194 ผลลัพธ์ สำหรับ *สถานะ*
ภาษา
หรือค้นหา: สถานะ, -สถานะ-Longdo Unapproved JP - JP
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
三位一体改革 | (n) ปฏิรูปแบบตรีเอกานุภาพ(เป็นนโยบายหลักนโยบายหนึ่งของอดีตนายกรัฐมนตรีโคอิซึมิ ซึ่งเป็นแนวนโยบายเพื่อการปฏิรูปเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานะทางการคลังขององค์กรปกครองท้องถิ่น ซึ่งแนวคิดของนโยบายนี้เสนอให้มีการปฏิรูปทั้งสามด้านพร้อมกันเป็นหนึ่งแพคเกจ ดังนั้นนายกรัฐมนตรีโคอิซึมิ จึงเรียกการปฏิรูปนี้ว่า"การปฏิรูปแบบตรีเอกานุภาพ สามด้านที่ต้องปฏิรูปก็คือ การปฏิรูปเรื่องภาษีของท้องถิ่น การปฏิรูปเรื่องเงินอุดหนุนแบบให้เปล่าเพื่อประกันรายได้ให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นที่มีรายได้ไม่เพียงพอ และการปฏิรูปด้านการให้เงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
สถานะ | (n) state, See also: condition, situation, Example: หากวัดไม่รู้จักปรับปรุงสถานะของตน ก็จะเหลือพิธีกรรมอันล้าสมัยไว้, Count Unit: สถานะ, Thai Definition: ความเป็นไป, ความเป็นอยู่ |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
สถาน- ๒, สถานะ | (สะถานะ-) น. ความเป็นไป, ความเป็นอยู่, เช่น เขาอยู่ในสถานะยากไร้ เศรษฐกิจของประเทศไทยมีสถานะมั่นคง น้ำมีสถานะปรกติเป็นของเหลว. |
ก๊าซ | น. อากาศธาตุ, (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสาร รูปร่างและปริมาตรไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ, เรียกไฟซึ่งเกิดจากการจุดอะเซทิลีน ซึ่งได้จากก้อนแคลเซียมคาร์ไบด์ทำปฏิกิริยากับนํ้า ว่า ไฟก๊าซ, แก๊ส ก็ว่า. |
แก๊ส | น. อากาศธาตุ, (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสาร รูปร่างและปริมาตรไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ, เรียกไฟซึ่งเกิดจากการจุดอะเซทิลีน (acetylene) ซึ่งได้จากก้อนแคลเซียมคาร์ไบด์ทำปฏิกิริยากับน้ำว่า ไฟแก๊ส, ก๊าซ ก็ว่า. |
ของแข็ง | สถานะหนึ่งของสสารซึ่งมีทั้งรูปร่างและปริมาตรคงตัว. |
ของเหลว | สถานะหนึ่งของสสารซึ่งมีปริมาตรคงตัว แต่รูปร่างเปลี่ยนไปได้ตามภาชนะที่รองรับ, สถานะระหว่างแก๊สกับของแข็ง. |
ไข ๑ | น้ำมันที่มีสถานะเป็นของแข็งเนื่องจากอยู่ในอุณหภูมิต่ำ. |
จุดเดือด | น. อุณหภูมิขณะที่ความดันสูงสุดของไอของของเหลวเท่ากับความกดของบรรยากาศ ณ อุณหภูมินี้ ของเหลวจะเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอได้ทั่วทั้งหมด. |
จุดเยือกแข็ง | น. อุณหภูมิที่เกิดภาวะสมดุลระหว่างของแข็งกับของเหลว ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, อุณหภูมิที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, (อุณหภูมินี้เป็นอุณหภูมิเดียวกับจุดหลอมเหลวของสารเดียวกัน). |
จุดหลอมเหลว | น. อุณหภูมิที่เกิดภาวะสมดุลระหว่างของแข็งกับของเหลว ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, อุณหภูมิที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, (อุณหภูมินี้เป็นอุณหภูมิเดียวกับจุดเยือกแข็งของสารเดียวกัน). |
ฉาบหน้า | ก. เสแสร้งเพื่อให้เข้าใจว่ามีสถานะดีกว่าที่เป็นจริง. |
มัน ๓ | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง สำหรับผู้ใหญ่เรียกผู้น้อย มีเด็กเป็นต้นตามสถานะที่ควร สำหรับเรียกผู้อื่นอย่างไม่ยกย่อง และสำหรับเรียกสัตว์หรือสิ่งอื่นทั่ว ๆ ไปตามที่ควร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. |
ร่วม | ก. มีส่วนรวมอยู่ด้วยกัน เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน, มีส่วนรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ร่วมใจ ร่วมสามัคคี, มีส่วนรวมในที่แห่งเดียวกัน เช่น ร่วมโรงเรียน ร่วมบ้าน ร่วมห้อง ร่วมหอ, มีส่วนรวมในภาวะหรือสถานะเดียวกัน เช่น เพื่อนร่วมชาติ มีศัตรูร่วมกัน ทำบุญร่วมญาติ ร่วมเป็นร่วมตาย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมชะตากรรม. |
แรง ๒ | น. อิทธิพลภายนอกใด ๆ ที่เปลี่ยนแปลงหรือพยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะอยู่นิ่งหรือสถานะการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอในแนวเส้นตรง. |
ลอยแพ | ก. จับใส่แพแล้วปล่อยให้ลอยล่องไปในน้ำตามยถากรรม เช่น สมัยโบราณเอาคนชั่วลอยแพไป นางกากีถูกลอยแพ, โดยปริยายหมายถึง ปล่อยให้ตกอยู่ในสถานะลำบาก เช่น โรงงานขาดทุนต้องปิดกิจการ คนงานจึงถูกลอยแพ. |
ศักดินา | น. อำนาจหรือสิทธิที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานให้แก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินตามศักดิ์ของแต่ละคน เดิมเป็นการถือครองที่ดินคิดเป็นจำนวนไร่ ต่อมาถือเป็นการกำหนดสถานะ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคนในสังคม เช่น มหาอุปราช มีศักดินา ๑๐๐๐๐๐ เจ้าพระยาจักรี มีศักดินา ๑๐๐๐๐ ภิกษุรู้ธรรม เสมอนา ๖๐๐ ไพร่มีครัว มีศักดินา ๒๐ ยาจก วณิพก ทาส ลูกทาส มีศักดินา ๕ (สามดวง) |
สัญชาติ | สถานะตามกฎหมายของบุคคลที่แสดงว่าเป็นพลเมืองหรือคนในบังคับของประเทศใดประเทศหนึ่ง. |
สายยงยศ | น. สายที่ข้าราชการทหารหรือตำรวจใช้เพื่อแสดงสถานะ มี ๓ ชนิด ได้แก่ สายยงยศราชองครักษ์ สายยงยศเสนาธิการ และสายยงยศนายทหารคนสนิท. |
หลอมละลาย, หลอมเหลว | ก. เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว. |
หลอมละลาย, หลอมเหลว | น. เรียกอุณหภูมิที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว ว่า จุดหลอมละลาย จุดหลอมเหลว ขีดหลอมละลาย หรือ ขีดหลอมเหลว. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
phase-change storage | ๑. ตัวสะสมแบบเปลี่ยนสถานะ๒. การสะสมแบบเปลี่ยนสถานะ [พลังงาน ๒๖ ม.ค. ๒๕๔๕] |
position of strength | สถานะที่เป็นต่อ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
status quo (L.) | สถานะเดิม, ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
status quo ante bellum (L.) | สถานะเดิมก่อนสงคราม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
state | ๑. รัฐ, ประเทศ๒. สถานะ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
situation | สถานะ, สถานการณ์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
situation of danger | สถานะอันตราย, สถานการณ์อันตราย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
solid state diffusion welding | การเชื่อมแบบแพร่ในสถานะของแข็ง [การเชื่อม ๒๐ ก.ย. ๒๕๔๔] |
solid-phase storage | ๑. ตัวสะสมในสถานะของแข็ง๒. การสะสมในสถานะของแข็ง [พลังงาน ๒๖ ม.ค. ๒๕๔๕] |
state of the population | สถานะของประชากร [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
state of war | ภาวะสงคราม, สถานะสงคราม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
state of war | สถานะสงคราม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
state | ๑. รัฐ, ประเทศ, มลรัฐ (สหรัฐอเมริกา)๒. สถานะ, สถานการณ์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
state | สถานะ [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] |
state diagram | แผนภาพสถานะ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
status | สถานภาพ, สถานะ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
status quo (L.) | สถานะเดิม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
steady state condition | ภาวะสถานะคงตัว [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] |
state space | ปริภูมิสถานะ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
state transition | การเปลี่ยนสถานะ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
state variable | ตัวแปรสถานะ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
observer status | สถานะผู้สังเกตการณ์ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
anachorism | อสถานะ [วรรณกรรม ๖ มี.ค. ๒๕๔๕] |
finite state machine | เครื่องสถานะจำกัด [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
zero state | สถานะศูนย์ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
transition matrix | เมทริกซ์เปลี่ยนสถานะ [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] |
war, state of | ภาวะสงคราม, สถานะสงคราม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
war, state of | สถานะสงคราม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Gas/Liquid Separator | ระบบแยกสถานะ, Example: เป็นระบบที่ใช้แยกก๊าซ น้ำมันและน้ำ ออกจากกัน โดยใช้หลักการของความแตกต่างของสถานะของสสารรวมถึงค่าความถ่วงจำเพาะในกรณีที่เป็นของเหลวเหมือนกัน เช่น แยกน้ำออกจากน้ำมัน ทั้งนี้ขึ้นกับการออกแบบอุปกรณ์ของแต่ละระบบ [ปิโตรเลี่ยม] |
Decay, radioactive | การสลาย(กัมมันตรังสี), การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิวไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์] |
Disintegration, radioactive | การสลายกัมมันตรังสี, การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิวไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์] |
Excited state | สถานะถูกกระตุ้น, สถานะของนิวเคลียส อิเล็กตรอน อะตอม หรือโมเลกุล ขณะเมื่อมีพลังงานสูงกว่าระดับปกติ พลังงานส่วนเกินของนิวเคลียสมักถูกปลดปล่อยเป็นรังสีแกมมา สำหรับพลังงานส่วนเกินของโมเลกุลอาจปรากฏในลักษณะการเรืองแสงหรือความร้อน (ดู ground state ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Unsealed source | ต้นกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดผนึก, วัสดุกัมมันตรังสีที่ไม่เป็นไปตามคำนิยามของต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก เช่น วัสดุกัมมันตรังสีไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใดๆ ที่ไม่ได้มีการบรรจุหรือห่อหุ้มปิดผนึกด้วยโลหะหรือวัสดุอื่นใดอย่างมิดชิดถาวร การใช้ต้นกำเนิดรังสีชนิดนี้ อาจเกิดการแพร่กระจาย ฟุ้งกระจาย หกเปรอะเปื้อน ซึมรั่ว ออกจากภาชนะที่บรรจุได้ [นิวเคลียร์] |
Radioactive waste | กากกัมมันตรังสี, วัสดุที่อยู่ในสถานะของแข็ง ของเหลว หรือ แก๊ส ที่เป็น หรือประกอบด้วย หรือปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตรังสีที่มีค่ากัมมันตภาพรังสีสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งผู้ครอบครองวัสดุนั้นไม่ประสงค์จะใช้งานอีกต่อไป และให้หมายความรวมถึงวัสดุอื่นใดที่คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ กำหนดให้เป็นกากกัมมันตรังสีด้วย <br>(ดู clearance level ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Radioactive decay | การสลายกัมมันตรังสี, การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิ วไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์] |
Kinds | ตัวอักษรที่มักแสดงต่อท้ายตรงหมายเลขสิทธิบัตร เป็นการแสดงถึงสถานะของเอกสารสิทธิบัตรที่ยื่นขอ, ตัวอักษรที่มักแสดงต่อท้ายตรงหมายเลขสิทธิบัตร เป็นการแสดงถึงสถานะของเอกสารสิทธิบัตรที่ยื่นขอ, Example: ตัวอย่าง DE1234A1 หมายถึงคำโฆษณาที่ยื่นขอเปิดเผยให้สาธารณะตรวจสอบ ส่วน DE1234C1 หมายถึงเอกสารสิทธิบัตรที่ได้รับอนุมัติของสำนักงานสิทธิบัตรเยอรมนี [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
PWR type reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ออกแบบให้น้ำภายใต้ความดันสูงในแกนเครื่อง ปฏิกรณ์นิวเคลียร์ มีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำ แล้วถ่ายโอนความร้อนไปให้น้ำอีกระบบหนึ่งกลายเป็นไอไปหมุนกังหันเพื่อ ผลิตกระแสไฟฟ้า [นิวเคลียร์] |
Prompt criticality | ภาวะวิกฤตพรอมต์, สถานะของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ปฏิกิริยาลูกโซ่ของการแบ่งแยกนิวเคลียสสามารถคงอยู่ต่อไปโดยพรอมต์นิวตรอนเท่านั้น, Example: [นิวเคลียร์] |
Pressurized water reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ออกแบบให้น้ำภายใต้ความดันสูงในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ มีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำ แล้วถ่ายโอนความร้อนไปให้น้ำอีกระบบหนึ่งกลายเป็นไอไปหมุนกังหันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า, Example: [นิวเคลียร์] |
Pressurized water cooled moderated reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ออกแบบให้น้ำภายใต้ความดันสูงในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ มีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำ แล้วถ่ายโอนความร้อนไปให้น้ำอีกระบบหนึ่งกลายเป็นไอไปหมุนกังหันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า [นิวเคลียร์] |
flip-flop | <p>ฟลิป-ฟลอป</p>วงจรซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงสถานะกลับไปกลับมาระหว่างสถานะสองแบบได้เมื่อได้รับสัญญาณพัลส์ [คอมพิวเตอร์] |
Isomer | ไอโซเมอร์, นิวไคลด์ที่มีจำนวนนิวตรอนและโปรตอนในนิวเคลียสเท่ากัน แต่มีสถานะพลังงานต่างกัน เช่น Tc-99m เป็นไอโซเมอร์กับ Tc-99 [นิวเคลียร์] |
Ground state | สถานะพื้น , สถานะของนิวเคลียส อิเล็กตรอน อะตอม หรือโมเลกุล ขณะมีระดับพลังงานปกติ ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุด <br>(ดู excited state ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Fission gases | แก๊สฟิชชัน, <font color="#8b0000">ผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียส</font>ที่มีสถานะเป็นแก๊ส เช่น คริปทอนและซีนอน ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า [นิวเคลียร์] |
Free radical | อนุมูลเสรี, อนุมูลอิสระ, ธาตุ หรือ หมู่ธาตุที่มีอิเล็กตรอนเดี่ยว (unpaired electron) อยู่ในโครงสร้าง เกิดขึ้นจากการกระตุ้นโมเลกุลของสารด้วยปฏิกิริยาเคมีหรือพลังงานบางชนิด ส่วนใหญ่มีความไวในการทำปฏิกิริยาเคมี เนื่องจากต้องการจับคู่กับอิเล็กตรอนอื่นเพื่อเข้าสู่สถานะเสถียร อนุมูลเสรีใช้จุดทึบเป็นสัญลักษณ์ เช่น H•, Example: [นิวเคลียร์] |
Due diligence | การตรวจสอบวิเคราะห์สถานะ, Example: การตรวจสอบและประเมินทรัพย์สินตลอดจนหนี้สินของบริษัทว่ามีมูลค่าถูกต้องครบถ้วนตามบัญชีและมีอยู่จริง ซึ่งในการตรวจสอบและประเมินมูลค่าดังกล่าว ผู้กระทำได้ใช้ความระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพอย่างเพียงพอวิธีการนี้มักจะใช้ในกรณีซื้อขายหรือเลิกกิจการ [ตลาดทุน] |
Phase transformations (Statistical physics) | การแปลงสถานะ (ฟิสิกส์เชิงสถิติ) [TU Subject Heading] |
Solid state electronics | อิเล็กทรอนิกส์สถานะของแข็ง [TU Subject Heading] |
Solid state physics | ฟิสิกส์สถานะของแข็ง [TU Subject Heading] |
Transition metal oxides | ออกไซด์ของโลหะเปลี่ยนสถานะ [TU Subject Heading] |
Vapor-liquid equilibrium | สมดุลสถานะระหว่างของเหลวกับไอ [TU Subject Heading] |
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy | ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต] |
Asian Development Bank | ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 มีสมาชิกทั้งหมด 59 ประเทศ (สถานะเมื่อ เดือนตุลาคม 2543) แบ่งเป็นประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 43 ประเทศ (รวมทั้งไทย) และประเทศที่อยู่นอกภูมิภาคอีก 16 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ [การทูต] |
Ambassador | เอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว [การทูต] |
Australia-New Zealand-US | สนธิสัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์-สหรัฐอเมริกา " โดยตกลงให้มีการช่วยเหลือประเทศสมาชิกเมื่อถูกคุกคามจากประเทศนอกภาคี ปัจจุบัน ANZUS ยังคงสถานะอยู่แต่ไม่มีการดำเนินการใด ๆ (non-operational) เนื่องจากความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับนิวซีแลนด์ยุติลง โดยนิวซีแลนด์ยังไม่ละทิ้งสนธิสัญญา ดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าอาจจะมีการรื้อฟื้นขึ้นอีก " [การทูต] |
ASEAN Charter | กฎบัตรอาเซียน เป็นความตกลงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จะให้สถานะทางกฎหมายหรือนิติฐานะแก่อาเซียน และวางกรอบโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อทำให้อาเซียนเป็นหน่วยงานที่ยึดมั่นมาก ยิ่งขึ้นต่อกติกาและกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ประเทศสมาชิกร่วมกันกำหนดขึ้น อันจะนำมาซึ่งการเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนยังมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชน เป็นศูนย์กลางของความร่วมมือมากยิ่งขึ้นด้วยการจัดตั้งองค์กรใหม่ๆ เพื่อปกป้องและส่งเสริมผลประโยชน์ของประชาชนอาเซียน เช่น องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ร่วมลงนามกฎบัตรฯ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 [การทูต] |
Convention on the Rights of the Child | อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ได้รับการรับรองจากสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2532 โดยอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2533 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อคุ้มครองสิทธิของเด็ก (บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี) เพื่อให้ได้รับการศึกษา การดูแล ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือกระทำทารุณกรรม ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่เป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว 191 ประเทศ คงเหลือโซมาเลียและสหรัฐอเมริกาที่ยังมิได้ให้สัตยาบัน ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กด้วยการภาคยานุวัติ อนุสัญญาฯ มีผลปังคับใช้กับประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2535 ขณะนี้ไทยยังคงมีข้อสงวน 2 ข้อ คือ ข้อ 7 เรื่องสัญชาติ และ ข้อ 22 เรื่องการให้สถานะเป็นผู้ลี้ภัย [การทูต] |
Great Powers | ประเทศมหาอำนาจ รัฐที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นประเทศมหาอำนาจ คือรัฐที่มีอำนาจอิทธิพลครอบงำในกิจการระหว่างประเทศ ไม่มีกฎหมายใดๆ ที่จะกำหนดว่าประเทศนั้น ประเทศนี้มีสถานภาพเป็นมหาอำนาจ หากเป็นเพียงเพราะรัฐนั้นๆ มีขนาด พละกำลัง และอำนาจอิทธิพลทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐาน และจะสังเกตได้ว่า สถานะของกลุ่มประเทศมหาอำนาจเช่นนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงได้บ่อยๆ เช่น ในสมัยการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาในปี ค.ศ. 1815 ประเทศมหาอำนาจในสมัยนั้นได้แก่ อังกฤษ ออสเตรีย ฝรั่งเศส ปอร์ตุเกส ปรัสเซีย สเปน สวีเดน และรัสเซีย หลังจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่เกี่ยวกับพละกำลังของประเทศมหาอำนาจ คือก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ หนึ่ง ประเทศที่จัดว่าเป็นมหาอำนาจในตอนนั้นคือ อังกฤษ ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปยุโรป รวมทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่นอกยุโรป เมื่อตอนสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศที่เป็นมหาอำนาจได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ โซเวียตรัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน พึงสังเกตด้วยว่า องค์การสหประชาชาติได้ถือว่า ประเทศทั้ง 5 นี้มีอำนาจและมีความสำคัญมากที่สุดในขณะนั้น ทั้ง 5 ประเทศนี้ต่างเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ซึ่งมีอำนาจใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในที่ประชุม ซึ่งในปัจจุบันก็ยังปฏิบัติเช่นนั้นอยู่ [การทูต] |
Honorary Consul | กงสุลกิตติมศักดิ์ " ได้แก่ บุคคลในท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งและมอบหมายให้ดูแล ส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศและคนชาติในพื้นที่ในเขตอาณา และดำเนินการตรวจลงตราหนังสือเดินทางแก่บุคคลที่จะเดินทางเข้าประเทศที่ กงสุลกิตติมศักดิ์เป็นผู้แทน การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ และต้องยื่นสัญญาบัตร และได้รับอนุมัติบัตรเช่นเดียวกับผู้แทนฝ่ายกงสุลอาชีพ (career consular officer) ทั้งนี้ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์จะได้รับมอบหมายให้ดูแลเขตอาณาที่ครอบคลุมพื้นที่ กว้างกว่าและสำคัญกว่า ในส่วนของไทย กงสุลกิตติมศักดิ์แตกต่างจากกงสุลอาชีพใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) กงสุลกิตติมศักดิ์ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม หรือเป็นผู้นำที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับไทย (2) กงสุลกิตติมศักดิ์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสำนักงาน ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์หรือสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ทั้งหมด (3) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุลน้อยกว่ากงสุลอาชีพ ในการปฏิบัติงานของกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยจะมีคู่มือกงสุลกิตติมศักดิ์ เป็นระเบียบกฎเกณฑ์และข้อมูลสำหรับการปฏิบัติงาน " [การทูต] |
International Finance Corporation | บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ มีความเกี่ยวเนื่องกับธนาคารโลก แม้ว่าจะมีสถานะเป็นองค์กรแยก ต่างหาก IFC มีหน้าที่สนับสนุนภาคเอกชนในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ [การทูต] |
International Labor Organization | องค์การแรงงานระหว่างประเทศ มีสถานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษ ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ มีหน้าที่ส่งเสริมปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงาน โดยการตั้งมาตรฐานในด้านค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน เงื่อนไขการว่าจ้าง และการประกันสังคม [การทูต] |
No Objection Certificate | เป็นเอกสารรับรองว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย กระทรวงการต่างประเทศไทยไม่มีข้อขัดข้องสำหรับบุคคลที่จะนำเอกสารนี้ไปใช้ เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาของต่างประเทศตามคำร้องขอของรัฐบาล ปากีสถาน หรือใช้ในการขอเปลี่ยนแปลงสถานะวีซ่าจากประเภทหนึ่งไปยังอีกประเภทหนึ่งตาม ที่ต่างประเทศนั้น ๆ เป็นผู้กำหนด กรณีนักศึกษาไทยไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกาโดยวีซ่านักเรียน แต่ภายหลังประสงค์จะขอเปลี่ยนวีซ่าเป็นวีซ่าทำงานตามกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง ของสหรัฐอเมริกา [การทูต] |
Passport | หนังสือเดินทาง คือเอกสารทางราชการที่ใช้แสดงตัวและสัญชาติ ซึ่งทางราชการออกให้แก่บุคคลที่จะเดินทางไป หรือพำนักอยู่ชั่วคราวในต่างประเทศเมื่อสมัยก่อนสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศต่าง ๆ มิได้ขอให้คนต่างด้าวที่จะเข้าไปในประเทศของตนต้องมีหนังสือเดินทาง มีการเริ่มใช้หนังสือเดินทางอย่างแพร่หลายก็ในระยะหลังสงครามดังกล่าว ทุกวันนี้ ประเทศส่วนมากในโลกต่างต้องการให้คนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้าไปในดินแดนของ ตนมีหนังสือเดินทางซึ่งได้รับการตรวจลงตรา (Visa) โดยถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนเสียก่อน อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ประเทศส่วนมากได้มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนในต่าง ประเทศเป็นผู้ออกหนังสือเดินทางได้ด้วยหนังสือเดินทางที่ใช้กันในปัจจุบันมี อยู่หลายประเภทอันได้แก่1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic passports ) ออกให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งเอกอัครราชทูต อัครราชทูต เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งทางการทูต รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น2. หนังสือเดินทางพิเศษ (Special passports) ออกให้ แก่ข้าราชการที่ไม่มีสถานะทางการทูต และบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น3. หนังสือเดินทางธรรมดา ( Regular passports ) ออกให้แก่บุคคลธรรมดา (Private persons) ซึ่งมีสิทธิจะขอหนังสือเดินทางดังกล่าวได้ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของ ประเทศของตนมีบางประเทศได้ออกหนังสือเดินทางประเภทอื่น นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นด้วยเหตุผลเฉพาะ เช่น ภายใต้ระบบของสหรัฐอเมริกา มีการออกหนังสือเดินทางที่เรียกว่า1. หนังสือเดินทางบริการ (Service passports) ออกให้แก่คนอเมริกัน หรือชนชาติที่สวามิภักดิ์ต่อสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในต่างประเทศ2. หนังสือเดินทางบุคคลในครอบครัว (Dependent passports) ออกให้แก่บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางนี้ในกรณีที่เดินทางไปชั่วคราว หรือพำนักอยู่นาน ๆ ในต่างประเทศในฐานะที่เป็นบุคคลในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ หรือพลเรือนอเมริกันที่ยังรับราชการอยู่นอกเขตประเทศสหรัฐอเมริกา [การทูต] |
persons of concern | บุคคลในความห่วงใย หมายถึง ผู้หนีภัยจากการประหัตประหารที่มิได้มีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย หรือผู้พลัดถิ่น แต่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) จะดูแลช่วยเหลือโดยมีสถานะพิเศษตามที่ได้ตกลงกับประเทศผู้รับ [การทูต] |
self-determination | การกำหนดใจตนเอง หมายถึง สิทธิและเสรีภาพในการที่จะให้ชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในประเทศใดประเทศหนึ่ง ตัดสินหรือกำหนดสถานะด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของตน โดยเลือกที่จะอยู่อย่างเดิมหรือแยกตัวออกไป [การทูต] |
visit | การเยือน " - State Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในระดับประมุขของรัฐ หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญของต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ ที่มีสถานะเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดี โดยเป็นการเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐผู้รับ รัฐผู้รับจะจัดพิธีการต้อนรับอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Official Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของ รัฐบาล หมายถึง การเยือนเป็นทางการของประมุขของรัฐ มกุฎราชกุมาร หัวหน้ารัฐบาล หรือหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่ง เทียบเท่า โดยเป็นแขกรับเชิญของรัฐบาล และจัดพิธีการรับรองต่าง ๆ อย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Visit as Guest of the Royal Thai Government การเยือนในฐานะแขกของรัฐบาล หมายถึง การเยือนของประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้า องค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าซึ่งไม่ได้เดินทางมาเยือนอย่าง เป็นทางการหรือเพื่อเจรจาทำงาน รวมทั้งการเสด็จฯ เยือนของพระราชวงศ์ รองประธานาธิบดีและบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งเทียบเท่า ซึ่งรัฐบาลไทยปรารถนาที่จะแสดงไมตรีจิตโดยเชิญให้มาเยือนประเทศไทยในฐานะแขก ของรัฐบาล และจัดการต้อนรับให้ เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเยือนในแต่ละกรณี - Working Visit การเยือนเพื่อเจรจาทำงาน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล และหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เจรจาในปัญหาหรือประเด็นใดเป็นการเฉพาะในระยะเวลาอันสั้น - Visit as Guest of Their Majesties the King and Queen of Thailand การเยือนในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ หมายถึง การเสด็จเยือนของพระราชวงศ์ต่างประเทศ หรือการเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ ในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วน พระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ - Private Visit การเยือนส่วนตัวหรือแวะผ่าน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ พระราชวงศ์ หัวหน้ารัฐบาล หรือผู้นำองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่า และบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเยือนเป็นการส่วนตัวหรือการแวะผ่านประเทศในระยะเวลา อันสั้น รัฐผู้รับจะจัดการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้ตามความเหมาะสม " [การทูต] |
Phase | สถานะ [พลังงาน] |
unsealed source | ต้นกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดผนึก, หมายถึง วัสดุกัมมันตรังสีที่ไม่เป็นไปตามคำนิยามของต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก ได้แก่ วัสดุกัมมันตรังสี ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใดๆ ที่ไม่ได้มีการบรรจุหรือห่อหุ้มปิดผนึกด้วยโลหะ หรือวัสดุอื่นใดอย่างมิดชิดถาวร การใช้ต้นกำเนิดรังสีชนิดนี้ อาจเกิดการแพร่กระจาย ฟุ้งกระจายหกเปรอะเปื้อน ซึมรั่วออกจากภาชนะบรรจุได้ [พลังงาน] |
ก๊าซหุงต้ม | ผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติและจากกระบวนการกลั่นน้ำมัน ดิบในโรงกลั่นน้ำมัน มีจุดเดือดอยู่ระหว่าง –420C – 0.50C เป็นของผสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอน 3-4 อะตอม มีสถานะเป็นก๊าซ ที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน ยานพาหนะ และในโรงงานอุตสาหกรรม [ปิโตรเลี่ยม] |
dropping point | จุดหยด, จุดหยด อุณหภูมิที่ทำให้จาระบีเปลี่ยนแปลงจากสถานะกึ่งของแข็งเป็นของเหลว จาระบีที่มีส่วนผสมของ Thickeners ที่แตกต่างกัน จะมีอุณหภูมิการเปลี่ยนแปลงสถานะที่แตกต่างกัน ดังนั้นจุดหยดของจาระบีสามารถใช้จำแนกประเภทของจาระบีได้ มีประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพของจาระบี [ปิโตรเลี่ยม] |
Reclaimed rubber | ยางรีเคลมได้มาจากการนำเอาผลิตภัณฑ์ยางเก่าที่ใช้แล้ว เช่น ยางล้อรถยนต์ ยางในรถยนต์ หรือยางคงรูปที่เป็นของเสียซึ่งเกิดระหว่างกระบวนการผลิต มาผ่านกรรมวิธีโดยความร้อนและเคมี ยางจะเกิดการดีพอลิเมอไรซ์ (depolymerize) เปลี่ยนจากสภาพคงรูป (vulcanized) และมีความยืดหยุ่น (elasticity ) กลับคืนไปสู่สถานะแรกเริ่ม คือ ไม่มีความคงรูป (unvulcanised) และไม่มีความยืดหยุ่น (plasticity )* ได้เป็นยางรีเคลมที่มีลักษณะกึ่งของแข็งและของเหลว (paste-like ) ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ปกติจะใช้ยางรีเคลมผสมกับยางธรรมชาติสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่คำนึงถึงความ แข็งแรงและความ ทนทานมากนัก *Plasticity คือ ความโน้มเอียงของวัสดุที่จะเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปอย่างถาวรเมื่อได้รับ แรงกระทำ [เทคโนโลยียาง] |
Volatile fatty acid number | จำนวนกรดไขมันระเหย หมายถึง ปริมาณของกรดไขมันระเหยที่เกิดขึ้นโดยการไฮโดรไลซิสของคาร์โบไฮเดรตในเซรุ่ม ของน้ำยาง กรดเหล่านี้ประกอบด้วยกรดแอซิติก กรดฟอร์มิก และกรดพรอพิโอนิก เป็นส่วนใหญ่ หรือหมายถึง จำนวนกรัมของโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ที่ทำให้กรดไขมันระเหยทั้งหมดในน้ำยางที่ มีปริมาณของแข็งทั้งหมด 100 กรัม เป็นกลาง ค่า VFA No. เป็นค่าที่บ่งชี้ถึงสถานะการเสียสภาพ ถ้าค่า VFA No. สูง แสดงว่าน้ำยางถูกเชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายมาก เกิดกรดไขมันระเหยมาก ทำให้สูญเสียสภาพการเป็นคอลลอยด์ เกิดการบูดเน่าและจับเป็นก้อนได้ [เทคโนโลยียาง] |
De-Excitation | กลับจากสถานะโลดสู่สถานะปกติ [การแพทย์] |
Electronic Excited State | สถานะกระตุ้นอิเล็กทรอนิก [การแพทย์] |
Equation of State | สมการของสถานะ [การแพทย์] |
Excited State | สถานะกระตุ้น, สภาวะเร่งเร้า [การแพทย์] |
Fear Producing Situation | สถานะที่ทำให้เกิดความกลัว [การแพทย์] |
สุขภาพจิตกลุ่มพิเศษ | การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน ในกลุ่มคนที่มีความเฉพาะตามสถานะหรือบทบาท, Example: ได้แก่ ผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น เอดส์ มะเร็ง เบาหวาน หรือ ผู้พิการ ผู้ต้องขัง และผู้ประสบภัย เป็นต้น ซึ่งจะเน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะในการดำเนินงาน อีกทั้งโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีผู้ที่คอยช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านั้นในการปรับตัว ด้วย แน่นอนว่าจะต้องดำเนินงานกับกลุ่มผู้ที [สุขภาพจิต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
สถานะ | [sathāna] (n) EN: state ; condition ; situation ; status FR: état [ m ] ; condition [ f ] |
สถานะเดิม | [sathāna doēm] (n, exp) EN: status quo ante |
สถานะสงคราม | [sathāna songkhrām] (n, exp) EN: state of war FR: état de guerre [ m ] |
Longdo Approved EN-TH
primogeniture | (n) สถานะการเป็นลูกคนโต, สิทธิที่จะได้รับมรดกจากพ่อแม่ของลูกคนโต |
vaporization | (n) การกลายเป็นไอ, การทำให้เป็นไอ, สถานะที่เป็นไอ เช่น Understanding the equilibrium between liquid and vapor phases is very important for such practical applications as distillation and vaporization. |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
character | (n) สถานภาพ, See also: สถานะ, ตำแหน่ง, Syn. status |
condition | (n) สถานะภาพทางสังคม |
demote | (vt) ลดชั้น, See also: ลดระดับ, ลดสถานะภาพ, ลดตำแหน่ง, Syn. degrade, displace, Ant. promote, upgrade |
elevated | (adj) มียศสูงขึ้น, See also: มีตำแหน่งสูงขึ้น, มีสถานะสูงขึ้น |
ex cathedra | (adv) ด้วยอำนาจตามตำแหน่งหรือสถานะ (คำทางการ), See also: โดยอำนาจตามตำแหน่งหรือสถานะ |
ex cathedra | (adj) ด้วยอำนาจตามตำแหน่งหรือสถานะ (คำทางการ), See also: โดยอำนาจตามตำแหน่งหรือสถานะ, Syn. authoritative, magisterial |
presence of mind | (idm) การตั้งสติได้, See also: การไม่ตื่นตระหนกในสถานะการณ์คับขัน |
save the day | (idm) ช่วยทำให้สถานะการณ์เลวร้ายดีขึ้น, See also: ทำให้สถานะการณ์ดีขึ้น |
walk a tightrope | (idm) อยู่ในสถานะการณ์ที่ต้องระวังตัว |
wrongfoot someone | (idm) ทำให้อยู่ในสถานะการณ์ลำบากอย่างกระทันหัน, See also: ทำให้ตกใจ |
liquid | (n) ของเหลว, See also: สถานะเหลว, Syn. fluid, Ant. solid |
loci | (n) สถานะ (พหูพจน์ของ locus), See also: ตำแหน่ง |
neutrality | (n) ความเป็นกลาง, See also: สถานภาพเป็นกลาง, สถานะที่เป็นกลาง, Syn. impartiality |
plane | (n) ระดับ, See also: สถานะทางสังคม, ชั้น, ขั้น, Syn. level, stratum, stage |
point | (n) ระดับ, See also: สถานะ |
position | (n) ตำแหน่ง, See also: ฐานะ, สถานะ, ตำแหน่ง, ที่ตั้ง, Syn. location, spot, post, place |
position | (n) มุมมอง, See also: สถานะ, Syn. attitude, belief, view |
rise | (vi) เลื่อนสถานะขึ้น, See also: เลื่อนขึ้น, Syn. ascend, prosper |
rise | (n) การเลื่อนขึ้น, See also: การเลื่อนสถานะขึ้น, Syn. advancement, progress, promotion |
status | (n) สถานภาพ, See also: สภาพ, สถานะ |
transmute | (vi) แปรรูป, See also: เปลี่ยนสถานะ |
Hope Dictionary
aferothermodynamics | (แอโรเธอไมไดแนม' มิคซฺ) aerodynamics ที่เกี่ยวกับสถานะการณ์ที่มีการแลกเปลี่ยนความร้อนในแก๊ส. -aerothermodynamic adj. (aerothermodynamics) |
bimag core | วงแหวนแม่เหล็กทวิเสถียร <คำแปล>ย่อมาจาก bistable magnetic core วงจรแม่เหล็ก ซึ่งเปลี่ยนสถานะได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง คือ ถ้าไม่เป็นบวกก็ต้องเป็นลบ |
bistable magnetic core | วงจรแม่เหล็ก ซึ่งเปลี่ยนสถานะได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง คือ ถ้าไม่เป็นบวก ก็ต้องเป็นลบ |
flag | (แฟลก) { flagged, flagging, flags } n. ธง, ธงเรือ, ธงบัญชาการ, ทางกว้าง, ป้ายชื่อหนังสือแผ่นหินสำหรับปูพื้น. vt. ประดับด้วยธง, ให้สัญญาณด้วยธง, ตีธง, โบกธง., See also: flagger n., Syn. banner ตัวบ่งชี้เป็นคำที่นักเขียนโปรแกรมใช้ เพื่อให้เป็นตัวชี้ถึงสถานะใด สถานะหนึ่ง ในโปรแกรมที่เขียนขึ้น เช่น จริง true, ไม่จริง false |
flap | (แฟลพ) { flapped, flapping, flaps } vt., vi., n. (การ) ตีปีกบิน, กระพือปีก, ปิดเปิด, โบกสบัด, ตบ, ตี, ที่ปิดเปิด, ขอบหมวก, พับหนังหรือเนื้อ, ความตื่นเต้น, สถานะการณ์ฉุกเฉิน, ปีกเครื่องบินที่ซ่อนหรือพับอยู่, แผ่นพับ, แผ่นบานพับ, แผ่นลิ้นประตู, เครื่องปัด, เครื่องพัด, ชายเสื้อ |
magnetic disk | จานแม่เหล็กหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะเหมือนจาน เคลือบผิวด้วยไอออนออกไซด์ ทำให้เกิดกระแสแม่เหล็กบนผิวหน้าของจานแม่เหล็ก จะมีสองขั้วคือขั้วบวกและขั้วลบ สถานะสองขั้วนี้เองที่เรานำมาใช้แทนรหัสเลขฐานสอง (คือ 0 กับ 1) และทำให้เราสามารถบันทึกข้อมูลซึ่งแตกออกเป็นดิจิต (digit) ได้อย่างง่ายดาย นับเป็นสื่อเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีทั้งจานอ่อน (floppy disk หรือ diskette) และจานแข็ง (hard disk) จานบันทึกเหล่านี้จะต้องนำมาจัดรูปแบบการบันทึก (format) คือกำหนดแทร็ก (track) และเซ็กเตอร์ (sector) ก่อน จึงจะนำไปใช้ได้ดู track และ sector ประกอบ |
vapo | (u) rization, vapo (u) risation (เว'เพอะริเซ'เชิน, -ไรเซ'เชิน) n. การกลายเป็นไอ, การทำให้เป็นไอ, สถานะที่เป็นไอ |
Nontri Dictionary
situation | (n) สถานการณ์, สถานะ, ตำแหน่ง, การงาน, เงื่อนไข, สถานที่ |
status | (n) ฐานะ, สถานะ, สภาพ, ภาวะ, สถานการณ์, ยศ, ตำแหน่ง |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Hypersensitivity | แพ้ (หรือที่เรียกว่าปฏิกิริยาแพ้หรือแพ้) หมายถึงปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ที่ผลิตโดยระบบภูมิคุ้มกันปกติรวมถึงโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันอัตโนมัติ ปฏิกิริยาแพ้ต้องมีสถานะก่อนไวต่อความรู้สึก (ภูมิคุ้มกัน) ของโฮสต์ (สัตว์หรือพืชที่เป็นที่อาศัยของปรสิต) |
蒸発 | [じょうはつ] ระเหย, การแปลงสถานะของสสารจากของเหลวเป็นก๊าซ |
Longdo Approved JP-TH
具合 | [ぐあい, guai] (n) สถานะ, สภาพ |
状態 | [じょうたい, joutai] (n) สถานะ |
Saikam JP-TH-EN Dictionary
目上 | [めうえ, meue] TH: ผู้ที่อยู่ในสถานะที่สูงกว่า เช่น เจ้านาย หัวหน้า อาจารย์ เป็นต้น EN: superior(s) |
Longdo Approved DE-TH
Lage | (n) |die, pl. Lagen| สถานการณ์, สถานะ, สถานภาพ |
Zustand | (n) |der, pl. Zustände| สภาพ, สถานะ เช่น Die Waschmaschine ist in gutem Zustand. เครื่องซักผ้ายังอยู่ในสภาพดี |
Rückabwicklung | (n) |die, pl. Rückabwicklungen| การกลับคืนสู่สถานะเดิม |
Longdo Unapproved DE-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Landesherr | ลันเดสแฮร์ เป็นตำแหน่งเจ้าศักดินาในยุคกลาง มีอำนาจเฉกเช่นเจ้าแผ่นดินเหนือดินแดนหนึ่ง ดินแดนนั้นอาจมีสถานะเป็นรัฐอิสระ หรือรัฐบริวารของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็ได้ |
Longdo Approved FR-TH
dormir | (vi) 1)นอนหลับ 2) อยู่ในสถานะที่สงบไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่มีการใช้งาน ex: Capitaux qui dorment. Image: |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0527 seconds, cache age: 0.171 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม