264 ผลลัพธ์ สำหรับ *การรวม*
ภาษา
หรือค้นหา: การรวม, -การรวม-NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
บูรณาการรวมหน่วย | (n) grouping separated units together, See also: integration, Example: ขณะนี้โรงเรียนในระบบและนอกระบบได้นำการศึกษาแบบบูรณาการรวมหน่วยมาใช้กันบ้างแล้ว, Thai Definition: การนำหน่วยที่แยกๆ มารวมเข้าเป็นอันเดียวกัน |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้น | ว. ลักษณะของเหลวที่มีการรวมตัวกันแน่นเข้า, ไม่ใส |
ชอล์ก ๑ | น. ชื่อแร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต มีซิลิกาปนอยู่เล็กน้อย เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยการรวมตัวของหินปูนจากซากสัตว์ พืช และเปลือกหอยในทะเล, หินดินสอพอง ก็เรียก. |
บรรษัท | การรวมกันเข้าหุ้นส่วนทำการค้าขาย |
มณฑลเทศาภิบาล | น. เขตการปกครองในระบบเทศาภิบาล โดยการรวมเมืองตั้งแต่ ๒ เมืองขึ้นไปเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลที่ส่งไปจากกรุงเทพฯ เป็นผู้ปกครอง. |
โลกายัต | น. ชื่อหนึ่งของลัทธิปรัชญาฝ่ายวัตถุนิยมของอินเดีย ถือว่าโลกนี้เกิดจากการรวมตัวกันเองของวัตถุธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ชีพหรือชีวิตเป็นเพียงผลิตผลของวัตถุธาตุที่รวมตัวกันนั้น คนเราเกิดครั้งเดียว ตายแล้วขาดสูญ ไม่มีโลกหน้า จึงควรแสวงหากามสุขเสียแต่วันนี้ พรุ่งนี้เราอาจตาย, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นอุจเฉททิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าตายแล้วสูญ, จารวาก ก็เรียก. |
สโมธาน | (สะโม-) น. การประชุม, การรวมกัน. |
สหภาพ | น. การรวมตัวขององค์การตั้งแต่ ๒ องค์การขึ้นไป เพื่อทำกิจการทั่วไปหรือกิจการเฉพาะอย่างตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่เข้าร่วมกันนั้น เช่น สหภาพศุลกากร สหภาพรัฐสภา |
สหภาพ | ชื่อรูปแบบหนึ่งของการรวมตัวของรัฐตั้งแต่ ๒ รัฐขึ้นไป เช่น สหภาพพม่า |
สัญชาตญาณ | (-ชาดตะ-) น. ความรู้ที่มีมาแต่กำเนิดของคนและสัตว์ ทำให้มีความรู้สึกและกระทำได้เองโดยไม่ต้องมีใครสั่งสอน เช่น สัญชาตญาณในการป้องกันตัว สัญชาตญาณในการรวมหมู่, สัญชาตเวค ก็ว่า. |
สัมเภทะ | น. การปะปน, การรวมกัน |
สัสดี | การรวมบัญชีคน. |
สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ | ก. สืบพันธุ์โดยไม่ต้องมีการรวมตัวของเซลล์สืบพันธุ์ เช่น การแบ่งตัวของแบคทีเรีย. |
หุบ | ก. อาการรวมเข้าของสิ่งที่ขยายออก เช่น หุบร่ม ใบไม้หุบ |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
Pan-Europe | ขบวนการรวมกลุ่มประเทศภาคพื้นยุโรป (ไม่รวมประเทศอังกฤษ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Pan-European | ขบวนการรวมกลุ่มยุโรป (รวมประเทศอังกฤษ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
price fixing | ๑. การรวมหัวกันกำหนดราคา๒. การกำหนดราคาสูงสุด [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
pool | การรวมกลุ่มกิจการ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
people, conglomerate of | การรวมกลุ่มชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
right of association | สิทธิในการรวมกันเป็นสมาคม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
system integration (SI) | การรวมระบบ (เอสไอ) [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
SI (system integration) | เอสไอ (การรวมระบบ) [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
syngamy | ๑. การสืบพันธุ์อาศัยเพศ๒. การรวมของสองเซลล์สืบพันธุ์ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
oidisation; oidization | การรวมโออิเดียม [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕] |
oidization; oidisation | การรวมโออิเดียม [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕] |
association, right of | สิทธิในการรวมกันเป็นสมาคม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
association | การรวมกลุ่ม, การรวมตัว [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖] |
agglomeration | การรวมกันเป็นกลุ่ม [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
aggregation | กลุ่ม, การรวมกลุ่ม [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
aggregation | การรวมกลุ่มก้อน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
aggregation | การรวมกลุ่ม [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] |
aggregation of interests; aggregation, interest | การรวมผลประโยชน์ (ให้เป็นกลุ่มก้อน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
aggregation, interest; aggregation of interests | การรวมผลประโยชน์ (ให้เป็นกลุ่มก้อน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Anschluss (G.) | การผนวกดินแดนโดยใช้อำนาจ, การรวมดินแดน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
joinder of actions | การรวมฟ้องเป็นคดีเดียวกัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
joinder of causes of action | การรวมประเด็นฟ้อง [ ดู joinder of claims ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
joinder of charges | การรวมข้อกล่าวหา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
joinder of claims | การรวมข้อเรียกร้อง, การรวมประเด็นฟ้อง [ ดู joinder of causes of action ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
joinder of defendants | การรวมฟ้องจำเลยหลายคน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
joinder of documents | การรวมความในเอกสารหลายฉบับไว้ในบันทึกเดียวกัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
joinder of offenders | การรวมฟ้องผู้กระทำความผิดหลายคน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
joint trial | การรวมพิจารณาคดี [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
bidding, collusive | การรวมหัวประกวดราคา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
misjoinder | การรวมฟ้องคดีโดยไม่ถูกต้อง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
merger | ๑. การรวมบริษัท๒. หลักควบความเสียหาย [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
multiplex (MUX) | การรวมส่งสัญญาณร่วมสื่อ (มักซ์) [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
multifariousness | การรวมข้อหาต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
mixtion | การรวมทรัพย์หลายเจ้าของ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
MUX (multiplex) | มักซ์ (การรวมส่งสัญญาณร่วมสื่อ) [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
misjoinder of parties | การรวมฟ้องคู่ความโดยไม่ถูกต้อง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
centralization | การรวมอำนาจปกครอง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
centralization | การรวมอำนาจปกครอง (ก. ปกครอง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
concentration | การรวมอำนาจวินิจฉัยสั่งการ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
concentration ratio | อัตราส่วนการรวมรังสี [พลังงาน ๒๖ ม.ค. ๒๕๔๕] |
consolidation | การรวมเข้าเป็นหน่วยเดียวกัน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
consolidation | การรวมเข้าเป็นอันเดียวกัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
consolidation of actions; consolidation of cases | การรวมคดีพิจารณา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
consolidation of cases; consolidation of actions | การรวมคดีพิจารณา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
consolidation of mortgages | การรวมจำนอง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
collusive bidding | การรวมหัวประกวดราคา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
coalescence | การรวมเสียง [สัทศาสตร์ ๘ มี.ค. ๒๕๔๕] |
coalescent assimilation | การรวมเสียงกลมกลืน [สัทศาสตร์ ๘ มี.ค. ๒๕๔๕] |
conglomerate of people | การรวมกลุ่มชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
conglomeration | การรวมกลุ่ม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Electrocoagulation | การรวมตะกอนด้วยไฟฟ้า [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Cartel | การรวมหัว, Example: หมายถึง การทำความตกลงร่วมมือกันของกลุ่มอุตสาหกรรมหรือกลุ่มการค้า เพื่อผูกขาดหรือสามารถควบคุมการดำเนินการใดๆ ในธุรกิจสาขานั้น โดยปรกติการตกลงกันในลักษณะการรวมหัว มักเป็นไปเพื่อการควบคุมผลผลิตเพื่อที่จะยกระดับราคาและผลกำไรของกิจการ สินค้าของกลุ่มที่จะรวมกันจะต้องเป็นสินค้าที่มีลักษณะเหมือนกัน และมีผู้ขายสินค้าจำนวนน้อยราย เช่น ประเทศกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรวมหัวกัน เพื่อกำหนดราคาและควบคุมปริมาณผลผลิต [ปิโตรเลี่ยม] |
Currency pooling | การรวมเงินตรา (หลายสกุล) [เศรษฐศาสตร์] |
Economic concentration | การรวมตัวทางเศรษฐกิจ [เศรษฐศาสตร์] |
Horizontal integration | การรวมหน่วยตามแนวนอน [เศรษฐศาสตร์] |
Industrial concentration | การรวมจุดทางอุตสาหกรรม [เศรษฐศาสตร์] |
Economic integration | การรวมหน่วยทางเศรษฐกิจ [เศรษฐศาสตร์] |
Industrial integration | การรวมหน่วยทางอุตสาหกรรม [เศรษฐศาสตร์] |
Industrial trust | การรวมกันผูกขาดทางอุตสาหกรรม [เศรษฐศาสตร์] |
Reginalization | การรวมเป็นภูมิภาค [เศรษฐศาสตร์] |
Vertical integration | การรวมหน่วยตามแนวตั้ง [เศรษฐศาสตร์] |
Coagulation | การรวมตะกอน [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Annihilation | ประลัย, ปฏิกิริยาระหว่างอนุภาคกับปฏิยานุภาคของอนุภาคนั้นๆ แล้วอนุภาคทั้งสองหายไปกลายเป็นรังสีแกมมาพลังงานเท่ากันเคลื่อนที่ออกไปในทิศทางตรงข้ามกัน เช่นการรวมตัวของอิเล็กตรอนกับโพซิตรอน ได้รังสีแกมมาพลังงานรวม 1.02 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (ดู Antimatter ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
integration | บูรณาการ, การรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, บูรณาการ มี ๒ ความหมาย <p>ความหมายที่ ๑ คือ ทำให้เป็นเนื้อเดียวกันโดยรวมหรือผสมผสานส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น การสอนภาษาแบบบูรณาการ หมายถึง การรวมทักษะการพูด ฟัง อ่าน เขียน ไว้ในวิชาเดียวกัน, หลักสูตรแบบบูรณาการสำหรับภิกษุสามเณร เป็นหลักสูตรที่รวมหลักสูตรธรรมศึกษา บาลีศึกษา และสามัญศึกษา ให้เป็นหลักสูตรเดียว <p>ความหมายที่ ๒ หมายถึงเชื่อมหรือประสานกับสิ่งอื่นหรือหน่วยงานอื่น เช่น โรงเรียนหลายแห่งบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ที่มีรากฐานจากความเป็นไทยและนำไปสู่การ พัฒนาประเทศที่ยั่งยืน [การจัดการความรู้] |
ชอล์ก | 1. ชื่อแร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต มีซิลิกาปนอยู่เล็กน้อย เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยการรวมตัวของหินปูนจากซากสัตว์ พืช และเปลือกหอยในทะเล 2. เครื่องเขียนกระดานดำชนิดหนึ่งที่เป็นสีขาวทำจากแคลเซียมซัลเฟต ซึ่งได้จากเกลือจืดหรือยิปซัมผสมน้ำ, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ ชอคล์ [คำที่มักเขียนผิด] |
Aggregation (Chemistry) | การรวมกลุ่ม (เคมี) [TU Subject Heading] |
Coalitions | การรวมตัวเป็นพันธมิตร [TU Subject Heading] |
Consolidation and merger of corporations | การรวมกิจการ [TU Subject Heading] |
Convention Concerning Freedom of Association and Protection of the Right to Organise (1948) | อนุสัญญาว่าด้วยเรื่องเสรีภาพในการรวมตัวเป็นสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการจัดตั้ง (ค.ศ. 1948) [TU Subject Heading] |
Economic integration | การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ [TU Subject Heading] |
Freedom of association | เสรีภาพในการรวมตัวเป็นสมาคม [TU Subject Heading] |
German reunification question (1949-1990) | ปัญหาการรวมเยอรมัน [TU Subject Heading] |
Industrial clusters | การรวมกลุ่มทางอุตสาหกรรม [TU Subject Heading] |
International economic integration | การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ [TU Subject Heading] |
Korean reunification question (1945- ) | ปัญหาการรวมเกาหลี [TU Subject Heading] |
Syndicates (Finance) ; Syndication | การรวมทุน [TU Subject Heading] |
Vertical integration | การรวมตัวของกิจการในแนวดิ่ง [TU Subject Heading] |
Economic Integration | การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ, Example: การรวมกลุ่มของประเทศต่างๆ เพื่อเสริมสร้าง และรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน โดยเฉพาะในด้านการค้าได้พยายามแสวงหาลู่ทางขยายการค้า ระหว่างกันให้มีขอบเขตกว้างขวางขึ้น ด้วยการลดหรือยกเลิก อุปสรรคกีดขวางทางการค้า ทั้งในรูปภาษีศุลกากรและที่มิใช่ภาษีศุลกากร การรวมทางเศรษฐกิจนอกจากจะอำนวยผลประโยชน์ต่างๆ ทางเศรษฐกิจระหว่างกันแล้ว ยังเป็นลู่ทางนำไปสู่การกระชับความสัมพันธ์ทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมในให้แน่นแฟ้น ยิ่งขึ้น การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในทางทฤษฎีมีได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่การรวมกลุ่มแบบง่ายๆ จนถึงการรวมกลุ่มที่มีความสลับซับซ้อนโดยทั่วไปจะจำแนกตามพันธกรณีที่ประเทศ สมาชิกพึงมีต่อกันในระดับต่างๆ เริ่มตั้งแต่ เขตการค้าเสรี (ดู Free Trade Area) สหภาพศุลกากร (ดู Customs Union) ตลาดร่วม (ดู Common Market) สหภาพเศรษฐกิจ (ดู Economic Union) และสหภาพเหนือชาติ (ดู Supernational Union) [สิ่งแวดล้อม] |
Agglomeration | การรวมกันเป็นกลุ่มก้อน, Example: ในทางประชากรศาสตร์หมายถึงการรวมกัน ตั้งถิ่นฐานของประชากรตามพื้นที่ หรือเขตภูมิศาสตร์ หรือเขตการปกครอง [สิ่งแวดล้อม] |
Vertical Integration | การรวมตัวของธุรกิจในแนวตั้ง, Example: การขยายตัวของอุตสาหกรรมหนึ่ง หรือธุรกิจหนึ่ง ด้วยการเข้าไปดำเนินการในธุรกิจอื่น ที่ผลิตสินค้าในขั้นตอนก่อนหรือหลังการผลิตสินค้าของอุตสาหกรรมนี้ เช่น ผู้ผลิตในอุสาหกรรมรถยนต์ อาจเข้าไปดำเนินกิจการโรงงานถลุงเหล็ก และต่อมาก็เข้าไปทำเหมืองแร่เหล็กเอง ซึ่งเรียกว่าการรวมตัวในแนวตั้งที่มีผลไปข้างหลัง (backward) แต่หากอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เริ่มขยายตัวโดยการขายรถยนต์โดยตรงแก่ผู้บริโภค แทนที่จะขายผ่านตัวแทนหรือผู้จัดจำหน่าย กรณีนี้เรียกว่าการรวมตัวในแนวตั้งที่มีผลไปข้างหน้า (forward) [สิ่งแวดล้อม] |
Cartel | การรวมหัว, Example: การตกลงทำความร่วมมือกันของกลุ่มอุตสาหกรรม หรือกลุ่มการค้า เพื่อผูกขาดหรือสามารถควบคุมการดำเนินการใดๆ ในธุรกิจสาขานั้น โดยปกติการตกลงกันในลักษณะการรวมหัว มักเป็นไปเพื่อการควบคุมผลผลิตเพที่จะยกระดับราคาและกำไรของกิจการ สินค้าของกลุ่มที่จะรวมกันจะต้องเป็นสินค้าที่มีลักษณะเหมือนกัน (homogenecus product) และมีผู้ขายสินค้าจำนวนน้อยราย เช่น ประเทศกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรวมหัวกัน เพิ่อกำหนดราคาและควบคุมปริมาณผลผลิต (ดู OPEC) [สิ่งแวดล้อม] |
ASEAN Vision 2020 | วิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. 2563 เป็นเอกสารซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ได้ให้ความเห็นชอบ เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นและพันธกรณีของอาเซียนที่จะนำประชาชนในภูมิภาคนี้ ไปสู่ (1) การเป็นภูมิภาคที่มีสันติภาพและเสถียรภาพ (2) ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งด้วยการรวมตัวทางเศรษฐกิจ อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น (3) การเป็นสังคมที่เปิดกว้าง มีความเป็นปึกแผ่นและเอื้ออาทรต่อกัน และ (4) การกระชับความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและโลกภายนอก บนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกันและมีความเคารพซึ่งกันและกัน [การทูต] |
Commonwealth of Independent States | เครือรัฐเอกราช " กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราชเกิดจากการรวมตัวกันของบรรดาประเทศเกิดใหม่ภาย หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต (ยกเว้นประเทศ กลุ่มทะเลบอลติก 3 ประเทศ ได้แก่ ลิธัวเนีย แลตเวีย และเอสโตเนีย) ซึ่งได้ร่วมลงนามในปฏิญญา Alma-Ata ก่อตั้งเครือรัฐเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2534 ประกอบด้วยสมาชิก 12 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย ยูเครน เบลารุส มอลโดวา คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน คีร์กิซสถาน ทาจิกิสถาน อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน และจอร์เจีย " [การทูต] |
civil society | ประชาสังคม หมายถึง สังคมที่ประชาชนในระดับต่าง ๆ มีการรวมตัวกันอย่างแข็งแกร่ง เพื่อที่จะเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินทางเลือกสาธารณะ ที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของท้องถิ่นและประเทศโดยรวม [การทูต] |
Commonwealth of Nations | การรวมตัวของชาติต่าง ๆ เข้าเป็นสมาคมทางการเมือง ประกอบด้วยประเทศสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ลังกา ไซปรัส แกมเบีย กาน่า อินเดีย จาไมก้า คีเนีย มาเลเซีย มาลาวี มอลต้า นิวซีเแลนด์ ไนจีเรีย ปากีสถาน ซิเอร่าเลโอน แทนเซียเนีย ทรินิแดด-โทเบโก ยูแกนดา และแซมเบียตามทรรศนะของ Oppenheim ศาสตราจารย์นักกฎหมายระหว่างประเทศในระดับโลก สมาคมทางการเมืองแห่งนี้ก็คือกลุ่มของรัฐที่รวมกันโดยไม่มีพื้นฐานการรวมตัว ทางกฎหมายที่เคร่งครัดแต่อย่างใด หากแต่มีความผูกพันร่วมกันในด้านประวัติศาสตร์ จารีตประเพณี กฎหมาย และมีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างแน่นแฟ้นมากกว่า [การทูต] |
concert of nations | ความปรองดองระหว่างชาติ หลักการและแนวคิดเรื่องความปรองดองระหว่างชาติเกิดขึ้นในยุโรป ระหว่าง พ.ศ. 2357-2358 ซึ่งเรียกว่า Concert of Europe หรือบางครั้งเรียกว่า Concert of Allies โดยการรวมตัวของกลุ่มรัฐพันธมิตรที่ต่อต้านการขยายอำนาจของฝรั่งเศส คือ รัสเซีย ออสเตรีย ปรัสเซีย และอังกฤษ ได้รวมตัวกันเป็นระบบแห่งยุโรป (European system) หรือระบบแห่งมหาอำนาจในยุโรป ซึ่งต่อมาฝรั่งเศสและสเปนได้เข้าร่วมในระบบความปรองดองแห่งยุโรปด้วย นอกจากนี้การเกิดระบบความปรองดองแห่งยุโรปซึ่งมีระบบการประชุมคองเกรส ระหว่างชาติมหาอำนาจเป็นกลไกสำคัญนั้น ยังเป็นการแสดงถึง "มหาอำนาจแห่งปฐมลำดับ" (The powers of the first order) และยังถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการเรียกชื่อที่ระบุคำว่ามหาอำนาจ (The first expression of the idea of the Great Powers) อย่างไรก็ตาม ระบบความปรองดองแห่งยุโรปได้ล่มสลายลงในปี พ.ศ. 2365 [การทูต] |
Economic Integration | การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ " หมายถึง การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไป โดยการยกเลิกการเรียกเก็บภาษีศุลกากรและมาตรการอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคทางการค้าให้แก่กันและกัน รวมทั้งอาจใช้นโยบายต่าง ๆ ร่วมกัน จำแนกได้หลายรูปแบบ เช่น เขตการค้าเสรี สหภาพศุลกากร ตลาดร่วม และสหภาพเศรษฐกิจ " [การทูต] |
European Union | สหภาพยุโรป สหภาพยุโรปได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ นับแต่การก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้า (European Coal and Steal Community) ในปี พ.ศ. 2494 ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการจัดทำสนธิสัญญากรุงโรม (Treaty of Rome) ได้มีการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community : EEC) และประชาคมพลังงานปรมาณู (Euratom) ในช่วงเวลานั้นจึงเรียกชื่อกันว่าประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ต่อมาได้มีการรวม 3 ประชาคมเข้าด้วยกันและได้มีกฎหมายยุโรปตลาดเดียว (Single European Act) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2530 เพื่อให้ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเข้าสู่ขั้นตอนการเป็นตลาดร่วมและตลาดเดียวที่ สมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2535 ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อเป็นประชาคมยุโรป (European Communities : EC) ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 ต่อมาเมื่อสนธิสัญญามาสทริชท์ (Maastricht Treaty) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายและขั้นตอนให้ประชาคมยุโรปพัฒนาไปสู่การเป็นสหภาพยุโรป จึงได้เปลี่ยนมาเรียกชื่อในทางปฏิบัติว่า สหภาพยุโรป (European Union : EU) ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย [การทูต] |
Free Trade Area | เขตการค้าเสรี การรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากร ระหว่างกันภายในกลุ่มลงให้เหลือน้อยที่สุด หรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Initiatives for ASEAN Integration | ความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน [การทูต] |
New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] |
Roadmap for Integration of ASEAN | แผนการรวมตัวของอาเซียน [การทูต] |
regionalism | ภูมิภาคนิยม " เป็นการรวมกลุ่มของประเทศในภูมิภาคบนพื้นฐานของการตระหนักถึงผลประโยชน์ร่วม กันในการพัฒนาและความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นการระดมพลังในการปกป้องและเสริมสร้างความก้าวหน้าและสันติภาพความ มั่นคงของแต่ละประเทศและของภูมิภาคโดยส่วนรวม - open regionalism ภูมิภาคนิยมแบบเปิด เป็นกระบวนการ รวมตัวและร่วมมือกันในภูมิภาคเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าซึ่งกันและกัน โดยไม่มีการกีดกันประเทศภายนอก - closed regionalism ภูมิภาคนิยมแบบปิด เป็นกระบวนการ รวมตัวและร่วมมือกันในภูมิภาคเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าซึ่งกันและกัน โดยมีการกีดกันประเทศภายนอก " [การทูต] |
reunification | การรวมประเทศ หลังจากประเทศถูกแบ่งแยกออกเป็นสองประเทศ [การทูต] |
security community | ประชาคมความมั่นคง เป็นการรวมตัวกันของบรรดาประเทศในภูมิภาคเพื่อศึกษาและเสริมสร้างความมั่นคง ของภูมิภาค โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือบนพื้นฐานของแนวความคิดของความมั่นคงร่วมกัน [การทูต] |
Central American Integration System หรือ Sistema de la Integracion Centromericana | ระบบการรวมกลุ่มในอเมริกากลาง ก่อตั้งเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534 เพื่อกระตุ้นกระบวนการบูรณาการกลุ่มประเทศในภูมิภาคอเมริกากลาง ประกอบด้วยสมาชิก 7 ประเทศจากอเมริกากลางได้แก่ เบลิซ คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส นิการากัว และปานามา และสมาชิกสมทบ 1 ประเทศ คือ สาธารณรัฐโดมิกัน และประเทศผู้สังเกตการณ์ 3 ประเทศ ได้แก่ สเปน จีน และเม็กซิโก [การทูต] |
Consolidation | การรวมกิจการ [การบัญชี] |
Merger | การรวมกิจการ [การบัญชี] |
Merger accounting | การบัญชีสำหรับการรวมกิจการ [การบัญชี] |
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
บูรณาการรวมหน่วย | [būranā kān rūam nūay] (n, exp) EN: grouping separated units together ; integration |
การรวม | [kān rūam] (n) EN: coalition ; integration FR: coalition [ f ] |
การรวมอำนาจ | [kān rūam amnāt] (n, exp) EN: ruling coalition FR: coalition au pouvoir [ f ] |
การรวมกัน | [kān rūam kan] (n) EN: combination FR: combinaison [ f ] ; adjonction [ f ] |
การรวมกิจการ | [kān rūam kitjakān] (n, exp) EN: consolidation ; merger ; business combination |
การรวมกลุ่ม | [kān rūamklum] (n) EN: collection FR: collection [ f ] |
การรวมตัว | [kān rūamtūa] (n) EN: integration |
การรวมตัวกัน | [kān rūamtūa kan] (n, exp) EN: unification ; composition ; unification ; merger |
การรวมตัวกันใหม่ | [kān rūamtūa kan mai] (n, exp) EN: reunification FR: réunification [ f ] |
การรวมตัวของกิจการ | [kān rūamtūa khøng kitjakān] (n, exp) EN: integrative growth |
การรวมตัวทางเศรษฐกิจ | [kān rūamtūa thāng sētthakit] (n, exp) EN: economic union ; economic integration |
การรวมตัวทางธุรกิจ | [kān rūamtūa thāng thurakit] (n, exp) EN: cartel |
Longdo Approved EN-TH
franchise | (n) ธุรกิจที่ผู้ค้ารายย่อยดำเนินธุรกิจในนามของอีกบริษัทหนึ่ง โดยได้รับอนุญาตจากบริษัทนั้นๆ โดยมากก็จะขายสินค้าหรือบริการรวมทั้งมีลักษณะการดำเนินธุรกิจ, และรูปลักษณะการจัดร้านที่แนะนำหรือควบคุมโดยบริษัทผู้ให้สิทธิอนุญาต ตัวอย่างเช่น 7-11, ชายสี่หมี่เกี๊ยว |
civil society | (n) ประชาสังคม เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนโดยมีจิตสำนึกร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาของสังคม เช่น Civil society is much talked about, but rarely understood. John Edwards explores the practical and theoretical significance of civil society. |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
Hope Dictionary
aerification | (แอริฟิเค' เชิน) n. การรวมกับอากาศ, ภาวะที่รวมกับอากาศ (act of combining with air) |
amalgam | (อะแมล' เกิม) n. โลหะผสมของปรอทกับโลหะอื่น, แร่หายากชนิดหนึ่งที่เป็นโลหะ ผสมของเงินและปรอท, การรวมกัน, Syn. mixture, combination, Ant. separation |
amalgamation | (อะแมลกะเม' เชิน) n. การรวมกับปรอท, ผลที่เกิดจากการรวมกับปรอท, การรวมบริษัทกัน, การร่วมกันทางชีวภาพของเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต, การสกัดโลหะจากแร่ด้วยปรอท (union, blend) |
amphimixis | (แอมฟิมิค' ซิส) n., (pl. -mixes) n. การรวมตัวกันของเซลล์เพศ (ในขบวนการผสมพันธุ์กันแบบใช้เพศ) , การร่วมกันของเซลล์เพศพ่อและเซลล์เพศแม่ |
anisogamous | (แอนนิซอก' กะมัส) adj. เกิดจากการรวมตัวกันของเซลล์เพศ (gametes) ที่ไม่เหมือนกันและมักมีขนาดต่างกัน -anisogamy n. |
centralisation | (เซนทรัลไลเซ'เชิน) n. การรวมอำนาจมาอยู่ที่ศูนย์กลาง, ภาวะรวมศูนย์อำนาจบริหาร, See also: centraliser, centralizer n. centralise, centralize vt. |
centralization | (เซนทรัลไลเซ'เชิน) n. การรวมอำนาจมาอยู่ที่ศูนย์กลาง, ภาวะรวมศูนย์อำนาจบริหาร, See also: centraliser, centralizer n. centralise, centralize vt. |
collusion | (คะลู'เชิน) n. การสมรู้ร่วมคิด, การรวมหัวกันคิดอุบาย, Syn. intrigue -Conf. cooperation |
collusive | (คะลู'ซิฟว) adj. (เกี่ยวกับ) การสมรู้ร่วมคิด, การรวมหัวกันคิดอุบาย, See also: collusiveness n. |
combination | (คอมบะเน'เชิน) n. การรวมกัน, จำนวนสิ่งของที่รวมกัน, พันธมิตร, รหัสตัวเลขหรืออักษรของกุญแจที่ไขด้วยการหมุนตัวเลข หรือหมุนอักษรดังกล่าว, การจัดเป็นกลุ่ม -Phr. (in combination with ร่วมกับ), Syn. combining, joining, blend |
combine | (คัมไบน์', คอม'ไบน์) { combined, combining, combines } v. รวมกัน, ทำให้รวมกัน, ประกอบกัน n. การรวมกัน, กลุ่มคน, เครื่องจักรตัดและนวดเมล็ดข้าว, See also: combinability n. ดูcombine combinable adj. ดูcombine, Syn. unite |
commonwealth | (คอม'มันเวลธฺ) n. เครือประเทศ, การรวมกัน., See also: Commonwealth n. เครือจักรภพอังกฤษ, สหพันธรัฐ, สมาพันธรัฐ, ประชากรของรัฐ, สาธารณประโยชน์ |
concentration | (คอนเซินเทร'เชิน) n. ความเข้มข้น, ระดับความเข้มข้น, ความตั้งอกตั้งใจ, ภาวะที่เข้มข้น, สิ่งที่เข้มข้น, การรวมพล, ความใส่ใจในสาขาวิชาหนึ่ง, Syn. convergence, mass, Ant. scattering |
concourse | (คอน'คอร์ส) n. ชุมนุมชน, ทางรถยนต์, ทางเดิน, ถนนขนาดใหญ่ที่มีต้นไม้สองข้างทาง, บริเวณสำหรับแข่งขัน, ลานกว้างมาก, การรวมกลุ่ม, Syn. assembling, assembly |
condensate | (คันเดน'เซท) n. สิ่งที่เกิดจากการรวมตัวกันแน่น |
condensation | (คอนเดนเซ'เชิน) n. การรวมตัวกันแน่น, See also: condensative adj. ดูcondensation |
confederation | (คันเฟดดะเร'เชิน) n. การร่วมกลุ่ม, ภาวะที่ถูกรวมกลุ่ม, สันนิบาตหรือพันธมิตร, กลุ่มรัฐที่รวมกัน, The Confederation การรวมกลุ่ม13 รัฐแรกเริ่มของสหรัฐตามสนธิสัญญา Articles of Confederation 1781-1789, See also: confederationism, confederationist, confederal |
conglomeration | (คันกลอมเมอเร'เชิน) n. การรวมกันเป็นกลุ่ม, กลุ่ม, ก้อน |
conjugation | (คอนจะเก'เชิน) n. การรวมกัน, การเชื่อมผนึก, คำผันของกิริยา, Syn. union, meeting, Ant. division |
conjunct | (คันจังคฺ', คอน'จังคฺ) adj. ซึ่งรวมกัน, ซึ่งเกิดจากการรวมกัน, See also: conjunctly adv., Syn. conjoined |
conjuncture | (คอนจังคฺ'เชอะ) n. การรวมกัน, การเชื่อมผนึก, เหตุการณ์ทั้งหลายรวมกัน, ภาวะฉุกเฉิน, See also: conjunctural adj. ดูconjuncture, Syn. concatenation, juncture, connection |
consolidation | (คันซอลลิเด'เชิน) n. การทำให้แข็งแรง, การรวบรวมกำลัง, การรวมเข้าด้วยกัน, See also: consolidative adj. ดูconsolidation |
dithering | การรวมจุดสีหมายถึง การใช้จุดสีอื่นแทนสีบางสีที่จอภาพไม่สามารถแสดงได้ เช่น ใช้จุดสีขาวและดำผสมกันแทนสีเทาอ่อน/แก่ หรือใช้จุดสีขาวและแดงแทนสีชมพู และอาจจะใช้ประโยชน์ในการทำเส้นโค้งให้ดูเรียบขึ้น (มีส่วนที่เห็นเป็นรอยหยัก ๆ ลดลงได้) |
federation | (เฟดเดอเร'เชิน) n. การรวมเข้าเป็นสหรัฐหรือสมาพันธรัฐ, กลุ่มการเมือง (สหรัฐ, สมาพันธรัฐ, สหพันธ์, สันนิบาต, พันธมิตรหรืออื่น ๆ), Syn. league |
format | (ฟอร์'แมท) n. รูปแบบ, แผนการรวมทั้งหมด, Syn. plan, layout รูปแบบจัดรูปแบบ1. หมายถึงรูปแบบการเก็บข้อมูลของโปรแกรมสำเร็จแต่ละโปรแกรม โปรแกรม Word Perfect และโปรแกรม WordStar แม้จะเป็นโปรแกรมประมวลผลคำเหมือนกัน แต่รูปแบบการเก็บข้อมูลก็ไม่เหมือนกัน 2. FORMAT เป็นคำสั่งหนึ่งในระบบดอส และระบบวินโดว์ ที่ใช้เพื่อเตรียมจัดรูปแบบจานบันทึกใหม่ ๆ ไว้สำหรับเก็บข้อมูลหรือโปรแกรม จานบันทึกของแมคอินทอชกับจาน บันทึกของพีซี จะกำหนดรูปแบบการเก็บข้อมูลไม่เหมือนกัน ฉะนั้น หากนำจานบันทึกที่จัดรูปแบบด้วยคำสั่ง "FORMAT" ของระบบดอสไปใช้กับเครื่องแมคอินทอช หน่วยบันทึกก็จะไม่รับ เพราะอ่านไม่ได้ หรือบันทึกข้อมูลลงเก็บไม่ได้ |
gathering | (แกธ'เธอริง) n. การรวบรวม, การเก็บรวม, การรวมกลุ่ม, สิ่งที่เก็บรวมเข้าด้วยกัน, กลุ่มคน, ฝีหนอง, Syn. meeting, assembly, crowd |
ifips | (ไอฟิปส์) ย่อมาจาก International Federation of Information Processing Societies แปลว่า สหพันธ์สมาคมระหว่างประเทศเพื่อการประมวลผลสารสนเทศ เป็นองค์กรหนึ่งที่เกิดจากการรวมตัวกัน ในอันที่จะพัฒนาวิทยาการสารสนเทศ (information science) และการประมวลผลข้อมูลให้ก้าวหน้า |
incorporation | (อินคอร์พะเร' เชิน) n. การรวมเข้าเป็นบริษัท, การรวมตัวกัน |
integration | (อันทะเกร'เชิน) n. การรวมกันเป็นก้อนหรือกลุ่ม, การผสมกัน, การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม, สหศึกษา, การยกเลิกการศึกษาแบบแบ่งแยกผิว, Syn. unification, Ant. separation |
merger | (เมอ'เจอะ) n. การรวมตัวของหน่วยงานธุรกิจการค้าเป็นหน่วยเดียวกับ, Syn. combine |
motley | (มอท'ลี) n. การรวมสีต่าง ๆ กัน, เครื่องแต่งกายสลับสีหรือหลายสี, การผสมผสาน, เสียงประสานจับฉ่าย. adj.หลากหลาย, มีหลายสี, สลับสี pl. motleys, Syn. heterogeneous |
pan-germanism | n. ทฤษฏีการรวมชาวเยอรมันเข้าเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันในทางการเมือง |
pool | (พูล) n., vt. (ทำให้เป็น) แอ่งน้ำ, สระน้ำ, บ่อน้ำ, กองเลือด n. เงินกองกลางในการพนัน, เงินเดิมพันทั้งหมด, เงินกงสี, จำนวนรวม, การแทงบิลเลียดที่ผู้ชนะได้เงินกองกลางทั้งหมด, ผลประโยชน์รวม, กองทุน, การรวมกำลังในการทำธุรกิจเพื่อขจัดคู่แข่งขัน vt., vi. รวมกลุ่ม, ใส่เข้ากองกลาง |
precipitation | (พรีซิพ'พิเท'เชิน) n. การเร่งให้เกิดขึ้น, การตกตะกอน, การถลำเข้าสู่, การพุ่ง, การถลำ, ความใจร้อน, ความเร่งรีบ, ความหุนหันพลันแล่น, ตะกอน, ผลิตผลการรวมตัวกันของไอน้ำในอากาศ (ฝน, หิมะ, ลูกเห็บ, น้ำค้าง) , ปริมาณที่รวมตัวกันดังกล่าว |
quire | (ไคว'เออะ) n. (กระดาษ) 1ยกที่มี24แผ่น, แผ่นกระดาษที่พับเรียงกัน, การรวมกลุ่ม |
reunion | (รียู'เนียน) n. การรวมตัวกันใหม่, การชุมนุมกันใหม่, การทำให้สามัคคีกันใหม่, การพบกันใหม่, Syn. remeeting |
summation | (ซัมเม'เชิน) n. การรวม, การบวก, การรวบรัด, ผลรวม, ผลบวก, ข้อสรุป, ข้อโต้แย้งสรุป., Syn. conclusion, summing up |
unification | (ยูนิฟิเค'เชิน) n. การรวมตัวกัน, ความสอดคล้องกัน |
union | (ยู'เนียน) n. การรวมกัน, ความสามัคคี, การสอดคล้องกัน, การสมรสกัน, การสังวาส, สหภาพ, สหพันธรัฐ, องค์การกรรมกร, เครื่องมือเชื่อมต่อ, ส่งท่อร่วม, การเชื่อมกัน. -Phr. (the Union สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยสหรัฐอเมริกา (สมัยก่อน)), Syn. unification |
unity | (ยู'นิที) n. ความสามัคคี, ความพร้อมเพรียงกัน, การรวมกัน, สิ่งที่ร่วมกัน, หนึ่ง, จำนวนหนึ่งหน่วย, Syn. oneness, identity, harmony |
vertical | (เวอ'ทิเคิล) adj. ซึ่งตั้งตรง, ซึ่งตั้งฉากกับแนวราบของขอบฟ้า, ตรงดิ่ง, เกี่ยวกับหรืออยู่บนจุดสุดยอด, ตามยาว, เกี่ยวกับกระหม่อม, เกี่ยวกับกลางกบาล, เกี่ยวกับการรวมกำลังผลิต หรือจำหน่ายสินค้าชนิดหนึ่ง n. สิ่งที่ตั้งตรง, ตำแหน่งที่ตั้งตรง, แนวตั้งฉาก คำศัพท์ย่อย: |
zygosis | (ไซโก'ซิส) n. การร่วมเพศระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์เดียว, การรวมกันของเซลล์เพศสองเซลล์, See also: zygose adj., Syn. conjugation |
zygote | (ไซ'โกท, ซิ'โกท) n. เซลล์ที่เกิดจากการรวมกันของเซลล์เพศ (gametes) สองเซลล |
Nontri Dictionary
accretion | (n) การเพิ่ม, การรวม |
addition | (n) การรวม, การบวก, การเพิ่ม, การเสริม |
agglomeration | (n) การรวมตัวกัน, การเกาะกัน |
aggregation | (n) การรวบรวม, การรวมตัว, การรวมกลุ่ม |
amalgamation | (n) การรวม, การผสม, การปน |
buildup | (n) การเตรียมตัว, การสะสม, การรวมพล, การพัฒนา, การเสริม |
centralism | (n) การรวมอำนาจ |
centralization | (n) การรวบรวม, การรวมอำนาจ |
coalescence | (n) การรวมกัน, การเชื่อมต่อกัน |
coalition | (n) การประสานกัน, การรวมกัน, การร่วมมือกัน, รัฐบาลผสม, สัมพันธมิตร |
collusion | (n) การสมรู้ร่วมคิด, การรวมหัวคิดอุบาย |
combination | (n) การรวมกัน, การจัดกลุ่ม, พันธมิตร |
commonwealth | (n) รัฐสวัสดิการ, การรวมกัน, เครือจักรภพ, สาธารณประโยชน์ |
concourse | (n) การชุมนุม, การรวมกลุ่ม, ชุมนุมชน, ที่รวม |
concurrence | (n) การรวมกัน, การบรรจบกัน, ความพร้อมกัน, การเห็นด้วย |
condensation | (n) การกลั่น, การรวมตัว, การควบแน่น, การสังเขป |
conglomerate | (n) ก้อน, กลุ่ม, การชุมนุม, การรวม, กลุ่มบริษัทในเครือ |
congregation | (n) การรวมกัน, การจับกลุ่มกัน, การชุมนุม, กลุ่มคน |
conjugation | (n) การผันคำกริยา, การเชื่อมต่อกัน, การรวมกัน |
consolidation | (n) การรวบรวม, การรวมบริษัท |
embodiment | (n) การรวมตัว, การรวบรวม, การแปลงรูป |
federation | (n) สหพันธ์, กลุ่มการเมือง, การจัดตั้งพรรคการเมือง, การรวมกัน |
fusion | (n) การเชื่อม, การรวมกัน, การผสม, การหลอมละลาย |
gathering | (n) การประชุม, การชุมนุม, การรวม, การรวบรวม |
inclusion | (n) การรวมอยู่ด้วย, ความครอบคลุม, สิ่งที่รวมอยู่ด้วย |
incorporation | (n) บรรษัท, บริษัท, ห้างร้าน, การรวมตัวกัน |
integration | (n) การรวบรวม, การรวมตัวกัน |
merger | (n) การรวมกันเข้า, การรวมตัว, การผสม |
muster | (n) การรวมพล, การรวบรวม, การชุมนุม |
reunion | (n) การพบกันอีก, การรวมตัวกันใหม่ |
syndicate | (n) องค์การ, คณะกรรมการ, สมาคม, กงสี, การรวมตัวของห้างร้าน |
union | (n) การรวมกัน, ความปรองดองกัน, สมาคม, สหภาพ |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
agglomerate | [อั๊คโกลเมอเรท, [ คำนี้เป็นคำที่ใช้เป็นทางการ นำไปใส่ใน paper งานวิจัยได้ ]] (n) กลุ่มก้อนใหญ่ๆที่เกิดจาการรวมตัวกันของสิ่งต่างๆกัน |
coopetition | (n, jargon) การร่วมมือกันของธุรกิจที่แข่งขันกัน โดยมากมักจะเป็นเรื่องที่ร่วมมือกันทำแล้วจะเกิดประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย เป็นการรวมคำ 2 คำเข้าด้วยกัน คือ cooperation (การร่วมมือกัน) และ competition (การแข่งขันกัน) |
crowdsource | (vt, uniq) เป็นการรวมกันของคำว่า Crowd + Outsourcing คือการกระจายปัญหาไปยังกลุ่มค้นเพื่อค้นหาคำตอบ และวิธีการในการแก้ปัญหาทางธุรกิจนั้นๆ บริษัทสามารถ broadcast คำถามหรือปัญหาที่ต้องการคำตอบไปยังกลุ่มคนขนาดใหญ่เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการใหม่ ๆ Crowd หรือ User ส่วนมากในการทำ Crowdsourcing เราจะหมายถึงกลุ่มชุมชน Online |
Polydrug | การใช้ยาสองตัวหรือมากกว่าในการรวมกันเพื่อให้ผลเฉพาะ. ในหลายกรณียาที่ใช้เป็นตัวแรกหรือยาหลัก, กับยาเพิ่มเติมในส่วนผสมส่าเหล้า หรือใช้แทนสำหรับผลข้างเคียงของยาหลักและทำให้มีผลมากขึ้นกับผลกระทบต่อยา, หรืออาหารเสริมสำหรับยาหลักเมื่ออยู่ในระดับต่ำ |
Sphalerite | [สฟาเลอไรต์] (n) แร่สฟาเลอไรต์ (สูตรเคมีซิงค์ซัลไฟด์ เกิดจากการรวมตัวของสังกะสีและซัลเฟอร์เป็นแร่) |
Longdo Approved JP-TH
集計 | [しゅうけい, shuukei] (n) การรวมยอด |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
集積 | [しゅうせき, shuuseki] การเก็บสะสม การรวบรวม การเพิ่มพูน การรวม |
一部事業組合 | [いちぶじぎょうくみあい, ichibujigyoukumiai] (n, name) สหการ (เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ที่เกิดจากการรวมตัวกันขององค์กรปกครองท้องถิ่นมากกว่าหนึ่งแห่งในการทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น สหการแข่งม้า ก็เป็นการรวมตัวขององค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อจัดการแข่งม้าและหารายได้เข้าสหการ จากนั้นสหการก็จะนำรายได้ที่เข้าสหการ นำไปแบ่งให้แก่เทศบาลหรือองค์กรปกครองท้องถิ่นที่เป็นสมาชิกของสหการ |
酸化 | [さんか, sanka] (n) ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากการรวมตัวของออกซิเจนกับสารอื่น, See also: R. oxidation |
Saikam JP-TH-EN Dictionary
整合 | [せいごう, seigou] TH: การรวมเข้าด้วยกัน EN: integration |
Longdo Approved DE-TH
Verschmelzung | (n) |die, pl. Verschmelzungen| การหลอมละลาย, การรวมตัวกัน, See also: Schmelzen, Syn. Fusion |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0505 seconds, cache age: 3.426 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม