211 ผลลัพธ์ สำหรับ * แสง*
ภาษา
หรือค้นหา: แสง, - แสง-พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กร ๓ | (กอน) น. แสง, ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่น รัชนีกร นิศากร. |
กระแสง ๒ | น. แสง, รัศมี |
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า | น. คลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของสนามแม่เหล็กและไฟฟ้าที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ได้แก่ คลื่นวิทยุ อินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ อัลตราไวโอเลต เอกซเรย์ รังสีแกมมา และ รังสีคอสมิก. |
จ้า | ว. จัด, ยิ่ง, แรง, (ใช้แก่สี แสง หรือเสียง) เช่น สีจ้า แสงจ้า. |
ฉาน ๓ | ว. มีแสงกล้า, มีแสงพุ่งออกไป, สว่าง, กระจ่างแจ้ง, จ้า, เช่น แสงฉาน ปัญญาแตกฉาน |
ชอนตา | ก. พุ่งแยงไปยังนัยน์ตา (ใช้แก่แสงอย่างแสงแดดแสงไฟ) เช่น แสงตะวันชอนตา. |
ชาลา ๑ | น. ความรุ่งเรือง, เปลวไฟ, โคมไฟ, แสงสว่าง. |
แดด | น. แสงอาทิตย์ เช่น แดดอ่อน, แสงอาทิตย์ที่สว่างและร้อน เช่น ทำงานกลางแดดทั้งวันจนตัวดำ. |
เต้า ๒ | น. นม เช่น แสงสอดลอดในพระไทรพราย เดือนบ่ายต้องเต้าเจ้าวันทอง (ขุนช้างขุนแผน), บัวตูมติดขั้วบังใบ บังใบท้าวไท ว่าเต้าสุดาดวงมาลย์ (อนิรุทธ์) |
ทอง ๑ | เรียกสิ่งที่ทำด้วยทองเหลือง ว่า ทอง ก็มี เช่น กระทะทอง หม้อทอง, โดยปริยายหมายถึงสีเหลือง ๆ อย่างสีทอง เช่น เนื้อทอง ผมทอง แสงทอง, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ขนมทอง คือขนมชนิดหนึ่ง รูปวงกลม มีนํ้าตาลหยอดข้างบน, ปลาทอง คือปลาชนิดหนึ่ง ตัวสีเหลืองหรือแดงส้ม. |
ทางช้างเผือก | น. แสงกลุ่มดาวซึ่งแผ่เห็นสว่างเป็นพืดในท้องฟ้า. |
ทีป ๑, ทีปะ ๑ | (ทีบ, ทีปะ) น. แสงไฟ. |
ธุมเพลิง | (ทุมเพฺลิง) น. แสงสว่างเป็นลำยาวสีแดง เกิดในท้องฟ้าเวลากลางคืน ถือว่าเป็นอุบาทว์. |
น้ำไว | น. แสงของเพชรหรือพลอยที่สะท้อนออกมาเมื่อเวลาถูกแสงไฟหรือแสงอาทิตย์. |
นิภา | น. แสง, แสงสว่าง. (ป., ส.). |
ประกาย | น. แสงที่เห็นกระเด็นกระจายออกจากวัตถุที่ลุกเป็นไฟ เช่น ประกายลูกไฟ, แสงที่เห็นกระเด็นกระจายออกจากของแข็งบางอย่างที่กระทบกันอย่างแรง เช่น ดาบกระทบกันเป็นประกาย ตีเหล็กไฟเป็นประกาย, ความแวววาวที่เหลี่ยมเพชรเป็นต้นกระทบแสง, แสงแปลบปลาบอย่างแสงฟ้าแลบ, โดยปริยายหมายถึง แสงที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตาเป็นประกาย, แสงสะท้อนจากสิ่งที่เป็นมันเป็นเงา เช่น ประกายแสงจากกระเบื้องหลังคาโบสถ์. |
ประภา | น. แสง, แสงสว่าง, แสงไฟ. |
ประภาส | น. แสงสว่าง. |
ประฮาม | น. แสงเงินแสงทอง, รุ่งสว่าง. |
ผีตากผ้าอ้อม | น. แสงแดดที่สะท้อนกลับมาสว่างในเวลาจวนพลบในบางคราว. |
พยับแดด | น. เงาแดด, แสงแดดกล้าที่ปรากฏในระยะไกลเป็นระยิบระยับลวงตา ทำให้เห็นเป็นนํ้าเป็นต้น. |
พร่างพราว | (-พฺราว) ว. มีแสงประกายแวววาวระยิบระยับ เช่น แสงพร่างพราว. |
พรายทะเล | น. แสงสว่างที่เป็นแสงเรือง ๆ อยู่ที่เสากระโดงเรือ. |
พรายน้ำ | น. แสงเรืองในที่มืด ปรากฏที่ตัวเลขหน้าปัดนาฬิกาหรือที่สวิตช์ไฟฟ้าบางชนิด เกิดขึ้นได้เพราะสิ่งเหล่านั้นฉาบหรือผสมด้วยสารเคมีที่มีสมบัติเปล่งแสงเรืองออกมาได้หลังจากที่ถูกแสงสว่างอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง สารเคมีประเภทนี้ เช่น แคลเซียมซัลไฟด์ (CaS) แบเรียมซัลไฟด์ (BaS) ที่มีโลหะบางชนิดเจือปน. |
พรายแพรว | (-แพฺรว) ว. เลื่อม, แวววาว, วับ ๆ วาบ ๆ, พราย ๆ, พราว, เช่น แสงเพชรมีประกายพรายแพรว, แพรวพราย แพรวพราว หรือ พราวแพรว ก็ว่า. |
พราวแพรว | (-แพฺรว) ว. เลื่อม, แวววาว, วับ ๆ วาบ ๆ, พราย ๆ, พราว, เช่น แสงเพชรมีประกายพราวแพรว, แพรวพราว แพรวพราย หรือ พรายแพรว ก็ว่า. |
พวยพุ่ง | ว. ช่วงโชติ, พุ่งเป็นลำออกไปโดยเร็ว เช่น แสงพวยพุ่ง รัศมีพวยพุ่ง. |
พุ่ง | ก. ทำให้เคลื่อนตรงไปโดยแรงและเร็ว เช่น พุ่งตัว พุ่งหอก พุ่งกระสวย, มุ่งตรงไป เช่น พุ่งความสนใจ, อาการที่น้ำหรือไฟพวยพุ่งออกไป เช่น น้ำพุ่ง แสงไฟฉายพุ่งเป็นลำออกไป. |
แพรวพราย, แพรวพราว | ว. เลื่อม, แวววาว, วับ ๆ วาบ ๆ, พราย ๆ, พราว, เช่น แสงเพชรมีประกายแพรวพราย, พรายแพรว หรือ พราวแพรว ก็ว่า. |
ฟ้าแลบ | น. แสงที่เกิดวาบขึ้นในท้องฟ้าลักษณะเป็นเส้นหรือแผ่น เกิดขึ้นเนื่องจากอิเล็กตรอนจำนวนมากเคลื่อนที่ผ่านอากาศเป็นเหตุให้เกิดความร้อนสูงมากจนปรากฏเป็นแสงสว่างวาบขึ้น. |
ไฟ | ผลจากปฏิกิริยาเคมีซึ่งก่อให้เกิดความร้อน แสงสว่าง และเปลว คือ กลุ่มแก๊สที่กำลังลุกไหม้ ทำให้ไหม้สิ่งต่าง ๆ ได้ |
ไฟฟ้า | น. พลังงานรูปหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการแยกตัวออกมา หรือการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือโปรตอนหรืออนุภาคอื่นที่มีสมบัติแสดงอำนาจคล้ายคลึงกับอิเล็กตรอนหรือโปรตอน ใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดพลังงานอื่น เช่น ความร้อน แสงสว่าง การเคลื่อนที่. |
ภัสสร | (พัดสอน) น. แสงสว่าง, รัศมี. |
ภา | น. แสงสว่าง, รัศมี. |
ภาณุ | น. แสงสว่าง |
ภาส, ภาส- | (พาด, พาดสะ-, พาสะ-) น. แสง, สว่าง, แจ้ง. |
มรีจิ | น. พยับแดด, แสงแดด. |
มัว, มัว ๆ | ว. ไม่แจ่ม เช่น พระจันทร์มัว, ไม่กระจ่าง เช่น ข้อความมัว, ฝ้า เช่น กระจกมัว, ฟาง เช่น นัยน์ตามัว, ขมุกขมัว เช่น มืดมัว, ไม่มืดไม่สว่าง เช่น แสงมัว ๆ, หม่น เช่น สีมัว ๆ, ขุ่น, ไม่ผ่อง, เช่น ใจมัว |
มาภา | น. แสงจันทร์ เช่น มาพ่างมาภาเป็น ปิ่นแก้ว (ยวนพ่าย). |
แยงตา | ก. อาการที่แสงส่องสวนตรงมายังนัยน์ตา เช่น แสงอาทิตย์แยงตา. |
รอน ๆ | ว. อ่อนแสง (ใช้แก่พระอาทิตย์เวลาใกล้คํ่า) เช่น แสงตะวันรอน ๆ, อาการที่ใกล้จะขาดหรือสิ้นสุดลง ในความว่า ใจจะขาดอยู่รอน ๆ. |
ระยาบ | ว. แสงวาบ ๆ, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ระยับ เป็น ระยาบระยับ. |
ระยิบระยับ | ว. ยิบ ๆ ยับ ๆ เช่น แสงดาวระยิบระยับ. |
รังสิ, รังสี | น. แสง, แสงสว่าง. |
รังสีเหนือม่วง | น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วงคลื่นประมาณระหว่าง ๔ x ๑๐–๗ เมตร กับ ๕ x ๑๐–๙ เมตร แสงแดดมีรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งจะมีปฏิกิริยาต่อสาร ๗–ดีไฮโดรคอเลสเทอรอล (7–dehydrocholesterol) ในผิวหนังมนุษย์ ให้กลายเป็นวิตามินดี, อัลตราไวโอเลต ก็เรียก. |
รัศมี | น. แสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลาง, แสงสว่าง |
รำไร | ว. เล็กน้อย เช่น แสงสว่างรำไร แสงแดดรำไร |
ริบรี่, ริบหรี่ | ว. เกือบดับ, สว่างน้อย ๆ, เช่น แสงริบหรี่. |
รุ่งโรจน์ | ว. กระจ่างแจ้ง, โชติช่วง, เช่น แสงไฟรุ่งโรจน์, เจริญรุ่งเรือง เช่น ชีวิตรุ่งโรจน์. |
รุ้ง ๑ | น. แสงที่ปรากฏบนท้องฟ้าเป็นแถบโค้งสีต่าง ๆ ๗ สี คือ ม่วง คราม นํ้าเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง, สีเช่นนั้นที่ปรากฏในเพชร. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
birefringence | ๑. แสงหักเหสองแนว๒. ค่าแสงหักเหสองแนว [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Spontaneous mutations | การกลายพันธุ์เกิดเอง, การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) ของเซลล์สิ่งมีชีวิต ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น แสงแดด อุณหภูมิ หรือเกิดจากความผิดพลาดในกระบวนการสร้างและซ่อมแซมดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตนั้น [นิวเคลียร์] |
radiation | รังสี, การแผ่รังสี, พลังงานที่แผ่จากต้นกำเนิดรังสีผ่านอากาศหรือสสาร ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น ความร้อน แสงสว่าง คลื่นวิทยุ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา หรือเป็นกระแสของอนุภาคที่เคลื่อนที่เร็ว เช่น รังสีคอสมิก รังสีแอลฟา รังสีบีตา อนุภาคนิวตรอน อนุภาคโปรตอน [นิวเคลียร์] |
พลังงานหมุนเวียน | พลังงานหมุนเวียน, หมายความรวมถึง พลังงานที่ได้จากไม้ ฟืน แกลบ กากอ้อย ชีวมวล น้ำ แสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ ลม และคลื่น เป็นต้น [พลังงาน] |
alternative energy | พลังงานทดแทน, พลังงานทดแทน พลังงานที่สามารถทดแทนแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ไม้ ฟืน แกลบ กากอ้อย ชีวมวล เอทานอล ไบโอดีเซล น้ำ แสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ ลมและคลื่น [ปิโตรเลี่ยม] |
renewable energy | พลังงานหมุนเวียน, พลังงานหมุนเวียน พลังงานที่ใช้แล้วสามารถผลิตขึ้นมาใหม่ได้ในระยะเวลาที่ไม่นานมาก เช่น พลังงานทีได้จากไม้ ฟืน แกลบ กากอ้อย เอทานอล ไบโอดีเซล น้ำ แสง อาทิตย์ ความร้อนใต้พิภาพ ลมและคลื่น [ปิโตรเลี่ยม] |
Antidegradant | สารเคมีที่เติมลงไปในยางเพื่อลดอัตราเร็วในการเสื่อมสภาพของยางอัน เนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ออกซิเจน ความร้อน แสงแดด และโอโซน เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Butyl Rubber or Isobutylene Isoprene Rubber: IIR | ยาง IIR เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากโคโพลิเมอร์ระหว่าง isobutylene กับ isoprene มีสมบัติทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องจากสารเคมี ความร้อน แสงแดด ได้เป็นอย่างดี มีค่าการกระเด้งกระดอนต่ำที่อุณหภูมิห้อง นอกจากนี้ยางชนิดนี้ยังมีสมบัติเด่น คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำมาก ดังนั้นจึงนิยมใช้ในการผลิตยางในรถยนต์ หรือเคลือบผนังด้านในของยางเรเดียล ใช้ทำถุงยางลมสำหรับอบยางล้อให้คงรูปในอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ เป็นต้น และเนื่องการมีค่าการกระเด้งกระดอนต่ำที่อุณหภูมิห้อง ทำให้ดูดซับพลังงานกลและการสั่นสะเทือนได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง จึงเหมาะที่จะผลิตเป็นยางกันสะเทือนด้วย [เทคโนโลยียาง] |
Chloroprene rubber | ยาง CR เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากมอนอเมอร์ของคลอโรพรีน มีทั้งประเภทที่ใช้งานทั่วไปและประเภทใช้งานพิเศษ เช่น ทำกาวยาง ยางใช้เคลือบ และวัสดุอุดรอยรั่ว เป็นต้น เนื่องจากโมเลกุลของยาง CR สามารถจัดเรียงตัวได้อย่างเป็นระเบียบภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ยางชนิดนี้จึงสามารถตกผลึกได้เช่นเดียวกับยางธรรมชาติ มีค่าความทนต่อแรงดึงสูง มีค่าความทนต่อการฉีกขาดและความต้านทานต่อการขัดถูสูง ยาง CR มีสมบัติทนต่อน้ำมันได้ปานกลางถึงดี และทนต่อความร้อน แสงแดด และโอโซนได้ค่อนข้างดี และยังมีสมบัติการหน่วงไฟ จึงนิยมนำไปใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ในงานภายนอกอาคาร เช่น ยางขอบหน้าต่าง ยางรองคอสะพาน ยางปลอกสายเคเบิล เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Ethylene propylene diene rubber | ยาง EPDM เป็นยางสังเคราะห์ที่พัฒนามาจากยาง EPM โดยเติมมอนอเมอร์ตัวที่สาม คือ ไดอีน ลงไปเล็กน้อยในระหว่างการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน ทำให้ยางที่ได้มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (พันธะคู่) อยู่ในสายโซ่โมเลกุล ยางชนิดนี้จึงสามารถคงรูปได้ด้วยกำมะถัน แต่ไดอีนที่เติมลงไปไม่ได้ไปแทรกอยู่ที่สายโซ่หลักของโมเลกุล ดังนั้นสายโซ่หลักก็ยังคงเหมือนเดิมหรือไม่มีผลต่อสายโซ่หลักมากนัก จึงทำให้ยาง EPDM ยังคงมีสมบัติเด่นในเรื่องการทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากความร้อน แสงแดด ออกซิเจน โอโซน สารเคมี กรด ด่างได้ดีมาก และมีความยืดหยุ่นตัวได้ดีที่อุณหภูมิต่ำเมื่อเทียบกับ ยางธรรมชาติ มักใช้ทำผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ภายนอกเนื่องจากทนต่อสภาพอากาศได้ดีและใช้ผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ยางขอบกระจก ยางปัดน้ำฝน ท่อยางของหม้อน้ำรถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นฉนวนหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง แผ่นยางกันน้ำ แผ่นยางมุงหลังคา [เทคโนโลยียาง] |
Isobutylene isoprene rubber or Butyl rubber | ยาง IIR หรือยางบิวไทล์เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากโคพอลิเมอร์ระหว่าง isobutylene กับ isoprene มีสมบัติทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องจากสารเคมี ความร้อน แสงแดด ได้เป็นอย่างดี มีค่าการกระเด้งกระดอนต่ำที่อุณหภูมิห้องทำให้ดูดซับพลังงานกลและการสั่น สะเทือนได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง จึงเหมาะที่จะผลิตเป็นยางกันสะเทือน นอกจากนี้ยางชนิดนี้ยังมีสมบัติเด่น คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำมาก ดังนั้นจึงนิยมใช้ในการผลิตยางในรถยนต์ หรือเคลือบผนังด้านในของยางเรเดียล ใช้ทำถุงยางลมสำหรับอบยางล้อให้คงรูปในอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Silicone rubber | ยางซิลิโคนเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งในแกนสายโซ่หลักของโมเลกุล ประกอบด้วยอะตอมของซิลิกอน (Si) และออกซิเจน (O) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีเป็นพอลิไซลอกเซน (polysiloxane) ยางซิลิโคนมีหลายเกรด แต่ละเกรดจะแตกต่างกันที่หมู่ R ที่เกาะอยู่บนสายโซ่หลัก ดังนี้ MQ หมู่ R เป็นหมู่เมทิล (CH 3 ) VMQ หมู่ R เป็นหมู่ไวนิล (CH 2 = CH 2) PMQ หมู่ R เป็นหมู่ฟีนิล (C 6 H 5 ) PVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ฟีนิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล FVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ไตรฟลูออโรโพรพิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล แต่เกรดที่ใช้กันมากที่สุดจะเป็นพอลิเมอร์ของไดเมทิลไซลอกเซน (หมู่ R คือ CH 3) หรือที่มีชื่อย่อว่า MQ สมบัติโดยทั่วไปมีค่าความทนต่อแรงดึง ความต้านทานต่อการขัดถู และความต้านทานต่อแรงกระแทกต่ำมาก ดังนั้นจึงต้องมีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงเช่น ซิลิกาเข้าช่วย แต่ยางซิลิโคนทนต่อสภาพอากาศ ออกซิเจน โอโซน แสงแดด และความร้อนได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำมากๆ ได้ เนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูงมาก ดังนั้นการใช้งานจึงจำกัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถใช้ยางชนิดอื่นๆ ได้ เช่น การผลิตชิ้นส่วนของยานอวกาศ เครื่องบิน รถยนต์ ยางโอริง หน้ากากออกซิเจน แป้นกดของโทรศัพท์มือถือ งานทางการแพทย์และเภสัชกรรม เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
photosynthesis | กระบวนการสังเคราะห์ แสง [อุตุนิยมวิทยา] |
twilight | ช่วงสนธยา (ช่วงแสง เงิน แสงทอง) [อุตุนิยมวิทยา] |
reflection | การสะท้อน, การเปลี่ยนทิศการเคลื่อนที่ของคลื่นกลับมาสู่ตัวกลางเดิมเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปถึงแนวเขตระหว่างตัวกลาง 2 ตัวกลาง เช่น แสง เมื่อส่องตกกระทบผิวของกระจกแสงจะสะท้อนที่ผิวกระจกกลับสู่อากาศ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
polaroid | โพลารอยด์, แผ่นโปร่งใสที่จะทำให้แสงที่ผ่านออกไปมีระนาบเดียว เรียกว่า แสงโพลาไรซ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ultraviolet rays [ black light ] | รังสีอัลตราไวโอเลต, แสงเหนือม่วง, รังสีที่มีแสงสีม่วงและรังสีเอกซ์ เป็นรังสีที่ตามองไม่เห็น เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แสงดำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electromagnetic spectrum | สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, แถบแสดงความถี่หรือความยาวคลื่นของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแต่ละช่วงมีชื่อต่าง ๆ เช่น คลื่นวิทยุ รังสีอินฟราเรด แสง รังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
complementary colour | สีเติมเต็ม, สีของแสงคู่ใดคู่หนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วให้ผลเป็นแสงสีขาว เช่น แสงสีน้ำเงินกับแสงสีเหลือง ต่างก็เป็นแสงสีเติมเต็มของกันและกัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
primary colour | สีปฐมภูมิ, แสงสีใด ๆ ของแสงสีจำนวน 3 สีคือ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน เมื่อแสงทั้งสามสีนี้มารวมกันในปริมาณที่พอเหมาะจะให้แสงสีขาว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
visual pollution | มลพิษของทัศนียภาพ, สภาวะแวดล้อมที่ก่อให้เกิดความรำคาญ หรือ อาจเกิดอันตรายต่อการมองเห็น เช่น ป้ายโฆษณาที่ติดไม่เป็นระเบียบหรือขาดการบำรุงรักษา หมอกควัน แสงที่จ้าเกินควร เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
photosphere | โฟโตสเฟียร์, ชั้นบรรยากาศที่ติดกับผิวของดวงอาทิตย์ มีความหนาประมาณ 400 กิโลเมตรอุณหภูมิส่วนที่ติดผิวดวงอาทิตย์ประมาณ 10, 000 K ส่วนที่ติดกับชั้นโครโมสเฟียร์ประมาณ 4, 200 K แก๊สที่อยู่ในชั้นนี้จะแผ่รังสีออกสู่อวกาศ ได้แก่ รังสีเอกซ์รังสีอัลตราไวโอเลต แสงสว่าง และคลื่นควา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
climate | ภูมิอากาศ, สภาพลมฟ้าอากาศที่ได้จากค่าสถิติของลมฟ้าอากาศในระยะเวลายาวนาน ซึ่งประกอบด้วยอุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดและอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดของแต่ละวัน ค่าเฉลี่ยของความชื้น ปริมาณของเมฆ แสงแดด และน้ำฝน รวมถึงทิศทางและความเร็วลม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Infrared | อินฟราเรค, แสงอินฟาเรด, แสงอินฟราเรต, แสงอินฟราเรด, คลื่นแสงยาว, ความร้อนจากแสงไฟ [การแพทย์] |
Lasers | เลเซอร์, แสงเลเซอร์ [การแพทย์] |
Light | แสง, แสงสว่าง [การแพทย์] |
Light Coagulation | การทำให้แข็งตัวด้วยแสง; แสง, การทำให้เลือดแข็งตัว [การแพทย์] |
Light Reflex | ปฏิกิริยาต่อแสงไฟฟ้าที่ส่องเข้ารูม่านตา, กระตุ้นโดยแสงสว่าง, ปฏิกิริยาต่อแสง, ปฎิกิริยาต่อแสง, การตอบสนองต่อแสง, แสงสะท้อน, ปฏิกิริยาตอบสนองต่อแสง, ตอบสนองต่อไฟที่ฉายเข้าไป, การสะท้อนแสง [การแพทย์] |
Light, Day | แสงธรรมชาติ, แสงธรรมชาติ [การแพทย์] |
Light, Dim | แสงสว่างสลัว, แสงที่มีความเข้มต่ำ [การแพทย์] |
Light, Monochromatic | แสงที่มีความยาวคลื่นเดียว, แสงเอกรงค์ [การแพทย์] |
Light, Visible | แสงที่มองเห็นได้, แสงในเขตที่มองเห็นด้วยตา, แสงที่เห็นได้ [การแพทย์] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
beam | (n) ลำแสง, See also: ลำแสงไฟ, แสงสว่างซึ่งส่องเป็นลำ, ลำ, Syn. ray |
emit from | (phrv) (ความร้อน, แสง, กลิ่น, เสียง) แผ่ออกมาจาก, See also: กระจายจาก, ฉายมาจาก, เปล่งออกมาจาก |
deep | (adj) เข้ม (เช่น สี, แสง), See also: คล้ำ, จัด, Syn. dark, strong, Ant. light, pale |
deepen | (vt) ทำให้เข้ม ( เช่น แสง, สี ) |
deepen | (vi) ทำให้เข้ม ( เช่น แสง, สี ) |
extinguished | (adj) ดับ (ไฟ, แสง) |
extinguishment | (n) การดับ (ไฟ, แสง) |
glim | (n) แหล่ง / สิ่งที่ให้แสง, See also: แสงไฟ, แสงเทียน |
glint | (n) แสงวาบ, See also: แสงแวววาว, แสงสะท้อนกลับ, Syn. flash, dazzle |
moon | (n) พระจันทร์, See also: ดวงจันทร์, แสงจันทร์ |
pierce | (vt) (เสียง, แสง) แทรกผ่าน, See also: ส่องผ่าน |
radiance | (n) ความสว่างไสว, See also: แสงที่เรืองรอง, แสงเงินแสงทอง, Syn. brightness, glow |
radiate | (vi) แผ่รังสี (ทางฟิสิกส์), See also: ปล่อยพลังงาน ความร้อน / แสง ออกมาในรูปรังสีหรือคลื่น |
radiate | (vt) แผ่รังสี (ทางฟิสิกส์), See also: ปล่อยพลังงาน ความร้อน / แสง ออกมาในรูปรังสีหรือคลื่น, Syn. emit |
ray | (n) สิ่งเล็กน้อยที่คาดหวัง, See also: ความคาดหวังเล็กน้อยเกี่ยวกับบางสิ่ง, แสงแห่งความหวัง, Syn. gleam of hope |
sun | (n) แสงอาทิตย์, See also: แสงตะวัน, แสงแดด, Syn. sunbeam, sunlight |
sunlight | (n) แสงแดด, See also: แดด, แสงอาทิตย์, แสงตะวัน, Syn. daylight, sunshine |
sunrise | (n) บรรยากาศยามพระอาทิตย์ขึ้น, See also: แสงเรืองรองยามพระอาทิตย์ขึ้น, แสงอรุโณทัย, Syn. aurora |
Hope Dictionary
alpenglow | (แอล' เพนโกล) n. แสงเรืองสีแสดที่มักเห็นบนยอดเขาในเวลาก่อนพระอาทิตย์ หรือหลังพระอาทิตย์ตกเล็กน้อย (a reddish glow) |
aurora | (ออรอ' ระ) n. แสงอรุโณทัย, แสงเงินแสงทองในบรรยากาศเบื้องบน, เทพธิดาแห่งอรุณของโรมันโบราณ, แสงอรุณ, Syn. dawn |
aurora australis | n. แสงขั้วโลกใต้ |
aurora borealis | n. แสงขั้วโลกเหนือ, Syn. northern lights, aurora polaris |
candlelight | n. แสงสว่างจากเทียนไข, สายัณห์ |
cold light | n. แสงเย็น (เช่น แสงจากหิ่งห้อย) |
flash | (แฟลช) { flashed, flashing, flashes } n. แสงวาบ, แสงแลบ, ชั่วแวบเดียว, การปรากฎขึ้นชั่วแวบหนึ่ง, การแสดงที่ฉูดฉาดหรูหรา, การแสดงโอ้อวด, ข่าวด่ |
floodlight n. | v. (ส่อง) แสงสว่างจ้ามากที่มีลำกว้างใหญ่ |
glare | (แกลร์) n. แสงเจิดจ้าที่เข้าตา, การจ้องเขม็ง, ผิวหน้าเรียบที่เจิดจ้า, ความครึกโครม vi. ส่องแสงเจิดจ้า, จ้องเขม็ง |
gleam | (กลีม) n. แสงวาบ, แสงอ่อน ๆ , ร่องรอย, นิดหน่อย, จำนวนเล็กน้อย. vi. ส่งแสงแวบเดียว, ปรากฎขึ้นแวบเดียว., See also: gleamingly adv. |
glimmer | (กลิม'เมอะ) n., v. (ส่อง) แสงสลัว, แสงริบหรี่, จำนวนเล็กน้อย, ความรู้สึกที่เลอะเลือน, ความสะดุดใจ -, See also: glimmeringly adv., Syn. ficker, glow |
glint | (กลินทฺ) n. แสงวาบ, แสงระยิบระยับ, จำนวนเล็กน้อย, การปรากฎขึ้นแวบหนึ่ง, Syn. gleam, sparkle |
glist | (กลิสท') n. แสงแวววัย, แสงระยิบระยับ, การสะท้อนแสง. |
glitter | (กลิท'เทอะ) n., vi. (สะท้อน, ส่อง) แสงแวววับ, แสงระยิบระยับ, สิ่งที่เปล่งแสงแวววับ., See also: glitteringly adv. glittery adj., Syn. gleam, glint |
glow | (โกล) n., vi. (เปล่ง) แสงที่เปล่งออกมา, แสงเรือง, ความแดงเรื่อ, สีเลือด, ความสดใสของสี, ความเร่าร้อน, Syn. gleam, colour, burn |
incandescence | (-คันเดส' เซินซฺ) n. การลุกโชติช่วง, แสงไฟที่ลุกโชติช่วง, แสงจากหลอดไฟ |
laser | (เล'เซอะ) n. แสงเลเซอร์, l (ight) a (mplification) s (timulated) e (mission of) r (adiation) |
light 1 | (ไลทฺ) { lit/lighted, lit/lighted, lighting, lights } n. แสง, แสงสว่าง, ความสว่าง, ไฟ, ดวงไฟ, ตะเกียง, โคม, โคมไฟ, ประทีป, ประภาคาร, ไฟสัญญาณ, อรุณ, กลางวัน, การรู้ adj. สว่าง, มีแสงสว่าง, ซีด, ขาว, จาง, มีครีมหรือนมมาก, เปล่งปลั่ง, ผ่องใส vt. จุดไฟ, จุดบุหรี่, เปิดไฟ, ติดไฟ, ส่องสว่าง, ทำให้สว่าง, เปล่งปลั่ง, ผ่องใส vt. จุดไฟ, จุดบุหรี่, กลายเป็นแสงสวาง, มีชีวิตชีวา, ถูกเปิดเผยถูกค้นพบ |
moonbeam | (มูน'บีม) n. แสงจันทร์ |
moonlight | (มูน'ไลทฺ) n., adj. แสงจันทร์ vi. ฝึกทำงานเพิ่มเติมในเวลากลางคืน., See also: moonlighter n. |
shimmer | (ชิม'เมอะ) n., v. (ส่อง) แสงแวววาว, แสงระยิบระยับ, แสงแวววับ., See also: shimmeringly adv. |
starlight | (สทาร์'ไลทฺ) adj. เกี่ยวกับดาว, เป็นรูปดาว, แจ่มจรัส, เป็นแสงดาว. n. แสงดาว. |
sun-ray | n. แสงอาทิตย์, Syn. sunbeam |
sunlight | (ซัน'ไลทฺ) n. แสงอาทิตย์, แสงแดด |
twilight | (ทไว'ไลทฺ) n. แสงรุ่งอรุณ, รุ่งอรุณ, สายัณห์, ระยะเวลาตกอับ, ภาวะที่ไม่แน่นอน, ความเคลือบคลุม. adj. เกี่ยวกับรุ่งอรุณ, คลุมเครือ, ขลุกขมัว, ไม่ชัดเจน, ไม่รู้จริง |
twinkle | (ทวิง'เคิล) n., vi., vt. (เกิด) แสงระยิบระยับ, แสงแวววาว, แสงริบหรี่, ชั่วพริบตา, การกระพริบตา, การขยิบตา |
Nontri Dictionary
aurora | (n) แสงอรุโณทัย, แสงเงินแสงทอง |
blaze | (n) แสงไฟ, ความสว่างช่วงโชติ, เปลวไฟ |
candlelight | (n) แสงเทียน, เวลาสายัณห์, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ |
daylight | (n) แสงแดด, แสงตะวัน, แสงอาทิตย์, กลางวัน |
dazzle | (n) แสงเข้าตา, แสงพร่านัยน์ตา, การทำให้ตาพร่า |
firelight | (n) แสงไฟ |
flame | (n) แสงไฟ, เปลวไฟ, ความโชติช่วง, ความเร่าร้อน |
flash | (n) แสงแลบ, ไฟแฟลช, ข่าวด่วน, การปรากฏขึ้นแวบหนึ่ง |
gleam | (n) แสง, แสงสว่าง, แสงอ่อน, แสงแวบ |
glimmer | (n) แสงระยิบ, แสงวับๆ, แสงริบหรี่, แสงสลัว |
glisten | (n) แสงระยิบ, แสงวับ, แสงแวววาว, แสงระยิบระยับ |
glitter | (n) แสงประกาย, แสงแวววาว, แสงระยิบระยับ |
glow | (n) แสงเรือง, แสงเรื่อ, สีเลือด, ความเร่าร้อน |
halo | (n) แสงเป็นวงกลม, รัศมี, บารมี, บุญบารมี, วาสนา |
light | (n) แสงสว่าง, ไฟ, โคมไฟ, ตะเกียง, ความสว่าง, ไม้ขีดไฟ, ดวงไฟ, กลางวัน |
moonbeam | (n) แสงจันทร์ |
moonlight | (n) แสงจันทร์, การหาลำไพ่, การทำงานกลางคืน, การเที่ยวกลางคืน |
moonshine | (n) แสงจันทร์, เรื่องเหลวไหล, การพูดไร้สาระ, เหล้าเถื่อน |
scintillation | (n) แสงแวววาว, ประกาย, แสงระยิบระยับ |
shimmer | (n) แสงระยิบระยับ, แสงแวววาว |
spectrum | (n) แสงเจ็ดสี |
starlight | (n) แสงดาว |
sunbeam | (n) แสงอาทิตย์, แสงแดด, แสงตะวัน |
sunlight | (n) แสงอาทิตย์, แสงแดด, แสงตะวัน |
sunshine | (n) แสงแดด, แสงอาทิตย์, ความร่าเริง, ความผ่องใส |
torchlight | (n) แสงไฟฉาย, แสงไต้, แสงคบเพลิง |
twilight | (n) แสงขมุกขมัว, สายัณห์, แสงอรุณ |
twinkle | (n) แสงระยิบ, ประกาย, การกะพริบตา |
wink | (n) แสงระยิบระยับ, การกะพริบตา, การขยิบตา, การงีบหลับ, เวลาชั่วพริบตา |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Abiotic factors | (n) ปัจจัยที่ไม่มีชีวิต ได้แก่ ความแห้งแล้ง ความหนาวเย็น แสงแดดเผา การขาดสารอาหาร ค่าความเป็นกรดด่างไม่สมดุล เป็นต้น |
Longdo Approved JP-TH
夜景 | [やけい, yakei] (n) บรรยากาศ แสงสี ยามค่ำคืน |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
陽 | [よう, you] (n, adj) พระอาทิตย์, แสงแดด |
月光 | [げっこう, gekkou] (n) แสงจันทร์, แสงเดือน |
電気 | [でんき, denki, denki , denki] (n) ไฟฟ้า แสงสว่าง |
Longdo Approved DE-TH
Sonnenschein | (n) |der, nur Sg.| แสงตะวัน, See also: Sonnenlicht |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0428 seconds, cache age: 21.136 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม