92 ผลลัพธ์ สำหรับ * เอาสิ*
ภาษา
หรือค้นหา: เอาสิ, - เอาสิ-พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กระทุ้ง | ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาวกระแทก เช่น เอาสามเกลอกระทุ้งดิน เอาศอกกระทุ้งสีข้าง, ทุ้ง ก็ว่า, โดยปริยายหมายความว่า หนุนให้กระทำหรือกล่าวแสดงออกมา เช่น กระทุ้งให้ร้องเพลง. |
กระพือ | ก. เอาสิ่งที่เป็นผืนแผ่นบาง ๆ โบกขึ้นลง, พัดหรือโบกด้วยอาการเช่นนั้น, โดยปริยายหมายถึงแพร่กระจาย เช่น ข่าวนี้กระพือไปอย่างรวดเร็ว. |
กลบ | (กฺลบ) ก. เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง เช่น เอาขี้เถ้าไปกลบขี้แมว, เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่งเพื่อให้เต็มหรือไม่ให้เห็นร่องรอย, โดยปริยายหมายความว่า ปิดบัง เช่น กลบความ, ทดแทน เช่น ให้เอาสินไหมมากลบทรัพย์นั้นเสีย (กฎ. ราชบุรี). |
เก็บ ๑ | ก. เอาไปหรือเอามาจากที่ เช่น เก็บผ้า เก็บผลไม้, เอาเข้าที่ เช่น เอาหนังสือไปเก็บ เอารถไปเก็บ, เอาสิ่งของที่ตกหล่นอยู่ขึ้นมา เช่น เก็บของตก, รวบรวมไว้ เช่น เก็บคะแนน, เรียกเอา เช่น เก็บค่าเช่า เก็บค่านํ้า, รักษาไว้ เช่น ห้องเก็บของ. |
เกลือก ๑ | (เกฺลือก) ก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น เกลือกตม เกลือกฝุ่น, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งทำเช่นนั้นเพื่อให้สิ่งอื่นติด เช่น เอาขนมเกลือกงา. |
เกาะ ๒ | ก. จับหรือยึดสิ่งใดไว้เพื่อทรงอยู่ เช่น นกเกาะกิ่งไม้ แมงมุมเกาะฝา, เอาสิ่งมีขอเป็นต้นเกี่ยวเข้ากับสิ่งอื่นเพื่อให้ติดอยู่ เช่น เอาขอเกาะต้นไม้, โดยปริยายหมายความถึงอาการที่เข้าไปติดแน่นอยู่ เช่น ปลิงเกาะ หรือเข้าเป็นหมู่หรือกลุ่มเดียวกัน เช่น ดินเกาะเป็นก้อน บินเกาะหมู่ วิ่งเกาะกลุ่ม |
แกะ ๒ | ก. เอาเล็บมือค่อย ๆ แคะเพื่อให้หลุดออก เช่น แกะสะเก็ด, เอาสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเล็บมือทำเช่นนั้น, ทำเป็นลวดลายหรือรูปต่าง ๆ ด้วยเครื่องมือ โดยวิธีแกะ เช่น แกะตรา, โดยปริยายหมายความว่า เหมือนกันอย่างกับโขกหรือแคะมาจากพิมพ์เดียวกัน ในความว่า เหมือนกันอย่างกับแกะ |
ขน ๒ | ก. เอาสิ่งของเป็นต้นจำนวนมากจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยบรรทุก หาบ หาม หรือด้วยวิธีอื่น. |
แขวะ | (แขฺวะ) ก. เอาสิ่งมีคมแหวะคว้านให้กว้าง |
คร่อม | (คฺร่อม) ก. ยืนหรือนั่งแยกขาให้ของอยู่ใต้หว่างขา, ยงโย่ให้ของอยู่ใต้ตัว เช่น เอาตัวคร่อมไว้ นอนคร่อม, เอาสิ่งของเช่นโต๊ะเก้าอี้ตั้งในอาการเช่นนั้น เช่น วางโต๊ะคร่อมกองหนังสือ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกเรือนคร่อมตอ สร้างสะพานคร่อมคลอง นั่งคร่อม ๒ ตำแหน่ง. |
คว้าน | (คฺว้าน) ก. เอาสิ่งที่มีคมแหวะให้กว้าง, แขวะให้เป็นช่องเพื่อเอาส่วนข้างในออก เช่น คว้านผลมะปราง คว้านไส้, ทำให้กว้าง เช่น คว้านคอเสื้อ. |
คอน | ก. เอาสิ่งของห้อยที่ปลายไม้คานหรือปลายไม้เพียงข้างเดียวแล้วแบกบ่าพาไป |
คั่ว ๑ | ก. เอาสิ่งของใส่กระเบื้องหรือกระทะตั้งไฟให้ร้อนแล้วคนไปจนสุกหรือเกรียม เช่น คั่วถั่ว คั่วงา, เรียกของที่คั่วแล้ว เช่น ข้าวคั่ว ถั่วคั่ว |
จ่อ ๑ | ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปใกล้หรือเกือบจดสิ่งอื่น เช่น เอายาดมจ่อจมูก |
จิ้ม | เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งทิ่มหรือแทงเบา ๆ เช่น จิ้มฟัน, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งแตะ ๆ เช่น เอามะม่วงจิ้มพริกกะเกลือ. |
จุ่ม | ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจ่อมลงไปในของเหลวแล้วยกขึ้น เช่น เอาผ้าจุ่มนํ้า. |
จุ้ม | ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งชุบหรือจุ่มลงไปในของเหลว เช่น เอาปากกาจุ้มหมึก. |
แซม | ก. แทรกขึ้นมาในระหว่าง เช่น ฟันแซม ขนแซม, เสียบเข้าไปในระหว่าง เช่น เด็ดดอกไม้แซมผม, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเหน็บแทรกหรือสอดเข้าไปเพื่อแทนสิ่งที่ชำรุดให้ดีขึ้น เช่น แซมกระบุง แซมหลังคา. |
ตลบ | (ตะหฺลบ) ก. เอาสิ่งที่เป็นแผ่นเป็นผืนเช่นชายม่านตีนมุ้งที่อยู่ข้างล่างหกกลับไปพาดไว้ข้างบนทั้งผืนทั้งแผ่น เช่น ตลบม่าน ตลบมุ้ง |
ถ่าย | ก. เอาออกจากที่หนึ่งไปใส่อีกที่หนึ่ง เช่น ถ่ายรถ ถ่ายเรือ, เอาสิ่งหนึ่งออกแล้วเอาอีกสิ่งหนึ่งใส่เข้าไปแทนที่ เช่น ถ่ายนํ้า ถ่ายเลือด |
ทัด ๑ | ก. เอาสิ่งของหรือดอกไม้เหน็บหูตรงบริเวณที่เรียกว่า ทัดดอกไม้. |
ทิ่ม | ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาว ๆ หรือแหลม ๆ กระแทกโดยแรง เช่น เอามีดทิ่มพุง เอานิ้วทิ่มตา, เรียกอาการที่หัวหรือหน้าพุ่งไปข้างหน้า ว่า หัวทิ่ม หน้าทิ่ม. |
นาบ | ก. เอาสิ่งที่มีความร้อนรีดหรือกดลงไป เช่น นาบพลู นาบใบตอง, เรียกพลูที่นาบแล้ว ว่า พลูนาบ. |
ปลูกสร้าง | ก. เอาสิ่งต่าง ๆ มาปรุงกันเข้าเพื่อทำเป็นที่อยู่หรือที่พักอาศัยโดยวิธีฝังเสาลงในดิน เช่น ปลูกสร้างบ้าน ปลูกสร้างเรือน, ปลูก ก็ว่า. |
ปะติดปะต่อ | ก. เอาสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ มาติดมาต่อกัน. |
ปั้น ๑ | ก. เอาสิ่งอ่อน ๆ เช่นขี้ผึ้งดินเหนียวเป็นต้นมาทำให้เป็นรูปตามที่ต้องการ เช่น ปั้นข้าวเหนียว ปั้นตุ๊กตา |
เปรียบ | (เปฺรียบ) ก. เอาสิ่งหนึ่งเข้ามาเทียบกับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อให้เห็นว่าใกล้กัน เสมอกัน หรือผิดกัน, ถ้าเอามาเทียบกันดูแล้ว ฝ่ายที่มีภาษีกว่า เรียกว่า ได้เปรียบฝ่ายที่เป็นรอง เรียกว่า เสียเปรียบ, ถ้าจะเอาฝ่ายตนให้มีภาษีข้างเดียว เรียกว่า เอาเปรียบ. |
เปลี่ยน | (เปฺลี่ยน) ก. แปรหรือกลายไปจากลักษณะหรือภาวะเดิม, เอาสิ่งหนึ่งเข้าแทนอีกสิ่งหนึ่งโดยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น แลกเปลี่ยน ผลัดเปลี่ยน สับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง, ย้าย เช่น เปลี่ยนที่อยู่ เปลี่ยนพรรค เปลี่ยนคลื่นวิทยุ. |
เปะ | ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะข้นเหลวเป็นต้นซัดลงไป เช่น เอาโคลนมาเปะที่กำแพง, โดยปริยายหมายถึง ทิ้งไว้ให้เป็นภาระของผู้อื่น เช่น เอาลูกมาเปะให้พี่สาวเลี้ยง. |
ผัด | ก. เอาสิ่งที่ใช้เป็นอาหารใส่ลงในกระทะที่มีนํ้ามันหรือนํ้าเล็กน้อย ตั้งไฟแล้วพลิกกลับไปมาจนสุก เช่น ผัดข้าว ผัดหมี่, เรียกอาหารที่ทำด้วยวิธีการเช่นนั้น เช่น ข้าวผัด หมี่ผัด |
พรม ๒ | (พฺรม) ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะเป็นน้ำประโปรยให้กระจายเป็นเม็ดเล็ก ๆ เช่น เอาน้ำพรมผ้า พรมน้ำมนต์. |
แพ่น | ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาว จะกลมหรือแบนก็ได้ ตีลงด้วยกำลังแรง เช่น เอาไม้ตะพดแพ่นหัว |
ลัก | ก. เอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ไปด้วยอาการซ่อนเร้น, ขโมย, เช่น ลักทรัพย์, แอบทำ, ลอบทำ, เช่น ลักกินขนมในห้องเรียน ลักสูบบุหรี่ในห้องน้ำ. |
แลก | ก. เอาสิ่งหนึ่งให้ไปเพื่อได้สิ่งหนึ่งที่ต้องการมา เช่น แลกเชลย แลกกล้วยไม้ นักกีฬาแลกธงกัน, ซื้อของด้วยของ เช่น เอาน้ำมันแลกข้าว. |
สะกาง | เครื่องล่อใจ เช่น เอาสินสะกางสอดจ้าง แข็งดั่งเหล็กเงินง้าง อ่อนได้ดังใจ (ลอ) |
สับ ๑ | ก. เอาของมีคมเช่นมีดหรือขวานฟันลงไปโดยแรงหรือซอยถี่ ๆ เช่น สับกระดูกหมู สับมะละกอ, กิริยาที่เอาสิ่งมีปลายงอนหรือปลายแหลมเจาะลงไป เช่น เอาขอสับช้าง, เอาสิ่งที่เป็นขอเกี่ยวเข้าไว้ เช่น สับขอหน้าต่าง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สับด้วยสันมือ ถูกโขกถูกสับ |
ใส่ | ก. สวม เช่น ใส่เสื้อ ใส่กางเกง, เอาไว้ข้างในภาชนะหรือสถานที่เป็นต้น เช่น กรอกน้ำใส่ขวด นำนักโทษไปใส่คุก, บรรทุก เช่น เอาสินค้าใส่รถ. |
หล่อน้ำ | ก. เอาน้ำใส่ภาชนะเพื่อรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งกันไม่ให้มดขึ้น เช่น หล่อน้ำขาตู้กับข้าว, เอาสิ่งของบางอย่างใส่ไว้ในภาชนะแล้วเอาภาชนะนั้นวางไว้บนอีกภาชนะหนึ่งซึ่งขังน้ำไว้เพื่อกันไม่ให้มดขึ้น เช่น เอาจานขนมไปวางบนแก้วที่หล่อน้ำไว้ |
หาม ๑ | ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งห้อยกลางไม้หรือวางบนเปลเป็นต้น แล้วช่วยกันหิ้วหรือยกไป, ช่วยกันยกหัวและท้ายพาไป. |
หุ้ม | ก. เอาสิ่งที่เป็นแผ่นโอบคลุมอีกสิ่งหนึ่ง, อาการที่สิ่งซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่น กาบหรือเปลือกเป็นต้น โอบคลุมของอีกสิ่งหนึ่ง เช่น หนังหุ้มกระดูก กาบกล้วยหุ้มหยวกเปลือกหุ้มกระพี้ รองเท้าหุ้มส้น. |
แหวะ | (แหฺวะ) ก. เอาสิ่งที่มีคมกรีดให้เป็นช่องตามที่ต้องการ เช่น แหวะท้องปลา |
อม | ก. เอาสิ่งของใส่ปากแล้วหุบปากไว้ไม่กลืนลงไป, โดยปริยายหมายความว่า ไม่แสดงออกมา เช่น อมภูมิ |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0318 seconds, cache age: 53.405 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม