160 ผลลัพธ์ สำหรับ *ผู้มีอำนาจ*
ภาษา
หรือค้นหา: ผู้มีอำนาจ, -ผู้มีอำนาจ-NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ผู้มีอำนาจ | (n) authoritarian, See also: autocrat, despot, tyrant, dictator, Example: ลูกน้องกระจอกอย่างเขาต้องเกรงกลัวผู้มีอำนาจที่จะสั่งให้เขาทำอะไรก็ได้, Count Unit: คน, Thai Definition: บุคคลที่มีอิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอมทำตาม ไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่ หรือเป็นบุคคลที่สามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์ |
ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย | (n) person in authority, Example: พนักงานเหล่านี้ล้วนเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมาย, Count Unit: คน, Thai Definition: ผู้ที่มีสิทธิตามที่กฎหมายกำหนด |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กฎหมาย | น. กฎเกณฑ์ที่ผู้มีอำนาจตราขึ้นเพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามเป็นการทั่วไป ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับผลร้าย กฎหมายอาจตราขึ้นเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ หรือเพื่อใช้ในการบริหารประเทศ กฎหมายอาจเกิดจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือกันก็ได้. |
กอบด้วย | ก. มี, มีมาก, เช่น นาย ก เป็นผู้มีอำนาจและกอบด้วยเมตตา, ประกอบด้วย ก็ว่า. |
กินตามน้ำ | ก. รับของสมนาคุณที่เขาเอามาให้โดยไม่ได้เรียกร้อง (มักใช้แก่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ). |
คณาธิการ | น. ผู้มีอำนาจในคณะ, ผู้ปกครองคณะ, เรียกภิกษุผู้ทำหน้าที่ในด้านการปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่ผู้ช่วยเจ้าอาวาสขึ้นไป ว่า พระคณาธิการ. |
จับ | เกาะกุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย, จับกุม ก็ว่า |
จับกุม | ก. เกาะกุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับกุมผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย, จับ ก็ว่า. |
เจ้าท่า | น. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ควบคุมและตรวจตราการเดินเรือ การใช้เรือ การจอดเรือ ร่องนํ้า ทางเดินเรือ และกิจการท่าเรือ. |
เจ้าพนักงาน | น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายหรือแต่งตั้งโดยผู้มีอำนาจตามกฎหมายให้ปฏิบัติราชการหรือให้ใช้อำนาจรัฐ. |
เจ้าพนักงานบังคับคดี | น. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ในอันที่จะปฏิบัติตามวิธีการที่บัญญัติไว้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล. |
ชักซุงตามขวาง | ขัดขวางผู้มีอำนาจย่อมได้รับความเดือดร้อน. |
ช้างสาร | น. ผู้มีอำนาจ ในความว่า ช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกลาญ. |
ชี้นกเป็นนกชี้ไม้เป็นไม้ | ไม่ว่าผู้มีอำนาจจะว่าอย่างใด ผู้น้อยก็ต้องคล้อยตามไปอย่างนั้นเพราะกลัวหรือประจบ. |
ดะโต๊ะยุติธรรม | น. ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม. |
ตรายาง | น. ตราที่ทำด้วยยางสำหรับประทับบนกระดาษเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจแต่ลงนามอนุมัติตามที่มีผู้อื่นเสนอมาโดยไม่ได้ตัดสินใจเอง. |
ตัวแทน | บุคคลผู้มีอำนาจทำการแทนบุคคลอื่นตามกฎหมาย. |
ตุลาการ | น. ผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี. |
ทนาย | (ทะ-) น. ผู้รับใช้, ผู้แทนนาย, (ใช้แก่ผู้มีอำนาจ) |
โนตารีปับลิก | น. ผู้มีอำนาจรับรองลายมือชื่อ เอกสาร วัตถุ หรือบุคคล ในบางประเทศโนตารีปับลิก หรือแมยิสเตร็ดมีหน้าที่จัดทำเอกสารสำคัญบางชนิดให้แก่ประชาชนด้วย ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของประเทศไทย กำหนดให้ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลไทย ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าไม่มีกงสุลไทย ต้องให้เจ้าพนักงานโนตารีปับลิกหรือแมยิสเตร็ด เป็นพยาน.(อ. notary public).<i>(ดู แมยิสเตร็ด ประกอบ)</i>. |
บังคับการ | ก. รับผิดชอบในการควบคุมและสั่งการ, เรียกผู้มีอำนาจเช่นนั้น ว่า ผู้บังคับการ. |
บังคับบัญชา | น. อำนาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่, เรียกผู้มีอำนาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการนั้น ว่า ผู้บังคับบัญชา, เรียกผู้อยู่ใต้อำนาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการนั้น ว่า ผู้ใต้บังคับบัญชา. |
บัญชา | น. คำสั่งของผู้มีอำนาจบังคับในการปกครอง. |
เบี้ยบน | น. ผู้มีอำนาจเหนือ, ผู้ได้เปรียบ, ผู้เป็นต่อ, ตรงข้ามกับ เบี้ยล่าง. |
ปรับ ๒ | น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งผู้กระทำความผิดต้องชำระเงินตามจำนวนที่ศาลกำหนด หรือตามที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบได้เปรียบเทียบ. |
ปลอกคอ | โดยปริยายหมายถึง ผู้มีอำนาจที่คอยให้ความคุ้มครองหรือช่วยเหลือ. |
ผู้พิพากษา | น. ผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถ-คดีในศาล. |
พี่เบิ้ม | น. ผู้มีอำนาจมาก, ผู้เป็นหัวหน้าใหญ่. |
มนเทียรบาล | ผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองภายในพระราชฐาน, โบราณใช้ว่า มณเฑียรบาล. |
รังแก | ก. แกล้งทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น (มักใช้แก่ผู้มีอำนาจมากกว่า) เช่น ผู้ใหญ่รังแกเด็ก. |
รับใช้ | คอยปรนนิบัติพ่อแม่ครูอาจารย์เป็นต้นด้วยความเต็มใจ เช่น ลูกรับใช้พ่อแม่ ศิษย์รับใช้ครู, ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายหรือผู้มีอำนาจเหนือสั่งหรือใช้ เช่น พลทหารอยู่รับใช้ผู้บังคับบัญชา. |
เรา | ส. สรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม. |
ลุกฮือ | อาการที่คนจำนวนมากลุกขึ้นพร้อม ๆ กันเพราะแตกตื่นชั่วขณะเป็นต้น เช่น พอเห็นตำรวจมาก็ลุกฮือ, อาการที่กลุ่มคนกลุ้มรุมกันเข้าต่อสู้กับผู้มีอำนาจ เช่น ประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาลที่กดขี่ประชาชน. |
ลูกท่านหลานเธอ | น. ลูกหลานเจ้านายหรือผู้มีอำนาจ. |
ลูกสมภารหลานเจ้าวัด | น. ลูกเจ้านาย, ลูกผู้มีอำนาจ, มีความหมายทำนองเดียวกับ ลูกท่านหลานเธอ. |
เลอลบ | น. ผู้มีอำนาจเหนือผู้อื่น. |
แวดล้อม | ก. เฝ้าระวังรักษาอยู่โดยรอบ เช่น ตำรวจแวดล้อมบุคคลสำคัญ ผู้มีอำนาจไปไหนก็มีมือปืนแวดล้อม |
สารวัตรทหาร | น. ทหารที่ได้รับคำสั่งจากผู้มีอำนาจสั่งใช้ให้ปฏิบัติหน้าที่ เช่น สอดส่อง ตรวจตรา ตักเตือน จับกุมทหาร ข้าราชการพลเรือนและคนงานสังกัดกระทรวงกลาโหมที่กระทำความผิดหรือไม่อยู่ในระเบียบวินัยซึ่งอยู่ภายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร. |
สุรเสียง | น. เสียงก้องกังวาน หมายความว่า เสียงของผู้มีอำนาจ. |
เส้นแข็ง | ผู้มีอำนาจสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง. |
เสนอหน้า | ก. แสดงตัวให้ผู้มีอำนาจเหนือเห็นอยู่เสมอทั้ง ๆ ที่ตนเองมิได้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลประโยชน์ตอบแทน, พยายามแสดงตัวให้ปรากฏต่อสาธารณชนอยู่เสมอ เช่น เวลาเขาถ่ายรูปกันจะต้องเสนอหน้าเข้าไปร่วมถ่ายรูปด้วย. |
หน้าอินทร์หน้าพรหม | น. ผู้มีอำนาจ, ผู้ยิ่งใหญ่, เช่น เขาไม่กลัวหน้าอินทร์หน้าพรหมใด ๆ ทั้งนั้น. |
หลังบ้าน | น. ภรรยาของผู้มีอำนาจในวงราชการบ้านเมือง. |
หัวกระไดไม่แห้ง | ว. มีแขกมาเยี่ยมเยือนอยู่เสมอ (มักใช้หมายถึงบ้านที่มีลูกสาวสวย หรือบ้านผู้มีอำนาจวาสนา). |
เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง | ก. คัดค้านผู้ใหญ่ ผู้มีฐานะสูงกว่า หรือผู้มีอำนาจมากกว่าย่อมไม่สำเร็จ และอาจได้รับผลร้ายแก่ตัวอีกด้วย. |
ฮาเร็ม | น. สถานที่ที่จัดไว้ให้เป็นที่อยู่ของบรรดานางสนมหรือนางบำเรอของพระเจ้าแผ่นดิน ผู้มีอำนาจ หรือเศรษฐีที่เป็นมุสลิม มักจะเป็นประเทศในแถบเอเชียตะวันออกกลางและอินเดียสมัยที่มุสลิมปกครองเป็นต้น. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
plenipotentiary | ผู้มีอำนาจเต็ม (ทางการทูต) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
plenipotentiary | ผู้มีอำนาจเต็ม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
plenipotentiary, minister | อัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
lawful authority | เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary | เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
minister plenipotentiary | อัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
hand-picked | ผู้ที่ได้รับเลือกสรร (โดยผู้มีอำนาจ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
กฎหมาย | กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ กฏหมาย [คำที่มักเขียนผิด] |
Ambassador | เอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว [การทูต] |
Congress of Vienna | เป็นการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญในยุโรป ได้จัดให้มีขึ้นหลังจากเสร็จสงครามนโปเลียน (กันยายน ค.ศ. 1814 ? มิถุนายน ค.ศ. 1815) ประเทศที่ร่วมการประชุมมี ออสเตรีย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัฐสันตะปาปา ปรัสเซีย และรัสเซีย ภาระหน้าที่สำคัญของการประชุม คือ การปักปันเขตแดนกันใหม่ และจัดให้ราชวงศ์เก่าแก่กลับฟื้นคืนมาใหม่ ทั้งในประเทศฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และเยอรมนี สหภาพแห่งนอร์เวย์ และสวีเดน สหภาพแห่งเบลเยี่ยม และฮอลแลนด์ พร้อมทั้งกำหนดให้สวิตเซอร์แลนด์ มีฐานะเป็นประเทศเป็นกลางถ้ามองในแง่การทูต ผลสำเร็จสำคัญที่สุดจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาคือ ข้อมติกำหนดลำดับอาวุโสของคณะผู้แทนทางการทูต โดยถือหลักอาวุโสไม่ว่าในตำแหน่งใด แทนที่จะถือตามสถานภาพและความสำคัญของกษัตริย์อย่างแต่ก่อน รวมทั้งจัดประเภทของนักการทูต ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (ตามระเบียบที่วางขึ้นใหม่ต่อมาในการประชุม ณ Aix-la-Chapelle ได้แก่1) เอกอัครราชทูต (Ambassadors) ตัวแทนขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal legates) และหัวหน้าคณะทูตของสมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncios)2) ผู้แทนทางการทูตผู้มีอำนาจพิเศษ (Envoys Extra-ordinary) และเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม (Ministers Plenipotentiary) อินเตอร์นันสิโอของสมเด็จพระสันตะปาปา3) อัครราชทูตผู้มีถิ่นประจำ (Ministers Resident)4) อุปทูต (Chargé d?affaires)คองเกรสแห่งเวียนนายังวางระเบียบเกี่ยวกับเรื่องการจัดลำดับ อาวุโสของบุคคลในคณะทูต ซึ่งชาติต่าง ๆ ได้ลงนามรับรองในสนธิสัญญาพาหุภาคีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
International Conferences | คือการประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้ง สุดท้าย [การทูต] |
legalisation | นิติกรณ์ " กระบวนการรับรองความถูกต้อง คำแปลหรือลายมือชื่อผู้มีอำนาจ ลงนามในเอกสาร โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต สถานกงสุล หรือหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ได้รับการยอมรับและสามารถนำไปใช้ได้ในทางการระหว่างประเทศ " [การทูต] |
Legalisation (legalization) | นิติกรณ์ กระบวนการรับรองความถูกต้อง คำแปลหรือลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามในเอกสาร โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ สถานฑูต สถานกงสุล หรือหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ได้รับการยอมรับและสามารถนำไปใช้ได้ในทางการระหว่างประเทศ [การทูต] |
Reciprocity of Rank of Envoys | หมายถึง การถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันในเรื่องตำแหน่งของทูต กล่าวคือ ประเทศทั้งหลายถือธรรมเนียมปฏิบัติในการแลกเปลี่ยนทูตที่มีตำแหน่งเท่าเทียม กัน ดังนั้น หากประเทศหนึ่งส่งทูตไปประจำอีกประเทศหนึ่ง ในตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม ประเทศนั้นก็คาดว่าประเทศผู้รับย่อมจะให้ถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน โดยส่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มของตนไปประจำที่ประเทศผู้ส่งด้วย พึงสังเกตว่าการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติกันเช่นนี้มิใช่เป็นระเบียบข้อบังคับของ กฏหมายระหว่างประเทศ หากเป็นการแสดงไมตรีจิตมิตรภาพต่อกันระหว่างประเทศทั้งหลายมากกว่า [การทูต] |
Secretariat of the United Nations | คือสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสมัชชาตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ตามที่องค์การต้องการหน้าที่สำคัญของเลขาธิการสหประชา ชาติ คือ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การ นำเรื่องใดก็ตามเสนอต่อคณะมนตรีความมั่นคง ซี่งตามทรรศนะของเลขาธิการเห็นว่าเป็นภัยคุกคามสันติภาพและความมั่นคง ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ทำรายงานประจำปี และรายงานเพิ่มเติมใด ๆ ที่จำเป็นเสนอต่อสมัชชาสหประชาชาติ เกี่ยวกับงานขององค์การ สหประชาชาติคณะเจ้าหน้าที่ที่ทำงานช่วยเหลือเลขาธิการนั้น ถือเป็นเจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศ ประกอบด้วยชนชาติต่าง ๆ ในการเกณฑ์เจ้าหน้าที่เหล่านี้เข้าทำงานกับสหประชาชาติ จะคัดแต่ผู้ที่มีประสิทธิภาพ ความสามารถ และความซื่อสัตย์ในระดับสูงสุด และคำนึงถึงเขตภูมิศาสตร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการทำงานตามหน้าที่ ทั้งตัวเลขาธิการและคณะเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมงาน จะต้องไม่แสวงหรือรับคำสั่งจากรัฐบาลใด ๆ หรือจากผู้มีอำนาจหน้าที่อื่นใดที่อยู่นอกเหนือองค์การสหประชาชาติ ขณะเดียวกัน สมาชิกของสหประชาชาติได้ตกลงยอมรับนับถือความรับผิดชอบที่มีลักษณะระหว่าง ประเทศของสำนักเลขาธิการ และจักไม่แสวงใช้อิทธิพลใด ๆ ต่อสำนักเลขาธิการ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบเหล่านั้น [การทูต] |
Vienna Convention on Consular Relations | อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1961 สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ตกลงให้จัดการประชุมระหว่างผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม จากประเทศสมาชิก เพื่อทำหน้าที่พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล และได้ประชุมกัน ณ กรุงเวียนนา เมื่อต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 1963 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ถึงวันที่ 22 เมษายน มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม เป็นจำนวน 92 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ส่วนประเทศโบลิเวีย กัวเตมาลา ปละปารากวัย ได้เข้าร่วมประชุมด้วยในฐานะผู้สังเกตการณ์ (Observers)มีข้อน่าสังเกตว่า ในข้อ 73 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอนุสัญญานี้ว่า จะไม่มีผลกระทบต่อความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้บังคับระหว่างรัฐภาคีแห่งความตกลงดังกล่าว และไม่มีข้อความใดในอนุสัญญานี้ที่จะตัดหนทางของรัฐในการทำความตกลงระหว่าง ประเทศ เพื่อยืนยันหรือเติมต่อหรือยืดขยายบทแห่งอนุสัญญานี้ออกไปอีก [การทูต] |
Vienna Convention on Diplomatic Relations | อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1959 ให้จัดการประชุมระหว่างผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากประเทศสมาชิก เพื่อพิจารณาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการติดต่อและการคุ้มกันทางการทูต และได้เริ่มต้นประชุมกัน ณ กรุงเวียนนา ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม ถึงวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1961 มีรัฐบาลของประเทศสมาชิกส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมร่วมด้วย 81 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย อนุสัญญาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1964 [การทูต] |
Authority | อำนาจความรับผิดชอบ, อำนาจ, ผู้มีอำนาจ [การแพทย์] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
ผู้มีอำนาจ | [phū mī amnāt] (n, exp) EN: powerful person ; boss ; authorities |
ผู้มีอำนาจ | [phū mī amnāt] (n, exp) EN: authoritarian ; autocrat ; despot ; tyrant ; dictator |
ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย | [phū mī amnāt tām kotmāi] (n, exp) EN: person in authority |
ผู้มีอำนาจเต็ม | [phū mī amnā tem] (n, exp) EN: plenipotentiary FR: personne qui a pleins pouvoirs [ f ] |
ผู้แทนผู้มีอำนาจ | [phūthaēn phū mī amnāt] (n, exp) EN: authorized representative |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
authority | (n) ผู้มีอำนาจ, See also: เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ, Syn. officials, officialdom |
autocrat | (n) ผู้มีอำนาจเด็ดขาด, See also: ผู้ปกครองที่มีอำนาจเด็ดขาด, Syn. dictator, despot, absolute ruler |
backroom | (n) ห้องประชุมผู้มีอำนาจเบื้องหลัง |
executive | (n) ผู้บริหาร, See also: นักบริหาร, ผู้มีอำนาจบริหาร, Syn. administrator, director, manager |
inform against | (phrv) แจ้ง (ตำรวจหรือผู้มีอำนาจ) ให้ทราบ, See also: รายงานให้รู้, Syn. grass on, peach on, rat on, shit on, tell of, tell on |
inform on | (phrv) แจ้ง (ตำรวจหรือผู้มีอำนาจ) ให้ทราบ, See also: รายงานให้รู้, Syn. inform against |
influential person | (n) ผู้มีอิทธิพล, See also: ผู้มีอำนาจ |
lobby for | (phrv) พยายามชักจูงผู้มีอำนาจให้อนุมัติกฎหมาย |
lord | (n) เจ้านายผู้มีอำนาจปกครองแคว้น, See also: พระยา, เจ้านาย, เจ้าเหนือหัว, Syn. master, chief, ruler |
mogul | (n) ผู้มีอำนาจ, See also: บุคคลสำคัญ, ผู้มั่งคั่ง, Syn. dictator, personage, magnate, czar |
mover | (n) ผู้มีอำนาจ, See also: ผู้มีอิทธิพล |
overlord | (n) ผู้มีอำนาจเหนือผู้อื่น, Syn. dictator, king, potentate |
plutocrat | (n) ผู้มีอำนาจเพราะร่ำรวย, Syn. aristocrat |
potentate | (n) ผู้มีอำนาจมาก, See also: กษัตริย์, ผู้ปกครอง, Syn. monarch, sovereign |
power | (n) ผู้มีอำนาจ, See also: ผู้มีอิทธิพล, ผู้ทรงอำนาจ, Syn. boss, the higher-ups |
president | (n) ประธาน, See also: อธิการบดี, ผู้มีอำนาจในการบริหาร, บุคคลสำคัญขององค์กร, Syn. director, chairman, VIP, Ant. laborer |
regulator | (n) ผู้ควบคุม, See also: ผู้มีอำนาจควบคุม, Syn. governor |
reign of terror | (n) ช่วงที่มีความรุนแรงและผู้คนถูกฆ่าโดยผู้มีอำนาจ |
big gun | (sl) คนสำคัญ, See also: ผู้มีอำนาจ |
top dog | (sl) ผู้มีอำนาจ |
sovereign | (n) ผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศ, See also: กษัตริย์, Syn. autocrat, monarch, supreme ruler |
superman | (n) ยอดมนุษย์, See also: ผู้มีอำนาจเหนือมนุษย์ทั่วไป, ซุปเปอร์แมน |
Hope Dictionary
authority | (ออธอ'ริที) n. เจ้าหน้าที่, อำนาจ (ในหน้าที่ตำแหน่ง) , ผู้มีอำนาจ, ผู้เป็นต้นตำรับ, ทางราชการ, แหล่งข้อมูลหรือคำแนะนำที่เชื่อถือได้, ความเชื่อถือได้, ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง, อำนาจทางนิตินัย, อำนาจการเป็นตัวแทน, ความเชี่ยวชาญ, พยาน, การให้การ (คำที่มีความหมายเหมือนก |
autocracy | (ออทอค'คระซี) n. อัตตาธิปไตย, เอกาธิปไตย, ผู้มีอำนาจเด็ดขาด, การปกครองโดยผู้มีอำนาจเด็ดขาด, ราชาธิปไตยแบบกษัตริย์ที่มีอำนาจเด็ดขาด, ระบบเผด็จการ. autocratic (al) adj. |
crown | (เคราน์) n. มงกุฎ, มาลัย, มาลัยสวมศีรษะ, เครื่องประดับสำหรับศีรษะ, เกียรติยศจากผลงานที่ดีเด่น, -Phr. (the Crown ผู้มีอำนาจสูงสุด) , รัฐาธิปัตย์, เหรียญเงินตราที่มีรูปมงกุฎ, กษัตริย์, เหรียญเงินของอังกฤษสมัยก่อนที่เท่ากับ 5 ชิลลิงส์, ส่วนที่โผล่ขึ้นมา, สิ่งประดับบนยอด |
master | (มาส'เทอะ, แมส'เทอะ) n. นาย, เจ้านาย, นายจ้าง, กัปตันเรือสินค้า, กัปตันเรือ, ผู้บังคับการ, หัวหน้าครอบครัว, เจ้าบ้าน, ผู้เชี่ยวชาญ, ผู้มีชัย, ผู้มีอำนาจ, คนเก่ง, ผู้ช่วยผู้พิพากษา, มหาบัณฑิต, ผู้สำเร็จปริญญาโท adj. เป็นนาย, เป็นหัวหน้า, เป็นผู้นำ, เกี่ยวกับการควบคุม, เกี่ยวกับการนำ, วางอำนาจ, ใหญ่ยิ่ง, เชี่ยวชาญ |
old man | n. บิดา, สามี, ผู้มีอำนาจ, หัวหน้า, กัปตันหรือ |
patrichian | n. ขุนนาง, ผู้มีฐานะสูง ผู้มีอำนาจ, ผู้ดี., See also: hood. n. |
power | (เพา'เออะ) n. อำนาจ, กำลัง, แรง, ความสามารถ, สมรรถภาพ, (ประเทศ) มหาอำนาจ, คนที่มีอำนาจ, เอกสารมอบอำนาจ, ผู้มีอำนาจ, ผู้มีอิทธพล, กำลังทางทหาร, สิ่งศักดิ์สิทธิ์, |
sovereign | (ซอฟ'เวอเรน) n., adj. (เกี่ยวกับ) กษัตริย์, รัฎฐาธิปัตย์, ผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศ, ผู้ปกครองประเทศ, ซึ่งมีอำนาจสูงสุด, สูงสุด, ใหญ่ยิ่งที่สุด, เหนือกว่าสิ่งอื่น ๆ ทั้งหมด, ม'อำนาจการปกครองตัวเองที่อิสระ, โดยสิ้นเชิง, โดยครบถ้วน, ม'ประสิทธิภาพ. |
superman | (ซู'เพอแมน) n. ผู้มีอำนาจและความสามารถเหนือมนุษย์ |
triumvirate | (ไทรอัม'วิเรท) n. ระบบผู้มีอำนาจสามคน, ต กลุ่มสามคน, ร่างที่ประกอบด้วยสามองค์ |
Nontri Dictionary
autocrat | (n) ผู้มีอำนาจเด็ดขาด |
BIG big gun | (n) ผู้มีอิทธิพล, ผู้มีอำนาจ, บุคคลสำคัญ |
lord | (n) ขุนนาง, ผู้มีอำนาจเหนือ, เจ้าของคฤหาสน์, เจ้าของที่ดิน |
oligarch | (n) ผู้มีอำนาจ |
plenipotentiary | (n) ทูตผู้มีอำนาจเต็ม |
potentate | (n) ผู้ปกครอง, ผู้มีอำนาจ, กษัตริย์ |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Commissioner of Oath | (n, phrase) เจ้าพนักงานผู้รับคำสาบาน, ผู้มีอำนาจจัดให้มีคำสาบาน |
Longdo Unapproved FR-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
eminence grise | (jargon) ผู้มีอำนาจ อิทธิพล โดยไม่มีตำแหน่งอย่างเป็นทางการ |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0265 seconds, cache age: 0.921 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม