292 ผลลัพธ์ สำหรับ *แต่งตั้ง*
ภาษา
หรือค้นหา: แต่งตั้ง, -แต่งตั้ง-NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
แต่งตั้ง | (v) appoint, See also: name, Syn. ตั้ง, แต่ง, ตั้งแต่ง, Ant. ถอดถอน, Example: ล่าสุดทางกระทรวงได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้นมา เพื่อผู้เป็นประสานงานศึกษาเรื่องราวและลู่ทางของโครงการนี้, Thai Definition: จัดให้เข้าประจำหน้าที่, มอบตำแหน่งให้, ยกย่องขึ้น |
ผู้แต่งตั้ง | (n) appointer, See also: authority, Syn. คนแต่งตั้ง, Count Unit: คน, Thai Definition: ผู้ที่มีอำนาจกำหนดให้ผู้อื่นอยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้น |
ได้รับแต่งตั้ง | (v) get appointed, Syn. ถูกแต่งตั้ง, Example: ท่านรองฯได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการตอนอายุเกือบๆ 60 |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
แต่งตั้ง | ก. ยกย่องขึ้น, ชุบเลี้ยงให้มียศ, ให้ตำแหน่ง. |
กงสุล | น. ชื่อตำแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนประจำอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของตนและดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศของตน. |
กชกร | (กดชะกอน) น. “ดอกบัวคือมือ” คือ กระพุ่มมือ เช่น กชกรต่างแต่งตั้ง ศิรสา (หริภุญชัย). |
กรมการนอกทำเนียบ | น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการพิเศษ ก็ว่า. |
กรมการพิเศษ | น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการนอกทำเนียบ ก็ว่า. |
กรรมการ ๑ | (กำมะกาน) น. บุคคลซึ่งได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้งเพื่อกระทำกิจการบางอย่างเป็นคณะ. (ส. กรฺม + การ; ป. กมฺม + การ). |
กรรมสัมปาทิก | บุคคลที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้ทำหน้าที่กรรมการของสมาคม. |
ขึ้นแท่น | โดยปริยายหมายความว่า ได้รับการยกย่องหรือได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งที่สูง (ใช้ในความประชด) เช่น เขาขึ้นแท่นไปเป็นอธิบดีแล้วเลยเข้าพบยาก. |
ขุนหมื่น | น. ข้าราชการผู้น้อยชั้นประทวนซึ่งเสนาบดีแต่งตั้งให้เป็นขุนบ้างเป็นหมื่นบ้าง มีศักดินาต่ำกว่า ๔๐๐. |
คณะกรรมาธิการ | น. คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา แต่งตั้งเพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงานต่อสภา. |
คณะกรรมาธิการร่วมกัน | น. คณะกรรมาธิการของรัฐสภาที่สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเลือกและแต่งตั้งจากผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ เพื่อพิจารณาหรือดำเนินการเรื่องใดที่รัฐสภามอบหมาย. |
คณะกรรมาธิการวิสามัญ | น. คณะกรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา แต่งตั้งจากผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเรื่องที่สภามอบหมาย และเมื่อปฏิบัติหน้าที่เสร็จแล้ว คณะกรรมาธิการนั้นย่อมพ้นจากตำแหน่ง. |
คณะกรรมาธิการสามัญ | น. คณะกรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา เลือกและแต่งตั้งจากสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นประจำ. |
คณะรัฐมนตรี | น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน. |
คณะองคมนตรี | น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัยจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนด มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราช-กรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ. |
จัดตั้ง | ก. ตั้งขึ้น, แต่งตั้งให้มั่นคง. |
จางวาง | เจ้าเมืองที่พ้นตำแหน่งแล้ว ซึ่งได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาของเจ้าเมือง เรียกว่า จางวางเมือง. |
เจ้าคุณ | น. บรรดาศักดิ์ฝ่ายในที่ทรงแต่งตั้ง |
เจ้าพนักงาน | น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายหรือแต่งตั้งโดยผู้มีอำนาจตามกฎหมายให้ปฏิบัติราชการหรือให้ใช้อำนาจรัฐ. |
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ | น. บุคคลซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแต่งตั้งโดยเฉพาะตัว หรือโดยตำแหน่งหน้าที่ ให้ปฏิบัติหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์สิน และจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย<i></i>. |
เจ้าอาวาส | น. พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ปกครองวัด. |
ฐาปน-, ฐาปนา | (ถาปะนะ-, ถาปะนา) น. การก่อสร้าง, การแต่งตั้ง, การซ่อมแซม, การตั้งขึ้น. |
ดะโต๊ะยุติธรรม | น. ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม. |
ตราตั้ง | น. เอกสารแต่งตั้ง เช่น ตราตั้งพระอุปัชฌายะ ตราตั้งที่พระราชทานให้แก่ธนาคารหรือบริษัทห้างร้านเป็นต้นที่ทำประโยชน์ในราชการส่วนพระองค์หรือประเทศชาติ มีสิทธิที่จะใช้ตราครุฑเพื่อแสดงว่าได้รับพระบรมราชานุญาต. |
ตัวแทนช่วง | น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทำการแทนตัวการ. |
ต่างกรม | ว. เรียกเจ้านายที่ได้รับพระราชทานอิสริยยศให้มีข้าคนหมู่หนึ่งจัดตั้งเป็นกรมในปกครองเพื่อช่วยราชการแผ่นดิน เจ้าที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองข้าในกรมของพระองค์ เรียกว่า เจ้านายต่างกรม กรมของเจ้ามีชื่อต่าง ๆ กันไปตามนามของผู้เป็นเจ้ากรม. |
เทศาภิบาล | การปกครองหัวเมืองที่จัดเป็นมณฑล โดยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทำหน้าที่ปกครองในแต่ละมณฑล เรียกว่า ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑล เว้นแต่มณฑลชายแดนบางมณฑล เรียกว่า ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑล ภายหลังเรียกว่า สมุหเทศาภิบาลมณฑล หรือสมุหเทศาภิบาล. |
นางสนองพระโอษฐ์ | น. คุณพนักงานหญิงที่แต่งงานแล้ว มีหน้าที่รับพระราชเสาวนีย์ไปปฏิบัติหรือเชิญพระราชเสาวนีย์ไปติดต่อข้อราชการตามพระราชประสงค์ของพระราชินี เป็นตำแหน่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง. |
บุคลากร | (บุกคะลากอน) น. ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เช่น ในการบรรจุแต่งตั้ง เลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน เป็นต้น |
ประดิษฐาน | (ปฺระดิดสะถาน) ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ในตำแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี. |
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง | น. ผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งทางการเมือง เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี นายกเทศมนตรี. |
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร | น. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกในสังกัดของพรรคตนมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ. |
ผู้บริหารท้องถิ่น | น.ผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นให้ทำหน้าที่บริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี. |
ผู้พิพากษาสมทบ | น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษ ให้เป็นองค์คณะร่วมกับผู้พิพากษาซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการ มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดี เช่น ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว ผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงาน. |
ผู้อนุบาล | น. บุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถ. |
พนักงานเจ้าหน้าที่ | น. บุคคลผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ปฏิบัติการและบังคับการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด. |
พระราชาคณะ | น. พระภิกษุที่ได้รับแต่งตั้งและสถาปนาให้มีสมณศักดิ์ตั้งแต่ชั้นสามัญจนถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ. |
พระอภิบาล | น. ผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้มีหน้าที่ดูแลพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้าลูกหลวง. |
ยุวราช, ยุวราชา | น. พระราชกุมารที่ได้รับอภิเษกหรือทรงรับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งที่จะสืบราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไป. |
ระดับ | ก. ปูลาด, แต่งตั้ง. |
รังสรรค์ | ก. สร้าง, แต่งตั้ง. |
รังสฤษฏ์ | (-สะหฺริด) ก. สร้าง, แต่งตั้ง. |
รัฐทูต | (รัดถะทูด) น. ทูตที่ประมุขของรัฐหนึ่งแต่งตั้งไปประจำสำนักประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อไปปฏิบัติภารกิจทางการทูต มีฐานะตํ่ากว่าเอกอัครราชทูตแต่สูงกว่าอุปทูต. |
ราชเลขานุการ | น. ตำแหน่งเลขานุการในพระองค์ของพระบรมวงศ์ เป็นตำแหน่งตามกฎหมาย, ตำแหน่งเลขานุการในพระองค์ของพระบรมวงศ์ ทรงแต่งตั้งเป็นการส่วนพระองค์. |
รู้ตัว | ก. รู้สึกตัว เช่น โดนล้วงกระเป๋าโดยไม่รู้ตัว, รู้มาก่อน เช่น ได้รับแต่งตั้งโดยไม่รู้ตัว, รู้เนื้อรู้ตัว ก็ว่า |
วุฒิสภา | น. สภานิติบัญญัติสภาหนึ่ง อาจประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้ง เลือกตั้ง หรือแต่งตั้งและเลือกตั้งผสมกัน มีหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายและหน้าที่อื่นตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด. |
ไวยาวัจกร | (-วัดจะกอน) น. คฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัตและมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ. |
สถาปนา | (สะถาปะนา) ก. ยกย่องโดยแต่งตั้งให้สูงขึ้น เช่นเลื่อนเจ้านายให้สูงศักดิ์ขึ้น หรือยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง, ตั้งขึ้น (มักใช้แก่หน่วยราชการหรือองค์การที่สำคัญ ๆ ในระดับกระทรวง ทบวงมหาวิทยาลัย) เช่น วันสถาปนากระทรวงมหาดไทย วันสถาปนาราชบัณฑิตยสถาน วันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. |
สมเด็จ | น. ยศหรือบรรดาศักดิ์อย่างสูงของเจ้านาย ขุนนาง และพระสงฆ์ ใช้นำหน้าชื่อฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดหรือได้รับแต่งตั้ง เช่น สมเด็จพระราชินี สมเด็จเจ้าฟ้า สมเด็จเจ้าพระยา สมเด็จพระราชาคณะ. |
เสนอตัว | ก. แสดงความจำนงมอบตัวให้พิจารณาเพื่อแต่งตั้งหรือรับไว้ทำงานเป็นต้น เช่น เขาเสนอตัวรับใช้ประชาชน เขาเสนอตัวเป็นนายกสมาคม. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
pro hac vice, appointment | การแต่งตั้งเฉพาะกิจการ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
probational appointment | การแต่งตั้งให้ทดลองปฏิบัติงาน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
petition nomination | การเข้าชื่อเสนอเพื่อการแต่งตั้ง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
provisional appointment | การแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่ง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
proctor | ๑. ผู้ได้รับแต่งตั้งให้กระทำการแทน๒. ผู้แทนในคดี [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
power of appointment | อำนาจแต่งตั้ง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
political appointee | ผู้ได้รับแต่งตั้งทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
political appointment | การแต่งตั้งทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
permanent appointment | การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งถาวร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
royal commission | คณะกรรมการที่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (อังกฤษ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
re-eligibility | คุณสมบัติที่จะได้รับเลือกตั้งซ้ำ, คุณสมบัติที่จะได้รับแต่งตั้งซ้ำ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
reappointment | การแต่งตั้งให้กลับเข้าดำรงตำแหน่ง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
objects of a power | ผู้ได้รับมอบอำนาจให้แต่งตั้งผู้อื่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
appointment, temporary | การแต่งตั้งชั่วคราว [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
appointee, political | ผู้ได้รับแต่งตั้งทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
appointment | การแต่งตั้ง [ ดู nomination ๑ ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
appointment | การแต่งตั้ง, การตั้ง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
appointment pro hac vice | การแต่งตั้งเฉพาะกิจการ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
appointment, permanent | การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งถาวร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
appointment, political | การแต่งตั้งทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
appointment, probational | การแต่งตั้งให้ทดลองปฏิบัติงาน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
appointment, provisional | การแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่ง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
agrément (Fr.) | การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งทูต [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
agréation (Fr.) | การทาบทามก่อนแต่งตั้งทูต [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
agréation (Fr.) | การทาบทามก่อนแต่งตั้งทูต [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
committee, credentials; credentials committee | คณะกรรมการตรวจตราสารแต่งตั้ง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
credentials | ๑. อักษรสาสน์ตราตั้ง, พระราชสาสน์ตราตั้ง (การทูต)๒. ตราสารแต่งตั้ง (ผู้แทนในการประชุมระหว่างประเทศ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
credentials committee; committee, credentials | คณะกรรมการตรวจตราสารแต่งตั้ง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
designate | ที่ได้รับแต่งตั้ง (แต่ยังไม่เข้ารับตำแหน่ง) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
designation | การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
designation | การแต่งตั้ง (ให้ดำรงตำแหน่ง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
facility of payment clause | ข้อกำหนดแต่งตั้งบุคคลให้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยแทนตน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
temporary appointment | การแต่งตั้งชั่วคราว [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
nomination | ๑. การแต่งตั้ง [ ดู appointment ]๒. การเสนอชื่อให้เลือก [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
nomination | ๑. การแต่งตั้ง๒. การเสนอชื่อ (ให้เลือก) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
nominee | ๑. ผู้ได้รับแต่งตั้ง๒. ผู้ได้รับเสนอชื่อ (ให้เลือก) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
ประดิษฐาน | [ ปฺระดิดสะถาน ] ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นําพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ในตําแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตําแหน่งอัครมเหสี [ศัพท์พระราชพิธี] |
Radiation safety officer | เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี, เจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการป้องกันรังสีที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย และได้รับการแต่งตั้งจากผู้รับใบอนุญาตให้ดูแลด้านความปลอดภัยทางรังสีตามข้อกำหนด [นิวเคลียร์] |
Radiation protection officer | เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี, เจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการป้องกันรังสีที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย และได้รับการแต่งตั้งจากผู้รับใบอนุญาตให้ดูแลด้านความปลอดภัยทางรังสีตามข้อกำหนด [นิวเคลียร์] |
emeritus professor | ศาสตราจารย์กิตติคุณ, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ, ตำแหน่งที่แต่งตั้งจากอาจารย์ประจำ ผู้เคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความรู้ ความสามารถและความชำนาญเป็นพิเศษ และพ้นจากตำแหน่งไปโดยไม่มีความผิด สภามหาวิทยาลัยอาจแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณหรือศาสตราจารย์เกียรติคุณในสาขาวิชาที่ศาสตราจารย์นั้นมีความเชี่ยวชาญเพื่อเป็นเกียรติยศได้ <p>ศาสตราจารย์ผู้นี้อาจสอนในมหาวิทยาลัยต่อไปก็ได้ แต่ไม่ใช่ศาสตราจารย์ที่ต่ออายุราชการ บางมหาวิทยาลัยจะปรากฏชื่อศาสตราจารย์กิตติคุณหรือศาสตราจารย์เกียรติคุณแยก จากศาสตราจารย์ธรรมดาในคู่มือการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา <p>การเรียกชื่อศาสตาราจารย์กิตติคุณหรือศาสตราจารย์เกียรติคุณนั้นขึ้นอยู่กับ พระราชบัญญัติของแต่ละมหาวิทยาลัย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกว่า ศาสตราจารย์กิตติคุณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกว่า ศาสตราจารย์เกียรติคุณ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
clinical professor | ศาสตราจารย์คลินิก, ตำแหน่งทางวิชาการที่สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งบุคลากรฝ่ายเวชกรรมที่มีความรู้ ความชำนาญในด้านการสอน การวิจัย การค้นคว้าทดลอง และวิธีบำบัดรักษาในภาคเวชปฏิบัติ ซึ่งมีคุณค่าทางวิชาการ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Selection and appointment | การคัดเลือกและการแต่งตั้ง [TU Subject Heading] |
accredit | แต่งตั้งให้ไปประจำ หมายถึง การแต่งตั้งมอบหมายให้หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไปประจำยังประเทศอื่น และมีอำนาจดูแลประเทศนั้นหรือเขตอาณาต่าง ๆ ซึ่งในกรณีนี้เรียกว่า Accredited Ambassador [การทูต] |
Agrément | ความเห็นชอบ ในการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตไปประจำในประเทศใด กำหนดให้ประเทศผู้ส่งขอความเห็นชอบจากประเทศผู้รับก่อน [การทูต] |
Agreement | การที่รัฐที่ผู้จะไปประจำตำแหน่งในรัฐนั้นได้ตกลง เห็นชอบกับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอชื่อให้เป็นผู้แทนทางการทูต อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้ บัญญัติไว้ว่า1. รัฐผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นที่แน่นอนว่า รัฐผู้รับได้ให้ความเห็นชอบแล้ว สำหรับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอจะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐนั้น2. รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลแก่รัฐผู้ส่งในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตซึ่งรอการถวายสารตราตั้งจะต้องเริ่มดำเนิน การเพื่อเดินทางไปยังรัฐผู้รับในเรื่องนี้ มีตัวอย่างไม่น้อยที่รัฐผู้รับปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบด้วยเหตุผลบางอย่าง นับตั้งแต่อ้างว่า การเสนอชื่อผู้รับการแต่งตั้งได้กระทำกะทันหันเกินไป และมิได้แจ้งข้อเท็จจริงมาก่อน หรือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเคยกล่าวตำหนิ วิพากษ์รัฐผู้รับ หรือผู้รับการเสนอชื่อมมีภรรยาเป็นชาวยิว หรือผู้รับการเสนอชื่อถือศาสนาโรมันคาทอลิก หรือผู้นั้นเคยปฏิบัติไม่ดีต่อชนชาติของรัฐผู้รับ หรือผู้นั้นในขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างถูกฟ้องร้อง ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกง เป็นต้นกล่าวโดยย่อ agr?ment คือ การให้ความเห็นชอบของรัฐผู้รับ แก่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐผู้ส่งให้เป็นผู้แทนทางการทูตนั่นเอง [การทูต] |
Ambassador | เอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว [การทูต] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] |
Condolences | เมื่อใดที่ประมุขของรัฐผู้รับ หรือบุคคลในครอบครัวของประมุขนั้นถึงแก่กรรม เป็นธรรมเนียมที่ผู้แทนทางการทูตซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ ประจำอยู่ในรัฐนั้น หลังจากที่ได้รายงานให้กระทรวงการต่างประเทศของผู้แทนทางการทูตนั้นก่อนทาง โทรเลขหรือโทรสารจะไปเยี่ยมหรือพบกับเจ้าหน้าที่ที่เหมาะสมของรัฐนั้นเพื่อ แสดงความเสียใจในนามของประมุขของรัฐของตน โดยมิต้องรอรับคำสั่งเป็นพิเศษจากกระทรวงการต่างประเทศก่อนตามปกติ โทรเลขหรือโทรสารแสดงความเสียใจนั้นจะส่งจากประมุขของรัฐ ไปยังบุคคลที่เหมาะสมในครอบครัวที่ประสบความทุกข์โศกนั้นโดยตรง [การทูต] |
Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] |
Consular office Declared ?Non grata? | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น [การทูต] |
Corps Diplomatique หรือ Diplomatic Corps | คณะทูตานุทูตที่ประจำอยู่ในนครหลวง (Capital) ของประเทศ ซึ่งจะมีหัวหน้าคณะทูตพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทางการทูตใน คณะทูต เจ้าหน้าที่ทางการทูตในคณะทูตนั้นจะประกอบไปด้วย อัครราชทูต (Minister) อัครราชทูตที่ปรึกษา (Minister Counselor) และที่ปรึกษา (Counselor) ซึ่งอาจจะมีคนเดียวหรือหลายคน นอกจากนี้ มีเลขานุการทางการทูตอีกหลายคน คือ เลขานุการเอก โท ตรี และตามปกติยังมีผู้ช่วยทูต (Attaché) อีกหลายคนซึ่งมีฐานะทางการทูต (Diplomatic status) คือผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร (บก เรือ และอากาศ) ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์ (Commercial Attaché) ผู้ช่วยทูตฝ่ายการแถลงข่าว (Press Attaché) และผู้ช่วยฝ่ายอื่น ๆ ซึ่งกระทรวงทบวงกรมของรัฐบาล (นอกจากกระทรวงการต่างประเทศ) เป็นฝ่ายแต่งตั้งข้าราชการของตนไปประจำในคณะทูต รวมทั้งเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ซึ่งมีฐานะทางการทูตด้วยในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูต (Head หรือ Dean of the Diplomatic Corps) จะได้แก่ผู้แทนทางการทูตอาวุโสที่ได้ประจำการอยู่ในประเทศนั้นเป็นเวลานาน ที่สุด ยกเว้นแต่ในบางประเทศ จะถือเอกอัครราชทูตผู้แทนองค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncio) เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูตตลอดไป โดยไม่คำนึงถึงเรื่องอาวุโสแต่อย่างใด เช่น ฟิลิปปินส์ [การทูต] |
credentials, letters of credence | " 1. อักษรสาส์นตราตั้ง พระราชสาส์นตราตั้ง (การทูต) หมายถึง หนังสือแต่งตั้งเอกอัครราชทูตจากประมุขของรัฐผู้ส่ง ถึงประมุขของรัฐผู้รับ 2. ตราสารแต่งตั้ง (ผู้แทนในการประชุมระหว่างประเทศ) " [การทูต] |
Diplomatic Pouch | ถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique? [การทูต] |
Diplomatic Privilege of Accommodation | มาตรา 21 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตบัญญัติไว้ว่า ?1. รัฐผู้ต้อนรับจะต้องอำนวยความสะดวกตามบทกฎหมายของประเทศของตน ในการจัดการให้ได้มาซึ่งดินแดนของตนให้แก่รัฐผู้ส่ง ซึ่งจำเป็นแก่การปฏิบัติภาระหน้าที่ของรัฐนั้น หรือช่วยเหลือให้รัฐผู้ส่งได้รับอาคารที่พำนักด้วยวิธีการหนึ่งใด 2. ในกรณีจำเป็น รัฐผู้รับจะต้องช่วยให้คณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ได้มีสถานที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม?เมื่อตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่ง ตั้งได้เดินทางไปถึงประเทศที่เขาจะเข้าดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ณ ที่นั้นมีคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลของเขาประจำทำงานอยู่แล้ว ตามปกติตัวแทนทูตดังกล่าวจะมีสำนักงานทางการทูตตั้งอยู่แล้วในสถานที่เหมาะ สม มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับการปฏิบัติงานโดยครบครัน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาหรืออุปทูตชั่วคราวมักจะเตรียมการไว้ก่อน แล้วเกี่ยวกับที่พักอาศัย เรียกว่าทำเนียบ นอกจากว่าจะมีทำเนียบตั้งอยู่ภายในบริเวณตึกสถานเอกอัครราชทูตซึ่งรัฐบาลของ เขาเป็นเจ้าของเองแต่ถ้าหากตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ จะต้องตั้งคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ก็จะต้องประสบกับปัญหาเรื่องหาสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ตั้งสถานเอกอัคร ราชทูตขึ้น ในกรณีเช่นนี้จึงจำเป็นจะต้องอาศัยคำแนะนำและความช่วยเหลือจากกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ กระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศจะมีแผนกหนึ่งทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่คณะทูตต่างประเทศโดยเฉพาะ เป็นแผนกหนึ่งในกรมพิธีการทูต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อยู่แล้ว [การทูต] |
Duration of Diplomatic Privileges and Immunities | ระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน? [การทูต] |
Exercise by Diplomatic Missions of Consular functions | การปฏิบัติหน้าที่กงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูต ตามข้อ 70 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้บัญญัติไว้ว่า1. บทของอนุสัญญานี้ใช้แก่ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูตด้วย เท่าที่บริบทจะอำนวยให้2. ชื่อของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในแผนกกงสุล หรือมิฉะนั้นได้รับภาระให้ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลของคณะผู้แทนนั้น จะต้องแจ้งไปยังกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่กระทรวงนั้นที่แต่งตั้งไว้3. ในการปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุล คณะผู้แทนทางการทูตอาจติดต่อกับก. เจ้าหน้าที่ท้องที่ของเขตกงสุลนั้นข. เจ้าหน้าที่ส่วนกลางของรัฐผู้รับ ถ้าหากกระทำได้ตามกฎหมาย ข้อบังคับ และจารีตประเพณีของรัฐผู้รับ หรือตามความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง4. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูตที่อ้างถึงในวรรค 2 ของข้อนี้ จะยังคงอยู่ในบังคับแห่งกฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับความ สัมพันธ์ทางการทูต [การทูต] |
Freedom of Communication | เสรีภาพในการติดต่อและสื่อสาร ถือเป็นสิทธิทางกฎหมาย (ไม่ใช่เพียงเอกสิทธิ์เท่านั้น) ที่สำคัญอันหนึ่งของนักการทูตย่อมจะเห็นได้ชัดว่า คณะทูต จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างพึงพอใจ นอกจากจะมีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการที่จะมีหนังสือหรือวิถีทางอื่นๆ เพื่อติดต่อกับรัฐบาลของตน หรือจะส่งและรับจดหมาย หรือหนังสือต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ถือสารพิเศษ หรือโดยถุงทางการทูต (Diplomatic pouch) สำหรับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ดังนี้?1. ให้รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางการทั้งมวลเพื่อการติดต่อกับรัฐบาล และกับคณะผู้แทนและสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่ง ไม่ว่าตั้งอยู่ ณ ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางที่เหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้ถือสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการ หมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงทางการทูต (Diplomatic Pouch) จะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูต จะต้องมีเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน สามารถแสดงลักษณะของถุงทางการทูต ซึ่งอาจบรรจุเพียงเอกสารหรือสิ่งของทางการทูตที่เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่า นั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการแสดงสถานภาพของตน และจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ส่วนบุคคลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ ในกรณีที่ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการแสดงจำนวนหีบห่อซึ่ง รวมเป็นถุง แต่ไม่ใช่ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรง และโดยเสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน? [การทูต] |
Goodwill Representative | ผู้แทนสันถวไมตรี " หมายถึง การแต่งตั้งบุคคลที่มีพื้นฐานความรู้ ความประพฤติ และ บุคลิกที่เหมาะสมในการเป็นผู้แทนของประเทศ ให้ไปเยือนต่างประเทศ เพื่ออัธยาศัยไมตรี หรือผูกมิตรกับอีกประเทศหนึ่ง โดยสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ " [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Head of Diplomatic Mission | บุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐผู้ส่งให้ทำหน้าที่ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ในกรณีของสถานเอกอัครราชทูตผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ทางการทูต เรียกว่า เอกอัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม (Ambassador Extraordinary and plenipotentiary) หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะได้แก่ อัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม หรือเรียกว่าอุปทูต (Chargé d?Affaires entitre) คองเกรสแห่งเวียนนาและที่ประชุมแห่งเอกซ์ ลา ชา แปล (Congress of Aix-la-Chapelle) ได้จำแนกหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไว้ดังต่อไปนี้ คือ1. เอกอัครราชทูต (Ambassadors) หรือเอกอัครสมณทูต (Papal Nucios)2. อัครราชทูต (Envoys Extraordinary and Ministers Plenipotentiary)3. อัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนัก (Mission Resident)4. อุปทูต (Chargé d?Affaires)แต่อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในมาตร 14 ว่า?1. หัวหน้าคณะผู้แทนแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือก. ชั้นเอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐ และหัวหน้าคณะผู้แทนอื่นที่มีชั้นเท่ากันข. ชั้นรัฐทูต อัครราชทูต และอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐค. ชั้นอุปทูตซึ่งแต่งตั้งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 2. ข้อยกเว้นที่เกี่ยวกับลำดับอาวุโสและมารยาท ต้องไม่ให้มีความแตกต่างกันระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทน ในมาตรา 15 ก็ได้ระบุว่า ชั้นที่กำหนดให้แก่หัวหน้าคณะผู้แทนนั้น ต้องทำความตกลงกันระหว่างรัฐ? [การทูต] |
High Level Panel on Threats, Challenges and Change | คณะผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงว่าด้วยภัยคุกคาม ความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง แต่งตั้งโดยนาย Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 16 คน มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายก - รัฐมนตรีเป็นประธาน [การทูต] |
Honorary Consul | กงสุลกิตติมศักดิ์ " ได้แก่ บุคคลในท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งและมอบหมายให้ดูแล ส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศและคนชาติในพื้นที่ในเขตอาณา และดำเนินการตรวจลงตราหนังสือเดินทางแก่บุคคลที่จะเดินทางเข้าประเทศที่ กงสุลกิตติมศักดิ์เป็นผู้แทน การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ และต้องยื่นสัญญาบัตร และได้รับอนุมัติบัตรเช่นเดียวกับผู้แทนฝ่ายกงสุลอาชีพ (career consular officer) ทั้งนี้ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์จะได้รับมอบหมายให้ดูแลเขตอาณาที่ครอบคลุมพื้นที่ กว้างกว่าและสำคัญกว่า ในส่วนของไทย กงสุลกิตติมศักดิ์แตกต่างจากกงสุลอาชีพใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) กงสุลกิตติมศักดิ์ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม หรือเป็นผู้นำที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับไทย (2) กงสุลกิตติมศักดิ์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสำนักงาน ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์หรือสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ทั้งหมด (3) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุลน้อยกว่ากงสุลอาชีพ ในการปฏิบัติงานของกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยจะมีคู่มือกงสุลกิตติมศักดิ์ เป็นระเบียบกฎเกณฑ์และข้อมูลสำหรับการปฏิบัติงาน " [การทูต] |
International Atomic Energy Agency | สำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต] |
International Civil Aviation Organization | เรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต] |
letter of credence | สาส์นตราตั้ง หนังสือแต่งตั้งเอกอัครราชทูต จากประมุขรัฐผู้ส่งถึงประมุขของรัฐผู้รับ [การทูต] |
Multiple Representation | คือการเป็นตัวแทนประจำประเทศต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งแห่ง ตามหลักทั่วไป รัฐหนึ่งจะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งให้ไปประจำเพียงรัฐเดียวในตำแหน่งเอกอัคร ราชทูต แต่มาในทุกวันนี้ เนื่องจากงบประมาณของประเทศมีจำกัด จึงเป็นธรรมเนียมแพร่หลายที่จะตั้งให้เอกอัครราชทูตคนเดียวไปประจำปลาย ประเทศได้ในเวลาเดียวกัน ยกเว้นแต่ว่ารัฐผู้รับหนึ่งใดจะแสดงการคัดค้านอย่างแจ้งชัดเอกอัครราชทูตคน เดียวกัน ซึ่งไปประจำอยู่หลายประเทศนั้น จะมีถิ่นพำนักถาวร (Permanent Residence) อยู่ในนครหลวงของเพียงประเทศหนึ่ง ส่วนในประเทศที่เหลือที่เขาเป็นเอกอัครราชทูตประจำอยู่ด้วยนั้น เขาไปพำนักอยู่เพียงระยะเวลาจำกัดเป็นพัก ๆ รัฐผู้ส่งจะมีคณะผู้แทนทางการทูตของตนไปประจำ ณ นครหลวงของแต่ละประเทศเหล่านั้น ตัวหัวหน้าคณะแต่ละแห่งจะมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Charge d? Affaires ad interim)เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 5 ดังนี้ ?1. หลังจากที่ได้บอกกล่าวแก่รัฐผู้รับที่เกี่ยวข้องตามสมควรแล้ว นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดแจ้งโดยรัฐผู้รับรัฐใดรัฐหนึ่ง รัฐผู้ส่งอาจแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทน หรือแต่งตั้งบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตแล้วแต่กรณี ไปยังมากกว่ารัฐหนึ่งก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐอื่นหนึ่งรัฐหรือมากกว่านั้น รัฐผู้ส่งอาจสถาปนาคณะผู้แทนทางการทูตโดยมีอุปทูตชั่วคราวเป็นหัวหน้าในแต่ ละรัฐที่หัวหน้าคณะผู้แทนไม่มีที่นั่งทำงานของตนเป็นประจำก็ได้ 3. หัวหน้าคณะผู้แทน หรือบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตของคณะผู้แทน อาจกระทำการในฐานะเป็นผู้แทนของรัฐผู้ส่งในองค์การระหว่างประเทศใดก็ได้" [การทูต] |
Plural Representation | หมายถึง การที่รัฐหนึ่งแต่งตั้งผู้แทนทางการทูตถาวรของตนมากกว่าหนึ่งคนไปประจำรัฐ อีกแห่งหนึ่งนอกประเทศ ในกรณีเช่นนั้น ผู้แทนทางการทูตคนหนึ่งจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางทูต ส่วนผู้แทนทางการทูตที่เหลือจะเป็นตัวรองอยู่ใต้บังคับบัญชาของเขา เช่น ในสหประชาชาติมีคณะทูตถาวรประจำสหประชาชาติหลายแห่ง นิยมตั้งเอกอัครราชทูตของตนเป็นจำนวนมากถึง 3 หรือ 4 คนไปประจำอยู่ในคณะ ตัวหัวหน้าคณะทูตถาวรเช่นนั้น จะมีตำแหน่งเรียกว่า เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศของตนประจำสหประชาชาติ ส่วนเอกอัครราชทูตคนที่สองในคณะทูตถาวร มีตำแหน่งเรียกว่า รองผู้แทนถาวรการส่งเอกอัครราชทูตหลายคนไปประจำเป็นตัวแทนเช่นนี้ ไม่เป็นที่นิยมกระทำกันแพร่หลายเหมือนกับการส่งหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตคน เดียวไปประจำในหลายประเทศในเวลาเดียวกัน ดังที่กล่าวมาข้างต้น [การทูต] |
Political Appointee | หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งด้วยเหตุผลทางการเมือง คือ ผู้ที่มิได้มีอาชีพทางการทูตโดยแท้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูต ซึ่งต่างกับนักการทูตอาชีพ (Career diplomat) ในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหภาพโซเวียต ธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปจะแต่งตั้งเฉพาะบุคคลที่มีอาชีพนักการทูตแท้ ๆ เข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและอัครราชทูต อย่างไรก็ดี เฉพาะในกรณีพิเศษจริง ๆ เท่านั้นจึงจะแต่งตั้งบุคคลจากภายนอก และบุคคลจากภายนอกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตได้รับผลสำเร็จในการ ปฏิบัติหน้าที่ก็มีอยู่หลายราย ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก แฮโรลด์ นิโคลสัน ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือเรื่องการทูตของท่านว่า ในประเทศใหญ่ ๆ เป็นที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้นักการทูตอาชีพเท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ เพราะได้ผ่านการศึกษาและฝึกฝนในวิชาการทูตมาเป็นอย่างดีแล้ว ส่วนเอกอัครราชทูตที่แต่งตั้งจากคนภายนอกจะมีข้อเสียบางอย่าง เช่น ในการเขียนรายงานไปยังรัฐบาล เช่น รายงานการเมือง เขาอาจมุ่งแต่จะอวดความเฉียบแหลมของเขาเอง และร้อยกรองคำอย่างไพเราะเพราะพริ้ง มากกว่าที่จะมุ่งเสนอรายงานข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบและมีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น [การทูต] |
Presentation of Credentials | หมายถึง การยื่นสารตราตั้ง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศใดประเทศหนึ่ง ก่อนที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ จะต้องนำสารตราตั้ง (Credentials) ไปยื่นต่อประมุขของรัฐนั้น ๆ พิธียื่นสารตราตั้งจะกระทำไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ แล้วแต่จะพิจารณาเห็นความเหมาะสม และความเคร่งต่อธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นสำคัญ เช่น อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่พิธียื่นสารตราตั้งของเอกอัครราชทูตต่อองค์ประมุข ของประเทศค่อนข้างวิจิตรพิสดารมาก ส่วนบางประเทศมีพิธียื่นสารอย่างง่าย ๆ แทบจะไม่มีพิธีรีตองอย่างใดในสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตันดีซี พิธียื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดีของสหรัฐฯ กระทำอย่างเรียบง่าย กล่าวคือ พอถึงเวลาที่กำหนดในวันยื่นสารตราตั้ง อธิบดีกรมพิธีการทูตหรือผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะนำรถยนต์ลีมูซีนสีดำไปยังทำเนียบของเอกอัครราชทูต เพื่อรับเอกอัครราชทูตและครอบครัวไปยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ณ ตึกทำเนียบขาว ( White House)มีข้อน่าสนใจอันหนึ่งคือ ทางฝ่ายสหรัฐฯ จะสนับสนุนให้เอกอัครราชทูตพาภรรยาและบุตรทั้งชายหญิงไปร่วมในการยื่นสารตรา ตั้งนั้นด้วย การแต่งกายของเอกอัครราชทูตก็สวมชุดสากลผูกเน็คไทตามธรรมดา ระหว่างที่ยื่นสารมีการปฏิสันถารกันพอสมควรระหว่างเอกอัครราชทูตกับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีช่างภาพของทางราชการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และมอบภาพถ่ายให้แก่เอกอัครราชทูตในวันหลัง (ต่างกับพิธีของอังกฤษมาก) เอกอัครราชทูตไม่ต้องพาคณะเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย หลังจากพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว อธิบดีกรมพิธีการทูตจะนำเอกอัครราชทูตและครอบครัวกลับไปยังทำเนียบที่พักโดย รถยนต์คันเดิม เป็นอันเสร็จพิธียื่นสารตราตั้ง โดยที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างมีสถานเอกอัครราชทูตของตนตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี ดังนั้น ในวันไหนที่มีการยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ทางการทำเนียบขาวมักจะกำหนดให้เอกอัครราชทูตใหม่จากประเทศต่าง ๆ เข้ายื่นสารในวันนั้นราว 4-5 ประเทศติดต่อกัน มิใช่วันละคนอย่างที่ปฏิบัติในบางประเทศทันทีที่เอกอัครราชทูตยื่นสารตรา ตั้งต่อประธานาธิบดีเรียบร้อยแล้ว เอกอัครราชทูตจะมีหนังสือเวียนไปยังหัวหน้าคณะทูตทุกแห่งในกรุงวอชิงตันดีซี แจ้งให้ทราบว่าในวันนั้น ๆ เขาได้ยื่นสารตราตั้งต่อประมุขของรัฐ ในฐานะเอกอัครราชทูตเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับแสดงความหวังในหนังสือว่าความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างคณะผู้ แทนทางการทูตทั้งสอง ทั้งในทางราชการและทางส่วนตัว จะมั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้นอีก จากนั้น เอกอัครราชทูตใหม่ก็จะหาเวลาไปเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซีทีละราย กว่าจะเยี่ยมหมดทุกคนก็กินเวลานานอยู่หลายเดือนทีเดียว [การทูต] |
Secretariat of the United Nations | คือสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสมัชชาตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ตามที่องค์การต้องการหน้าที่สำคัญของเลขาธิการสหประชา ชาติ คือ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การ นำเรื่องใดก็ตามเสนอต่อคณะมนตรีความมั่นคง ซี่งตามทรรศนะของเลขาธิการเห็นว่าเป็นภัยคุกคามสันติภาพและความมั่นคง ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ทำรายงานประจำปี และรายงานเพิ่มเติมใด ๆ ที่จำเป็นเสนอต่อสมัชชาสหประชาชาติ เกี่ยวกับงานขององค์การ สหประชาชาติคณะเจ้าหน้าที่ที่ทำงานช่วยเหลือเลขาธิการนั้น ถือเป็นเจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศ ประกอบด้วยชนชาติต่าง ๆ ในการเกณฑ์เจ้าหน้าที่เหล่านี้เข้าทำงานกับสหประชาชาติ จะคัดแต่ผู้ที่มีประสิทธิภาพ ความสามารถ และความซื่อสัตย์ในระดับสูงสุด และคำนึงถึงเขตภูมิศาสตร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการทำงานตามหน้าที่ ทั้งตัวเลขาธิการและคณะเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมงาน จะต้องไม่แสวงหรือรับคำสั่งจากรัฐบาลใด ๆ หรือจากผู้มีอำนาจหน้าที่อื่นใดที่อยู่นอกเหนือองค์การสหประชาชาติ ขณะเดียวกัน สมาชิกของสหประชาชาติได้ตกลงยอมรับนับถือความรับผิดชอบที่มีลักษณะระหว่าง ประเทศของสำนักเลขาธิการ และจักไม่แสวงใช้อิทธิพลใด ๆ ต่อสำนักเลขาธิการ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบเหล่านั้น [การทูต] |
Security Council of the United Nations | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ [การทูต] |
Special Envoy | ผู้แทนพิเศษที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายใน กรณีต่าง ๆ [การทูต] |
Termination of Mission of Diplomatic Agent | ภารกิจของผู้แทนทางการทูตหรือหัวหน้าคณะทูตจะสิ้น สุดลง 1. ระยะเวลาที่ผู้แทนทางการทูตได้รับแต่งตั้งให้ประจำอยู่ในประเทศผู้รับได้ครบ กำหนดตามวาระ2. เมื่อวัตถุประสงค์ของภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติได้สัมฤทธิผลเรียบ ร้อยแล้ว3. ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากต้องโยกย้ายไปที่อื่น หรือลาออก หรือเนื่องจากครบเกษียณอายุ4. ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของรัฐบาลของตน หรือกระทำตามคำขอร้องของรัฐบาลของประเทศผู้รับ ซึ่งเขาได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงานอยู่5. เนื่องจากการเสด็จสวรรคตของพระมหากษัตริย์ของประเทศตน หรือประเทศที่ตนได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงาน6. หากตัวเขาเองได้กระทำการอันเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศบางอย่าง หรือเนื่องจากเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่คาดไม่ถึง และมีลักษณะร้ายแรงจริง ๆ ตัวเขาเองจะต้องรับผิดชอบในการตัดความสัมพันธ์7. เมื่อรัฐบาลผู้รับ ซึ่งตัวเขาได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงานอยู่นั้น แล้วจะด้วยเหตุผลอย่างใดก็ตาม ได้แจ้งให้เขาเดินทางออกไปจากประเทศในทันที โดยไม่ต้องระให้รัฐบาลของตนเรียกตัวกลับ8. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งของผู้แทนทางการทูต ดังเช่น ได้รับเลื่อนตำแหน่งจากอัครราชทูตขึ้นเป็นเอกอัครราชทูต9. เนื่องจากเกิดสงครามขึ้นระหว่างรัฐทั้งสอง10. เนื่องจากถูกถอดจากตำแหน่ง หรือสละราชบัลลังก์ของประมุขของประเทศใดประเทศหนึ่ง 11. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในประเทศใดประเทศหนึ่ง จากระบบพระมหากษัตริย์เป็นระบบสาธารณรัฐ หรือเป็นระบบสาธารณรัฐอันมีประมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมาย12. เนื่องจากรัฐใดรัฐหนึ่งของทั้งสองรัฐต้องสูญสภาวะในการเป็นรัฐเหตุผลข้างต้น ทั้งหมดนี้ เป็นทรรศนะของเซอร์เออร์เนสท์ ซาทาว ซึ่งได้ให้ไว้ในหนังสือของท่าน ชื่อว่า ?A Guide to Diplomatic Practice? ฉบับเรียบเรียงใหม่ครั้งที่ 4 โดยเซอร์เนวิลล์ แบลนด์ [การทูต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
ได้รับแต่งตั้ง | [dāirap taengtang] (v, exp) EN: get appointed ; be appointed FR: être nommé |
การแต่งตั้ง | [kān taengtang] (n) EN: appointment FR: nomination [ f ] |
ผู้แต่งตั้ง | [phū taengtang] (n) EN: appointer ; authority |
แต่งตั้ง | [taengtang] (v) EN: appoint ; name FR: nommer ; désigner ; promouvoir |
แต่งตั้ง | [taengtang] (adj) EN: appointed ; nominated FR: désigné ; attitré |
แต่งตั้งกรรมการ | [taengtang kammakān] (v, exp) EN: appoint members of the board |
Longdo Approved EN-TH
accreditation (of an ambassador) | (n) การแต่งตั้ง (ทูต) |
appointment | (n) 1. โองการ 2. การแต่งตั้ง, การกำหนด(วัน) 3. การนัดหมาย, การนัดพบ 4. การจัดเครื่องประดับ, เครื่องแต่ง(ห้อง), เครื่องแต่งตัว |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
accredit | (vt) แต่งตั้ง, See also: เพิ่มอำนาจให้, มอบอำนาจให้, Syn. authorize, give credentials to, certify |
accredit | (vt) แต่งตั้งให้เป็นฑูต |
anoint | (vt) แต่งตั้ง |
appoint | (vt) มอบหมาย, See also: กำหนดหน้าที่, แต่งตั้ง, Syn. name, elect, select, designate |
appoint | (vi) มอบหมาย, See also: กำหนดหน้าที่, แต่งตั้ง |
appointed | (adj) ที่ได้รับแต่งตั้ง, See also: ได้รับแต่งตั้ง, ที่ได้รับการแต่งตั้ง, Syn. selected, chosen, delegated |
appointee | (n) ผู้ได้รับการแต่งตั้ง |
appointment | (n) การแต่งตั้ง, Syn. designation, election, nomination |
appointment | (n) ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง |
appoint for | (phrv) แต่งตั้งเป็น, See also: เลือกให้เป็น |
charge | (vt) แต่งตั้ง, Syn. appoint |
create | (vt) แต่งตั้ง, Syn. appoint |
choose as | (phrv) เลือกให้เป็น, See also: แต่งตั้งให้เป็น, Syn. choose for |
choose for | (phrv) เลือกให้เป็น, See also: แต่งตั้งให้เป็น, Syn. choose as, select as |
coopt onto | (phrv) แต่งตั้ง, See also: เลือก |
deputize for | (phrv) แต่งตั้งเป็นตัวแทน, See also: ให้รักษาการแทน, Syn. stand for, stand in |
designate as | (phrv) แต่งตั้งให้เป็น, See also: ถูกกำหนดให้เป็น |
find out | (phrv) ได้รับการแต่งตั้ง |
deputation | (n) การแต่งตั้งให้เป็นตัวแทน, See also: การมอบหมายให้, การให้อำนาจ |
depute | (vt) แต่งตั้งให้ทำการแทน, See also: แต่งตั้งให้เป็นตัวแทน, เลือกให้เป็นตัวแทน, มอบหมาย, ให้อำนาจ, กำหนดให้, Syn. delegate |
designate | (vt) ให้ชื่อ, See also: ตั้งชื่อ, ใส่ยศ, ติดยศ, แต่งตั้งเป็น, Syn. baptize, brand, call |
designation | (n) การแต่งตั้ง, Syn. appointment, assignment, naming |
designee | (n) ผู้ได้รับการแต่งตั้ง, See also: ผู้ได้รับการเสนอชื่อ, Syn. nominee, selectee |
dub | (vt) แตะไหล่เบาๆ (เพื่อแต่งตั้งให้เป็นอัศวิน), Syn. confer a knighthood, knight, title |
fill | (vt) แต่งตั้ง, See also: บรรจุ, ว่าจ้าง, เลือกให้ดำรงตำแหน่ง, Syn. appoint, elect |
get onto | (phrv) ได้รับแต่งตั้ง, See also: ได้รับเลือก |
institute into | (phrv) แต่งตั้งอย่างเป็นทางการ, See also: กำหนดอย่างเป็นทางการ, Syn. institute to |
institute to | (phrv) แต่งตั้งอย่างเป็นทางการ, See also: กำหนดอย่างเป็นทางการ, Syn. institute into |
installation | (n) การสถาปนา, See also: การแต่งตั้ง |
instate | (vt) มอบตำแหน่งให้, See also: แต่งตั้ง |
invest | (vt) แต่งตั้ง, See also: ให้อำนาจ, Syn. empower, authorize |
junto | (n) กลุ่มที่แต่งตั้งตัวเองขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์ทางการเมือง, Syn. cabal |
knight | (vt) แต่งตั้งอัศวิน, See also: พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นขุนนาง |
name as | (phrv) แต่งตั้งเป็น, See also: กำหนดให้เป็น |
make | (vt) แต่งตั้ง, Syn. constitute, appoint |
nominate | (vt) แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหรือรับหน้าที่, See also: แต่งตั้ง, ระบุชื่อ, เลือกให้เป็น, Syn. choose, pick |
nomination | (n) การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหรือรับหน้าที่, Syn. assignment |
patronage | (n) ตำแหน่งที่ถูกแต่งตั้ง, See also: เส้นสายทางการเมือง, Syn. backing |
placer | (n) ผู้จัด, See also: ผู้แต่งตั้ง, ผู้วาง |
propose | (vt) เสนอชื่อ, See also: เสนอชื่อเพื่อแต่งตั้ง |
place in | (phrv) แต่งตั้งเป็น, Syn. put in |
prefer to | (phrv) แต่งตั้ง, See also: มอบให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ |
put in | (phrv) แต่งตั้ง, See also: มอบหมาย, Syn. place in |
reappoint | (vt) แต่งตั้งอีกครั้ง |
reappointment | (n) การแต่งตั้งอีกครั้ง |
raise a man to the purple | (idm) แต่งตั้งเป็นพระราชา |
self-styled | (adj) ซึ่งตั้งตัวเป็น, See also: ขนานนามตัวเอง, อ้างตัวเอง, แต่งตั้งตัวเอง, เรียกขานตัวเอง, ตั้งฉายาให้ตัวเอง, Syn. named, called, so-called, immodestly |
tap | (vt) แต่งตั้ง (มักใช้ในรูปของ passive voice), See also: คัดเลือก |
Hope Dictionary
accredit | (อะเครด' ดิท) vt. เพิ่มบัญชี, เชื่อถือ, อนุญาต, แต่งตั้ง, ถือว่า, รับรอง, รับรองวิทยฐานะ accre-ditation, accreditment n. |
appoint | (อะพอยทฺ') vt. แต่งตั้ง, ตั้งให้เป็น, |
appointee | (อะพอย'ที) n. ผู้ได้รับการแต่งตั้ง |
appointive | (อะพอย'ทิฟว) adj. เกี่ยวกับการแต่งตั้ง (pertaining to appointment) |
appointment | (อะพอย'เมินทฺ) n. การแต่งตั้ง, ตำแหน่ง, การนัดพบ, เครื่องแต่งตัว, อุปกรณ์ |
authoris | (z) e (ออ'เธอไรซ') มอบอำนาจ, แต่งตั้งมอบหมาย. -authoris (z) er n. |
collate | (โคเลท') { collated, collating, collates } vt. ตรวจเทียบ, ตรวจทาน, ตรวจปรู๊ฟ, ปรับให้เหมาะสม, ลำดับหน้า, เรียง, แต่งตั้งตำแหน่งทางศาสนาคริสต์ รวมแฟ้มเรียง1. หมายถึงการนำแฟ้มข้อมูลมาเรียงกัน2. เป็นคำสั่งพิมพ์เมื่อต้องการพิมพ์หลายชุด (ถ้าใช้เครื่องพิมพ์เลเซอร์) แต่ต้องการให้พิมพ์ให้เสร็จทีละชุด (แทนที่จะพิมพ์หน้าเดียวกันให้ครบจำนวนชุดที่ต้องการ) การพิมพ์แบบ collate จะใช้เวลาในการพิมพ์มากกว่า |
create | (ครีเอท') { created, creating, creates } vt. สร้าง, สร้างสรรค์, ประดิษฐ์ขึ้น, ก่อให้เกิดขึ้น, ทำให้เกิดขึ้น, แต่งตั้ง vt. ทำในสิ่งที่เป็นการสร้างสรรค์ adj. ซึ่งสร้างขึ้น, See also: createdness n. ดูcreate, Syn. make, originate |
delegacy | (เดล'ละกะซี) n. ตำแหน่งของตัวแทน, กลุ่มตัวแทน, การแต่งตั้งหรือส่งตัวแทน |
delegate | (เดล'ละเกท) n. ตัวแทน, ผู้แทน vt. มอบหน้าที่ให้ทำการแทน, แต่งตั้งตัวแทน, See also: delegable adj. ดูdelegate, Syn. legate |
delegation | (เดลละเก'เชิน) n. การแต่งตั้งหรือส่งตัวแทน, ภาวะที่เป็นตัวแทน, กลุ่มตัวแทน, คณะผู้แทน |
deputation | (เดพยะเท'เชิน) n. การแต่งตั้งผู้รักษาการแทน, การแต่งตั้งตัวแทน, การมอบหมายหน้าที่ให้กับผู้รักษาการแทน, Syn. delegation |
deputize | (เดพ'พะไทซ) vt. แต่งตั้งตัวแทน vi. เป็นตัวแทน, แทน, รักษาการแทน |
designate | (เดซ'ซิเนท) vt. กะ, กำหนด, ระบุ, เรียกว่า, ตั้งชื่อ, ตั้ง. adj. ซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือเลือกให้เป็น, See also: designative adj. ดูdesignate designatory adj. ดูdesignate designator n. ดูdesignate, Syn. name, select |
designee | (เดซซินี') n.ผู้ถูกแต่งตั้ง ผู้ถูกกำหนด |
detail | (ดี'เทล) n. รายละเอียด, ข้อปลีกย่อย, ส่วนย่อย vt. แจ้งรายละเอียด, แต่งตั้งหรือสั่งให้ปฎิบัติการพิเศษ |
instal | (อินสทอล') vt. ติดตั้ง, สถาปนา, ประกอบ, แต่งตั้ง, นำไปนั่ง, ทำให้เข้ารับตำแหน่งเป็นทางการ, Syn. place |
install | (อินสทอล') vt. ติดตั้ง, สถาปนา, ประกอบ, แต่งตั้ง, นำไปนั่ง, ทำให้เข้ารับตำแหน่งเป็นทางการ, Syn. place |
installation | (อินสทอลเล'เชิน) n. การติดตั้ง, การสถาปนา, การแต่งตั้ง, เครื่องมือติดตั้ง, ที่ทำการ, กองบัญชาการ, ค่าย, Syn. establishment |
instate | (อินสเทท') vt. มอบตำแหน่งให้, แต่งตั้ง, See also: instatement n., Syn. install |
knight | (ไนทฺ) n. อัศวิน, ม้า (หมากรุก) , ผู้สนับสนุนที่ซื่อสัตย์. vt. แต่งตั้งให้เป็นอัศวิน |
make | (เมคฺ) { made, made, making, makes } n. ทำ, ทำให้เกิดขึ้น, สร้าง, ทำให้เป็น, ก่อ, นำมาซึ่ง, ทำให้เป็น, ก่อ, นำมาซึ่ง, ทำให้, เปลี่ยนให้เป็น, ประกอบขึ้นเป็น, เตรียม, ปรุง, บรรลุ, ถึง, ทำรายได้, ประพันธ์, เขียน, ประกาศเป็นกฎหมาย, แต่งตั้ง, ตั้งชื่อ, กลายเป็น, แปล, ประเมิน, ประมาณ, รวมเป็นเท่ากับ, มาทันเวลา |
nominate | (นิม'มิเนท) vt. เสนอชื่อเพื่อให้เลือกตั้ง, แต่งตั้ง, ตั้งชื่อ, ระบุชื่อ. adj. เกี่ยวกับชื่อเฉพาะ., See also: nominator n., Syn. name |
nomination | (นอมมิเน'เช ิน) n. การเสนอชื่อเข้ารับเลือกตั้ง, แต่งตั้ง, ภาวะที่ถูกแต่งตั้ง |
order | (ออร์'เดอะ) n. คำสั่ง, ใบสั่ง, ตั๋วแลกเงิน, ธนาณัติ, หนังสือมอบอำนาจ, ระดับ, ลำดับ, ขั้น, นิกาย, คณะสงฆ์, อนุกรม, ชนิด, แบบแผน, ระเบียบ, สมณศักดิ์, เครื่องอิสริยาภรณ์, การลงมติในที่ประชุมนิติบัญญัติ. -Phr. (in order เหมาะสม, เป็นระเบียบ) -Phr. (in order that เพื่อว่า) vt.ออกคำสั่ง, สั่งซื้อ, ทำให้เป็นระเบียบ, บรรพชา, แต่งตั้งให้เป็นพระ |
ordination | (ออร์ดะเน'เชิน) n. พิธีบวช, การบวช , การมอบตำแหน่งสมณศักดิ์, การจัดการ, การบันดาล, การแบ่งขั้นตอน, การแต่งตั้ง, การออกคำสั่ง |
place | (เพลส) n. สถานที่, บริเวณ, จุดหมาย, ที่, ที่พัก, เขต, ฐานะ, ตำแหน่ง, สภาพ, สถานการณ์, เทศะ, หน้าที่, การงาน, ที่ตั้ง, โอกาสที่เหมาะ. -Phr. (give place to ให้ความสำคัญ, ถูกแทนที่โดย) -Phr. (go places ประสบความสำเร็จ) -Phr. (take place เกิดขึ้น) vt. จัด, วาง, กะ, คาดคะเน, บรรจุ, ใส่, เอาไว้, ฝาก, มอบ, แต่งตั้ง, วินิจฉัย, ปรับเสียง, วางลูก, ส่งกระสุน vi. อยู่ในอันดับ |
placer | (เพลส'เซอะ) n. ผู้จัด, ผู้จัดวาง, ผู้แต่งตั้ง, ผู้ได้อันดับที่, ดินทรายที่มีทองหรือโลหะมีค่าปนอยู่, |
post | (โพสทฺ) n. เสา, หลัก, ตำแหน่ง, หน้าที่, ที่มั่น, การไปรษณีย์, ไปรษณียภัณฑ์, เที่ยวเมล์, ที่ทำการไปรษณีย์, vt. ปิดประกาศ, ประกาศ, ประจาน, จัดกำลัง, แต่งตั้งให้ประจำตำแหน่ง vt. ใส่จดหมายลงในตู้ไปรษณีย์, ส่งจดหมาย, ย้าย, แจ้ง. vi. ขี่ม้าเร็ว, เดินทางอย่างรวดเร็ว. adv. รีบเร่ง, โดยทางไปรษณีย์, โพสต์ <คำอ่าน>ย่อมาจาก power-on self-test เป็นแบตเตอรี่ตัวหนึ่งในพีซี ที่จะทำหน้าที่ทันทีที่เมื่อมีการเปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำการตรวจสอบขั้นต้นให้ว่า อุปกรณ์ ทุกชิ้นทำงานได้ตามปกติหรือไม่ หากมีส่วนใดไม่ปกติ ก็จะแสดงข้อความระบุความ ผิดพลาด (error message) ให้บนจอภาพ และจะรอจนกว่าจะมีการสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีการแก้ไข เสร็จแล้วจึงจะทำงานต่อ |
propose | (โพรโพซ') vt. เสนอ, เสนอข้อคิดเห็น, ขอ (แต่งงาน) , แนะนำ, แต่งตั้ง, วางแผน vi. เสนอ, เสนอข้อคิดเห็น., See also: proposable adj. proposer n., Syn. offer, present |
provision | (พระวิช'เ?ิน) n. การจัดหา, สิ่งที่จัดหามาให้, การเตรียมการ, การกำหนด, ข้อกำ-หนด, บทบัญญัติ, เสบียงอาหาร, การแต่งตั้งตำ-แหน่งทางศาสนา (โดยเฉพาะศาสนาคริสเตียน) . vt. จัดหา, จัดเสบียงอาหาร., See also: provisioner n., Syn. condition, ar |
Nontri Dictionary
appoint | (vt) แต่งตั้ง, กำหนด, มีโองการ, ออกคำสั่ง, นัดหมาย |
appointer | (n) ผู้แต่งตั้ง |
appointment | (n) การแต่งตั้ง, การกำหนด, การนัดหมาย, เครื่องแต่งตัว |
assign | (vt) กำหนด, มอบหมาย, แต่งตั้ง, จัดให้ |
assignment | (n) การกำหนด, การมอบหมาย, การแต่งตั้ง |
authorize | (vt) ให้อำนาจ, ให้สิทธิ์, อนุญาต, มอบอำนาจ, แต่งตั้ง, มอบหมาย |
canonize | (vt) ยกย่องเป็นนักบุญ, แต่งตั้งให้เป็นนักบุญ |
commission | (n) ค่านายหน้า, ค่าคอมมิชชั่น, คณะกรรมาธิการ, การแต่งตั้ง |
commission | (vt) แต่งตั้ง, มอบหมายให้ทำ, มอบอำนาจหน้าที่, สั่งการ |
constitute | (vt) ประกอบขึ้น, สถาปนา, แต่งตั้ง, บัญญัติขึ้น, สร้างขึ้น |
depute | (vt) ตั้งตัวแทน, แต่งตั้งผู้แทน |
designation | (n) การแต่งตั้ง, ชื่อ, ตำแหน่ง, การตั้ง, การเรียกขาน, การระบุ |
dub | (vt) ให้ฉายา, ขนานนาม, แต่งตั้ง, เรียกขาน |
investiture | (n) พิธีแต่งตั้ง, พิธีพระราชทาน, การมอบหมาย, การลงทุน |
nominate | (vt) ตั้งชื่อ, แต่งตั้ง, ระบุชื่อ, เสนอชื่อ |
nomination | (n) การแต่งตั้ง, การเสนอชื่อ |
nominative | (adj) ซึ่งได้รับการเสนอชื่อ, ซึ่งได้รับการแต่งตั้ง |
ordination | (n) การบวช, การบรรพชา, การอุปสมบท, การดลบันดาล, การแต่งตั้ง |
preordain | (vt) แต่งตั้งเสียก่อน |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
co-opt | (vt) แต่งตั้งโดยได้รับความเห็นชอบ |
endorsement | (n) officially approved ได้รับการอนุญาต ในที่นี้หมายถึง ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี |
letter of administration | (n) หนังสือแต่งตั้งผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาล |
nla | (abbrev, name, org) สนช. ย่อมาจากคำว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เกิดขึ้นจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร(19 กันยายน 2548)โดยภาษาอังกฤษคำเต็มคือ National Legislative Assembly |
priest | (n) ปุโรหิต (เป็นตำแหน่งหนึ่งของฐานะปุโรหิตที่แต่งตั้งให้ผู้ชายและเป็นส่วนประกอบหนึ่งของฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน ส่วนใหญ่ใช้ในศาสนามอรมอน), See also: Priesthood Mormon |
puppet government | (n) รัรัฐบาลหุ่นเชิด รัฐบาลที่ทำงานโดยมีผู้อื่นบางการอยู่ข้างหลัง เช่น คุณสมัครดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยมีคุณทักษิณเป็นคนคอยสั่งการ แต่งตั้ง โยกย้ายตำแหน่งต่างๆและกำหนดนโยบายต่างๆเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ตนและญาติพี่น้อง แม้จะพักอาศัยอยู่ไกลถึงลอนดอนก็ตาม |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
起用 | [きよう, kiyou] การแต่งตั้ง , การว่าจ้าง , การเลือกใช้(คน) |
Longdo Approved DE-TH
anstellen | (vt) |stellte an, hat angestellt| แต่งตั้ง, จ้าง (งาน) |
küren | (vt) |kürte/kor, hat gekürt/hat gekoren| เลือก, แต่งตั้ง เช่น Trotz seines brutalen Ausrasters im Finalspiel gegen Italien ist Frankreichs Kapitän Zinédine Zidane zum besten Spieler der WM gekürt worden., See also: wählen, Syn. nominieren |
Longdo Unapproved FR-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
decommisssion | (vt) take out of commission. ไม่มีการมอบหมาย, ไม่มีการแต่งตั้ง |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0524 seconds, cache age: 3.578 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม