280 ผลลัพธ์ สำหรับ *ละเมิด*
ภาษา
หรือค้นหา: ละเมิด, -ละเมิด-NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ละเมิด | (v) infringe, See also: break, violate, offend, transgress, contravene, Syn. ฝ่าฝืน, ขัดขืน, Example: แม้บางคนจะชอบละเมิดคำสอนในศาสนา แต่ใจเขาก็ยังเคารพอยู่, Thai Definition: ฝ่าฝืนจารีตประเพณี หรือกฎหมายที่มีบัญญัติไว้ |
ละเมิด | (v) infringe, See also: violate, Syn. ล่วงเกิน, Example: ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาผู้ผลิตสินค้าของไทยบางส่วนได้ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ ซึ่งประมาณการไว้ว่าสูงถึง 800 เหรียญสหรัฐ, Thai Definition: จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิ |
ผู้ละเมิด | (n) violator, See also: transgressor, Syn. ผู้ล่วงละเมิด, Example: ผู้ละเมิดกฎแห่งศีลธรรมจรรยาของสังคมย่อมถูกลงโทษ, Count Unit: คน, Thai Definition: ผู้กระทำการล่วงออกไปจากกรอบที่กำหนดไว้ |
ล่วงละเมิด | (v) violate, See also: infringe, encroach, Example: ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทหารญี่ปุ่นได้ล่วงละเมิดเอกราชอธิปไตยของชาติไทย, Thai Definition: ละเมิดสิทธิผู้อื่น |
ละเมิดสัญญา | (v) break an agreement, See also: break a contract / a promise, Syn. ผิดสัญญา, Example: บริษัทคู่แข่งได้ละเมิดสัญญาที่ 3 บริษัทตกลงกันไว้ |
ละเมิดกฎหมาย | (v) break the law, See also: violate the law, Syn. ฝ่าฝืนกฎหมาย, ฝืนกฎหมาย, ล่วงล้ำกฎหมาย, Example: พวกที่มาชุมนุมละเมิดกฎหมาย ปีนรั้วปีนกำแพงเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต |
ละเมิดสิทธิ์ | (v) violate copyright, Syn. ล่วงละเมิดสิทธิ์, Ant. เคารพสิทธิ์, Example: เขาได้ละเมิดสิทธิ์หนังสือพจนานุกรมที่แปลโดยอาจารย์ของจุฬาฯ จัดทำเป็นเครื่องพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์, Thai Definition: ล่วงเกินสิทธิของผู้อื่น |
ผู้ละเมิดกฎหมาย | (n) law-breaker, Count Unit: คน, Thai Definition: ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ล่วงละเมิด | ก. ละเมิด. |
ละเมิด | ก. ล่วงเกินหรือฝ่าฝืนจารีตประเพณีหรือกฎหมายที่มีบัญญัติไว้ |
ละเมิด | จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิ. |
ละเมิดลิขสิทธิ์ | ก. กระทำอย่างหนึ่งอย่างใดต่องานที่มีลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ได้แก่ ทำซํ้าหรือดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์. |
กฎหมายแพ่ง | น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม ละเมิด ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก. |
ก้าวล่วง | ก. ละเมิด เช่น ภิกษุก้าวล่วงสิกขาบท. |
ไก่ | ผู้หญิงที่ถูกล่อลวงมาเพื่อล่วงละเมิดทางเพศ. |
ขอขมา, ขอขมาลาโทษ | ก. ขอไม่ให้เอาโทษในสิ่งที่ได้ล่วงละเมิดหรือล่วงเกิน เช่น เขามาขอขมาญาติผู้ใหญ่เพื่อลาบวช, ขอษมา หรือ ขอษมาลาโทษ ก็ว่า. |
ค่าทดแทน | น. เงินหรือสิ่งอื่นที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระ หรือชดใช้เพื่อทดแทนความเสียหายจากการผิดสัญญา การละเมิดสิทธิหรือการล่วงล้ำสิทธิของบุคคล หรือการอื่น เช่นในกรณีลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงาน. |
ค่าสินไหมทดแทน | น. สิ่งที่ให้หรือการกระทำที่ทำ เพื่อชดใช้หรือทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินหรือแก่บุคคลอันเนื่องมาจากการละเมิดหรือการผิดสัญญา รวมทั้งการคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้เสียหายด้วย. |
เคารพ | ไม่ล่วงเกิน, ไม่ล่วงละเมิด, เช่น เคารพสิทธิของผู้อื่น. |
ตำรวจวัง | น. ข้าราชการในพระองค์ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาพระราชวัง และดูแลไม่ให้มีการละเมิดระเบียบประเพณีวังเป็นต้น. |
ทัณฑ์บน | น. ถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาว่าจะไม่ประพฤติละเมิดตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้, (โบ) ทานบน |
ทานบน | น. ทัณฑ์บน, ถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาว่าจะไม่ประพฤติละเมิดตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้, เช่น ให้เอาตัวมาสบถษาบานเฉพาะพระพุทธพระธรรมพระสงฆเจ้าจงหนักหนา แล้วให้เรียกเอาทานบนไว้ครั้งหนึ่งก่อน ถ้าผู้นั้นมิละพะยศยังทำอยู่อิกไซ้ ก็ให้จับเอาตัวมาส่งให้ผู้รักษาเมืองผู้รั้งกรมการ (สามดวง). |
ทุศีล | ว. ล่วงละเมิดศีลหรือวินัย (มักใช้แก่นักบวชนักพรต). |
ธรรมจาคะ | น. การละธรรม, การละเมิดศาสนา, การทิ้งศาสนา. |
นิติเหตุ | น. เหตุที่เกิดขึ้นซึ่งมีผลในทางกฎหมายอันมิใช่นิติกรรม เช่น การละเมิด, โบราณใช้ว่า นิติการณ์. |
บังอาจ | ก. กล้าแสดงกล้าทำด้วยทะนงใจหรือฮึกเหิม โดยไม่ยำเกรงหรือไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง, กล้าละเมิดกฎหมาย. |
ปรับไหม | ก. ให้ผู้กระทำผิดหรือกระทำละเมิดชำระเงินค่าสินไหมทดแทนหรือค่าปรับ. |
ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย | ก. กระทำการอันจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงโดยกระทำพอสมควรแก่เหตุ. |
ปาราชิก | น. ชื่ออาบัติหนักที่สุดในพระวินัย เมื่อภิกษุล่วงละเมิดแม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที บวชเป็นภิกษุอีกไม่ได้ มี ๔ ข้อ คือ ๑. เสพเมถุน ๒. ลักทรัพย์ ๓. ฆ่ามนุษย์ ๔. อวดอุตริมนุสธรรม. |
ปาราชิก | ว. ผู้ละเมิดอาบัติปาราชิก เช่น พระปาราชิก. |
ผิดศีล | ก. ล่วงละเมิดศีล. |
ฝ่าฝืน | ก. ขัดขืน, ล่วง, ละเมิด. |
ราคจริต | (ราคะจะหฺริด) น. ความประพฤติที่หนักไปทางความใคร่ในกามคุณ เช่น เขามีราคจริตมากจึงก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศ, ความประพฤติที่มีพื้นนิสัยหนักไปในทางรักสวยรักงาม, เป็นจริต ๑ ในจริต ๖. (ป.) (ดู จริต). |
ล่วงล้ำ | ก. ผ่านพ้นเกินเข้าไป, บุกรุก, ละเมิด, เช่น ข้าศึกล่วงล้ำชายแดน, บางทีก็ใช้เพียง ล่วง คำเดียว. |
เสรี | ว. ที่ทำได้โดยอิสระ, มีสิทธิที่จะทำจะพูดได้โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น. |
เสรีภาพ | น. ความสามารถที่จะกระทำการใด ๆ ได้ตามที่ตนปรารถนาโดยไม่มีอุปสรรคขัดขวาง เช่น เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการนับถือศาสนา, ความมีสิทธิที่จะทำจะพูดได้โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น. |
เสียพรหมจรรย์ | ก. ขาดจากความเป็นนักบวชเพราะล่วงละเมิดการประพฤติพรหมจรรย์. |
หล่อน | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศหญิง สำหรับผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (โบ) สรรพนามบุรุษที่ ๒ และที่ ๓ ใช้เรียกได้ทั้งบุรุษและสตรี เช่น จงทรงพระกรุณาโปรด ขอประทานโทษเจ้าเวสสันดร หล่อนกระทำละเมิดจิตผิดกระทรวง (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). |
เหยียบย่ำ | ก. ละเมิดให้เสียหาย, ย่ำยีด้วยความดูถูก เช่น อย่าเหยียบย่ำคนจน. |
อัชฌาจาร | (-จาน) น. ความประพฤติชั่ว, การล่วงมรรยาท, การละเมิดประเพณี. |
อาบัติ | น. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มี ๗ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฎ ทุพภาษิต มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. |
อุกอาจ | ก. กล้าทำความผิดโดยไม่เกรงกลัว, กล้าละเมิดโดยไม่กลัวความผิด, บังอาจล่วงละเมิด. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
piracy | ๑. การกระทำอันเป็นโจรสลัด (ก. อาญา)๒. การละเมิดลิขสิทธิ์ (ก. แพ่ง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
prima facie tort | การละเมิดที่มีมูล [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
patent, infringement of | การละเมิดสิทธิบัตร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
privilege, breach of | การละเมิดเอกสิทธิ์ (ของฝ่ายนิติบัญญัติ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
lex loci delicti commissi (L.) | กฎหมายแห่งถิ่นที่เกิดการละเมิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legal injury | การละเมิดสิทธิ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
superseding cause | เหตุแทรกแทน, เหตุเหนือกว่า (ที่ทำให้ผู้ละเมิดหลุดพ้นจากความรับผิด) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
action ex delicto | คดีฟ้องว่ากระทำการละเมิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
joint tortfeasors | ผู้กระทำละเมิดร่วม, ผู้ร่วมละเมิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
quasi-delict | คล้ายละเมิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
breach of privilege | การละเมิดเอกสิทธิ์ (ของฝ่ายนิติบัญญัติ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
break the law | การฝ่าฝืนกฎหมาย, การละเมิดกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
contempt of Congress; Congress, contempt of | การละเมิดอำนาจรัฐสภา (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
contempt of court | การดูหมิ่นศาล, การละเมิดอำนาจศาล [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
contempt of Parliament | การละเมิดเอกสิทธิ์ของรัฐสภา (อังกฤษ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
classification of torts | การจำแนกประเภทละเมิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
concurrent tortfeasors | ผู้รับผิดเพื่อละเมิดร่วมกัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Congress, contempt of; contempt of Congress | การละเมิดอำนาจรัฐสภา (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
direct contempt | การละเมิดอำนาจศาลในบริเวณศาล [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
derivative tort | ๑. ความรับผิดเพราะการละเมิดของผู้อื่น๒. ความรับผิดทางแพ่งเนื่องจากคดีอาญา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
gravity of the wrongful act | ความร้ายแรงแห่งละเมิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
ex delicto; ex maleficio (L.) | ที่เกิดจากการละเมิด (ก. แพ่ง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
ex delicto, action | คดีฟ้องว่ากระทำการละเมิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
ex maleficio (L.); ex delicto | ที่เกิดจากการละเมิด (ก. แพ่ง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
infringement | การละเมิดสิทธิ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
infringement | การละเมิดสิทธิ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
infringement of copyright | การละเมิดลิขสิทธิ์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
infringement of patent | การละเมิดสิทธิบัตร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
inviolable | ที่จะละเมิดมิได้ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
inviolable | ที่จะละเมิดมิได้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
infraction | การฝ่าฝืนกฎหมาย, การละเมิด (กฎหมาย สัญญาหรือหน้าที่) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
tort | การละเมิด [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
tort | ละเมิด, การละเมิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
tort of negligence | การละเมิดเพราะประมาทเลินเล่อ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
tort, waiver of | การสละสิทธิ์เกี่ยวกับการละเมิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
trespass | ๑. การบุกรุก [ ดู intrusion ]๒. การล่วงละเมิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
trespass to goods | การล่วงละเมิดทรัพย์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
trespass to the person | การล่วงละเมิดบุคคล [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
trespasser | ๑. ผู้บุกรุก๒. ผู้ล่วงละเมิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
tort-feasor | ผู้กระทำละเมิด, ผู้ละเมิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
tortious act | การกระทำที่เป็นละเมิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
torts, classification of | การจำแนกประเภทละเมิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
negligence, tort of | การละเมิดเพราะประมาทเลินเล่อ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
wrongful act | การละเมิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
waiver of tort | การสละสิทธิ์เกี่ยวกับการละเมิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
wilful tort | การจงใจละเมิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Copyright infringement | การละเมิดลิขสิทธิ์, Example: <p>การละเมิดลิขสิทธิ์ หมายถึงการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ เผยแพร่ ดัดแปลง ทำซ้ำ โดยผู้เป็นเจ้าของผลงานไม่อนุญาตหรือไม่ได้รับทราบ ซึ่งผลงานสิ่งประดิษฐ์ วรรณกรรม ศิลปกรรม ฯลฯ เป็นกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ การนำผลงานมาใช้อาจมีเงื่อนไขบางประการเรียกว่าสัญญาอนุญาต ซึ่งกำหนดโดยเจ้าของผลงานหรือกำหนดตามกฎหมาย เมื่อไม่ทำตามเงื่อนไขจึงถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ <p>สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มีจุดประสงค์มุ่งให้ความคุ้มครองในเรื่องลิขสิทธิ์ และป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น สนธิสัญญากรุงเบิร์น สนธิสัญญาลิขสิทธิ์ และสนธิสัญญาการแสดงและสิ่งบันทึกเสียง นอกจากสนธิสัญญาแล้ว ยังมีองค์กรที่ให้การคุ้มครองเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น องค์การการค้าโลก และกรมทรัพย์สินทางปัญญา <p>สำหรับประเทศไทย ได้มีการออกพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 บังคับใช้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ คือ มาตรา 27 ระบุว่าการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้ (1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน <p>มาตรา 15 ภายใต้บังคับมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 14 เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียว ดังต่อไปนี้ (1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน (3) ให้เช่าต้นฉบับ หรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง (4) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น (5) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (1) (2) หรือ (3) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้ การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง (5) จะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง <p>อย่างไรก็ตาม การละเมิดลิขสิทธิ์ มีข้อยกเว้นในประเด็นเรื่อง การใช้โดยเป็นธรรม หรือ การใช้โดยชอบธรรม (Fair use) ที่เป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลทั่วไปมีสิทธิพิเศษที่จะใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์ หากการใช้นั้นเป็นการใช้ที่เป็นธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างดุลยภาพระหว่างการปกป้องผลประโยชน์อันชอบธรรมของเจ้าของลิขสิทธิ์ และการรักษาประโยชน์ของสาธารณชนในอันที่จะใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ซึ่งหลักการว่าด้วยดุลยภาพนี้เป็นหลักการพื้นฐานของกฎหมายลิขสิทิ์ของทุกประเทศ โดยมีความมุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้เกิดการสร้างงานที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อสังคม และให้สังคมสามารถใช้งานนั้นได้โดยไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของผู้สร้างสรรค์งาน การจะเข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ และเข้าข่ายการใช้โดยเป็นธรรม (Fair use) จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ เป็นการกระทำเพื่อการวิจัยหรือศึกษางานนั้น การกระทำนั้นมิได้เป็นการกระทำเพื่อหากำไร และการกระทำนั้นไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Patent infringement | การละเมิดสิทธิบัตร, Example: <p>การละเมิดสิทธิบัตร (Patent infringement) คือ การที่บุคคลใด บุคคลหนึ่งกระทำการใด ๆ ให้ผู้ทรงสิทธิบัตรเสียหาย โดยกระทบต่อสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรข้างต้น เช่น ปลอม ทำซ้ำ ดัดแปลง โดยที่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของสิทธิบัตร ซึ่งการละเมิดสิทธิบัตรนั้น มีความผิดทั้งในทางอาญาและทางแพ่ง <p>ความรับผิดชอบทางอาญาตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 เป็นโทษจำคุก ปรับ ริบ ทรัพย์สิน <p>ความรับผิดชอบทางแพ่ง อาจต้องชดใช้ค่าเสียหายจากความเสียหายที่ผู้ทรงสิทธิบัตรได้รับ โดยคำนึงถึงความร้ายแรงของความเสียหาย รวมทั้งการสูญเสียประโยชน์และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการบังคับตามสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตร <p>ดังนั้นหากบุคคลใดที่ไม่ใช่เจ้าของสิทธิบัตร นำการประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ของผู้ทรงสิทธิไปทำการผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือใช้คำว่า “สิทธิบัตรไทย” หรืออักษรต่างประเทศที่มีความหมายเช่นเดียวกัน ให้ปรากฏที่ผลิตภัณฑ์ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อของผลิตภัณฑ์ หรือในการประกาศโฆษณาการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิบัตรหรือผู้ทรงสิทธิบัตรที่ได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรไว้แล้ว โดยเป็นความผิดต่อกฏหมายพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ที่ได้กำหนดโทษให้การกระทำความผิดดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิบัตร และเป็นความผิดในทางอาญา [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
software piracy | การละเมิดซอฟต์แวร์, Example: คำว่า piracy แปลว่าการกระทำเยี่ยงโจรสลัด และฝรั่งนิยมนำมาใช้กับการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การก๊อบปี้ซอฟต์แวร์ของผู้อื่นไปใช้ โดยไม่ยอมเสียเงินซื้อ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และทำให้ผู้ผลิตและจำหน่วยซอฟต์แวร์เสียหาย คือ ควรจะขายได้เงินก็ไม่ได้ ประเทศไทยมีการละเมิดซอฟต์แวร์มานานแล้ว แม้ว่าจะมีพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับ พ.ศ. 2521 บังคับใช้ ทั้งนี้เพราะกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ระบุว่าซอฟต์แวร์มีลิขสิทธิ์หรือไม่ เมื่อเป็นเช่นนั้นประเทศไทยจึงถูกประเทศสหรัฐอเมริการที่เป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายใหญ่จับตามอง และไทยได้รับการร้องขอให้ช่วยปราบปรามผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ และตรา พรบ. ที่รัดกุมกว่าขึ้นใช้เป็นผลให้มี พรบ.นี้กำหนดว่าซอฟต์แวร์ได้รับการคุมครอง และการละเมิดลิขสิทธิ์จะต้องถูกลงโทษ [คอมพิวเตอร์] |
Infringe | การล่วงละเมิด ด้วยการผลิต ใช้ เลียนแบบกระบวนการ หรือ ขายการประดิษฐ์ที่ได้รับการคุ้มครองจากสิทธิบัตรในประเทศที่มีการยื่นขอ , การล่วงละเมิด ด้วยการผลิต ใช้ เลียนแบบกระบวนการ หรือ ขายการประดิษฐ์ที่ได้รับการคุ้มครองจากสิทธิบัตรในประเทศที่มีการยื่นขอ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธินั้น [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
Contempt of court | การละเมิดอำนาจศาล [TU Subject Heading] |
Copyright infringement | การละเมิดลิขสิทธิ์ [TU Subject Heading] |
Intellectual property infringement | การละเมิดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา [TU Subject Heading] |
Pirated editions | ฉบับละเมิดลิขสิทธิ์ [TU Subject Heading] |
Respondeat superior | ความรับผิดทางละเมิดของบุคคลที่อยู่ในความดูแล [TU Subject Heading] |
Tort liability of banks | ความรับผิดฐานละเมิดของธนาคาร [TU Subject Heading] |
Tort liability of corporations | ความรับผิดฐานละเมิดขององค์การ [TU Subject Heading] |
Torts | ละเมิด [TU Subject Heading] |
Trademark infringement | การละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้า [TU Subject Heading] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] |
Conduct of Diplomatic Mission Towards the Receiving State | ในการปฏิบัติของคณะผู้แทนทางการทูตต่อรัฐผู้รับ นั้นหน้าที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของนักการทูตคือ จะต้องละเว้นจากการเข้าแทรกแซงใด ๆ ในกิจการภายในของรัฐผู้รับ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตราที่ 41 ว่า1. โดยไม่เสื่อมเสียแก่เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของตน เป็นหน้าที่ของบุคคลทั้งมวลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นนี้ ที่จะเคารพกฎหมายรวมทั้งข้อบังคับของรัฐผู้รับ บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ที่จะไม่แทรกสอดในกิจการภายในของรัฐนั้นด้วย2. ธุรกิจในทางการทั้งมวลกับรัฐผู้รับ ซึ่งรัฐผู้ส่งได้มอบหมายแก่คณะผู้แทนให้กระทำกัน โดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นเช่นที่อาจจะตกลงกัน3. สถานที่ของคณะผู้แทนต้องไม่ใช้ไปในทางที่ไม่ต้องด้วยกับการหน้าที่ของคณะผู้ แทน ดังที่ได้กำหนดลงไว้ในอนุสัญญานี้ หรือโดยกฎเกณฑ์อื่นของกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป หรือด้วยการตกลงพิเศษอื่นใดที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ข้อ 42 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติด้วยว่า ตัวแทนทางการทูตจะต้องไม่ปฏิบัติกิจกรรมใดทางวิชาชีพหรือพาณิชย์เพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวในรัฐผู้รับตามบทบัญญัติข้างต้นของอนุสัญญากรุงเวียนนา พอจะตีความหมายได้ว่า ผู้แทนทางการทูตจะต้องเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อที่จะธำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้งความปลอดภัยในรัฐผู้รับ การปฏิบัติใดๆ ที่ถูกต้องของผู้แทนทางการทูตนั้นย่อมเป็นเครื่องประกันอย่างดีที่สุด ที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตนั้นจะถูกล่วงละเมิดมิได้ตามที่กล่าวอ้าง [การทูต] |
delict | ละเมิด [การทูต] |
Diplomatic Pouch | ถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique? [การทูต] |
Freedom of Communication | เสรีภาพในการติดต่อและสื่อสาร ถือเป็นสิทธิทางกฎหมาย (ไม่ใช่เพียงเอกสิทธิ์เท่านั้น) ที่สำคัญอันหนึ่งของนักการทูตย่อมจะเห็นได้ชัดว่า คณะทูต จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างพึงพอใจ นอกจากจะมีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการที่จะมีหนังสือหรือวิถีทางอื่นๆ เพื่อติดต่อกับรัฐบาลของตน หรือจะส่งและรับจดหมาย หรือหนังสือต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ถือสารพิเศษ หรือโดยถุงทางการทูต (Diplomatic pouch) สำหรับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ดังนี้?1. ให้รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางการทั้งมวลเพื่อการติดต่อกับรัฐบาล และกับคณะผู้แทนและสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่ง ไม่ว่าตั้งอยู่ ณ ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางที่เหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้ถือสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการ หมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงทางการทูต (Diplomatic Pouch) จะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูต จะต้องมีเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน สามารถแสดงลักษณะของถุงทางการทูต ซึ่งอาจบรรจุเพียงเอกสารหรือสิ่งของทางการทูตที่เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่า นั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการแสดงสถานภาพของตน และจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ส่วนบุคคลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ ในกรณีที่ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการแสดงจำนวนหีบห่อซึ่ง รวมเป็นถุง แต่ไม่ใช่ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรง และโดยเสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน? [การทูต] |
Humanitarian Intervention | การแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรม " เป็นแนวคิดที่นายโคฟี อันนาน เลขาธิการสหประชาชาติเสนออย่างเป็น ทางการครั้งแรกต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 54 เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมุ่งจะให้สหประชาชาติสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนภาย ในประเทศต่าง ๆ ได้โดย คำนึงถึงประเด็นเรื่องมนุษยธรรมเป็นหลัก ขณะนี้ แนวคิดนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันและยังไม่ยุติ โดยบางประเทศเห็นว่า เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นการละเมิดอธิปไตยของรัฐ บางประเทศเห็นว่าเป็นมาตรการที่จำเป็นเพื่อแก้ปัญหาของมนุษยชาติ ส่วนบางประเทศเห็นว่าการแทรกแซงดังกล่าวจะต้องอยู่ใต้กรอบหลักเกณฑ์ หรือกรอบกฎหมายบางประการ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ " [การทูต] |
Immunity from Jurisdiction of Diplomatic Agents | ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 31 ว่า?1. ให้ตัวแทนทางการทูตได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางอาญาของรัฐผู้รับ ตัวแทนทางการทูตยังจะได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่ง และทางการปกครองของรัฐผู้รับด้วย เว้นแต่ในกรณีของก) การดำเนินคดีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับนอกจากตัวแทนทางการทูตครอบครองไว้ในนามของ รัฐผู้ส่งเพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนข) การดำเนินคดีเกี่ยวกับการสืบมรดกซึ่งเกี่ยวพันถึงตัวแทนทางการทูตในฐานะผู้ จัดการมรดกโดยพินัยกรรม ผู้จัดการมรดกโดยศาลตั้งทายาท หรือผู้รับมรดกในฐานะเอกชน และมิใช่ในนามของรัฐผู้ส่งค) การดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจกรรมใดในทางวิชาชีพ หรือพาณิชย์ ซึ่งตัวแทนทางการทูตได้กระทำในรัฐผู้รับ นอกเหนือจากการหน้าที่ทางการของตน 2. ตัวแทนทางการทูตไม่จำเป็นต้องให้การในฐานะพยาน 3. มาตรการบังคับคดี ไม่อาจดำเนินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนทางการทูต เว้นแต่ในกรณีซึ่งอยู่ภายใต้อนุวรรค (ก) (ข) และ (ค) ของวรรค 1 ของข้อนี้ และโดยมีเงื่อนไขว่ามาตรการที่เกี่ยวข้องอาจดำเนินไปได้โดยปราศจากการละเมิด ความละเมิดมิได้ในตัวบุคคลของตัวผู้แทนทางการทูต หรือที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต 4. ความคุ้มกันของตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ ไม่ยกเว้นตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้ส่ง?เกี่ยวกับความคุ้มกันตัว แทนทางการทูตจากขอบเขตของอำนาจศาลทางแพ่ง อาจกล่าวได้อย่างกว้างๆ ว่า ตัวแทนทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทน ทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทนทางการ ทูตจะถูกฟ้องมิได้ และถูกจับกุมมิได้เกี่ยวกับหนี้สิน รวมทั้งทรัพย์สินของเขา เช่น เครื่องเรือน รถยนต์ ม้า และสิ่งอื่นๆ ทำนองนั้นก็จะถูกยืดเพื่อใช้หนี้มิได้ ตัวแทนทางการทูตจะถูกกีดกันมิให้ออกไปจากรัฐผู้รับในฐานะที่ยังมิได้ชดใช้ หนี้สินของเขานั้นก็มิได้เช่นกัน อนึ่ง นักกฎมายบางกลุ่มเห็นว่า ตัวแทนทางการทูตจะถูกหมายศาลเรียกตัว (Subpoenaed) ไม่ได้ หรือแม้แต่ถูกขอร้องให้ไปปรากฎตัวเป็นพยานในศาลแพ่งหรือศาลอาญาก็ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ถ้าหากตัวแทนทางการทูตสมัครใจที่จะไปปรากฏตัวเป็นพยานในศาล ก็ย่อมจะทำได้ แต่จะต้องขออนุมัติจากรัฐบาลในประเทศของเขาก่อน [การทูต] |
infringement | การละเมิด [การทูต] |
International Trade Organization | องค์การการค้าระหว่างประเทศ มีหน้าที่ดำเนินงานเกี่ยวกับความตกลงทั้วไปว่าด้วยภาษี ศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ ต้องการขยายการค้าของโลกให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น ขจัดการกีดกันการค้า หรือพยายามลดให้เหลือน้อยที่สุด เช่น การตั้งข้อจำกัดโควต้า เป็นต้น ตัดทอนภาษีศุลกากรทั่วโลกให้ต่ำลง ดูแลตลาดวัตถุดิบให้เป็นไปอย่างยุติธรรม และพยายามควบคุมด้านการค้าของการร่วมมือกันทางธุรกิจ (Cartels) จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดคือ ป้องกันมิให้กลับไปสู่การดำเนินการทางการค้าที่ตัดราคากันอย่างหั่นแหลก เหมือนเมื่อระยะปี ค.ศ. 1930 ถึง 1939 นั่นเองอย่างไรก็ดี ตั้งแต่มีการปฏิบัติใช้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้ามาจนบัด นี้ ก็ได้รับผลสำเร็จตามแนววัตถุประสงค์อย่างมากมาย เช่น มีประเทศสมาชิกหลายสิบประเทศลดภาษีศุลกากรและรักษาระดับภาษีอย่างมีเสรีภาพ แต่ละปี ประเทศสมาชิกจะได้ยินได้ฟังเสียงร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการค้า ละเมิดกฎเกณฑ์ของความตกลงทั่วไป แล้วเสียงร้องเรียนดังกล่าวก็ได้รับการแก้ไขจนเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการปรับปรุงและดัดแปลงข้อกำหนดของความตกลงทั่วไป ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา [การทูต] |
inviolability | ความละเมิดมิได้ [การทูต] |
Inviolability | หมายถึง ความละเมิดมิได้ ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ตัวแทนทางการทูตต้องได้รับการคุ้มครองมากยิ่งกว่าบุคคล ธรรมดา มีการกล่าวกันว่า ตัวเอกอัครราชทูตนั้นจะได้รับการเคารพยกย่องพอ ๆ กับตัวประมุขของรัฐทีเดียว การให้ความคุ้มครองเช่นนี้จะขยายไปถึงสิ่งของทุกชิ้นที่เป็นของเอกอัคร ราชทูตบุคคลในครอบครัว บริวาร คนใช้ เครื่องเรือน เอกสาร และจดหมายโต้ตอบของเอกอัครราชทูต เป็นต้น [การทูต] |
Inviolability of Residence and Property of Diplomatic Agents | หมายถึง ความละเมิดมิได้ของทำเนียบและทรัพย์สินของตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 30 ว่า ?1. ให้ที่อยู่ส่วนตัวของตัวแทนทางการทูต ได้อุปโภคความละเมิดมิได้และความคุ้มครอง เช่นเดียวกับสถานที่ของคณะผู้แทน 2. ให้กระดาษเอกสาร หนังสือโต้ตอบ และยกเว้นที่ได้บัญญัติไว้ในวรรค 3 ของข้อ 31 ทรัพย์สินของตัวแทนทางการทูตได้อุปโภคและละเมิดมิได้เช่นกัน?วรรค 3 ของข้อ 31 ในอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า มาตรการบังคับคดีไม่อาจดำเนินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนทางการทูต (เว้นแต่ในกรณีซึ่งอยู่ภายใต้อนุวรรค (ก) (ข) และ (ค) ของวรรค 1 ของข้อนี้ และโดยเงื่อนไขว่า มาตรการที่เกี่ยวข้องอาจดำเนินไปได้ โดยปราศจาการละเมิด) หรือที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต [การทูต] |
Inviolability of the Mission Premises | คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต] |
jus cogens | กฎเกณฑ์ทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศที่มีลักษณะ เป็นกฎหมายเด็ดขาดซึ่งจะละเมิดมิได้ [การทูต] |
peace enforcement | การบังคับให้เกิดสันติภาพ " เป็นมาตรการใช้กำลังบังคับผู้ที่กำลังดำเนินการที่เป็นการละเมิด สันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศให้ยุติการกระทำดังกล่าว " [การทูต] |
Persona non grata | เป็นศัพท์ที่ใช้กับนักการทูตหรือผู้แทนทางการทูต ที่ประจำอยู่ในประเทศซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ปรารถนาให้อยู่ต่อไปอีกแล้ว หลังจากที่ได้ไปประจำทำงานในตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้น หรือก่อนหน้าที่นักการทูตผู้นั้นจะเดินทางไปถึงดินแดนของประเทศผู้รับ (Receiving State) นักการทูตที่ถูกประกาศเป็น persona non grata หรือ บุคคลที่ไม่พึงปรารถนานั้น เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ กล่าวคำดูหมิ่นรัฐบาลของประเทศที่ตนไปประจำอยู่ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองนั้น แทรกแซงในการเมืองภายในของเขา เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของเขา ใช้ถ้อยคำก้าวร้าวต่อประเทศนั้น วิพากษ์ประมุขแห่งประเทศของเขากระทำการอันเป็นที่เสียหายต่อประโยชน์หรือต่อ ความมั่นคงของประเทศ และกระทำการอื่น ๆ ในทำนองนั้นตามปกติรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพที่เป็นฝ่ายเสียหายจะขอร้องให้ รัฐบาลผู้ส่ง (Sending government) เรียกตัวนักการทูตผู้กระทำผิดกลับประเทศ ซึ่งตามปกติรัฐบาลผู้ส่งมักจะปฏิบัติตาม รัฐบาลของประเทศผู้เสียหายจะแจ้งให้นักการทูตผู้นั้นทราบว่า รัฐบาลจะไม่ทำการติดต่อเกี่ยวข้องเป็นทางการกับเขาอีกต่อไป หรืออาจจะบอกให้นักการทูตผู้นั้นออกไปจากประเทศโดยไม่เกรงใจแต่อย่างใดก็ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 9 ดังต่อไปนี้ ?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ และโดยมิต้องชี้แจงถึงการวินิจฉัยของตนว่า หัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่พึงโปรด หรือว่าบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีใดเช่นว่านี้ ให้รัฐผู้ส่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นกับคณะผู้แทนเสียก็ได้ตามที่เหมาะสมบุคคลอาจจะ ถูกประกาศให้เป็นผู้ไม่พึงโปรด หรือไม่พึงยอกรับได้ก่อนที่จะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธ หรือไม่นำพาภายในระยะเวลาอันสมควร ที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันของคนภายใต้วรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับสามารถปฏิเสธที่จะยอมรับนับถือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็นบุคคล ในคณะผู้แทนก็ได้? [การทูต] |
Personal Inviolability of Diplomatic Agents | หมายถึง ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ กล่าวคือ มาตรา 29 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ว่า ?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทุตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ ให้รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางการทูต?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ นั้น ได้ถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ให้ผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิและความคุ้มกัน ทั้งมวล ถึงกับมีการพูดกันว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อตัวเอกอัครราชทูต จักถือว่าเป็นการทำร้ายต่อประมุขของประเทศซึ่งผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเป็น ตัวแทนอยู่ ทั้งยังถือว่าเป็นการยังผลร้ายต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชาติทั้ง มวลด้วยตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1964 ชายหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งมีจิตวิปลาส ได้ใช้มีดแทง นายเอ็ดวิน โอไรส์ชาวเออร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศญี่ปุ่น ในเขตนอกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโตเกียว รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทยญี่ปุ่นได้ลาออกจากตำแหน่งทันทีและรุ่งขึ้นใน วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1964 นายอิเคดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ได้ทำการขอโทษต่อประชาชนชาวอเมริกันทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการดำเนินการในทำนองนี้ และการที่นายกรัฐมนตรีอิเคดะได้ปฏิบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้นั้น มีความสำคัญมากเพียงใดตัวแทนทางการทูตจะถูกจับ ถูกฟ้องศาล หรือถูกลงโทษฐานประกอบอาชญากรรมนั้นไม่ได้ เพราะถือว่าผู้แทนทางการทูตมิได้อยู่ในอำนาจศาลของรัฐผู้รับ อย่างไรก็ดี หากผู้แทนทางการทูตกระทำความผิดอย่างโจ่งแจ้ง รัฐผู้รับอาจขอให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับไปยังประเทศของเขาได้ในทันที [การทูต] |
sanction | การคว่ำบาตร (ในกรอบสหประชาชาติ) " หมายถึง มาตรการลงโทษที่คณะมนตรีความมั่นคง ใช้ต่อประเทศสมาชิกที่มีการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ รวมทั้งเป็นภัยต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศโดยการจำกัด หรือห้ามประเทศสมาชิกอื่น ๆ ติดต่อในด้านต่าง ๆ (เช่น ด้านการค้า การคมนาคมขนส่ง) อย่างเป็นทางการกับประเทศนั้น ๆ เพื่อบีบบังคับให้มีการปฏิบัติตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคง มาตรการห้ามการ ติดต่อเหล่านี้ บางครั้งเรียกว่า ปิดล้อม (embargo) เช่น ปิดล้อมด้านอาวุธ ปิดล้อมด้านการค้า เป็นต้น " [การทูต] |
Sanctions | การบังคับตามกฎระหว่างประเทศ หมายถึงการที่หลาย ๆ ชาติได้ลงมติใช้มาตรการบังคับหรือจูงใจพร้อม ๆกันเพื่อบังคับให้ชาติหนึ่งที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ทำการยับยั้ง (Desist) หรือยินยอมให้มีการชี้ขาดตัดสิน (Adjudication) หรือกล่าวอย่างสั้น ๆ แซ็งชั่นก็คือ หนทางที่บังคับพันธกรณีทางกฎหมายให้เป็นไปตามกฎหมายเรื่องแซ็งชั่นนี้ กฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวไว้ในบทที่ 7 ข้อ 41 และ 42 มีข้อความดังนี้ ?ข้อ 41 คณะมนตรีความมั่นคงอาจวินิจฉัยว่า จะต้องใช้มาตรการอันใดอันไม่มีการใช้กำลังอาวุธ เพื่อยังผลให้เกิดแก่คำวินิจฉัยของคณะมนตรี และอาจเรียกร้องให้สมาชิกแห่งสหประชาชาติใช้มาตรการเช่นว่านั้น มาตรการเหล่านี้อาจรวมถึงการตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และการคมนาคมทางรถไฟ ทางทะเล ทางอากาศ ทางไปรษณีย์โทรเลข ทางวิทยุ และวิถีทางคมนาคมอย่างอื่นโดยสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน และการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต ข้อ 42 หากคณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาเห็นว่ามาตรการที่บัญญัติไว้ในข้อ 41 น่าจะไม่เพียงพอ หรือได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เพียงพอ คณะมนตรีก็อาจดำเนินการใช้กำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้ หรือสถาปนากลับคืนมาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การดำเนินการเช่นว่านี้ อาจรวมถึงการแสดงแสนยานุภาพ การปิดล้อม และการปฏิบัติอย่างอื่นโดยกำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินของบรรดาสมาชิกแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
Termination of Mission of Diplomatic Agent | ภารกิจของผู้แทนทางการทูตหรือหัวหน้าคณะทูตจะสิ้น สุดลง 1. ระยะเวลาที่ผู้แทนทางการทูตได้รับแต่งตั้งให้ประจำอยู่ในประเทศผู้รับได้ครบ กำหนดตามวาระ2. เมื่อวัตถุประสงค์ของภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติได้สัมฤทธิผลเรียบ ร้อยแล้ว3. ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากต้องโยกย้ายไปที่อื่น หรือลาออก หรือเนื่องจากครบเกษียณอายุ4. ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของรัฐบาลของตน หรือกระทำตามคำขอร้องของรัฐบาลของประเทศผู้รับ ซึ่งเขาได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงานอยู่5. เนื่องจากการเสด็จสวรรคตของพระมหากษัตริย์ของประเทศตน หรือประเทศที่ตนได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงาน6. หากตัวเขาเองได้กระทำการอันเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศบางอย่าง หรือเนื่องจากเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่คาดไม่ถึง และมีลักษณะร้ายแรงจริง ๆ ตัวเขาเองจะต้องรับผิดชอบในการตัดความสัมพันธ์7. เมื่อรัฐบาลผู้รับ ซึ่งตัวเขาได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงานอยู่นั้น แล้วจะด้วยเหตุผลอย่างใดก็ตาม ได้แจ้งให้เขาเดินทางออกไปจากประเทศในทันที โดยไม่ต้องระให้รัฐบาลของตนเรียกตัวกลับ8. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งของผู้แทนทางการทูต ดังเช่น ได้รับเลื่อนตำแหน่งจากอัครราชทูตขึ้นเป็นเอกอัครราชทูต9. เนื่องจากเกิดสงครามขึ้นระหว่างรัฐทั้งสอง10. เนื่องจากถูกถอดจากตำแหน่ง หรือสละราชบัลลังก์ของประมุขของประเทศใดประเทศหนึ่ง 11. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในประเทศใดประเทศหนึ่ง จากระบบพระมหากษัตริย์เป็นระบบสาธารณรัฐ หรือเป็นระบบสาธารณรัฐอันมีประมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมาย12. เนื่องจากรัฐใดรัฐหนึ่งของทั้งสองรัฐต้องสูญสภาวะในการเป็นรัฐเหตุผลข้างต้น ทั้งหมดนี้ เป็นทรรศนะของเซอร์เออร์เนสท์ ซาทาว ซึ่งได้ให้ไว้ในหนังสือของท่าน ชื่อว่า ?A Guide to Diplomatic Practice? ฉบับเรียบเรียงใหม่ครั้งที่ 4 โดยเซอร์เนวิลล์ แบลนด์ [การทูต] |
United Nations Emergency Force | กองกำลังฉุกเฉินของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 สมัชชาแห่งสหประชาชาติได้ขอรัองให้เลขาธิการสหประชาชาติเสนอแผนการภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติของสหประชาชาติ โดยได้รับอนุมัติจากชาติที่เกี่ยวข้อง ให้ทำหน้าที่ยุติและควบคุมดูแลการหยุดรบในประเทศอียิปต์ วันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 5 พฤศจิกายน สมัชชาก็ได้ลงมติให้จัดตั้งกองบัญชาการแห่งสหประชาชาติขึ้นปรากฏว่า ผู้แทนของสหภาพโซเวียตได้กล่าวอ้างว่า การจัดตั้งกองกำลังดังกล่าวเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ โดยยกบทที่ 7 ของกฎบัตรขึ้นมาอ้างว่า คณะมนตรีความมั่นคงองค์กรเดียวเท่านั้น ที่กฎบัตรให้อำนาจจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติได้ ด้วยเหตุนี้ สหภาพโซเวียตและอีกบางประเทศจึงแถลงว่า จะไม่ยอมมีส่วนร่วมในการออกเงินค่าใช้จ่ายสำหรับกองกำลังดังกล่าวโดยเด็ดขาด พึงสังเกตว่า การที่สหภาพโซเวียตอ้างยืนยันว่า คณะมนตรีความมั่นคงเท่านั้นที่กฎบัตรสหประชาชาติให้อำนาจตั้งกองกำลังสห ประชาชาติได้ ก็เพราะหากยินยอมตามข้ออ้างของสหภาพโซเวียตดังกล่าว จะไม่มีทางจัดตั้งกองกำลังขึ้นได้เลย เพราะสหภาพโซเวียตจะใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคงอย่างไม่ต้องสงสัย [การทูต] |
War Crimes | อาชญากรรมสงคราม ตามกฎบัตรต่อท้ายความตกลงว่าด้วยการพิจารณาลงโทษ อาชญากรสางคามที่สำคัญ ๆ ของฝ่ายอักษะยุโรป (European Axis) การกระทำต่อไปนี้ถือว่าเป็นอาชญากรรมสงครามคือ การละเมิดกฎหมายหรือประเพณีของการสงคราม เช่น การฆ่า การปฏิบัติอันโหดร้าย หรือการขับคนไปทำงานเยี่ยงทาส หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใด ซึ่งกระทำต่อราษฎรพลเรือนของดินแดนที่ถูกยึดครอง การฆ่าหรือปฏิบัติอย่างโหดร้ายต่อเชลยศึกหรือบุคคลในท้องทะเล การฆ่าตัวประกัน การปล้นสะดมทรัพย์สินสาธารณะหรือส่วนบุคคล การทำลายล้างตัวเมืองหรือหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่จำเป็นในแง่การทหาร [การทูต] |
Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
การกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมาย | [kān kratham thī lamoēt tø kotmāi] (n, exp) EN: violation of the law |
การละเมิด | [kān lamoēt] (n, exp) EN: disobedience ; tort ; infraction |
การละเมิดประเพณี | [kān lamoēt praphēnī] (n, exp) EN: impoliteness |
การละเมิดลิขสิทธิ์ | [kān lamoēt likkhasit] (n, exp) EN: infringement of copyright |
การละเมิดสัญญา | [kān lamoēt sanyā] (n, exp) EN: breach of contract |
การละเมิดสิทธิ์ | [kān lamoēt sit] (n, exp) EN: piracy |
การละเมิดสิทธิ | [kān lamoēt sitthi] (n, exp) EN: legal injury ; infringement |
การละเมิดสิทธิบัตร | [kān lamoēt sitthibat] (n, exp) EN: infrigement of patent |
การล่วงละเมิด | [kān lūanglamoēt] (n) EN: harassment FR: harcèlement [ m ] |
การทำละเมิด | [kān tham lamoēt] (n, exp) EN: civil wrong |
ละเมิด | [lamoēt] (v) EN: infringe ; break ; violate ; exceed ; transgress ; breach FR: enfreindre ; violer ; transgresser |
ละเมิดกฎหมาย | [lamoēt kotmāi] (v, exp) EN: break the law ; violate the law ; be illegal ; be unlawful ; be illicit FR: violer la loi ; être illégal ; être illicite |
ล่วงละเมิด | [lūanglamoēt] (v) EN: violate ; infringe ; encroach |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
Hope Dictionary
aggression | (อะเกรส' เชิน) n. การรุกราน, การบุกรุก, การล่วงละเมิด, Syn. attack |
cow | (คาว) n. วัวตัวเมีย, แม่วัว, สัตว์ตัวเมียจำพวก Bos, สัตว์ตัวเมียขนาดใหญ่ (เช่นช้าง ปลาวาฬ แรด แม่น้ำ) , หญิงอ้วนพุงพลุ้ย -Phr. (a sacred cow วัวในอินเดีย (ถือเป็นสัตว์ที่ศักดิ์สิทธิ์) , บุคคลที่ศักดิ์สิทธิ์ที่หาอาจล่วงละเมิดได้.) -Phr. (till the cows come home นาน |
encroach | (เอนโครช') vt. ล่วงล้ำ, บุกรุก, ล่วงละเมิด, กัดกร่อน, See also: encroachment n. ดูencroach encroachr n. ดูencroach, Syn. intrude |
exceed | (เอคซฺซีด') v. เกินกว่า, มากกว่า, เหนือกว่า, ดีกว่า, ละเมิด, ออกนอกลู่นอกทาง, See also: exceedable adj. ดูexceed exceeder n. ดูexceed, Syn. outdo |
infraction | (อินแฟรค'เชิน) n. การทำให้แตก, การละเมิด, การฝ่าฝืน, Syn. violation |
infringe | (อินฟรินจฺ') vt. ละเมิด, ฝ่าฝืน, ล่วงล้ำ vi. ล่วงล้ำ., See also: infringer n., Syn. violate |
infringement | (อินฟริน'จะเมินทฺ) n. การฝ่าฝืน, การละเมิด, การล่วงล้ำ (breach, violation) |
injury | (อิน'จะรี) n. อันตราย, ภัย, ความเสียหาย, ความอยุติธรรมที่ได้รับ, การล่วงละเมิด, การก้าวร้าว, Syn. harm, hurt |
injustice | (อินจัส'ทิส) n. ความอยุติธรรม, ความไม่เป็นธรรม, การล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น, การกระทำที่ไม่ยุติธรรม, ความผิด, Syn. grievance |
inviolable | (อินไว'อะละเบิล) adj. ล่วงละเมิดไม่ได้, ฝ่าฝืนไม่ได้, ขัดขืนไม่ได้, ทำลายไม่ได้, ทำให้เสียหายไม่ได้., See also: inviolableness n. inviolably adv., Syn. intact, unbroken |
inviolate | (อินไว'อะลิท, -ทิด) adj. ไม่ถูกล่วงละเมิด, ไม่เสียหาย, ไม่ถูกทำลาย, ไม่เสื่อม., See also: inviolacy, inviolateness n. |
inviolated | (อินไว'อะลิท, -ทิด) adj. ไม่ถูกล่วงละเมิด, ไม่เสียหาย, ไม่ถูกทำลาย, ไม่เสื่อม., See also: inviolacy, inviolateness n. |
offence | (อะเฟนซฺ') n. การกระทำผิด, การกระทำผิดกฎหมาย, การรุก, การโจมตี, การทำให้ขุ่นเคือง, การก้าวร้าว, สิ่งที่ทำให้ขุ่นเคือง, สิ่งที่ละเมิด, ความรู้สึกขุ่นเคือง, ฝ่ายรุก, ฝ่ายโจมตี |
offend | (อะเฟนดฺ') n. กระทำผิด, ละเมิด, รุกราน, ทำให้ขุ่นเคือง, ทำให้ไม่พอใจ., See also: offendable adj. offendible adj. offender n., Syn. fault, vice, attack |
offense | (อะเฟนซฺ') n. การกระทำผิด, การกระทำผิดกฎหมาย, การรุก, การโจมตี, การทำให้ขุ่นเคือง, การก้าวร้าว, สิ่งที่ทำให้ขุ่นเคือง, สิ่งที่ละเมิด, ความรู้สึกขุ่นเคือง, ฝ่ายรุก, ฝ่ายโจมตี |
offensive | (อะเฟน'ซิฟว) adj. ซึ่งทำให้ไม่พอใจ, ซึ่งทำให้ขุ่นเคือง, ก้าวร้าว, ไม่พอใจ, ล่วงละเมิด, น่ารังเกียจ, เกี่ยวกับการละเมิด, เกี่ยวกับการละเมิด, เกี่ยวกับการกระทำผิด., See also: offensiveness n. |
piracy | (ไพ'ระซี) n. การกระทำที่เป็นโจรสลัด, การปล้นความคิด, การละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรของคนอื่น |
pirate | (ไพ'เรท) n. โจรสลัด, เรือโจรสลัด, ผู้ปล้นสะดม, ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรของผู้อื่น. -vt., vi. ปล้นสะดม, กระทำพฤติกรรมที่เป็นโจรสลัด, ยักยอก, ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรของผู้อื่น, พิมพ์บทประพันธ์ของคนอื่น, See also: piratical, piratic adj. pirati |
prejudice | (เพรจ'จะดิส) n. อคติ, ความรู้สึกไม่ดีที่มีอยู่ก่อน, ความรู้สึกที่ไม่มีเหตุผล, ความเสียหาย, ข้อเสียเปรียบ. vt. ทำให้มีอคติ, ทำให้เสียหาย, ละเมิด, เป็นผลร้าย., See also: prejudicedly adv., Syn. bias, partiality |
sacred | (เซ'คริด) adj. ศักดิ์สิทธิ์, เกี่ยวกับการบูชาในทางศาสนา, เกี่ยวกับศาสนา, เป็นที่สักการบูชา, ล่วงละเมิดไม่ได้, ล่วงเกินไม่ได้, See also: sacredness n., Syn. hallow |
sacrosanct | (แซค'โรแซงทฺ) adj. ศักดิ์สิทธิ์, ล่วงเกินไม่ได้, ล่วงละเมิดไม่ได้., See also: sacrosanctity n. sacrosanctness n. |
sin | (ซิน) n. บาป, อกุศล, ความชั่ว, ความชั่วร้าย vi. กระทำบาป, กระทำความชั่ว, ละเมิดต่อหลักการ. vt. กระทำผิด., See also: sinningly adv., Syn. trespass, wrongdoing, wickedness, err |
tort | (ทอร์ท) n. การละเมิด, การละเมิดสิทธิของคนอื่น } |
touch | (ทัชฺ) vt., vi., n. (การ) สัมผัส, แตะ, ต้อง, แตะต้อง, จับ, ถูก, ถู, ใช้, บริโภค, เกี่ยวข้อง, จัดการ, มีผล, บรรลุ, ถึง, ประทับใจ, ละเมิด, ล่วงเกิน, ทำให้เกิดเสียงเบา ๆ , ขอ, ขอยืม, -Phr. (touch down (เครื่องบิน) ลงแตะพื้นดิน) -Phr. (touch off ทำให้ติดไฟ, ทำให้ระเบิด) |
transgress | (เทรนซฺเกรส') vi., vt. ละเมิด, ฝ่าฝืน, กระทำผิด, รุกล้ำ, See also: transgression n. transgressive adj. transgressor n., Syn. sin, err |
trespass | (เทรส'เพิส) vi., n. (การ) บุกรุก, รุกล้ำ, ล่วงล่ำ, ละเมิด, ล่วงเกิน, See also: trespasser n., Syn. encroach, misbehave, obtrude |
violable | (ไว'อะละเบิล) adj. ฝ่าฝืนได้, ละเมิดได้, See also: violability n. violably adv. |
violate | (ไว'อะเลท) vt. ฝ่าฝืน, ละเมิด, รบกวน, ทำลาย, ประทุษร้าย, ข่มขืน (โดยเฉพาะกระทำชำเรา) , ทำให้เสื่อมเสีย., See also: violator n. violater n., Syn. shirk, break, profane, intefere |
violation | (ไวอะเล'เชิน) n. การฝ่าฝืน, การละเมิด, การรบกวน, การทำลาย, การประทุษร้าย, การข่มขืน, การกระทำชำเรา, การทำให้เสื่อมเสีย., See also: violative adj. -S .infringement |
violence | (ไว'อะเลินซฺ) n. ความรุนแรง, ความดุเดือด, การใช้กำลัง, ความพลการ, การทำลาย, การล่วงละเมิด, การสบประมาท, การทำให้บาดเจ็บ |
violent | (ไว'อะเลินทฺ) adj. รุนแรง, ดุเดือด, ใช้กำลัง, พลการ, ทำลาย, ล่วงละเมิด, สบประมาท, ซึ่งทำให้บาดเจ็บ., See also: violently adv. |
wrong | (รอง) adj., adv., n. (สิ่งที่) ผิด, ผิดพลาด, ไม่ถูกต้อง, ไม่เป็นความจริง, ไม่เหมาะสม, ไม่ปกติ, ประหลาด, ชอบกล, พิกล, ไม่สมควร, อยุติธรรม, ผิดศีลธรรม, เสีย, ไม่ยุติธรรม vt. กระทำผิด ใส่ร้าย ประทุษร้าย ละเมิด, See also: wronger n. wrongly adv. wrongness n. |
wrongdoer | (รอง'ดูเออะ) n. ผู้กระทำผิด, ผู้ละเมิดกฎหมาย, Syn. sinner, miscreant |
Nontri Dictionary
aggression | (n) การรุกราน, การบุกรุก, การก้าวร้าว, การล่วงละเมิด |
aggressive | (adj) รุกราน, ล่วงละเมิด, ก้าวร้าว, แข็งขัน |
contravention | (n) การละเมิด, การฝ่าฝืน, การต่อต้าน |
exceed | (vt) มากกว่า, ทำเกิน, เกินกว่า, เหนือกว่า, ดีกว่า, ละเมิด |
infraction | (n) การละเมิด, การฝ่าฝืน |
infrangible | (adj) ไม่แตก้, ฝ่าฝืนไม่ได้, ละเมิดไม่ได้ |
infringe | (vt) ฝ่าฝืน, ทำผิด, ละเมิด, ล่วงล้ำ |
infringement | (n) การฝ่าฝืน, การละเมิดการ, ล่วงล้ำ, การทำผิด |
injustice | (n) ความไม่เป็นธรรม, ความผิด, การล่วงละเมิด |
lapse | (n) การหมดอายุ, การพลั้งพลาด, การถลำตัว, การละเมิด |
offence | (n) การรุกราน, การละเมิด, การกระทำผิด |
offend | (vt) ทำให้ขุ่นเคือง, ทำให้ไม่พอใจ, รุกราน, ละเมิด, ทำผิด |
offender | (n) ผู้ละเมิด, ผู้รุกราน, ผู้กระทำผิด |
offensive | (n) การรุกราน, การบุกรุก, การล่วงละเมิด |
piracy | (n) การปล้นสะดมทางทะเล, การโจรกรรม, การละเมิดลิขสิทธิ์ |
pirate | (n) โจรสลัด, ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ |
piratical | (adj) ที่ลักลอบ, เถื่อนเป็นโจรสลัด, ที่ล่วงละเมิด |
sin | (vi) ประพฤติชั่ว, ทำบาป, ประทุษร้าย, นอกใจ, ละเมิด |
transgress | (vt) ละเมิด, ฝ่าฝืน, ล่วงล้ำ, กระทำผิด, รุกล้ำ |
transgression | (n) การละเมิด, การฝ่าฝืน, การล่วงล้ำ |
transgressor | (n) ผู้ละเมิด, ผู้รุกล้ำ, ผู้ฝ่าฝืน |
violate | (vt) หักล้าง, ละเมิด, ประทุษร้าย, ข่มขืน |
violation | (n) การใช้อำนาจ, การประทุษร้าย, การล่วงละเมิด |
violence | (n) ความรุนแรง, การล่วงละเมิด, การหักโหม |
violent | (adj) รุนแรง, หักโหม, ใช้กำลัง, ล่วงละเมิด |
wrong | (vt) กระทำผิดต่อ, ทำผิดพลาด, ละเมิด, ใส่ร้าย, ประทุษร้าย |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
brake an agreement | (vt) ละเมิดสัญญา |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
破る | [やぶる, yaburu] (n) การละเมิด(สัญญา) |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 1.3946 seconds
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม