162 ผลลัพธ์ สำหรับ *ถือเป็น*
ภาษา
หรือค้นหา: ถือเป็น, -ถือเป็น-NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ถือเป็น | (v) regard, Syn. นับว่าเป็น, Example: สิ่งที่เป็นอันดับถือเป็นมโนทัศน์หนึ่ง |
ถือเป็นอารมณ์ | (v) take offence, See also: worry, mind, care about, take to heart, Example: คำพูดของคนพรรค์นั้นอย่าถือเป็นอารมณ์เลย, Thai Definition: เก็บเรื่องเอามาครุ่นคิดให้อารมณ์เสีย |
ถือเป็นความลับ | (v) keep the secret, See also: take it as a secret, Syn. เก็บเป็นความลับ, ปิดเป็นความลับ, Example: การบอกต้นทุนที่แท้จริงของแต่ละบริษัทถือเป็นความลับทางธุรกิจ |
ถือเป็นเยี่ยงอย่าง | (v) take someone as a model, See also: take someone as an example, Syn. ถือเป็นแบบอย่าง, Example: คนที่ทำความดีควรถือเป็นเยี่ยงอย่างที่จะปฏิบัติตาม, Thai Definition: ให้ดูไว้เป็นตัวอย่าง |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กาแล็กซี | น. ระบบขนาดใหญ่ของดาวฤกษ์ ประกอบด้วยกลุ่มดาวฤกษ์ เนบิวลา และเทห์ฟากฟ้าอื่น ๆ กาแล็กซีมากกว่า ๑, ๐๐๐ ล้านกาแล็กซีรวมกันเป็นเอกภพ, ทางช้างเผือก ถือเป็นกาแล็กซีหนึ่ง. |
แขนง ๒ | ใช้ในการต่อของให้ราคาตํ่า ถือเป็นลางบอกว่าจะขายไม่ได้ราคาดีต่อไป. |
คนกลาง | น. ผู้ถือเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น, ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย, ผู้ทำการค้าระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค. |
ครุ ๒ | (คะรุ) ว. หนัก, ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย ั แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย ุ แทน. |
คลื่นใต้น้ำ ๑ | น. คลื่นในมหาสมุทรที่มีช่วงคลื่นยาวสมํ่าเสมอและยอดเรียบเคลื่อนตัวมาจากแหล่งกำเนิดที่อยู่ไกลมาก ชาวเรือถือเป็นสัญญาณบอกเหตุว่าจะเกิดพายุ. |
ค่านิยม | น. สิ่งที่บุคคลหรือสังคมยึดถือเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจ และกำหนดการกระทำของตนเอง. |
คู่โค | น. นาที่ต้องเสียค่านาตามหน้าโฉนดทุก ๆ ปี ผิดกับนาฟางลอย ซึ่งต้องเสียค่านาแต่เฉพาะในปีที่ปลูกข้าว. [ “ที่เรียกว่า นาคู่โค เพราะวิธีเก็บหางข้าวนาชนิดนี้นับจำนวนโค (กระบือ) ที่ใช้ทำนาในที่นั้น ๆ ด้วยถือเป็นยุติว่า โคคู่หนึ่งคงจะทำนาในที่เช่นนั้นได้ผลประมาณปีละเท่านั้น เอาเกณฑ์จำนวนโคขึ้นตั้งเป็นอัตราหางข้าวที่จะต้องเสีย เพราะฉะนั้น นาคู่โค ถึงจะทำหรือมิทำจึงต้องเสียหางข้าว” พงศ. ร. ๒ ]. |
ถือ | ยึดเอาว่า, นับเอาว่า, เช่น ถือเป็นญาติกัน ถือเราถือเขา ถือพวก ถือโทษ |
ทองเค | น. เรียกทองคำที่มีเกณฑ์สำหรับวัดความบริสุทธิ์เป็นกะรัต ว่า ทองเค, ทอง ๒๔ กะรัต ถือเป็นทองแท้ ถ้ามีกะรัตตํ่าลงมา ก็มีโลหะอื่นเจือมากขึ้นตามส่วน เช่น ทองคำ ๑๔ กะรัต หมายถึงมีเนื้อทอง ๑๔ ส่วน มีโลหะอื่นปน ๑๐ ส่วน, ทองนอก ก็เรียก. |
ทองดำ ๑ | น. ทองชนิดหนึ่ง โบราณเข้าใจกันว่ามีสีเนื้อดำ นับถือเป็นของวิเศษ. |
ทิฏฐานุคติ | น. แนวทางตามที่เห็นที่ยึดถือเป็นแบบอย่างได้. |
นโยบาย | น. หลักและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการ. |
เนื้อฆ้อง | น. ทำนองที่ฆ้องวงใหญ่บรรเลงโดยไม่พลิกแพลง ถือเป็นทำนองหลักของเพลงนั้น, เนื้อเพลง หรือ ลูกฆ้อง ก็เรียก. |
บรรทัดฐาน | น. แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ, ปทัสถาน หรือ ปทัฏฐาน ก็ว่า. |
แบบ | น. สิ่งที่กำหนดให้ถือเป็นหลักหรือเป็นแนวดำเนิน, ตัวอย่าง เช่น ลอกแบบ เลียนแบบ |
แบบฉบับ | น. หลักปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐาน, บุคคลหรือสิ่งที่ถือเป็นแบบได้. |
ใบประจำต่อ | น. กระดาษแผ่นหนึ่งที่ผนึกต่อเข้ากับตั๋วเงิน ในกรณีที่ไม่มีที่ในตั๋วเงินที่จะสลักหลังได้ต่อไป แต่การสลักหลังในใบประจำต่อครั้งแรกต้องเขียนคาบบนตั๋วเงินเดิมบ้างบนใบประจำต่อบ้าง ใบประจำต่อถือเป็นส่วนหนึ่งของตั๋วเงินนั้น. |
ปทัฏฐาน | น. แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ |
ปทัสถาน | น. แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ |
ประทักษิณ | น. การเวียนขวา โดยให้สิ่งที่เรานับถือหรือผู้ที่เรานับถือเป็นต้นอยู่ทางขวาของผู้เวียน. |
เป็นธุระ | ว. ถือเป็นเรื่องที่ตนควรทำให้, เอาเป็นธุระ ก็ว่า. |
แผน ๑ | น. สิ่งที่กำหนดถือเป็นแนวดำเนิน เช่น วางแผน, แบบ, ตำรา, เช่น แผนโบราณ แผนปัจจุบัน. |
พยานบอกเล่า | น. พยานบุคคลซึ่งให้การในเรื่องที่ตนมิได้เห็น ได้ยิน หรือรู้มาด้วยตนเอง แต่ได้ยินหรือได้ฟังจากผู้อื่น รวมตลอดถึงข้อความที่บันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุก็ถือเป็นพยานบอกเล่า. |
พรม ๑ | ไม้สำหรับยึดกันครากมีกรอบถือเป็นต้น. |
ภาษาแบบแผน | น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก. |
มหาอุปรากร, อุปรากร | น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากร ตัวละครทุกตัวจะร้องแทนพูด เนื้อเรื่องมีความจริงจังหนักหน่วง ถือเป็นละครชั้นสูงของชาวตะวันตก. |
มี | ก. ถือเป็นเจ้าของ, อยู่ในครอบครอง, เช่น มีเงิน มีลูก, ประกอบด้วย เช่น อริยสัจ ๔ มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค, ปรากฏ เช่น มีดาวหางขึ้นในท้องฟ้า, เกิด เช่น มีโรคระบาด, คงอยู่ เช่น มีคนอยู่ไหม. |
ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้เรื่องได้ราว | ว. ถือเป็นเรื่องเป็นราวไม่ได้, ถือเป็นสาระไม่ได้. |
ยกเมฆ | ก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนายว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่วด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติดอัมพร (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขาขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัวหรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควรยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อคอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา (ขุนช้างขุนแผน) |
ย่ะ | ว. คำรับ (ถือเป็นคำไม่สุภาพ). |
เยี่ยง, เยี่ยงอย่าง | น. อย่าง, แบบอย่าง, เช่น จงเอาเยี่ยงกา อย่าถือเป็นเยี่ยงอย่าง. |
ล้อเล่น | ก. แสดงกิริยาหรือวาจาเพื่อความสนุก เช่น พูดล้อเล่นอย่าถือเป็นจริงจัง, หลอกเล่น ก็ว่า. |
ละลาบละล้วง | ก. ล่วงเกิน, อาจเอื้อม, เช่น การถามเรื่องส่วนตัวถือเป็นการละลาบละล้วง. |
วงนอก | น. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรง เช่น ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกถือเป็นคนวงนอก, ตรงข้ามกับ วงใน. |
ว่าเข้านั่น | เป็นคำที่เปล่งออกมาในลักษณะที่แสดงว่าเรื่องที่อีกฝ่ายหนึ่งกล่าวนั้นไม่น่าเชื่อถือเป็นต้น. |
ศักดินา | น. อำนาจหรือสิทธิที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานให้แก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินตามศักดิ์ของแต่ละคน เดิมเป็นการถือครองที่ดินคิดเป็นจำนวนไร่ ต่อมาถือเป็นการกำหนดสถานะ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคนในสังคม เช่น มหาอุปราช มีศักดินา ๑๐๐๐๐๐ เจ้าพระยาจักรี มีศักดินา ๑๐๐๐๐ ภิกษุรู้ธรรม เสมอนา ๖๐๐ ไพร่มีครัว มีศักดินา ๒๐ ยาจก วณิพก ทาส ลูกทาส มีศักดินา ๕ (สามดวง) |
ศีลมหาสนิท | น. พิธีดื่มเหล้าองุ่นแดงและกินขนมปังที่เสกแล้ว ซึ่งถือเป็นเครื่องหมายแทนเลือดและเนื้อที่พระเยซูทรงเสียสละไถ่บาปให้มนุษย์และมีเลือดเนื้อเดียวกับพระองค์. |
สนาดก | (สะนา-) น. ผู้ได้รับนํ้าสรงในพิธีสนานหลังจากจบการศึกษาแล้ว ซึ่งตามคติชีวิตของชาวฮินดูถือเป็นการสิ้นสุดชีวิตขั้นที่ ๑ ในอาศรม ๔ คือ พรหมจารี และย่างเข้าขั้นที่ ๒ คือ คฤหัสถ์. |
หลักการ | น. สาระสำคัญที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ เช่น คณะกรรมการลงมติรับหลักการตามที่มีผู้เสนอ. |
อารมณ์ | น. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริงเป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย |
อุปสรรค | คำสำหรับใช้เติมข้างหน้าคำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมายแผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิมเป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตามปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง เช่น วัฒน์ = เจริญ อภิวัฒน์ = เจริญยิ่ง ปักษ์ = ฝ่าย ปฏิปักษ์ = ฝ่ายตรงข้าม, ข้าศึก, ศัตรู. |
เอา ๑ | ถือเป็นสำคัญ เช่น เจรจาเอาถ้อยคำ เอาพี่เอาน้อง |
เอาเป็นธุระ | ว. ถือเป็นเรื่องที่ตนควรทำให้, เป็นธุระ ก็ว่า. |
เอาเรื่อง | ก. ถือเป็นเรื่องเป็นราว เช่น เจ้าของเขาจะเอาเรื่อง. |
โอม | ข้างพระพุทธศาสนาเลียนเอามาใช้หมายถึง พระรัตนตรัย คือ อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า) อุ = อุตฺตมธมฺม (พระธรรมอันสูงสุด) ม = มหาสงฺฆ (พระสงฆ์) นับถือเป็นคำศักดิ์สิทธิ์, เป็นคำขึ้นต้นของการกล่าวมนตร์. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
precedent | กรณีเดิมที่อาจถือเป็นบรรทัดฐาน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
premium earned | เบี้ยประกันภัยที่ถือเป็นรายได้ มีความหมายเหมือนกับ earned premium [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legal fraud | การกระทำที่ถือเป็นการฉ้อฉล [ ดู constructive fraud ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
constructive fraud | การกระทำที่ถือเป็นการฉ้อฉล [ ดู legal fraud ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
gross earned premiums | เบี้ยประกันภัยที่ถือเป็นรายได้รวม [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
fraud, legal | การกระทำที่ถือเป็นการฉ้อฉล [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
earned premium | เบี้ยประกันภัยที่ถือเป็นรายได้ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
net earned premiums | เบี้ยประกันภัยที่ถือเป็นรายได้สุทธิ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
unearned premium | เบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
unearned premium insurance | การประกันภัยเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
unearned premium reserve | เงินสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
aide-mémoire | บันทึกช่วยจำ " 1. เป็นเอกสารที่สร้างข้อผูกพัน ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของสัญญา 2. ในทางการเมืองระหว่างประเทศ เป็นเอกสารที่ช่วยย้ำประเด็นที่ได้มาพบและพูดไว้ " [การทูต] |
Freedom of Communication | เสรีภาพในการติดต่อและสื่อสาร ถือเป็นสิทธิทางกฎหมาย (ไม่ใช่เพียงเอกสิทธิ์เท่านั้น) ที่สำคัญอันหนึ่งของนักการทูตย่อมจะเห็นได้ชัดว่า คณะทูต จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างพึงพอใจ นอกจากจะมีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการที่จะมีหนังสือหรือวิถีทางอื่นๆ เพื่อติดต่อกับรัฐบาลของตน หรือจะส่งและรับจดหมาย หรือหนังสือต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ถือสารพิเศษ หรือโดยถุงทางการทูต (Diplomatic pouch) สำหรับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ดังนี้?1. ให้รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางการทั้งมวลเพื่อการติดต่อกับรัฐบาล และกับคณะผู้แทนและสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่ง ไม่ว่าตั้งอยู่ ณ ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางที่เหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้ถือสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการ หมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงทางการทูต (Diplomatic Pouch) จะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูต จะต้องมีเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน สามารถแสดงลักษณะของถุงทางการทูต ซึ่งอาจบรรจุเพียงเอกสารหรือสิ่งของทางการทูตที่เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่า นั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการแสดงสถานภาพของตน และจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ส่วนบุคคลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ ในกรณีที่ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการแสดงจำนวนหีบห่อซึ่ง รวมเป็นถุง แต่ไม่ใช่ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรง และโดยเสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน? [การทูต] |
Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-China | การประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต] |
International Atomic Energy Agency | สำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Judicial Settlement | การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยศาลตุลาการ ก่อนที่จะเกิดองค์การสหประชาชาติ รัฐทั้งหลายที่มีกรณีพิพาทระหว่างประเทศจะฟ้องร้องต่อศาลระวห่างประเทศแห่ง หนึ่ง มีชื่อว่าศาลประจำยุติธรรมระหว่าประเทศ (Permanent Court of International Justice) ซึ่งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1920 ได้ประชุมกันเป็นครั้งแรก ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1922 หลังจากนั้นเป็นเวลา 23 ปี ผู้พิพากษาของศาลก็ได้ลาออกในปีค.ศ. 1946 และสันนิบาตชาติได้ยุบศาลนี้ในปีเดียวกันเมื่อมีการสถาปนาองค์การสหประชา ชาติขึ้น ได้มีการจัดตั้งศาลระหว่างประเทศขึ้นใหม่ เรียกว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ตามกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรนี้ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 92 ว่า ?ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจักเป็นองค์กรทางตุลาการอันสำคัญของสหประชาชาติ ศาลจักดำเนินหน้าที่ตามธรรมนูญผนวกท้าย ซึ่งยึดถือธรรมนูญของศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นมูลฐาน และซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับกฎบัตรฉบับปัจจุบัน?ศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศนี้ ประชุมกันเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1946 [การทูต] |
Memorandum of Understanding | บันทึกความเข้าใจ ในทางปฏิบัติระหว่างประเทศถือเป็นสนธิสัญญาชนิดหนึ่ง [การทูต] |
Open Diplomacy | คือการทูตแบบเปิดเผย อดีตประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นบุคคลที่สนับสนุนและเผยแพร่วิธีการทูตแบบเปิดเผยอย่างเต็มที่ หวังจะให้ชุมชนนานาชาติพร้อมใจกันสนับสนุนการทูตนี้เช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1918 วูดโรว์ วิลสัน ได้ประกาศให้โลกทราบนโยบายของท่าน 14 ข้อ ข้อหนึ่งในจำนวนนั้นท่านปรารถนาว่า ในอนาคตประเทศต่าง ๆ ควรจะทำความตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องสันติภาพอย่างเปิดเผย และต่อไปไม่ควรจะมีการเจรจาทำความตกลงระหว่างประเทศแบบลับเฉพาะอย่างใดทั้ง สิ้นแม้ว่าโดยทั่วไปจะเห็นพ้องด้วยกับนโยบายข้อแรกของ วูดโรว์ วิลสัน คือ ความตกลงหรือสนธิสัญญาใด ๆ เมื่อตกลงเสร็จสิ้นแล้ว ให้ประกาศเปิดเผยให้โลกทราบ แต่สำหรับข้องสองคือการเจรจาในระหว่างทำสนธิสัญญาให้กระทำกันอย่างเปิดเผย นั้น ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะเห็นว่าลำพังการเจรจานั้น โดยสารัตถะสำคัญแล้วควรจะถือเป็นความลับไว้ก่อนจนกว่าจะเสร็จการเจรจา ทั้งนี้ เซอร์เดวิด เคลลี่ อดีตนักการทูตอังกฤษเคยให้ทรรศนะว่า การทูตแบบเปิดเผยนั้นเป็นถ้อยคำที่ขัดกันในตัว คือหากกระทำกันอย่างเปิดเผยเสียแล้วก็ไม่ใช่การทูตเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาตรา 102 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติว่า ?1. สนธิสัญญาทุกฉบับ และความตกลงระหว่างประเทศทุกฉบับ ซึ่งสมาชิกใด ๆ แห่งสหประชาชาติได้เข้าเป็นภาคี ภายหลังที่กฎบัตรปัจจุบันได้ใช้บังคับ จักต้องจดทะเบียนไว้กับสำนักเลขาธิการโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจักได้พิมพ์ขึ้นโดยสำนักงานนี้ 2. ภาคีแห่งสนธิสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่าใด ซึ่งมิได้จดทะเบียนไว้ตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งข้อนี้ ไม่อาจยกเอาสนธิสัญญาหรือความตกลงนั้น ๆ ขึ้นกล่าวอ้างต่อองค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติ? [การทูต] |
Personal Inviolability of Diplomatic Agents | หมายถึง ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ กล่าวคือ มาตรา 29 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ว่า ?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทุตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ ให้รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางการทูต?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ นั้น ได้ถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ให้ผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิและความคุ้มกัน ทั้งมวล ถึงกับมีการพูดกันว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อตัวเอกอัครราชทูต จักถือว่าเป็นการทำร้ายต่อประมุขของประเทศซึ่งผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเป็น ตัวแทนอยู่ ทั้งยังถือว่าเป็นการยังผลร้ายต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชาติทั้ง มวลด้วยตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1964 ชายหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งมีจิตวิปลาส ได้ใช้มีดแทง นายเอ็ดวิน โอไรส์ชาวเออร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศญี่ปุ่น ในเขตนอกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโตเกียว รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทยญี่ปุ่นได้ลาออกจากตำแหน่งทันทีและรุ่งขึ้นใน วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1964 นายอิเคดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ได้ทำการขอโทษต่อประชาชนชาวอเมริกันทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการดำเนินการในทำนองนี้ และการที่นายกรัฐมนตรีอิเคดะได้ปฏิบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้นั้น มีความสำคัญมากเพียงใดตัวแทนทางการทูตจะถูกจับ ถูกฟ้องศาล หรือถูกลงโทษฐานประกอบอาชญากรรมนั้นไม่ได้ เพราะถือว่าผู้แทนทางการทูตมิได้อยู่ในอำนาจศาลของรัฐผู้รับ อย่างไรก็ดี หากผู้แทนทางการทูตกระทำความผิดอย่างโจ่งแจ้ง รัฐผู้รับอาจขอให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับไปยังประเทศของเขาได้ในทันที [การทูต] |
Placement | หมายถึง วิธีจัดที่นั่งโต๊ะในการเลี้ยงอาหารสำหรับนักการทูต โดยคำนึงถึงลำดับอาวุโส เพื่อป้องกันมิให้เกิดความรู้สึกขุ่นเคืองหรือหัวเสีย เรื่องการจัดที่นั่งในการเลี้ยงอาหารโดยคำนึงถึงลำดับอาวุโสนี้ นักการทูตส่วนใหญ่ไม่ว่าที่ไหน มักจะถือว่ามีความสำคัญไม่น้อย เพราะถือเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ ฝ่ายที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการจัดที่นั่งเช่นนี้ได้แก่ กรมพิธีการทูตของกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนลำดับของอาวุโสก็ถือตามวันเวลาที่นักการทูตแต่ละคนได้เข้าประจำตำแหน่ง ที่ในประเทศผู้รับ กล่าวคือ ผู้ที่เข้าประจำตำแหน่งก่อนก็คือผู้ทีมีอาวุโสกว่าผู้ที่มาประจำตำแหน่ง หน้าที่ทีหลัง [การทูต] |
Public Diplomacy | การทูตสาธารณะ หมายถึง การดำเนินการทางการทูตแบบหนึ่งเพื่อโน้มน้าวชักจูงให้สาธารณชนและกลุ่มเป้า หมายและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ในต่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจของรัฐให้มีความชื่นชมและเข้าใจ ถึงแนวทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศของประเทศใคประเทศหนึ่ง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระดับประชาชนให้มีความใกล้ชิดแน่นแฟ้น และประสบผลสำเร็จอน่างแนบเนียน โดยจะมี ความแตกต่างจากการดำเนินการทางการทูตแบบดั้งเดิม ที่เน้นการสื่อสารระหว่างรัฐต่อรัฐ(Government to Government)แต่การทูตสาธารณะจะเน้นวิธีการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชน( Government to People) ภาคเอกชน ประชาสังคม หรือสื่อมวลชนในต่างประเทศหรือระหว่าประชาชนด้วยกันเอง อนึ่ง การทูตวัฒนธรรม (Cultural Diplomacy) ที่ใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อเชื่อมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนนั้น ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งของการดำเนินการทางการทูตสู่สาธารณชนนี้ [การทูต] |
Responsibility to protect | หลักการความรับผิดชอบในการคุ้มครอง เป็นหลักการที่ได้รับการรับรองในการประชุมระดับผู้นำ เพื่อทบทวนผลของปฏิญญาสหัสวรรษ(High Level Panel Meeting - HLPM) เมื่อวันที่ 14-16 กันยายน พ.ศ. 2548 ณ นครนิวยอร์ก ที่เกี่ยวข้องกับการแทรกแซงทางมนุษยธรรม ( humanitarian interference/intervention of humanity)เพื่อคุ้มครองประชาชนจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การฆ่าล้างชนชาติ โดยจะถือเป็นความรับผิดชอบและที่จะต้องดำเนินการร่วมกันโดยประชาคมระหว่าง ประเทศ อย่างไรก็ตาม หลักการเรื่องนี้มีนัยเกี่ยวข้องกับกฏหมายระหว่างประเทศ อธิปไตย ของรัฐ ความอ่อนไหวทางการเมือง และความชอบธรรมในการปฏิบัติ จึงยังไม่มีการนิยามแนวความคิด R2P รวมถึงขอบเขตของ R2P ที่ชัดเจน [การทูต] |
Secretariat of the United Nations | คือสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสมัชชาตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ตามที่องค์การต้องการหน้าที่สำคัญของเลขาธิการสหประชา ชาติ คือ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การ นำเรื่องใดก็ตามเสนอต่อคณะมนตรีความมั่นคง ซี่งตามทรรศนะของเลขาธิการเห็นว่าเป็นภัยคุกคามสันติภาพและความมั่นคง ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ทำรายงานประจำปี และรายงานเพิ่มเติมใด ๆ ที่จำเป็นเสนอต่อสมัชชาสหประชาชาติ เกี่ยวกับงานขององค์การ สหประชาชาติคณะเจ้าหน้าที่ที่ทำงานช่วยเหลือเลขาธิการนั้น ถือเป็นเจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศ ประกอบด้วยชนชาติต่าง ๆ ในการเกณฑ์เจ้าหน้าที่เหล่านี้เข้าทำงานกับสหประชาชาติ จะคัดแต่ผู้ที่มีประสิทธิภาพ ความสามารถ และความซื่อสัตย์ในระดับสูงสุด และคำนึงถึงเขตภูมิศาสตร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการทำงานตามหน้าที่ ทั้งตัวเลขาธิการและคณะเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมงาน จะต้องไม่แสวงหรือรับคำสั่งจากรัฐบาลใด ๆ หรือจากผู้มีอำนาจหน้าที่อื่นใดที่อยู่นอกเหนือองค์การสหประชาชาติ ขณะเดียวกัน สมาชิกของสหประชาชาติได้ตกลงยอมรับนับถือความรับผิดชอบที่มีลักษณะระหว่าง ประเทศของสำนักเลขาธิการ และจักไม่แสวงใช้อิทธิพลใด ๆ ต่อสำนักเลขาธิการ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบเหล่านั้น [การทูต] |
Contraception, Ideal | การปฏิสนธิแบบที่ถือเป็นอุดมคติ [การแพทย์] |
การปรับตัว | การปรับตัว, การกระทำหรือจัดการให้สามารถอยู่ในสมดุลย์ตนเอง หรือคงอยู่ในสังคมรอบข้าง หรืออยู่รอดในสภาวะแวดล้อม หรืออยู่ร่วมกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง ถือเป็นความเป็นจริงของชีวิต ไม่ว่าทั้งสี่สิ่งจะมีสถานการณ์ที่ปรารถนาหรือทำให้ลำบากใจ อันเป็นไปเพื่อสนองตอบความต้อง [สุขภาพจิต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
ถือเป็น | [theū pen] (v, exp) EN: be treated as FR: considérer comme |
ถือเป็นอารมณ์ | [theū pen ārom] (v, exp) EN: take to heart |
ถือเป็นความลับ | [theū pen khwāmlap] (v, exp) EN: be treated as confidential ; be treated as secret ; keep secret FR: garder secret |
ถือเป็นเยี่ยงอย่าง | [theū pen yīengyāng] (v, exp) EN: treat as a good example ; take as a role model ; emulate |
Longdo Approved EN-TH
mark | (vt) นับเป็น, ถือเป็นโอกาสหรือวาระของเหตุการณ์ที่คิดว่าสำคัญ เช่น Angola's Leila Lopes has become the new Miss Universe, edging out beauties from Ukraine, Brazil, the Philippines and China as the pageant marked its 60th anniversary." นางสาว Leila Lopes จากประเทศอังโกลา เฉือนชนะสาวงามจากยูเครน, บราซิล, ฟิลิปปินส์ และจีน ได้เป็นนางงามจักรวาลคนล่าสุด ในการประกวดนางงามจักรวาลซึ่งครบรอบปีที่ 60 แล้ว |
pandemic | (n) โรคระบาด ที่มีการระบาดกระจายไปในพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น ทั่วประเทศ หลายประเทศในภูมิภาค หรือ กระจายไปทั่วโลก ถือเป็นระดับสูงสุดของการระบาด ที่เริ่มจาก endemic (โรคระบาดประจำถิ่น), outbreak (โรคระบาดประจำถิ่นที่มีการเพิ่มของผู้ป่วยผิดปกติ หรือ โรคใหม่ที่เริ่มการระบาด, epidemic (เริ่มแพร่ระบาดไปในวงกว้าง) และ pandemic (โรคระบาดไปทั่วทั้งประเทศ หรือ หลายพื้นที่ในโลก) |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
count in | (phrv) นับรวมเป็น, See also: ถือเป็นส่วนหนึ่งของ, Syn. reckon in, Ant. count out |
jihad | (n) สงครามศักดิ์สิทธิ์, See also: สงครามศาสนาที่ถือเป็นหน้าที่ของชาวมุสลิม |
model | (adj) น่าถือเป็นแบบอย่าง, See also: น่าเอาอย่าง, ควรถือเป็นเยี่ยงอย่าง, Syn. prototypal, standard, Ant. nonstandard |
pet | (adj) ที่เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยง, See also: ถือเป็นสัตว์เลี้ยง |
Ramadan | (n) เดือนถือศีลอดของชาวมุสลิม, See also: เดือนเก้าในปฏิทินอิสลามซึ่งถือเป็นฤดูถือศีลอด |
voidance | (n) การถือเป็นโมฆะ, See also: การไม่มีผลทางกฎหมาย, การเพิกถอน |
Hope Dictionary
autoexec.bat | ชื่อแฟ้มคำสั่งรวม <คำแปล>เป็นชื่อของแฟ้มเก็บคำสั่งรวม (batch file) แฟ้มหนึ่ง ถือเป็นแฟ้มพิเศษ เพราะคอมพิวเตอร์จะทำตามคำสั่งในแฟ้มที่ชื่อนี้ทันทีที่เปิดเครื่อง โดยมาก จะเขียนขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เรียกโปรแกรมต่าง ๆ มาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องเสียเวลาหาว่า โปรแกรมที่ต้องการอยู่ในสารบบ (directory) ใด ใช้คำสั่งเข้าไปในสารบบนั้น แล้วจึงตามด้วยชื่อแฟ้มที่เป็นโปรแกรม แต่ผู้ใช้สามารถพิมพ์ชื่อโปรแกรมได้เลย ตัวอย่างแฟ้ม autoexec.bat ที่นำเข้าสู่ โปรแกรม FoxPro โดยผ่านโปรแกรม VTHAI อาจมีข้อความดังนี้ echo off cls cd FOXPRO25 VTHAI/U CD\ AUX : axis : |
carriage return | ปัดแคร่แป้นปัดแคร่ใช้ตัวย่อว่า CR ในทางคอมพิวเตอร์ ถือเป็นตัวอักขระตัวหนึ่งที่มองไม่เห็น ใช้เมื่อสิ้นสุดการพิมพ์แต่ละบรรทัด และทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) ลงไปอยู่เป็นตำแหน่งแรกของบรรทัดถัดลงมา โดยปกติ จะกำหนดให้กดแป้น <RETURN> หรือ <ENTER> |
clock ticks | สัญญาณนาฬิกาหมายถึง จังหวะช่วงเวลาที่นาฬิกาเดิน (ติ๊ก) ซึ่งจะเป็นช่วงที่แน่นอนสม่ำเสมอ ในแต่ละช่วงเดินของนาฬิกาที่เรียกว่า "ติ๊ก" นั้น คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่ง และจะหยุดทำงานในช่วงว่างระหว่างติ๊ก ยิ่งช่วงติ๊กนี้ถี่เท่าใด ก็ยิ่งแปลว่าคอมพิวเตอร์ทำงานเร็วเท่านั้น สัญญาณนาฬิกานี้ จึงถือเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเร็วของการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความ เร็วของการเดินของนาฬิกา หรือความถี่นี้วัดกันเป็นเมกะเฮิรตช์ (megahertz) 1 เมกะเฮิรตซ์ จะเท่ากับ 1 ล้านติ๊กของนาฬิกาต่อ 1 วินาที คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซีในยุคปัจจุบันนั้นมีหน่วยความจำที่ทำงานด้วยความเร็ว ถึงประมาณ 33-66 เมกะเฮิร์ตซ์ |
commensurable | (คะเมน'เซอะระเบิล, -เชอระเบิล) adj. ซึ่งพอจะวัดกันได้, เหมาะสม, ซึ่งพอจะถือเป็นเกณฑ์เดียวกันได้, See also: commensurability n. ดูcommensurable |
cow | (คาว) n. วัวตัวเมีย, แม่วัว, สัตว์ตัวเมียจำพวก Bos, สัตว์ตัวเมียขนาดใหญ่ (เช่นช้าง ปลาวาฬ แรด แม่น้ำ) , หญิงอ้วนพุงพลุ้ย -Phr. (a sacred cow วัวในอินเดีย (ถือเป็นสัตว์ที่ศักดิ์สิทธิ์) , บุคคลที่ศักดิ์สิทธิ์ที่หาอาจล่วงละเมิดได้.) -Phr. (till the cows come home นาน |
handheld | ขนาดมือถือเป็นคำบอกขนาดของไมโครคอมพิวเตอร์ที่เล็กกว่าขนาดวางตัก (laptop) และขนาดโน้ตบุ๊ก (notebook) มีลักษณะคล้ายเครื่องคิดเลขที่มีหน่วยความจำ มีสูตรคณิตศาสตร์ต่าง ๆ เก็บไว้ |
image processing | การประมวลผลภาพเป็นเทคนิคในการประมวลผลที่มีข้อมูลเป็นภาพ คอมพิวเตอร์จะอ่านภาพที่ถูกส่งเข้าไป แล้วแปลงเป็นตัวเลข เราสามารถดัดแปลง แก้ไข ปรับขยาย หมุน ฯ เพื่อการวิเคราะห์บางอย่างได้ ปัจจุบัน ถือเป็นสาขาหนึ่งของคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนาไปไกลมากจนเป็นที่ยอมรับ และมีผู้สนใจมาก การมีภาพประกอบในเอกสารต่าง ๆ หรือในการแสดงผลงาน จะช่วยทำให้งานนั้นน่าสนใจขึ้น |
light 2 | (ไลทฺ) adj. เบา, ไม่หนัก, ขนาดเบา, เบาแรง, บอบบาง, เล็กน้อย, นิดหน่อย, ว่องไว, คล่องแคล่ว, จาง, ง่าย, จัดการได้ง่าย, ไม่ลำบาก, เล่น ๆ , ร่าเริง, เหลาะแหละ, ปล่อยตัว -Phr. (make light of ไม่ต้องเอาจริงเอาจังถือเป็นเรื่องเล็ก) . adv. อย่างเบาไม่มาก |
lout | (เลาทฺ) { louted, louting, loutsว n. คนที่โง่ งุ่มง่ามและมีมารยาทเลว vt. ดุว่า, ด่า, ยั่วเย้า, ถือเป็นตัวตลก vi. แสดงคารวะ, น้อมศีรษะให้, คำนับ, Syn. oaf |
magnetic core | วงแหวนแม่เหล็กมีลักษณะเป็นรูปวงแหวนทำด้วยเหล็ก เหล็กออกไซด์หรือเฟอไรต์ มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กเมื่อมีกระแสไฟผ่าน ใช้ประโยชน์ในการเก็บบันทึกข้อมูล แต่เดิมมาแกนแม่เหล็กนี้เป็นส่วนเล็ก ๆ อยู่ในหน่วยความจำ ซึ่งถือเป็นหน่วยสมองหลัก ใช้เป็นที่ประมวลผล เรียกว่า magnetic core memory หรือ หน่วยความจำวงแหวนแม่เหล็ก ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว หันมาใช้สารกึ่งตัวนำชนิดอื่นแทน |
newline character | ขึ้นบรรทัดใหม่หมายถึง แป้น <RETURN> ซึ่งถือเป็นตัวอักขระตัวหนึ่งที่ทำให้มีการขึ้นบรรทัดใหม่ ถ้าลบ (delete) อักขระตัวนี้ บรรทัดล่างจะขึ้นไปต่อกับบรรทัดบน |
pet | (เพท) n. สัตว์เลี้ยง, สัตว์ที่เลี้ยงไว้ดูเล่น, บุคคลหรือสิ่งอันเป็นที่รัก. adj. เป็นสัตว์เลี้ยงเป็นที่รัก, ซึ่งแสดงความรัก. vt. ถือเป็นสัตว์เลี้ยง, เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยง, คลำ, ลูบ, ลูบคลำ, รัก, ทะนุถนอม, กอด. vi. ลูบคลำและกอด, See also: pettable, adj. |
profess | (โพรเฟส') vt. ยอมรับ, แสดงตัว, อ้างตัว, นับถือ (ศาสนา) , ปฏิญาณตัว, ประกาศ, เป็นศาสตราจารย์, ถือเป็นอาชีพ, ดำเนินอาชีพ, อ้างความชำนาญ. vi. ยอมรับ, ปฏิญาณตัว, See also: professed adj. professedly adv., Syn. proclaim |
she | (ชี) pron. หล่อน, เธอ, ตัวเมีย (ใช้นำชื่อสัตว์) , มัน (ใช้เป็นสรรพนามของเรือ, รัฐ, โลก, ดวงดาวเป็นต้น) .n. ผู้หญิง, สตรี, ตัวเมีย, เพศหญิง, สิ่งที่ถือเป็นเพศหญิง |
silicon | (ซิล'ละคอน) n. ธาตุอโลหะชนิดหนึ่ง, หมายถึง สารชนิดหนึ่ง (มีลักษณะเหมือนทรายที่ใช้ทำแก้ว) ใช้ทำวงจรรวมหรือชิป (chip) ถือเป็นสารกึ่งตัวนำ (semiconductor) ที่ดีมากตัวหนึ่ง นิยมใช้อยู่ในปัจจุบันดู semiconductor ประกอบ |
smalltalk | สมอลล์ทอล์คหมายถึง ภาษาเชิงวัตถุในสมัยแรก ๆ เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นภาษาแรก ๆ กันเลยทีเดียว ภาษานี้สร้างกันขึ้นมาจากศูนย์วิจัยซีรอกซ์ พาโล อัลโต (Xerox Palo Alto Research Center) ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ระบบ GUI (Graphical User Interface) หรือระบบที่ใช้ภาพเป็นตัวประสานกับผู้ใช้ ที่พัฒนามาเป็นระบบวินโดว์ในปัจจุบัน ดู GUI ประกอบ |
telophase | เป็นระยที่ห้าซึ่งถือเป็นระยะสุดท้าย เมื่อโครโมโซม 2 กลุมที่แยกออกจากกันนั้นหยุดเคลื่อนที่ไซโตปลาสซึมจะคอดเข้าแล้วแบ่งเป็นสองส่วนเรียกว่า cytokinesis ทำให้เกิดเซลล์ใหม่ขึ้น 2 เซลล์เกิด nuclei อันใหม่ |
traceable | (เทรส'ซะเบิล) adj. ตามรอยได้, ติดตามได้, สืบเสาะได้, ถือเป็นสาเหตุได้., See also: traceability n. traceableness n. traceably adv |
warm boot | หมายถึง การสั่งให้เครื่องเริ่มปฏิบัติการใหม่โดยที่ไม่ปิดสวิตช์ดับไฟที่เครื่องก่อน ในระบบดอส มีวิธีทำ คือ กดแป้น CTRL+ALT+DEL พร้อมกันทั้ง 3 แป้น วิธีการทำเช่นนี้ มักจะใช้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดบางประการ จนทำให้เครื่องค้างหรือหยุดการปฏิบัติงานไปเลย (hang) จึงต้องเริ่มเครื่องใหม่ การกดแป้นสามแป้นนี้ จะสามารถเริ่มต้นเครื่องใหม่ได้เร็วกว่าการปิดสวิตช์แล้วเปิดใหม่ ซึ่งเรียกว่า "cold boot " หรือ "cold start " ปัจจุบันเครื่องรุ่นใหม่ ๆ จะมีปุ่ม Reset ไว้ให้ด้วย จะกดที่ปุ่มนี้ก็ได้ ถือเป็นการ "warm boot" เช่นเดียวกัน มีความหมายเหมือน warm startดู cold boot เปรียบเทียบ |
windows new technology | ใช้ตัวย่อว่า Windows NT (อ่านว่า วินโดว์สเอ็นที) เป็นชื่อระบบปฏิบัติการ (operating system) ที่บริษัทไมโครซอฟต์พัฒนาต่อจากระบบวินโดว์ เพื่อให้สามารถใช้กับเครือข่ายได้ ใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ 32 บิต ถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญของระบบยูนิกซ์ (UNIX) และ โอเอส/ทู (OS/2) |
windows nt | วินโดว์เอ็นทีย่อมาจาก windows new technology เป็นชื่อระบบปฏิบัติการ (operating system) ที่บริษัทไมโครซอฟต์พัฒนาต่อจากระบบวินโดว์ เพื่อให้สามารถใช้กับเครือข่ายได้ ใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ 32 บิต ถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญของระบบยูนิกซ์ (UNIX) และ โอเอส/ทู (OS/2) |
Nontri Dictionary
deify | (vt) ถือเป็นพระเจ้า, ยกให้เป็นพระเจ้า |
fraternize | (vi) คบหาฉันพี่น้อง, สนิทสนม, ถือเป็นพี่น้อง, สัมพันธ์ฉันพี่น้อง |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
father's day | [ฟาเธอร์ส เดย์] (n) วันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมหาราช รัชกาลที่ 9 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ถือเป็นวันพ่อแห่งชาติด้วย, See also: A. Mother's Day, HM the Queen Sirikit's Birthday, Syn. HM the King Bhumipol's Birthday |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.9448 seconds
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม