130 ผลลัพธ์ สำหรับ *พม่า*
ภาษา
หรือค้นหา: พม่า, -พม่า-Longdo Unapproved MM - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
မြန်မာ | (n) พม่า |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
พม่า | (n) Myanmar, See also: Burma, Syn. เมียนมาร์, ประเทศพม่า, Example: สุวรรณภูมิคือแหลมอินโดจีนที่รวมเอาดินแดนของประเทศพม่า มอญ สยาม เขมรและแหลมมลายู, Count Unit: ประเทศ, Thai Definition: ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย |
พม่าแทงกบ | (n) name of a Thai tune, Syn. เพลงพม่าแทงกบ, Example: เสียงเพลงบรรเลงขึ้นทันที แต่ไม่ใช่เพลงมหาฤกษ์มหาชัย มันคือเพลง พม่าแทงกบ เรียกร้องเสียงเฮฮาได้ดีมาก, Count Unit: เพลง, Thai Definition: ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง |
สหภาพพม่า | (n) Union of Myanmar, Syn. พม่า, Example: ชาวกะเหรี่ยงไม่ต้องการที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพพม่า |
พม่ารำขวาน | (n) name of a Thai tune, Syn. เพลงพม่ารำขวาน, Example: เพลงไทยเดิมหลายๆ เพลงมีชื่อขึ้นต้นเป็นสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่ไทย เช่น ลาวเจริญศรี มอญดูดาว พม่ารำขวาน ทยอยยวน แขกบรเทศ ฯลฯ, Count Unit: เพลง, Thai Definition: ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
เป็ดพม่า | น. ชื่อนกเป็ดน้ำขนาดใหญ่ชนิด Tadorna ferruginea (Pallas) วงศ์ย่อย Anatinae ในวงศ์ Anatidae ขนาดและรูปร่างคล้ายห่าน ลำตัวสีน้ำตาลแดง ตัวผู้มีลายคล้ายสร้อยคอเล็ก ๆ สีแดงเข้ม, จากพราก จากพาก จักรพาก หรือ จักรวาก ก็เรียก. |
พม่า ๑ | (พะม่า) น. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย. |
พม่า ๒ | (พะม่า) น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทยสำเนียงพม่า เช่น พม่ากล่อม พม่าเห่ พม่ากำชับ พม่าห้าท่อน. |
ไพม้า | น. เรือพายม้า, ใช้ว่า พลายม้า ก็มี. |
ก้อ ๒ | น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต–พม่า มีอยู่ทางแถบเหนือของประเทศไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก. |
เขิน ๑ | น. ชื่อคนไทใหญ่เผ่าหนึ่ง ส่วนมากอยู่ในแคว้นฉาน ประเทศพม่า |
จักรพาก, จักรวาก | (จักกฺระ-) น. นกจากพราก. (ดู จากพราก, จากพาก และ เป็ดพม่า). |
จากพราก, จากพาก | (จากกะพรฺาก, จากกะพาก) ดู เป็ดพม่า. |
จีน ๑ | น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับมองโกเลีย รัสเซีย เวียดนาม ลาว พม่า ภูฏาน เนปาล อินเดีย คีร์กีซ และคาซัคสถาน มีภาษาพูดและอักษรของตนเองใช้. |
ฉาน ๔ | น. ชื่อรัฐหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่า ติดต่อกับทางภาคเหนือของประเทศไทย, ไทใหญ่ ก็เรียก. |
ตะวันออกกลาง | น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศอินเดียและปากีสถาน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา, เดิมหมายรวมถึงประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย และพม่า ด้วย. |
ตะวันออกไกล | น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันออกของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ห่างไกลจากทวีปยุโรปมาก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มองโกเลีย และไซบีเรีย บางทีก็รวมถึงประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และอินโดนีเซียด้วย. |
เต่าปูลู | น. ชื่อเต่าน้ำจืดชนิด Platysternon megacephalum Gray วงศ์ Platysternidae หัวโตมากและแข็งหดเข้ากระดองไม่ได้อย่างเต่าชนิดอื่น ปลายปากเป็นจะงอย กระดองหลังยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร หางยาวเท่ากับหรือยาวกว่ากระดองหลังเล็กน้อย อาศัยอยู่ตามลำธารบนภูเขาสูง ปีนป่ายโขดหินหรือต้นไม้เตี้ย ๆ ได้ กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยอาจพบถึง ๓ ชนิดย่อย คือ ปูลูเหนือ (P. m. megacephalum Gray), ปูลูพม่า (P. m. peguens Gray) และปูลูไทย ( P. m. vogeli Wermuth) พบทางภาคเหนือ ตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนเหนือของภาคตะวันตก. |
เถรวาท | (เถระวาด) น. ลัทธิที่ถือตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระอรหันตเถระรวม ๕๐๐ รูป ได้รวบรวมไว้ในคราวปฐมสังคายนา, ชื่อนิกายพระพุทธ-ศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และไทยเป็นต้น, หินยาน หีนยาน หรือ ทักษิณนิกาย ก็ว่า. |
แถบ | เรียกเงินรูปีที่เคยใช้ในพม่า ว่า เงินแถบ. |
ทวาย ๑ | (ทะ-) น. ชื่อเมืองทางภาคใต้ของประเทศพม่า, เรียกชาวเมืองนั้น ว่า ชาวทวาย. |
ไทใหญ่ | น. ชื่อเรียกชนชาติไทสาขาหนึ่งอยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่า, เรียกกันว่า เงี้ยว, ไทหลวง ก็ว่า. |
ไทย ๑ | (ไท) น. ชื่อประเทศที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับลาว เขมร มาเลเซีย และพม่า |
นาค ๒, นาคา ๑ | (นาก) น. ชื่อชนเผ่าหนึ่งอยู่ในบริเวณเทือกเขานาค ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพม่า มีหลายสาขา เช่น อาโอนาค กูกินาค. |
โบชุก | น. ตำแหน่งแม่ทัพพม่า เช่น ให้มางจาชโร เปนโบชุกที่สอง ยกทัพรองไปตาม (ตะเลงพ่าย). |
ปัตตานีกะ, ปัตตานึก | น. กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก หรือปัตตานีกะ (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). |
ผู้หญิงริงเรือ, ผู้หญิงยิงเรือ | น. ผู้หญิงทั่วไป เช่น เห็นผู้หญิงริงเรือที่เนื้อเหลือง (อภัย), อีกอย่างหนึ่งจะไปติดพันกับผู้หญิงริงเรือที่อยู่ในที่หวงแหน (พระราชหัตถเลขา รัชกาลที่ ๔), ของพม่าเป็นเรื่องของพระอินทร์ ดูสนิทกว่าที่จะให้ผู้หญิงยิงเรือ. |
พลายม้า | น. เรือพายม้า, ใช้ว่า ไพม้า ก็มี. |
พายม้า | น. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง หัวเรือและท้ายเรือเรียวงอนขึ้นพองาม มีไม้หูกระต่ายติดขวางอยู่ทั้งหัวและท้ายเรือ ตรงกลางลำป่องออก ใช้งานในแถบภาคกลาง, ใช้ว่า ไพม้า หรือ พลายม้า ก็มี. |
พุกาม | น. พม่า, ใช้ พูกาม ก็มี. |
พูกาม | น. พม่า, ปรกติใช้ พุกาม. |
มรัมเทศ | (มะรำมะเทด) น. ประเทศพม่า. |
มอญ ๑ | น. ชื่อชนชาติหนึ่ง เคยเป็นใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของพม่า ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศพม่า มีภาษาพูดอยู่ในตระกูลมอญ–เขมร และมีอักษรของตนเองใช้. |
ม่าน ๒ | น. ชนชาติพม่า. |
มูเซอ | น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ตระกูลทิเบต–พม่า อยู่ทางแถบเหนือของประเทศไทยและพม่า. |
รถานึก | น. กองทัพเหล่ารถ, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). |
ลาว ๑ | น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับไทย เขมร เวียดนาม พม่า และจีน, เรียกเต็มว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. |
ลีซอ | น. ชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง ตระกูลทิเบต–พม่า อยู่ทางแถบเหนือของประเทศไทย. |
สหภาพ | ชื่อรูปแบบหนึ่งของการรวมตัวของรัฐตั้งแต่ ๒ รัฐขึ้นไป เช่น สหภาพพม่า |
สุวรรณภูมิ | (สุวันนะพูม) น. ดินแดนแหลมทองซึ่งเชื่อกันว่ามีอาณาบริเวณครอบคลุมพม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์. |
หม่อง | น. คำนำหน้าชื่อผู้ชายพม่า (พม่า หม่อง ว่า น้อง) |
หัตถานึก | น. กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). |
หินยาน | (หินนะ-) น. ชื่อนิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และ ไทยเป็นต้น, หีนยาน หรือ เถรวาท ก็ว่า. |
หีนยาน | (หีนะยาน, หีนนะยาน, ฮีนะยาน) น. ชื่อนิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และไทยเป็นต้น, หินยาน หรือ เถรวาท ก็ว่า. |
อนีก-, อนีกะ, อนึก | (อะนีกะ-, อะนึก) น. กองทัพในสมัยโบราณ, เมื่อใช้เป็นส่วนท้ายของสมาสใช้ว่า อนีกะ บ้าง อนึก บ้าง เช่น ปัตตานีกะ ปัตตานึก = กองทัพเหล่าราบ กองทัพทหารเดินเท้า, อัศวานีกะ อัศวานึก = กองทัพม้า เหล่าทหารม้า. |
อัศวานึก | (อัดสะวานึก) น. กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือจตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). |
อัสสานิก, อัสสานีก, อัสสานึก | น. อัศวานึก, กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า. |
อินเดีย | น. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งในเอเชียใต้ อยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศพม่า. |
อีก้อ | น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต–พม่า มีอยู่ทางแถบเหนือของประเทศไทย คล้ายพวกมูเซอ, ก้อ ก็เรียก. |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Art, Burmese | ศิลปะพม่า [TU Subject Heading] |
Arts, Burmese | ศิลปกรรมพม่า [TU Subject Heading] |
Burma | พม่า [TU Subject Heading] |
Burmese | ชาวพม่า [TU Subject Heading] |
Burmese language | ภาษาพม่า [TU Subject Heading] |
Burmese students | นักเรียนพม่า [TU Subject Heading] |
Burmese students | นักศึกษาพม่า [TU Subject Heading] |
Foreign workers, Burmese | คนงานต่างชาติชาวพม่า [TU Subject Heading] |
Kengtung (Burma : State) | เชียงตุง (พม่า) [TU Subject Heading] |
Mandayay (Burma) | มัณฑะเล (พม่า) [TU Subject Heading] |
Shan State (Burma) | รัฐฉาน (พม่า) [TU Subject Heading] |
Shewedagan (Rangoon, Burma) | เจดีย์ชเวดากอง (ย่างกุ้ง, พม่า) [TU Subject Heading] |
Shewemawadaw | เจดีย์ชเวมอดอ (หงสาวดี, พม่า) [TU Subject Heading] |
Thai-Myanmar Friendship Bridge | สะพานมิตรภาพไทย-พม่า [TU Subject Heading] |
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy | ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต] |
Agreement on Commercial Navigation on Lancang-Mekong River | ความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำโขงตอนบน " ระหว่างไทย ลาว พม่า และจีน (มณฑลยูนนาน) ได้ลงนามเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2543 และมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2544 " [การทูต] |
Association of South-East Asian Nations | สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน จัดตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 เพื่อร่วมมือและส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์และการบริหารในภูมิภาค โดยมีสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ต่อมาบรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2527 เวียดนามเป็นสมาชิกประเทศที่ 7 ในปี พ.ศ. 2538 ลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันในปี พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับสุดท้ายหรือประเทศที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2542 [การทูต] |
Quadrangle Economic Cooperation | กรอบความร่วมมือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว และจีน (มณฑลยูนนาน) ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) [การทูต] |
Bangkok Process | เป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการในระดับรัฐมนตรี เพื่อแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นระหว่างกันอย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์เกี่ยวกับแนวทางในการสนับ สนุนกระบวนการสร้างความปรองดองภายในชาติและการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าตาม ?Roadmap towards Democracy in Myanmar? เดิมเรียกว่า Forum on International Support for National Reconciliation in Myanmar ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Bangkok Process ครั้งแรกเมื่อ 15 ธันวาคม 2546 ที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศจาก 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น พม่า สิงคโปร์ และไทย รวมทั้งนาย Razali Ismail เป็นผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยพม่าเข้าร่วม [การทูต] |
Bangladesh-India-Myanmar- Sri Lanka and Thailand Economic Cooperation | กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างบังกลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา และไทย " ในช่วงแรกบังกลาเทศ-อินเดีย-พม่า-ไทย ได้ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ เพื่อจัดตั้งความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างบังกลาเทศ-อินเดีย-ศรีลังกา-ไทย (BIST-EC) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 ต่อมา ได้รับพม่าเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ และเปลี่ยนชื่อจาก BIST-EC เป็น BIMST-EC เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2540 " [การทูต] |
Cambodia-Laos-Myanmar-Viet Nam | กลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม [การทูต] |
East-West Economic Corridor | การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะฝั่งตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมโยงพม่า-ไทย-ลาว-เวียดนาม [การทูต] |
Ganga-Suwanabhumi-Mekong Cooperation | ความร่วมมือลุ่มน้ำคงคา-สุวรรณภูมิ-ลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย ไทย-ลาว-พม่า-เวียดนาม-กัมพูชา และอินเดีย เป็นกรอบความร่วมมือที่เสนอในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับ รัฐมนตรีต่างประเทศประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 33 เมื่อ 28 กรกฎาคม 2543 โดยมีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2543 [การทูต] |
Greater Mekong Subregion Economic Cooperation | กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง หรือ กรอบความร่วมมือหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ " ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน (มณฑล ยูนนาน) มีธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เป็นกลไกประสานความร่วมมือ โดยริเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 ประกอบด้วยความร่วมมือ 8 สาขา ได้แก่ คมนาคมขนส่ง พลังงาน สื่อสาร โทรคมนาคม พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม และการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติ การค้า และการลงทุน " [การทูต] |
Mekong - Ganga Cooperation | ความร่วมมือแม่นำโขง - คงคา ริเริ่มขึ้นเมื่อกรกฎาคม พ.ศ.2543 ที่กรุงเทพฯ มีสมาชิก 6 ประเทศ คือกัมพูชา อินเดีย ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมโยง ระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกับประเทศในลุ่มแม่น้ำคงคาในด้านการ ท่องเที่ยว การศึกษาวัฒนธรรม และคมนาคมขนส่งโดยอาศัยปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เกื้อกูลกันและความสัมพันธ์ที่ ดีระหว่างกัน และเป็นยุทธศาสตร์เชื่อมโยง GMS (จีน) ไปสู่อินเดีย [การทูต] |
Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Fund | กองทุนให้ความช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน " ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนให้ความช่วย เหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน พ.ศ. 2539 โดยให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงาน รับผิดชอบ มีวัตถุประสงค์ให้เงินกู้ผ่อนปรนแก่รัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินของรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม เพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาประเทศ โดยเงินกู้ที่ รัฐบาลไทยปล่อยให้กู้นี้ จะต้องเป็นเงินสกุลบาท และส่วนหนึ่งของ เงินกู้จะต้องนำไปซื้อสินค้าและบริการจากภาคเอกชนไทย " [การทูต] |
State Peace and Development Council | สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ เป็นองค์กรปกครองสูงสุดของพม่าในปัจจุบัน เดิมมีชื่อว่าสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (SLORC - State Law and Order Restoration Council) อันเป็น กลุ่มทหารพม่าที่เข้ายึดอำนาจการปกครองในวันที่ 18 กันยายน 2531 ภายหลังจากที่ประชาชนชาวพม่าได้ออกมาเดินขบวนประท้วงรัฐบาลภายใต้การนำของ พรรคโครงการสังคมนิยมพม่า การเข้ายึดอำนาจรัฐในครั้งนั้นเป็นไปอย่างนองเลือดและคณะทหารดังกล่าวได้ให้ สัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้ง แต่ภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 27 พฤษภาคม 2533 SLORC กลับปฏิเสธที่จะมอบอำนาจการปกครองให้แก่พรรค National League for Democracy (NLD) และเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 SLORC ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น SPDC [การทูต] |
The Great Wonders of Suwannabhumi | โครงการสิ่งมหัศจรรย์แห่งสุวรรณภูมิ หมายถึง โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคที่นับถือศาสนาพุทธ อันประกอบด้วย ไทย ลาว กัมพูชา และพม่า โดยร่วมกันจัดรายการนำเที่ยวในโบราณสถานที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของ 4 ประเทศ ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพฯ นครวัดในกัมพูชา โบราณสถานในพุกาม/มัณฑะเลย์ในพม่า และแขวงหลวงพระบางในลาว เพื่อที่จะดึงดูดชาวต่างชาติให้มาสนใจในดินแดนแห่งนี้ และนำมาซึ่งการพัฒนาสถานที่ดังกล่าว รวมทั้งยังจะเป็นการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่าง 4 ประเทศอย่างสมบูรณ์ โครงการนี้เสนอโดย ฯพณฯ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว กัมพูชา และพม่า เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2542 ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 3 ที่กรุงมะนิลา [การทูต] |
watershed | สันปันน้ำ แนวสันเขาซึ่งโดยปกติเป็นส่วนที่สูงที่สุดของภูเขาที่แบ่งน้ำให้ตกออกสอง ข้างของภูเขานั้น ๆ เป็นลักษณะทางธรรมชาติซึ่งรัฐที่เกี่ยวข้องอาจพิจารณานำมาใช้เป็นเส้นเขตแดน ระหว่างประเทศได้ เช่น สันปันน้ำของเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับพม่า [การทูต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
นกเขาพม่า | [nok khao Phamā] (n, exp) EN: Oriental Turtle Dove FR: Tourterelle orientale [ f ] |
นกภูหงอนพม่า | [nok phū ngøn Phamā] (n, exp) EN: Burmese Yuhina FR: Yuhina de Birmanie [ f ] ;Yuhina des montagnes [ f ] ; Yuhina birmane [ f ] |
เป็ดพม่า | [pet Phamā] (n, exp) EN: Ruddy Shelduck FR: Tadorne casarca [ m ] ; Casarca roux [ m ] ; Canard casarca [ m ] |
พม่า | [Phamā] (n, prop) EN: Myanmar ; Burma FR: Myanmar ; Birmanie [ f ] (vx) |
พม่า | [Phamā] (adj) EN: Burmese FR: birman |
ผีเสื้อจุดเหลี่ยมพม่า | [phīseūa jut līem Phamā] (n, exp) EN: Swinhoe's Ace |
ผีเสื้อตาลพุ่มพม่า | [phīseūa tān phum Phamā] (n, exp) EN: Burmese Bushbrown |
ประเทศพม่า | [Prathēt Phamā] (n, exp) EN: Myanma ; Burma FR: Myanmar [ m ] ; Birmanie [ f ] |
สหภาพพม่า | [Saphaphāp Phamā] (n, prop) EN: Union of Myanmar |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
Burma | (n) สหภาพพม่า, See also: พุกามประเทศ, พุกาม |
dacoit | (n) โจรในประเทศพม่าหรืออินเดีย (ที่ก่ออาชญากรรมหรือลักทรัพย์), Syn. dakoit |
Hinayana | (n) นิกายหินยานของพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา พม่า ไทยและกัมพูชา, See also: ชื่อนิกายในพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่นับถือกันในศรีลังกา พม่า ไทยและกัมพูชาและกัมพูชา, ชื่ |
Indochina | (n) อินโดจีน (มีพม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนามและแหลมมลายู) |
Mandalay | (n) เมืองของประเทศพม่าหรือเมียนมาร์ |
Myanmar | (n) พม่า, See also: เมียนมาร์ |
Myanmar | (n) ประเทศพม่า, See also: ประเทศเมียนมาร์ |
Naga | (n) คนในเอเชียใต้มักในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือและพม่าตะวันตก, See also: ภาษา Naga |
pya | (n) หน่วยเงินตราของประเทศพม่า |
Rangoon | (n) เมืองร่างกุ้งเป็นเมืองหลวงพม่า (ชื่อเดิมของเมืองย่างกุ้ง Yangon) |
Shan | (n) ฉาน (ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามแถบภูเขาในพม่า ลาว จีน), See also: ชาวไทยใหญ่ |
Union of Burma | (n) สหภาพพม่า, See also: ชื่อที่เป็นทางการของประเทศพม่า |
Hope Dictionary
burma | (เบอร์'มะ) n. พม่า ดู Union of Burma |
burmese | (เบอร์'มีซ, -มีส) n., adj. ชาวพม่า, ภาษาพม่า |
cheroot | (ชะรูท') n. บุหรี่ซิการ์หัวสี่เหลี่ยม, บุหรี่พม่า |
hinayana | (ฮีนะยา'นะ) n. นิกายหินยานของพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา พม่า ไทยและกัมพูชา, Syn. Theravada. -Hinayanist n. |
indo-china | (อิน'โดไช'นะ) n. อินโดจีน (ประกอบด้วย เวียดนาม, ลาว, เขมร, ไทย, พม่า, มาเลเซียและสิงคโปร์), Syn. Farther India |
kyat | (ไคอาท, คิอาท') n. เหรียญทองแดงผสมนินิกเกิลและหน่วยเงินตราของพม่า |
mon-khmer | (มอน'ขเมอ) adj., n. (กลุ่ม) เกี่ยวกับภาษามอญ ขอม พม่าและภาษาเขมร. |
rangoon | (แรงกูน') n. ชื่อเมืองหลวงและเมืองท่าของพม่า (Myanmar) , กรุงย่างกุ้ง |
southeast asia | n. เอเซียอาคเนย์, ประเทศและดินแดนในบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเซีย (ได้แก่บรูไน, พม่า, เขมร, อินโดนีเซีย, ลาว, ไทย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ตีมอร์, สิงคโปร, เวียดนาม) . -Sountheast Asian |
union of burma | n. สหภาพพม่า, Syn. Myanmar |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
phasin | (n, name) ผ้าซิ่น เป็นเครื่องแต่งกายของผู้หญิง ผ้าทอเป็นผืนด้วยมือ เป็นผืนยาวประมาณ 2 เมตร ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัวตั้งแต่เอวลงไป อาจตัดและเย็บก็ได้ มีใช้ในประเทศไทย ลาว พม่า มีลวดลายต่าง ๆ กัน ภาษาไทยเรียก ผ้าถุง หรือผ้านุ่ง ก็ได้ |
talaing | (n) คำที่ใช้เรียกตัวเองของ"มอญ" แต่พม่าเรียก"มอญ"ว่า ตะเลง (Talaings) ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า Talingana อันเป็นแคว้นหนึ่ง ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย, Syn. Mon |
yangon | (n) ย่างกุ้ง (เมืองหลวงประเทศพม่า) |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0339 seconds, cache age: 12.318 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม