212 ผลลัพธ์ สำหรับ *กลับไป*
ภาษา
หรือค้นหา: กลับไป, -กลับไป-Longdo Unapproved TH - EN
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ขอกลับไป | (n) ขอกลับไปคิด |
Longdo Unapproved TH - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
บวก | (vt) จู่โจม ปะทะ โจมตี มักใช้กันในกลุ่มผู้เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ บ้างก็ว่ามาจากวงการมวย คือ จังหวะบวกสวน เอาแรงชกของคู่ต่อสู้ที่ชกมาแล้วพลาด สะท้อนสวนกลับไปให้แรงยิ่งขึ้น |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
กลับไปกลับมา | (adv) unreliably, See also: changeably, unstably, Syn. กลับกลอก, พลิกแพลง, Ant. คงที่, Example: นักการเมืองออกมาให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์และพูดจากลับไปกลับมา จนนักข่าวงง |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กลับไปกลับมา | ก. พลิกแพลง, ไม่แน่นอน. |
กระไดลิง ๒ | น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Bauhinia scandens L. var. horsfieldii (Miq.) K. Larson et S.S. Larsen ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นทั่วไป และตามริมแม่นํ้าลำคลอง เถาแบนยาว งอกลับไปกลับมาคล้ายขั้นบันได ดอกเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เปลือกเหนียวใช้แทนเชือก เถาใช้ทำยาได้, กระไดวอก มะลืมดำ บันไดลิง หรือ ลางลิง ก็เรียก. |
กลอก | (กฺลอก) ก. เคลื่อนหรือขยับเขยื้อนกลับไปกลับมาภายในเขตของสิ่งนั้น ๆ เช่น กลอกตา กลอกหน้า, ทำให้เคลื่อนวนกลับไปกลับมา เช่น กลอกแป้งขนมเบื้องญวน กลอกไข่, ทำให้มีอาการเช่นนั้น เช่น กลอกนํ้าร้อนในถ้วยเพื่อให้เย็น. |
กลอก | (กฺลอก) น. ลักษณะของเสียงที่บรรเลงเลื่อนไหลไปตามท่วงทำนองอย่างนุ่มนวลกลมกลืน เหมือนลักษณะของหยดน้ำที่กลิ้งอยู่บนใบบอน, ในการขับร้องหมายถึง เสียงที่เปล่งออกจากลำคอพอสมควรสลับกับเสียงทางจมูก แล้วตวัดเสียงให้สะบัดวกวนกลับไปกลับมา ๒ หรือ ๓ ครั้ง สุดแต่ผู้ขับร้องจะเห็นเหมาะสม. |
กลอกกลิ้ง | ก. กลับไปกลับมาเอาแน่ไม่ได้, กลิ้งกลอก ก็ว่า. |
กลิ้งกลอก | ก. กลับไปกลับมาเอาแน่ไม่ได้, กลอกกลิ้ง ก็ว่า. |
ใกล้เกลือกินด่าง | ก. มองข้ามหรือไม่รู้ค่าของดีที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตนกลับไปแสวงหาสิ่งอื่นที่ด้อยกว่า, อยู่ใกล้ผู้ใหญ่แต่กลับไม่ได้ดี. |
ขนมรังผึ้ง | น. ขนมทำด้วยแป้งสาลี ไข่ น้ำตาล นม ตีให้เข้ากัน ใส่พิมพ์สองฝา ผิงไฟกลับไปกลับมาจนสุก เมื่อแกะออกมีลักษณะกลมและมีรอยบุ๋มทั้งสองด้านคล้ายรังผึ้ง, ขนมไข่ หรือ ขนมรู ๆ ก็เรียก, นัยว่ามาจากขนมวอฟเฟิล. |
คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า | คนที่แต่งงานแล้วอยากจะกลับไปเป็นโสด แต่คนที่ยังไม่ได้แต่งงานก็อยากมีชีวิตคู่ |
งูกลืนหาง, งูกินหาง ๑ | น. ชื่อกลอนกลอักษร วรรคหนึ่ง ๆ ต้องมีคำซ้ำกัน ๓ คู่ คือระหว่าง ๓ คำหน้ากับ ๓ คำสุดท้ายของวรรค แต่เวลาเขียนจะตัดคำซ้ำ ๓ คำสุดท้ายของแต่ละวรรคออก เวลาอ่านให้อ่านไปจนจบวรรคแล้วย้อนกลับไปอ่านคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๓ ในวรรคเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดัง เหมือนน้ำตาลหวานเตือน เสนาะจริงยิ่งคำหวาน อ่านว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดังฟังเสียงหวาน เหมือนน้ำตาลหวานเตือนเหมือนน้ำตาล เสนาะจริงยิ่งคำหวานเสนาะจริง. |
จีบ ๑ | ก. พับกลับไปกลับมาหรือทำให้ย่นเป็นกลีบเป็นรอย เช่น จีบผ้า, เรียกผ้าที่จีบในลักษณะเช่นนั้น ว่า ผ้าจีบ |
ตลบ | (ตะหฺลบ) ก. เอาสิ่งที่เป็นแผ่นเป็นผืนเช่นชายม่านตีนมุ้งที่อยู่ข้างล่างหกกลับไปพาดไว้ข้างบนทั้งผืนทั้งแผ่น เช่น ตลบม่าน ตลบมุ้ง |
ตอบ ๑ | ก. กล่าวเมื่อมีผู้ถาม เช่น ตอบคำถาม, แจ้งกลับไปให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ เช่น ตอบจดหมาย, กล่าวแก้ เช่น ตอบปัญหา, ทำหรือพูดโต้ในทำนองเดียวกับที่มีผู้ทำหรือพูดมา เช่น ชกตอบ ตีตอบ ด่าตอบ เยี่ยมตอบ. |
ตอบโต้ | ก. โต้กลับไป, ตอบแทนการกระทำของฝ่ายตรงข้าม, แก้แค้น. |
ตะพง | ว. ตะโพง เช่น แล้วตะพงพายรีบกลับไป (นิ. เมืองเทศ). |
ตาไม่มีแวว | ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมาให้เลือกแต่กลับไปเลือกของเลว. |
ตีงูให้กากิน | ก. ลงแรงทำสิ่งที่ไม่เป็นคุณแก่ตน แล้วผลประโยชน์ยังกลับไปได้แก่ผู้อื่น. |
ตีโต้ | ก. ตีกลับไป. |
ตี่ ๑ | น. การเล่นอย่างหนึ่งของเด็ก ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น โดยขีดเส้นแบ่งเขตระหว่างผู้เล่น ๒ ฝ่าย และจำกัดเขตด้านกว้างและด้านหลังด้วย ผู้เล่นแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย จำนวนเท่า ๆ กัน คนตี่จะวิ่งออกจากเส้นแบ่งเขตโดยกลั้นใจร้องเสียง “ตี่” ตลอดเวลาที่เข้าไปอยู่ในเขตตรงข้าม พยายามใช้มือฟันฝ่ายตรงข้ามให้มากที่สุด และพยายามวิ่งกลับเข้าเขตของตนให้ได้ ฝ่ายตรงข้ามก็ต้องพยายามไม่ให้ถูกฟัน และหาโอกาสจับคนตี่ไว้มิให้กลับไปได้, ตี่จับ หรือ ตี่เสียง ก็เรียก. |
ตุ๊ยตุ่ย, ตุ๋ยตุ่ย | น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง คล้ายว่าวจุฬา แต่หัวไม่ยาว มีไม้ยื่นออกไปสำหรับผูกคันธนู เมื่อถูกลมพัด ใบธนูที่ทำด้วยใบลานจะพลิกหมุนกลับไปมาทำให้เกิดเสียงดังตุ๊ยตุ่ยคล้ายเสียงเพลง นิยมเอาว่าวขึ้นในเวลาเย็น แล้วเอาเชือกผูกไว้ตามต้นไม้เป็นต้นเพื่อฟังเสียงในเวลากลางคืน. |
โต้ ๒ | ก. ต้าน เช่น โต้คลื่น โต้ลม, ตอบกลับไป เช่น เขาตีลูกเทนนิสมา ก็ตีโต้กลับไป. |
ถอยหลังเข้าคลอง | ก. หวนกลับไปหาแบบเดิม. |
ทะลึ่ง | ให้ทำอย่างหนึ่งแต่กลับไปทำอีกอย่างหนึ่ง เช่น ใช้ให้ไปซื้อของทะลึ่งไปว่ายน้ำเสียนี่. |
เนื้อเต่ายำเต่า | ก. นำเอาทรัพย์สินส่วนที่เป็นกำไรหรือดอกเบี้ยกลับไปลงทุนต่อไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม. |
แน่ว | ว. ตรงดิ่งไปยังที่หมายไม่แวะเวียน เช่น วิ่งแน่วกลับไป, ไม่ว่อกแว่ก เช่น ใจแน่ว. |
ป้วน, ป้วนเปี้ยน | ว. วนเวียนกลับไปกลับมา. |
ปัถวี ๒ | (ปัดถะห̣วี) น. ท้ายเรือพิธี เช่น หางตาเรือก็กลับไปข้างปัถวี (พงศ. เลขา). |
ผัด | ก. เอาสิ่งที่ใช้เป็นอาหารใส่ลงในกระทะที่มีนํ้ามันหรือนํ้าเล็กน้อย ตั้งไฟแล้วพลิกกลับไปมาจนสุก เช่น ผัดข้าว ผัดหมี่, เรียกอาหารที่ทำด้วยวิธีการเช่นนั้น เช่น ข้าวผัด หมี่ผัด |
ผัดผัน | ก. หมุนกลับไปกลับมา. |
ผันผวน | ก. กลับไปกลับมา, ปั่นป่วน. |
ผันผาย | ก. กลับไป, เดินไป, ผายผัน ก็ว่า. |
ผายผัน | ก. กลับไป, เดินไป, ผันผาย ก็ว่า. |
พายเรือในหนอง, พายเรือในอ่าง | ก. คิด ทำ หรือพูดวกวนกลับไปกลับมา. |
พิพักพิพ่วน | ก. กังวล, อักอ่วน, รวนเร, นึกกลับไปกลับมา. |
มอญซ่อนผ้า | น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง โดยผู้เล่นนั่งล้อมวง ผู้ซ่อนผ้าจะถือผ้าซึ่งมักฟั่นให้เป็นเกลียวเดินวนอยู่นอกวง เมื่อเห็นผู้ใดเผลอก็ทิ้งผ้านั้นไว้ข้างหลังและทำเสมือนว่ายังไม่ได้ทิ้งผ้า แล้วเดินวนอีก ๑ รอบ ถ้าผู้ที่มีผ้าวางอยู่ข้างหลังยังไม่รู้สึกตัว ก็หยิบผ้านั้นขึ้นมาตี ผู้ถูกตีจะต้องลุกขึ้นวิ่งหนีไป ๑ รอบ แล้วกลับไปนั่งที่เดิม ผู้ซ่อนผ้าก็จะเดินวนต่อไปหาทางทิ้งผ้าให้ผู้อื่นใหม่ แต่ถ้าผู้นั้นรู้ตัวก่อน ก็จะหยิบผ้าลุกขึ้นไล่ตีผู้ซ่อนผ้าให้วิ่งไป ๑ รอบ ผู้ซ่อนผ้าก็จะมานั่งแทนที่ ผู้ที่ไล่ตีนั้นก็จะเป็นผู้ซ่อนผ้าต่อไป. |
ยอกย้อน | ก. ซับซ้อนซ่อนเงื่อน เช่น ทำกลอุบายยอกย้อน, กลับไปกลับมาอย่างมีเงื่อนงำ เช่น พยานให้การยอกย้อน, ยุ่งยากซับซ้อนสะสางยาก เช่น คดียอกย้อน. |
ย้อนหลัง | ก. ถอยกลับไปหาอดีต เช่น ให้ผลย้อนหลัง มีผลย้อนหลัง. |
ยุบข้อ | น. ท่ากายบริหารอย่างหนึ่งมี ๒ แบบ แบบหนึ่งเริ่มด้วยท่านอนทอดตัวลงเกือบถึงพื้น มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้นไว้ งอแขนให้ศอกแนบลำตัว หน้าเงย แล้วเหยียดแขนพร้อมกับยกตัวขึ้น แล้วงอแขนพร้อมทั้งลดตัวลงกลับไปอยู่ในท่าเดิม อีกแบบหนึ่งเริ่มด้วยท่านอน มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้นไว้ แขนเหยียดตรง หน้าเงย แล้วงอแขนให้ศอกแนบลำตัวพร้อมกับทอดตัวลงเกือบถึงพื้น แล้วเหยียดแขนพร้อมทั้งยกตัวขึ้นกลับไปอยู่ในท่าเดิม, ภาษาปากว่า วิดพื้น. |
ลมหวน | น. ลมที่พัดกลับไปกลับมาขณะฝนตก. |
ลอยนวล | กรีดกราย เช่น แทนที่จะไปโรงเรียน กลับไปเดินลอยนวลอยู่ที่ห้างสรรพสินค้า. |
ละเมอ | ก. พูด ทำ หรือแสดงในเวลาหลับ, (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า หลงเพ้อ เช่น เขากลับไปนานแล้ว ยังละเมอว่าเขายังอยู่, มะเมอ ก็ว่า. |
ลายฮ่อ | ลายที่เขียนเป็นอย่างแถบผ้าสะบัดกลับไปมา ใช้เขียนเพื่อแบ่งภาพเป็นตอน ๆ ในงานจิตรกรรมฝาผนังหรือจิตรกรรมภาพพระบฏ. |
วนเวียน | ก. วนไปวนมา, กลับไปกลับมา, เช่น เดินวนเวียนอยู่ระหว่างบ้านกับตลาด กระเป๋าสตางค์หล่นหายเดินวนเวียนหาอยู่หลายรอบ. |
วัวพันหลัก | ว. อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อนั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใดคนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคนนั้นเป็นสามี. |
วิดพื้น | น. ท่ากายบริหารอย่างหนึ่งมี ๒ แบบ แบบหนึ่งเริ่มด้วยท่านอนทอดตัวลงเกือบถึงพื้น มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้นไว้ งอแขนให้ศอกแนบลำตัว หน้าเงย แล้วเหยียดแขนพร้อมกับยกตัวขึ้น แล้วงอแขนพร้อมทั้งลดตัวลงกลับไปอยู่ในท่าเดิม อีกแบบหนึ่งเริ่มด้วยท่านอน มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้นไว้ แขนเหยียดตรง หน้าเงย แล้วงอแขนให้ศอกแนบลำตัวพร้อมกับทอดตัวลงเกือบถึงพื้น แล้วเหยียดแขนพร้อมทั้งยกตัวขึ้นกลับไปอยู่ในท่าเดิม, เรียกเป็นทางการว่า ยุบข้อ. |
ศอกกลับ | โดยปริยายหมายความว่า ย้อนว่าสวนคำ, พูดตอบสวนควัน, เช่น พอเขาว่ามาก็ศอกกลับไป. |
สมุดไทย | น. สมุดที่ทำด้วยกระดาษข่อยแผ่นยาว ๆ หน้าแคบ พับทางขวางทบกลับไปกลับมาคล้ายผ้าจีบ เป็นสมุดเล่มสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทั้งชนิดกระดาษขาวและกระดาษดำ, สมุดข่อย ก็เรียก. |
ส่องกระจก | ก. ดูภาพตนเองในกระจกเงา, โดยปริยายหมายความว่า ให้สำรวจดูฐานะหรือข้อบกพร่องของตน (มักใช้ในอาการที่ดูหมิ่น) เช่น กลับไปส่องกระจกดูเงาตัวเองเสียบ้าง. |
เสียที ๒ | คำประกอบท้ายกริยา แสดงความตั้งใจมั่นหมาย เช่น วันนี้มีเวลาว่าง จะได้จัดโต๊ะหนังสือเสียที, คำประกอบท้ายกริยา แสดงความโล่งใจ เช่น เขามานั่งคุยอยู่นานกลับไปเสียที เราจะได้ทำอย่างอื่นบ้าง. |
เสียแล้ว | คำประกอบท้ายกริยา แสดงความเป็นอดีต เช่น ยังไม่ทันได้พูดคุยกันเลย เขาก็กลับไปเสียแล้ว. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
remand | ๑. การส่งผู้ต้องหากลับไปคุมขัง๒. การย้อนสำนวนไปยังศาลล่าง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
call back | การกลับไปติดต่อ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
flip-flop | <p>ฟลิป-ฟลอป</p>วงจรซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงสถานะกลับไปกลับมาระหว่างสถานะสองแบบได้เมื่อได้รับสัญญาณพัลส์ [คอมพิวเตอร์] |
Recycle | การนำกลับไปใช้ใหม่, Example: ขบวนการนำขยะมูลฝอย หรือ วัสดุเหลือใช้ไปใช้ประโยชน์อีก เป็นการคัดแยก หรือ เลือกวัสดุเฉพาะอย่าง ออกจากขยะมูลฝอยรวม ซึ่งเป็นการลดปริมาณขยะมูลฝอยที่จะต้องนำไปกำจัดต่อไป [สิ่งแวดล้อม] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
International Trade Organization | องค์การการค้าระหว่างประเทศ มีหน้าที่ดำเนินงานเกี่ยวกับความตกลงทั้วไปว่าด้วยภาษี ศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ ต้องการขยายการค้าของโลกให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น ขจัดการกีดกันการค้า หรือพยายามลดให้เหลือน้อยที่สุด เช่น การตั้งข้อจำกัดโควต้า เป็นต้น ตัดทอนภาษีศุลกากรทั่วโลกให้ต่ำลง ดูแลตลาดวัตถุดิบให้เป็นไปอย่างยุติธรรม และพยายามควบคุมด้านการค้าของการร่วมมือกันทางธุรกิจ (Cartels) จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดคือ ป้องกันมิให้กลับไปสู่การดำเนินการทางการค้าที่ตัดราคากันอย่างหั่นแหลก เหมือนเมื่อระยะปี ค.ศ. 1930 ถึง 1939 นั่นเองอย่างไรก็ดี ตั้งแต่มีการปฏิบัติใช้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้ามาจนบัด นี้ ก็ได้รับผลสำเร็จตามแนววัตถุประสงค์อย่างมากมาย เช่น มีประเทศสมาชิกหลายสิบประเทศลดภาษีศุลกากรและรักษาระดับภาษีอย่างมีเสรีภาพ แต่ละปี ประเทศสมาชิกจะได้ยินได้ฟังเสียงร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการค้า ละเมิดกฎเกณฑ์ของความตกลงทั่วไป แล้วเสียงร้องเรียนดังกล่าวก็ได้รับการแก้ไขจนเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการปรับปรุงและดัดแปลงข้อกำหนดของความตกลงทั่วไป ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา [การทูต] |
Personal Inviolability of Diplomatic Agents | หมายถึง ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ กล่าวคือ มาตรา 29 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ว่า ?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทุตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ ให้รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางการทูต?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ นั้น ได้ถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ให้ผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิและความคุ้มกัน ทั้งมวล ถึงกับมีการพูดกันว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อตัวเอกอัครราชทูต จักถือว่าเป็นการทำร้ายต่อประมุขของประเทศซึ่งผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเป็น ตัวแทนอยู่ ทั้งยังถือว่าเป็นการยังผลร้ายต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชาติทั้ง มวลด้วยตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1964 ชายหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งมีจิตวิปลาส ได้ใช้มีดแทง นายเอ็ดวิน โอไรส์ชาวเออร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศญี่ปุ่น ในเขตนอกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโตเกียว รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทยญี่ปุ่นได้ลาออกจากตำแหน่งทันทีและรุ่งขึ้นใน วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1964 นายอิเคดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ได้ทำการขอโทษต่อประชาชนชาวอเมริกันทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการดำเนินการในทำนองนี้ และการที่นายกรัฐมนตรีอิเคดะได้ปฏิบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้นั้น มีความสำคัญมากเพียงใดตัวแทนทางการทูตจะถูกจับ ถูกฟ้องศาล หรือถูกลงโทษฐานประกอบอาชญากรรมนั้นไม่ได้ เพราะถือว่าผู้แทนทางการทูตมิได้อยู่ในอำนาจศาลของรัฐผู้รับ อย่างไรก็ดี หากผู้แทนทางการทูตกระทำความผิดอย่างโจ่งแจ้ง รัฐผู้รับอาจขอให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับไปยังประเทศของเขาได้ในทันที [การทูต] |
Presentation of Credentials | หมายถึง การยื่นสารตราตั้ง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศใดประเทศหนึ่ง ก่อนที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ จะต้องนำสารตราตั้ง (Credentials) ไปยื่นต่อประมุขของรัฐนั้น ๆ พิธียื่นสารตราตั้งจะกระทำไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ แล้วแต่จะพิจารณาเห็นความเหมาะสม และความเคร่งต่อธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นสำคัญ เช่น อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่พิธียื่นสารตราตั้งของเอกอัครราชทูตต่อองค์ประมุข ของประเทศค่อนข้างวิจิตรพิสดารมาก ส่วนบางประเทศมีพิธียื่นสารอย่างง่าย ๆ แทบจะไม่มีพิธีรีตองอย่างใดในสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตันดีซี พิธียื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดีของสหรัฐฯ กระทำอย่างเรียบง่าย กล่าวคือ พอถึงเวลาที่กำหนดในวันยื่นสารตราตั้ง อธิบดีกรมพิธีการทูตหรือผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะนำรถยนต์ลีมูซีนสีดำไปยังทำเนียบของเอกอัครราชทูต เพื่อรับเอกอัครราชทูตและครอบครัวไปยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ณ ตึกทำเนียบขาว ( White House)มีข้อน่าสนใจอันหนึ่งคือ ทางฝ่ายสหรัฐฯ จะสนับสนุนให้เอกอัครราชทูตพาภรรยาและบุตรทั้งชายหญิงไปร่วมในการยื่นสารตรา ตั้งนั้นด้วย การแต่งกายของเอกอัครราชทูตก็สวมชุดสากลผูกเน็คไทตามธรรมดา ระหว่างที่ยื่นสารมีการปฏิสันถารกันพอสมควรระหว่างเอกอัครราชทูตกับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีช่างภาพของทางราชการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และมอบภาพถ่ายให้แก่เอกอัครราชทูตในวันหลัง (ต่างกับพิธีของอังกฤษมาก) เอกอัครราชทูตไม่ต้องพาคณะเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย หลังจากพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว อธิบดีกรมพิธีการทูตจะนำเอกอัครราชทูตและครอบครัวกลับไปยังทำเนียบที่พักโดย รถยนต์คันเดิม เป็นอันเสร็จพิธียื่นสารตราตั้ง โดยที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างมีสถานเอกอัครราชทูตของตนตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี ดังนั้น ในวันไหนที่มีการยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ทางการทำเนียบขาวมักจะกำหนดให้เอกอัครราชทูตใหม่จากประเทศต่าง ๆ เข้ายื่นสารในวันนั้นราว 4-5 ประเทศติดต่อกัน มิใช่วันละคนอย่างที่ปฏิบัติในบางประเทศทันทีที่เอกอัครราชทูตยื่นสารตรา ตั้งต่อประธานาธิบดีเรียบร้อยแล้ว เอกอัครราชทูตจะมีหนังสือเวียนไปยังหัวหน้าคณะทูตทุกแห่งในกรุงวอชิงตันดีซี แจ้งให้ทราบว่าในวันนั้น ๆ เขาได้ยื่นสารตราตั้งต่อประมุขของรัฐ ในฐานะเอกอัครราชทูตเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับแสดงความหวังในหนังสือว่าความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างคณะผู้ แทนทางการทูตทั้งสอง ทั้งในทางราชการและทางส่วนตัว จะมั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้นอีก จากนั้น เอกอัครราชทูตใหม่ก็จะหาเวลาไปเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซีทีละราย กว่าจะเยี่ยมหมดทุกคนก็กินเวลานานอยู่หลายเดือนทีเดียว [การทูต] |
Shuttle Diplomacy | การทูตแบบกระสวย หมายถึง การเดินทางไปเจรจาทางการทูตเพื่อคลี่คลายปัญหาหรือกรณีพิพาทโดยผู้ไกล่ เกลี่ยจะต้องเดินทางกลับไป-กลับมาระหว่างประเทศหรือคู่กรณีที่มีความขัดแย้ง กัน เช่น การแก้ปัญหาในตะวันออกกลาง [การทูต] |
Two-roll mill | เครื่องผสมยางแบบสองลูกกลิ้งเป็นเครื่องผสมยางระบบเปิดที่ประกอบด้วย ลูกกลิ้ง 2 ลูก หมุนเข้าหากันด้วยความเร็วต่างกัน ทำให้เกิดแรงเฉือนที่จำเป็นต่อการบดผสมยางกับสารเคมียาง ในการผสมยางกับสารเคมียางจะใส่ยางลงช่องระหว่างลูกกลิ้ง ยางจะถูกรีดออกมาเป็นแผ่นรอบลูกกลิ้งด้านหน้า จากนั้นจึงเติมสารเคมียาง โดยผู้ผสมต้องทำการกรีดยางแผ่นและพับไปมาในขณะที่เติมสารเคมีลงไปในยาง ซึ่งยางที่ถูกตัดพับจะถูกใส่กลับไปช่องระหว่างลูกกลิ้ง แรงเฉือนที่เกิดขึ้นจะช่วยให้สารเคมีต่างๆ กระจายตัวเข้ากับเนื้อยางได้ดี เครื่องผสมยางแบบสองลูกกลิ้งใช้ผสมยางในปริมาณไม่มาก เนื่องจากต้องใช้ความชำนาญและกำลังคนในการผสม [เทคโนโลยียาง] |
Bandages, Recurrent | การพันกลับไปกลับมา [การแพทย์] |
Equilibrium, Reversible | ภาวะสมดุลย์ที่กลับไปมาได้ [การแพทย์] |
Feedback Control, Negative | การควบคุมย้อนกลับในเชิงห้าม, การควบคุมย้อนกลับไปยับยั้ง [การแพทย์] |
Feedback Control, Positive | การควบคุมย้อนกลับไปกระตุ้น [การแพทย์] |
Feedback, Positive | การให้ข้อติชมทางบวก, ย้อนกลับไปกระตุ้น, ปฏิกิริยาย้อนกลับทางบวก, ผลกระตุ้นแบบย้อนกลับ, การย้อนกลับไปกระตุ้น, ป้อนกลับแบบบวก, กลไกย้อนกลับกระตุ้น [การแพทย์] |
Calvin cycle | วัฏจักรคัลวิน, ขั้นหนึ่งของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เป็นการเปลี่ยนแปลงสารที่มีคาร์บอน 5 อะตอม โดยมีคาร์บอนไดออกไซด์เข้าร่วม กลายเป็นสารที่มีคาร์บอน 3 อะตอม แล้วสารที่มีคาร์บอน 3 อะตอมนี้จะเปลี่ยนกลับไปเป็นสารที่มีคาร์บอน 5 อะตอมใหม่อีกครั้งหนึ่ง เป็นวัฏจักรเช่นนี้เรื่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
reverse reaction | ปฏิกิริยาผันกลับได้, ปฏิกิริยาที่เกิดจากสารที่เป็นผลิตภัณฑ์ทำปฏิกิริยากันแล้วเปลี่ยนกลับไปเป็นสารตั้งต้นได้ ปฏิกิริยานี้เป็นส่วนหนึ่งของปฏิกิริยาผันกลับ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cylinder | กระบอกสูบ, ส่วนประกอบของเครื่องจักร เป็นรูปทรงกระบอก ภายในมีลูกสูบซึ่งเคลื่อนที่กลับไปกลับมาได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
periodic motion | การเคลื่อนที่แบบพีริออดิก, การเคลื่อนที่กลับไปกลับมาซ้ำทางเดิมโดยผ่านตำแหน่งสมดุล [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
uniform resource locator (URL) | ยูอาร์แอล, รหัสสืบค้นข้อมูลซึ่งระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการ ใช้เพื่อติดต่อกับเอกสารหรือข้อมูลที่ต้องการบน WWW โดยการระบุตำแหน่งของเว็บเพจ เว็บเซิร์ฟเวอร์จะส่งเว็บเพจที่ค้นหาได้กลับไปแสดงผลผ่านเว็บบราวเซอร์ของผู้ใช้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
web server | เว็บเซิร์ฟเวอร์, เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการเว็บเพจ เมื่อผู้ใช้ร้องขอเว็บเพจผ่านเว็บบราวเซอร์ โดยใช้ยูอาร์แอล ระบุตำแหน่งของเว็บเพจ เว็บเซิร์ฟเวอร์จะส่งเว็บเพจที่ค้นหาได้กลับไปแสดงผลผ่านเว็บบราวเซอร์ของผู้ใช้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
palindrome | พาลินโดรม, คำหรือวลีที่สามารถเขียนตัวอักษรเรียงย้อนกลับจากหลังไปหน้า หรือจากซ้ายไปขวา แล้วยังคงอ่านออกเสียงได้เหมือนเดิม เช่น กก, ยาย, DAD, MOM ซึ่งพาลินโดรม เป็นภาษากรีก แปลว่า วิ่งกลับไปที่เดิมอีก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
simple pendulum | ลูกตุ้มอย่างง่าย, ระบบที่ประกอบด้วยวัตถุขนาดเล็ก แขวนด้วยเชือกเบา ความยาวคงตัว อีกปลายตรึงแน่น เมื่อดึงวัตถุให้เชือกทำมุมเล็ก ๆ กับแนวดิ่ง แล้วปล่อย วัตถุจะมีการเคลื่อนที่กลับไปกลับมา (แกว่ง) รอบตำแหน่งสมดุล (ดู restoring force ประกอบ) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
simple harmonic motion | การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย, การเคลื่อนที่ของวัตถุกลับไปมาซ้ำทางเดิมผ่านตำแหน่งสมดุล โดยมีขนาดของความเร่งเป็นสัดส่วนกับขนาดของการกระจัด แต่มีทิศทางตรงข้าม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
restoring force | แรงดึงกลับ, แรงที่กระทำต่อวัตถุให้มีการเคลื่อนที่กลับไปกลับมารอบตำแหน่งสมดุล เช่น เมื่อออกแรงดึงวัตถุที่ติดกับปลายข้างหนึ่งของสปริง อีกปลายหนึ่งของสปริงตรึงแน่น แล้วปล่อย สปริงจะออกแรงดึงกลับกระทำต่อวัตถุในทิศทางเข้าสู่ตำแหน่งสมดุล มีผลให้วัตถุเคลื่อนที่กลับไปกลับมาร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Inversion | การหันฝ่าเท้าเข้า, ม้วนลง, เอาก้นขึ้นเอาปากลงสลับกันไป, พลิกกลับไปมา, การต่อใหม่, เท้าพลิกเข้าใน, การพลิกด้านใน [การแพทย์] |
Inverted, Completely | พลิกคว่ำกลับไปมา [การแพทย์] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
กลับไป | [klap pai] (v) EN: go back ; return to ; come back ; turn to FR: retourner ; repartir |
พากลับไป | [phā klap pai] (v, exp) FR: ramener ; remmener |
ติดต่อกลับไป | [tittø klap pai] (v, exp) EN: contact FR: recontacter ; reprendre contact |
วกกลับไปพูดเรื่องเดิม | [wok klap pai phūt reūang doēm] (v, exp) EN: revert to one's old theme |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
alternate with | (phrv) สลับกับ, See also: เปลี่ยนกลับไปกลับมา, สลับ, Syn. interchange with |
ask back | (phrv) เชิญให้กลับไป, Syn. have back |
back and forth | (adv) ไปๆ มาๆ, See also: กลับไปกลับมา, Syn. to and fro |
backward | (adv) ย้อนกลับทางเดิม, See also: กลับไปที่เดิม |
backwardness | (n) การกลับไปกลับมา, See also: การเดินทางกลับไปกลับมา |
be back | (phrv) กลับ, See also: กลับไป, Syn. go back |
be past it | (idm) หวนกลับไปทำสิ่งที่ผ่านมาอีกไม่ได้ (คำไม่เป็นทางการ), See also: กลับไปยังอดีตผ่านไปแล้วไม่ได้, Syn. get past |
beat back | (phrv) ไล่ต้อนให้กลับไป, See also: บังคับให้กลับไป |
bring away | (phrv) กลับไปพร้อมกับ (บางสิ่งเช่น ความคิดหรือความรู้สึกบางอย่าง), Syn. come away with, go away with |
bring back | (phrv) เอากลับไปคืน, See also: เอาไปคืน, คืน, Syn. put back |
bring back | (phrv) กลับไปใช้วิธี ความคิดหรือการกระทำเแบบเดิม, Syn. come back |
by return post | (idm) ส่งกลับไปทันที |
call back | (phrv) บอกให้กลับไปทำงาน |
cast back | (phrv) หันกลับไปยัง, See also: กลับไปสู่, Syn. throw back |
double back | (phrv) กลับไปทางเดิม, See also: กลับทางเดิม |
drive back | (phrv) ขับไล่ให้กลับไป, See also: ไล่ออกไป |
drive back on | (phrv) บังคับให้ใช้หรือกลับไปทำ (สิ่งเดิมหรือสิ่งที่หยุดทำไปแล้ว), Syn. fall back on |
ease to | (phrv) หันเรือกลับไปในทิศที่มีลม |
face about | (phrv) หันหลังกลับ (ทางทหาร), See also: หันกลับไป, Syn. turn about, turn around |
fall back | (phrv) ถอยกลับไป (เพราะพ่ายแพ้) |
feed back | (phrv) ส่งกลับไปยัง |
fetch over | (phrv) นำกลับไป, Syn. bring over |
fetch round | (phrv) นำกลับไป, Syn. bring over |
flash back | (phrv) ย้อนกลับไป, See also: ฉายกลับไป, กลับไปจุดเริ่มต้น, Syn. cut back, flash forward |
flash forward | (phrv) ย้อนกลับไป, See also: ฉายกลับไป, กลับไปจุดเริ่มต้น, Syn. cut back, flash forward |
fling back | (phrv) เหวี่ยงกลับไปทันที, Syn. throw back, toss back |
flashback | (n) การเล่าเรื่องย้อนอดีต, See also: การเล่าเรื่องย้อนกลับไปในอดีต |
get back | (phrv) ถอยไป, See also: ถอยกลับไป, Syn. move back |
get back | (phrv) หวนกลับไปสู่ (ชีวิตเดิม, งาน ฯลฯ) |
get back to | (phrv) กลับไปยัง (สถานที่), See also: ถอยไปยัง, Syn. go back |
get back to | (phrv) หวนกลับไปทำ (กิจกรรมบางอย่าง) |
get back to | (phrv) โทรศัพท์กลับไปหา |
get back to | (phrv) กลับไปทำงาน (อย่างไม่เต็มใจ), Syn. get back, keep to |
glance back | (phrv) ชำเลืองกลับไปยัง, See also: เหลือบมองกลับไปยัง |
go back | (phrv) ถอยไป, See also: ถอยกลับไป, ถอยออกไป, Syn. move back |
go back | (phrv) กลับไปยัง (สถานที่), Syn. be back, come again |
go back | (phrv) กลับไปทำงาน, See also: หยุดประท้วง, Syn. bring out |
go back to | (phrv) กลับไปเริ่มต้นใหม่ |
go back on | (phrv) กลับไปขึ้น, See also: ย้อนกลับไป |
go back to | (phrv) กลับไปยัง, See also: กลับไป, Syn. go back |
hark back | (phrv) หวนกลับไปจุดเดิม |
have back | (phrv) ยอมกลับมาคืนดีกับ, See also: หวนกลับไปหา สามีหรือภรรยา, Syn. send back, take back |
head back | (phrv) หันกลับไป, See also: มุ่งหน้ากลับ |
help back | (phrv) ช่วยพากลับไป, See also: พยุงกลับไป |
return someone's compliment | (idm) ชมกลับไป, See also: ชมคืนให้ |
return the compliment | (idm) ชมกลับไป, See also: ชมคืนให้ |
to and fro | (idm) กลับไปกลับมา |
keep back | (phrv) ถอยไป, See also: กลับไป, ย้อนกลับไป, Syn. move back |
kick back | (phrv) เตะ (คนหรือสิ่งของ) กลับไป |
lead back | (phrv) นำกลับไป |
Hope Dictionary
anaplasty | (แอน' นะพลาสที) n. ศัยกรรมย้ายปะปลูกเนื้อเยื่อ, ภาวะการกลับไปสู่รูปแบบเดิมที่ด้อยกว่า, ภาวะที่เป็นมะเร็งมาก |
bookmark | n. ที่คั่นหนังสือ, ริบบิ้นหรือกระดาษคั่นหนังสือ ที่คั่นหนังสือคั่นหน้า1. การใช้ที่คั่นหนังสือนั้นเพื่อประโยชน์ในการกลับมาหาที่เก่าได้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลาค้นหา ในทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่ทำไว้ให้ง่ายในการกลับมาค้นหา 2. เป็นคำสั่งในโปรแกรมบางโปรแกรมที่ช่วยให้กลับมาค้นหาง่าย กล่าวคือนำข้อความหรือคำสั่งมารวมไว้ หากต้องการสั่งก็จะหาพบได้ง่าย เช่น ในโปรแกรมเน็ตสเคป (ใช้อินเตอร์เน็ต) การเลือกคำสั่ง bookmark หมายถึงการนำชื่อโฮมเพจที่จะใช้บ่อย ๆ ไปเก็บรวมไว้ เมื่อต้องการกลับไปใช้อีก จะได้สั่งได้สะดวก |
boomerang | (บูม'มะแรง) { boomeranged, boomeranging, boomerangs } n. ไม้รูปโค้งซึ่งเมื่อเหวี่ยงออกไปแล้วกลับมาหาผู้เหวี่ยง, อาวุธลับที่กลับไปทำลายผู้ใช้, ดาบที่คืนสนอง vt. ทำอันตรายอย่างไม่คาดคิดกับผู้ริเริ่ม |
call | (คอล) { called, calling, calls } vt., vi., n. (การ) เรียก, ร้องเรียก, ร้องขอ, เรียกให้ตื่น, อ่านออกเสียง, เข้าใจว่า, ถือว่า, ให้ชื่อ, มีชื่อ, มีนามว่า, เรียกไพ่, โทรศัพท์, สั่ง, ออกคำสั่ง, ไปเยี่ยม, แวะรับ, ตำหนิ, เลียนแบบ, Syn. exclaim เรียกเป็นคำสั่งที่ใช้ในโปรแกรม หมายถึง การสั่งให้โอนย้ายการทำงานชั่วคราวจากโปรแกรมหลัก main program ที่ทำอยู่ ไปทำงานที่โปรแกรมย่อย subprogram เป็นการชั่วคราว เมื่อทำงาน ในโปรแกรมย่อยเสร็จแล้ว ก็จะส่งผลที่ได้กลับไปทำในโปรแกรมหลักต่อ โดยจะกลับไปเริ่มที่คำสั่งถัดจากคำสั่ง "call" นั้น |
control statement | ข้อความสั่งควบคุมในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้น โดยปกติ เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งไปทีละคำสั่ง โดยเรียงไปตามลำดับก่อนหลัง แต่เราอาจใช้ข้อความสั่งให้ควบคุมการทำงานได้เช่น กระโดดข้าม, วนกลับไปทำบางคำสั่งใหม่หรือวนหลาย ๆ รอบหรือหยุดทำถ้า ... ข้อความสั่งเหล่านี้มีอยู่หลายคำสั่ง ขึ้นอยู่กับภาษาเป็นต้นว่า GOTO, DO, IF ในภาษาฟอร์แทรน หรือ FOR.....NEXT ในภาษาเบสิก |
dram | (ดีแรม) ย่อมาจาก dynamic random access memory (แปลว่าแรมแบบพลวัต) โดยปกตินั้น คอมพิวเตอร์จะใช้ชิป 2 แบบ คือ แบบดีแรม (DRAM) และ แบบ เอสแรม (SRAM) ชิปแบบดีแรม นี้จะมีราคาถูกกว่า เพราะว่าชิปแบบนี้นั้น คอมพิวเตอร์จะต้องนำเอาข้อมูลกลับไปไว้ ณ ที่เดิมเป็น ระยะ ๆ มิฉะนั้น อาจจะลืมได้ ดู RAM ประกอบ |
dynamic ram | แรมแบบพลวัตย่อมาจาก Dynamic Random Access Memory ใช้ตัวย่อว่า DRAM (อ่านว่าดีแรม) โดยปกตินั้น คอมพิวเตอร์จะใช้ชิป 2 แบบ คือ แบบดีแรม (DRAM) และ แบบ เอสแรม (SRAM) ชิปแบบ ดีแรม นี้จะมีราคาถูกกว่า เพราะว่าชิปแบบนี้นั้น คอมพิวเตอร์จะต้องนำเอาข้อมูลกลับไปไว้ ณ ที่เดิมเป็นระยะ ๆ มิฉะนั้น มันจะลืมได้ ดู RAM ประกอบ |
home key | แป้นกดกลับตำแหน่งต้นเป็นแป้นพิมพ์แป้นหนึ่งในแผงแป้นอักขระ มีคำว่า Home อยู่บนแป้น เมื่อกดแป้นนี้จะเป็นการบังคับให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) กลับไปสู่จุดเริ่มต้นของบรรทัดใหม่ หรือจุดเริ่มต้นบรรทัดบนสุดของเอกสารหน้าหนึ่ง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโปรแกรมแต่ละโปรแกรมด้วย |
insert key | แป้นแทรก <คำแปล>เป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีคำว่า Insert หรือ Ins อยู่บนแป้น การกดแป้นนี้จะทำให้สามารถพิมพ์ตัวอักษรแทรกเข้าไปโดยที่ตัวอักษรที่อยู่ถัดไปจะถอยให้ (ถ้าไม่กดแป้นนี้ อักษรตัวใหม่ที่พิมพ์จะทับตัวเก่า ทำให้ตัวเก่าหายไป) อย่างไรก็ตาม แป้นนี้เป็นแป้นเปิด/ปิด (on/off) หมายความว่า กดแป้นนี้ครั้งแรก จะเปลี่ยนให้เป็นภาวะแทรก แต่ถ้ากดอีกครั้งหนึ่ง ก็จะเปลี่ยนกลับไปเป็นภาวะเดิม คือภาวะพิมพ์ทับ บางทีใช้ Ins keyดู insert mode ประกอบ |
interpreter | ตัวแปลภาษาเป็นโปรแกรมตัวแปลที่อ่านคำสั่งในโปรแกรมทีละคำสั่ง (ไม่รอจนจบโปรแกรมเหมือนตัวแปลอื่น) แปลเป็นภาษาเครื่อง (machine language) แล้วปฏิบัติตามคำสั่งนั้นเลย เช่น ตัวแปลที่ใช้แปลโปรแกรมภาษาเบสิก (BASIC) การเรียนวิธีเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวแปลประเภทนี้ ผู้เรียนจะรู้สึกว่าง่ายและทันใจ เพราะพอใส่คำสั่งเข้าไป เครื่องก็จะรายงานได้ทันทีว่า คำสั่งนั้นถูกหรือผิด ถ้าสั่งให้ทำอะไร ก็จะทำให้เลย ข้อเสียของตัวแปลประเภทนี้ ก็คือ คอมพิวเตอร์จะไม่เก็บคำแปลไว้ หากจะต้องย้อนกลับไปทำคำสั่งนั้นอีก ก็จะต้องแปลใหม่อีกทุกครั้ง ดู compiler ประกอบ |
packet switching | การสลับกลุ่มข้อมูลในเรื่องการสื่อสารข้อมูล (data communications) หมายถึงเทคนิคในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม (packet) แต่ละกลุ่มจะมีความยาวเท่ากัน (ปกติ 100บิต) ข้อมูลจะหาทิศทางเดินไปได้เอง โดยที่สายหนึ่ง ๆ จะสามารถใช้กันได้หลายคน เมื่อถึงที่ปลายทางข้อมูลก็จะกลับไปรวมกันเองดู circuit switching เปรียบเทียบ |
regain | (รีเกน') vt. เอากลับมา, ได้คืน, เอาคืน, กู้, มีสติอีก, กลับไปสู่, ฟื้นสติ, มาถึงอีก, See also: regainable adj. regainer n. |
reside | (รีไซดฺ') vi. อยู่อาศัย, อยู่เป็นเวลานาน, พำนักอยู่อย่างถาวร, อยู่ประจำ, อยู่กับ , ตั้งใหม่เป็นปุ่มหนึ่งบนเครื่องพีซีบางเครื่อง การกดที่ปุ่มนี้จะเป็นการเริ่มเปิดเดินเครื่องใหม่ใช้เหมือนการกดแป้น Ctrl + Alt + Del ในระบบดอส บางทีในกรอบสนทนาก็จะมีปุ่มนี้ ในกรณีนั้น จะเป็นคำสั่งให้ยกเลิกค่าที่กำหนดใหม่ แล้วกลับไปใช้ค่าเดิม, See also: resider n., Syn. dwell, live, stay |
shuttlecock | (ชัท'เทิลคอค) n. ลูกขนไก่, กีฬาแบดมินตัน, การตีลูกขนไก่, สิ่งที่โต้แย้งกัน, บุคคลที่ลังเล, บุคคลที่มีอารมณ์อ่อนไหว. vt. ส่งไปส่งมา, ส่งกลับไปมา. vt. เดินไปมา, ส่งไปมา adj. ไป ๆ มา ๆ , ลังเลใจ |
third generation computer | คอมพิวเตอร์ยุคที่สามคอมพิวเตอร์ยุคที่สาม เริ่มราวต้นทศวรรษ 1970 เมื่อมีการเปลี่ยนจากทรานซิส เตอร์ มาใช้วงจรเบ็ดเสร็จหรือไอซี (integrated circuit) ทำให้ เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงและทำงานเร็วขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้การเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาระดับสูง (high level language) ทำได้ง่ายขึ้น จึงมีผู้นิยมใช้มากขึ้น ยุคนี้ คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้ทีละหลายโปรแกรม เรียกว่า ระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (multiprogramming) เริ่มมีการส่งข้อมูลมาจากทางไกลเข้าประ มวลผล แล้วส่งผลกลับไป รวมทั้งมีการใช้ระบบถามตอบกับคอมพิวเตอร์ได้ดู generation ประกอบ |
token ring | วงแหวนโทเค็นในระบบเครือข่าย หมายถึง การส่งข้อมูลแบบวงแหวน กล่าวคือ ผู้ส่งข้อมูลจะนำข้อมูลใส่ในถาด (token) ถาดนี้จะเดินตามสายผ่านไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่โดยรอบ เมื่อเดินไปถึงเครื่องที่จะเป็นตัวรับ ก็จะจัดการรับถาดนั้นไว้เพื่อถ่ายโอนข้อมูลออก เมื่อบันทึกข้อมูลลงในเครื่องของตนแล้ว ก็จะปล่อยถาดกลับไปยังผู้ส่ง เมื่อผู้ส่งตรวจดูว่า ข้อมูลถูกรับไว้เรียบร้อยแล้ว ก็จะลบข้อมูลทิ้ง (บางทีเรียกสั้น ๆ ว่า ring network) |
Nontri Dictionary
homeward | (adj, adv) ไปยังบ้าน, กลับไปบ้าน, สู่บ้าน |
homewards | (adj, adv) ไปยังบ้าน, กลับไปบ้าน, สู่บ้าน |
redound | (vt) ส่งเสริม, ให้ผล, กลับไปสู่ |
remount | (vt) กลับไปใหม่, ขึ้นไปใหม่, ติดตั้งใหม่ |
TO AND to and fro | (adv) ไปๆมาๆ, กลับไปกลับมา |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Backdoor account | (n) บัญชีลับหรือประตูหลัง ในภาษาทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง รูรั่วของระบบหรือซอฟแวร์ นักพัฒนาระบบจงใจสร้างทิ้งไว้ เพื่อให้ซอฟแวร์คอยส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ที่มันติดตั้งอยู่ กลับไปหาโปรแกรมเมอร์ผู้พัฒนา หรือเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลภายในได้ |
non-refoulement | (n) หลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปยังดินแดนหรือถิ่นที่ชีวิตและเสรีภาพของพวกเขาจะถูกคุกคาม Non-refoulement is a principle in international law, specifically, refugee law, which protects refugees from being returned to places where their lives and freedoms would be threatened.[ Google ] Art.33(1) of the 1951 UN Convention on the Status of Refugees, and its 1967 protocol. |
pass back and forth | ส่งผ่านกลับไปกลับมา |
Saikam JP-TH-EN Dictionary
返る | [かえる, kaeru] TH: กลับไป EN: go back |
返す | [かえす, kaesu] TH: การคืนสิ่งที่ได้มาก่อนหน้านั้นกลับไปยังที่เดิม EN: to return something (vt) |
Longdo Approved DE-TH
Gelegenheit | (n) |die, pl. Gelegenheiten| โอกาส, ช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น Ich habe bisher keine Gelegenheit, meine Eltern zu besuchen. ถึงตอนนี้ฉันก็ยังไม่มีโอกาสที่จะกลับไปเยี่ยมพ่อแม่ |
ersparen | (vt) |ersparte, hat erspart| ประหยัดเวลาหรือหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ Wenn du ihn nicht zurückschreibst, kannst du dir die Aufregung ersparen. ถ้าเธอไม่เขียนตอบเขากลับไป เธอก็สามารถลดการรบกวนหรือไม่ต้องมาหงุดหงิดอีก |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0411 seconds, cache age: 0.254 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม