มบริบูรณ์, เพิ่มพูน, (มักใช้ในเรื่องเกี่ยวกับศาสนา) เช่น บำเพ็ญบุญ บำเพ็ญบารมี |
ประชามติ | น. มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง. (อ. plebiscite) |
ประเทศกันชน | น. ประเทศหรือรัฐที่กั้นอยู่ระหว่างดินแดนของ ๒ ประเทศ เพื่อมิให้พิพาทกันในเรื่องดินแดนและผลประโยชน์, รัฐกันชน ก็เรียก. |
ประนอมหนี้ | ก. การที่ลูกหนี้ขอทำความตกลงในเรื่องหนี้สิน โดยวิธีขอชำระหนี้เพียงบางส่วน หรือโดยวิธีอื่น. |
ผู้รู้ | น. ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องนั้น ๆ เช่น เรื่องนี้ต้องให้ผู้รู้เป็นคนชี้แจง. |
พยานบอกเล่า | น. พยานบุคคลซึ่งให้การในเรื่องที่ตนมิได้เห็น ได้ยิน หรือรู้มาด้วยตนเอง แต่ได้ยินหรือได้ฟังจากผู้อื่น รวมตลอดถึงข้อความที่บันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุก็ถือเป็นพยานบอกเล่า. |
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ | น. รูปแบบของกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของฝ่ายนิติบัญญัติในเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เช่น เรื่องเกี่ยวกับการเลือกตั้ง พรรคการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญกำหนดหลักเกณฑ์ในการเสนอ การพิจารณาและการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญไว้เป็นพิเศษแตกต่างจากพระราชบัญญัติ. |
พลอดรัก | ก. พูดจาอ่อนหวานต่อกันในเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ. |
พินัยกรรม | น. คำสั่งของบุคคลที่กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายแล้ว. |
พีชคณิต | (พีชะคะนิด) น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจำแนกประเภท คุณสมบัติ และโครงสร้างของระบบจำนวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสำคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย. |
พุทธิศึกษา | น. การศึกษาที่เน้นในเรื่องการสอนให้เกิดความรู้ความคิดอย่างมีเหตุผล. |
เพ้อเจ้อ | ว. พล่าม, อาการที่พูดมากในเรื่องที่เหลวไหลไร้สาระ, อาการที่พูดพล่ามจนเสียประโยชน์, อาการที่พูดไม่รู้จักจบ. |
ฟ้องแย้ง | ก. การที่จำเลยฟ้องโจทก์มาในคำให้การในเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์. |
ภาพกาก | น. ภาพเขียนที่เป็นตัวประกอบในเรื่อง. |
ภูมิศาสตร์กายภาพ | น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่องลักษณะและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่แวดล้อมตัวมนุษย์. |
ภูมิศาสตร์การเมือง | น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่องเกี่ยวกับการเมืองของรัฐต่าง ๆ ในโลก. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
session, executive | การประชุมสภาในเรื่องของฝ่ายบริหาร, การประชุมเป็นการภายใน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
executive session | การประชุมสภาในเรื่องของฝ่ายบริหาร, การประชุมเป็นการภายใน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
internal evidence | หลักฐานในเรื่อง [วรรณกรรม ๖ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Convention on Access to Information, Public Participation in Decision-making, and Access to Justice in Environmental Matters | อนุสัญญาว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูล การมีส่วนร่วมของสาธารณะชนในการตัดสินใจ และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในเรื่องสิ่งแวดล้อม (ค.ศ. 1, อนุสัญญาว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูล การมีส่วนร่วมของสาธารณะชนในการตัดสินใจ และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในเรื่องสิ่งแวดล้อม (ค.ศ. 1998) [TU Subject Heading] |
ASEAN Free Trade Area - Mercado Común del Sur (Southern Common Market) | ความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีอาเซียนกับตลาดร่วมอเมริกาใต้ ประกอบด้วยประเทศอาร์เจนตินา บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย โดยความร่วมมือในชั้นนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการ รวมตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละฝ่าย [การทูต] |
ASEAN Free Trade Area - North America Free Trade Area | ความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีอาเซียนกับเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก โดยเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการจัดตั้ง เขตการค้าเสรีของแต่ละฝ่าย [การทูต] |
Agreement | การที่รัฐที่ผู้จะไปประจำตำแหน่งในรัฐนั้นได้ตกลง เห็นชอบกับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอชื่อให้เป็นผู้แทนทางการทูต อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้ บัญญัติไว้ว่า1. รัฐผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นที่แน่นอนว่า รัฐผู้รับได้ให้ความเห็นชอบแล้ว สำหรับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอจะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐนั้น2. รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลแก่รัฐผู้ส่งในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตซึ่งรอการถวายสารตราตั้งจะต้องเริ่มดำเนิน การเพื่อเดินทางไปยังรัฐผู้รับในเรื่องนี้ มีตัวอย่างไม่น้อยที่รัฐผู้รับปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบด้วยเหตุผลบางอย่าง นับตั้งแต่อ้างว่า การเสนอชื่อผู้รับการแต่งตั้งได้กระทำกะทันหันเกินไป และมิได้แจ้งข้อเท็จจริงมาก่อน หรือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเคยกล่าวตำหนิ วิพากษ์รัฐผู้รับ หรือผู้รับการเสนอชื่อมมีภรรยาเป็นชาวยิว หรือผู้รับการเสนอชื่อถือศาสนาโรมันคาทอลิก หรือผู้นั้นเคยปฏิบัติไม่ดีต่อชนชาติของรัฐผู้รับ หรือผู้นั้นในขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างถูกฟ้องร้อง ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกง เป็นต้นกล่าวโดยย่อ agr?ment คือ การให้ความเห็นชอบของรัฐผู้รับ แก่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐผู้ส่งให้เป็นผู้แทนทางการทูตนั่นเอง [การทูต] |
ASEAN Secretariat | สำนักเลขาธิการอาเซียน " ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา มีหน้าที่ให้การสนับสนุนงานการประชุม ประสานงาน และเสนอข้อคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ และมีเลขาธิการอาเซียนเป็น หัวหน้าสำนักงาน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ทั้งนี้ นายแผน วรรณเมธี เป็นคนไทยคนเดียวที่เคยดำรงตำแหน่งนี้ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2527-2529 " [การทูต] |
ASEAN Troika | กลุ่มผู้ประสานงานของอาเซียน " เป็นข้อเสนอของไทยในการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการ ณ กรุงมะนิลา เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก ผู้นำประเทศ/รัฐบาลอาเซียน เป็นกลไกเฉพาะกิจในระดับรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาเซียนสามารถแก้ไขและร่วมมือกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทันท่วงทีและใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพ และในเรื่องที่อาเซียนมีความห่วงกังวลร่วมกันว่ามี แนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนจะปฏิบัติงานโดยยึดหลักการที่สำคัญของอาเซียน คือ หลักฉันทามติ และการไม่แทรกแซงกิจการภายใน กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ ประเทศที่เป็นประธานคณะกรรมการประจำของ อาเซียนในปัจจุบัน อดีต และอนาคต " [การทูต] |
Bangkok Declaration : Global Dialogue and Dynamic Engagement | ปฏิญญากรุงเทพ : การหารือและการมีส่วนร่วมอย่างมีพลวัตของประชาคมโลก " หนึ่งในสองของเอกสารผลการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่แสดงฉันทามติของประเทศสมาชิกอังค์ถัด 190 ประเทศ เกี่ยวกับผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ร่วมทางการเมืองของประเทศสมาชิกอังค์ถัดที่จะร่วมมือ กันดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อทำให้สมาชิกทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ได้รับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ในด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อีกทั้งเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบของกระบวนการโลกาภิวัตน์ได้ แม้ปฏิญญากรุงเทพจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมือง เป็นสัญญาประชาคมที่ทุกประเทศสมาชิกอังค์ถัดมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามแนว นโยบายที่ได้ร่วมกันแถลงไว้ในเอกสารดังกล่าว และเอกสารนี้สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการเจรจาหารือระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเรื่องของการเงิน การค้า การลงทุน และการพัฒนาได้ " [การทูต] |
Common Foreign and Security Policy | นโยบายร่วมต่างประเทศและความมั่นคง (ของสหภาพยุโรป) " ผู้ที่ได้รับการมอบหมายให้ดูแลในเรื่องนี้ คือ ผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายร่วมต่างประเทศและความมั่นคง (High Representative) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า Mr. CFSP " [การทูต] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] |
Conference Diplomacy | กระบวนการเจรจาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลในรูปของการ ประชุม แทนที่จะกระทำโดยวิถีทางการทูตตามปกติ คือ โดยทางเอกอัครราชทูต หรือผู้แทนทางการทูตถาวร การประชุมแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่า การประชุมโต๊ะกลม เพื่อทำหน้าที่ระงับปัญหาระหว่างประเทศนั้น เริ่มนิยมกระทำกันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การประชุมระหว่างประเทศนี้จะประกอบด้วยคณะผู้แทน ซึ่งมีหัวหน้าคณะที่ได้รับมอบอำนาจเต็ม และรัฐบาลของประเทศที่ร่วมประชุมเป็นผู้ส่งไป ในเรื่องนี้มีความเห็นแตกต่างกันอยู่บ้าง บ้างเห็นว่า ควรเป็นการประชุมทางการทูตตามประเพณีที่กระทำกันโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยอาชีพ ซึ่งเป็นไปตามวิถีทางการทูตตามปกติมากกว่า [การทูต] |
consensus | ฉันทามติ หมายถึง แนวปฏิบัติในการตัดสินใจที่จะมีมติดำเนินการหรือไม่ดำเนินการในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง โดยแม้ทุกฝ่ายจะมิได้เห็นพ้องร่วมกัน แต่ก็ไม่มีผู้ใดคัดค้าน [การทูต] |
declaration | ปฏิญญา มีความหมาย 3 อย่าง คือ (1) ความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะผูกพัน (2) ปฏิญญาฝ่ายเดียว ซึ่งก่อสิทธิและหน้าที่ให้แก่ประเทศอื่น และ (3) ปฏิญญาซึ่งรัฐหนึ่งแถลงให้รัฐอื่นทราบความเห็นและเจตนาของตนในเรื่องบาง เรื่อง [การทูต] |
Diplomatic Privileges and Immunities | เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต] |
Duration of Diplomatic Privileges and Immunities | ระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน? [การทูต] |
Establishment of Diplomatic Relations and Missions | การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตและคณะผู้แทนถาวร ทางการทูต ข้อนี้มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตว่าการสถาปนาความ สัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัฐ และคณะผู้แทนถาวรทางการทูตมีขึ้นได้ด้วยความยินยอมของกันและกันในเรื่องนี้ รัฐที่มีอธิปไตยโดยสมบูรณ์ทุกรัฐ มีสิทธที่จะส่งตัวแทนทางการทูตไปทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนยังรัฐ อื่นๆ ซึ่งถือกันว่ามี Active right of legation แต่การใช้สิทธิดังกล่าว เป็นเรื่องดุลยพินิจของแต่ละรัฐ เพราะจะบังคับให้รัฐหนึ่งส่งคณะผู้แทนทางทูตประจำ ณ ที่ใดหาได้ไม่ ถ้าหากรัฐนั้นไม่ปรารถนาจะปฏิบัติเช่นนั้น ในทำนองเดียวกันจะมีการบังคับให้รัฐผู้รับต้องรับคณะผู้แทนทางการทูตจากรัฐ ใดหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องดุลยพินิจของรัฐผู้รับเช่นกัน [การทูต] |
Exemption from Taxation of Diplomatic Agent | การยกเว้นภาษีอากรให้แก่ตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ข้อ 34 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ให้ตัวแทนทางการทูตได้รับยกเว้นจากภาระผูกพันและภาษีทั้ง ปวงของชาติท้องถิ่นหรือเทศบาล ในส่วนบุคคลหรือในทรัพย์สิน เว้นแต่ก. ภาษีทางอ้อม ชนิดที่ตามปกติรวมอยู่ในราคาของสินค้าหรือบริการแล้วข. ภาระผูกพันและภาษีจากอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ซึ่งตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับ นอกจากว่า ตัวแทนทางการทูตครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นไว้ในนามของรัฐผู้ส่ง เพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนค. อากรกองมรดก การสืบมรดก หรือการรับมรดก ซึ่งรัฐผู้รับเรียกเก็บภายในบังคับแห่งบทของวรรค 4 ข้อ 39 ง. ภาระผูกพันและภาษีจากเงินได้ส่วนตัว ซึ่งมีแหล่งกำเนิดในรัฐผู้รับ และภาษีเก็บจากเงินทุนซึ่งได้ลงทุนในการประกอบการพาณิชย์ในรัฐผู้รับจ. ค่าภาระซึ่งเรียกเก็บสำหรับบริการจำเพาะที่ได้ให้ฉ. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ค่าธรรมเนียมศาล หรือสำนวนความ ภาระผูกพันในการจำนอง และอากรแสตมป์ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ภายในบังคับแห่งบทของข้อ 23?นอกจากนี้ ข้อ 35 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติไว้ด้วยว่า ?ให้รัฐผู้รับให้ตัวแทนทางการทูตได้รับการยกเว้นจากการบริการส่วนบุคคลทั้ง มวล จากบริการส่วนสาธารณะทั้งมวล และจากข้อผูกพันทางทหาร เช่น ส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกเกณฑ์ ส่วนบำรุง หรือเรียกคืนที่พักอาศัยเพื่อปฏิบัติการทางทหาร? [การทูต] |
Exercise of Consular Functions in a Third State | การปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐที่สาม (A Third State) ในเรื่องนี้ข้อ 7 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้ระบุว่า?เมื่อได้บอกกล่าวให้รัฐที่เกี่ยวข้องทราบ แล้ว รัฐูผู้ส่งอาจมอบหมายให้สถานีที่ทำการทางกงสุลที่ได้ตั้งอยู่ในรัฐหนึ่งโดย เฉพาะปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในอีกรัฐหนึ่งได้ นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดเจนโดยรัฐหนึ่งในบรรดารัฐที่เกี่ยวข้อง?นอกจาก นี้ สถานที่ทำการทางกงสุลยังอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลแทนรัฐที่สามได้ เรื่องนี้ข้อ 8 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้กำหนดว่า เมื่อบอกกล่าวอย่างเหมาะสมแก่รัฐผู้รับแล้ว สถานที่ทำการทางกงสุลของรัฐผู้ส่งอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐผู้รับ แทนรัฐที่สามได้ นอกจากรัฐผู้รับนั้นจะคัดค้าน และพนักงานฝ่ายกงสุลอาจปฏิบัติการหน้าที่ของตนนอกเขตกงสุลได้ในพฤติการณ์ พิเศษ และด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อ 6 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา อย่างไรก็ดี ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่จะให้พนักงานฝ่ายกงสุลปฏิบัติการหน้าที่ทาง กงสุลนอกเขตกงสุล ฝ่ายที่เห็นด้วยว่าควรปฏิบัติการนอกเขตกงสุลได้ อ้างว่า การใช้เอกสิทธิ์เช่นนั้นเป็นการชอบแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า อาจจะมีภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้นในสถานที่นอกเขตกงสุล ซึ่งเป็นความจำเป็นที่พนักงานฝ่ายกงสุลจะได้ให้บริการในทันที่ที่มีการแจ้ง โดยกะทันหัน [การทูต] |
exactions | ข้อเรียกบังคับ หรือภาระเรียกบังคับ ใช้ในเรื่องของการเรียกเก็บภาษี [การทูต] |
Exequatur | คำนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า ?let him perform? เป็นหนังสือหรืออนุมัติบัตรแสดงการรับรองผู้ที่ดำรงตำแหน่งกงสุลโดยประมุข หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐซึ่งกงสุลผู้นั้นได้ถูกส่งไป ประจำ Exequatur เป็นอนุมัติบัตรที่มอบให้กงสุล แสดงว่ามีอำนาจที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ของกงสุลทั้งหมด สามารถเป็นหลักฐานที่ใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นภายในเขตอาณัติของกงสุล ด้วย รัฐที่ปฏิเสธไม่ออก Exequatur ให้นั้น ไม่จำเป็นต้องบอกเหตุผลแก่รัฐผู้ส่งว่าเพราะเหตุผลใดจึงปฏิเสธ ในเรื่องนี้ข้อ 12 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลได้บัญญัติไว้ว่า?1. หัวหน้า สถานที่ทำการทางกงสุล จะเข้าปฏิบัติการหน้าที่ของตนได้ โดยอนุมัติจากรัฐผู้รับเรียกว่า อนุมัติบัตรไม่ว่าการให้อนุมัติจะเป็นไปในรูปใดก็ตาม 2. รัฐซึ่งปฏิเสธไม่ให้อนุมัติบัตรไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการปฏิเสธ เช่นว่านั้นแก่รัฐผู้ส่ง 3. ภายในข้อบังคับแห่งบทของข้อ 13 และ 15 หัวหน้าสถานที่ทำการทางกงสุลจะไม่เข้ารับหน้าที่ของตนจนกว่าจะได้รับอนุมัติ บัตรแล้ว? [การทูต] |
Flexible Engagement | ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่น " ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่นเป็นข้อเสนอของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยที่เสนอในการประชุมรัฐมนตรีต่าง ประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting : AMM) ครั้งที่ 31 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการหารือและแลก เปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ เปิดกว้างและเป็นกันเองในเรื่องหรือประเด็นต่าง ๆ ที่เห็นว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกันหรือที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์และความ มั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันสืบเนื่องจากการที่อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศ และอยู่ในภาวะที่เผชิญปัญหาท้าทายต่าง ๆ ซึ่งมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกัน " [การทูต] |
HABITAT | ดูที่ UNCHF = ศูนย์เพื่อการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการของคณะกรรมาธิการว่าด้วยการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ (Commission on Human Settlements) ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงานกิจกรรมการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ของสหประชา ชาติที่เน้นในเรื่องที่พักพิง (shelter) และบริการทางสังคม การจัดการเมือง สิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐาน และการประเมิน ติดตามข่าวสารข้อมูลทางด้านการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ [การทูต] |
Immunity from Jurisdiction of Diplomatic Agents | ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 31 ว่า?1. ให้ตัวแทนทางการทูตได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางอาญาของรัฐผู้รับ ตัวแทนทางการทูตยังจะได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่ง และทางการปกครองของรัฐผู้รับด้วย เว้นแต่ในกรณีของก) การดำเนินคดีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับนอกจากตัวแทนทางการทูตครอบครองไว้ในนามของ รัฐผู้ส่งเพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนข) การดำเนินคดีเกี่ยวกับการสืบมรดกซึ่งเกี่ยวพันถึงตัวแทนทางการทูตในฐานะผู้ จัดการมรดกโดยพินัยกรรม ผู้จัดการมรดกโดยศาลตั้งทายาท หรือผู้รับมรดกในฐานะเอกชน และมิใช่ในนามของรัฐผู้ส่งค) การดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจกรรมใดในทางวิชาชีพ หรือพาณิชย์ ซึ่งตัวแทนทางการทูตได้กระทำในรัฐผู้รับ นอกเหนือจากการหน้าที่ทางการของตน 2. ตัวแทนทางการทูตไม่จำเป็นต้องให้การในฐานะพยาน 3. มาตรการบังคับคดี ไม่อาจดำเนินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนทางการทูต เว้นแต่ในกรณีซึ่งอยู่ภายใต้อนุวรรค (ก) (ข) และ (ค) ของวรรค 1 ของข้อนี้ และโดยมีเงื่อนไขว่ามาตรการที่เกี่ยวข้องอาจดำเนินไปได้โดยปราศจากการละเมิด ความละเมิดมิได้ในตัวบุคคลของตัวผู้แทนทางการทูต หรือที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต 4. ความคุ้มกันของตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ ไม่ยกเว้นตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้ส่ง?เกี่ยวกับความคุ้มกันตัว แทนทางการทูตจากขอบเขตของอำนาจศาลทางแพ่ง อาจกล่าวได้อย่างกว้างๆ ว่า ตัวแทนทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทน ทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทนทางการ ทูตจะถูกฟ้องมิได้ และถูกจับกุมมิได้เกี่ยวกับหนี้สิน รวมทั้งทรัพย์สินของเขา เช่น เครื่องเรือน รถยนต์ ม้า และสิ่งอื่นๆ ทำนองนั้นก็จะถูกยืดเพื่อใช้หนี้มิได้ ตัวแทนทางการทูตจะถูกกีดกันมิให้ออกไปจากรัฐผู้รับในฐานะที่ยังมิได้ชดใช้ หนี้สินของเขานั้นก็มิได้เช่นกัน อนึ่ง นักกฎมายบางกลุ่มเห็นว่า ตัวแทนทางการทูตจะถูกหมายศาลเรียกตัว (Subpoenaed) ไม่ได้ หรือแม้แต่ถูกขอร้องให้ไปปรากฎตัวเป็นพยานในศาลแพ่งหรือศาลอาญาก็ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ถ้าหากตัวแทนทางการทูตสมัครใจที่จะไปปรากฏตัวเป็นพยานในศาล ก็ย่อมจะทำได้ แต่จะต้องขออนุมัติจากรัฐบาลในประเทศของเขาก่อน [การทูต] |
Indigent Nationals | คนในชาติที่ต้องประสบความยากจนข้นแค้นในต่างแดน ในเรื่องนี้ มีหลายประเทศได้อนุญาตให้ผู้แทนทางการทูตและทางกงสุลของตนอำนวยความช่วย เหลือเท่าที่จำเป็นแก่คนชาติของตนที่ประสบความยากจนข้นแค้นในต่างประเทศรวม ทั้งค่าส่งตัวกลับประเทศด้วย มีหลายรายที่กำหนดให้คนชาติที่ต้องทุกข์นั้น แจ้งถึงสาเหตุที่ต้องประสบความยากจนข้นแค้น และสัญญาว่าเงินที่ได้รับนี้จะต้องชดใช้คืนภายหลัง ตามปกติ ผู้แทนทางการทูตหรือกงสุลจะต้องปรึกษากับกระทรวงการต่างประเทศของตน ก่อนที่จะนำเงินให้คนชาติของตนกู้ยืมหรือไปรับรองบุคคลเหล่านั้น หรือไปรับผิดชอบทางการเงินใดๆ [การทูต] |
International Law Commission of the United Nations | คือคณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมปรับปรุงกฎหมายระหว่า ประเทศ รวมทั้งการทำประมวลกฎหมายให้ก้าวหน้าและทันสมัยคณะกรรมาธิการนี้ประกอบด้วย สมาชิกรวม 25 คน ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งสมาชิกคราวละ 5 ปี และจะทำงานในคณะกรรมาธิการในฐานะตัวบุคคล มิใช่เป็นตัวแทนจากประเทศของตน ตลอดการประชุมสมัชชาสหประชาชาติเป็นจำนวนหลายสมัยมาแล้ว คณะกรรมาธิการได้ทำหน้าที่ร่างกฎหมายในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นกฎหมายระหว่างประเทศเป็นจำนวนไม่น้อย บางเรื่องได้ริเริ่มขึ้นเองโดยคณะกรรมาธิการ แต่บางเรื่องทางสมัชชาสหประชาชาติหรือคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ได้ส่งไปให้พิจารณาดำเนินการคณะกรรมาธิการได้ร่างสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายทาง ทะเลไปแล้วไม่น้อยกว่า 4 ฉบับ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง อนุสัญญาว่าด้วยอาณาเขตทางทะเลและพื้นที่ติดชายฝั่งอนุสัญญาเกี่ยวกับการจับ ปลา การอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีชีวิตในท้องทะเลหลวง พร้อมทั้งได้รับสัตยาบันสารจากประเทศต่าง ๆ ไว้แล้วเป็นจำนวนมาก เมื่อ ค.ศ.1961 และ 1963 คณะกรรมาธิการได้จัดให้มีการประชุมใหญ่สองครั้งตามลำดับ ณ กรุงเวียนนา พร้อมทั้งได้ลงมติรับรองอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต และอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล [การทูต] |
Inviolability of Residence and Property of Diplomatic Agents | หมายถึง ความละเมิดมิได้ของทำเนียบและทรัพย์สินของตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 30 ว่า ?1. ให้ที่อยู่ส่วนตัวของตัวแทนทางการทูต ได้อุปโภคความละเมิดมิได้และความคุ้มครอง เช่นเดียวกับสถานที่ของคณะผู้แทน 2. ให้กระดาษเอกสาร หนังสือโต้ตอบ และยกเว้นที่ได้บัญญัติไว้ในวรรค 3 ของข้อ 31 ทรัพย์สินของตัวแทนทางการทูตได้อุปโภคและละเมิดมิได้เช่นกัน?วรรค 3 ของข้อ 31 ในอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า มาตรการบังคับคดีไม่อาจดำเนินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนทางการทูต (เว้นแต่ในกรณีซึ่งอยู่ภายใต้อนุวรรค (ก) (ข) และ (ค) ของวรรค 1 ของข้อนี้ และโดยเงื่อนไขว่า มาตรการที่เกี่ยวข้องอาจดำเนินไปได้ โดยปราศจาการละเมิด) หรือที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต [การทูต] |
Inviolability of the Mission Premises | คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต] |
Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] |
Order of Precedence | หมายถึง ลำดับอาวุโสทางการทูต โดยถือยศหรือตำแหน่งเป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะในโอกาสที่ไปร่วมพิธีต่าง ๆ ตลอดจนการเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการ นักการทูตทั่วโลกต่างถือลำดับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิถีพิถันกันไม่ น้อย เพราะในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ หากมีการจัดลำดับอาวุโสไม่ถูกต้อง เขาผู้นั้นซึ่งคำนึงถึงศักดิ์ศรีในฐานะตัวแทนของประเทศย่อมต้องรู้สึกว่า นอกจากจะไม่ได้รับความถูกต้องแล้ว ยังเป็นการดูแคลนประเทศของตนด้วยในสมัยก่อน ผู้ที่ทำหน้าที่ชี้ขาดในเรื่องลำดับอาวุโสของบรรดาประมุขของรัฐทั้งหลาย คือสมเด็จพระสันตะปาปา ต่อมาในการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาเมื่อปี ค.ศ. 1815 ที่ประชุมได้ตกลงกันให้ถือวันที่เดินทางมาถึงประเทศผู้รับ และได้แจ้งให้ทราบเป็นทางการว่าเป็นเรื่องลำดับอาวุโส ผู้ที่มาถึงก่อนย่อมมีอาวุโสกว่าผู้ทีมาทีหลัง อย่างไรก็ดี มาในทุกวันนี้มีหลายประเทศถือหลักว่า ผู้แทนทางการทูตที่ยื่นสารตราตั้งก่อนจะมีอาวุโสกว่าผู้ยื่นสารตราตั้งที หลัง และในกรณีที่เกิดความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างบุคคลในคณะทูตเรื่องลำดับอาวุโส ประเทศเจ้าภาพหรือประเทศผู้รับจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอนุสัญญากรุงเวียนนาว่า ด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติเกี่ยวกับลำดับอาวุโสของผู้แทนทางการ ทูตไว้ดังนี้ ?ข้อ 16 1. ให้หัวหน้าคณะผู้แทนมีลำดับอาวุโสในแต่ละชั้นของตนตามลำดับวันและเวลาที่ เข้ารับการหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้ง หรือเมื่อได้บอกกล่าวการมาถึงของตนและได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง ต่อกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงตามแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป 2. การเปลี่ยนแปลงในสารตราตั้งของหัวหน้าคณะผู้แทน ซึ่งไม่เกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงชั้นใด ๆ จะไม่กระทบกระเทือนลำดับอาวุโสของหัวหน้าคณะผู้แทน 3. ข้อนี้ไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่ทางปฏิบัติใด ซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับ ในเรื่องลำดับอาวุโสของผู้แทนของโฮลี่ซี ข้อ 17 ลำดับอาวุโสของสมาชิกคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตของคณะผู้แทนนั้น ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้บอกกล่าวแก่กระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน? [การทูต] |
Parliamentary Diplomacy | การทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต] |
Personal Diplomacy | คือการเจรจากันโดยตรงระหว่างรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศด้วยกัน ส่วนการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขของรัฐ หรือหัวหน้าของรัฐบาล แต่เดิมก็จัดอยู่ในประเภทการมทูตส่วนบุคคล แต่มาในปัจจุบันนี้ มักนิยมเรียกกันว่าเป็นทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) แยกออกต่างหากจากการทูตส่วนบุคคลมีผู้สังเกตการณ์หลายคนเตือนว่า ในกรณีที่เกิดเรื่องหรือปัญหาที่ยังคาราคาซังอยู่นั้น ไม่ควรหันเข้าใช้วิธีส่งผู้แทนพิเศษจากนครหลวงไปแก้ปัญหา ควรให้เอกอัครราชทูตเป็นผู้ดำเนินการมากกว่า เพราะประการแรก การกระทำเช่นนั้นยังผลเสียหายต่อศักดิ์ศรีของตัวเอกอัครราชทูตเอง ทั้งยังกระทบกระเทือนต่อการที่เขาจะปฏิบัติงานให้ประสบผลอย่างเต็มที่ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้นในภายหน้าด้วย อีกประการหนึ่ง จะพึงคาดหมายได้อย่างไรว่า ตัวผู้แทนพิเศษที่ส่งไปนั้นจะมีความรอบรู้เกี่ยวกับภูมิหลังของปัญหา รวมทั้งตัวบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่ากับตัวเอกอัครราชทูตเอง ซึ่งได้ประจำทำงานอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ณ ที่นั่น แม้แต่ แฮโรลด์ นิโคลสัน ก็ไม่เห็นด้วย และได้เตือนว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศหนึ่งไปเยือนและพบปะกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอีกประเทศหนึ่งบ่อย ๆ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำและไม่ควรสนับสนุน เพราะการกระทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชนคาดหมายไปต่าง ๆ นานาแล้ว ยังจะทำให้เกิดเข้าใจผิด และเกิดความสับสนขึ้นมาได้แม้แต่ผู้รอบรู้ในเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการ ทูตบางคนก็ยังแคลงใจว่า การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) จะได้ประโยชน์และให้ผลจริง ๆ หรือไม่ นอกจากเฉพาะในกรณียกเว้นจริง ๆ เท่านั้น บ้างเห็นว่า การพบปะเจรจาแบบสุดยอดมักจะกลายสภาพเป็นการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์มากกว่า ที่จะเป็นการเจรจากันอย่างแท้จริง เพราะมีอันตรายอยู่ว่า ผู้ร่วมเจรจามักจะแสดงความคิดเห็นตามความรู้สึกมากกว่าตามข้อเท็จจริง เพราะมัวแต่เป็นห่วงและคำนึงถึงประชามติในประเทศของตนมากเกินไปนอกจากนี้ ผู้เจรจาไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ข้อลดหย่อนหรือทำการประนีประนอม ( ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งหากจะให้เจรจาบังเกิดผล) เพราะกลัวเสียหน้าหากกระทำเช่นนั้น ตามปกติ ถ้าให้นักการทูตเป็นผู้เจรจา เขาจะมีโอกาสมากกว่าที่จะใช้วิธีหลบหลีกอันชาญฉลาดในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เป็นผลตามที่มุ่งประสงค์ [การทูต] |
Personal Inviolability of Diplomatic Agents | หมายถึง ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ กล่าวคือ มาตรา 29 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ว่า ?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทุตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ ให้รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางการทูต?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ นั้น ได้ถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ให้ผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิและความคุ้มกัน ทั้งมวล ถึงกับมีการพูดกันว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อตัวเอกอัครราชทูต จักถือว่าเป็นการทำร้ายต่อประมุขของประเทศซึ่งผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเป็น ตัวแทนอยู่ ทั้งยังถือว่าเป็นการยังผลร้ายต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชาติทั้ง มวลด้วยตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1964 ชายหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งมีจิตวิปลาส ได้ใช้มีดแทง นายเอ็ดวิน โอไรส์ชาวเออร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศญี่ปุ่น ในเขตนอกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโตเกียว รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทยญี่ปุ่นได้ลาออกจากตำแหน่งทันทีและรุ่งขึ้นใน วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1964 นายอิเคดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ได้ทำการขอโทษต่อประชาชนชาวอเมริกันทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการดำเนินการในทำนองนี้ และการที่นายกรัฐมนตรีอิเคดะได้ปฏิบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้นั้น มีความสำคัญมากเพียงใดตัวแทนทางการทูตจะถูกจับ ถูกฟ้องศาล หรือถูกลงโทษฐานประกอบอาชญากรรมนั้นไม่ได้ เพราะถือว่าผู้แทนทางการทูตมิได้อยู่ในอำนาจศาลของรัฐผู้รับ อย่างไรก็ดี หากผู้แทนทางการทูตกระทำความผิดอย่างโจ่งแจ้ง รัฐผู้รับอาจขอให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับไปยังประเทศของเขาได้ในทันที [การทูต] |
point of order | ประท้วง หรือขัดจังหวะในระหว่างการประชุม หรือระหว่างการกล่าวถ้อยแถลงในเรื่องผิดข้อบังคับการประชุม [การทูต] |
Reciprocity of Rank of Envoys | หมายถึง การถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันในเรื่องตำแหน่งของทูต กล่าวคือ ประเทศทั้งหลายถือธรรมเนียมปฏิบัติในการแลกเปลี่ยนทูตที่มีตำแหน่งเท่าเทียม กัน ดังนั้น หากประเทศหนึ่งส่งทูตไปประจำอีกประเทศหนึ่ง ในตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม ประเทศนั้นก็คาดว่าประเทศผู้รับย่อมจะให้ถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน โดยส่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มของตนไปประจำที่ประเทศผู้ส่งด้วย พึงสังเกตว่าการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติกันเช่นนี้มิใช่เป็นระเบียบข้อบังคับของ กฏหมายระหว่างประเทศ หากเป็นการแสดงไมตรีจิตมิตรภาพต่อกันระหว่างประเทศทั้งหลายมากกว่า [การทูต] |
Regional Organizations | คือองค์การส่วนภูมิภาค ในเรื่องนี้ ข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติไว้ว่า ?ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน อันจักริดรอนสิทธิประจำตัวในการป้องกันตนเองโดยลำพังหรือโดยร่วมกัน หากการโจมตีโดยกำลังอาวุธบังเกิดแก่สมาชิกของสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็น เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มาตรการที่สมาชิกได้ดำเนินไปในการใช้สิทธิป้องกันตนเองนี้ จักต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบโดยทันที และจักไม่กระทบกระเทือนอำนาจและความรับผิดชอบของคณะมนตรีความมั่นคงภายใต้กฎ บัตรฉบับปัจจุบันแต่ทางหนึ่งทางใด ในอันที่จักดำเนินการเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมา ซึ่งสันติภาพความมั่นคงระหว่างประเทศ?จะเห็นได้ว่า ประเทศต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันมักจะทำข้อตกลงกันในส่วนภูมิภาค โดยอาศัยสนธิสัญญา และโดยที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกัน ( Geographical Propinquity ) หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีวัตถุประสงค์ที่จะอำนวยความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเมืององค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่งที่พอจะหยิบยก มาเป็นตัวอย่างได้ คือ องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ซึ่งบัดนี้ได้ยุบเลิกไปแล้วเพราะหมดความจำเป็น องค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States-OAS) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (NATO) องค์การร่วมมือระหว่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา (ANZUS) เป็นต้น องค์การภูมิภาคเหล่านี้ตั้งขึ้นโดยอาศัยข้อ 51 ของกฎบัตร สหประชาชาติ ซึ่งกล่าวถึงสิทธิของประเทศสมาชิกที่จะทำการป้องกันตนเองโดนลำพังหรือโดย ร่วมกัน หากถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ [การทูต] |
Size of Staff of Diplomatic Mission | ขนาดของคณะผู้แทนทางการทูต โดยพฤตินัย จำนวนคณะผู้แทนทางการทูตจะมีตั้งแต่แห่งละหนึ่งหรือสองคนขึ้นไป จนถึงแห่งละ 100 กว่าคนได้ แต่โดยส่วนเฉลี่ย คณะผู้แทนทางการทูต จะมีจำนวนระหว่าง 12 ถึง 24 คน สำหรับคณะผู้แทนทางการทูตที่ประจำอยู่ในนครหลวงของประเทศใหญ่ๆ เช่น ที่กรุงวอชิงตันดีซี กรุงลอนดอน กรุงปารีส กรุงมอสโก กรุงปักกิ่ง และกรุงโตเกียว เป็นต้น จะมีเจ้าหน้าที่ทูตมากกว่าปกติอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูตได้บัญญัติอยู่ในมาตรา 11 ว่า ?1. เมื่อไม่มีความตกลงเฉพาะในเรื่องขนาดของคณะผู้แทน รัฐผู้รับอาจเรียกร้องให้ขนาดของคณะผู้แทนอยู่ในจำนวนจำกัดตามที่ตนเห็นว่า เหมาะหรือเป็นปกติได้ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์หรือสภาวการณ์ในรัฐผู้รับ และความจำเป็นของคณะผู้แทนเฉพาะราย 2. ภายในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน และบนมูลฐานที่ไม่เลือกปฏิบัติ รัฐผู้รับอาจปฏิเสธได้เช่นเดียวกัน ที่จะยอมรับพนักงานเฉพาะรายประเภทหนึ่งประเภทใดก็ได้? [การทูต] |
Size of Consular Staff | ขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล ข้อ 20 ในอนุสัญญากรุงเวียนนาบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ไม่มีความตกลงอย่างชัดเจนในเรื่องขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล รัฐผู้รับอาจกำหนดให้รักษาขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ไว้ภายในขีดจำกัดที่ตน พิจารณาเห็นว่าปกติและสมควรได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงพฤติการณ์และสถานการณ์ในเขตกงสุลนั้น รวมทั้งความต้องการของสถานที่ทำการทางกงสุลแห่งนั้นโดยเฉพาะ [การทูต] |
United Nations Centre for Human Settlements หรือ HABITAT | ศูนย์เพื่อการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการของคณะกรรมาธิการว่าด้วยการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ (Commission on Human Settlements) ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงานกิจกรรมการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ของสหประชา ชาติที่เน้นในเรื่องที่พักพิง (shelter) และบริการทางสังคม การจัดการเมือง สิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐาน และการประเมิน ติดตามข่าวสารข้อมูลทางด้านการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ [การทูต] |
Voting Procedure in the United Nations | วิธีการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ในเรื่องนี้ สมาชิกแต่ละประเทศมีคะแนนเสียง 1 คะแนน ข้อมติของสมัชชาในปัญหาสำคัญ (Important Questions) จะกระทำโดยถือคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียง ที่เรียกว่าปัญหาสำคัญนั้นได้แก่ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การเลือกตั้งสมาชิกไม่ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีภาวะทรัสตี การรับสมาชิกใหม่ของสหประชาชาติ การงดใช้สิทธิและเอกสิทธิแห่งสมาชิกภาพ การขับไล่สมาชิก ปัญหาการดำเนินงานของระบบภาวะทรัสตี และปัญหางบประมาณ คำวินิจฉัยปัญหาอื่น ๆ รวมทั้งการกำหนดประเภทแห่งปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 เพิ่มเติมนั้น จัดกระทำโดยอาศัยคะแนนเสียงข้างมากของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียงอนึ่ง ในการเลือกตั้งผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจักต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (Absolute majority) ในที่ประชุมของสมัชชาและในที่ประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงด้วย นอกจากนี้สมาชิกสหประชาชาติที่ค้างชำระค่าบำรุงแก่องค์การ ย่อมไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในสมัชชา ถ้าหากจำนวนเงินที่ค้างชำระเท่าหรือมากกว่าจำนวนเงินค่าบำรุงที่ถึงกำหนด ชำระสำหรับ 2 ปีเต็มที่ล่วงมา อย่างไรก็ตาม สมัชชาอาจอนุญาตให้สมาชิกเช่นว่านั้นลงคะแนนเสียงก็ได้ ถ้าทำให้เป็นที่พอใจได้ว่า การไม่ชำระนั้น เนื่องมาจากภาวะอันอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของสมาชิกนั้น [การทูต] |
Waiver of Immunity | การสละความคุ้มกันทางการทูต ในเรื่องนี้บางประเทศออกกฎไว้ว่า ความคุ้มกันจากอำนาจทั้งทางแพ่งหรืออาญาของผู้แทนทางการทูตที่ประจำอยู่ใน ประเทศผู้รับ ตามที่กฎหมายระหว่างประเทศได้มอบให้ รวมทั้งคณะเจ้าหน้าที่ทางการทูตและบุคคลในครอบครัวของเขานั้น ย่อมสละมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมอย่างชัดแจ้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศของผู้นั้น เหตุผลของการออกกฎข้อนี้เป็นเพราะเขาถือว่า ความคุ้มกันนั้นมิได้เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่โดยตรงหากแต่เกี่ยวกับตำแหน่ง หน้าที่ของเขามากกว่าเรื่องการสละความคุ้มกันข้างต้น อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 32 ว่า?1. ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูตและของบุคคลที่อุปโภคความคุ้มกัน ภายใต้ขอ้ 37 อาจสละได้โดรัฐผู้ส่ง 2. การสละต้องเป็นที่ชัดแจ้งเสมอ 3. การริเริ่มคดีโดยตัวแทนทางการทูต หรือโดยบุคคลที่อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลภายใต้ข้อ 37 จะกันตัวแทนทางการทูตหรือบุคคลนั้นจากการอ้างความคุ้มกันของอำนาจศาล ในส่วนที่เกี่ยวกับการฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียกร้องสิทธิ สำคัญนั้น 4. การสละความคุ้มกันจากอำนาจศาลในส่วนที่เกี่ยวกับคดีแพ่งหรือคดีปกครอง ไม่ให้ถือว่ามีนัยเป็นการสละความคุ้มกันในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตาม คำพิพากษา ซึ่งจำเป็นต้องมีการสละต่างหากอีก? [การทูต] |
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] |
Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] |
soap opera | บริษัทผลิตสบู่, ละครวิทยุหรือโทรทัศน์ที่ออกอากาศเป็นตอนๆ ต่อเนื่องกันเป็นประจำ เนื้อเรื่องที่นำมาแสดงมักจะเกี่ยวกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน และปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวละครในเรื่อง ในช่วงแรกเริ่มผู้อุปถัมภ์รายการละครวิทยุหรือโทรทัศน์ ลักษณะนี้เป็นบริษัทผลิตสบู่ จึงถูกเรียกว่า soap หรือ soap opera [อื่นๆ] |
KM Assessment Tool | เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินองค์กรตนเองในเรื่องการจัดการความรู้, Example: เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้ในการประเมินองค์กรตนเองในเรื่องการจัดการ ความรู้ และให้ข้อมูลกับองค์กรว่ามีจุดอ่อน-จุดแข็ง / โอกาส-อุปสรรค ในการจัดการความรู้เรื่องใดบ้าง หนึ่ง เพื่อให้ทราบถึงจุดอ่อน - จุดแข็ง / โอกาส-อุปสรรค ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญต้องปรับปรุง-รักษา ไว้/พัฒนา ให้การจัดการความรู้บรรลุผลตามเป้าหมาย ( KM Desired State) [การจัดการความรู้] |
Technical Competency | สมรรถนะทางวิชาการ, ความรู้ ทักษะและพฤติกรรมที่พนักงานต้องมีเพื่อนำมาใช้ปฏิบัติงาน เช่น ความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์ (Product Knowledge) คุณภาพงานบริการ (Service Quality) ทักษะการสื่อสาร (Communication Skills) การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ (Problem Solving and Decision Making) เป็นต้น [การจัดการความรู้] |
Ethylene propylene diene rubber | ยาง EPDM เป็นยางสังเคราะห์ที่พัฒนามาจากยาง EPM โดยเติมมอนอเมอร์ตัวที่สาม คือ ไดอีน ลงไปเล็กน้อยในระหว่างการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน ทำให้ยางที่ได้มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (พันธะคู่) อยู่ในสายโซ่โมเลกุล ยางชนิดนี้จึงสามารถคงรูปได้ด้วยกำมะถัน แต่ไดอีนที่เติมลงไปไม่ได้ไปแทรกอยู่ที่สายโซ่หลักของโมเลกุล ดังนั้นสายโซ่หลักก็ยังคงเหมือนเดิมหรือไม่มีผลต่อสายโซ่หลักมากนัก จึงทำให้ยาง EPDM ยังคงมีสมบัติเด่นในเรื่องการทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากความร้อน แสงแดด ออกซิเจน โอโซน สารเคมี กรด ด่างได้ดีมาก และมีความยืดหยุ่นตัวได้ดีที่อุณหภูมิต่ำเมื่อเทียบกับ ยางธรรมชาติ มักใช้ทำผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ภายนอกเนื่องจากทนต่อสภาพอากาศได้ดีและใช้ผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ยางขอบกระจก ยางปัดน้ำฝน ท่อยางของหม้อน้ำรถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นฉนวนหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง แผ่นยางกันน้ำ แผ่นยางมุงหลังคา [เทคโนโลยียาง] |
Ethylene propylene rubber | ยาง EPM เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากการทำปฏิกิริยาโคพอลิเมอไรเซชันระหว่างมอนอเมอร์ ของเอทิลีน (ethylene) กับโพรพิลีน (propylene) มีลักษณะการจัดเรียงตัวของโมเลกุลแบบอสัณฐานและมีสมบัติเป็นยาง แต่ไม่มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (ไม่มีพันธะคู่) จึงทำให้มีสมบัติเด่นในเรื่องความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากแสง แดด ออกซิเจน ความร้อน โอโซน และสารเคมี แต่ยางชนิดนี้มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถใช้กำมะถันในการคงรูปได้ (เนื่องจากไม่มีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุล) ดังนั้นการทำให้ยางคงรูปจึงต้องใช้เพอร์ออกไซด์เท่านั้น การใช้งานนิยมใช้ทำผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานภายนอก เช่น ยางขอบประตู ยางขอบหน้าต่าง โอริง ฉนวนหุ้มสายเคเบิล เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Attitude, Tightward | หย่อนในเรื่องรางวัล [การแพทย์] |
Fetishism | พวกที่มีความใคร่กับวัตถุสิ่งของของเพศตรงข้าม, การมีความสุขทางเพศกับส่วนของร่างกายหรือวัตถุ, ประเภทสนใจในเรื่องสิ่งของหรือชอบสะสมของของเพศตรงข้าม [การแพทย์] |
ระดับความสามารถ | ระดับความสามารถ, การเปรียบเทียบอัตราส่วนศักยภาพในเรื่องหนึ่ง ๆ ว่าผู้นั้นอยู่ในช่วง/ระดับศักยภาพเท่าใดของเรื่องนั้น ๆ, Example: ได้จากความสามารถที่ทำได้ (Score Ability) เทียบกับความสามารถจริง (True Ability) ตามหลักของทฤษฎีการวัด ] ซึ่งนักวัดระดับความสามารถหลาย ๆ ท่านมักจะใช้คำว่า Quotient อันแปลอย่างตรงตัวว่า ผลลัพธ์ของการหาร มักจะถูกนำไปวางไว้หลังคำภาษาอังกฤษในเรื่องที่ใช้วัดความ [สุขภาพจิต] |
คุณภาพชีวิต | คุณภาพชีวิต, ความรู้สึกพึงพอใจในเรื่องต่าง ๆ อันเป็นความต้องการของตัวบุคคล ที่มีการดำรงชีพของมนุษย์ในระดับที่เหมาะสมตามความจำเป็นพื้นฐานในสังคม หนึ่ง ๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง โดยจะมีเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานที่ต้องบรรลุแต่ละด้าน หรือกำหนดเป็นตัวชี้วัด จึงเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงระด [สุขภาพจิต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
ในเรื่อง | [nai reūang] (x) EN: as to ; in the matter of ; as regards FR: au sujet de ; à propos de ; en matière de |
Longdo Approved EN-TH
homoeopathy | [โฮมีโอพาธี] (n) การบำบัดแบบโฮมีโอพาธีมีแนวคิดหรือปรัชญาพื้นฐานในการทำความเข้าใจร่างกายมนุษย์ที่แตกต่างจากระบบการแพทย์แผนปัจจุบันโดยสิ้นเชิง การมองร่างกายและจิตใจของ ผู้ป่วยจะไม่ได้มองเป็นอวัยวะที่แยกส่วนออกจากกัน แต่จะมองร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเป็นภาพรวมเดียวกัน ดังนั้นก่อนที่จะบำบัดผู้ป่วยจะต้องมีการสัมภาษณ์และคุยกับผู้ป่วยในเรื่องของลักษณะทั่วไป บุคลิกภาพ ประวัติทางการแพทย์ของครอบครัว อารมณ์ ความรู้สึกส่วนบุคคลต่อสิ่งแวดล้อม อาหาร อากาศ ฯลฯ รวมทั้งอาการของโรคด้วย นักบำบัด (practitioner) จะต้องนำคำตอบทั้งหมดมาประมวลและสรุปเป็นภาพรวมโดยเรียกว่า “ภาพของอาการ” (symtom picture)ดังนั้นการประเมินประสิทธิภาพของการบำบัดจึงไม่ควรใช้กรอบและแนวคิดของระบบการแพทย์แผนปัจจุบันประเมินแต่เพียงอย่างเดียว ควรมีการศึกษาและทำความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของการบำบัดแบบโฮมีโอพาธีด้วย โดยสรุปแล้วการบำบัดแบบโฮมีโอพาธีจัดเป็นศาสตร์การรักษาสุขภาพแบบองค์รวมที่เน้นเรื่องการปรับสมดุลสารชีวเคมีและพลังไหลเวียนภายในร่างกาย การให้ยาเป็นไปเพียงเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการปรับสมดุลด้วยกลไกตามธรรมชาติของร่างกายเอง ไม่ได้มุ่งหมายให้ยาไปขจัดหรือทำลายกลไกของร่างกายหรือสารที่ก่อให้เกิดอาการป่วย รวมทั้งไม่ได้มุ่งหมายที่จะขจัดสิ่งมีชีวิตใด ๆ ออกจากร่างกายด้วย |
mansplaining | (n, slang) การกระทำที่ผู้พูด (มักเป็นผู้ชาย) อธิบายหรือแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งต่างๆ ให้แก่ผู้ฟัง (มักเป็นผู้หญิง) ในลักษณะที่ทำตัวเหนือกว่า, คิดว่าฝ่ายผู้ฟังไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ หรือ ใช้คำอธิบายในลักษณะที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายจนเกินสมควรเช่นเหมือนอธิบายเด็ก ดูคำอธิบายเพิ่มเติม https://dict.longdo.com/blog/word-of-the-day-mansplaining/ |
sportswashing | (n) วิธีการใช้การจัดงานมหกรรมกีฬา เช่น โอลิมปิก ฟุตบอลโลก หรือสร้างกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬา เช่น ซื้อทีมฟุตบอล เป็นเครื่องมือในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี เพื่อกลบเกลื่อนเรื่องที่ไม่ดี หรือ ข่าวฉาวในเรื่องอื่นๆ |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
able-bodism | (n) การกีดกันในเรื่องสภาพร่างกาย, Syn. ableism |
ableism | (n) การกีดกันในเรื่องสภาพร่างกาย, Syn. able-bodism |
aficionado | (n) ผู้ที่คลั่งไคล้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง |
as for | (idm) ในกรณีของ, See also: ในเรื่องของ, เกี่ยวกับ |
assist at | (phrv) ช่วยในเรื่อง, See also: ช่วยทำ, Syn. assist in, assist with |
assist in | (phrv) ช่วยในเรื่อง, See also: ช่วยทำ, Syn. assist at, assist with |
assist with | (phrv) ช่วยในเรื่อง, See also: ช่วยทำ, Syn. assist at, assist in |
broach | (vt) เริ่มพูดคุยในเรื่องที่น่าอับอายหรือคนอื่นไม่ยอมรับ |
butterfly | (n) คนโง่หรือคนที่ไม่ใส่ใจในเรื่องใดๆ, Syn. scatterbrain |
barter for | (phrv) พยายามตกลงในเรื่อง, See also: ทำสัญญาเรื่อง |
battle over | (phrv) ต่อสู้กันในเรื่อง |
be beyond one's ken | (idm) ยากเกินกว่าจะเข้าใจหรือมีความรู้ในเรื่อง |
be hip to | (phrv) มีความรู้ในเรื่อง (คำไม่เป็นทางการ), See also: รอบรู้ในเรื่อง, Syn. get hip to |
be in on | (phrv) นำในเรื่อง (คำไม่เป็นทางการ), See also: เป็นผู้นำเรื่อง, Syn. get in on |
be keyed up | (phrv) ตื่นเต้นมากในเรื่อง, See also: วิตกจริตกับ, ตื่นกลัวกับ |
beguile into | (phrv) หลอกให้ทำในเรื่อง, See also: ลวงให้ทำในเรื่อง, Syn. trick into |
believe in | (phrv) เชื่อในเรื่อง, See also: เชื่อเรื่อง |
bend on | (phrv) มุ่งมั่นในเรื่อง, See also: ตั้งใจมั่นกับ, แน่วแน่ในเรื่อง |
bend upon | (phrv) มุ่งมั่นในเรื่อง, See also: ตั้งใจมั่นกับ, แน่วแน่ในเรื่อง, Syn. bend on |
bet on | (phrv) มั่นใจเกินไปในเรื่อง |
beware of | (phrv) ระมัดระวังในเรื่อง |
bicker about | (phrv) ทะเลาะกันเรื่อง, See also: เถียงกันในเรื่อง, Syn. quarrel about |
bicker over | (phrv) ทะเลาะกันเรื่อง, See also: เถียงกันในเรื่อง, Syn. quarrel about |
blame for | (phrv) ตำหนิในเรื่อง, See also: ติเตียนในเรื่อง, กล่าวโทษ |
blow about | (phrv) พูดถึง...กับผู้อื่น (คำไม่เป็นทางการ), See also: พูดเกี่ยวกับ...กับคนอื่น, คุยในเรื่อง...กับคนอื่น, Syn. toss about |
blow around | (phrv) พูดถึง...กับผู้อื่น (คำไม่เป็นทางการ), See also: พูดเกี่ยวกับ...กับคนอื่น, คุยในเรื่อง...กับคนอื่น, Syn. toss about |
blush for | (phrv) ละอายในเรื่อง |
boast about | (phrv) คุยโม้ในเรื่อง, See also: โอ้อวด, คุยโต, Syn. brag about |
boast of | (phrv) คุยโม้ในเรื่อง, See also: โอ้อวด, คุยโต, Syn. brag about |
bother about | (phrv) วิตกกังวลเกี่ยวกับ, See also: ห่วงใยในเรื่อง, Syn. bother with |
bother with | (phrv) วิตกกังวลเกี่ยวกับ, See also: ห่วงใยในเรื่อง, Syn. bother about |
brood about | (phrv) วิตกเกี่ยวกับ, See also: กังวลในเรื่อง, คิดถึงในเรื่อง, Syn. think about |
brood on | (phrv) วิตกเกี่ยวกับ, See also: กังวลในเรื่อง, คิดถึงในเรื่อง, Syn. think about |
brood over | (phrv) วิตกเกี่ยวกับ, See also: กังวลในเรื่อง, คิดถึงในเรื่อง, Syn. think about |
brood upon | (phrv) วิตกเกี่ยวกับ, See also: กังวลในเรื่อง, คิดถึงในเรื่อง, Syn. think about |
clan | (n) กลุ่มคนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน, Syn. clique, set |
coterie | (n) กลุ่มคนเล็กๆ ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน |
cybersex | (n) การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์โดยมีจุดประสงค์ในเรื่องทางเพศ |
cajole into | (phrv) ล่อหลอกในเรื่อง, See also: ล่อลวงเรื่อง, ทำให้หลงกล, ทำให้หลงเชื่อ |
cajole out of | (phrv) ล่อหลอกไม่ให้ทำ, See also: ทำให้หลงเชื่อไม่กระทำในเรื่อง |
carry off | (phrv) ประสบความสำเร็จในเรื่อง (ที่คนอื่นทำได้ยาก) |
cast on | (phrv) สงสัยในเรื่อง, See also: สงสัยเกี่ยวกับ, Syn. throw on |
cast upon | (phrv) สงสัยในเรื่อง, See also: สงสัยเกี่ยวกับ, Syn. throw on |
catch at | (phrv) จับพิรุธได้ในเรื่อง, See also: จับได้เกี่ยวกับ, ค้นพบ, Syn. grab at |
cavil at | (phrv) ตำหนิในเรื่อง, See also: ติ, ติเตียน, Syn. carp at |
celebrate for | (phrv) มีชื่อเสียงในเรื่อง |
clash on | (phrv) ไม่เห็นด้วยกับ, See also: ขัดแย้งในเรื่อง, Syn. clash over |
clash over | (phrv) ไม่เห็นด้วยกับ, See also: ขัดแย้งในเรื่อง, Syn. clash on |
click for | (phrv) ได้โอกาสในเรื่อง (คำไม่เป็นทางการ), See also: มีโอกาสดีในเรื่อง |
clue up | (phrv) ให้ข้อมูลในเรื่อง, See also: แนะเงื่อนงำในเรื่อง, Syn. clew up |
Hope Dictionary
aladin | เป็นชื่อตัวละครซึ่งเป็นพระเอกในเรื่องยักษ์ในตะเกียงวิเศษอะลาดิน |
alert box | ช่องข้อความเตือนหมายถึงช่องข้อความที่คอมพิวเตอร์จะแสดงให้เห็นบนจอภาพ มีข้อความเตือนในเรื่องการใช้คำสั่งบางประการที่อาจทำให้เกิดผลเสีย เช่น เครื่องพิมพ์ไม่มีกระดาษ ข้อความบางตอนอาจศูนย์หาย ฯ เป็นต้น |
alpha test | การทดสอบรอบแรกหมายถึง การนำเอาโปรแกรมสำเร็จที่เขียนเสร็จใหม่ ๆ ไปให้ "กลุ่มลูกค้าประจำ" ทดลองใช้ดูก่อน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ให้ช่วยเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้นให้ เพื่อจะดูว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นใช้ได้ดีหรือไม่ ยังขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง หรือมีปัญหาในเรื่องใด โดยปกติแล้ว การทดลองนำไปใช้ครั้งแรกนี้ จะยังมีเรื่องที่ต้องแก้ไขอีกมาก โปรแกรมดังกล่าวจะมีข้อความบ่งบอกไว้ว่า เป็น alpha version หมายความว่า รุ่นทดสอบรอบแรก ดู beta version ประกอบ |
alpha version | รุ่นทดสอบรอบแรกหมายถึง การนำเอาโปรแกรมสำเร็จที่เขียนเสร็จใหม่ ๆ ไปให้ "กลุ่มลูกค้าประจำ" ทดลองใช้ดูก่อน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ให้ช่วยเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้นให้ เพื่อจะดูว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นใช้ได้ดีหรือไม่ ยังขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง หรือมีปัญหาในเรื่องใด โดยปกติแล้ว การทดลองนำไปใช้ครั้งแรกนี้ จะยังมีเรื่องที่ต้องแก้ไขอีกมาก โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมีข้อความบ่งบอกไว้ว่าเป็นรุ่นทดสอบรอบแรก มีความหมายเหมือน alpha testดู beta version ประกอบ |
animism | (แอน' นิมิสซึม) n. ความเชื่อถือที่ว่ามีวิญญาณในธรรมชาติและจักรวาล, ความเชื่อว่าวิญญาณอาจอยู่แยกต่างหากจากร่างกาย, ความเชื่อถือว่าวิญญาณเป็นส่วนสำคัญของชีวิตและสุขภาพที่ดี, ความเชื่อในเรื่องวิญญาณ -animist n. -animistic adj. |
bank switching | การสลับชิปไปมาหมายถึง การสลับไปมาของการใช้ชิปในหน่วยความจำเดิมที่ติดมากับเครื่อง กับหน่วยความจำที่เพิ่มภายหลัง ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งทำให้รู้สึกเสมือนว่า หน่วยความจำทั้งสองนั้นเป็นหน่วยความจำเดียวกัน เช่น บริษัทไอบีเอ็มผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกมาขายในตลาดโดยมีหน่วยความจำติดมาภายในตัวเครื่องเพียง 640 เคไบต์ แต่เรานำไปเพิ่มหน่วยความจำเป็นถึง 16 เมกกะไบต์ การที่จะทำให้หน่วยความจำเดิมกับหน่วยความจำที่เพิ่มมาใหม่ทำงานสลับกันไปมาได้ ก็จะต้องอาศัยการสลับชิปไปมานี้ อย่างไรก็ตาม หากเราเป็นเพียงผู้ใช้เครื่อง (user) ก็ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องนี้เท่าไรนัก เป็นหน้าที่ของช่างฝ่ายเทคนิคที่จะต้องติดตั้งหรือจัดการทำให้ |
broken-heart | n. ความท้อแท้หมดหวัง, ความเศร้าสลด, ความผิดหวังในเรื่องความรัก, ความเสียใจมาก, See also: broken-hearted adj. ดูbroken-heart |
casette tape | ตลับแถบบันทึกหมายถึง ม้วนแถบพลาสติกอาบแม่เหล็ก นำมาใช้ในการเก็บข้อมูล ใช้ทั้งกับไมโครคอมพิวเตอร์ และเครื่องขนาดใหญ่ (mainframe) ที่นำมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์นั้น มีลักษณะเหมือนตลับเทปเพลงธรรมดา สมัยหนึ่งเรานิยมใช้แถบบันทึกนี้เก็บข้อมูล เพราะราคาถูกกว่าสื่ออย่างอื่น แต่จะมีปัญหาตามมามากมาย เช่นในเรื่องความคลาดเคลื่อนของข้อมูล อีกทั้งยังมักจะเสียง่าย ในปัจจุบัน จึงหันมานิยมใช้จานบันทึก (diskette) จานบันทึกอัดแน่นหรือซีดี (CD) แทนกันหมดแล้ว |
cd | abbr. ธาตุ cadmium, แผ่นซีดี ย่อมาจาก compact disk แปลตามตัวอักษรว่า จานบันทึกอัดแน่น มีลักษณะเป็นแผ่นจานกลม ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ซม. ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล จานบันทึกนี้มีความจุสูงมาก (ประมาณ 600ล้านตัวอักษร) ปัจจุบันมีอุปกรณ์ใช้อ่านข้อมูลจากจานบันทึกนี้ได้ แต่การบันทึกข้อมูลลง ยังทำไม่ได้ง่าย ๆ ต้องมีเครื่องพิเศษเฉพาะ บันทึกได้ทั้งข้อมูลธรรมดา เพลง ภาพยนตร์ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มาก เพราะราคาถูก ความจุสูง แต่ยังติดขัดในปัญหาบางประการในเรื่องการบันทึกข้อมูลลง ดู CD ROM ประกอบ 2. ย่อมาจากคำ Change Directory เป็นคำสั่งในระบบดอสที่สั่งให้เข้าไปในสารบบ (directory) ใดสารบบหนึ่ง หรือออกจากสารบบใดสารบบหนึ่ง เช่น C:/>CD <ชื่อสารบบ> \ (หมายความว่าให้เข้าไปในสารบบชื่อนั้น) C:> CD\ (หมายความว่า ให้ออกจากสารบบที่อยู่) |
character | (แค'ริคเทอะ) n. ตัวอักษร, อักขระ, อุปนิสัย, คุณสมบัติ, ลักษณะพิเศษ, หลักความประพฤติ, ความรักหรือหยิ่งในศักดิ์ศรี, ชื่อเสียงที่ดี, เกียรติคุณ, ฐานะตัวในเรื่อง, บทบาทในละครหรือภาพยนตร์, สัญลักษณ์, See also: characterisation, characterization n. |
client | (ไคล'เอินทฺ) n. ลูกความ, คนไข้, ลูกค้า, คนซื้อของ, ผู้พึ่งคนอื่น, บุคคลหรือบริษัทที่จ่ายเงินสำหรับสินค้าหรือการบริการ adj. เป็นลูกค้าประจำ, See also: cliental adj. ดูclient ผู้รับบริการ1. ใช้ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ LAN หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่สามารถเรียกข้อมูลข่าวสารหรือโปรแกรมจากเครื่องบริการแฟ้ม file server มาใช้ได้ หรืออาจหมายถึงเครื่องที่ทำงานอย่างอิสระ โดยใช้โปรแกรมที่มีอยู่ในเครื่องนั้นเองก็ได้ ดู file server ประกอบ2. หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกับเครื่องอื่นได้ โดยใช้ระบบ DDE หรือ dynamic data exchange ดู dynamic data exchange ประกอบ |
client application | โปรแกรมเฉพาะเครื่อง1. ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) คำนี้หมายถึง โปรแกรมที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์บางเครื่อง โดยปกติ ในระบบเครือข่ายนั้น จะต้องมีคอมพิวเตอร์กลางเครื่องหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นที่เก็บโปรแกรมต่าง ๆ ไว้ให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถเรียกไปใช้ได้ เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) (คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมเหล่านั้น) แต่ถ้าเครื่องบริการแฟ้มนั้นเสีย คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายเดียวกันนั้นก็จะทำงานไม่ได้เลย ฉะนั้น เราจึงมักจะให้คอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือข่ายมีโปรแกรมเก็บไว้ในเครื่องของตนเองด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่แม้จะอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน จะไม่สามารถเรียกโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ไปใช้ได้ เราเรียกโปรแกรมที่เก็บอยู่เฉพาะในเครื่องนี้ว่า " client application "2. โปรแกรมบนระบบวินโดว์ที่สามารถโยงถึงที่มาของภาพหรือข้อความที่เป็นต้นแบบได้ หากเมื่อใดมีการแก้ไขในแฟ้มต้นแบบ โปรแกรมก็จะจัดการแก้ไขในแฟ้มใหม่ ให้ด้วย ดู OLE เปรียบเทียบ |
color monitor | จอสีหมายถึง อุปกรณ์แสดงผลชนิดจอภาพที่แสดงภาพเป็นสีต่าง ๆ ได้หลายสี (จอภาพ ที่แสดงได้สีเดียว เรียกว่า monochrome) จอสีนั้นมีความแตก ต่างกันในเรื่องการแสดงจำนวนสี บางประ เภทแสดงได้ 16สี บางประเภทแสดงได้ถึง 256 สี หรือกว่านั้นก็มี ทั้งยังมีคุณภาพต่างกันในเรื่องของความคมชัด ดู CGA, VGA และ SVGA ประกอบ |
computer engineering | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็นสาขาหนึ่งในการศึกษาวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ โดยจะเน้นหนักในเรื่องของฮาร์ดแวร์ (hard ware) หรือส่วนตัวเครื่อง และระบบการทำงานภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น แผ่นวงจร (card) หน่วยประมวลผล หน่วยบันทึก ฯดู computer science เปรียบเทียบ |
computer specialist | ผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์หมายถึง ผู้ที่มีความรู้พิเศษในเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์ อาจหมายถึง ระบบตัวเครื่อง การเขียนโปรแกรม หรือการวิเคระห์ระบบ ก็ได้ |
config.sys | แฟ้มโครงแบบย่อมาจาก configuration system เป็นชื่อแฟ้มข้อมูลที่ใช้ในระบบดอสและโอเอสทูซึ่งจะมีข้อความที่กำหนดในเรื่องการใช้แป้นพิมพ์ จำนวนของบัฟเฟอร์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบนั้นจะใช้ ฯ พอเริ่มใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไปสักพัก ก็จะต้องเรียนรู้วิธีการสร้างแฟ้มข้อมูลนี้ คอมพิวเตอร์จะแฟ้มข้อมูลนี้เฉพาะเมื่อมีการเริ่มเครื่องใหม่เท่านั้น |
coprocessor | ตัวประมวล (ผล) ร่วมหมายถึง ตัวประมวลผลตัวหนึ่ง ที่แยกออกมาเพื่อเอาไว้ใช้ทำงานในส่วนที่เกินความสามารถของตัวประมวลผลหลัก เพื่อที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น เช่น ตัวประมวลภาพจะทำหน้าที่เฉพาะในเรื่องการแสดงภาพ ตัวประมวลผลคณิตก็จะทำหน้าที่เฉพาะด้านการคำนวณ |
copy protection | การป้องกันการคัดลอกหมายถึง วิธีการป้องกันไม่ให้ผู้ใดสามารถคัดลอกได้ ผู้เขียนโปรแกรมมักพยายามทำทุกวิถีทางที่จะกันไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใด มาคัดลอกโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่เขาสร้างขึ้นไว้ เช่นใช้อุปกรณ์ปิดกั้น หรือซ่อนแฟ้มข้อมูลบางแฟ้มไม่ให้มองเห็น อย่างไรก็ตาม เมื่อมีกฎหมายในเรื่องของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ออกมาแล้ว ผู้ที่จะคัดลอกก็จะต้องระมัดระวังในเรื่องการคัดลอกนี้มากขึ้น |
daisy chain | สายโซ่เดซีหมายถึง การเชื่อมต่อรายการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน (เหมือนกับ สายโซ่) ถ้าใช้ในเรื่องของการสั่งพิมพ์ จะหมายถึง การสั่งให้พิมพ์แฟ้มข้อมูลหลาย ๆ แฟ้มต่อเนื่องกันไป ตามลำดับที่กำหนดไว้ตั้งแต่ก่อนพิมพ์ |
data bank | คลังข้อมูลหมายถึง ที่หรือแหล่งเก็บข้อมูล หรือแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้เป็นจำนวนมาก ส่วนมากจะอยู่กับหน่วยงานคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยคอมพิวเตอร์ของกระทรวงเกษตร อาจเป็นคลังข้อมูลในเรื่องของ ผลผลิต เนื้อที่การเกษตร รายละเอียดเกี่ยวกับกสิกร สัตว์ที่ใช้ในการเกษตร สินค้าเกษตร ฯลฯ เป็นต้น |
data packet | กลุ่มข้อมูลกลุ่มหมายถึง ข้อมูลจำนวนหนึ่งหรือหน่วยหนึ่งที่มีความสัมพันธ์เป็นเรื่องราวเดียวกัน ใช้ในเรื่องของการสื่อสารข้อมูล (data communication) เช่น packet switching บางทีใช้ packet เฉย ๆ ก็ได้ |
data structure | โครงสร้างข้อมูลหมายถึง รูปแบบของการจัดระเบียบของข้อมูล ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ศัพท์ต่าง ๆ ในเรื่องของโครง สร้างของข้อมูลที่คุ้นหู มีอยู่หลายคำ เช่น เขตข้อมูล (field) , แถวลำดับ (array) , ระเบียน (record) , ต้นไม้ (tree) , รายการโยง (linked list) เป็นต้น |
ebcdic | (เอบซีดิก) ย่อมาจาก extended binary coded decimal interchange code (แปลว่า รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยาย) เป็นชื่อของรหัสคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่กำหนดไว้สำหรับเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองแบบขยาย บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้คิดและคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้รหัสนี้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCll) มากกว่า อันที่จริงแล้ว ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของรหัสเหล่านี้เลยก็ได้ |
extended binary coded dec | extended binary coded decimal interchange code รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยายใช้ตัวย่อว่า EBCDIC (อ่านว่า เอ็บซีดิก) เป็นชื่อของรหัสคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่กำหนดไว้สำหรับเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองแบบขยาย บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้คิดและคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้รหัสนี้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCll) มากกว่า อันที่จริงแล้ว ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของรหัสเหล่านี้เลยก็ได้ |
extended technology | เทคโนโลยีแบบขยายใช้ตัวย่อว่า XT (อ่านว่า เอกซ์ที) เป็นเทคโนโลยีใหม่แบบหนึ่งที่นำมาใช้ในการสร้างไมโครคอมพิวเตอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นนั้น จึงได้รับสมญานาม ว่า XT มีการเน้นในเรื่องการกำหนดให้มีช่องเสียบแผ่นวงจร (card) เพิ่ม เพื่อการปรับขยายในภายหลัง กับการใช้จานบันทึกที่มีความจุสูง ดู AT ประกอบ |
fcc | (เอฟซีซี) ย่อมาจากคำว่า Federal Communication Commission (แปลว่า คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่มีหน้าที่ควบคุมในเรื่องการสื่อสาร โดยเฉพาะการควบคุมสัญญาณความถี่ของคลื่นวิทยุ |
federal communication com | คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารใช้ตัวย่อว่า FCC (อ่านว่า เอฟซีซี) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่มีหน้าที่ควบคุมในเรื่องการสื่อสาร โดยเฉพาะการควบคุมสัญญาณความถี่ของคลื่นวิทยุ |
fifo | (ฟีโฟ, ไฟโฟ) ย่อมาจาก first in, first out แปลว่า "เข้าก่อนออกก่อน" ผู้เขียนโปรแกรมนำศัพท์คำนี้มาใช้ในเรื่องของ การส่งข้อมูล เข้าไปเก็บ บางทีเราต้องการให้เก็บแบบที่เข้าไปก่อน ก็ให้เรียกออกมาได้ก่อน บางที เราอาจต้องการให้เป็นแบบ "เข้าทีหลัง ออกก่อน" เพราะข้อมูลที่เข้าไปก่อนอยู่ลึกเข้าไป กว่าจะเรียกออกมาได้ ต้องรอจนข้อมูลที่เข้าไปทีหลังออกมา จนหมดเสียก่อน แบบหลังนี้เรียกว่า last in, first out ดู LIFO ประกอบ |
fifties | n., adj. ปีหรือจำนวนที่อยู่ระหว่าง50ถึง59. คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้าหมายถึง คอมพิวเตอร์ยุคใหม่สุด ซึ่งนับเป็นยุคที่ห้า คอมพิวเตอร์ยุคนี้จะเน้นในเรื่องปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) เป็นสำคัญ เช่น ทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ ให้มากขึ้น ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน รวมทั้งประมวลผลได้เร็วยิ่งขึ้นด้วย ญี่ปุ่นทำท่าว่าจะเป็นผู้นำในด้านนี้มากกว่าชาติอื่น ดู artificial intelligence ประกอบ |
finder | (ไฟ'เดอะ) n. ผู้ค้นหา, สิ่งที่ใช้ค้นหา, กล้องโทรทรรศน์, กล้องส่องทางไกล, กล้องดูภาพ, เครื่องวัด, เครื่องตรวจสอบ ตัวหาเป็นชื่อโปรแกรมที่อยู่ในระบบปฏิบัติการของเครื่องแมคอินทอช (ดูใน System Folder) ที่ทำหน้าที่จัดการ ในเรื่องสัญรูป (icon) การแสดงรายการต่าง ๆ ตลอดถึงการแสดงวินโดว์ การคัดลอก การย้าย และการลบแฟ้มข้อมูล หากไม่มี โปรแกรมนี้ การทำงานจะช้ากว่านี้ มาก เครื่องแมคอินทอช รุ่นใหม่ ๆ จะแสดงเป็นเมนูดัง ที่เห็นในภาพข้าง ๆ |
first in, first out | เข้าก่อนออกก่อนใช้ตัวย่อว่า FIFO อ่านว่า ฟีโฟ หรือไฟโฟ ผู้เขียนโปรแกรมนำศัพท์คำนี้มาใช้ในเรื่องของ การส่งข้อมูล เข้าไปเก็บ บางทีเราต้องการให้เก็บแบบที่เข้าไปก่อน ก็ให้เรียกออกมาได้ก่อน บางที เราอาจต้องการให้เป็นแบบ "เข้าทีหลัง ออกก่อน" เพราะข้อมูลที่เข้าไปก่อนอยู่ลึกเข้าไป กว่าจะเรียกออกมาได้ ต้องรอจนข้อมูลที่เข้าไปทีหลังออกมา จนหมดเสียก่อน แบบหลังนี้เรียกว่า last in, first out ดู last in, first out ประกอบ |
footer | ข้อความท้ายหน้าหมายถึง ข้อความที่พิมพ์ไว้ส่วนล่างของหน้ากระดาษทุกหน้า (อาจเป็นเลขหน้า ก็ได้) โปรแกรมประมวลผลคำต่าง ๆ จะเตรียมจัดในเรื่องนี้ไว้ให้ทุกโปรแกรม แม้โปรแกรมตาราง จัดการ ก็สามารถกำหนดให้มีข้อความใด ๆ ที่หัวกระดาษ (header) และ ที่ท้ายหน้า (footer) ได้ดู header เปรียบเทียบ |
fragmentation | การแยกส่วนหมายถึง อาการอย่างหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ที่ ใช้มาเป็นเวลานานแล้ว ในฮาร์ดดิสก์นั้น เมื่อมีการสั่งบันทึก ข้อมูลลงไป แล้วมาสั่งลบภายหลัง ก็จะทำให้มีที่ว่างเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ฉะนั้น เมื่อมีการนำแฟ้มข้อมูลใหม่ บันทึกลงไป คอมพิวเตอร์ก็จะจัดการ แบ่งแฟ้มใหม่นี้ให้ได้ สัดส่วนพอดีกับช่องที่ว่างอยู่ก่อน บางที แฟ้มเดียวกันจึงต้อง ถูกเก็บเป็นหย่อม ๆ การเก็บแฟ้มข้อมูลในลักษณะนี้ เรียกว่า เป็นการเก็บแยกส่วน ในโปรแกรมระบบดอสรุ่น 6.0 จะมีคำสั่ง "DE FRAG" ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหา ในเรื่องนี้ได้ |
free lance | คนที่ทำงานโดยอิสระ โดยไม่ได้เป็นลูกจ้างกินเงินเดือนใคร, คนที่ต่อสู้ในเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องของตัว |
fussy | (ฟัส'ซี) adj. จู้จี้, ชอบจับผิดในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ , ยุ่ง, เต็มไปด้วยรายละเอียด (โดยเฉพาะมากเกินไป) , ละเอียดลออ., See also: fussily adv. fussiness n., Syn. dainty, fastidious |
geneticist | (จะเนท'ทิซิสทฺ) n. ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องพันธุศาสตร์ |
gormandise | (กอร'มันไดซ) vt., n. (การ) พิถีพิถันในเรื่องอาหารการกินมาก. |
gormandize | (กอร'มันไดซ) vt., n. (การ) พิถีพิถันในเรื่องอาหารการกินมาก. |
handles | จุดรอบภาพในเรื่องที่เกี่ยวกับโปรแกรมวาดภาพหรือโปรแกรมการจัดพิมพ์ตั้งโต๊ะ (desktop publishing) คำนี้จะหมายถึง กรอบสี่เหลี่ยมที่มีจุดที่มุม และที่กึ่งกลางของเส้นรอบด้านทั้งสองข้างที่เกิดขึ้นรอบ "ภาพ" ที่ได้เลือก (select) หรือกำหนดไว้ การย้ายหรือการเคลื่อนที่ภาพเหล่านี้ จะต้องทำให้มีจุดรอบภาพนี้ก่อน จึงจะใช้เมาส์ลากไปได้ หรือจะใช้เมาส์กดที่มุมใดมุมหนึ่งแล้วลากออกหรือหดเข้า เป็นการขยายหรือลดสัดส่วนของภาพนั้นก็ได้ ถ้าเป็นข้อความ (text) ก็หมายถึงเส้นกำกับข้อความที่อยู่บนและล่างของข้อความที่เลือกหรือกำหนดไว้ |
herein | (เฮีย'ริน') adj. ในนี้, ในกรณีนี้, ในเรื่องนี้ |
host computer | คอมพิวเตอร์แม่ข่ายคอมพิวเตอร์แม่งานหมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหลักในเครือข่าย ที่จะทำหน้าที่ควบคุมคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายนั้นทั้งหมด เป็นทั้งที่เก็บโปรแกรมและข้อมูลพื้นฐาน ที่คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะเรียกใช้ได้ในเรื่องการสื่อสาร หมายถึง คอมพิวเตอร์เครื่องที่ใช้ต่อเข้า/ออก |
ieee | (ไอทริพเพิลอี) ย่อมาจาก Institute of Electrical and Electronic Engineers แปลว่า สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสถาบันที่ทำการศึกษาวิชาการด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ซึ่งมีวิชาการด้านคอมพิวเตอร์รวมอยู่ด้วย เน้นในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีและการประมวลผลข้อมูลเพื่อการแลdเปลี่ยนสารสนเทศ และความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยเป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ให้ สถาบันนี้เป็นที่รู้จักและยอมรับในวงการทั่วไป |
information technology | เทคโนโลยีสารสนเทศใช้ตัวย่อว่า IT หมายถึงเทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บอย่างมีระบบ การเรียกหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การประมวลผล การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประมวลนั้น รวมไปถึงการเน้นในเรื่องการแสดงผล และประชาสัมพันธ์สารสนเทศนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ที่จะนำไปใช้ต่อไป ตลอดไปจนถึงการสื่อสารข้อมูลนั้นไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ว่ากันว่า IT กำลังจะก้าวเข้ามาแทนวิชา MIS (management information system) เพราะมีขอบเขตกว้างขวางกว่ามาก สรุปสั้น ๆ ได้ว่า เป็นเหมือนการนำวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (computer science) รวมกับนิเทศศาสตร์ (mass communications) |
inquiry | หมายถึง การสอบถามหาข้อมูลผ่านทางเครื่องปลายทาง (terminal) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ไปค้นหาข้อมูลที่ต้องการให้ โดยปกติข้อมูลเหล่านี้ จะต้องเก็บ ๆ ไว้ในจานบันทึก เพื่อให้ค้นหาได้รวดเร็ว เมื่อหาพบแล้ว ก็จะแสดงผลให้ดูบนจอภาพ ตัวอย่างง่าย ๆ ที่จะอธิบายในเรื่องนี้ ก็คือเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) |
institute of electrical a | สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ใช้ตัวย่อว่า IEEE (อ่านว่า ไอทริพเพิลอี) เป็นสถาบันที่ทำการศึกษาวิชาการด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ซึ่งมีวิชาการด้านคอมพิวเตอร์รวมอยู่ด้วย เน้นในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีและการประมวลผลข้อมูลเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ และความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน ต่าง ๆ ให้ สถาบันนี้เป็นที่รู้จักและยอมรับในวงการทั่วไป |
it | (อิท) pron. มัน, นั่น, ตัว, คน, บุคคล, ตัวมาร, ตัวการ, คนสำคัญ, คนโง่. n. คนเล่น, สถานการณ์โดยทั่วไป ไอทีย่อมาจาก information technology แปลว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงเทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บอย่างมีระบบ การเรียกหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การประมวลผล การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประมวลนั้น รวมไปถึงการเน้นในเรื่องการแสดงผล และประชาสัมพันธ์สารสนเทศนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ที่จะนำไปใช้ต่อไป ตลอดไปจนถึงการสื่อสารข้อมูลนั้นไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ว่ากันว่า IT กำลังจะก้าวเข้ามาแทนวิชา MIS (management information system) เพราะมีขอบเขตกว้างขวางกว่ามาก สรุปสั้น ๆ ได้ว่า เป็นเหมือนการนำวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (computer science) รวมกับนิเทศศาสตร์ (mass communications) |
laissez faire | (เลสเซแฟรฺ') n. ทฤษฎีที่ว่ารัฐบาลควรเข้ายุ่งเกี่ยวในเรื่องเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด, ทฤษฎีการไม่ยุ่งเรื่องของผู้อื่น., See also: laissez-faire adj. ดูlaissez faire laisser-faire adj. ดูlaissez faire, Syn. laisser faire |
lisp | ลิสพ์ย่อมาจาก List Programming เป็นชื่อภาษาคอมพิวเตอร์อีกภาษาหนึ่ง ภาษานี้เกิดขึ้นในราว ๆ ต้น ค.ศ.1960 ที่ MIT เพื่องานวิจัยในด้านปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) โปรแกรมที่ใช้ภาษานี้ก็มีประเภทโปรแกรมประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language) และการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ในเรื่องของปัญญาประดิษฐ์ |
nesting | การซ้อนในเป็นศัพท์ที่ใช้ในเรื่องของการเขียนโปรแกรม ถ้าใช้ในเรื่องของวงวน (loop) หมายถึง การสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานเป็นวงวน และถ้ามีวงวนหนึ่งหรือมากกว่า ซ้อนอยู่ภายในวงวนอีกวงหนึ่ง จะเรียกว่า วงซ้อนใน ดูตัวอย่างข้างล่างนี้ (ภาษาฟอร์แทรน) FOR E = 1 TO 10 FOR F = 1 TO 3 NEXT F NEXT E |
occultism | (อะคัล'ทิสซึม) n. ความเชื่อในเรื่องผีสาง, ความเชื่อในเรื่องเวทมนตร์คาถา, ลัทธิลึกลับ, See also: occultist n., adj. |
Nontri Dictionary
concerning | (pre) เกี่ยวกับ, ในเรื่อง, เกี่ยวข้อง |
economic | (adj) เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์, ในทางเศรษฐกิจ, ในเรื่องเงิน |
herein | (adv) ในที่นี้, ในกรณีนี้, ในเรื่องนี้ |
on | (pre) ข้างบน, บน, ในเรื่อง, ณ, เกี่ยวกับ, โดย, ตาม |
pertain | (vi) เกี่ยวกับ, เป็นของ, ในเรื่อง |
regarding | (pre) ในเรื่อง, เกี่ยวกับ |
therein | (adv) ในที่นั้น, ในเรื่องนั้น |
toward | (pre) ไปต่อ, ในเรื่อง, ไปทาง, เกี่ยวกับ, เนื่องจาก |
towards | (pre) ไปต่อ, ในเรื่อง, ไปทาง, เกี่ยวกับ, เนื่องจาก |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
as to | ในเรื่องของ , เกี่ยวกับ |
good at | [กู๊ด แอท] (adj, slang) เก่ง, มีความสามารถในด้าน, ทำได้ดีในเรื่อง |
lifesaver | [ชีพ-พะ-รัก-สิก] (n) ชีพรักษิก = ผู้ที่มีความรู้ในเรื่องการช่วยชีวิตทางน้ำ การปฐมพยาบาล การนวดหัวใจผายปอด แต่มิได้เป็นที่ประกอบวิชาชีพ ชีพบาล โดยตรง |
mansplaining | การกระทำที่ผู้พูด อธิบายหรือแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งต่างๆ ให้แก่ผู้ฟังในลักษณะที่ทำตัวเหนือกว่า, คิดว่าฝ่ายผู้ฟังไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ หรือ ใช้คำอธิบายในลักษณะที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายจนเกินสมควรเช่นเหมือนอธิบายเด็ก ดูคำอธิบายเพิ่มเติม |
rickrolling | (n) เป็นการหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ตประเภทหนึ่ง ที่ผู้หลอก แสดงลิงค์ในเรื่องที่ผู้อ่านสนใจแต่เมื่อคลิ๊กลิงค์นั้นๆไปแล้ว เนื้อหาที่ปรากฏกลับเป็นมิวสิควีดีโอของ Rick Astley ในเพลง Never Gonna Give You Up |
เมพขิงๆ | (phrase, slang) มาจากการพิมพ์คำว่า เทพจิงๆ ผิด, ซึ่งเพี้ยนมาจาก เทพจริงๆ อีกที ซึ่งแปลว่า เก่งจริงๆ, เหนือชั้นจริงๆ เป็นภาษาตามสมัยนิยม ใช้กันมากในอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บบอร์ด, เกมออนไลน์ โดยคำว่าเทพในที่นี้ใช้ในความหมายว่า เก่งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากๆ, เนื่องจากแป้นคีย์บอร์ด ตัว ท กับ ม ติดกัน และ ข กับ จ ติดกัน |
แรด | (n, vt) N = บุคคลที่แสดงกริยาท่าทางในเชิงลบ ในเรื่องหรือ/และการกระทำต่อเพศตรงข้าม คำนี้มีความหมายตรงข้ามเรียบร้อย เช่น สมศรีแรดมาก S = สามารถใช้เป็นคำแสลง เพื่อแสดงออกในกริยา เช่น วันนี้เค้าไปแรดมา เห็นว่าได้เสื้อมา 2 ตัว (แรด ในที่นี้มีความหมายว่า ไปซื้อของ), See also: A. เรียบร้อย, Syn. กระซู่ |
Longdo Approved JP-TH
上手 | [じょうず, jouzu] (adj) เก่ง (ในเรื่องนั้นๆ ) |
Longdo Approved DE-TH
sich äußern | (vt) |äußerte sich, hat sich geäußert| พูด หรือ แสดงความคิดเห็น เช่น Ich möchte mich über unsere Teamarbeit äußern. = ผมอยากจะแสดงความเห็นในเรื่องงานที่เราทำด้วยกัน หรือ งานกลุ่ม ( กริยา ตามด้วย กรรมตรง เช่น mich ในประโยคตัวอย่าง ), See also: meinen, sagen, das Gefühl erklären, die Meinung geben, A. schw, Syn. die Meinung sagen |
Kosten | (n) |nur Pl.| ผลรวมรายจ่ายในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง, ค่าใช้จ่าย เช่น Die beiden Politiker haben ihre Asienreise auf eigene Kosten gemacht. นักการเมืองสองท่านนี้ใช้เงินส่วนตัวจ่ายค่าเดินทางไปทวีปเอเซีย, See also: Related: Ausgaben, Unkosten |
Unkosten | (n) |nur Pl.| รายจ่ายหรือค่าใช้จ่ายข้างเคียง (ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับค่ารายจ่ายปกติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง) เช่น Bei unserer Japan-Reise entstanden uns neben den Ausgaen für den Flug Unkosten in Höhe von 1000 Euro. ตอนที่ไปเที่ยวที่ญี่ปุ่น เราใช้จ่ายไปหนึ่งพันยูโรนอกเหนือจากค่าเครื่องบิน, See also: Related: Ausgaben, Kosten |
von etwas ausgehen | (phrase) เชื่อมันหรือแน่ใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น Ich gehe davon aus, dass Peter nicht mit uns mitkommt. ฉันแน่ใจว่าปีเตอร์จะไม่ไปกับเราด้วย |
Longdo Unapproved DE-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
*nblick { m }; Ansicht { f }; Sicht { f }; Blick { m }; Aus* | n. ภาพ, ทิวทัศน์, ทัศนวิสัย, ทรรศนะ, สายตา, การมอง, การสังเกต, ข้อคิดเห็น, ทัศนคติ, จุดประสงค์, เจตนา, จุดมุ่งหมาย, การสำรวจทั่วไป, -Phr. (in view ภายในแนวสายตา ภายใต้การพิจารณา) -Phr. (in view of เมื่อพิจารณาถึงในเรื่องเกี่ยวกับ) vt. ดู, มอง, สังเกต, สำรวจ, ตรวจสอบ |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0741 seconds, cache age: 8.621 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม