425 ผลลัพธ์ สำหรับ *เสนอ*
ภาษา
หรือค้นหา: เสนอ, -เสนอ-Longdo CN - TH
展览 | [展 览] แสดง, นำเสนอออกงานนิทรรศการ |
Longdo Unapproved TH - EN
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ข้อเสนอแนะ | recommendation |
ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอ | tesis |
วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการนาเสนอทางธุรกิจ | (n, phrase) English for Business Presentation |
Longdo Unapproved JP - JP
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
三位一体改革 | (n) ปฏิรูปแบบตรีเอกานุภาพ(เป็นนโยบายหลักนโยบายหนึ่งของอดีตนายกรัฐมนตรีโคอิซึมิ ซึ่งเป็นแนวนโยบายเพื่อการปฏิรูปเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานะทางการคลังขององค์กรปกครองท้องถิ่น ซึ่งแนวคิดของนโยบายนี้เสนอให้มีการปฏิรูปทั้งสามด้านพร้อมกันเป็นหนึ่งแพคเกจ ดังนั้นนายกรัฐมนตรีโคอิซึมิ จึงเรียกการปฏิรูปนี้ว่า"การปฏิรูปแบบตรีเอกานุภาพ สามด้านที่ต้องปฏิรูปก็คือ การปฏิรูปเรื่องภาษีของท้องถิ่น การปฏิรูปเรื่องเงินอุดหนุนแบบให้เปล่าเพื่อประกันรายได้ให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นที่มีรายได้ไม่เพียงพอ และการปฏิรูปด้านการให้เงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
คำเสนอ | (n) proposal, See also: suggestion, offer |
นำเสนอ | (v) present, See also: submit, show, exhibit, display, Syn. เสนอ, Example: พรุ่งนี้ผมจะนำเสนอผลงานต่างๆ ที่ผมได้ทำมาในที่ประชุม, Thai Definition: บอกกล่าวหรือแสดงให้เห็น |
ข้อเสนอ | (n) proposal, See also: offer, proposition, suggestion, Syn. ข้อแนะนำ, ข้อเสนอแนะ, Example: คณะกรรมการมีข้อเสนอเกี่ยวกับการรณรงค์อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำที่น่าสนใจ, Count Unit: ข้อ, ประการ, Thai Definition: ข้อชี้แนะแนวทางหรือวิธีการให้ปฏิบัติ |
ผู้เสนอ | (n) proposer, See also: mover of a motion, Example: อียิปต์เห็นด้วยกับแผนยุทธวิธีการประชุมที่สหรัฐเป็นผู้เสนอ |
เสนอขาย | (v) offer for sale, Ant. ขอซื้อ, ซื้อ, Example: บริษัททิสโกเสนอขายหุ้นถึงสิ้นเดือนนี้, Thai Definition: ชักนำให้ผู้อื่นซื้อสินค้าที่ตนนำมาขาย |
เสนอตัว | (v) offer oneself (e.g. to do a task), See also: propose, present oneself, Example: อธิการบดีคนปัจจุบันจะเสนอตัวลงสมัครเป็นอธิการบิดีเป็นสมัยที่ 3 |
ฝ่ายเสนอ | (n) proposer, Ant. ฝ่ายค้าน, Example: ฝ่ายเสนอชนะฝ่ายค้านในการโต้วาที, Count Unit: ฝ่าย, Thai Definition: ฝ่ายที่แสดงความเห็นให้ฝ่ายค้านโต้แย้งตามญัตติในการโต้วาที |
มุ่งเสนอ | (v) bring up, See also: introduce, present, show, display, suggest, put on, exhibit, demonstrate, Syn. เสนอ, นำเสนอ, Example: เขาใส่ใจต่อเรื่องนี้ค่อนข้างสูงน่าเสียดายอยู่นิดตรงสาระที่เขามุ่งเสนอออกจะพร่าเลือนไป |
ยื่นเสนอ | (v) submit, See also: offer, propose, present, Example: กองทุนต่างๆ ที่เขารวมเสนอมานั้น ไม่ยื่นเสนอว่าจะลงทุนอย่างไร |
เสนอชื่อ | (v) nominate, See also: put forward one's name, offer one's name for selection, Example: มูลนิธินิติศาสตร์เชิญชวนเสนอชื่อผู้สมควรได้รับรางวัล สัญญา ธรรมศักดิ์, Thai Definition: แสดงชื่อให้ผู้อื่นทราบ |
การเสนอแนะ | (n) suggestion, See also: advice, recommendation, Syn. การแนะ, การแนะนำ, การชี้แนะ |
ข้อเสนอแนะ | (n) suggestion, See also: counsel, Syn. ข้อแนะนำ, ข้อเสนอ, Example: จิตแพทย์ต้องการให้ผู้ป่วยรับข้อเสนอแนะเรื่องการนั่งสมาธิเพื่อการบำบัดทางจิต, Count Unit: ข้อ, ประการ, Thai Definition: ข้อชี้แนะแนวทางหรือวิธีการให้ปฏิบัติ |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อเสนอ | น. เรื่องราวที่นำเสนอเพื่อพิจารณา. |
ข้อเสนอแนะ | น. ข้อคิดเห็นเชิงแนะนำที่เสนอเพื่อพิจารณา. |
คำเสนอ | น. การแสดงเจตนาว่าจะกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลฝ่ายหนึ่งแจ้งต่อบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง. (ดู คำสนอง ประกอบ). |
ฝ่ายเสนอ | น. ฝ่ายที่แสดงความเห็นให้ฝ่ายค้านโต้แย้งตามญัตติในการโต้วาที, ตรงข้ามกับ ฝ่ายค้าน. |
เสนอ | (สะเหฺนอ) ก. ยื่นเรื่องราว ความเห็น ญัตติ เป็นต้น เพื่อให้ทราบ ให้พิจารณา หรือให้สั่งการ เช่น เสนอรายงานการเดินทางให้ผู้บังคับบัญชาทราบ เสนอโครงการให้พิจารณา เสนอบันทึกความเห็นเพื่อพิจารณาสั่งการ ลูก ๆ เสนอให้ไปพักผ่อนชายทะเล, แสดงให้เห็น เช่น เสนอตัวอย่างสินค้า เสนอละครเรื่องใหม่. |
เสนอตัว | ก. แสดงความจำนงมอบตัวให้พิจารณาเพื่อแต่งตั้งหรือรับไว้ทำงานเป็นต้น เช่น เขาเสนอตัวรับใช้ประชาชน เขาเสนอตัวเป็นนายกสมาคม. |
เสนอหน้า | ก. แสดงตัวให้ผู้มีอำนาจเหนือเห็นอยู่เสมอทั้ง ๆ ที่ตนเองมิได้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลประโยชน์ตอบแทน, พยายามแสดงตัวให้ปรากฏต่อสาธารณชนอยู่เสมอ เช่น เวลาเขาถ่ายรูปกันจะต้องเสนอหน้าเข้าไปร่วมถ่ายรูปด้วย. |
กระทงแถลง | น. ส่วนสำคัญในสำนวนความที่เป็นประเด็นและที่เกี่ยวกับประเด็นอันพึงเสนอวินิจฉัย. |
เก | ท้าพนันด้วยการเสนอเงินเดิมพันสูงขึ้นเรื่อย ๆ. |
ข้อคิด | น. ประเด็นที่เสนอให้คิด, ประเด็นที่ชวนคิด. |
ของเก่า | ทรัพย์ที่เสนอขาย แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว ทั้งนี้ รวมถึงของโบราณด้วย. |
ขันอาสา | ก. เสนอตัวเข้ารับทำโดยเต็มใจ, กล้าอาสา. |
ขายตรง | ก. ขายสินค้าโดยมีตัวแทนนำไปเสนอขายผู้ซื้อโดยตรง ไม่ผ่านร้านค้า เช่น ธุรกิจขายตรงกำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้. |
ขายตรง | น. การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการนำเสนอขายต่อผู้บริโภคโดยตรง. |
ขายเหมา | (-เหฺมา) น. การขายซึ่งผู้ซื้อตกลงซื้อทรัพย์สินที่ผู้ขายเสนอขายหมดทั้งจำนวนในราคาตามที่ตกลงกัน. |
คำขาด | น. คำบอกกล่าวอย่างเด็ดขาดครั้งที่สุดให้ปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่มีการผ่อนผัน เช่น ยื่นคำขาดให้ผู้เช่าออกไปจากบ้านเช่าภายใน ๓ วัน, ข้อเสนอเด็ดขาด, ข้อเสนอที่ยื่นให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามโดยเด็ดขาด เช่น เขายื่นคำขาดให้เธอปฏิบัติตาม. |
คำเผดียงสงฆ์ | น. ญัตติ, คำสวดประกาศเป็นภาษาบาลี เสนอให้ที่ประชุมสงฆ์ทราบเพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน. |
คำฟ้อง | น. กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาลไม่ว่าจะเสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ. |
คำสนอง | น. การแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งตกลงรับคำเสนอของบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง อันเป็นผลให้เกิดมีความผูกพันเป็นสัญญาขึ้นตามกฎหมาย. (ดู คำเสนอ ประกอบ). |
โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานข้อเสนอและแนวทางให้หน่วยงานเอกชนรับไปดำเนินงานและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการพัฒนาหมู่บ้านสหกรณ์เนินดินแดง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. |
เจว็ด | โดยปริยายหมายความว่า ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นประธานหรือเป็นใหญ่ แต่ไม่มีอำนาจ เช่น ประธานไม่ได้เป็นเจว็ด ต้องมีสิทธิ์พิจารณาเรื่องที่เสนอได้ |
เจ๋อ, เจ๋อเจ๊อะ | ก. เสนอหน้าเข้าไปในสถานที่ไม่สมควรเมื่อเขาไม่ต้องการหรือมิได้เรียกหา. |
เจ้าหน้า, เจ้าหน้าเจ้าตา | น. ผู้ชอบทำเอาหน้า, ผู้ชอบเสนอหน้าเข้าไปทำธุระให้คนอื่นโดยเขาไม่ได้ขอร้อง. |
ซื้อหน้า | ก. เสนอหน้า, สำแดงตัวออกมาให้เห็น, เช่น ครั้นตอบพี่มึงถึงแต้ม อีแสนแนมซื้อหน้าเข้ามาสู้ (ไกรทอง) |
ญัตติ | น. คำสวดประกาศเป็นภาษาบาลี เสนอให้ที่ประชุมสงฆ์ทราบเพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน, คำเผดียงสงฆ์ ก็ว่า |
ญัตติ | ข้อเสนอเพื่อให้มีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดในกิจการของสภาที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติ |
ญัตติ | ข้อเสนอเพื่อลงมติ เช่น ผู้แทนราษฎรเสนอญัตติเข้าสู่สภาเพื่อขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่ |
ฎีกา | การคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ เพื่อเสนอให้ศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาหรือวินิจฉัยชี้ขาด |
ตรายาง | น. ตราที่ทำด้วยยางสำหรับประทับบนกระดาษเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจแต่ลงนามอนุมัติตามที่มีผู้อื่นเสนอมาโดยไม่ได้ตัดสินใจเอง. |
ตัวแทนขายตรง | น. บุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจขายตรงให้นำสินค้าหรือบริการไปเสนอขายตรงต่อผู้บริโภค. |
โต้วาที | ก. แสดงคารมโดยมีฝ่ายเสนอและฝ่ายค้านในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง. |
ทั้งนี้ทั้งนั้น | ว. จะเป็นเช่นนี้หรือจะเป็นเช่นนั้นก็ตาม เช่น ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่มีใครรู้ความจริง เสนอโครงการไปหลายโครงการ ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วแต่ว่าจะได้งบประมาณหรือไม่. |
ธุรกิจหลักทรัพย์ | น. การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรียกโดยย่อว่าคณะกรรมการ ก.ล.ต. |
แนะแหน | (-แหฺน) ก. แนะ, พูดเสนอให้ชอบใจ. |
บริษัทหลักทรัพย์ | น. บริษัทหรือสถาบันการเงิน ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรียกโดยย่อว่า คณะกรรมการ ก.ล.ต. |
บัดนี้ | ว. ขณะนี้, เดี๋ยวนี้, เช่น บัดนี้ได้เสนอเรื่องมาให้พิจารณาแล้ว. |
ประกวดราคา | ก. เสนอราคาแข่งขันกัน. |
ประจิ้มประเจ๋อ | ว. พูดจาและแสดงกิริยาเสนอหน้าอย่างเด็ก. |
ประชุมโต๊ะกลม | น. การประชุมปรึกษาหารือหรืออภิปราย ซึ่งจัดที่นั่งล้อมกันเป็นวงกลม ไม่มีประธาน ทุกคนมีสิทธิ์เสนอความคิดเห็นเท่าเทียมกัน. |
ประพจน์ | น. ข้อเสนอ, ข้อความที่กล่าว |
ประมูล | ก. เสนอราคาแข่งขันกันในการซื้อหรือขายทรัพย์สินเป็นต้น. |
ปั้นจิ้มปั้นเจ๋อ | เจ้าหน้าเจ้าตา, ดัดจริตเสนอหน้าหรือแสดงตัวผิดกาลเทศะ. |
ผู้ตรวจการแผ่นดิน | น. องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่สอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งอำนาจหน้าที่ในการเสนอเรื่องต่อศาลปกครองหรือศาลรัฐธรรมนูญเมื่อเห็นว่ากฎหมาย กฎ ข้อบังคับ หรือการกระทำใดของบุคคลใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ. |
ผู้บริโภค | น. ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ รวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ.(อ. consumer). |
ฝ่ายค้าน | น. ฝ่ายที่แสดงความเห็นโต้แย้งความเห็นของฝ่ายเสนอในการโต้วาที, ตรงข้ามกับ ฝ่ายเสนอ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคที่ไม่ได้ร่วมเป็นรัฐบาล ซึ่งทำหน้าที่ค้านรัฐบาลในรัฐสภา, โดยปริยายหมายถึง ผู้ที่มีความเห็นโต้แย้งกับผู้อื่น เช่น เรื่องนี้แม้ใครจะเห็นด้วยก็ตาม แต่ฉันขอเป็นฝ่ายค้าน. |
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ | น. รูปแบบของกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของฝ่ายนิติบัญญัติในเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เช่น เรื่องเกี่ยวกับการเลือกตั้ง พรรคการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญกำหนดหลักเกณฑ์ในการเสนอ การพิจารณาและการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญไว้เป็นพิเศษแตกต่างจากพระราชบัญญัติ. |
พิมเสน ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Dryobalanops aromatica C.E. Gaertn. ในวงศ์ Dipterocarpaceae มีเกล็ดพิมเสนอยู่ในเนื้อไม้. |
มติ | ข้อวินิจฉัยญัตติที่เสนอต่อที่ประชุม. |
ยื่น | เสนอ, ส่ง, มอบ, เช่น ยื่นเรื่องราว ยื่นบัญชี ยื่นฟ้อง |
ร้องเรียน | ก. เสนอเรื่องราว. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
private member's bill | ร่างกฎหมายที่สมาชิกสภาเสนอ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
private members, bill | ร่างกฎหมายที่สมาชิกสภาเสนอ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
presentation | การนำเสนอ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
petition nomination | การเข้าชื่อเสนอเพื่อการแต่งตั้ง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
presentation | การนำเสนอ [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
presentation layer | ชั้นนำเสนอ [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
lapse of offer | คำเสนอที่ตกไป [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legislative budget | งบประมาณที่ฝ่ายนิติบัญญัติเสนอ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
rapporteur (Fr.) | ผู้เสนอรายงานการประชุม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
rejection of offer | การบอกปัดคำเสนอ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
revocation of offer | การถอนคำเสนอ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
RFP (request for proposal) | อาร์เอฟพี (เอกสารเชิญชวนยื่นข้อเสนอ) [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
RFQ (request for quotation) | อาร์เอฟคิว (เอกสารเชิญชวนเสนอราคา) [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
request for proposal (RFP) | เอกสารเชิญชวนยื่นข้อเสนอ (อาร์เอฟพี) [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
request for quotation (RFQ) | เอกสารเชิญชวนเสนอราคา (อาร์เอฟคิว) [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
request note | ใบเสนอขอ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
second leaving | การเสนอครั้งที่สอง [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
submission of a plaint | การเสนอคำฟ้อง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
simultaneous representation | การเสนอภาพซ้อนผสาน [ศิลปะ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
offer | ๑. เสนอ๒. คำเสนอ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
offer and acceptance | การเสนอและการสนอง [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
offer and acceptance | คำเสนอและคำสนอง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
offer for sale | เสนอขาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
offer note | ใบเสนอขอ มีความหมายเหมือนกับ request note [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
offeror | ผู้ทำคำเสนอ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
overplacing | การเสนอเกิน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
adoption | ๑. การรับข้อเสนอ, การมีมติเห็นชอบ๒. การรับบุตรบุญธรรม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
amends, tender of | ข้อเสนอชดใช้ค่าเสียหาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
budget, legislative | งบประมาณที่ฝ่ายนิติบัญญัติเสนอ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
bill, private member's | ร่างกฎหมายที่สมาชิกสภาเสนอ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
bill, private members' | ร่างกฎหมายที่สมาชิกสภาเสนอ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
bill | ๑. ตั๋วเงิน (ก. แพ่ง)๒. ใบแจ้งหนี้ (ก. แพ่ง)๓. ร่างกฎหมายที่เสนอสภา (ก. รัฐธรรมนูญ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
bill, initiation of | การเสนอร่างกฎหมาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
budget message | สารนำเสนองบประมาณ (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
bid price | ราคาที่ผู้ซื้อเสนอ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
make a bid | การเสนอราคาประมูล, การเรียกประมูลราคา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
message, budget | สารนำเสนองบประมาณ (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
committee on committees | คณะกรรมการเสนอชื่อสมาชิกพรรคเป็นกรรมาธิการ (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
counter offer | คำเสนอกลับ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
constituent power | อำนาจเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (อเมริกัน) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
direct nomination | การเสนอชื่อผู้เข้ารับเลือกตั้งโดยตรง (โดยผู้มีสิทธิออกเสียง) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
diagrammatic presentation | การนำเสนอด้วยแผนภาพ [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] |
engrossment | ๑. การร่างมติ (เพื่อเสนอให้ลงมติ) (ก. ปกครอง)๒. การกว้านซื้อสินค้า (เพื่อผูกขาด) (ก. พาณิชย์) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
invitation to treat | คำเชิญชวนให้รับคำเสนอ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
initiation of bill | การเสนอร่างกฎหมาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
independent nomination | การเสนอชื่อโดยอิสระ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
tender | ยื่นคำเสนอ, การทำคำเสนอ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
tender of amends | ข้อเสนอชดใช้ค่าเสียหาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
tender offer | ๑. การยื่นประมูล๒. การเสนอซื้อหุ้น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
treat, invitation to | คำเชิญชวนให้รับคำเสนอ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Proceedings | เอกสารเสนอหรือแถลงในการประชุม รายงานสรุปผลการอภิปราย รายงานกิจการหรือธุรกิจเกี่ยวกับการประชุม, Example: <p>Proceedings คือ เอกสารหรือหนังสือที่รวบรวมบทความวิจัย บทคัดย่อ หรือเอกสารนำเสนอในการประชุมวิชาการหรือวิชาชีพ ที่จัดขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยสมาคม หน่วยงาน หรือองค์กร จัดให้มีการประชุม เพื่อเป็นการพบปะระหว่างนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาชีพ ในสาขาวิชาเดียวกันอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และความร่วมมือกัน มีการนำเสนอผลการค้นคว้าวิจัยใหม่ในที่ประชุม <p>รายงานการประชุมที่เผยแพร่เป็นรูปเล่ม (Proceedings) ดำเนินการตีพิมพ์ผลงานฉบับสมบูรณ์เผยแพร่หลังการประชุม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ <p>1. การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (International Conference) <p>2. การประชุมวิชาการระดับชาติ (National Conference) [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Presentation graphics | กราฟสำหรับนำเสนอ [คอมพิวเตอร์] |
Action research | การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, การวิจัยแบบมีส่วนร่วม เน้นการปฏิบัติและมีการร่วมมือ ใช้การทำงานเป็นกลุ่ม ผู้ร่วมวิจัยทุกคนมีส่วนสำคัญและมีบทบาทเท่าเทียมกันในทุกกระบวนการของการวิจัย ทั้งการเสนอความคิดเชิงทฤษฎี และการปฏิบัติ ตลอดจนการวางนโยบายการวิจัย [Assistive Technology] |
Field research | การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, การวิจัยแบบมีส่วนร่วม เน้นการปฏิบัติและมีการร่วมมือ ใช้การทำงานเป็นกลุ่ม ผู้ร่วมวิจัยทุกคนมีส่วนสำคัญและมีบทบาทเท่าเทียมกันในทุกกระบวนการของการวิจัย ทั้งการเสนอความคิดเชิงทฤษฎี และการปฏิบัติ ตลอดจนการวางนโยบายการวิจัย [Assistive Technology] |
Tender offer | การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์, Example: การแจ้งแก่ผู้ถือหุ้นทุกรายของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง (โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลคณะหนึ่ง) ถึงความต้องการที่ จะซื้อหุ้น บริษัทดังกล่าวจากผู้ถือหุ้น โดยระบุจำนวนหุ้น ราคา และกำหนดเวลาที่ต้องการรับซื้อไว้ด้วย การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ มักจะเกิดขึ้นโดยผู้ทำคำเสนอซื้อมีวัตถุประสงค์จะเข้าไปบริหารบริษัทดังกล่าว ซึ่งกฎหมายเกี่ยวกับหลักทรัพย์มีข้อกำหนดว่าผู้ที่ถือหุ้นในบริษัทหนึ่งบริษัทใดเพิ่มขึ้นมากถึงเกณฑ์ที่กำหนด จะต้องทำคำเสนอซื้อ และ ก.ล.ต. ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการทำคำเสนอซื้อดังกล่าวด้วย [ตลาดทุน] |
Public offering | การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชน, Example: การที่บริษัทนำหลักทรัพย์ของตนออกเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป จุดประสงค์เพื่อระดมเงินทุนไปขยายกิจการและเพื่อกระจายการถือครองหลักทรัพย์ให้ประชาชนทั่วไป การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชนจะต้องกระทำผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่รับเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (underwriters) จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. และต้องจัดทำหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ [ตลาดทุน] |
Greenshoe option | การเสนอขายหลักทรัพย์แบบ greenshoe option, Example: คือการที่ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์จะเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชนในจำนวนที่มากกว่าบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์เสนอขายอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งหลักทรัพย์ที่เกินนั้น ผู้จัดจำหน่ายจะไปทำ option กับบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ เพื่อออกหุ้นส่วนที่ผู้จัดจำหน่ายขายเกิน ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่จัดจำหน่ายเมื่อเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ และมีราคาตลาดสูงกว่าราคาเสนอขาย และในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวเมื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้วมีราคาต่ำกว่าราคาเสนอขาย ผู้จัดจำหน่ายจะเข้าไปซื้อหลักทรัพย์ในจำนวนที่เกินดังกล่าวในตลาดหลักทรัพย์ วิธีดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการระดมทุนในตลาดทุน เนื่องจากมีส่วนป้องกันไม่ให้ราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่เสนอขายในช่วงระยะเวลา แรกที่เข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มีความผันผวนมาก เพราะการเข้าไปซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าว จะมีลักษณะของการรักษาระดับราคาของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย (stabilization) ซึ่งมีส่วนช่วยให้การเสนอขายหลักทรัพย์สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น [ตลาดทุน] |
Market price order | การเสนอซื้อขาย ณ ราคาตลาด, Example: เป็นคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์แบบไม่ระบุราคา (Non-Limit Price Order) เป็นคําสั่งซื้อหรือขายหุ้น ณ ราคาที่ดีที่สุดในเวลาที่สั่ง บริษัทหลักทรัพย์จะขายหุ้น ณ ราคาสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในเวลานั้น หรือจะซื้อหุ้น ณ ราคาต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในเวลานั้นให้กับลูกค้า [ตลาดทุน] |
Trigger point | จุดที่ต้องทำคำเสนอซื้อ, Example: การที่นิติบุคคลหรือบุคคลใดถือหลักทรัพย์ถึงหรือข้ามจุดที่จะต้องทำคำเสนอซื้อคือ 25% 50% และ 75% ของสิทธิออกเสียง นิติบุคคลหรือบุคคลนั้นมีหน้าที่จะต้องทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ [ตลาดทุน] |
Bid | ราคาเสนอซื้อสูงสุด, Example: ราคาเสนอซื้อสูงสุดของหลักทรัพย์หนึ่ง ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งเวลานั้นอาจมีราคาเสนอซื้อเข้ามาหลายราคา แต่ระบบซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์จะแสดงราคาเสนอซื้อที่สูงสุดไว้ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ว่า ผู้เสนอซื้อที่ให้ราคาสูงกว่าควรได้สิทธิซื้อก่อนรายอื่น ๆ [ตลาดทุน] |
Offer | ราคาเสนอขาย, Example: ราคาขายต่ำที่สุดของแต่ละหลักทรัพย์ที่มีการเสนอขายเข้ามาในระบบซื้อขาย ณ ขณะใดขณะหนึ่งอาจจะมีราคาเสนอขายเข้ามาหลายราคา แต่ระบบซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์จะแสดงราคาเสนอขายต่ำที่สุดไว้ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ว่า ผู้เสนอขายที่ราคาต่ำกว่าควรได้สิทธิขายก่อน [ตลาดทุน] |
แสล๋น | เสนอหน้า [ศัพท์วัยรุ่น] |
Business presentations | การเสนองานธุรกิจ [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Going public (Securities) | การเสนอขายหลักทรัพย์ [TU Subject Heading] |
Initiative, Right of | สิทธิที่จะเสนอร่างกฎหมาย [TU Subject Heading] |
Offer and acceptance | คำเสนอและคำสนอง [TU Subject Heading] |
Presentation graphics software | ส่วนชุดคำสั่งการเสนองานรูปกราฟิก [TU Subject Heading] |
Sales presentations | การเสนองานขาย [TU Subject Heading] |
Self-presentation | การนำเสนอตัวตน [TU Subject Heading] |
Suggestion system | ระบบข้อเสนอแนะ [TU Subject Heading] |
ASEAN-Canada Business Council | การประชุมสภาธุรกิจอาเซียน-แคนาดา มีการประชุมทุกปีในระหว่างการประชุมสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอาเซียน เพื่อพิจารณาปัญหาและอุปสรรคในการติดต่อค้าขาย และการร่วมลงทุนระหว่างกัน ตลอดจนเสนอแนะแนวทางของความร่วมมือ [การทูต] |
Accession | การภาคยานุวัติ คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติ พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชา ชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก [การทูต] |
Agreement | การที่รัฐที่ผู้จะไปประจำตำแหน่งในรัฐนั้นได้ตกลง เห็นชอบกับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอชื่อให้เป็นผู้แทนทางการทูต อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้ บัญญัติไว้ว่า1. รัฐผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นที่แน่นอนว่า รัฐผู้รับได้ให้ความเห็นชอบแล้ว สำหรับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอจะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐนั้น2. รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลแก่รัฐผู้ส่งในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตซึ่งรอการถวายสารตราตั้งจะต้องเริ่มดำเนิน การเพื่อเดินทางไปยังรัฐผู้รับในเรื่องนี้ มีตัวอย่างไม่น้อยที่รัฐผู้รับปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบด้วยเหตุผลบางอย่าง นับตั้งแต่อ้างว่า การเสนอชื่อผู้รับการแต่งตั้งได้กระทำกะทันหันเกินไป และมิได้แจ้งข้อเท็จจริงมาก่อน หรือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเคยกล่าวตำหนิ วิพากษ์รัฐผู้รับ หรือผู้รับการเสนอชื่อมมีภรรยาเป็นชาวยิว หรือผู้รับการเสนอชื่อถือศาสนาโรมันคาทอลิก หรือผู้นั้นเคยปฏิบัติไม่ดีต่อชนชาติของรัฐผู้รับ หรือผู้นั้นในขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างถูกฟ้องร้อง ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกง เป็นต้นกล่าวโดยย่อ agr?ment คือ การให้ความเห็นชอบของรัฐผู้รับ แก่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐผู้ส่งให้เป็นผู้แทนทางการทูตนั่นเอง [การทูต] |
alternative perimeter | แนวเขตที่เสนอเป็นทางเลือกในการเจรจาเขตแดนระหว่างประเทศ [การทูต] |
ASEAN-New Zealand Joint Management Committee | คณะกรรมการบริหารร่วมอาเซียน-นิวซีแลนด์ ประกอบด้วยผู้แทนระดับอธิบดีของอาเซียนและนิวซีแลนด์ ประชุมกัน ปีละครั้ง เพื่อทบทวนติดตามและนำเสนอโครงการความร่วมมือระหว่างกัน [การทูต] |
ASEAN Secretariat | สำนักเลขาธิการอาเซียน " ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา มีหน้าที่ให้การสนับสนุนงานการประชุม ประสานงาน และเสนอข้อคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ และมีเลขาธิการอาเซียนเป็น หัวหน้าสำนักงาน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ทั้งนี้ นายแผน วรรณเมธี เป็นคนไทยคนเดียวที่เคยดำรงตำแหน่งนี้ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2527-2529 " [การทูต] |
ASEAN Senior Officials Meeting | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก เพื่อติดตามและเสนอนโยบายด้านการเมือง ความมั่นคง และเรื่องอื่น ๆ ต่อรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน [การทูต] |
ASEAN Troika | กลุ่มผู้ประสานงานของอาเซียน " เป็นข้อเสนอของไทยในการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการ ณ กรุงมะนิลา เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก ผู้นำประเทศ/รัฐบาลอาเซียน เป็นกลไกเฉพาะกิจในระดับรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาเซียนสามารถแก้ไขและร่วมมือกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทันท่วงทีและใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพ และในเรื่องที่อาเซียนมีความห่วงกังวลร่วมกันว่ามี แนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนจะปฏิบัติงานโดยยึดหลักการที่สำคัญของอาเซียน คือ หลักฉันทามติ และการไม่แทรกแซงกิจการภายใน กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ ประเทศที่เป็นประธานคณะกรรมการประจำของ อาเซียนในปัจจุบัน อดีต และอนาคต " [การทูต] |
Commencement of the Functions of the Head of Diplomatic Mission | การเริ่มต้นรับหน้าที่ของหัวหน้าคณะผู้แทนทางการ ทูต กล่าวคือ เมื่อหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตเดินทางไปถึงนครหลวงของประเทศผู้รับแล้ว ควรรีบแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทราบว่า ตนได้เดินทางมาถึงแล้วและขอนัดเยี่ยมคารวะ ตามปกติกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของอธิบดีกรมพิธีการทูตจะดำเนินการตระเตรียมให้หัวหน้าคณะ ผู้แทนทางการทูตได้เข้ายื่นสารตราตั้งต่อไประหว่างนั้น หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะต้องไม่ไปพบเยี่ยมผู้ใดเป็นทางการ จนกว่าจะได้ยื่นสารตราตั้งเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี หัวหน้าคณะผู้แทนอาจขอพบเป็นการภายในกับหัวหน้าของคณะทูตานุทูต (Dean หรือ Doyen of the Diplomatic Corps) ได้ เพื่อขอทราบพิธีการปฏิบัติในการเข้ายื่นสารตราตั้งต่อประมุขของประเทศผู้รับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 13 ว่า1. พึงถือได้ว่าหัวหน้าคณะผู้แทนได้เข้ารับภารกิจหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้งหรือเมื่อตนได้บอกกล่าวการมาถึงของตน พร้อมทั้งได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้งต่อกระทรวงการต่างประเทศของ รัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกันในแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป2. ลำดับของการยื่นสารตราตั้ง หรือสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง จะได้พิจารณากำหนดตามวันและเวลาของการมาถึงของหัวหน้าคณะผู้แทน [การทูต] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] |
Conciliation | การไกล่เกลี่ย คือ กระบวนการของการส่งเรื่องกรณีพิพาทไปให้คณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นทางการ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริง แล้วเสนอรายงาน ซึ่งประกอบด้วยข้อเสนอแนะในอันที่จะระงับกรณีพิพาทนั้น อย่างไรก็ดี ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการนี้ไม่มีผลบังคับแก่คู่พิพาทแต่อย่างใด ไม่เหมือนกับคำวินิจฉัยในการตัดสินชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ (Arbitration) [การทูต] |
Declaration | คำประกาศ หรือ ปฏิญญา ตามความเห็นของผู้ทรงคุณความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนมากได้ให้ความเห็นว่า คำนี้มีความหมายต่างกันอยู่สามประการ คือประการแรก ใช้เป็นชื่อเรียกข้อกำหนดต่าง ๆ ของสนธิสัญญา กล่าวคือ ตามสนธิสัญญานี้ ภาคีคู่สัญญารับที่จะปฏิบัติตามแนวทางบางประการในอนาคตประการที่สอง เป็นคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่รัฐอื่นๆ เช่น คำประกาศสงครามประการสุดท้าย หมายถึง การกระทำซึ่งรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐได้ติดต่อแจ้งไปยังรัฐอื่น ๆ ซึ่งเป็นการอธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนพฤติกรรมของฝ่ายตนในอดีต หรืออธิบายทรรศนะและเจตจำนงเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่อง คำประกาศสำหรับความหมายสองประการหลังไม่ถือว่ามีลักษณะเป็นสนธิสัญญาอนึ่ง ในกรณีคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) นั้น บางทีรัฐหนึ่งต้องการเสนอนโยบายหรือหนทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งของตน โดยประกาศนโยบายหรือหนทางปฏิบัตินั้นไปให้รัฐอื่นๆ ทราบกันไว้ อาทิเช่น ลัทธิมอนโร (Monroe Doctrine) ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศออกไปในรูปคำประกาศถ่ายเดียว เป็นต้น [การทูต] |
East Asia Vision Group | กลุ่มวิสัยทัศน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก จัดตั้งขึ้นตามข้อเสนอของประธานาธิบดีคิม แด จุง แห่งสาธารณรัฐเกาหลี ในระหว่างการประชุมหัวหน้ารัฐบาลอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ที่กรุงฮานอย เมื่อเดือนธันวาคม 2541 เพื่อเป็นเวทีระดมความคิดและแสวงหาแนวทางขยายความร่วมมือระหว่างกันในทุก ด้านและทุกระดับเพื่อมุ่งแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจและพัฒนาภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง [การทูต] |
Economic and Social Council | คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (แห่งสหประชาชาติ) เป็นองค์กรหลักของสหประชาชาติ ที่ทำหน้าที่ในการศึกษาและรายงานเกี่ยวกับเรื่องระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา อนามัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจัดทำคำแนะนำเสนอต่อสมัชชา สมาชิกของสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมการเคารพ และการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน และอิสรภาพของมวลมนุษย์ ทั้งนี้ ประกอบด้วยสมาชิกของสหประชาชาติ 54 ประเทศ [การทูต] |
Enhanced Interaction | การส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ " การส่งเสริมปฏิสัมพันธ์เป็นคำที่เสนอโดย นายอาลี อาลาตัส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ในที่ประชุม AMM ครั้งที่ 31 ณ กรุงมะนิลา ซึ่งในด้านสารัตถะมีความหมายเช่นเดียวกับนโยบาย Flexible Engagement แต่เป็นคำที่อาเซียนส่วนใหญ่เห็นว่า มีความ เหมาะสมที่จะใช้สื่อเจตนารมณ์ของอาเซียนในการยกระดับความร่วมมือที่เพิ่มพูน และเปิดกว้างระหว่างกัน " [การทูต] |
Final Act | กรรมสารสุดท้าย คือคำแถลงหรือคำสรุปอย่างเป็นทางการจากเรื่องราวการ ประชุม คำแถลงนี้จะระบุสนธิสัญญาและอนุสัญญาที่ได้มีการลงนามกันอันเป็นผลจากการ ประชุม และในบางกรณีจะผนวกความเห็นหรือข้อเสนอแนะหรือความปรารถนาจากที่ประชุมไว้ ด้วย ผู้แทนที่มีอำนาจเต็มเท่านั้นจะเป็นผู้ลงนามในกรรมสารสุดท้าย ในตอนสุดท้ายของการประชุม [การทูต] |
Flexible Engagement | ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่น " ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่นเป็นข้อเสนอของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยที่เสนอในการประชุมรัฐมนตรีต่าง ประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting : AMM) ครั้งที่ 31 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการหารือและแลก เปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ เปิดกว้างและเป็นกันเองในเรื่องหรือประเด็นต่าง ๆ ที่เห็นว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกันหรือที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์และความ มั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันสืบเนื่องจากการที่อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศ และอยู่ในภาวะที่เผชิญปัญหาท้าทายต่าง ๆ ซึ่งมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกัน " [การทูต] |
Ganga-Suwanabhumi-Mekong Cooperation | ความร่วมมือลุ่มน้ำคงคา-สุวรรณภูมิ-ลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย ไทย-ลาว-พม่า-เวียดนาม-กัมพูชา และอินเดีย เป็นกรอบความร่วมมือที่เสนอในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับ รัฐมนตรีต่างประเทศประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 33 เมื่อ 28 กรกฎาคม 2543 โดยมีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2543 [การทูต] |
Good Offices และ Mediation | วิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยฉันมิตร คำว่า Good Offices หมายถึง การช่วยเป็นสื่อกลาง ส่วน Mediation หมายถึง การไกล่เกลี่ยศัพท์ทั้งสองนี้หมายถึงวิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ โดยฉันมิตร กล่าวคือ ในกรณีข้อพิพาทซึ่งการเจรจากันทางการทูตไม่สามารถตกลงกันได้ง่าย ๆ ดังนั้น รัฐที่สามอาจยื่นมือเข้าช่วยเป็นสื่อกลาง หน้าที่ในการนี้มิใช่ออกความเห็นหรือวินิจฉัยชี้ขาดว่าใครถูกใครผิดในกรณี ข้อพิพาท หากเป็นแต่เพียงแสวงหาลู่ทางที่จะระงับข้อพิพาทจะต้องมีให้น้อยที่สุดเท่า ที่จะทำได้ และถือว่าเป็นกาดรกระทำฉันมิตร (Friendly act) คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธข้อเสนอได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดทางการ เมือง หรือคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจขอร้องให้ช่วยเป็นสื่อกลาง หรือให้ช่วยไกล่เกลี่ย ตามธรรมดาการช่วยเป็นสื่อกลางนั้นเป็นเพียงการเข้าช่วยงานพื้นฐาน หรือให้มีการเริ่มต้นการเจรจาเท่านั้น ส่วนงานเจรจาที่จะกระทำโดยตรงกว่าจะมีลักษณะเป็นการไกล่เกลี่ย แต่ในทางปฏิบัติไม่ค่อยมีการคำนึงกันนักถึงความแตกต่างจริงๆ ระหว่างวิธีทั้งสอง คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธไม่ยอมรับการไกล่เกลี่ยไม่ว่าเวลาใดก็ได้ จะเห็นได้ว่า การช่วยเป็นสื่อกลางกับการไกล่เกลี่ยนั้นแตกต่างกัน คือ ในกรณีการช่วยเป็นสื่อกลาง ฝ่ายที่สามจะกระทำแต่เพียงช่วยให้มีการหันหน้าเข้าเจรจากันระหว่างคู่พิพาท ส่วนในกรณีการไกล่เกลี่ย ฝ่ายที่สามพยายามจัดให้มีการเจรจากันจริง ๆ ตามมูลฐานข้อเสนอของตน ฝ่ายที่เสนอช่วยเป็นสื่อกลางหรือช่วยไกล่เกลี่ยนั้น อาจจะมาจากประเทศที่สาม หรือจากองค์การระหว่างประเทศ หรือจากบุคคลธรรมดาคนหนึ่งก็ได้ [การทูต] |
Humanitarian Intervention | การแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรม " เป็นแนวคิดที่นายโคฟี อันนาน เลขาธิการสหประชาชาติเสนออย่างเป็น ทางการครั้งแรกต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 54 เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมุ่งจะให้สหประชาชาติสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนภาย ในประเทศต่าง ๆ ได้โดย คำนึงถึงประเด็นเรื่องมนุษยธรรมเป็นหลัก ขณะนี้ แนวคิดนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันและยังไม่ยุติ โดยบางประเทศเห็นว่า เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นการละเมิดอธิปไตยของรัฐ บางประเทศเห็นว่าเป็นมาตรการที่จำเป็นเพื่อแก้ปัญหาของมนุษยชาติ ส่วนบางประเทศเห็นว่าการแทรกแซงดังกล่าวจะต้องอยู่ใต้กรอบหลักเกณฑ์ หรือกรอบกฎหมายบางประการ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ " [การทูต] |
Inter-Governmental Maritime Consultative Organization | องค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต] |
International Conferences | คือการประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้ง สุดท้าย [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
International Labor Organization | คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน ปีค.ศ.1919 วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ การมีส่วนเกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ด้วยการส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม โดยต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นการที่จะให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมเป็นประจำ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแรงงาน และฝ่ายจัดการ เพื่อเสนอแนะและจัดให้มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดร่างสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าแรง ชั่วโมงทำงาน อายุการทำงาน เงื่อนไขการทำงานสำหรับคนงานในระดับต่าง ๆ ค่าชดเชยสำหรับคนงาน การประกันสังคม การหยุดพักร้อนโดยให้รับเงินเดือน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม บริการต่าง ๆ ในหน้าที่การงาน การตรวจแรงงาน เสรีภาพในการคบหาสมาคมกัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น องค์การยังได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างกว้างขวางแก่รัฐบาลของประเทศ สมาชิก รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือเอกสารรายคาบ เรื่องค้นคว้าและรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสังคม อุตสาหกรรม และแรงงานILO ปฏิบัติงานผ่านองค์กรต่าง ๆ โดยองค์กรสำคัญที่สุดภายในองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ซึ่งประชุมกันเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยคณะผู้แทนแห่งชาติ ในจำนวนนี้มีผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาล 2 คน ผู้แทนฝ่ายจัดการ 1 คน และผู้แทนฝ่ายแรงงานอีก 1 คน หน้าที่สำคัญคือจัดวางมาตรฐานทางสังคมระหว่างประเทศขึ้นในรูปของอนุสัญญา องค์กรภายในองค์การอีกส่วนหนึ่งคือคณะผู้ว่าการ (Governing Body) จะประกอบด้วย สมาชิก 40 คน ในจำนวนนี้ 20 คน จะเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 คน จากจำนวนนี้จะได้แก่ ตัวแทนจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ส่วนตัวแทนของฝ่ายจัดการ (หรือนายจ้าง) จะมีจำนวน 10 คน และอีก 10 คนเป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงาน คณะผู้ว่าการนี้จะทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการขององค์การ คือสำนักแรงงานระหว่างประเทศจะมีหน้าที่รวบรวมเผยแพร่ข้อสนเทศ ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่ขอร้องให้ช่วยร่างกฎหมายตามที่ได้มีมติ ตกลงในที่ประชุมใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับดำเนินการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ เป็นพิเศษ รวมทั้งออกสิ่งพิมพ์เผยแพร่องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสำนักงานใหญ่ตั้ง อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
Marshall Plan | แผนการมาร์แชล ในโอกาสวันประสาทปริญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1947 ยอร์ช ซี.มาร์แชล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สมัยนั้น ได้กล่าวอยู่ตอนหนึ่งในสุนทรพจน์ว่า?สหรัฐอเมริกาควรจะทำทุกอย่างเท่าที่จะ สามารถกระทำได้ เพื่อช่วยให้ดินแดนต่าง ๆ ในโลกได้กลับคืนสู่ภาวะปกติทางเศรษฐกิจ เพราะหากปราศจากภาวะดังกล่าว โลกก็จะไม่มีเสถียรภาพที่สถาพร นโยบายของสหรัฐฯ มิได้มุ่งจะเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศใดหรือลัทธิใด หากมุ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อความหิวโหย ความยากจน ความสิ้นหวัง และความยุ่งเหยิง การที่จะให้สหรัฐอเมริการับภาระในการจัดวางโครงการแต่ฝ่ายเดียว เพื่อช่วยให้ทวีปยุโรปสามารถช่วยตนเองทางเศรษฐกิจขึ้นใหม่ นับว่ายังไม่เหมาะสมและถูกต้องนัก ควรจะให้เป็นภาระหน้าที่ของชนชาวยุโรปทั้งหลายเอง บทบาทของสหรัฐฯ ควรจะเป็นเพียงผู้เสนอให้ความความช่วยเหลือฉันมิตร ในการร่างโครงการช่วยเหลือทวีปยุโรป และให้ความสนับสนุนแก่โครงการนั้น ตราบที่โอกาสจะเอื้ออำนวยต่อการกระทำเช่นนั้นได้?จากสุนทรพจน์ข้างต้น พอจะเข้าใจจุดประสงค์สำคัญของสหรัฐอเมริกาได้ไม่ยากว่า ไม่ต้องการให้ทวีปยุโรป ซึ่งกำลังอ่อนแอโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจหลังจากเสร็จสงครามใหม่ ๆ ต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจครอบงำของฝ่ายคอมมิวนิสต์นั่นเอง [การทูต] |
Millennium Summit | การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ การประชุมสุดยอดของประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาลที่จัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2543 (ค.ศ. 2000) เพื่อให้ผู้นำประเทศต่าง ๆ เสนอข้อคิดเห็นต่อการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของสหประชาชาติในศตวรรษที่ 21 ให้สามารถเผชิญต่อความเปลี่ยนแปลงและสิ่งท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ [ ที่ประชุมยืนยันพันธกรณีร่วมกันที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่สหประชา ชาติในการดำเนินการเรื่องสำคัญของมนุษยชาติ ดังระบุไว้ในปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Declaration) ] [การทูต] |
The New Partnership for Africa?s Development | หุ้นส่วนใหม่เพื่อการพัฒนาแอฟริกา เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแอฟริกา มีวัตถุประสงค์ในการ ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศแอฟริกา การขจัดความยากจนและการขจัดความเสียเปรียบของประเทศแอฟริกาในยุคโลกาภิวัตน์ NEPAD พัฒนามาจากการประชุม สุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ G8 ที่ญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งในการประชุมนี้ ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ ประธานาธิบดีไนจีเรีย และประธานาธิบดี แอลจีเรียได้เสนอต่อที่ประชุม ขอให้กลุ่มประเทศเหนือและประเทศใต้ร่วมกันแก้ปัญหาที่ทั้งสองกลุ่มประเทศ เผชิญอยู่ บนพื้นฐานของ ผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเน้นการพัฒนาประเทศที่ยากจน เช่น ประเทศ ในภูมิภาคแอฟริกา ต่อมาบรรดาผู้นำของกลุ่มประเทศแอฟริกาได้ร่วมกันกำหนดแผนพัฒนาแอฟริกาสำหรับ ใช้ขอรับการสนับสนุนจากประเทศพัฒนาแล้วในเวทีการประชุมระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เรียกว่า New Africa Initiative (NAI) ที่ประชุมองค์การเอกภาพแอฟริกา หรือ OAU (ซึ่งต่อมากลายเป็น African Union ? AU) ได้เห็นชอบต่อแผน NAI ดังกล่าวในเดือนกรกฎาคม 2544 ผู้นำของประเทศแอฟริกาได้นำเสนอ NAI ต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ G8 เมื่อปี พ.ศ. 2544 และได้รับการปรับปรุงแก้ไขจนเป็น NEPAD ในปัจจุบัน [การทูต] |
Order of Precedence | หมายถึง ลำดับอาวุโสทางการทูต โดยถือยศหรือตำแหน่งเป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะในโอกาสที่ไปร่วมพิธีต่าง ๆ ตลอดจนการเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการ นักการทูตทั่วโลกต่างถือลำดับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิถีพิถันกันไม่ น้อย เพราะในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ หากมีการจัดลำดับอาวุโสไม่ถูกต้อง เขาผู้นั้นซึ่งคำนึงถึงศักดิ์ศรีในฐานะตัวแทนของประเทศย่อมต้องรู้สึกว่า นอกจากจะไม่ได้รับความถูกต้องแล้ว ยังเป็นการดูแคลนประเทศของตนด้วยในสมัยก่อน ผู้ที่ทำหน้าที่ชี้ขาดในเรื่องลำดับอาวุโสของบรรดาประมุขของรัฐทั้งหลาย คือสมเด็จพระสันตะปาปา ต่อมาในการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาเมื่อปี ค.ศ. 1815 ที่ประชุมได้ตกลงกันให้ถือวันที่เดินทางมาถึงประเทศผู้รับ และได้แจ้งให้ทราบเป็นทางการว่าเป็นเรื่องลำดับอาวุโส ผู้ที่มาถึงก่อนย่อมมีอาวุโสกว่าผู้ทีมาทีหลัง อย่างไรก็ดี มาในทุกวันนี้มีหลายประเทศถือหลักว่า ผู้แทนทางการทูตที่ยื่นสารตราตั้งก่อนจะมีอาวุโสกว่าผู้ยื่นสารตราตั้งที หลัง และในกรณีที่เกิดความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างบุคคลในคณะทูตเรื่องลำดับอาวุโส ประเทศเจ้าภาพหรือประเทศผู้รับจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอนุสัญญากรุงเวียนนาว่า ด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติเกี่ยวกับลำดับอาวุโสของผู้แทนทางการ ทูตไว้ดังนี้ ?ข้อ 16 1. ให้หัวหน้าคณะผู้แทนมีลำดับอาวุโสในแต่ละชั้นของตนตามลำดับวันและเวลาที่ เข้ารับการหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้ง หรือเมื่อได้บอกกล่าวการมาถึงของตนและได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง ต่อกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงตามแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป 2. การเปลี่ยนแปลงในสารตราตั้งของหัวหน้าคณะผู้แทน ซึ่งไม่เกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงชั้นใด ๆ จะไม่กระทบกระเทือนลำดับอาวุโสของหัวหน้าคณะผู้แทน 3. ข้อนี้ไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่ทางปฏิบัติใด ซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับ ในเรื่องลำดับอาวุโสของผู้แทนของโฮลี่ซี ข้อ 17 ลำดับอาวุโสของสมาชิกคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตของคณะผู้แทนนั้น ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้บอกกล่าวแก่กระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน? [การทูต] |
Palestine Question | ปัญหาปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1947 ประเทศอังกฤษได้ขอให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทำการประชุมสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหาปาเลสไตน์ สมัชชาได้ประชุมกันระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และที่ประชุมได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับปาเลสไตน์ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกรวม 11 ประเทศ ซึ่งหลังจากที่เดินทางไปตรวจสถานการณ์ในภาคตะวันออกกลาง ก็ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รายงานนี้ได้ตั้งข้อเสนอแนะรวม 12 ข้อ รวมทั้งโครงการฝ่ายข้างมาก (Majority Plan) และโครงการฝ่ายข้างน้อย (Minority Plan) ตามโครงการข้างมาก กำหนดให้มีการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐอาหรับแห่งหนึ่ง รัฐยิวแห่งหนึ่ง และให้นครเยรูซาเล็มอยู่ภายใต้ระบบการปกครองระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ดินแดนทั้งสามแห่งนี้มีความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปสหภาพเศรษฐกิจ ส่วนโครงการฝ่ายข้างน้อย ได้เสนอให้ตั้งรัฐสหพันธ์ที่เป็นเอกราชขึ้น ประกอบด้วยรัฐอาหรับและรัฐยิว อันมีนครเยรูซาเล็มเป็นนครหลวงต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติได้ประชุมลงมติรับรองข้อเสนอของโครงการฝ่ายข้างมาก ซึ่งฝ่ายยิวได้รับรองเห็นชอบด้วย แต่ได้ถูกคณะกรรมาธิการฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่รับรอง โดยต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐอาหรับแต่เพียงแห่งเดียว และทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของคนยิวที่เป็นชนกุล่มน้อย อนึ่ง ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้อำนาจอาณัติเหนือดินแดนปาเลสไตน์ สิ้นสุดลงและให้กองทหารอังกฤษถอนตัวออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1948 นอกจากนั้นยังให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีของสหประชาชาติจัดทำธรรมนูญการปกครองโดย ละเอียดสำหรับนครเยรูซาเล็มจากนั้น สมัชชาสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติขึ้น ประกอบด้วยประเทศโบลิเวีย เช็คโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก ปานามา และฟิลิปปินส์ ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงก็ได้รับการขอร้องให้วางมาตรการที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่า สถานการณ์ในปาเลสไตน์จักถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพหรือไม่ และถ้าหากมีการพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงความตกลงตามข้อมติของ สมัชชาเมื่อใด ให้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ โดยอาศัยข้อ 39 ของกฎบัติสหประชาชาติเป็นบรรทัดฐาน [การทูต] |
Political Appointee | หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งด้วยเหตุผลทางการเมือง คือ ผู้ที่มิได้มีอาชีพทางการทูตโดยแท้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูต ซึ่งต่างกับนักการทูตอาชีพ (Career diplomat) ในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหภาพโซเวียต ธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปจะแต่งตั้งเฉพาะบุคคลที่มีอาชีพนักการทูตแท้ ๆ เข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและอัครราชทูต อย่างไรก็ดี เฉพาะในกรณีพิเศษจริง ๆ เท่านั้นจึงจะแต่งตั้งบุคคลจากภายนอก และบุคคลจากภายนอกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตได้รับผลสำเร็จในการ ปฏิบัติหน้าที่ก็มีอยู่หลายราย ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก แฮโรลด์ นิโคลสัน ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือเรื่องการทูตของท่านว่า ในประเทศใหญ่ ๆ เป็นที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้นักการทูตอาชีพเท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ เพราะได้ผ่านการศึกษาและฝึกฝนในวิชาการทูตมาเป็นอย่างดีแล้ว ส่วนเอกอัครราชทูตที่แต่งตั้งจากคนภายนอกจะมีข้อเสียบางอย่าง เช่น ในการเขียนรายงานไปยังรัฐบาล เช่น รายงานการเมือง เขาอาจมุ่งแต่จะอวดความเฉียบแหลมของเขาเอง และร้อยกรองคำอย่างไพเราะเพราะพริ้ง มากกว่าที่จะมุ่งเสนอรายงานข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบและมีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น [การทูต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
ใบเสนอขาย | [bai sanōe khāi] (n, exp) EN: quotation |
ใบเสนอขายต่างประเทศ | [bai sanōe khāi tāngprathēt] (n, exp) EN: proforma invoice |
ใบเสนอราคา | [bai sanōe rākhā] (n, exp) EN: quotation |
การนำเสนอ | [kān namsanōe] (n) EN: presentation FR: présentation [ f ] |
การนำเสนอข้อมูล | [kān namsanōe khømūn] (n, exp) EN: data presentation |
การนำเสนอภาพนิ่ง | [kān namsanōe phāpning] (n, exp) EN: slide show |
การเสนอชื่อ | [kān sanōe cheū] (n, exp) EN: nomination |
การเสนอชื่อกิจการ | [kān sanōe cheū kitjakān] (n, exp) EN: take-over bid |
การเสนอราคา | [kān sanōe rākhā] (n, exp) EN: quotation |
การเสนอราคาประมูล | [kān sanōe rākhā pramūn] (n, exp) EN: tender |
คำเสนอ | [kham sanōe] (n, exp) EN: proposal ; offer FR: offre [ f ] |
คณะกรรมการเสนอชื่อ | [khanakammakān sanōe cheū] (n, exp) EN: nominations commettee |
ข้อเสนอ | [khøsanōe] (n) EN: proposal ; offer ; proposition ; suggestion FR: proposition [ f ] ; suggestion [ f ] |
ข้อเสนอกลับมา | [khøsanōe klap mā] (n, exp) EN: counter-offer |
ข้อเสนอแนะ | [khøsanōenae] (n) EN: suggestion ; counsel ; recommandation FR: suggestion [ f ] ; conseil [ m ] |
ไม่มีใดเสนอเหมือน | [mai mī dai sanōe meūoen] (x) EN: unique |
นำเสนอ | [namsanōe] (v) EN: present ; submit ; show ; exhibit ; display FR: présenter ; montrer |
พิจารณาข้อเสนอ | [phijāranā khøsanōe] (v, exp) EN: consider a proposal FR: étudier une proposition |
ผู้ได้รับเสนอชื่อ | [phū dāirap sanōe cheū] (n, exp) EN: nominee |
ผู้เสนอ | [phū sanōe] (n, exp) EN: proposer FR: proposeur [ m ] (vx) |
ผู้ทำคำเสนอ | [phū tham kham sanōe] (n, exp) EN: offeror |
ราคาเสนอขาย | [rākhā sanōe khāi] (n, exp) EN: ask price ; asked price ; asking prince ; offering price FR: prix proposé [ m ] |
ราคาเสนอซื้อ | [rākhā sanōe seū] (n, exp) EN: bid price ; purchase price |
เสนอ | [sanōe] (v) EN: offer ; propose ; provide ; submit ; put forward ; suggest FR: proposer ; soumettre ; offrir ; avancer ; présenter ; suggérer |
เสนอชื่อ | [sanōe cheū] (v, exp) EN: nominate ; put forward one's name ; offer one's name for selection FR: désigner ; nommer |
เสนอขาย | [sanōe khāi] (v, exp) EN: offer for sale ; put up for sale |
เสนอข่าว | [sanōe khāo] (v, exp) EN: present news ; report news FR: rapporter les informations |
เสนอหลักฐาน | [sanōe lakthān] (v, exp) EN: furnish evidence |
เสนอแนะ | [sanōenae] (v) FR: conseiller ; recommander |
เสนอรายงาน | [sanōe rāi-ngān] (v, exp) EN: submit a report |
เสนอราคา | [sanōe rākhā] (v, exp) EN: offer a price ; quote ; quote a price FR: proposer un prix |
เสนอตน | [sanōe ton] (v, exp) EN: offer oneself FR: se proposer |
เสนอตัว | [sanōe tūa] (v) EN: offer oneself ; propose ; present oneself FR: se proposer |
เสนอวาระการประชุม | [sanōe wāra kān prachum] (v, exp) EN: propose an agenda FR: proposer un agenda |
เสนอญัตติ | [sanōe yatti] (v, exp) EN: make a motion |
ถอนข้อเสนอ | [thøn khøsanōe] (v, exp) EN: withdraw a proposal FR: retirer une proposition |
ยื่นข้อเสนอ | [yeūn khøsanōe] (v, exp) EN: make a proposal FR: faire une proposition ; formuler une proposition |
ยื่นเสนอ | [yeūnsanōe] (v) EN: submit ; offer ; propose ; present |
Longdo Approved EN-TH
proud to present | (phrase) ภูมิใจเสนอ |
initial public offering | (n) การเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก, ไอพีโอ เช่น The company plans an initial public offering of common stock to raise as much as $50 million., Syn. I.P.O. |
demand schedule | (n) รายการของปริมาณความต้องการซื้อเทียบกับราคาเสนอซื้อบนเส้นอุปสงค์ซึ่งมักจะอยู่ในรูปของตาราง แต่ก็อาจจะอยู่ในรูปของกราฟก็ได้, Syn. demand curve |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
accost | (vt) เสนอขายตัว, Syn. solicit, approach |
advertise | (vt) ลงประกาศ, See also: แจ้งความ, เสนอข่าว |
advertise | (vi) ลงประกาศ, See also: แจ้งความ, เสนอข่าว, Syn. proclaim, publicize, announce |
advice | (n) คำแนะนำ, See also: ข้อเสนอแนะ, การเสนอแนะ, คำปรึกษา, ข้อคิดเห็น, Syn. guidance, recommendation |
arbitrate | (vt) ขอให้ตัดสินโดยมีผู้ชี้ขาด, See also: เสนอให้ตัดสินโดยมีผู้ชี้ขาด |
ask | (vt) บอกราคา, See also: เสนอราคาที่ต้องการ, ขอราคา |
backdown | (n) การยกเลิกข้อเรียกร้อง, See also: การเปลี่ยนแปลงข้อเสนอดั้งเดิม, Syn. retraction |
bid | (n) การประมูล, See also: การให้ราคา, การเสนอราคา |
be up for | (phrv) ขาย, See also: เสนอขาย |
bid for | (phrv) ประมูล, See also: เสนอราคา |
bring before | (phrv) ส่งไปเพื่อให้...ยอมอนุมัติ, See also: ยื่น, เสนอ, Syn. put before |
bring forward | (phrv) แนะนำ, See also: เสนอแนะ, เสนอความคิดเห็น, Syn. come forward |
bring in | (phrv) แนะนำ, See also: เสนอความคิด, เสนอแนะ |
broach to | (phrv) เสนอให้พิจารณา |
broach with | (phrv) เสนอให้พิจารณา |
buy it | (idm) ตอบรับ, See also: ยอมรับ, เห็นด้วยกับ ความคิด, คำแนะนำ, ข้อเสนอแนะ |
come-on | (n) สิ่งจูงใจ, See also: สิ่งที่เสนอเพื่อเป็นการจูงใจ |
counsel | (n) ข้อเสนอแนะ, Syn. advice |
enter for | (phrv) เสนอชื่อ, See also: เข้าร่วม, ร่วม, Syn. be down for, be in for, go in for, put down for, put in |
extend to | (phrv) เสนอ (สิ่งที่ชอบ) ให้กับ, See also: ให้กับ, มอบ...ให้... |
extort from | (phrv) เสนอ (สิ่งที่ชื่นชอบ) ให้กับ, See also: ให้ สิ่งที่ชื่นชอบ กับ, ขู่เข็ญ, รีดไถจาก |
file for | (phrv) เสนอให้อย่างเป็นทางการ (เช่นตำแหน่งทางการเมือง) |
fling out | (phrv) เสนอ (ข้อคิดเห็น, ข้อแนะนำ), Syn. throw out |
deliver | (vt) มอบ, See also: เสนอ, ส่งคืน, คืน, Syn. hand over, pass, surrender |
designee | (n) ผู้ได้รับการแต่งตั้ง, See also: ผู้ได้รับการเสนอชื่อ, Syn. nominee, selectee |
display | (vt) แสดง, See also: นำเสนอ, สาธิต, โชว์, Syn. exhibit, have, show, demonstrate, Ant. hide, conceal |
enter | (vt) นำขึ้นเสนออย่างเป็นทางการ, Syn. submit |
entice | (vt) เสนอจะให้สิ่งที่ต้องการ, See also: ล่อใจ, Syn. lure, tempt |
extend | (vt) เสนอให้, See also: จัดหาให้, Syn. give, offer, provide |
give in | (phrv) ให้ชื่อ, See also: เสนอชื่อ |
give in | (phrv) ยื่น, See also: เสนอ, นำไปคืน, Syn. give in to, deliver over |
give in to | (phrv) ให้ชื่อกับ, See also: เสนอชื่อกับ, Syn. give in |
give in to | (phrv) คืน, See also: เสนอ, ส่ง, Syn. deliver over, give in |
give up | (phrv) ยื่นหรือเสนอให้ทำโดยปราศจาก (เงิน หรือเวลา) |
go forward | (phrv) ยื่นเสนอเพื่อขออนุมัติ, Syn. put forward, send forward |
go out to | (phrv) นำเสนอต่อ |
have an inkling about | (idm) คาดเดา, See also: เสนอแนะ, Syn. have for, have on |
have and inclination about | (idm) คาดเดา, See also: เสนอแนะ, Syn. have in |
hold forth | (phrv) เสนอ (สิ่งที่ดี), See also: มอบ สิ่งที่ดี |
hint | (n) การพูดเป็นนัย, See also: การแย้ม, การพูดเปรย, การบอกใบ้, การเสนอแนะเป็นนัยๆ, Syn. clue, indication, signal |
Hobson's choice | (idm) ทางเลือกระหว่างสิ่งที่เสนอมาให้หรือไม่ได้รับอะไรเลย |
not show one's face | (idm) ไม่มาให้เห็นหน้า, See also: ไม่โผล่มาให้เห็นหน้า, ไม่เสนอหน้า |
initiate | (vt) ริเริ่ม, See also: เริ่ม, นำ, เสนอ, ชักนำ, Syn. commence, begin, introduce, Ant. end, terminate, finish |
lay | (vt) นำเสนอ, See also: นำไปแจ้ง, Syn. present, submit |
lodge | (vt) ยื่น, See also: มอบ, เสนอ, Syn. present |
make application to | (idm) สมัคร, See also: ยื่นเสนอ, Syn. apply to |
move for | (phrv) เสนอขอ, See also: ยื่นขอ |
nominate for | (phrv) เสนอชื่อเพื่อ, See also: ได้รับการเสนอชื่อสำหรับ |
nominate to | (phrv) เสนอชื่อกับ, See also: ระบุชื่อต่อ |
offer for | (phrv) เสนอสำหรับ, See also: เสนอเพื่อ |
Hope Dictionary
add-on program | โปรแกรมเสริมหมายถึง โปรแกรมที่เขียนเพิ่มขึ้น เพื่อให้โปรแกรมเดิมเพิ่มประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น โปรแกรมสำเร็จทุกโปรแกรมที่ออกสู่ตลาดแล้ว จะต้องมีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา และจะมีโปรแกรมเสริมออกมาเสนอให้ลูกค้าอยู่เสมอ ๆ (add-on อาจหมายถึงอุปกรณ์ที่เสริมเข้าไปภายหลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่อง เช่น แผ่นวงจรโมเด็ม เป็นต้น) |
administer | (แอดมิน' นิสเทอะ) vt., vi. จัดการ, ดำเนินการ, บริหาร, ส่งเสริม, บำรุง, เสนอ |
advance | (แอดวานซ'ฺ) vt., vi., n. นำหรือส่งไปข้างหน้า, ก้าวหน้า, เสนอความเห็น, เจริญ, เลื่อน (ตำแหน่ง) , เพิ่ม (อัตรา) , เร่ง, จัดให้, ยก (ธง) , ล่วงหน้า, อ้าง, ทาบทาม, เกี้ยว, Syn. forward |
airing | (แอ' ริง) n. การตาก, การสนทนาโต้แย้ง (ข้อ คิดเห็น, ข้อเสนอ) , การเดินหรือขับรถในที่โล่งแจ้ง |
antecedence | (แอนทิซี' เดินซฺ) n. การดำเนินการก่อน, เรื่องราวที่ต้องมาก่อน, สิ่งที่มาก่อน, ข้อเสนอแรก-antecedency n. |
antecedent | (แอนทิ' ซิเดินทฺ) adj., n. มาก่อน, ก่อน, เกิดขึ้นก่อน, แต่ก่อน, ข้อเสนอแรก, เรื่องราวก่อน-antecedents บรรพบุรุษ, Syn. preceding, prior, Ant. posterior |
arbitrate | (อาร์'บิเทรท) vt., vi. ตัดสิน (โดยอนุญาโตตุลาการ) , เสนอให้ตัดสินโดยมีผู้ชี้ขาด (อนุญาโตตุลาการ) . -arbitrable adj., -arbitrator n. (judge, mediate, intercede) |
assertion | (อะเซิร์ท'เชิน) n. การกล่าวยืนยัน, การอ้าง, การถือสิทธิ์, การวินิจฉัย, การพิทักษ์, การรักษา, ข้อเสนอ, ข้อวินิจฉัย, Syn. statement |
bankroll | (แบงคฺ'โรล) n. เงินที่อยู่ในครอบครอง, แหล่งของเงิน, เงินทุน vt. เสนอเงินให้แก่, See also: bankroller n. |
bring | (บริง) { brought, brought, bringing, brings } vt. เอามาให้, นำมาให้, พามา, นำมาสู่, ทำให้เกิด, ก่อให้เกิด, นำออกมาแสดง, นำเสนอ, ชักชวนขายได้ -Id. (bring about ทำให้เกิด) -Id. (bring around (round)) ชักชวน, โน้มน้าว -Id. (bring forth ทำให้เกิด, นำเสนอ) -Id. (bring in ยอมแพ้) |
capitalize | (แคพพิท'ทะไลซ) { capitalized, capitalised, capitalizing, capitalising, capitalizes, capitalises } vt. เขียนหรือพิมพ์ด้วยอักษรตัวใหญ่, เสนอทุนให้, ให้ทุน, ประเมินค่าของหลักทรัพย์หรือหุ้น, ใช้ประโยชน์ของ, See also: capitalisation n. ดู capitalize, capitalizat |
cater | (เค'เทอะ) { catered, catering, caters } vi. จัดอาหาร (การบริการและ อื่น ๆ) ให้, จัดหาสิ่งที่ต้องการให้, เสนอรายการบันเทิง, เสนอรายการ, สอดคล้อง, See also: caterer ผู้จัดหา. cateringly adv., Syn. victual, feed |
circumstantiate | (เซอคัมสแทน'ชิเอท) vt. ยืนยัน, เสนอข้ออ้างอิงเพื่อยืนยัน, อธิบายอย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม, See also: circumstantiation n. ดูcircumstantiate |
commercialise | (คะเมอ'ชะไลซ) vt. ทำให้เป็นการค้า (เพื่อหวังผลกำไร) , เน้นลักษณะทางการค้า, เสนอขาย, See also: commercialization, commercialisation n. |
commercialize | (คะเมอ'ชะไลซ) vt. ทำให้เป็นการค้า (เพื่อหวังผลกำไร) , เน้นลักษณะทางการค้า, เสนอขาย, See also: commercialization, commercialisation n. |
contradictory | (คอนทระดิค'ทะรี) adj. ซึ่งขัดแย้ง, ซึ่งไม่ลงรอยกัน, ซึ่งตรงกันข้าม n. ข้อเสนอที่ขัดแย้งกับข้อเสนออื่น. |
converse | (คันเวิร์ส') { conversed, conversing, converses } vi. สนทนา, คุยกัน. n. (คอน'เวิร์ส) การสนทนา, การคุยกัน, ความตรงกันข้าม, การกลับกัน, คนที่มีนิสัยตรงกันข้าม, ข้อเสนอที่กลับกันกับอีกข้อเสนอหนึ่ง adj. (คันเวิร์ส') ซึ่งตรงกันข้ามซึ่งกลับกัน |
deliver | (ดิลิฟ'เวอะ) { delivered, delivering, delivers } vt. นำส่ง, ส่ง, ปล่อย, มอบ, นำข้าม, ส่งจดหมาย, ส่ง, ส่งต่อ, เสนอ, ช่วยคลอดลูก, คลอดลูก, ให้กำเนิด, ส่ง. adj. เร็ว, คล่องแคล่ว., See also: deliverable adj. ดูdeliver deliverer n. ดูdeliver |
dissidence | (ดิส'ซิเดินซฺ) n. ความไม่เห็นด้วย, ความไม่ลงรอยกัน, ความไม่เห็นพ้อง, ข้อเสนอที่แตกต่างหรือขัดแย้ง, Syn. dissent |
eirenicon | n. ข้อเสนอให้ปรองดองกัน |
enter | (เอน'เทอะ) v. เข้า, เข้าไป, เข้ามา, เริ่ม., แทง, สอด, ร่วม, เป็นสมาชิก, ลงทะเบียน, สมัครเข้าเป็น, ยื่น, เสนอ, -Phr. (enter into เริ่ม), See also: enterable adj. enterer n. |
feasibility studies | การศึกษาความเป็นไปได้ในวิชาคอมพิวเตอร์หมายถึง การศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการมีหรือใช้คอมพิวเตอร์ โดยคำนึงถึงกำไรและต้นทุน ช่วงเวลา กำลังเงินและกำลังคน เพื่อให้ทำงานตามโครงการใด ๆ ที่กำหนด โดยปรกติในการศึกษาความเป็นไปได้ จะมีข้อเสนอแนะทางเลือกอื่นที่เหมาะสมไว้ด้วยเสมอ |
harvard graphics | หมายถึง ชื่อโปรแกรมสำเร็จโปรแกรมหนึ่ง บริษัท Software Publishing Corporation เป็นผู้ผลิตสำหรับใช้งานด้านการนำเสนองานทางด้านธุรกิจ ใช้เฉพาะบนพีซี |
hobson's choice | การเลือกได้เพียงอย่างเดียวที่เสนอ, การไม่มีโอกาสเลือก |
hypermedia | สื่อหลายมิติมีความหมายเหมือนมัลติมีเดีย (mulltimedia) หรือบางครั้งก็เรียกว่า ไฮเปอร์เทกซ์ (hypertext) ซึ่งก็คือการผสมผสานของข้อความ - ภาพ - เสียง และวีดิทัศน์ (video) ในการเสนอเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความตื่นเต้นเร้าใจ ฯ |
lay | (เล) { laid, laid, laying, lays } vt. วาง, ปู, พาด, ลาด, ปู, ปล่อย, ทา, ตีแผ่น, เผยแพร่, นำเสนอ, ฝัง, ลงราก, กำหนด, ตั้ง, วางแผน, วางโครง, ออกไข่, ทิ้งระเบิด, กำหนดโทษ, วางเดิมพัน, พนัน, กะ, วัด, กด, ระงับ, บรรเทา, มุ่งหมาย, เล็งปืน vi. วางไข่, ออกไข่, พนัน, วางเดิมพัน, ขันต่อ, วางโครงการ, นอ |
lodge | (ลอดจฺ) n. กระท่อม, บ้านพักในป่า, บ้านเล็ก ๆ , บ้านเล็กของคนเฝ้าประตูที่อยู่ใกล้รั้ว, โรงแรม, สาขาของสมาคมลับ, บ้านอินเดียแดง, ถ้ำของสัตว์, โพรงที่สัตว์อยู่. vi., vt. มีถิ่นที่อยู่, พำนัก, เป็นที่พำนัก, ให้อยู่, ใส่, รับรอง, นำสู่, มอบ, เสนอ -S... |
low resolution | ความละเอียดต่ำความคมชัดต่ำใช้กับเครื่องพิมพ์หรือจอภาพที่ออกแบบให้เสนอผลค่อนข้างหยาบ แต่ก็รวดเร็ว ตัวพิมพ์ก็ดี ภาพที่เห็นบนจอก็ดี หากใช้กับหน่วยแสดงผลที่มีความละเอียดต่ำ หรือมีจำนวนจุดต่อนิ้วน้อย เช่น 74 จุดต่อนิ้ว จะทำให้ดูไม่สวยงาม ไม่เรียบร้อย ส่วนที่โค้งหรือมนจะดูขยุกขยิก หยัก ๆ ไม่มีคุณภาพ แต่ก็มีส่วนดีอยู่บ้างตรงที่ราคาถูก และทำงานได้รวดเร็วกว่าประเภทความละเอียดสูง ๆ ดู high resolution เปรียบเทียบ |
management information sy | ระบบการจัดการสารสนเทศใช้ตัวย่อว่า MIS อ่านว่า เอ็มไอเอส เป็นวิชาที่ว่าด้วยระบบการจัดการสารสนเทศ มีความหมายกว้าง ๆ ว่าเป็นการนำเอาข้อมูลมาประมวลผลให้เกิดเป็นความหมายที่จะทำให้เข้าใจได้ ซึ่งต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก เพราะทำได้รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ เพื่อเสนอให้ผู้บริหารตัดสินใจได้เร็วขึ้น |
mis | (o) - Pref."เกลียด" เอ็มไอเอส <คำอ่าน>ย่อมาจาก management information system เป็นวิชาที่ว่าด้วยระบบการจัดการสารสนเทศ มีความหมายกว้าง ๆ ว่าเป็นการนำเอาข้อมูลมาประมวลผลให้เกิดเป็นความหมายที่จะทำให้เข้าใจได้ ซึ่งต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก เพราะทำได้รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ เพื่อเสนอให้ผู้บริหารตัดสินใจได้เร็วขึ้น |
motion | (โม'เชิน) n. การเคลื่อนที่, อำนาจการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหว, วิธีการหรือท่าทางในการเดิน, กิริยาท่าทาง, ข้อเสนอเป็นทางการ, การขอร้องต่อศาล, แรงดลใจ, ความโน้มน้าว -Phr. (in motion กำลังเคลื่อนที่) vt. โบกไม้โบกมือหรือให้สัญญาณเคลื่อนที่, See also: motioner n. |
move | (มูฟว) vi. เคลื่อนที่, เคลื่อนไหว, เดิน, ก้าวหน้า, เจริญ, จำหน่ายไป, จากไป, ถ่ายท้อง, มีบทบาท, ดำเนินการ, เสนอ. vt. เคลื่อนที่, เคลื่อนไหว, กระตุ้น, ดลใจ, เร้าใจ, แหย่, ทำให้ถ่ายท้อง, จำหน่ายไป, เสนอ. n. การเคลื่อนที่, การเคลื่อนไหว, การเปลี่ยนถิ่นที่อยู่, การสู่จุดหมายปลายทาง, การเดินหมากรุก, แต้ม, การรกระทำ |
nominate | (นิม'มิเนท) vt. เสนอชื่อเพื่อให้เลือกตั้ง, แต่งตั้ง, ตั้งชื่อ, ระบุชื่อ. adj. เกี่ยวกับชื่อเฉพาะ., See also: nominator n., Syn. name |
nomination | (นอมมิเน'เช ิน) n. การเสนอชื่อเข้ารับเลือกตั้ง, แต่งตั้ง, ภาวะที่ถูกแต่งตั้ง |
nominative | (นอม'มะเนทิฟว) adj. เกี่ยวกับการเสนอชื่อเข้ารับเลือกตั้ง, ระบุชื่อ. n. ประธานของประโยค, กรรตุการก |
nominee | (นอม'มะนี) n. ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับเลือกตั้ง |
offer | (ออฟ'เฟอะ) v., n. (การ) เสนอ, กล่าวว่าจะยกให้, มอบ, ถวาย, ให้, เสนอราคา, บอกราคา, บอกขาย, ขอแต่งงาน, แสดง, ทำให้ปรากฎ, ประมูล, บูชา, See also: offerer n. offeror n. |
offering | (ออฟ'เฟอริง) n. สิ่งที่เสนอให้, สิ่งที่ถวายให้, ของบูชา, ของขวัญ, การเสนอ, การมอบ, การถวาย, การบูชา, Syn. submission |
oppositionist | (ออพพะซิซ'ชันนิสทฺ) n. สมาชิกพรรคฝ่ายค้าน, ผู้เสนอนโยบายที่คัดค้าน |
overture | (โอ'เวอะเชอะ) n. เพลงโหมโรง, ฉากเริ่มต้น, โคลงนำ, การเล่นนำ, บทนำ, การเริ่มต้น, การแสดงเอง, การเสนอ, การทาบทาม.vt. เสนอ, ทาบทาม, Syn. proposal, offer |
ply | (พลาย) vt. ใช้, ใช้สอย, ปฏิบัติงาน, ยุ่งกับงาน, ยุ่งอยู่เรื่อย, เสนอให้อยู่เรื่อย, กวนไม่หยุด, แล่นไปมา. vi. วิ่งหรือเดินทางไปมา, ยุ่งกับงาน.n. ความหนาหนึ่งชั้น, ชั้น, พับ, ไม้อัดแผ่นเกลียว, แผ่นซ้อน, ความโน้มเอียง |
powerpoint | (พาวเวอร์พอยนต์) เป็นชื่อโปรแกรมหนึ่งที่อยู่ในชุดของ Microsoft Office โปรแกรมนี้เน้นในเรื่องการแสดงภาพประกอบคำอธิบาย ใช้เพื่อการนำเสนองาน (presentation) โดยทำเป็นหน้า ๆ อาจทำให้มีเสียงบรรยายประกอบด้วยก็ได้ หรือจะสั่งพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อแจกผู้ฟังก็ได้ |
preconception | (พรีคันเซพ'เชิน) n. ความคิดที่มีอยู่ก่อน, ข้อคิดเห็นที่เสนอไว้ก่อน, อคติ., Syn. bias |
prefer | (พรีเฟอร์') vt. ชอบมากกว่า, โอนเอียงมากกว่า, เสนอ, ยื่น, เลื่อนตำแหน่ง., See also: preferredly adv. preferredness n. preferably adv., Syn. like bette |
premise | (เพรม'มิส) n. หลักฐาน, ข้อเสนอสนับสนุนการสรุปสมมุติฐาน, See also: premises ที่ดินที่รวมทั้งสิ่งปลูกสร้าง, สถานที่. vt. เสนอล่วงหน้า, อ้างหลักฐาน, บรรยาย, เสนอสมมุติฐาน. vi. เสนอสมมุติฐาน, Syn. assumption |
prescribe | (พรีสฺไครบ') vt. ออกคำสั่ง, กำหนด, บัญญัติ, ชี้แนะ, แนะนำ, สั่งยา, เสนอ., See also: prescriber n. prescribable adj. |
present | (เพรส'เซินทฺ) adj. มีอยู่, ปรากฎอยู่, ปัจจุบัน, เดี๋ยวนี้, ต่อหน้า, เข้าร่วม n. เวลาปัจจุบัน, ขณะนี้, กริยาปัจจุบัน vt. เสนอ, ให้, ยื่น, มอบ, แนะนำ, นำเข้าพบ, บรรยาย, แสดงให้เห็น, เล็ง (ปืน) , ฟ้องร้อง n. ของขวัญ, See also: presents n. เอกสารปัจจุบัน -Phr. at pres |
presentable | (พรีเซน'ทะเบิล) adj. เสนอได้, มอบให้ได้, แสดงตัวได้, พอจะอวดได้, ให้เป็นของขวัญได้, See also: presentability n. |
presentation | (พรีเซนเท'เชิน) n. การเสนอ, การแสดงตัว, การแนะนำตัว, การมอบของขวัญ, ของขวัญ |
presentation graphics | ภาพเพื่อการนำเสนอหมายถึง ซอฟต์แวร์ประเภทที่มุ่งไปในด้านการนำเสนอผลงานที่ชวนให้ประทับใจ โดยเฉพาะ เพื่อนำไปใช้ประกอบการบรรยาย หรืองานประชาสัมพันธ์ เป็นต้นว่า จะต้องสามารถแปลงตัวเลขใน ตารางจัดการ เป็นผังงาน กราฟ ฯ แล้วสามารถนำข้อความ ภาพ และเสียง หรือที่เรียกว่า สื่อหลายแบบ (multimedia) มาจัดเสนอในรูปแบบที่จะดึงดูดใจให้ดูน่าเชื่อถือ กับทั้งอาจจัดทำเป็น สไลด์ หรือแสดงบนจอภาพแล้วถ่ายทอดออกทางเครื่องฉายข้ามศีรษะ (overhead projector) ได้ นับเป็นการแสดงถึงเทคโนโลยีชั้นสูงอย่างหนึ่ง โปรแกรมที่ใช้กันมาก ก็มี Freelance, HiJack ฯ |
Nontri Dictionary
bid | (vt) สั่ง, เชื้อเชิญ, เสนอราคา, ให้ราคา, ประมูลราคา |
bidding | (n) การเสนอราคา, การให้ราคา, คำสั่ง |
candidacy | (n) การสมัคร, การเสนอตัว |
comment | (vt) วิจารณ์, อธิบาย, ให้ข้อสังเกต, เสนอความเห็น |
file | (vi) เดินเรียงแถว, ยื่นข้อเสนอ, ยื่นคำร้อง |
give | (vi, vt) ให้, มอบ, ยกให้, อุทิศ, สละให้, แจก, ถึง, เสนอ, ยอม, ออกคำสั่ง |
lodge | (vt) ให้ที่อาศัย, ให้อยู่, ฝาก, มอบ, เสนอ, รับรอง, พำนัก |
moot | (vi, vt) โต้เถียง, เสนอปัญหา, ถกเถียง, ดำริ |
move | (vt) ทำให้เคลื่อนไหว, เสนอ, กระตุ้น, แหย่, เร้าใจ |
nominate | (vt) ตั้งชื่อ, แต่งตั้ง, ระบุชื่อ, เสนอชื่อ |
nomination | (n) การแต่งตั้ง, การเสนอชื่อ |
nominative | (adj) ซึ่งได้รับการเสนอชื่อ, ซึ่งได้รับการแต่งตั้ง |
obtrude | (vt) ยุ่ง, เสนอหน้า, เสือก, ถลัน, บุกรุก |
offer | (n) คำขอ, ข้อเสนอ, การยกให้, การเสนอ, การถวาย |
opinion | (n) ความคิดเห็น, ทัศนะ, ข้อเสนอ |
prefer | (vt) ชอบมากกว่า, สมัครใจ, เลื่อนตำแหน่ง, ฝักใฝ่ในทาง, ยื่น, เสนอ |
premise | (vt) อ้างหลักฐาน, เสนอล่วงหน้า, บรรยาย |
prescribe | (vt) สั่งยา, กำหนด, แนะนำ, บัญญัติ, วางเงื่อนไข, เสนอ |
presentable | (adj) เสนอได้, เรียบร้อย, แสดงตัวได้ |
presentation | (n) การเสนอ, การให้, การแสดง, การแนะนำให้รู้จัก, การยื่น |
proffer | (n) การเสนอ, การยื่น, การส่ง, การให้, การมอบ |
proffer | (vt) เสนอ, ยื่นให้, ให้, มอบให้ |
project | (vt) กะโครงการ, วางแผน, ทดลอง, พุ่ง, ฉาย, เสนอ, ออกแบบ |
proposal | (n) ข้อเสนอ, การขอแต่งงาน, การเสนอความเห็น, คำขอ |
propose | (vi) เสนอความเห็น, ขอแต่งงานด้วย |
proposition | (n) ข้อเสนอ, ทฤษฎีบท, โจทย์, เรื่อง, ปัญหา, ญัตติ, ข้อวินิจฉัย |
recommend | (vt) รับรอง, มอบ, ฝากฝัง, ชี้แนะ, เสนอแนะ |
recommendation | (n) การรับรอง, การชี้แนะ, การมอบ, จดหมายแนะนำ, การเสนอแนะ |
refer | (vt) พาดพิงถึง, อ้างถึง, หมายถึง, ค้นหา, เสนอแนะ |
render | (vt) ปฏิบัติ, คืนให้, ถอดความ, จ่าย, เสนอ, สลับ |
start | (vt) เริ่มต้น, เริ่มกระทำ, เสนอ, ตั้งต้น, ทำให้ตกใจ |
subject | (vt) ควบคุม, เอาไว้ในอำนาจ, ทำให้ยอม, เสนอ |
submission | (n) ความอ่อนน้อม, การยอมจำนน, การยอมแพ้, การเสนอ |
submit | (vt) ยอมจำนน, เสนอ, ยอมตาม, อ่อนน้อม |
suggest | (vt) เสนอ, แนะ, ชักชวน, กระตุ้น |
suggestion | (n) ข้อเสนอ, การแนะ, ร่องรอย, ข้อชวนคิด |
tender | (n) รถขนถ่าน, ผู้ดูแล, เรือรับส่งคนโดยสาร, การประมูลราคา, การเสนอ |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
apparent low bidder | (n) ผู้ประมูลที่เสนอราคาต่ำสุดในการประกวดราคา |
bait and switch | (n) เป็นการโฆษณารูปแบบหนึ่งที่บอกขายสินค้าหรือการให้บริการในราคาที่ถูก แต่เมื่อมีผู้ต้องการซื้อสินค้าหรือการบริการชนิดนั้น ผู้ขายอ้างว่าสินค้าหมดและเสนอขายสินค้าทดแทนที่มีราคาสูงกว่าแทนอย่างตั้งใจ |
Cosmic Consciousness | (jargon) จักรวาลพิชาน เป็นแนวคิดที่ถูกเสนอในปี 1901 กล่าวถึง "ความตระหนักรู้แจ้งในระดับที่เหนือกว่าคนทั่วไป" |
Free Carrier ( FCA ) | การเสนอราคา ที่ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อผู้ขายได้จัดสินค้าส่งมอบให้กับผู้รับขนส่ง ณ สถานที่ของผู้รับขนส่ง(เช่น บรรดาบริษัท shipping ต่างๆ) ตามที่ผู้ซื้อระบุไว้เพราะฉะนั้นในการเสนอราคา ผู้ขายก็จะเสนอราคาขาย ที่บวกค่าส่งมอบสินค้าในเบื้องต้นลงไปด้วย |
freelancer | [ฟรีแลนซ์ - เซอะ] (n) บุคคค ที่เสนอตนเองเพื่อรับทำงาน ตามคำสั่ง ของผู้ว่าจ้าง รับจ้าง ทำงาน อิสระ รับไปทำด้วยตัวคนเดียว หรืองานบางประเภท ที่นายจ้าง ต้องการ |
infographic | [อินโฟ กราฟฟิค] (n, computer) ย่อมาจาก Information Graphic - ภาพ/กราฟิก ที่บ่งชี้ข้อมูล ประเภทสถิติ ความรู้ ตัวเลข ฯลฯ มาย่นย่อข้อมูลในแผ่นกระดาษ หรือการนำเสนอ เพื่อให้มองดู/ประมวลผลได้ง่ายเพียงแค่กวาดตามอง เหมาะสำหรับผู้คนในยุคไอที ที่มีข้อมูลซับซ้อนมหาศาล สามารถเข้าใจรับรู้ในเวลาอันจำกัด (ภาพหนึ่งภาพแทนพันอักษร) และในปัจุบันเป็นที่นิยมในโลกของ Social Network |
presentation | (n) สื่อนำเสนอ |
produce evidence | นำเสนอพยานหลักฐาน |
retributive justice | (n) (ก่อนหน้านี้ที่เสนอไปผิดค่ะ) ขอแก้ไขเป็น "กระบวนการยุติธรรมเชิงแก้แค้นทดแทน", See also: A. restorative justice |
roadshow | (n) นำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ไปนำเสนอในสถานที่หลายๆ แห่ง |
Longdo Approved JP-TH
相見積り | [あいみつもり, amitsumori] (vt) การเปรียบเทียบใบเสนอราคาก่อนซื้อ |
起案 | [きあん, kian] (n) การร่าง (เพื่อนำเสนอ) |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
握りつぶす | [にぎりつぶす, nigiritsubusu] บดบี้ในมือ, การระงับข้อเสนอหรือความคิด |
推薦 | [すいせん, suisen] (n) การแนะนำแก่ผู้อื่นว่าดี การเสนอให้ได้รับดำรงตำแหน่ง |
見積もり | [みつもり, mitsumori] (n) การเสนอราคา |
既出 | [きしゅつ, kishutsu] (n, adj) การนำเสนอแล้ว ยื่น(เอกสาร)ก่อนหน้านี้แล้ว |
提議 | [ていぎ, teigi] (n) n. การเสนอ, ข้อเสนอ, แผน, โครงการ, การขอแต่งงาน, |
提案 | [ていあん, teian] การยื่นข้อเสนอ การเสนอความคิด ข้อเสนอแนะ |
提案 | [ていあん, teian] (n) ข้อเสนอแนะ |
Saikam JP-TH-EN Dictionary
促す | [うながす, unagasu] TH: เสนอแนะ EN: to suggest |
申込 | [もうしこみ, moushikomi] TH: เสนอ(เงินบริจาค) EN: offer |
提供 | [ていきょう, teikyou] TH: เสนอ EN: offer (vs) |
与える | [あたえる, ataeru] TH: เสนอ EN: to present |
Longdo Approved DE-TH
Angebot | (n) |das, pl. Angebote| ข้อเสนอ |
bieten | เสนอให้ |
bitte | ได้ค่ะ เชิญครับ (ใช้ตอบตกลงเวลาที่มีคนเสนอความช่วยเหลือหรือเสนอของให้) เช่น Möchtest du noch ein bißchen Reis? - Ja, bitte. เธอต้องการข้าวอีกสักนิดไหม - จ้ะ ได้จ้ะ |
präsentieren | (vt) |präsentierte, hat präsentiert| นำเสนอ เช่น Die Galerie präsentiert diese Woche eine Ausstellung von Manet. อาทิตย์นี้แกลเลอรี่นี่นำเสนองานแสดงภาพของมาเนท์ |
Antrag | (n) |der, pl. Anträge| ข้อเสนอที่ต้องลงมติในที่ประชุม เช่น Ich stelle den Antrag, daß die Fakultät keine ausländische Studenten mehr aufnimmt. ผมขอเสนอให้ทางคณะไม่รับนักศึกษาต่างชาติเข้ามาอีก |
ablehnen | (vt) |lehnte ab, hat abgelehnt| ปฏิเสธ เช่น Der Direktor hat alle Vorschläge abgelehnt. ผู้อำนวยการปฏิเสธข้อเสนอทุกข้อ, Syn. verweigern |
Longdo Approved FR-TH
offrir | (vt) |j'offre, tu offres, il offre, nous offrons, vous offrez, ils offrent| เสนอให้, แนะนำ, ให้, เสนอแนะ เช่น offrir qc. au client แนะนำสินค้าบางอย่างให้กับลูกค้า |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 1.4186 seconds
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม