217 ผลลัพธ์ สำหรับ *จัดตั้ง*
ภาษา
หรือค้นหา: จัดตั้ง, -จัดตั้ง-Longdo Unapproved JP - JP
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
政権交代 | [せいけんこうたい] การเปลี่ยนพรรคการเมืองที่มาเป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาล(ดังนั้นหากเป็นแค่การเปลี่ยนพรรคร่วมรัฐบาล โดยที่พรรคที่เป็นผู้นำยังคงเป็นพรรคเดิม ก็ยังไม่สามารถใช้คำนี้ได้) |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
จัดตั้ง | (v) set up, See also: establish, form, organize, Syn. ตั้งขึ้น, Ant. ล้มเลิก, Example: องค์การสหประชาชาติได้จัดตั้งองค์กรต่างๆ ขึ้นมา เพื่อรองรับตามสายงานแต่ละเป้าหมาย |
จัดตั้งขึ้น | (v) set up, See also: found, establish, Syn. ตั้ง, ก่อตั้ง, Example: ธุรกิจนี้ใครเป็นผู้จัดตั้งขึ้น |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
จัดตั้ง | ก. ตั้งขึ้น, แต่งตั้งให้มั่นคง. |
ตราสารจัดตั้ง | น. หนังสือสำคัญก่อตั้งนิติบุคคลที่กำหนดขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น. |
กฎบัตร | น. ตราสารที่จัดตั้ง จัดระเบียบ และกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์การ. |
ก่อตั้ง | ก.จัดตั้งขึ้น, ริเริ่มตั้งขึ้น. |
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ | น. กองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ เรียกชื่อย่อว่า กบข. |
กองทุนประกันสังคม | น. กองทุนที่จัดตั้งขึ้นในสำนักงานประกันสังคม เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทน กองทุนนี้มีทรัพย์สินส่วนใหญ่ประกอบด้วยเงินสมทบจากรัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตน. |
กองทุนรวม | น. กองทุนรวมที่จัดตั้งและดำเนินการโดยบริษัทหลักทรัพย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปลงทุนตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ. |
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | น. กองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นโดยมีทรัพย์สินส่วนใหญ่ประกอบด้วยเงินที่ลูกจ้างจ่ายสะสม และเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบ เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างตายหรือออกจากงาน. |
กองทุนหมู่บ้าน | น. กองทุนที่จัดตั้งขึ้นในแต่ละหมู่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับประชาชนในหมู่บ้าน กองทุนดังกล่าวถ้าจัดตั้งขึ้นในเขตชุมชนเมือง เรียกว่า กองทุนชุมชนเมือง. |
กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย | น. กองทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อการรักษาเสถียรภาพของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายที่ใช้บริโภคในประเทศ. |
กองทัพน้อย | น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วยทหารหลายกองพล มีจำนวนไม่แน่นอน เป็นการจัดตั้งขึ้นเฉพาะกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง มีแม่ทัพน้อยเป็นผู้บังคับบัญชา. |
แกนนำ | ผู้ที่เป็นหลักในการเจรจาเพื่อดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น พรรคที่ได้คะแนนเสียงข้างมากเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล. |
ค่ายอาสาพัฒนา | น. ค่ายเยาวชนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมหรือฝึกฝนให้เยาวชนได้ร่วมมือร่วมใจกันบำเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่ชุมชน. |
โครงการพระดาบส | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้มีสถานที่สอนความรู้วิชาชีพต่าง ๆ เช่น วิชาช่างไฟฟ้า วิชาช่างเครื่องยนต์ วิชาช่างวิทยุโทรทัศน์ ให้แก่บุคคลทั่วไป โดยไม่จำกัด เพศ วัย และวุฒิการศึกษา โดยครูที่มีความรู้และยินดีอาสาสมัครสอนให้เป็นวิทยาทาน เปรียบเสมือนพระดาบสในสมัยโบราณที่มีกุศลศรัทธาที่จะถ่ายทอดศิลปศาสตร์ให้แก่ลูกศิษย์ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ เริ่มดำเนินการโครงการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ต่อมาได้จดทะเบียนเป็นโรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส และจัดตั้งเป็นมูลนิธิพระดาบสเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของโครงการพระดาบส และกิจการของโรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส. |
ชุมนุมสหกรณ์ | น. สหกรณ์ตั้งแต่ ๕ สหกรณ์ขึ้นไปที่รวมกันจัดตั้งเป็นชุมนุมสหกรณ์เพื่อร่วมกันดำเนินกิจการให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ที่เข้าร่วมกันนั้น ชุมนุมสหกรณ์มี ๒ ระดับ คือ ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ. |
ตราสาร | น. หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงฐานะหรือสิทธิต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น ตราสารจัดตั้ง โฉนดที่ดิน ตั๋วเงิน. |
ต่างกรม | ว. เรียกเจ้านายที่ได้รับพระราชทานอิสริยยศให้มีข้าคนหมู่หนึ่งจัดตั้งเป็นกรมในปกครองเพื่อช่วยราชการแผ่นดิน เจ้าที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองข้าในกรมของพระองค์ เรียกว่า เจ้านายต่างกรม กรมของเจ้ามีชื่อต่าง ๆ กันไปตามนามของผู้เป็นเจ้ากรม. |
ตำบล | น. ท้องที่ที่รวมหมู่บ้านหลายหมู่บ้านประมาณยี่สิบหมู่บ้านเข้าด้วยกัน และมีประกาศจัดตั้งเป็นตำบล มีกำนันเป็นหัวหน้าปกครอง. |
แต่ง | จัดตั้ง เช่น แต่งทนาย แต่งราชทูต |
ทุน | น. ของเดิมหรือเงินเดิมที่มีไว้ ลงไว้ กำหนดไว้ จัดตั้งไว้ เพื่อประโยชน์ให้งอกงาม เช่น มีความรู้เป็นทุน มีเงินเป็นทุน |
ธนาคารออมสิน | น. ธนาคารที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อรับฝากเงินออมสินเป็นสำคัญ. |
นิคมสร้างตนเอง | น. บริเวณที่ดินของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นนิคมสร้างตนเอง เพื่อให้ราษฎรที่ขาดแคลนที่ดินทำกินได้มีที่ตั้งเคหสถานและประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักแหล่งในที่ดินนั้น. |
นิคมสหกรณ์ | น. บริเวณที่ดินของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นนิคมสหกรณ์ เพื่อให้ราษฎรที่ขาดแคลนที่ดินทำกินได้มีที่ตั้งเคหสถานและประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักแห่งในที่ดินนั้น โดยให้มีการก่อตั้งสหกรณ์ขึ้น. |
นิติบุคคล | น. บุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายหรือตามกฎหมายแยกต่างหากจากบุคคลธรรมดา โดยมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม บริษัทจำกัด สมาคม มูลนิธิ. |
บรรษัท | นิติบุคคลที่มีฐานะอย่างเดียวกับบริษัทจำกัด โดยมีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ. |
บริคณห์สนธิ | น. เอกสารก่อตั้งบริษัทจำกัดซึ่งผู้เริ่มก่อการบริษัท เข้าชื่อกันจัดทำขึ้นตามข้อกำหนดของกฎหมายในการจัดตั้งบริษัทจำกัด เรียกว่า หนังสือบริคณห์สนธิ. |
บริษัท | รูปแบบการดำเนินกิจการธุรกิจเพื่อหากำไร ที่จัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคล โดยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน มีผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ บริษัทมี ๒ ประเภท คือ บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด. |
บัญชีซะกาต | น. บัญชีที่ธนาคารจัดตั้งขึ้นเพื่อบริจาคและรับดำเนินการบริจาคตามหลักการของศาสนาอิสลาม. |
ผู้แทนของนิติบุคคล | น. บุคคลธรรมดาคนเดียวหรือหลายคนตามที่กฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งได้กำหนดไว้ให้เป็นผู้แสดงออกถึงเจตนาของนิติบุคคล. |
ผู้พิพากษาสมทบ | น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษ ให้เป็นองค์คณะร่วมกับผู้พิพากษาซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการ มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดี เช่น ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว ผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงาน. |
พรรคการเมือง | น. กลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างเดียวกัน ร่วมกันจัดตั้งและจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมาย. |
ภูมิลำเนาของนิติบุคคล | น. ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือถิ่นอันเป็นที่ตั้งที่ทำการ หรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งนิติบุคคลนั้น. |
ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น, ราชการส่วนท้องถิ่น | น. การปกครอง ดูแล จัดการ และการให้บริการของรัฐ ที่รัฐกระจายอำนาจให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนในการดำเนินการ เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องที่นั้น โดยจัดเป็นองค์กรในรูปแบบต่าง ๆ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และรูปแบบอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ เช่น กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา. |
ราชกิจจานุเบกษา | น. สิ่งพิมพ์ของทางราชการที่จัดให้มีขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อเป็นที่ประกาศข้อมูลข่าวสารของทางราชการที่ประสงค์จะให้ประชาชนได้ทราบ เช่น กฎหมาย ประกาศคนล้มละลาย การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัท. |
ศาลจังหวัด | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่ตั้งประจำในแต่ละจังหวัดหรือในบางอำเภอ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมชั้นต้นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ. |
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และทรัพย์สินทางปัญญาอื่น รวมทั้งกิจการเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศบางเรื่อง. |
ศาลโปริสภา | (สานโปริดสะพา) น. ศาลชั้นต้นที่จัดตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ แทนศาลกองตระเวนเมื่อ ร.ศ. ๑๑๒ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทำนองเดียวกับศาลแขวงปัจจุบัน. |
ศาลภาษีอากร | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับภาษีอากร. |
ศาลเยาวชนและครอบครัว | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดและคดีครอบครัว. |
ศาลแรงงาน | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องที่เกี่ยวกับแรงงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง. |
ศาลล้มละลาย | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลาย. |
สถาบัน | (สะ-) น. สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคม จัดตั้งให้มีขึ้นเพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจำเป็นแก่วิถีชีวิตของตน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง สถาบันการเงิน. |
สมาคมการค้า | น. สถาบันที่บุคคลหลายคนซึ่งเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจจัดตั้งขึ้นเพื่อทำการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจอันมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปันกัน. |
ส่วนราชการ | น. หน่วยงานของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นและกำหนดให้เป็นส่วนราชการเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น. |
สหกรณ์ | น. องค์กรทางเศรษฐกิจและสังคมที่สมาชิกร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยการลงหุ้นร่วมกัน จัดการร่วมกันในการผลิต การจำหน่ายสินค้า หรือบริการตามความต้องการหรือผลประโยชน์อย่างเดียวกันของบรรดาสมาชิก สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิ์ออกเสียงได้หนึ่งเสียงในการบริหารสหกรณ์ โดยไม่ขึ้นกับจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์โคนม, (กฎ) คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้จดทะเบียนตามกฎหมาย. |
สหประชาชาติ | น. องค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ การป้องกันสงคราม การยืนยันรับรองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การเคารพและปฏิบัติตามพันธกรณีที่เกิดจากสนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ, เรียกชื่อเต็มว่า องค์การสหประชาชาติ (United Nations Organization). |
สหภาพแรงงาน | น. องค์การของลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้างด้วยกัน. |
สุขาภิบาล | น. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นสำหรับท้องถิ่นที่ยังไม่พร้อมที่จะจัดตั้งเป็นเทศบาล โดยมีนายอำเภอเป็นประธาน. |
หมู่บ้าน | น. ท้องที่ที่รวมบ้านหลายบ้านให้อยู่ในความปกครองอันเดียวกัน และมีประกาศจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าปกครอง. |
หอการค้า | น. สถาบันที่บุคคลหลายคนจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้า อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงินหรือเศรษฐกิจ อันมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปันกัน. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
partnership agreement | สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
statutory company | บริษัทที่จัดตั้งโดยกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
municipal charter | กฎบัตรจัดตั้งเทศบาล [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
charter, municipal | กฎบัตรจัดตั้งเทศบาล [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Municipal charters | กฎบัตรการจัดตั้งเทศบาล , กฎบัตรการจัดตั้งเทศบาล [TU Subject Heading] |
Constitution | ตราสารจัดตั้ง [TU Subject Heading] |
Convention Concerning Freedom of Association and Protection of the Right to Organise (1948) | อนุสัญญาว่าด้วยเรื่องเสรีภาพในการรวมตัวเป็นสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการจัดตั้ง (ค.ศ. 1948) [TU Subject Heading] |
International Convention on the Establishment of an International Fund for Compensation for Oil Pollution Damage (1971) | อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนระหว่างประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหายอันเนื่องมาจากมลพิษของน้ำมัน (ค.ศ. 1971) [TU Subject Heading] |
International Convention on the Establishment of an International Fund for Compensation for Oil Pollution Damage (1971) | อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนระหว่างประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหายอันเนื่องมาจากมลพิษของน้ำมัน (ค.ศ. 1971) [TU Subject Heading] |
United Nations Convention Against Transnational Organized Crime (2000) | อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร (ค.ศ. 2000) [TU Subject Heading] |
ASEAN Centre for Energy | ศูนย์พลังงานอาเซียน " จัดตั้งขึ้นที่กรุงจาการ์ตา เมื่อเดือนมกราคม 2542 มีหน้าที่ในการแสวง หาความร่วมมือระหว่างสมาชิกอาเซียนและกับประเทศนอกภูมิภาคในการศึกษา วิจัยและดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาด้านพลังงาน " [การทูต] |
ASEAN Cultural Fund | กองทุนวัฒนธรรมอาเซียน จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกองทุนสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม/โครงการความ ร่วมมือของอาเซียนทางด้านวัฒนธรรมและสนเทศ โดยในปี พ.ศ. 2521 รัฐบาลญี่ปุ่นได้บริจาคเงินจำนวน 5, 000 ล้านเยน หรือประมาณ 25 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้แก่กองทุนฯ เพื่อนำดอกผลไปใช้ในการสนับสนุนโครงการ/กิจกรรมความร่วมมือต่าง ๆ [การทูต] |
Asia-Europe Vision Group | กลุ่มวิสัยทัศน์เอเชีย-ยุโรป เป็นกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งจัดตั้งภายหลังจากการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป (อาเซม) ครั้งที่ 2 ที่กรุงลอนดอน เพื่อระดมความคิดเกี่ยวกับอนาคตของกระบวนการอาเซม [การทูต] |
ASEAN Foundation | มูลนิธิอาเซียน จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการสร้าง จิตสำนึกของความเป็นอาเซียนในหมู่ประชาชน และเพื่อให้การสนับสนุนกิจกรรม/โครงการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกอาเซียนอย่างเท่าเทียมกัน มีสำนักงานอยู่ที่กรุงจาการ์ตา [การทูต] |
ASEAN Free Trade Area | เขตการค้าเสรีอาเซียน จัดตั้งขึ้นตามมติของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เพื่อส่งเสริม การค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยให้มีการลดอัตราภาษีศุลกากรที่เท่ากันตามระยะเวลาที่กำหนด เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ลดอัตราภาษีศุลกากรให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายในปี พ.ศ. 2546 และมีระยะเวลาผ่อนผันสำหรับประเทศสมาชิกใหม่อีก 4 ประเทศ ตามช่วงเวลาก่อน/หลังที่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน [การทูต] |
ASEAN Free Trade Area Council | คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีคลัง เพื่อหารือและติดตามการดำเนินงาน ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ปกติจะจัดขึ้นประมาณปีละครั้ง ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน [การทูต] |
ASEAN Free Trade Area - North America Free Trade Area | ความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีอาเซียนกับเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก โดยเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการจัดตั้ง เขตการค้าเสรีของแต่ละฝ่าย [การทูต] |
ASEAN University Network | เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน " เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศสมาชิกอาเซียน จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2538 มีสำนักงานเลขานุการตั้งอยู่ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี รศ. ดร.ศุภชัย ยาวะประภาษ เป็น ผู้อำนวยการบริหาร " [การทูต] |
African Union | สหภาพแอฟริกา สหภาพแอฟริกาซึ่งเป็นความร่วมมือระดับภูมิภาคที่สำคัญ ของทวีป แอฟริกา ได้ก่อกำเนิดมาจากองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity ? OAU) เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยได้ปรับปรุงกฎบัตรเดิมขององค์การเอกภาพแอฟริกา ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพและสามารถแทรกแซงกิจการของประเทศ สมาชิกโดยผ่านกองกำลังรักษาสันติภาพ กลไกที่สำคัญของสหภาพ แอฟริกาที่เพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งคือ ธนาคารกลาง นอกจากนี้ นโยบายสำคัญที่สหภาพแอฟริกาเน้น คือ การพัฒนาเศรษฐกิจและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน และได้ใช้โครงการ The New Partnership for Africa?s Development หรือ NEPAD เป็นหลักในการดำเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งมุ่งเน้นการขจัดความยากจน [การทูต] |
ASEM Trust Fund | กองทุนอาเซม " เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นในธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการฟื้นฟูและ การพัฒนา (World Bank) โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกอาเซม เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในเอเชียที่ประสบกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ " [การทูต] |
ASEAN Investment Area | เขตการลงทุนอาเซียน จัดตั้งขึ้นตามกรอบความตกลงว่าด้วยเขตลงทุนอาเซียน ที่ลงนามเมื่อ ปี พ.ศ. 2541 เพื่อส่งเสริมให้มีภาวะการลงทุนที่โปร่งใสและเสรีในอาเซียนในอันที่จะดึงดูด การลงทุนจากภายในและภายนอกภูมิภาค โดยให้ประเทศสมาชิกเปิดให้มีการลงทุนทางอุตสาหกรรม และให้มี การประติบัติเยี่ยงคนชาติแก่นักลงทุนอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2553 และแก่นักลงทุนทั่วไปภายในปี พ.ศ. 2563 โดยครอบคลุมการลงทุนโดยตรง ทั้งหมดในสาขาอุตสาหกรรมการผลิต เกษตร ประมง ป่าไม้ และเหมืองแร่ รวมทั้งการบริการที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาการผลิตดังกล่าว ยกเว้นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ [การทูต] |
ASEAN Investment Area Council | คณะมนตรีเขตการลงทุนอาเซียน " เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีที่ดูแลงานด้านการส่งเสริมการลงทุน เพื่อกำหนดนโยบายและกำกับการดำเนินงานจัดตั้งเขตการลงทุน อาเซียน ปกติมีการประชุมปีละครั้ง " [การทูต] |
ASEAN-ROK Business Council | สภาธุรกิจอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี จัดตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2534 [การทูต] |
APSC | แผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอา เซียน เป็นเอกสารที่รวบรวมรายการกิจกรรมต่างๆ ที่รัฐสมาชิกอาเซียนจะทำร่วมกันเพื่อสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอา เซียนภายในปี 2558 แผนงานฯ ได้รับการรับรองโดยผู้นำในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 โดยแผนงาน มีวิสัยทัศน์ 3 ประการ ให้อาเซียนเป็น(1) ประชาคมที่มีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน (2)เป็นประชาคมที่สงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับ ประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้าน และ (3)เป็นประชาคมที่มีพลวัตรและร่วมมือปฎิสัมพันธ์กับโลกภายนอก [การทูต] |
ASEAN Regional Centre for Biodiversity Conservation | ศูนย์อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของภูมิภาคอาเซียน จัดตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป มีสำนักงานเลขาธิการตั้งอยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม [การทูต] |
APEC Study Centers | ศูนย์ศึกษาเอเปค มีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาเอเปคในแต่ละประเทศสมาชิก 15 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคด้วยการ ศึกษา การพัฒนาฝีมือแรงงาน และอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรม ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างสมาชิกเอเปคในภูมิภาค ทั้งนี้ ศูนย์ศึกษาเอเปคได้มีบทบาทสำคัญในกิจกรรมต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก เช่น กิจกรรมการประเมินผลการดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการของเอเปค เป็นต้น [การทูต] |
Association of South-East Asian Nations | สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน จัดตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 เพื่อร่วมมือและส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์และการบริหารในภูมิภาค โดยมีสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ต่อมาบรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2527 เวียดนามเป็นสมาชิกประเทศที่ 7 ในปี พ.ศ. 2538 ลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันในปี พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับสุดท้ายหรือประเทศที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2542 [การทูต] |
ASEAN Charter | กฎบัตรอาเซียน เป็นความตกลงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จะให้สถานะทางกฎหมายหรือนิติฐานะแก่อาเซียน และวางกรอบโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อทำให้อาเซียนเป็นหน่วยงานที่ยึดมั่นมาก ยิ่งขึ้นต่อกติกาและกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ประเทศสมาชิกร่วมกันกำหนดขึ้น อันจะนำมาซึ่งการเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนยังมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชน เป็นศูนย์กลางของความร่วมมือมากยิ่งขึ้นด้วยการจัดตั้งองค์กรใหม่ๆ เพื่อปกป้องและส่งเสริมผลประโยชน์ของประชาชนอาเซียน เช่น องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ร่วมลงนามกฎบัตรฯ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 [การทูต] |
ASEAN Committees in Third Countries | คณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม เป็นกลไกประสานงานของอาเซียนที่จัดตั้งขึ้นในเมืองหลวงของประเทศที่สาม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซียน คณะกรรมการดังกล่าว ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำประเทศนั้น ๆ [การทูต] |
ASEAN Community | ประชาคมอาเซียน ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 เมื่อเดือนตุลาคม 2547 เกาะบาหลี ได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 เห็นชอบให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในสามด้านหลักภายในปี พ.ศ. 2563 ได้แก่ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน [การทูต] |
ASEAN-European Community Joint Cooperation Committee | คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน-ประชาคมยุโรป " จัดตั้งขึ้นตามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประชาคมยุโรป (ASEAN-EC Cooperation Agreement) ที่ลงนามกันเมื่อปี พ.ศ. 2523 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างสองฝ่าย โดยมีคณะอนุกรรมการ 6 คณะ ได้แก่ ด้าน การค้า เศรษฐกิจอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และยาเสพติด " [การทูต] |
ASEAN Food Security Reserve Board | คณะกรรมการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงแห่งภูมิภาคอาเซียน เป็นกลไกประสานด้านการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงของภูมิภาค จัดตั้งขึ้นตามหลักการของปฏิญญาความสมานฉันท์แห่งอาเซียน 2514 [การทูต] |
Declaration of ASEAN Concord II | ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียนฉบับที่ 2 ผู้นำประเทศสมาชิก อาเซียนได้ลงนามในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ที่เกาะบาหลี เมื่อเดือนตุลาคม 2547 กำหนดที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายใน พ.ศ. 2563 [การทูต] |
Bangladesh-India-Myanmar- Sri Lanka and Thailand Economic Cooperation | กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างบังกลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา และไทย " ในช่วงแรกบังกลาเทศ-อินเดีย-พม่า-ไทย ได้ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ เพื่อจัดตั้งความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างบังกลาเทศ-อินเดีย-ศรีลังกา-ไทย (BIST-EC) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 ต่อมา ได้รับพม่าเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ และเปลี่ยนชื่อจาก BIST-EC เป็น BIMST-EC เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2540 " [การทูต] |
ASEAN Coordinating Committee on Investment | คณะกรรมการประสานงานด้านการลงทุนของอาเซียน " จัดตั้งขึ้นจากความตกลงพื้นฐานว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียน (AIA) โดยเป็นการประชุมระหว่างรองหัวหน้าหน่วยงานด้านการส่งเสริมการลงทุน เพื่อดูแลและประสานการดำเนินงานตามความตกลงว่าด้วย เขตการลงทุนอาเซียน " [การทูต] |
Conference on Disamament | การประชุมว่าด้วยการลดอาวุธ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 เพื่อเป็นเวทีเจรจาการลดอาวุธระหว่างประเทศ มีขอบเขตความรับผิดชอบเกี่ยวกับประเด็นด้านการลดอาวุธทุกด้าน และมีหน้าที่ รายงานต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติทุกปี ปัจจุบันมีสมาชิก 65 ประเทศ(ไทยมิได้เป็นสมาชิก) โดยที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จในการเจรจาจัดทำความตกลงระหว่างประเทศ ด้านการลดอาวุธหลายฉบับ ที่สำคัญได้แก่ สนธิสัญญาไม่แพร่อาวุธนิวเคลียร์ อนุสัญญาห้ามเคมี อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ และสนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ [การทูต] |
Common Effective Preferential Tariff | อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากัน " เป็นกลไกหลักในการลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกันภายใต้กรอบ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนให้อยู่ในระดับร้อยละ 0-5 โดย ครอบคลุมสินค้าทุกชนิด " [การทูต] |
The Conference on Interaction and Confidence-Building Measures in Asia | การประชุมว่าด้วยการแสวงหามาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (ด้านความมั่นคง) ในเอเชีย " CICA ได้รับการจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยความริเริ่มของคาซัคสถาน และมีสมาชิกเข้าร่วม 16 ประเทศ ได้แก่ คาซัคสถาน อินเดีย ปากีสถาน ปาเลสไตน์ รัสเซีย ตุรกี จีน อิสราเอล อิหร่าน อัฟกานิสถาน อียิปต์ อาเซอร์ไบจาน มองโกเลีย คีร์กิซสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน และประเทศผู้สังเกตการณ์อีก 10 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี ยูเครน เวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และเลบานอน " [การทูต] |
Common Market for Eastern and Southern Africa | ตลาดร่วมแห่งภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ " จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2537 มีประเทศสมาชิกรวม 20 ประเทศ ได้แก่ แองโกลา บุรุนดี คอโมโรส สาธารณรัฐประชาธิปไตย คองโก จิบูตี อียิปต์ เอริเทรีย เอธิโอเปีย เคนยา มาดากัสการ์ มาลาวี มอริเชียส นามิเบีย รวันดา เซเชลส์ ซูดาน สวาซิแลนด์ แซมเบีย ซิมบับเว และยูกันดา " [การทูต] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] |
Eastern African Community | ประชาคมแอฟริกาตะวันออก " จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 มีประเทศสมาชิก 3 ประเทศ คือ เคนยา ยูกันดา และแทนซาเนีย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก และการจัดตั้งตลาดร่วมขึ้น " [การทูต] |
East Asia Vision Group | กลุ่มวิสัยทัศน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก จัดตั้งขึ้นตามข้อเสนอของประธานาธิบดีคิม แด จุง แห่งสาธารณรัฐเกาหลี ในระหว่างการประชุมหัวหน้ารัฐบาลอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ที่กรุงฮานอย เมื่อเดือนธันวาคม 2541 เพื่อเป็นเวทีระดมความคิดและแสวงหาแนวทางขยายความร่วมมือระหว่างกันในทุก ด้านและทุกระดับเพื่อมุ่งแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจและพัฒนาภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง [การทูต] |
Economic Community of West African States | ประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตก จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2518 มีประเทศสมาชิกรวม 16 ประเทศคือ เบนิน บูร์กินาฟาโซ เคปเวิร์ด โกตดิวัวร์ แกมเบีย กานา กินี กินีบิสเซา ไลบีเรีย มาลี มอริเตเนีย ไนเจอร์ ไนจีเรีย เซเนกัล เซียร์ราลีโอนและโตโก [การทูต] |
Forum for East Asia - Latin America Cooperation | เวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเม ริกา สมาชิก 32 ประเทศ จากภูมิภาคเอเชียและลาตินอเมริกา โดยมีสมาชิก จากฝ่ายเอเชีย 15 ประเทศ คือ กลุ่ม ASEAN (10 ประเทศ) จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และจากฝ่ายลาตินอเมริกา 17 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ คอสตาริกา นิการากัว คิวบา ปานามา เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา บราซิล โบลิเวีย เอกวาดอร์ ปารากวัย อุรุกวัย อาร์เจนตินา และชิลี วัตถุประสงค์ จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีการประชุมระดับรัฐมนตรีต่าง -ประเทศทุก 2 ปี ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ปีละ 2 ครั้ง และคณะทำงาน 3 คณะ ปีละ 2 ครั้ง (คณะทำงานด้านการเมือง วัฒนธรรม และการศึกษา / ด้านเศรษฐกิจและสังคม / และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเวทีปรึกษาหารือและร่วมมือกันอย่างไม่เป็นทางการระหว่างประเทศเอเชียและ ลาตินอเมริกา โดยมีเป้าหมายไปที่การดำเนินโครงการความร่วมมือในทุกสาขาที่ประเทศสมาชิกมี ความสนใจร่วมกัน [การทูต] |
Free Trade Zones | เขตปลอดภาษี เป็นอาณาบริเวณที่อยู่ใกล้ท่าเรือหรือท่าอากาศยานที่อนุญาตให้นำเข้าโดยไม่ ต้องเสียภาษีนำเข้า ทั้งนี้ อาจเป็นการนำเข้าเพื่อส่งไปยังประเทศที่สาม หรือนำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าสำหรับส่งออกตามที่กฎหมายกำหนด จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าของประเทศ นั้น ๆ ให้สามารถส่งออกไปขายแข่งกับตลาดโลกได้มากขึ้น [การทูต] |
Free Trade Area of the Americas | เขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา " ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมดขององค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States หรือ OAS) ยกเว้นประเทศคิวบา มีเป้าหมายที่จะจัดตั้งให้สำเร็จในปี พ.ศ. 2548 (OAS มีสมาชิกทั้งหมด 35 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก อาร์เจนตินา โบลิเวีย บราซิล ชิลี โคลัมเบีย คอสตาริกา คิวบา โดมินิกัน เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา เฮติ ฮอนดูรัส นิการากัว ปานามา ปารากวัย อุรุกวัย เวเนซุเอลา แอนติกัวและบาร์บูดา เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ จาเมกา บาร์เบโดส เกรนาดา สุรินาเม โดมินิกา เซนต์ลูเซีย บาฮามาส เซนต์คิดตส์และเนวิส เบลิซ กายอานา ตรินิแดดและโตบาโก) " [การทูต] |
Honorary Consul | กงสุลกิตติมศักดิ์ " ได้แก่ บุคคลในท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งและมอบหมายให้ดูแล ส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศและคนชาติในพื้นที่ในเขตอาณา และดำเนินการตรวจลงตราหนังสือเดินทางแก่บุคคลที่จะเดินทางเข้าประเทศที่ กงสุลกิตติมศักดิ์เป็นผู้แทน การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ และต้องยื่นสัญญาบัตร และได้รับอนุมัติบัตรเช่นเดียวกับผู้แทนฝ่ายกงสุลอาชีพ (career consular officer) ทั้งนี้ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์จะได้รับมอบหมายให้ดูแลเขตอาณาที่ครอบคลุมพื้นที่ กว้างกว่าและสำคัญกว่า ในส่วนของไทย กงสุลกิตติมศักดิ์แตกต่างจากกงสุลอาชีพใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) กงสุลกิตติมศักดิ์ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม หรือเป็นผู้นำที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับไทย (2) กงสุลกิตติมศักดิ์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสำนักงาน ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์หรือสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ทั้งหมด (3) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุลน้อยกว่ากงสุลอาชีพ ในการปฏิบัติงานของกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยจะมีคู่มือกงสุลกิตติมศักดิ์ เป็นระเบียบกฎเกณฑ์และข้อมูลสำหรับการปฏิบัติงาน " [การทูต] |
International Law Enforcement Academy | สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน 2541 เป็นโครงการ 3 ปี (ระหว่าง 2541-2544) โดยสหรัฐอเมริกาให้เงินสนับสนุน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจัดการฝึกอบรมแก่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน เพื่อเสริมศักยภาพการดำเนินการตามกฎหมายในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ระหว่างประเทศ [การทูต] |
International Monetary Fund | กองทุนการเงินระหว่างประเทศ จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเงิน อำนวยความสะดวก เพื่อให้เกิดความเจริญเติบโตด้านการค้าระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้เกิดระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราที่มั่นคงและเป็นระเบียบ การกำจัดข้อจำกัดด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ และช่วยเหลือประเทศสมาชิกโดยการจัดหาทรัพยากรด้านการเงินเป็นการชั่วคราว เพื่อแก้ไขปัญหาด้านดุลการชำระเงิน [การทูต] |
Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle | โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย " จัดตั้งในสมัยรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน เมื่อกลางปี พ.ศ. 2535 โดยมีพื้นที่โครงการครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ คือ ไทย ได้แก่ สงขลา ยะลา ปัตตานี สตูล และนราธิวาส มาเลเซีย ได้แก่ 4 รัฐทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย (เคดาห์ เปอร์ลิส เปรัก และปีนัง) อินโดนีเซีย ได้แก่ 4 จังหวัดบนเกาะสุมาตรา (เขตปกครองพิเศษอาเจ่ห์) สุมาตราเหนือ สุมาตราตะวันตก และจังหวัดเรียว (Riau) " [การทูต] |
International Force in East Timor | กองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก จัดตั้งขึ้นตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1264 (1999) เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2542 มีภารกิจหลัก 3 ประการ คือ ฟื้นฟูสันติภาพและเสถียรภาพในติมอร์ตะวันออก ป้องกันและสนับสนุนงานของเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติ และอำนวยความสะดวกในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม กองกำลังนานาชาติปฏิบัติหน้าที่ในติมอร์ตะวันออกจนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 [การทูต] |
JAPAN-ASEAN General Exchange Fund | กองทุนการแลกเปลี่ยนญี่ปุ่น-อาเซียน เป็นกองทุนสำหรับการพัฒนาบุคลากรของประเทศสมาชิกใหม่และ การพัฒนาสำนักเลขาธิการอาเซียน โดยญี่ปุ่นบริจาคเงินจำนวน 2, 542, 000 เหรียญสหรัฐ ในปีงบประมาณ 2543 ได้จัดตั้งกองทุน JAGEF ขึ้นมาใหม่ แทนกองทุนความร่วมมือเดิม (JACPP) [การทูต] |
Japan - Thailand Joint Taks Forc on Counter Trafficking in pesons | คณะทำงานเฉพาะกิจร่วมไทย - ญี่ปุ่นว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ จัดตั้งเมื่อ พ.ศ.2549 เพื่อเป็นกลไกในการประสานความร่วมมือต่อต้านการค้ามนุษย์ระหว่างกัน ระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล ครอบคลุมความร่วมมือใน 3 เรื่อง ได้แก่ (1) การป้องกันการค้ามนุษย์ ( prevention) (2) การบังคับใช้กฎหมาย (law enforcement) และ (3) การคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์ (protection) [การทูต] |
Judicial Settlement | การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยศาลตุลาการ ก่อนที่จะเกิดองค์การสหประชาชาติ รัฐทั้งหลายที่มีกรณีพิพาทระหว่างประเทศจะฟ้องร้องต่อศาลระวห่างประเทศแห่ง หนึ่ง มีชื่อว่าศาลประจำยุติธรรมระหว่าประเทศ (Permanent Court of International Justice) ซึ่งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1920 ได้ประชุมกันเป็นครั้งแรก ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1922 หลังจากนั้นเป็นเวลา 23 ปี ผู้พิพากษาของศาลก็ได้ลาออกในปีค.ศ. 1946 และสันนิบาตชาติได้ยุบศาลนี้ในปีเดียวกันเมื่อมีการสถาปนาองค์การสหประชา ชาติขึ้น ได้มีการจัดตั้งศาลระหว่างประเทศขึ้นใหม่ เรียกว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ตามกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรนี้ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 92 ว่า ?ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจักเป็นองค์กรทางตุลาการอันสำคัญของสหประชาชาติ ศาลจักดำเนินหน้าที่ตามธรรมนูญผนวกท้าย ซึ่งยึดถือธรรมนูญของศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นมูลฐาน และซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับกฎบัตรฉบับปัจจุบัน?ศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศนี้ ประชุมกันเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1946 [การทูต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
จัดตั้ง | [jattang] (v) EN: establish ; found ; set up ; establish ; form ; organize FR: établir ; former ; organiser |
จัดตั้งขึ้น | [jattang kheun] (v, exp) EN: set up ; found ; establish FR: établir ; mettre sur pied |
Longdo Approved EN-TH
Central Bankruptcy Court | (n, name, org, uniq) ศาลล้มละลายกลาง เป็นศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นศาลชำนัญพิเศษ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คดีล้มละลายซึ่งมีลักษณะพิเศษแต่กต่างจากคดีแพ่ง ทั่วไป ได้รับการพิจารณาพิพากษาจากผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ - อ้างอิงจากhttp://www.judiciary.go.th/bkcc/history.html |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
Hope Dictionary
american national standar | สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา <คำแปล>ใช้ตัวย่อว่า ANSI (อ่านว่า แอนซี) เป็นชื่อของสถาบันเอกชนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ทำหน้าที่กำหนดและควบคุมมาตรฐานของอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ โดยไม่หวังผลกำไรใด ๆ ทั้งสิ้น |
ansi | (แอนซี) ย่อมาจาก American National Standards Institute ซึ่งราชบัณฑิตสถานบัญญัติว่า "สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา" เป็นสถาบันเอกชน ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ทำหน้าที่กำหนดและควบคุมมาตรฐานของอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ โดยไม่หวังผลกำไรใด ๆ ทั้งสิ้นดู ANSI C, ANSI character set, ANSI graphics |
erect | (อีเรคทฺ') adj. ตั้งตรง, ตั้งชัน, ลุก, ชู vt. สร้าง, ก่อสร้าง, ยก, ชู, จัดตั้ง, ทำให้ตั้งตรง, ติดตั้ง., See also: erectable adj. ดูerect |
form | (ฟอร์ม) { formed, forming, forms } n. รูปแบบ, รูปร่าง, แบบฟอร์ม, ระดับ, ความสามารถ, ฝีเท้า. vt. สร้างเป็นรูปร่าง, ก่อรูปแบบ, ผลิต, ประกอบ, ทำ, จัด, เรียง, จัดแถว, จัดตั้ง, คิด, เกิดความคิด. vi. เป็นรูปเป็นร่างขึ้น, กลายเป็น, จัดขึ้น |
institute | (อิน'สทิทิวทฺ) n. สถาบัน, องค์การ, วิทยาลัย, สถาบันหนึ่งของมหาวิทยาลัย vt. จัดตั้ง, จัดให้มี, ริเริ่ม, สร้าง, ก่อตั้ง., See also: institutor, instituter n., Syn. establish |
junta | (จัน'ทะ) n. กลุ่มเล็ก ๆ ที่บริหารประเทศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการรัฐประหารและก่อนที่จะมีการจัดตั้งรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ) , สภาการเมือง, คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเอง, Syn. clique |
organise | (ออร์'กะไนซ) vt., vi. สร้าง, ทำให้เป็นระบบ, จัดตั้ง, รวบรวม, ทำให้มีประสิทธิภาพ., See also: organisable adj. organizable adj. organisation n. organization n., Syn. systematize, sort |
organization | (ออร์กะไนเซ'เชิน) n. องค์การ, คณะ, รูป, ระบบ, องค์ประกอบ, โครงสร้างสิ่งมีชีวิต, การควบคุม, การจัดตั้ง., See also: organizational adj., Syn. arrangement |
organize | (ออร์'กะไนซ) vt., vi. สร้าง, ทำให้เป็นระบบ, จัดตั้ง, รวบรวม, ทำให้มีประสิทธิภาพ., See also: organisable adj. organizable adj. organisation n. organization n., Syn. systematize, sort |
set | (เซท) { set, set, setting, sets } vt. วาง, ตั้ง, ตั้งตรง, จัด, จัดหามา, จัดการ, เตรียมการ vi. เคลื่อนลง, ตก, เหมาะกับ, เหมาะสม, ออกเดินทาง, เริ่มทำ, ลงลายเซ็น. n. การตั้ง, การจัดตั้ง, ชุด, เครื่องชุด, การเคลื่อนลงของตะวัน, ตะวันตกดิน, อนุกรมสิ่งตีพิมพ์, พวก, กลุ่มเกม, ทิศทาง, เครื่องรับ (วิทยุ, โทรทัศน์) |
socialize | (โซ'ชะไลซ) vt. ทำให้เป็นสังคม, จัดตั้งชุมชน. - vi. คบหาสมาคม, วิสาสะ., See also: socializable adj. socialization n. socializer n., Syn. socialise. |
structure | (สทรัค'เชอะ) n. โครงสร้าง, โครง, โครงร่าง, องค์ประกอบ, ลักษณะ, วิธีการสร้าง, สิ่งก่อสร้าง, ส่วนประกอบที่หยาบกว่าของหิน, แบบแผน, โครงสร้างสังคม. vt. สร้าง, ประกอบ, จัดทำ, จัดตั้ง, ก่อสร้าง., Syn. construction |
Nontri Dictionary
erect | (vt) สร้าง, สถาปนา, ก่อตั้ง, จัดตั้ง, ก่อสร้าง, ติดตั้ง |
establish | (vt) สถาปนา, ตั้ง, จัดตั้ง, ก่อตั้ง, กำหนด, สร้าง |
federation | (n) สหพันธ์, กลุ่มการเมือง, การจัดตั้งพรรคการเมือง, การรวมกัน |
form | (vt) ทำขึ้น, สร้าง, ก่อ, ประกอบ, ประดิษฐ์, จัดตั้ง, เพาะ, ปลูก |
institute | (vt) จัดตั้งขึ้น, ตั้ง, สร้าง, ก่อตั้ง |
institution | (n) การจัดตั้งขึ้น, หน่วยงาน, สถาบัน |
make | (vt) ทำ, จัดตั้ง, เตรียม, สร้าง, บรรลุ, แต่ง, สมมุติ |
organization | (n) การจัดระเบียบ, การจัดตั้ง, องค์กร, คณะ, องค์การ |
organize | (vt) จัดระเบียบ, รวบรวม, ทำให้เป็นระบบ, จัดตั้ง |
promoter | (n) ผู้ส่งเสริม, ผู้จัดตั้ง, ผู้สนับสนุน, ผู้จัด |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
*??งค์การบริหารส่วน* | (n) เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้น เพื่อบริหารงานส่วนท้องถิ่น |
Carbonic Anhydrase Inhibitors (CAIs) | เป็นชั้นของยาที่ระงับกิจกรรมของคาร์บอ ในทางการใช้ทางคลินิกได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นตัวแทนของโรคต้อหิน, ยาขับปัสสาวะ, ยากันชัก, ในการจัดการของเข่มาภูเขา, กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กเป็นแผล, ความผิดปกติของระบบประสาท, หรือโรคกระดูกพรุน |
Holding Company | [โฮลดิ้ง คอมปะนี] (n) บริษัทผู้ถือหุ้นใหญ่หรือเป็นเจ้าของหุ้นใหญ่ในบริษัทอื่น บริษัทที่ถูกจัดตั้ง ขึ้นมาเพื่อซื้อหุ้นของบริษัทอื่น |
non-voting depository right | (n) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทย่อยที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้น ซึ่งคือ "บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด" (Thai NVDR Company Limited) โดยมีลักษณะเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนโดยอัตโนมัติ (Automatic List) วัตถุประสงค์หลักของ NVDR คือเพื่อกระตุ้นการลงทุนและเพิ่มสภาพคล่องให้ตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งช่วยให้ชาวต่างประเทศลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนได้ โดยไม่ติดเรื่องเพดานการถือครองหลักทรัพย์ของชาวต่างชาติ (Foreign Limit) พร้อมทั้งสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงิน |
ศาลล้มละลายกลาง | (n, org, uniq) ศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นศาลชำนัญพิเศษ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คดีล้มละลายซึ่งมีลักษณะพิเศษแต่กต่างจากคดีแพ่ง ทั่วไป ได้รับการพิจารณาพิพากษาจากผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ http://www.judiciary.go.th/bkcc/history.html |
ศาลล้มละลายกลาง | (n, org, uniq) ศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นศาลชำนัญพิเศษ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คดีล้มละลายซึ่งมีลักษณะพิเศษแต่กต่างจากคดีแพ่ง ทั่วไป ได้รับการพิจารณาพิพากษาจากผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ http://www.judiciary.go.th/bkcc/history.html |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
設ける | [もうける, moukeru] (vt) กำหนดวาง, จัดเตรียม, จัดตั้ง |
創業費 | [そうぎょうひ, sougyouhi] ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท |
地方自治法 | [そうぎょうひ, chihoujichi hou] พระราชญัติว่าด้วยการปกครองตนเองของท้องถิ่น(พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองท้องถิ่น ประเภทต่างๆ เช่น จังหวัด เทศบาล และบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่นเหล่านั้นเป็นต้น) |
設置 | [せっち, setchi] (n, vt) การติดตั้ง, การจัดตั้ง |
Saikam JP-TH-EN Dictionary
設定 | [せってい, settei] TH: จัดตั้ง EN: establish |
既定 | [きてい, kitei] TH: ที่จัดตั้งมาแล้ว EN: established |
Longdo Approved DE-TH
stellen | (vt) |stellte etw., hat etw. gestellt| จัดตั้งวางสิ่งใดสิ่งหนึ่ง |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0431 seconds, cache age: 5.343 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม