353 ผลลัพธ์ สำหรับ *ประชาชน*
ภาษา
หรือค้นหา: ประชาชน, -ประชาชน-Longdo Unapproved TH - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ | Public Law |
ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ | [ชุ-ติ-กาญน์ ศรี-วิ-บูลย์] (n, name) รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รับมอบยาฟ้าทะลายโจร จํานวน ๕๐๐ ขวด จากคุณปรินดา ตั้งวิรุฬธรรม ผู้จัดการบริษัทฉมา แอ็สเซ็ท ในวันศุกร์ที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๕ เพื่อนําไปใช้ในการดูแลสุขภาพของบุคลากร และประชาชนทั่วไปในคลินิคแพทย์แผนไทยวังสวนสุนันทา |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ประชาชน | (n) people, See also: inhabitants, residents, populace, mass, citizen, crowd, Syn. พลเมือง, สามัญชน, พสกนิกร, ราษฎร, ประชากร, มวลชน, หมู่ชน, ฝูงชน, Example: วิถีการดำเนินชีวิตความรู้สึกนึกคิดของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป, Count Unit: กลุ่ม, พวก |
บัตรประชาชน | (n) ID card, See also: identification card, identity card, Syn. บัตรประจำตัวประชาชน, บัตรประจำตัว, Example: รัฐบาลออกบัตรประชาชนให้ประชาชนทุกคน, Thai Definition: เอกสารแสดงฐานะโดยย่อของบุคคล มักมีรูปถ่ายของบุคคลนั้นติดอยู่ด้วย |
ประชาชนพลเมือง | (n) people, See also: inhabitants, residents, populace, mass, citizen, crowd, Syn. พลเมือง, สามัญชน, พสกนิกร, ราษฎร, ประชากร, มวลชน, หมู่ชน, ฝูงชน, ประชาชน, Example: เมืองชัยภูมิมีความสงบประชาชนพลเมืองเป็นคนเรียบร้อย, Count Unit: คน, กลุ่ม, พวก, Thai Definition: ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ |
ห้องสมุดประชาชน | (n) public library, Example: กรุงเทพมหานครให้งบประมาณสร้างห้องสมุดประชาชนขึ้นทั่วกรุงเทพ 20 แห่ง, Thai Definition: ห้องสมุดสำหรับประชาชน |
บัตรประจำตัวประชาชน | (n) identity card, Syn. บัตรประชาชน, Example: การซื้อเสียงในปัจจุบันนี้ได้พัฒนาถึงจุดที่ไม่ต้องซื้อบัตรประจำตัวประชาชนให้เสี่ยงต่อการถูกเจ้าหน้าที่จับกุมอีกต่อไปแล้ว, Count Unit: บัตร, ใบ |
สาธารณรัฐประชาชนจีน | (n) The Republic of China, Syn. ประเทศจีน, เมืองจีน |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | (n) People's Democratic Republic of Laos, See also: Laos, Syn. ประเทศลาว, ลาว, Example: คนไทยกับคนที่อยู่ในอาณาจักรล้านช้างในอดีตหรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน ล้วนเป็นกลุ่มคนที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน, Thai Definition: ชื่อประเทศที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับไทย เขมร เวียดนาม พม่า และจีน |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ประชาชน, ประชาราษฎร์ | น. พลเมือง, สามัญชนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ข้าราชการ พ่อค้า หรือนักบวช ในความว่า ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน. |
กฎอัยการศึก | น. กฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารลิดรอนสิทธิเสรีภาพบางประการของประชาชนได้ตามความจำเป็น ทั้งให้มีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปรามหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน การใช้กฎอัยการศึกจะกระทำได้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล โดยจะให้มีผลบังคับทุกท้องที่หรือบางท้องที่ก็ได้ตามความจำเป็น. |
กฎหมายรัฐธรรมนูญ | น. กฎหมายที่วางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง โดยกำหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อำนาจอธิปไตย การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันที่ใช้อำนาจอธิปไตย. |
กลางเมือง | น. ประชาชน ในคำว่า ฉ้อกลางเมือง หมายถึง ฉ้อโกงประชาชน |
ก่อการร้าย | น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อบุคคล ต่อทรัพย์สินอันเป็นสาธารณะ หรือต่อทรัพย์สินของรัฐหนึ่งรัฐใด หรือของบุคคลใดหรือต่อสิ่งแวดล้อมอันก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ โดยผู้กระทำมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ให้กระทำหรือไม่กระทำการใดอันจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ. |
กองทุนหมู่บ้าน | น. กองทุนที่จัดตั้งขึ้นในแต่ละหมู่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับประชาชนในหมู่บ้าน กองทุนดังกล่าวถ้าจัดตั้งขึ้นในเขตชุมชนเมือง เรียกว่า กองทุนชุมชนเมือง. |
การก่อวินาศกรรม | น. การกระทำใด ๆ อันเป็นการมุ่งทำลายทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ หรือสิ่งอันเป็นสาธารณูปโภค หรือการรบกวนขัดขวางหน่วงเหนี่ยวระบบการปฏิบัติงานใด ๆ ตลอดจนการประทุษร้ายต่อบุคคลอันเป็นการก่อให้เกิดความปั่นป่วนทางการเมืองการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของรัฐ. |
การออกเสียงประชามติ | น. การขอความเห็นชอบจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่อาจกระทบถึงประโยชน์ส่วนได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน โดยวิธีการให้ออกเสียงลงมติโดยตรง. |
เกณฑ์ | ก. บังคับหรือขอร้องแกมบังคับ เช่น เกณฑ์ประชาชนมาทำถนน. |
ข้า ๑ | น. ประชาชน, ราษฎร, เช่น ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน, คน, บริวาร, เช่น ข้าเก่าเต่าเลี้ยง ข้าหนีเจ้าบ่าวหนีนาย, ทาส เช่น ข้าทาส. |
ข้าแผ่นดิน | น. พลเมือง, ประชาชน, ราษฎรที่อาศัยในแผ่นดิน. |
เข้าถึง | ก. เข้าใจอย่างซาบซึ้ง เช่น เข้าถึงบท เข้าถึงวรรณคดี, เข้าใกล้ชิดสนิทสนมเพื่อจะได้รู้ซึ้งถึงชีวิตจิตใจและความต้องการเป็นต้น เช่น เข้าถึงประชาชน. |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ | น. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด. |
โครงการตามพระราชประสงค์ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้เกิดขึ้น โดยทรงศึกษาทดลองปฏิบัติด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เมื่อทรงศึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญและทดลองจนได้ผลสรุปที่ดี และทรงมั่นพระราชหฤทัยว่าเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รัฐบาลหรือผู้สนใจรับไปดำเนินงานต่อ แบ่งเป็นโครงการทดลองในเขตพระราชฐาน และโครงการทดลองนอกเขตพระราชฐาน. |
โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินและพระราชทรัพย์สำหรับจัดทำแปลงเกษตรผสมผสาน สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อทดลองค้นคว้าหารูปแบบการประกอบอาชีพของชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และเป็นสถานที่ฝึกอบรมการเกษตรภาคปฏิบัติให้นักศึกษาและประชาชนที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ เช่น โครงการพัฒนาส่วนพระองค์เขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ชุมพร อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร. |
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวทางแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับพระราชดำริไปพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการร่วมกันดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน หรือบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ตามสภาพสังคมและภูมิประเทศ เดิมเรียกว่า โครงการตามพระราชดำริ มีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เรียกย่อว่า กปร. มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานงานโครงการ. |
โฆษณา | กระทำการไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า. |
ชวา ๑ | (ชะ-) น. ชื่อเกาะสำคัญที่สุดและเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย, (โบ) ใช้ว่า ยะวา ก็มี, เรียกประชาชนที่พูดภาษาชวา ว่า ชาวชวา |
ชาติ ๒, ชาติ- ๒ | ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ |
ชาวบ้าน | น. ผู้ที่อยู่ในพื้นถิ่นหนึ่ง ๆ เช่น ชาวบ้านแถบอัมพวา, ประชาชนทั่วไป เช่น ชาวบ้านอย่างเราจะไปรู้เรื่องอะไร, ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ และมีวิถีชีวิตแบบบรรพกาล, ผู้ที่มีชีวิตแบบเรียบง่าย ธรรมดา มักจะด้อยการศึกษา. |
เช็คไปรษณีย์ | น. ตราสารสำหรับขายแก่ประชาชน เพื่อประโยชน์ในการส่งเงิน โดยเจ้าพนักงาน ณ ที่ทำการไปรษณีย์แห่งหนึ่ง ให้เจ้าพนักงาน ณ ที่ทำการไปรษณีย์แห่งใดแห่งหนึ่งจ่ายเงินให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งระบุนามไว้หรือผู้ถือตราสารนั้น. |
ตะวันตก | เรียกประเทศที่อยู่ในทวีปยุโรปและอเมริกาว่า ประเทศตะวันตก, เรียกประชาชนโดยเฉพาะพวกผิวขาว ตลอดจนวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปและอเมริกา ว่า ชาวตะวันตก วัฒนธรรมตะวันตก เป็นต้น. |
ตะวันออก | เรียกประชาชนที่อยู่ในทวีปเอเชีย ส่วนมากเป็นพวกผิวเหลือง ว่า ชาวตะวันออก. |
ตีข่าว | ก. ตีพิมพ์ข่าว (ใช้แก่หนังสือพิมพ์) เช่น หนังสือพิมพ์นิยมตีข่าวที่อยู่ในความสนใจของประชาชน. |
ถนนส่วนบุคคล | น. ถนนที่เจ้าของสงวนสิทธิไว้เป็นส่วนบุคคล แม้จะเปิดให้ประชาชนใช้เป็นการทั่วไปหรือเป็นครั้งคราวก็ตาม. |
ถนนสาธารณะ | น. ถนนที่เป็นของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ และประชาชนทั่วไปมีสิทธิใช้เป็นทางสัญจรได้. |
แถลงการณ์ | น. รูปแบบของการแจ้ง หรือบอกกล่าวข้อเท็จจริง หรือเรื่องราวที่ทางราชการประสงค์จะให้ประชาชนได้ทราบเป็นการทั่วไป. |
แถลงการณ์ร่วม | น. คำแถลงการณ์ของผู้เข้าประชุมทุกฝ่ายที่ได้ลงนามร่วมกัน เพื่อแถลงให้ประชาชนทั่วไปทราบ. |
ทะเบียน | น. บัญชีจดลักษณะจำนวนคน จำนวนสัตว์ หรือจำนวนสิ่งของ ตลอดจนการงานต่าง ๆ ที่รัฐบันทึกไว้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับประชาชนพลเมือง. |
ทางสาธารณะ | น. ทางบกหรือทางนํ้าสำหรับประชาชนใช้ในการจราจร และหมายความรวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถเดินสำหรับประชาชนโดยสารด้วย. |
ท่ามกลาง | น. ที่ซึ่งอยู่ระหว่างกลางสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ในท่ามกลางประชาชน. |
ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ | น. การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่จะจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นโดยการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ หรือการรับซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยวิธีขายฝาก. |
ธุรกิจเงินทุน | น. การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ ซึ่งมิใช่การรับฝากเงินหรือรับเงินไว้ในบัญชีที่จะเบิกถอนโดยใช้เช็ค และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นโดยวิธีหนึ่งวิธีใด. |
นักเลงโต | น. นักเลงที่เหนือนักเลงทั้งหลาย มักให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนในหมู่บ้านไม่ให้นักเลงที่อื่นมารังแก |
น้ำประปา | น. น้ำที่ผ่านกระบวนการทำให้สะอาดปราศจากเชื้อโรค แล้วจ่ายไปให้ประชาชนบริโภคใช้สอย. |
นิคม | น. หมู่บ้านขนาดใหญ่, ถิ่นฐานหรือชุมชนที่เกิดขึ้นจากการตั้งหลักแหล่ง, หมู่บ้านใหญ่หรือตำบลที่ประชาชนเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่เพื่อประกอบอาชีพเป็นหลักฐาน เช่น นิคมสร้างตนเอง นิคมอุตสาหกรรม. |
แนวร่วม | น. ประชาชนที่มีความคิดคล้อยตามและให้การสนับสนุนแก่พวกที่มีความคิดเห็นในแนวเดียวกัน. |
โนตารีปับลิก | น. ผู้มีอำนาจรับรองลายมือชื่อ เอกสาร วัตถุ หรือบุคคล ในบางประเทศโนตารีปับลิก หรือแมยิสเตร็ดมีหน้าที่จัดทำเอกสารสำคัญบางชนิดให้แก่ประชาชนด้วย ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของประเทศไทย กำหนดให้ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลไทย ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าไม่มีกงสุลไทย ต้องให้เจ้าพนักงานโนตารีปับลิกหรือแมยิสเตร็ด เป็นพยาน.(อ. notary public).(ดู แมยิสเตร็ด ประกอบ). |
บริการสาธารณะ | น. กิจการอันจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเป็นส่วนรวมที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำขึ้นเพื่อบริการแก่ประชาชน เช่น กิจการสาธารณูปโภค กิจการขนส่งคนโดยสาร . |
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ | น. บริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่จะจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นโดยการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ หรือการรับซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยวิธีขายฝาก. |
บริษัทเงินทุน | น. บริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ ซึ่งมิใช่การรับฝากเงินหรือรับเงินไว้ในบัญชีที่จะเบิกถอนโดยใช้เช็ค และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นโดยวิธีหนึ่งวิธีใด. |
บาหลี ๒ | (-หฺลี) น. ชื่อเกาะหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย อยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา, เรียกประชาชนชาวเกาะนั้น ว่า ชาวบาหลี. |
บุคคลล้มละลายทุจริต | น. บุคคลล้มละลายที่ถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิดบางประการเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายล้มละลายกำหนด หรือไม่สุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือหนี้สินตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายล้มละลาย หรือเป็นบุคคลล้มละลายอันเนื่องมาจากหรือเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดฐานยักยอกหรือฉ้อโกง หรือการกระทำความผิดอันมีลักษณะเป็นการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน. |
ใบเรียกเกณฑ์ | น. หนังสือสั่งเกณฑ์ทรัพย์สินซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารหรือผู้รับมอบอำนาจ ออกไปถึงเจ้าพนักงานปกครองท้องที่เพื่อดำเนินการเกณฑ์ทรัพย์สินจากประชาชน. |
ใบเหลือง | ใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ขอมีบัตรใหม่ หรือขอเปลี่ยนบัตร ซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนได้. |
ประกาศ | ข้อความที่ทางราชการแจ้งให้ประชาชนทราบหรือวางแนวทางให้ปฏิบัติ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศกระทรวง ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี. |
ประชาชาติ | น. ประเทศรวมทั้งประชาชน, ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ, ชาติ ก็ว่า. |
ประชาชี | น. ประชาชน. |
ประชาพิจารณ์ | น. การฟังความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่. |
ประชามติ | น. มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง. (อ. plebiscite) |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
people | ประชาชน, ราษฎร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
people | ชน, ประชาชน [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
people | ประชาชน, ราษฎร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
public mischief | การทำให้เสียหายแก่ประชาชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
public morals | ศีลธรรมอันดีของประชาชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
public use | การใช้ประโยชน์ร่วมกันของประชาชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
public | ๑. สาธารณะ, มหาชน, เกี่ยวกับประชาชน, เกี่ยวกับรัฐ๒. สาธารณชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
popular assembly | สมัชชาประชาชน [ ดู civic assembly ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
popular front | แนวร่วมประชาชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
public safety | ความปลอดภัยของประชาชน, ความปลอดภัยสาธารณะ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
person, public; public person | คนของประชาชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
public order | ความสงบเรียบร้อยของประชาชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
public order | ความสงบเรียบร้อยของประชาชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
People's Republic | สาธารณรัฐประชาชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
public peace | ความสงบสุขของประชาชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
public person; person, public | คนของประชาชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
public welfare | สวัสดิภาพของประชาชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
public welfare | สวัสดิภาพประชาชน, สวัสดิการประชาชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
public hearing; hearing | ๑. การให้มาชี้แจง (ต่อคณะกรรมาธิการของสภา)๒. การสืบพยาน๓. การฟังความคิดเห็นของประชาชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
public enemy | ศัตรูของประชาชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
public | ๑. สาธารณะ, มหาชน, เกี่ยวกับประชาชน, เกี่ยวกับรัฐ๒. สาธารณชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
salus populi est suprema lex (L.) | ความปลอดภัยของประชาชนเป็นกฎหมายสูงสุด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
order, public | ความสงบเรียบร้อยของประชาชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
offences relating to public peace | ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
offences relating to public security | ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
offences against public order | ความผิดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
assembly, popular | สมัชชาประชาชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Bamboo Curtain | ม่านไม้ไผ่ (สมญานามเรียกสาธารณรัฐประชาชนจีน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
manifesto | ๑. คำแถลงนโยบายทางการเมือง๒. คำประกาศต่อประชาชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
card, identity | บัตรประจำตัวประชาชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
CB (citizens band) | ซีบี (แถบความถี่สำหรับประชาชน) [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
civic assembly | สมัชชาประชาชน [ ดู popular assembly ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Curtain, Bamboo | ม่านไม้ไผ่ (สมญานามเรียกสาธารณรัฐประชาชนจีน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
contrary to public order or good morals | ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
citizens band (CB) | แถบความถี่สำหรับประชาชน (ซีบี) [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
fiduciary issue | ธนบัตรที่ออกใช้แทนเหรียญกระษาปณ์ (โดยอาศัยความไว้วางใจของประชาชน) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
front, popular | แนวร่วมประชาชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
enemy, public | ศัตรูของประชาชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
identity card | บัตรประจำตัวประชาชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
hearing, public; hearing | ๑. การให้มาชี้แจง (ต่อคณะกรรมาธิการของสภา)๒. การสืบพยาน๓. การฟังความคิดเห็นของประชาชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
hearing; hearing, public | ๑. การให้มาชี้แจง (ต่อคณะกรรมาธิการของสภา)๒. การสืบพยาน๓. การฟังความคิดเห็นของประชาชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
welfare, public | สวัสดิภาพของประชาชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
welfare, public | สวัสดิภาพประชาชน, สวัสดิการประชาชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Public library | ห้องสมุดประชาชน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Public librarian | บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ | สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบําเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้สร้างขึ้นสําหรับพระราชทานเป็น บำเหน็จความชอบในราชการหรือส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึงเครื่องราช-อิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำ ความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด [ศัพท์พระราชพิธี] |
Public welfare | สวัสดิภาพของประชาชน [เศรษฐศาสตร์] |
Waste storage | การเก็บรักษากากกัมมันตรังสี, การเก็บรักษากากกัมมันตรังสีไว้ในสถานที่จัดเก็บที่เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม โดยจัดเก็บอย่างเป็นหมวดหมู่และเป็นระเบียบ มีการจำกัดเขต ติดป้ายแสดงสถานที่และระดับรังสีอย่างชัดเจน ผนังของสถานที่จัดเก็บมีความหนาเพียงพอต่อการกำบังรังสีให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย และอากาศถ่ายเทสะดวก [นิวเคลียร์] |
Storage, waste | การเก็บรักษากากกัมมันตรังสี, การเก็บรักษากากกัมมันตรังสีไว้ในสถานที่จัดเก็บที่เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม โดยจัดเก็บอย่างเป็นหมวดหมู่และเป็นระเบียบ มีการจำกัดเขต ติดป้ายแสดงสถานที่และระดับรังสีอย่างชัดเจน ผนังของสถานที่จัดเก็บมีความหนาเพียงพอต่อการกำบังรังสีให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย และอากาศถ่ายเทสะดวก, Example: [นิวเคลียร์] |
Radiation worker | ผู้ปฏิบัติงานรังสี, ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีชนิดก่อไอออน เช่น ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีอาจรวมถึงผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเทคนิค แต่มีความจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณรังสีหรือรังสีดังกล่าวเป็นประจำ ทำให้มีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าประชาชนทั่วไป เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานขับรถขนส่งสารกัมมันตรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีจะกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติงานทางรังสีตามกฎระเบียบ หรือแล้วแต่กรณี</br> <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีโอกาสได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานเป็นปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี หรือผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี จะมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ</br> [นิวเคลียร์] |
Radiation safety | ความปลอดภัยจากรังสี, การป้องกันหรือลดอุบัติเหตุต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากต้นกำเนิดรังสี หรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น โดยมีมาตรการบรรเทาผลแก่ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ประชาชน และสิ่งแวดล้อมภายหลังจากที่เกิดเหตุขึ้น, Example: [นิวเคลียร์] |
Radiation protection | การป้องกันรังสี, การดำเนินการตามกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรการ และวิธีปฏิบัติ ซึ่งกำหนดขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัย เพื่อควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานทางรังสีและประชาชนทั่วไปได้รับรังสีชนิดก่อไอออนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ALARA: as low as reasonably achievable) [นิวเคลียร์] |
Nuclear safety | ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์, มาตรการสำหรับป้องกันหรือลดอุบัติเหตุที่จะเกิดจากสถานปฏิบัติการ หรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ รวมทั้งมาตรการบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติงาน ประชาชน และสิ่งแวดล้อม ภายหลังเกิดอุบัติเหตุ, Example: [นิวเคลียร์] |
International Nuclear Event Scale | มาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์, ขั้นความรุนแรงของเหตุการณ์เกี่ยวกับปัญหาด้านความปลอดภัยที่เกิดขึ้นในโรงงานนิวเคลียร์ โดยกำหนดเป็นมาตราสากล ตั้งแต่ระดับ 0 ถึง 7 เพื่อสื่อสารแก่ประชาชนให้เข้าใจได้ทันที [นิวเคลียร์] |
Public offering | การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชน, Example: การที่บริษัทนำหลักทรัพย์ของตนออกเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป จุดประสงค์เพื่อระดมเงินทุนไปขยายกิจการและเพื่อกระจายการถือครองหลักทรัพย์ให้ประชาชนทั่วไป การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชนจะต้องกระทำผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่รับเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (underwriters) จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. และต้องจัดทำหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ [ตลาดทุน] |
Communal living | สหคามประชาชน [TU Subject Heading] |
Communes (China) | สหคามประชาชนแบบจีน [TU Subject Heading] |
Offenses against public safety | ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน [TU Subject Heading] |
Public librarians | บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน [TU Subject Heading] |
Public libraries | ห้องสมุดประชาชน [TU Subject Heading] |
ASEAN Committee in Beijing | คณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงปักกิ่ง " ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำกรุง ปักกิ่ง มีหน้าที่ในการประสานผลประโยชน์และเป็นกลไกกลางของ อาเซียนในการมีปฏิสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนที่กรุงปักกิ่ง [การทูต] |
Asia Cooperation Dialogue | ความร่วมมือเอเชีย เวทีความร่วมมือในระดับทวีปเอเชีย โดยเป็นความคิดริเริ่มของไทยในการสร้างกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกอนุ ภูมิภาคของเอเชีย มีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงจุดแข็งและต่อยอดความร่วมมือต่าง ๆ ของประเทศเอเชีย โดยอาศัยความแตกต่างหลากหลายและทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเอเชียมีอยู่มา ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมุ่งสร้างความร่วมมือในวงกว้างทั้งทวีปเอเชีย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคเอเชียแข็งแกร่งและเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งสำหรับภูมิภาค อื่น ๆ เอซีดีได้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อ 18-19 มิถุนายน 2545 โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจาก 18 ประเทศเข้าร่วม ที่ประชุมได้แบ่งกรอบความร่วมมือเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติการหารือ (dialogue dimension) และมิติโครงการความร่วมมือ (project dimension) เช่น การท่องเที่ยว ความมั่นคงทางพลังงาน และการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Market) [การทูต] |
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy | ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต] |
ASEAN Environment Year | ปีสิ่งแวดล้อมอาเซียน กำหนดให้มีขึ้นทุก 3 ปี เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับ ประชาชนทุกระดับในสังคม รวมทั้งส่งเสริมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม แก่สาธารณชนในการนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน [การทูต] |
ASEAN Foundation | มูลนิธิอาเซียน จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการสร้าง จิตสำนึกของความเป็นอาเซียนในหมู่ประชาชน และเพื่อให้การสนับสนุนกิจกรรม/โครงการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกอาเซียนอย่างเท่าเทียมกัน มีสำนักงานอยู่ที่กรุงจาการ์ตา [การทูต] |
apartheid | การปกครองประเทศแบบแบ่งแยกผิวพันธุ์ เป็นระบบปกครองที่ใช้ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งโดยไม่ แบ่งแยกผิวพันธุ์ครั้งแรกขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 เมษายน 2537 ในระบบการปกครองดังกล่าว ประชาชนแอฟริกาใต้ผิวดำถูกจำกัดสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิทางด้านการเมือง สิทธิการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิรับสมัครเลือกตั้ง การเป็นสมาชิกรัฐสภา การมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินบางพื้นที่ การเลือกที่อยู่อาศัย การใช้สถานที่พักผ่อน การรับราชการ การเข้ารับการศึกษา การประกอบอาชีพ และการใช้บริการสาธารณูปโภคจากรัฐบาล เป็นต้น [การทูต] |
APSC | แผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอา เซียน เป็นเอกสารที่รวบรวมรายการกิจกรรมต่างๆ ที่รัฐสมาชิกอาเซียนจะทำร่วมกันเพื่อสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอา เซียนภายในปี 2558 แผนงานฯ ได้รับการรับรองโดยผู้นำในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 โดยแผนงาน มีวิสัยทัศน์ 3 ประการ ให้อาเซียนเป็น(1) ประชาคมที่มีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน (2)เป็นประชาคมที่สงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับ ประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้าน และ (3)เป็นประชาคมที่มีพลวัตรและร่วมมือปฎิสัมพันธ์กับโลกภายนอก [การทูต] |
ASEAN Regional Forum | การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต] |
ASEAN Charter | กฎบัตรอาเซียน เป็นความตกลงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จะให้สถานะทางกฎหมายหรือนิติฐานะแก่อาเซียน และวางกรอบโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อทำให้อาเซียนเป็นหน่วยงานที่ยึดมั่นมาก ยิ่งขึ้นต่อกติกาและกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ประเทศสมาชิกร่วมกันกำหนดขึ้น อันจะนำมาซึ่งการเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนยังมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชน เป็นศูนย์กลางของความร่วมมือมากยิ่งขึ้นด้วยการจัดตั้งองค์กรใหม่ๆ เพื่อปกป้องและส่งเสริมผลประโยชน์ของประชาชนอาเซียน เช่น องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ร่วมลงนามกฎบัตรฯ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 [การทูต] |
ASEAN Vision 2020 | วิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. 2563 เป็นเอกสารซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ได้ให้ความเห็นชอบ เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นและพันธกรณีของอาเซียนที่จะนำประชาชนในภูมิภาคนี้ ไปสู่ (1) การเป็นภูมิภาคที่มีสันติภาพและเสถียรภาพ (2) ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งด้วยการรวมตัวทางเศรษฐกิจ อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น (3) การเป็นสังคมที่เปิดกว้าง มีความเป็นปึกแผ่นและเอื้ออาทรต่อกัน และ (4) การกระชับความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและโลกภายนอก บนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกันและมีความเคารพซึ่งกันและกัน [การทูต] |
Asia-Europe Foundation | เป็นกลไกหนึ่งภายใต้อาเซม เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ วัฒนธรรม และประชาชนกับประชาชน ระหว่างประเทศสมาชิก [การทูต] |
civil society | ประชาสังคม หมายถึง สังคมที่ประชาชนในระดับต่าง ๆ มีการรวมตัวกันอย่างแข็งแกร่ง เพื่อที่จะเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินทางเลือกสาธารณะ ที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของท้องถิ่นและประเทศโดยรวม [การทูต] |
Conduct of Diplomatic Mission Towards the Receiving State | ในการปฏิบัติของคณะผู้แทนทางการทูตต่อรัฐผู้รับ นั้นหน้าที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของนักการทูตคือ จะต้องละเว้นจากการเข้าแทรกแซงใด ๆ ในกิจการภายในของรัฐผู้รับ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตราที่ 41 ว่า1. โดยไม่เสื่อมเสียแก่เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของตน เป็นหน้าที่ของบุคคลทั้งมวลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นนี้ ที่จะเคารพกฎหมายรวมทั้งข้อบังคับของรัฐผู้รับ บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ที่จะไม่แทรกสอดในกิจการภายในของรัฐนั้นด้วย2. ธุรกิจในทางการทั้งมวลกับรัฐผู้รับ ซึ่งรัฐผู้ส่งได้มอบหมายแก่คณะผู้แทนให้กระทำกัน โดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นเช่นที่อาจจะตกลงกัน3. สถานที่ของคณะผู้แทนต้องไม่ใช้ไปในทางที่ไม่ต้องด้วยกับการหน้าที่ของคณะผู้ แทน ดังที่ได้กำหนดลงไว้ในอนุสัญญานี้ หรือโดยกฎเกณฑ์อื่นของกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป หรือด้วยการตกลงพิเศษอื่นใดที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ข้อ 42 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติด้วยว่า ตัวแทนทางการทูตจะต้องไม่ปฏิบัติกิจกรรมใดทางวิชาชีพหรือพาณิชย์เพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวในรัฐผู้รับตามบทบัญญัติข้างต้นของอนุสัญญากรุงเวียนนา พอจะตีความหมายได้ว่า ผู้แทนทางการทูตจะต้องเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อที่จะธำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้งความปลอดภัยในรัฐผู้รับ การปฏิบัติใดๆ ที่ถูกต้องของผู้แทนทางการทูตนั้นย่อมเป็นเครื่องประกันอย่างดีที่สุด ที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตนั้นจะถูกล่วงละเมิดมิได้ตามที่กล่าวอ้าง [การทูต] |
Cultural Diplomacy | การทูตวัฒนธรรม หมายถึง กิจกรรมด้านวัฒนธรรมในกรอบกว้าง ทั้งภาษา ความคิด อุดมการณ์ ทัศนคติ ประเพณี วิทยาการความรู้ การกีฬาและวิถีชีวิต (ไม่เพียงแต่การส่งคณะนาฏศิลป์ไปแสดงในต่างประเทศเท่านั้น) ทั้งนี้ เพื่อ ใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้สึกที่ดีต่อกัน โดยใช้แนวทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่องในลักษณะซึมลึกเพื่อให้เข้าถึงประชาชน [การทูต] |
Diplomacy for the Peoples | การทูตเพื่อประชาชน หมายถึง การดำเนินนโยบายต่างประเทศหรือกิจกรรมทางการทูต ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชน เช่น โครงการส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปช่วยรักษาพยาบาลชาวกัมพูชา [การทูต] |
Foreign Policy | นโยบายต่างประเทศ คือแผนการดำเนินการในกิจการระหว่างประเทศ ซึ่งผู้กำหนดนโยบายในคณะรัฐบาลเป็นผู้จัดขึ้น ในประเทศที่มีรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปรัฐสภา ผู้ที่จะชี้ขาดเรื่องนโยบายต่างประเทศได้แก่คณะรัฐมนตรี อันมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะ และจะได้รับความเห็นชอบจากผู้แทนของประชาชนที่ได้รับการเลือกตั้ง ส่วนรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปประธานาธิบดี ตัวประธานาธิบดีเองซึ่งโดยปกติแล้วจะได้รับคำแนะนำจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ และบุคคลชั้นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติ จะเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศ [การทูต] |
Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-China | การประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Heads of State | ผู้แทนที่สำคัญที่สุดของรัฐ หรือประมุขของรัฐ ในบางกรณีอาจทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐ ในการเจริญความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ โดยมีอำนาจเต็มที่จะประกอบการใด ๆ ได้ ประมุขของรัฐนั้นอาจได้แก่ พระจักรพรรดิ (Emperor) พระเจ้าแผ่นดิน (King) พระราชินี (Queen) และประธานาธิบดี (President)ประมุขของรัฐย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเคารพ และการยอมรับนับถือจากประเทศอื่นๆ ในสังคมนานาประเทศ ในแง่พิธีการทูต ผู้ที่เป็นกษัตริย์อาจได้รับเกียรติแตกต่างกับผู้ที่เป็นประธานาธิบดี แต่ความแตกต่างเช่นนี้หามีความสำคัญในแง่กฎหมายอย่างใดไม่ เมื่อประมุขของรัฐเดินทางไปเยือนต่างประเทศ ตัวประมุขพร้อมด้วยบุคคลในครอบครัวและบริวารทั้งหลาย ตลอดจนถึงทรัพย์สินของประมุขจะไดรับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งในทางแพ่งและอาญาคำว่าประมุขของรัฐอาจหมายถึงหัวหน้าของรัฐบาลก็ได้ เช่น ในกรณีสหรัฐอเมริกา แต่ในบางประเทศ เช่น อังกฤษ ประมุขของรัฐมิได้เป็นหัวหน้าของรัฐบาล ผู้ที่เป็นหัวหน้าของรัฐบาลได้แก่ นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) ในประเทศที่มีการปกครองในรูปสาธารณรัฐ (Republic) ถือว่าอำนาจอธิปไตยตกอยู่กับประชาชน แม้แต่ตัวประธานาธิบดีของประเทศก็ไม่มีอำนาจอธิปไตย หากแต่เป็นประชาชนพลเมืองคนหนึ่ง ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้เข้าไปบริหารประเทศตามกำหนดระยะเวลาหนึ่งภายใต้ รัฐธรรมนูญ และตัวประธานาธิบดี เช่น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ก็อาจถูกฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งโดยรัฐสภา หรือสภานิติบัญญัติได้ เรียกว่า Impeachment [การทูต] |
Humanitarian Intervention | การแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรม " เป็นแนวคิดที่นายโคฟี อันนาน เลขาธิการสหประชาชาติเสนออย่างเป็น ทางการครั้งแรกต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 54 เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมุ่งจะให้สหประชาชาติสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนภาย ในประเทศต่าง ๆ ได้โดย คำนึงถึงประเด็นเรื่องมนุษยธรรมเป็นหลัก ขณะนี้ แนวคิดนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันและยังไม่ยุติ โดยบางประเทศเห็นว่า เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นการละเมิดอธิปไตยของรัฐ บางประเทศเห็นว่าเป็นมาตรการที่จำเป็นเพื่อแก้ปัญหาของมนุษยชาติ ส่วนบางประเทศเห็นว่าการแทรกแซงดังกล่าวจะต้องอยู่ใต้กรอบหลักเกณฑ์ หรือกรอบกฎหมายบางประการ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ " [การทูต] |
International Telecommunica-tion Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1865 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในตอนนั้นมีชื่อว่าสหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ.1932 จึงมีการรับรองอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน และหลังจากนั้นอีก 2 ปี คือ ค.ศ.1934 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออนุสัญญาโทรเลขและวิทยุโทรเลข เป็นอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 ได้มีการปรับปรุงใหม่ ณ เมืองแอตแลนติกซิตี้ สหรัฐอเมริกา แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1954 เป็นต้นมา สหภาพดังกล่าวหรือที่เรียกโดยย่อว่า ITU อยู่ภายใต้การบริหารปกครองตามอนุสัญญา ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมเต็มคณะ ณ กรุงบุเอนอสไอเรส เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1952วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การไอทียูคือ ต้องการวางระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศสำหรับโทรเลข โทรศัพท์และบริการทางวิทยุ เพื่อที่จะส่งเสริมและขยับขยายให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้บริการเหล่านี้ให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยต้องการให้อัตราค่าบริการต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กล่าวโดยทั่วไปองค์การไอทียูนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศ เพื่อปรับปรุงการใช้โทรคมนาคมทุกชนิดให้เป็นประโยชน์ก้าวหน้าขึ้น พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือทางเทคนิคให้นำออกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้และพยายามประสานการปฏิบัติของชาติต่าง ๆ ให้กลมกลืนกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน หัวหน้าของสหโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีตำแหน่งเรียกว่า เลขาธิการ องค์การนี้ตั้งอยู่ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
Intellectual Property | ทรัพย์สินทางปัญญา " หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ซึ่งผู้เป็นเจ้าของสามารถถือครอง และ/หรือเก็บเกี่ยวสิทธิประโยชน์ได้ นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ - Patent สิทธิบัตร หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างใหม่ ยังไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อน และเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และการประดิษฐ์นั้นสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ - Copy Rights ลิขสิทธิ์ หมายถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรี งานภาพยนต์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ - Neighboring Rights สิทธิข้างเคียง เป็นความคุ้มครองที่แตกแขนงมาจากลิขสิทธิ์ เนื่องจากงานที่สร้างขึ้นไม่สามารถถูกจัดเข้าเป็นงานลิขสิทธิ์ได้โดยตรง เพราะผลงานที่เกิดขึ้นนั้นได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเป็นสื่อกลาง และก่อให้เกิดผลงานโดยใช้ เครื่องมือในทางวิชาชีพสร้างงานขึ้นมา ดังนั้น บุคคลผู้ที่เข้ามาเป็น สื่อกลางเพื่อผลิตงานให้แก่ผู้สร้างงานจึงควรมีสิทธิในผลงานนั้นเหมือนกับ เจ้าของงานลิขสิทธิ์ด้วย - Trade Marks เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือตราที่ใช้กับสินค้าเพื่อให้ประชาชนทั่วไปแยกแยะได้ว่าสินค้านั้นเป็นของ ผู้ใด ใครเป็นเจ้าของ และมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกว่า ยี่ห้อ สำหรับเครื่องหมายการค้านั้น จะเป็นภาพ เป็นคำ หรือเป็นตัวอักษรก็ได้ Service Marks เครื่องหมายบริการ เป็นเรื่องที่เกิดใหม่เนื่องจากสินค้าบริการได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น การให้บริการด้านการเงิน การโทรคมนาคม จึงทำให้ผู้ให้บริการต้องการที่จะใช้เครื่องหมาย เพื่อชี้ให้เห็นถึงการบริการของตน เช่นเดียวกับการใช้เครื่องหมายการค้า " [การทูต] |
New Diplomacy | การทูตแบบใหม่ ภายหลังสงครามโลกครั้งแรก หรือตั้งแต่ ค.ศ. 1918 เป็นต้นมา ได้เกิดการทูตแบบใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจาการทูตแบบเก่า อันได้ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี นักวิชาการบางท่านมีความเอนเอียงที่จะตำหนิว่า การที่เกิดสงครามโลกขึ้นนั้น เป็นเพราะการทูตประสบความล้มเหลวมากกว่าอย่างไรก็ดี บางท่านเห็นว่าแม้ส่วนประกอบของการทูตจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา แต่เนื้อหาหรือสาระสำคัญของการทูตยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เป็นการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่างการทูตแบบเก่ากับการทูตแบบใหม่อาจกล่าวได้ ว่า มีปัจจัยสำคัญ ๆ อยู่สามประการ ที่มีอิทธิพลหรือบังเกิดผลโดยเฉพาะต่อวิธีการหรือทฤษฎีของการเจรจาระหว่าง ประเทศ กล่าวคือ ข้อแรก ชุมชนนานาชาติทั้งหลายเกิดการตื่นตัวมากขึ้น ข้อที่สอง ได้มีการเล็งเห็นความสำคัญของมติสาธารณะ ( Public Opinion) มากขึ้น และประการสุดท้าย เป็นเพราะการสื่อสารคมนาคมได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วอดีตนักการทูตผู้มี ชื่อเสียงคนหนึ่งของอินเดีย ได้แสดงความไม่พอใจและรังเกียจความหยาบอย่างปราศจากหน่วยก้านของการดำเนิน การทูตแบบใหม่ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อเข้าใส่กัน การใช้ถ้อยคำในเชิงผรุสวาทต่อกัน การเรียกร้องกันอย่างดื้อ ๆ ขาดความละมุนละไมและประณีต อาทิเช่น การเรียกร้องข้ามหัวรัฐบาลไปยังประชาชนโดยตรงในค่ายของฝ่ายตรงกันข้ามการ กระทำต่าง ๆ ที่จะให้รัฐบาลต้องเสียชื่อหรือขาดความน่าเชื่อถือ ตลอดจนการใส่ร้ายป้ายสีกันด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา ห้ามไม่ให้ประชาชนติดต่อกันทางสังคม และอื่น ๆ เป็นต้น [การทูต] |
Oil - for - Food | โครงการน้ำมันเพื่ออาหาร " เป็นโครงการภายใต้ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 986 (พ.ศ. 2538) ซึ่งอนุญาตให้อิรักนำรายได้จากการขายน้ำมันดิบไปซื้อสินค้าทางด้านมนุษยธรรม เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนอิรัก " [การทูต] |
Open and Caring Societies | สังคมเปิดและเอื้ออาทร เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์อาเซียนปี พ.ศ. 2563 ที่ได้เล็งเห็นว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวมในปีดังกล่าวจะมีสังคมเปิดที่ประชาชน ยึดมั่นในเอกสักษณ์แห่งชาติของตนและเข้าถึงโอกาสของการพัฒนาความเป็นมนุษย์ อย่างสมบูรณ์ได้อย่างเท่าเทียมกัน และจะเป็นสังคมเอื้ออาทรที่ความหิวโหยทุกข์โภชนาการ การสูญเสียและความยากจนจะไม่ใช่ปัญหาพื้นฐาน และเป็นสังคมที่มีสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็ง [การทูต] |
Personal Diplomacy | คือการเจรจากันโดยตรงระหว่างรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศด้วยกัน ส่วนการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขของรัฐ หรือหัวหน้าของรัฐบาล แต่เดิมก็จัดอยู่ในประเภทการมทูตส่วนบุคคล แต่มาในปัจจุบันนี้ มักนิยมเรียกกันว่าเป็นทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) แยกออกต่างหากจากการทูตส่วนบุคคลมีผู้สังเกตการณ์หลายคนเตือนว่า ในกรณีที่เกิดเรื่องหรือปัญหาที่ยังคาราคาซังอยู่นั้น ไม่ควรหันเข้าใช้วิธีส่งผู้แทนพิเศษจากนครหลวงไปแก้ปัญหา ควรให้เอกอัครราชทูตเป็นผู้ดำเนินการมากกว่า เพราะประการแรก การกระทำเช่นนั้นยังผลเสียหายต่อศักดิ์ศรีของตัวเอกอัครราชทูตเอง ทั้งยังกระทบกระเทือนต่อการที่เขาจะปฏิบัติงานให้ประสบผลอย่างเต็มที่ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้นในภายหน้าด้วย อีกประการหนึ่ง จะพึงคาดหมายได้อย่างไรว่า ตัวผู้แทนพิเศษที่ส่งไปนั้นจะมีความรอบรู้เกี่ยวกับภูมิหลังของปัญหา รวมทั้งตัวบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่ากับตัวเอกอัครราชทูตเอง ซึ่งได้ประจำทำงานอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ณ ที่นั่น แม้แต่ แฮโรลด์ นิโคลสัน ก็ไม่เห็นด้วย และได้เตือนว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศหนึ่งไปเยือนและพบปะกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอีกประเทศหนึ่งบ่อย ๆ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำและไม่ควรสนับสนุน เพราะการกระทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชนคาดหมายไปต่าง ๆ นานาแล้ว ยังจะทำให้เกิดเข้าใจผิด และเกิดความสับสนขึ้นมาได้แม้แต่ผู้รอบรู้ในเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการ ทูตบางคนก็ยังแคลงใจว่า การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) จะได้ประโยชน์และให้ผลจริง ๆ หรือไม่ นอกจากเฉพาะในกรณียกเว้นจริง ๆ เท่านั้น บ้างเห็นว่า การพบปะเจรจาแบบสุดยอดมักจะกลายสภาพเป็นการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์มากกว่า ที่จะเป็นการเจรจากันอย่างแท้จริง เพราะมีอันตรายอยู่ว่า ผู้ร่วมเจรจามักจะแสดงความคิดเห็นตามความรู้สึกมากกว่าตามข้อเท็จจริง เพราะมัวแต่เป็นห่วงและคำนึงถึงประชามติในประเทศของตนมากเกินไปนอกจากนี้ ผู้เจรจาไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ข้อลดหย่อนหรือทำการประนีประนอม ( ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งหากจะให้เจรจาบังเกิดผล) เพราะกลัวเสียหน้าหากกระทำเช่นนั้น ตามปกติ ถ้าให้นักการทูตเป็นผู้เจรจา เขาจะมีโอกาสมากกว่าที่จะใช้วิธีหลบหลีกอันชาญฉลาดในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เป็นผลตามที่มุ่งประสงค์ [การทูต] |
Personal Inviolability of Diplomatic Agents | หมายถึง ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ กล่าวคือ มาตรา 29 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ว่า ?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทุตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ ให้รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางการทูต?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ นั้น ได้ถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ให้ผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิและความคุ้มกัน ทั้งมวล ถึงกับมีการพูดกันว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อตัวเอกอัครราชทูต จักถือว่าเป็นการทำร้ายต่อประมุขของประเทศซึ่งผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเป็น ตัวแทนอยู่ ทั้งยังถือว่าเป็นการยังผลร้ายต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชาติทั้ง มวลด้วยตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1964 ชายหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งมีจิตวิปลาส ได้ใช้มีดแทง นายเอ็ดวิน โอไรส์ชาวเออร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศญี่ปุ่น ในเขตนอกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโตเกียว รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทยญี่ปุ่นได้ลาออกจากตำแหน่งทันทีและรุ่งขึ้นใน วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1964 นายอิเคดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ได้ทำการขอโทษต่อประชาชนชาวอเมริกันทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการดำเนินการในทำนองนี้ และการที่นายกรัฐมนตรีอิเคดะได้ปฏิบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้นั้น มีความสำคัญมากเพียงใดตัวแทนทางการทูตจะถูกจับ ถูกฟ้องศาล หรือถูกลงโทษฐานประกอบอาชญากรรมนั้นไม่ได้ เพราะถือว่าผู้แทนทางการทูตมิได้อยู่ในอำนาจศาลของรัฐผู้รับ อย่างไรก็ดี หากผู้แทนทางการทูตกระทำความผิดอย่างโจ่งแจ้ง รัฐผู้รับอาจขอให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับไปยังประเทศของเขาได้ในทันที [การทูต] |
Public Diplomacy | การทูตสาธารณะ หมายถึง การดำเนินการทางการทูตแบบหนึ่งเพื่อโน้มน้าวชักจูงให้สาธารณชนและกลุ่มเป้า หมายและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ในต่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจของรัฐให้มีความชื่นชมและเข้าใจ ถึงแนวทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศของประเทศใคประเทศหนึ่ง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระดับประชาชนให้มีความใกล้ชิดแน่นแฟ้น และประสบผลสำเร็จอน่างแนบเนียน โดยจะมี ความแตกต่างจากการดำเนินการทางการทูตแบบดั้งเดิม ที่เน้นการสื่อสารระหว่างรัฐต่อรัฐ(Government to Government)แต่การทูตสาธารณะจะเน้นวิธีการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชน( Government to People) ภาคเอกชน ประชาสังคม หรือสื่อมวลชนในต่างประเทศหรือระหว่าประชาชนด้วยกันเอง อนึ่ง การทูตวัฒนธรรม (Cultural Diplomacy) ที่ใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อเชื่อมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนนั้น ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งของการดำเนินการทางการทูตสู่สาธารณชนนี้ [การทูต] |
Responsibility to protect | หลักการความรับผิดชอบในการคุ้มครอง เป็นหลักการที่ได้รับการรับรองในการประชุมระดับผู้นำ เพื่อทบทวนผลของปฏิญญาสหัสวรรษ(High Level Panel Meeting - HLPM) เมื่อวันที่ 14-16 กันยายน พ.ศ. 2548 ณ นครนิวยอร์ก ที่เกี่ยวข้องกับการแทรกแซงทางมนุษยธรรม ( humanitarian interference/intervention of humanity)เพื่อคุ้มครองประชาชนจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การฆ่าล้างชนชาติ โดยจะถือเป็นความรับผิดชอบและที่จะต้องดำเนินการร่วมกันโดยประชาคมระหว่าง ประเทศ อย่างไรก็ตาม หลักการเรื่องนี้มีนัยเกี่ยวข้องกับกฏหมายระหว่างประเทศ อธิปไตย ของรัฐ ความอ่อนไหวทางการเมือง และความชอบธรรมในการปฏิบัติ จึงยังไม่มีการนิยามแนวความคิด R2P รวมถึงขอบเขตของ R2P ที่ชัดเจน [การทูต] |
South Asian Growth Quadrangle | โครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจแห่งเอเชียใต้ " เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างบังกลาเทศ เนปาล อินเดีย และ ภูฏาน เพื่อปรับปรุงมาตรการความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาค เอเชียใต้ให้ดีขึ้น " [การทูต] |
Schengen States | กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปบางประเทศที่ยอมรับกันให้ประชาชนของแต่ละประเทศ สามารถเดินทางไปมาถึงกันและเข้าเมืองได้โดยไม่มีการตรวจลงตราหรือมีการควบ คุมใดๆ ระหว่างกัน และสำหรับประชาชนจากประเทศที่สาม หากได้รับอนุญาตให้เดินทางไปประเทศหนึ่งประเทศใดในกลุ่มประเทศนี้แล้ว จะสามารถเดินทางต่อไปประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มนี้ได้โดยไม่มีการควบคุม สมาชิกประกอบด้วย เบลเยี่ยม เยอรมนี ฝรั่งเศส กรีซ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ และสเปน [การทูต] |
State Peace and Development Council | สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ เป็นองค์กรปกครองสูงสุดของพม่าในปัจจุบัน เดิมมีชื่อว่าสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (SLORC - State Law and Order Restoration Council) อันเป็น กลุ่มทหารพม่าที่เข้ายึดอำนาจการปกครองในวันที่ 18 กันยายน 2531 ภายหลังจากที่ประชาชนชาวพม่าได้ออกมาเดินขบวนประท้วงรัฐบาลภายใต้การนำของ พรรคโครงการสังคมนิยมพม่า การเข้ายึดอำนาจรัฐในครั้งนั้นเป็นไปอย่างนองเลือดและคณะทหารดังกล่าวได้ให้ สัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้ง แต่ภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 27 พฤษภาคม 2533 SLORC กลับปฏิเสธที่จะมอบอำนาจการปกครองให้แก่พรรค National League for Democracy (NLD) และเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 SLORC ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น SPDC [การทูต] |
Social Safety Nets | โครงข่ายรองรับทางสังคม หมายถึง มาตรการในการให้ความช่วยเหลือทางสังคมแก่ประชาชนเพื่อบรรเทาภาวะวิกฤตต่าง ๆ อาทิ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน และการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เป็นต้น ด้วยการดำเนินนโยบายระยะสั้นในการสร้างงาน การให้การฝึกอบรมวิชาชีพใหม่ และอื่น ๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องในระยะยาวและการพัฒนา สังคมอย่างรอบด้านในภาพรวม [การทูต] |
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
บัตรประชาชน | [bat prachāchon] (n, exp) EN: ID card ; identification card ; identity card FR: carte d'identité [ f ] |
บัตรประจำตัวประชาชน | [bat prajamtūa prachāchon] (n, exp) EN: identity card ; i.d. card FR: carte d'identité [ f ] |
การเพิ่มขึ้นของประชาชน | [kān phoēmkheun khøng prachāchon] (n, exp) EN: population growth |
การสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนที่เพิ่งลงคะแนนเสร็จสด ๆ ร้อน ๆ | [kān samrūat khwām khithen jāk prachāchon thī phoeng longkhanaēn set sot-sot røn-røn] (xp) EN: exit poll FR: sondage effectué à la sortie des bureaux de vote [ m ] |
เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน | [Khēt Børihān ¯Phi_sēt Hǿng -Kong haeng Sāthāranarat Prachāchon Jīn] (n, prop) EN: Hong Kong Special Administrative Region of the People’s Republic of China |
พรรคพลังประชาชน | [Phak Phalang Prachāchon] (org) EN: People Power party (PPP) FR: parti du Pouvoir du Peuple (PPP) |
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย | [Phanthamit Prachāchon Pheūa Prachāthippatai] (org) EN: People's Alliance for Democracy (PAD) FR: Alliance du Peuple pour la Démocratie (PAD) |
พี่น้องประชาชน | [phīnøng prachāchon] (n, exp) FR: concitoyens [ mpl ] ; population [ f ] ; compatriotes [ mpl ] |
ปลุกให้ประชาชนตื่นตัว | [pluk hai prachāchon teūntūa] (v, exp) EN: arouse the people FR: réveiller la population |
ประชาชน | [prachāchon] (n) EN: people ; population ; general public FR: population [ f ] ; gens [ fpl ] ; peuple [ m ] ; public [ m ] ; populace (péj.) [ f ] |
ประชาชนหลายร้อยคน | [prachāchon lāi røi khon] (xp) EN: hundeds of people FR: des centaines de personnes ; plusieurs centaines de personnes |
สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ | [Sāthāranarat Prachāchon Bangkalāthēt] (n, prop) EN: People's Republic of Bangladesh |
สาธารณรัฐประชาชนจีน | [Sāthāranarat Prachāchon Jīn] (n, prop) EN: Republic of China FR: République populaire de Chine [ f ] |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | [sāthāranarat prachāthippatai] (n, exp) FR: république démocratique [ f ] |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | [Sāthāranarat Prachāthippatai Prachāchon Lāo] (n, prop) EN: People's Democratic Republic FR: République populaire [ f ] |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย | [Sāthāranarat Prachāthippatai Prachāchon Aēljirīa] (n, prop) EN: People's Democratic Republic of Algeria FR: République algérienne démocratique et populaire [ f ] |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | [Sāthāranarat Prachāthippatai Prachāchon Lāo] (n, prop) EN: People's Democratic Republic of Laos FR: République populaire démocratique du laos [ f ] |
ศัตรูของประชาชน | [sattrū khøng prachāchon] (n, exp) EN: public enemy ; enemy of the nation FR: ennemi public [ m ] |
Longdo Approved EN-TH
koban | (n) ป้อมตำรวจ ตั้งอยู่ตามสถานที่ชุมชมเพื่อรับแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย หรือให้ความช่วยเหลือต่างๆ แก่ประชาชน (คำนี้มาจากคำภาษาญี่ปุ่น, ในประเทศญี่ปุ่นจะมีป้อมในลักษณะนี้ตามจุดต่างๆ ทั่้วเมือง) |
Hessian | (adj) แห่งรัฐ Hesse ในประเทศเยอรมนี หรือ แห่งประชาชนจากรัฐ Hesse เช่น The Hessian capital city is Wiesbaden., See also: Hesse |
ethnocentrism | (n) ความเชื่อที่ว่าชนชาติ ประชาชน ขนบธรรมเนียม ประเพณีของ เชื้อชาติของตนนั้น ดีเลิศกว่าชนชาติอื่น |
civil society | (n) ประชาสังคม เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนโดยมีจิตสำนึกร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาของสังคม เช่น Civil society is much talked about, but rarely understood. John Edwards explores the practical and theoretical significance of civil society. |
initial public offering | (n) การเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก, ไอพีโอ เช่น The company plans an initial public offering of common stock to raise as much as $50 million., Syn. I.P.O. |
The People’s Republic of China | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
public order | (n) ความสงบเรียบร้อยของประชาชน |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
citizen | (n) ประชาชน, See also: พลเมือง, Syn. inhabitant, denizen, national |
colony | (n) ประชาชนในอาณานิคม, Syn. people, community, pioneers, colonists, forerunners |
commonwealth | (n) ประชาชนของชาติ, Syn. the people |
constituent | (n) ประชาชนในระบอบประชาธิปไตย |
consul | (n) กงสุล, See also: เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ดูแลผลประโยชน์ทางการค้าและประชาชนของตนในต่างประเทศ |
country | (n) ประชาชนในประเทศ |
demos | (n) ประชากร, See also: ประชาชน, คนทั่วไป |
Estonian | (adj) เกี่ยวกับประชาชน ภาษาหรือวัฒนธรรมของเอสโตเนีย |
Etruscan | (adj) เกี่ยวกับประชาชน ภาษา และวัฒนธรรมอิทรูเรียโบราณ |
Etruscan | (n) พลเมืองของอิทรูเรียโบราณ, See also: ประชาชนชาวอีทรูเรียโบราณ |
European | (adj) เกี่ยวกับยุโรป, See also: เกี่ยวกับประชาชน, ภาษาและวัฒนธรรมยุโรป |
flock | (n) ฝูงชน, See also: ขบวนประชาชน, หมู่ชน, Syn. group, company, crowd, Ant. solitary |
folk | (n) ประชาชน, See also: ชาวบ้าน, กลุ่มชน, Syn. people |
giro cheque | (n) เช็คที่รัฐบาลโอนเงินผ่านระบบ giro เพื่อให้กับประชาชนผู้ยากไร้, Syn. giro |
grass roots | (n) ระดับธรรมดา, See also: ระดับพื้นฐาน, ระดับประชาชน, ชุมชน |
grassroots | (n) สามัญชน, See also: ประชาชน, คนธรรมดา |
Haitian | (adj) เกี่ยวกับประเทศหรือประชาชนเฮติ |
Haitian | (n) ประชาชนของไฮติ |
Hindustan | (n) ประเทศอินเดีย, See also: ประเทศอินเดียทางตอนเหนือซึ่งเป็นส่วนที่ประชาชนพูดภาษาฮินดู |
Hispanic | (adj) เกี่ยวกับประเทศ, วัฒนธรรม และประชาชนสเปน |
Hittite | (adj) เกี่ยวกับประชาชน, ภาษา และวัฒนธรรมของชนชาตินี้ |
ID card | (n) บัตรประจำตัวประชาชน (คำย่อ identification card), See also: คำไม่เป็นทางการ |
identity card | (n) บัตรประชาชน, See also: บัตรประจำตัวประชาชน, Syn. identification card |
millions | (n) ประชาชน, See also: มหาชน, คนจำนวนมาก, Syn. population, populace |
moot | (n) สภาประชาชนในสมัยแองโกล-แซกซอนซึ่งมีอำนาจบริหารและร่างกฎหมาย |
nation | (n) คนในประเทศ, See also: พลเมือง, ประชาชน, Syn. nationality, Ant. alien, foreigner |
national | (n) ประชาชน, Syn. citizen, patrial |
people | (n) คน, See also: ประชาชน, ประชากร, Syn. population, habitancy, citizen |
Philippine | (adj) เกี่ยวกับประชาชน วัฒนธรรม และประเทศฟิลิปปินส์ |
plebiscite | (n) การลงคะแนนเสียงชี้ขาดโดยประชาชนทั่วไป, Syn. poll, referendum, vote |
plebs | (n) สามัญชน, See also: ประชาชน, คนทั่วไป |
populace | (n) ประชาชน, See also: พลเมือง, Syn. masses, multitude, people, population |
popular | (adj) ของประชาชน, See also: เกี่ยวกับประชากร, Syn. public, mass |
Portuguese | (adj) เกี่ยวกับประชาชน ภาษา วัฒนธรรมของโปรตุเกส |
public | (n) มหาชน, See also: สาธารณชน, ประชาชน, กลุ่มคน, มวลชน, กลุ่มชน |
public opinion | (n) ความเห็นส่วนใหญ่ของประชาชน |
publicly | (adv) โดยประชาชน |
self-determination | (n) สิทธิของประชาชนในการเลือกรูปแบบการปกครองและรัฐบาลของตน, Syn. liberty, self-government |
spotlight | (n) จุดสนใจของผู้คน, See also: สายตาของประชาชน, Syn. public eye |
throng | (n) ฝูงชน, See also: ประชาชนจำนวนมากที่มาชุมนุมกัน, กลุ่มคน, หมู่คน, Syn. crowd |
town | (n) ชาวเมือง, See also: ประชาชน, Syn. townpeople, inhabitants, society |
tribunary | (adj) ซึ่งคุ้มครองสิทธิของประชาชน |
tribune | (n) คนหรือองค์กรคุ้มครองสิทธิของประชาชน |
tribuneship | (n) การคุ้มครองสิทธิของประชาชน |
vox populi | (n) เสียงประชาชน, Syn. vox pop. |
welf state | (n) ระบบให้สวัสดิการกับประชาชน |
welfare state | (n) ระบบสวัสดิการที่รัฐบาลให้แก่ประชาชนทางด้านต่างๆ, See also: เช่น การศึกษา สุขภาพ การเคหะ และอื่นๆ |
welfare work | (n) งานสังคมสงเคราะห์เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน, See also: กิจการสวัสดิการ |
Welsh | (adj) เกี่ยวกับประชาชนและวัฒนธรรมเวลส์ |
zoo | (n) สวนสัตว์, See also: สวนสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อให้ประชาชนเข้าชม, Syn. menagerie, terrarium |
Hope Dictionary
anatolian | (แอนนะโท' เลียน) adj., n. เกี่ยวกับ Anatolia, ภาษาหรือประชาชนที่อยู่แถว Anatolia, Syn. Anatolic |
balkan | (บอล'เคิน) adj. เกี่ยวกับแหลมบอลข่าน (ประชาชน, เทือกเขา, ภาษาและอื่น ๆ) -Phr. (the Balkans ประเทศต่าง ๆ ของแหลมบอลข่าน), See also: balkanite adj. |
bamboo curtain | n. ม่านไม้ไผ่, สาธารณรัฐประชาชนจีน |
click | (คลิค) 1. { clicked, clicking, clicks } n. เสียงดังกริ๊ก, กลอนสปริง, ตัวดึง, เสียงกระเดาะลิ้น vi. เสียงดังกริ๊ก, เปล่งเสียงดังกริ๊ก, กระเดาะลิ้นดังกริ๊ก, กระทำสำเร็จ, ประสานกันได้ดี, สอดคล้อง, ได้รับการต้อนรับจากประชาชน vt. ทำให้เกิดเสียงดังกริ๊ก, กระทบดังกริ๊ก 2. กด (เมาส์) การกดนิ้วในจังหวะสั้น ๆ เร็ว ๆ 1 ที ลงบนปุ่มใดปุ่มหนึ่งของของเมาส์ (ส่วนใหญ่จะใช้ปุ่มซ้ายมือสุด) แล้วยกออกในทันที ใช้เมื่อต้องการสั่งการตามรายการในเมนู หรือเลือกรายการที่ต้อง การที่มีแสดงอยู่บนจอภาพ โดยเลื่อนเมาส์ให้ลูกศรชี้อยู่ที่คำสั่งที่ต้องการก่อน จึงค่อยกด (ในภาษาไทยอาจใช้สั้น ๆ ว่า "กดเมาส์ ") ในบางกรณี ต้องกดสองทีเร็ว ๆ เรียกว่า double click ดู double click ประกอบ |
comitia | (คะมิช'เย) n. สภาประชาชน |
commonalty | (คอม'มะแนลที) n. สามัญชน, คนสามัญ, ประชาชน, หมู่คณะ, Syn. commonality |
constituency | (คันสทิช'ชุเอินซี) n. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตหนึ่ง, เขตเลือกตั้ง |
curfew | (เคอ'ฟิว) n. การห้ามประชาชนออกนอกบ้านในระยะเวลาที่กำหนด (มักเป็นเวลากลางคืน) , เวลาห้ามออกนอกบ้านดังกล่าว, ระฆังบอกเวลากลางคืน, เสียงระฆังกลางคืน |
demagog | (เดม'มะกอก) n. ผู้ที่มีอำนาจหรือชื่อเสียงจากการปลุกปั่นประชาชน, ผู้นำฝูงชน vi. ปลุกปั่น, ล่อหลอก, See also: demagoguery n. ดูdemagog |
demagogue | (เดม'มะกอก) n. ผู้ที่มีอำนาจหรือชื่อเสียงจากการปลุกปั่นประชาชน, ผู้นำฝูงชน vi. ปลุกปั่น, ล่อหลอก, See also: demagoguery n. ดูdemagog |
demo- | Pref. " ผู้คน " "ประชาชน" |
demos | (ดี'มอส) n. ประชาชน, สามัญชน, พลเมือง |
demotic | (ดิมอท'ทิค) adj. เกี่ยวกับประชาชน |
electorate | n. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด, เขตเลือกตั้ง |
finnish | (ฟิน'นิช) n. ภาษาฟินแลนด์ adj. เกี่ยวกับประเทศหรือประชาชนของฟินแลนด์ |
folk | (โฟล์ค) n. ประชาชน, ชาวบ้าน, คนทั่วไป, ญาติสมาชิกของครอบครัว, พ่อแม่. adj. เกี่ยวกับชาวบ้าน หรือสามัญชน. ซึ่งกำเนิดในหมู่สามัญชน., See also: folkish adj. folkishness n., Syn. persons, people |
gentile | (เจน'ไทลฺ) adj. เกี่ยวกับคนที่ไม่ใช่ยิว, คริสเตียน (ซึ่งแตกต่างจากยิว) , ไม่ใช่โมมอน (Mormon) และไม่ใช่ยิว, คนนอกศาสนา, เกี่ยวกับเผ่า-ประชาชน-ประเทศ., Syn. Gentile |
haitian | (เฮ'เชิน) adj. เกี่ยว กับประเทศHaitiหรือประชาชน. n. ประชาชนของ Haiti |
hoi polloi | (ฮอย'พะลอย) n. สามัญชน, ประชาชน, Syn. populace |
korean | (โคเรียน') adj. เกี่ยวกับเกาหลี (ประชาชน ภาษาหรืออื่น ๆ) . n. ชาวเกาหลี, ภาษาเกาหลี |
limelight | (ไลมฺ'ไลทฺ) n. ไฟแก๊สสำหรับฉายตัวละครบนเวทีสมัยก่อน, แสงไฟหินปูน, จุดที่ประชาชนสนใจ, สายตาของประชาชน., See also: limelighter n. |
man of god | นักบุญ, ผู้ที่พระเจ้าดลใจให้มาสั่งสอนประชาชน, พระ |
menagerie | (มะนาจ'จะรี) n. การรวบรวมสัตว์ป่าหรือสัตว์ประหลาด (โดยเฉพาะเพื่อเปิดให้ประชาชนชม) , สถานที่ที่เก็บสัตว์ดังกล่าว |
muscovite | (มัส'คะไวทฺ) n. ประชาชนในกรุงมอสโก |
norwegian | (นอร์วี'เจียน) adj., n. (เกี่ยวกับ) นอร์เวย์ (ประเทศ-ประชาชน-ภาษาวัฒนธรรมและอื่น ๆ) |
people | (พี'เพิล) n. คน, ประชาชน, ประชากร, พลเมือง, ราษฎร, มนุษย์., Syn. population, folk, human, humanity |
plebiscite | (เพลบ'บิไซทฺ) n. การลงคะแนนเสียงโดยประชาชนทั่วไป, See also: plebiscitary adj. |
plebs | (เพลบซ) n.สามัญชน, ประชาชนทั่วไป pl. plebes, Syn. common people |
populace | (พอพ'พิวเลส) n. ประชากร, ประชาชน (population) |
public servant | n. ข้าราชการ, ผู้รับใช้ประชาชน |
public service | n. การบริการสาธารณะ, การบริหารประชาชน, กิจการของข้าราชการ |
rabble | (แรบ'เบิล) n. ฝูงชนที่วุ่นวายไร้ระเบียบ, ฝูงสัตว์, ฝูงแมลง, สิ่งของที่เป็นกองเรี่ยราด. vt. รวมเป็นฝูงชน -Phr. (the rabble สามัญชน ชนชั้นต่ำ ประชาชนทั่วไป), Syn. mob |
red china | n. สาธารณรัฐประชาชนจีน (คอมมิวนิสต์), Syn. China |
referendum | (เรฟฟะเรน'ดัม) n. ประชามติ, การลงประชามติ, คะแนนเสียงที่ประชาชนลง pl. referendums, referenda |
scandinavian | (สแคนดิเน'เวียน) adj., n. เกี่ยวกับ (ประเทศแถบสแกนดิเนเวียน, ประชาชน หรือภาษาที่ใช้กัน) . |
self-determination | n. การตัดสินใจ, การตกลงใจด้วย ตนเอง, ลัทธิของประชาชนในการตัดสินใจเองว่าจะให้มีการปกครอง ในรูปใด., See also: self-determined adj. self-determining adj. |
singhalese | (ซิงกะลีซ) adj., n. (เกี่ยวกับ) ศรีลังกา , ประเทศ, ประชาชน, วัฒนธรรม, ภาษา, Syn. Sinhalese |
southerner | n. ชาวปักษ์ใต้, ประชาชนที่อยู่ในภาคใต้, |
spanish | (สแพน'นิช) adv. เกี่ยวกับสเปน (ประชาชน, ภาษา, วัฒนธรรมและอื่น ๆ) . n. ชาวสเปน, ภาษาสเปน |
spotlight | (สพอท'ไลทฺ) n. ไฟฉายสว่างจ้า, แสงสว่างจ้าจากไฟฉายแรงสูง, จุดสนใจของประชาชน. vt. ฉายส่องด้วยไฟฉายแรงสูง, ทำให้เห็นชัด, ทำให้เด่นชัด, เรียกร้องความสนใจ, ย้ำ, เน้น, Syn. highlijght, accent, feature |
they | (เธ) pron. เขาเหล่านั้น, พวกเขา, บุคคลทั่วไป, ประชาชนทั่วไป |
toga | (โท'กะ) n. เสื้อคลุมหลวมของประชาชนชาวโรมันสมัยโบราณ, เสื้อคลุม, ตำแหน่งวุฒิสภา., See also: togaed adj. pl. togas, togae |
town | (ทาวน์) n. เมือง, นคร, เขตชุมชน, ชาวเมือง, ประชาชนทั้งเมือง, เขตศูนย์การค้าของเมือง, -Phr. (go to town ทำ (วางแผน) ดีและเร็ว, ไปหาความสำราญ) , -Phr. (go up town ไปในเมือง, ) -Phr. (on the town หาความสำราญในเมือง), See also: townish adj. |
tribune | (ทริบ'บิวน์) n. ผู้พิทักษ์สิทธิของประชาชน, เจ้าหน้าที่คุ้มครองประชาชน, เวทีแสดงสุนทรพจน์, เวทีอภิปราย, ยกพื้นสำหรับการแสดงสุนทรพจน์, See also: tribuneship n. |
turkman | (เทิร์ค'เมิน) n. ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตุรกี, See also: Turkmenistan, Turkmenian adj., pl. Turkmen |
working people | n. ประชาชนผู้ใช้แรงงาน |
zoo | (ซู) n. สวนสัตว์, สวนสัตว์เลี้ยงให้ประชาชนชม pl. zoos, Syn. zoological garden |
zoological garden | n. สวนสัตว์สำหรับให้ประชาชนชม., Syn. zoo |
Nontri Dictionary
burgher | (n) ชาวเมือง, พลเมือง, ประชาชน |
citizen | (n) ประชากร, ชาวเมือง, พลเมือง, ประชาชน, คนในบังคับ |
folk | (n) ผู้คน, พ่อบ้าน, พลเมือง, ประชาชน |
morale | (n) คติธรรม, ขวัญ(ของประชาชน) |
national | (n) ประชาชาติ, ประชาชน, พลเมือง |
people | (n) ประชาชน, ราษฎร, ครอบครัว, พลเมือง, พสกนิกร, คน |
populace | (n) ประชาชน, พลเมือง, ประชากร, ราษฎร, พสกนิกร |
population | (n) พลเมือง, ประชากร, ประชาชน, จำนวนประชากร |
public | (adj) สาธารณะ, ของประชาชน, เพื่อประชาชน, ของหลวง, ของรัฐบาล, โดยส่วนรวม |
public | (n) ที่สาธารณะ, สาธารณชน, ประชาชน, ชุมชน |
spotlight | (n) สายตาของประชาชน, ไฟฉาย, จุดสนใจ |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
citizen identity number | (n) เลขประจำตัวประชาชน, Syn. people identity number |
kowloon | เกาลูน เป็นพื้นที่ในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน |
RMB | (n, uniq) The renminbi (simplified Chinese: 人民币; traditional Chinese: 人民幣; pinyin: rénmínbì; literally "people's currency") is the currency of the People's Republic of China (PRC) - คือ ชื่อเรียกของเงินจีน โดยหน่วยเงินสกุลนี้ คือ หยวน [ yuan (simplified Chinese: 元 or 圆; traditional Chinese: 圓; pinyin: yuán; Wade-Giles: yüan) ] เงิน RMB - renmibi นั้น เริ่มต้นครั้งแรกในปี 1948 โดยธนาคาร People's Bank of China หนึ่งปีก่อนพรรคคอมมิวนิสจีนจะชนะในสงครามการเมือง โดยเงินนี้ เรียกว่า renmibi นั้น แปลว่า เงินของประชาชน "People's Currency" - สำหรับหน่วยเงินจีนนั้น สามารถใช้ได้ทั้ง RMB / CNY / ¥. >> อ่านเพิ่มเติมใน http://en.wikipedia.org/wiki/Rmb Image: |
rollout | (n) (เครื่องบิน)การนำออกแสดงเป็นครั้งแรก, การนำ(สินค้า ฯลฯ) ออกส่สายตาประชาชนเป็นครั้งแรก อจจะด้วยการจัดนิทรรศการ/การโฆษณา |
united arab emirates | [ยูไน้ถิด อาหรับ เอมิเร็ทสฺ] สหอาหรับเอมิเรตส์ (ไม่มีคำว่า "รัฐ" เพราะไม่เน้นที่ States แต่เน้นที่ คนอาหรับ เขาก่อร่างสร้างประเทศเขาตั้งใจมองไปที่คนเล็กคนน้อย เขาเล็งไปที่ "ชาวอาหรับ" ที่เป็นประชาชนในอาณาบริเวณของเขา เขาจึงใช้ชื่อประเทศว่า United Arab Emirates: ภาษาอาหรับก็บอกชัดเจนอ่านจากคำขวาก่อนคือ อิมิเรต หากดูตรงกลางพบคำว่า "อาระบียะห์" ซึ่งหมายถึงคนอาหรับ และคำสุดท้ายแปลว่ามารวมกัน الإمارات العربيّة المتّحدة ) |
Longdo Approved JP-TH
中国 | [ちゅうごく, chuugoku] (n) สาธารณรัฐประชาชนจีน |
国民 | [こくみん, kokumin] (n) ประชาชน, ประชากร |
朝鮮人民共和国 | [ちょうせんじんみんきょうわこく, chousenjinminkyouwakoku] (n, name) สาธารณรัฐประชาชนเกาหลี (หมายถึง เกาหลีเหนือ) |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
市民民主化同盟 | [しみんみんしゅかどうめい, shiminminshukadoumei] (n) พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People's Alliance for Democracy, See also: S. PAD |
市民民主化同盟 | [しみんみんしゅかどうめい, shiminminshukadoumei] (n) พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People's Alliance for Democracy), See also: S. PAD |
地方交付税 | [ちほうこうふぜい, chihoukoufuzei] (n) เงินอุดหนุนประเภทหนึ่งที่ให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อเป็นการประกันว่าองค์กรปกครองท้องถิ่นสามารถให้บริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนในท้องถิ่นได้ โดยองค์กรปกครองท้องถิ่นที่มีรายได้น้อย จะได้เงินอุดหนุนประเภทนี้มากกว่าองค์กรปกครองท้องถิ่นที่มีรายได้มาก |
町内会 | [ちょうないかい, chounaikai] สมาคมของประชาชนที่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกัน(สมาคมแห่งนี้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกันแล้ว โดยทั่วไปแล้วทุกคนต้องเข้าร่วมและต้องจ่ายค่าสมาชิก โดยที่สมาคมจะเป็นคนกำหนดกฏเกณฑ์ภายในชุมชนแห่งนั้นเช่นการกำหนดสถานที่ิทิ้งขยะ และทำหน้าที่กระจายข่าวสารภายในชุมชน สมาคมแบบนี้จะมีอยู่ในทุกชุมชนทั่วประเทศญี่ปุ่น หากเทียบกับประเทศไทย ก็ให้นึกถึง "คณะกรรมการชุมชน" ก็น่าจะเทียบเคียงกันได้) |
市民参加 | [しみんさんか, shiminsanka] (n) การมีส่วนร่วมของประชาชน |
Longdo Approved DE-TH
Referendum | (n) |das, pl. Referenda/Referenden| การลงมติเสียงของประชาชน |
Volk | (n) |das, pl. Völker| ผู้คน, ประชาชน เช่น Noch nie zuvor in der Geschichte Thailands ist das Volk so gespalten gewesen. |
Staatsbürger | (n) |der, pl. Staatsbürger| พลเมือง, ประชาชน เช่น Seit kurzem bietet auch die Lufthansa sehr attraktive Ethnik Spezial Tarife für thailändische Staatsbürger mit ihren Ehepartnern und Kindern an., See also: die Staatsbürgerin |
Longdo Unapproved DE-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Plebejer | (n) สามัญชน, ประชาชนทั่วไป |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0523 seconds, cache age: 0.044 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม