151 ผลลัพธ์ สำหรับ *ทำงานได้*
ภาษา
หรือค้นหา: ทำงานได้, -ทำงานได้-พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กำลังม้า | น. หน่วยวัดกำลังหรืออัตราของการทำงาน โดยกำหนดว่า ๑ กำลังม้า คือ อัตราของการทำงานได้ ๕๕๐ ฟุตปอนด์ต่อวินาที ๑ กำลังม้า มีค่าเท่ากับ ๗๔๕.๗ วัตต์, แรงม้า ก็ว่า. |
โรค, โรค- | (โรก, โรคะ-) น. ภาวะที่ร่างกายทำงานได้ไม่เป็นปรกติเนื่องจากเชื้อโรคเป็นต้น. |
ลิ้นตก | น. ภาวะที่ลิ้นไม่สามารถทำงานได้เป็นปรกติเนื่องจากการหมดสติเป็นต้น. |
อุ่นเครื่อง | ก. เดินเครื่องยนต์ไว้จนถึงระดับที่เครื่องจะทำงานได้ดี |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
automaticity | การทำงานได้เอง [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Enhanced machine control | โปรแกรมสำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกลให้สามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติตามรหัสคำสั่ง [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Allovital | ใส่หรือปะอวัยวะเพื่อให้ทำงานได้ดีตลอดไป [การแพทย์] |
Automaticity | ทำงานได้โดยอัตโนมัติ [การแพทย์] |
Autonomicity | เริ่มต้นทำงานได้เอง [การแพทย์] |
Devices, Automatic | ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ [การแพทย์] |
Fingers, Clumsiness of | ใช้นิ้วมือทำงานได้ช้าหรือไม่ได้ [การแพทย์] |
power | กำลัง, งานที่ทำได้ในหนึ่งหน่วยเวลา มีหน่วยเป็นวัตต์ เช่น มอเตรอ์มีกำลัง 1 H.P. หรือ 746 วัตต์ สามารถทำงานได้ 746 จูลต่อวินาที(วัตต์) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
steam engine | เครื่องจักรไอน้ำ, เครื่องจักรที่ทำงานได้โดยใช้แรงดันของไอน้ำดันลูกสูบให้เคลื่อนที่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
engine | เครื่องยนต์, เครื่องกลใด ๆ ที่ต้องใช้พลังงานจากภายนอกมาทำให้เครื่องกลนั้นทำงานได้ ซึ่งหมายถึงเครื่องกลที่ใช้พลังงานจากไอน้ำ น้ำมัน และแก๊ส เช่น เครื่องจักรไอน้ำ เครื่องยนต์ดีเซล เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
gasoline engine | เครื่องยนต์แก๊สโซลีน, เครื่องยนต์สันดาปภายในชนิดหนึ่งซึ่งทำงานได้โดยใช้ประกายไฟฟ้าจากหัวเทียนจุดระเบิดเชื้อเพลิงในกระบอกสูบ ซึ่งจะดันลูกสูบให้เคลื่อนที่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
diesel engine | เครื่องยนต์ดีเซล, เครื่องยนต์สันดาปภายในชนิดหนึ่ง ซึ่งทำงานได้โดยการอัดอากาศในกระบอกสูบให้เกิดความร้อนสูง เมื่อฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง (น้ำมันดีเซล) เข้าไปถูกอากาศร้อน ในกระบอกสูบ จะเกิดสันดาปได้พลังงานไปดันลูกสูบให้เคลื่อนที่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
reliability | ความเชื่อถือได้, ความสามารถของอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้หรือระบบใดระบบหนึ่งที่จะทำงานได้ผลดีแน่นอนตามหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
compiler | โปรแกรมแปลภาษา, โปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ให้เป็นรหัสที่อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ ตัวอย่างของโปรแกรมแปลภาษา เช่น ตัวแปลภาษาจาวา ตัวแปลภาษาซี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Unix | ยูนิกซ์, ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบ 32 บิต พัฒนาขึ้นโดย AT&T สามารถทำงานได้หลายงาน โดยผู้ใช้หลายๆคน ใช้ได้กับโปรแกรมระบบงานมากมาย และรองรับภาษาโปรแกรมได้หลายภาษา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Wireless Fidelity (Wi-Fi) | ไวไฟ, เทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย ตามมาตรฐาน IEEE 802.11 ซึ่งใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร ไวไฟเกิดจากการรวมกลุ่มกันของผู้ผลิตอุปกรณ์ เพื่อทดสอบว่าอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นทำงานได้ตามมาตรฐานของ IEEE 802.11 โดยเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ท [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
static RAM (SRAM) | สแตติกแรม, หน่วยความจำประเภท RAM ที่พัฒนามาจากทรานซิสเตอร์ มีคุณสมบัติสามารถเก็บรักษาข้อมูลไว้ในหน่วยความจำตราบเท่าที่ยังมีไฟเลี้ยงอยู่ และทำงานได้โดยที่ไม่ต้องมีการเขียนข้อมูลลงไปซ้ำหลายครั้งเพื่อรักษาข้อมูลภายในอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
constraint | ปัจจัยที่ขัดขวางต่อเทคโนโลยี, สิ่งที่ทำให้การทำงานของระบบเทคโนโลยีเกิดการติดขัด หรือสิ่งที่จำกัดขอบเขตการทำงาน ทำให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ เช่น ข้อจำกัดด้านเงินทุน เวลา ความรู้ กฎข้อบังคับ สภาพอากาศ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
mechanism | กลไก, ส่วนของอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งผ่านการเคลื่อนที่ ทำให้มีการเปลี่ยนตำแหน่ง ทิศทาง ความเร็ว และลักษณะการเคลื่อนที่ และอาจช่วยผ่อนแรงทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Intact | ทำงานได้ปกติ [การแพทย์] |
Muscle Reeducation | การฝึกกล้ามเนื้อให้ทำงานได้ใหม่ [การแพทย์] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Longdo Approved EN-TH
artificial intelligence (AI) | (n) ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ), สาขาหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเน้นเรื่องที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ใกล้เคียงมนุษย์มากขึ้น แบ่งย่อยออกเป็นสาขาต่าง ๆ เช่น การแปลภาษาด้วยเครื่อง ระบบผู้เชี่ยวชาญ วิทยาการหุ่นยนต์ การรู้จำแบบ การรับรู้เยี่ยงมนุษย์ (human perception) ฯลฯ [ ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับราชบัณฑิตยสภา ] |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
be in order | (phrv) ใช้งานได้, See also: ทำงานได้, Syn. be out of |
elbow-room | (n) เนื้อที่กว้างขวางทำให้เคลื่อนที่ได้สะดวก, See also: เนื้อที่กว้างขวางทำให้ทำงานได้สะดวก, Syn. ample, room |
get back | (phrv) เริ่มทำงานได้, Syn. get back to |
give of one's best | (phrv) ทำงานได้เหมือนคนอื่น, See also: ทำได้แบบคนอื่น |
go by | (phrv) ทำงานได้ด้วย, See also: แล่นได้ด้วย, Syn. run on, work by |
kilter | (n) สภาพที่ทำงานได้ดี (ภาษาพูด), Syn. fettle, order, state |
malfunction | (n) การไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ (เพราะการออกแบบที่ไม่ดี), See also: การทำงานผิดปกติ, Syn. fault, breakdown, defect |
multi-skilling | (n) การมีทักษะหลากหลาย, See also: การทำงานได้หลากหลาย |
multitasking | (n) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานได้หลากหลายในเวลาเดียวกัน, Syn. multi-tasking |
self-starter | (n) ผู้ทำงานได้โดยไม่ต้องให้คนอื่นชี้แนะ, See also: ผู้มีความคิดริเริ่ม, ผู้เริ่มสร้างสรรค์, Syn. starter |
weak | (adj) ซึ่งทำงานได้ไม่เต็มที่ |
work | (vi) ใช้การได้, See also: ทำงานได้, Syn. function, operate |
work | (vt) ทำให้ใช้การได้, See also: ทำให้ทำงานได้ |
workability | (n) การทำงานได้ |
workability | (n) ความสามารถทำงานได้, Syn. ability, capacity |
workable | (adj) ซึ่งสามารถทำงานได้, See also: ซึ่งสามารถจัดการได้ |
workably | (adv) อย่างทำงานได้, See also: อย่างปฏิบัติงานได้ |
Hope Dictionary
accelerator board | แผ่นวงจรเร่งความเร็วหมายถึงแผ่นวงจรพิเศษ ที่เมื่อนำมาเสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว จะมีผลทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น แผ่นวงจรประเภทนี้จะมีตัวประมวลผล (processor) ที่ทำงานเร็วกว่าตัวประมวลผลเดิม |
advanced technology | เทคโนโลยีก้าวหน้าใช้ตัวย่อว่า AT หมายถึงคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็มรุ่นหนึ่งที่ใช้บัสชนิด 16 บิต แทนแผ่นวงจร 8 บิตที่ใช้ก่อนหน้านั้น ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น ปัจจุบันไม่ใช้แล้ว |
aeropause | (แอ' โรพอส) n. บริเวณบรรยากาศของโลกที่เบาบางเกินไปที่เครื่องบินจะทำงานได้ |
ai | (เอไอ) abbr. 1. ย่อมาจากคำว่า aortic insufficiency 2. ย่อมาจากคำว่า artificial intelligence แปลว่า ปัญญาประดิษฐ์ หมายถึงแขนงการศึกษาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์แขนงหนึ่งที่พยายามจะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้ ทำงานได้เหมือนสมองมนุษย์ |
all-purpose computer | คอมพิวเตอร์เอนกประสงค์หมายถึง คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบขึ้นใช้เพื่อให้ทำงานสนองความต้องการได้หลายวัตถุประสงค์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่อาจใช้วิธีการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้ทำงานได้ด้วยภาษาต่าง ๆ หลายภาษา (คอมพิวเตอร์ที่พูดถึงโดยทั่วไปในปัจจุบันนี้ ส่วนมากจะเป็นคอมพิวเตอร์เอนกประสงค์ทั้งสิ้นดู special purpose computer เปรียบเทียบ |
artificial intelligence | ปัญญาประดิษฐ์ใช้ตัวย่อว่า AI หมายถึง แขนงการศึกษาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์แขนงหนึ่งที่พยายามจะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้ ทำงานได้เหมือนสมองมนุษย์ |
big iron | ท่อนเหล็ก <คำแปล>เป็นคำสะแลงที่ใช้เรียกคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe) รุ่นเก่า ที่มีราคาเป็นเรือนล้าน ขนาดใหญ่คับห้อง แต่ทำงานได้เท่ากับไมโครคอมพิวเตอร์ ที่ราคาเพียงไม่กี่หมื่นบาท |
breathing space | n. โอกาสพัก, โอกาสคิด, ที่ ๆ พอจะเดินทางหรือ ทำงานได้เพียงพอ |
breathing spell | n. โอกาสพัก, โอกาสคิด, ที่ ๆ พอจะเดินทางหรือ ทำงานได้เพียงพอ |
child process | โปรแกรมลูกหมายถึง การที่กำหนดให้โปรแกรมที่กำลังใช้อยู่สามารถ เรียกโปรแกรมอื่นมาทำงานได้ เช่น ในขณะที่กำลังใช้โปรแกรมประมวลผลคำพิมพ์เอกสารอยู่ เราสามารถสั่งให้โปรแกรมประมวลผลคำนั้นไปเรียกโปรแกรมตรวจเช็คตัวสะกดมาทำงานได้ โปรแกรม ประมวลผลคำนั้นจะเรียกว่าโปรแกรมแม่ (parent program) และโปรแกรมตรวจเช็คตัวสะกดเรียกว่าโปรแกรมลูก |
class a/class b | ชั้นเอ/ชั้นบีเป็นการกำหนดคุณภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคณะกรรมการคมนาคมของรัฐบาลกลางสหรัฐ (Federal Communications Commission) ที่ใช้กำหนดระดับของพลังงานไฟฟ้าแรงสูงที่จะใช้ในคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็น Class A แปลว่า อนุญาตให้ใช้ในที่ทำงานได้ ถ้าเป็น Class B หมายความว่า ใช้ในที่ทำงานก็ได้ ที่บ้านก็ได้ (ถ้าหากนำคอมพิวเตอร์ Class A มาใช้ที่บ้านอาจไปรบกวนการรับวิทยุหรือภาพทางโทรทัศน์ของบ้านอื่น) |
computer program | โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์หมายถึง คำสั่งคอมพิวเตอร์ชุดหนึ่ง ๆ ที่เขียนขึ้นเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น ภาษาซี (C) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาเบสิก (BASIC) หรือ ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ฯ คำ "โปรแกรม" นี้ อาจจะเรียกเป็นชื่ออื่นก็ได้ เช่น ซอฟต์แวร์ (software) หรือ แอพพลิเคชัน (application) โปรแกรมนั้น แบ่งได้เป็นหลายประเภท ประเภทแรกคือประเภทที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเองเพื่อให้ตรงกับความต้องการ กับอีกประเภทหนึ่งมีคนทำสำเร็จรูปไว้ขาย เช่น โปรแกรมสำหรับวาดภาพ (graphics) โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) โปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) นอกจากนั้น ยังมีโปรแกรมระบบ (systems software) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีบางส่วนติดตั้งมาจากโรงงานที่ผลิตเลย และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ (operating system) ที่จะทำหน้าที่เหมือนแม่บ้านคอยดูแลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานให้ประสานกัน สรุปว่า คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทุกอย่าง แต่คนเขียนคำสั่งต้องเข้าใจขั้นตอน วิธี (algorithm) และภาษาที่จะใช้เป็นอย่างดี จึงจะสามารถเขียนสั่งเครื่องให้ทำงานได้ |
control statement | ข้อความสั่งควบคุมในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้น โดยปกติ เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งไปทีละคำสั่ง โดยเรียงไปตามลำดับก่อนหลัง แต่เราอาจใช้ข้อความสั่งให้ควบคุมการทำงานได้เช่น กระโดดข้าม, วนกลับไปทำบางคำสั่งใหม่หรือวนหลาย ๆ รอบหรือหยุดทำถ้า ... ข้อความสั่งเหล่านี้มีอยู่หลายคำสั่ง ขึ้นอยู่กับภาษาเป็นต้นว่า GOTO, DO, IF ในภาษาฟอร์แทรน หรือ FOR.....NEXT ในภาษาเบสิก |
coprocessor | ตัวประมวล (ผล) ร่วมหมายถึง ตัวประมวลผลตัวหนึ่ง ที่แยกออกมาเพื่อเอาไว้ใช้ทำงานในส่วนที่เกินความสามารถของตัวประมวลผลหลัก เพื่อที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น เช่น ตัวประมวลภาพจะทำหน้าที่เฉพาะในเรื่องการแสดงภาพ ตัวประมวลผลคณิตก็จะทำหน้าที่เฉพาะด้านการคำนวณ |
desktop computer | คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะหมายถึง ไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดพอที่จะวางอยู่บนโต๊ะทำงานได้สบาย ๆ ในปัจจุบัน เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงทุกที โดยปกติ เราจะถือว่า คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะนั้นมีขนาดใหญ่กว่าขนาดกระเป๋าหิ้ว (portable) ซึ่งก็ยังใหญ่กว่าขนาดวางตัก (laptop) และขนาดโน้ตบุ๊ก (notebook) |
expansion bus | บัสส่วนขยายหมายถึง บัส (bus) เพิ่มพิเศษที่เครื่องคอมพิวเตอร์เตรียมไว้ให้เสียบแผ่นวงจรเพิ่มเข้าไป เพื่อที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คอมพิวเตอร์สมัยก่อนไม่มีส่วนนี้ ทำให้เพิ่มขีดความสามารถไม่ได้เลย คอมพิวเตอร์ปัจจุบันจะคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นสำคัญ และจะมีเตรียมไว้ให้ทุกเครื่องทุกยี่ห้อ |
gallium arsenide | (แกลเลียมอาร์เซไนด์) เป็นโลหะผสมชนิดหนึ่งที่ใช้ทำชิป (chip) ทำให้สามารถทำงานได้เร็วกว่าชิปที่ทำจากซิลิคอน (silicon) |
head crash | หัวพังหมายถึง การที่หัวอ่านและบันทึกข้อมูลไม่อาจทำงานได้อย่างปกติ มักจะเกิดขึ้น เมื่อมีฝุ่นละอองจับเกาะ หรือจานบันทึกเป็นรอย ซึ่งอาจจะทำให้หัวอ่านพังไปด้วย |
initialize | เริ่มต้นหมายถึง การเตรียมการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ พร้อมที่จะทำงานได้ การเริ่มต้นในอุปกรณ์ส่วนใดก็จะลบล้างข้อมูลเก่าที่บรรจุไว้ที่ส่วนนั้นหมดไป สำหรับเครื่องแมคอินทอช คำ "intialize" จานบันทึก มีความหมายเหมือนคำ format ในระบบดอส กล่าวคือ แปลว่า จัดเตรียมรูปแบบการบันทึก หมายถึง กำหนดแทร็ก (track) และเซ็กเตอร์ (sector) ให้มีความหมายเหมือนคำ format |
integratd program | ชุดคำสั่งเบ็ดเสร็จหมายถึง โปรแกรมที่ผู้ผลิต ผลิตออกมาเป็นชุดเดียวกัน สามารถทำงานได้หลาย โดยเฉพาะงานสำนักงานทั่วไป ที่ใช้กันมาก ได้แก่ โปรแกรมการประมวลผลคำ ตารางจัดการ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร เป็นต้น โดยปกติโปรแกรมประเภทนี้จะทำงานแต่ละอย่างได้ไม่ดีนัก แต่ถ้าต้องเสียเงินซื้อก็จะถูกกว่าไปจ้างเขาเขียน |
integrated software | ซอฟต์แวร์เบ็ดเสร็จส่วนชุดคำสั่งเบ็ดเสร็จหมายถึง โปรแกรมที่ผู้ผลิต ผลิตออกมาเป็นชุดเดียวกัน สามารถทำงานได้หลาย โดยเฉพาะงานสำนักงานทั่วไป ที่ใช้กันมาก ได้แก่ โปรแกรมการประมวลผลคำ ตารางจัดการ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร เป็นต้น โดยปกติโปรแกรมประเภทนี้จะทำงานแต่ละอย่างได้ไม่ดีนัก แต่ถ้าต้องเสียเงินซื้อก็จะถูกกว่าไปจ้างเขาเขียน |
kilo instructions per sec | พันคำสั่งต่อวินาทีใช้ตัวย่อว่า KIPS เป็นหน่วยวัดความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยวัดเป็นจำนวนคำสั่ง (หน่วยเป็นพัน) ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการ (execute) ได้ใน 1 วินาที เช่น คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ทำงานได้ 50 กิปส์ หมายความว่า ทำงานได้เร็วห้าหมื่นคำสั่งในหนึ่งวินาที ปัจจุบัน นิยมใช้หน่วยวัดเป็นมิปส์หรือ MIPS (ล้านคำสั่งต่อวินาที) เพราะคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้นมาก |
kips | (กิปส์) ย่อมาจาก kilo instructions per second พันคำสั่งวินาที เป็นหน่วยวัดความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยวัดเป็นจำนวนคำสั่ง (หน่วยเป็นพัน) ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการ (execute) ได้ใน 1 วินาที เช่นคอมพิวเตอร์นี้ทำงานได้ 50 กิปส์ หมายความว่า ทำงานได้เร็วห้าหมื่นคำสั่งในหนึ่งวินาที ปัจจุบัน นิยมใช้หน่วยวัดเป็นมิปส์หรือ MIPS (ล้านคำสั่งต่อวินาที) เพราะคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้นมากดู MIPS เปรียบเทียบ |
local bus | บัสเฉพาะที่เป็นช่องว่างที่จะใช้เสียบแผ่นวงจร แผ่นวงจรที่เสียบนี้จะต่อตรงไปยังตัวประมวลผลโดยตรง ทำให้ทำงานได้รวดเร็วกว่าแผ่นวงจรอื่น ๆ เช่น แผ่นวงจรวีดิทัศน์ที่ใช้เชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ (hard disk) |
low resolution | ความละเอียดต่ำความคมชัดต่ำใช้กับเครื่องพิมพ์หรือจอภาพที่ออกแบบให้เสนอผลค่อนข้างหยาบ แต่ก็รวดเร็ว ตัวพิมพ์ก็ดี ภาพที่เห็นบนจอก็ดี หากใช้กับหน่วยแสดงผลที่มีความละเอียดต่ำ หรือมีจำนวนจุดต่อนิ้วน้อย เช่น 74 จุดต่อนิ้ว จะทำให้ดูไม่สวยงาม ไม่เรียบร้อย ส่วนที่โค้งหรือมนจะดูขยุกขยิก หยัก ๆ ไม่มีคุณภาพ แต่ก็มีส่วนดีอยู่บ้างตรงที่ราคาถูก และทำงานได้รวดเร็วกว่าประเภทความละเอียดสูง ๆ ดู high resolution เปรียบเทียบ |
low-level format | จัดรูปแบบอย่างต่ำหมายถึง การจัดรูปแบบการบันทึกข้อมูล (format) ของจานบันทึกว่าจะต้องจัดรูปแบบ การบันทึกแบบนี้เมื่อเราใช้จานแข็งเป็นครั้งแรก หลังจากนั้น ก็ต้องใช้คำสั่งFORMAT ในระบบดอสเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับจานอ่อน (floppy disk) นั้น เราไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามกระบวนการนี้ |
memory unit | หน่วยความจำหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว เครื่องอ่านก็จะนำข้อมูลที่อ่านได้ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ แล้วจะเรียกมาใช้ในเวลาที่ต้องการ ข้อความหรือข้อมูลที่นำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำแล้วไม่ว่าจะนำมาใช้สักกี่ครั้งกี่หน ก็จะยังคงเป็นอยู่อย่างเดิม แต่ถ้าข้อมูลอื่นถูกอ่านทับเข้าไป ข้อมูลเก่าจะถูกลบไปทันที หรือถ้าไฟดับ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในหน่วยความจำก็จะหายไปหมดเช่นกัน คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดี หรือมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับหน่วยความจำนี้มากกว่าอย่างอื่น สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ เราเรียกหน่วยความจำนี้ว่า ชิป (chip) ซึ่งใช้เป็นที่เก็บข้อมูล แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ ประเภทอ่านได้อย่างเดียว เรียกว่า "รอม" (ROM หรือที่ย่อมาจาก read-only memory) ซึ่งเก็บคำสั่งประเภทที่เครื่องต้องปฏิบัติตามทันที เช่น ไบออส (BIOS) ข้อมูลในนั้นจะไม่มีวันลบหายแม้ว่าจะปิดเครื่อง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า "แรม" (RAM หรือที่ย่อมาจาก random access memory) หน่วยความจำแรมนี้ใช้เก็บโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่กำลังจะใช้งาน เมื่อปิดไฟที่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะหายไปหมด และหากเริ่มต้นเปิดเครื่องใหม่ ต้องการจะใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลใด ก็จะต้องบรรจุ (load) โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลนั้นมาเก็บไว้ในแรมก่อน จึงจะทำงานต่อไปได้ สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว ยิ่งแรมมีขนาดใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีประสิทธิภาพเท่านั้นอย่างไรก็ตาม หน่วยความจำที่กล่าวถึงนั้นเป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เรายังมีหน่วยเก็บข้อมูลที่อยู่นอกเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย หน่วยความจำนอกเครื่องนี้ เราเรียกว่า หน่วยความจำช่วย (auxiliary memory) ซึ่งหมายถึงสื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง เป็นต้นว่า จานบันทึก แถบบันทึก หน่วยความจำเหล่านี้ ไฟดับข้อมูลก็ยังอยู่ |
million instructions per | ล้านคำสั่งต่อวินาทีใช้ตัวย่อว่า MIPS เป็นหน่วยวัดความเร็วของการทำงานตามโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งของตัวประมวลผลหรือของคอมพิวเตอร์แต่ละยี่ห้อว่า สามารถประมวลผลได้กี่ล้านคำสั่งต่อวินาที ยิ่งมาก แสดงว่ายิ่งทำงานได้เร็ว |
mips | (มิปส์) ย่อมาจาก million instructions per second แปลว่า ล้านคำสั่งต่อวินาที เป็นหน่วยวัดความเร็วของการทำงานตามโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งของตัวประมวลผล หรือของคอมพิวเตอร์แต่ละยี่ห้อว่า สามารถประมวลผลได้กี่ล้านคำสั่งต่อวินาที ยิ่งมากแสดงว่ายิ่งทำงานได้เร็ว |
nop | (เอ็นโอพี) ย่อมาจากคำ not operating properly หมายถึง โปรแกรมหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างที่คิด บางคนก็ว่า ย่อมาจาก not on purpose ซึ่งแปลว่า "ไม่ตั้งใจ" |
not operating properly | ยังใช้ไม่ได้มักใช้ตัวย่อว่า NOP หมายถึง โปรแกรมหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างที่คิด |
outwork | (เอาทฺเวิร์ค') vt. ทำงานได้ดีกว่า, ทำงานได้เร็วกว่า, ทำให้เสร็จ, ทำงานสำเร็จ. n. (เอาทฺ'เวิร์ค) สิ่งก่อสร้างป้องกันข้าศึกรอบนอกที่ง่าย ๆ, See also: outworker n. |
page description language | ใช้ตัวย่อว่า PDL (พีดีแอล) เป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง เช่นเดียวกับโพสต์คริปต์ (postcript) ซึ่งจะทำการประมวลผลในหน่วยประมวลผลของเครื่องพิมพ์เอง ในพีดีแอลนั้น จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องของการกำหนดหน้า การคำนวณภาพกราฟิก แม้จะมีความยาวมาก แต่ก็จะทำงานได้เร็วกว่า คำสั่งที่ส่งไปจากเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซีแอล พีดีแอลนั้นจะใช้ได้กับเครื่องพิมพ์ทุกยี่ห้อที่สามารถเข้าใจภาษานี้ ปัจจุบันแมคอินทอชใช้พีดีแอล ที่ชื่อ "postcript" ส่วนพีซีใช้พีดีแอลที่ชื่อ "true type" (เทียบเคียงได้กับ postcript) |
pdl | (พีดีแอล) 1. ย่อมาจาก page description language เป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง เช่นเดียวกับโพสต์คริปต์ (postcript) ซึ่งจะทำการประมวลผลในหน่วยประมวลผลของเครื่องพิมพ์เอง ในพีดีแอลนั้น จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องของการกำหนดหน้า การคำนวณภาพกราฟิก แม้จะมีความยาวมาก แต่ก็จะทำงานได้เร็วกว่า คำสั่งที่ส่งไปจากเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีดีแอลนั้น จะใช้ได้กับเครื่องพิมพ์ทุกยี่ห้อที่สามารถเข้าใจภาษานี้ ปัจจุบันแมคอินทอชใช้พีดีแอล ที่ชื่อ "postcript" ส่วนพีซีใช้พีดีแอลที่ชื่อ "true type" (เทียบเคียงได้กับ postcript) 2. ย่อมาจาก personal digital assistant (เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิตอล) หมายถึงคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่นำติดตัวไปไหนมาไหนได้ ผู้ใช้สามารถจดบันทึกข้อมูลลงไปด้วยปากกาพิเศษ เช่น แบบสินค้า แผนที่เส้นทางไปจุดนัดพบ รวมทั้งข้อมูล ต่าง ๆ รวมทั้งนัดหมายประจำวัน ฯ |
pentium | (เพนเทียม) หมายถึง ชิป (chip) แบบใหม่ล่าสุดที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี ผลิตโดยบริษัท Intel ชิปรุ่นนี้ทำงานได้เร็วกว่า และมีสมรรถนะสูงกว่ารุ่น 80486 มากมาย เดิมทีเดียว เขาจะใช้ชื่อ Intel 586 แต่เกี่ยวเนื่องด้วยเรื่องลิขสิทธิ์ ทำให้มิอาจใช้ชื่อนั้นได้จึงต้องตั้งชื่อใหม่ว่า pentium |
peripheral device | รอบข้างอุปกรณ์รอบข้างหมายถึง อุปกรณ์ใด ๆ ที่ใช้ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้คุ้มประโยชน์ เช่น จอภาพ, เมาส์, แผงแป้นอักขระ, เครื่องพิมพ์, เครื่องกราดภาพ, หน่วยบันทึกทั้งนอกและในตัวเครื่อง รวมตลอดไปถึงไมโครโฟนมีความหมายเหมือน peripheral equipment |
peripheral equipment | บริภัณฑ์รอบข้างหมายถึง อุปกรณ์ใด ๆ ที่ใช้ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้คุ้มประโยชน์ เช่น จอภาพ, เมาส์, แผงแป้นอักขระ, เครื่องพิมพ์, เครื่องกราดภาพ, หน่วยบันทึกทั้งนอกและในตัวเครื่อง รวมตลอดไปถึงไมโครโฟนมีความหมายเหมือน peripheral device |
post | (โพสทฺ) n. เสา, หลัก, ตำแหน่ง, หน้าที่, ที่มั่น, การไปรษณีย์, ไปรษณียภัณฑ์, เที่ยวเมล์, ที่ทำการไปรษณีย์, vt. ปิดประกาศ, ประกาศ, ประจาน, จัดกำลัง, แต่งตั้งให้ประจำตำแหน่ง vt. ใส่จดหมายลงในตู้ไปรษณีย์, ส่งจดหมาย, ย้าย, แจ้ง. vi. ขี่ม้าเร็ว, เดินทางอย่างรวดเร็ว. adv. รีบเร่ง, โดยทางไปรษณีย์, โพสต์ <คำอ่าน>ย่อมาจาก power-on self-test เป็นแบตเตอรี่ตัวหนึ่งในพีซี ที่จะทำหน้าที่ทันทีที่เมื่อมีการเปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำการตรวจสอบขั้นต้นให้ว่า อุปกรณ์ ทุกชิ้นทำงานได้ตามปกติหรือไม่ หากมีส่วนใดไม่ปกติ ก็จะแสดงข้อความระบุความ ผิดพลาด (error message) ให้บนจอภาพ และจะรอจนกว่าจะมีการสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีการแก้ไข เสร็จแล้วจึงจะทำงานต่อ |
privileged instruction | คำสั่งเอกสิทธิ์หมายถึง คำสั่งภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งจำกัดโปรแกรมต่าง ๆ ไม่ให้ทำงานผิดแนวทาง โดยปกติ คำสั่งเอกสิทธิ์จะประกอบด้วย คำสั่งข้อจำกัดการใช้ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยรับข้อมูลเข้า หน่วยแสดงผล การป้องกันหน่วยความจำ การหยุดชะงักการทำงานของเครื่อง และปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุม และการกำหนดเวลา คำสั่งนี้ผู้ใช้เครื่องธรรมดาไม่มีสิทธิใช้ และจะทำงานได้เฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะการใช้ระบบปฏิบัติการ (operating system mode) |
program window | หมายถึง วินโดว์ที่มองเห็นบนจอภาพหลังจากที่กดเมาส์สั่งเริ่มโปรแกรม ถ้าหากต้องการจะใช้โปรแกรมนั้น ต้องใช้คำสั่ง FILE...new หรือ open จะทำให้เห็นวินโดว์ใหม่เรียกว่า วินโดว์เอกสาร (document window) แล้วจึงจะเริ่มทำงานได้มีความหมายเหมือน application windowดู document window เปรียบเทียบ |
ram | (แรม) n. แกะตัวผู้, กลุ่มดาวแกะ, เครื่องกระทุ้ง, เครื่องกะแทก, เครื่องตอกเสาเข้ม, การยัดเยียดเรื่องราวลงในสมอง., แรมย่อมาจาก random access memory แปลว่า หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม เป็นหน่วยความจำประเภทหนึ่งที่เราสามารถเข้าถึงได้โดยวิธีการสุ่ม การเข้าถึงโดยสุ่ม หมายถึง การเข้าถึงหน่วยความจำทุกจุดได้ โดยใช้เวลาในการเข้าถึงเท่ากันหมด ไม่ต้องตั้งต้นใหม่ทุกครั้งแล้วรอไปตามลำดับ (อย่างแถบบันทึกหรือเทป) "แรม" จะหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์วัดขนาดกันเป็นกิโลไบต์ หรือเมกะไบต์ ทำงานได้รวดเร็วมาก แต่เมื่อปิดไฟ ข้อมูลในนี้ก็จะหายไปหมด ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ขายทั่วไปมักจะต้องมีข้อความบอกว่า มีแรมขนาดใด ยิ่งมีแรมมาก ก็จะยิ่งทำงานได้เร็ว ดู ROM เปรียบเทียบ vt. กระทุ้ง, ตอก, กระแทก, ยัด, ยัดเยียด, ดันอย่างแรง., See also: rammer n., Syn. strike, batter, cram |
ram disk | จานแรมหมายถึง ส่วนของหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบเข้าถึงโดยสุ่มเหมือนแรม แต่ใช้เก็บแฟ้มข้อมูลเพื่อให้เรียกมาใช้ได้เหมือนจานบันทึก จานแรมนี้จะทำงานได้เร็วกว่าจานบันทึกธรรมดามาก อย่างไรก็ตาม ข้อเสียก็คือถ้าปิดไฟที่เครื่อง ข้อมูลเหล่านี้จะหายหมด โดยปกติ จะมีการแบ่งจานแรมนี้ ออกมาจากแรมส่วนหนึ่ง เพื่อใช้เก็บแฟ้มที่ต้องการเรียกใช้โปรแกรม สำเร็จสมัยปัจจุบันมักจะมีขนาดใหญ่ และต้องการใช้เนื้อที่ในแรมมาก ทำให้คอมพิวเตอร์ที่มีแรมต่ำเกือบจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป หรือไม่ก็ทำงานช้ามาก อาจจะแก้ไขได้ด้วยวิธีการเพิ่มแรมมีความหมายเหมือน virtual disk ดู RAM ประกอบ |
random access memory | หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มใช้ตัวย่อว่า RAM (อ่านว่า แรม) เป็นหน่วยความจำประเภทหนึ่งที่เราสามารถเข้าถึงได้โดยวิธีการสุ่ม การเข้าถึงโดยสุ่มหมายถึง การเข้าถึงหน่วยความจำทุกจุดได้ โดยใช้เวลาในการเข้าถึงเท่ากันหมด ไม่ต้องตั้งต้นใหม่ทุกครั้งแล้วรอไปตามลำดับ (อย่างแถบบันทึกหรือเทป) "แรม" จะหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ วัดขนาดกันเป็นกิโลไบต์ หรือเมกะไบต์ ทำงานได้รวดเร็วมาก แต่เมื่อปิดไฟ ข้อมูลในนี้ก็จะหายไปหมด ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ขายทั่วไปมักจะต้องมีข้อความบอกว่า มีแรมขนาดใด ยิ่งมีแรมมาก ก็จะยิ่งทำงานได้เร็ว ในปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์ที่วางขายทั่วไปจะมีแรมประมาณ 1 - 8 เมกะไบต์ ปัจจุบันโปรแกรมสำเร็จใหญ่ ๆ หลายโปรแกรม เจาะจงว่าจะต้องใช้กับคอมพิวเตอร์ที่มีแรมอย่างน้อย 8 เมกะไบต์ดู read only memory เปรียบเทียบ |
random access storage | หน่วยเก็บเข้าถึงโดยสุ่มเป็นหน่วยความจำประเภทหนึ่งที่เราสามารถเข้าถึงได้โดยวิธีการสุ่ม การเข้าถึงโดยสุ่มหมายถึง การเข้าถึงหน่วยความจำทุกจุดได้ โดยใช้เวลาในการเข้าถึงเท่ากันหมด ไม่ต้องตั้งต้นใหม่ทุกครั้งแล้วรอไปตามลำดับ (อย่างแถบบันทึกหรือเทป) หน่วยเก็บในที่นี้หมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ วัดขนาดกันเป็นกิโลไบต์ หรือเมกะไบต์ ทำงานได้รวดเร็วมาก แต่เมื่อปิดไฟ ข้อมูลในนี้ก็จะหายไปหมด นอกจากนั้นยังหมายถึงจานบันทึก ซึ่งใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลเท่ากันหมดเช่นกัน |
supercomputer | (ซุเปอร์คอมพิวเตอร์) n. คอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ ใหญ่กว่าขนาดใหญ่ธรรมดาที่เรียกว่าเมนเฟรม (main frame) มีสมรรถนะสูง ทำงานได้เร็วว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ธรรมดาหลายเท่าตัว ใช้ในงานประมวลผลที่มีข้อมูลมาก และต้องการผลทันที เพื่อจะได้สั่งการต่อไป เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการส่งดาวเทียม หรือการส่งยานอวกาศ เป็นต้น บริษัทที่ผลิตซุเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีชื่อได้แก่ บริษัทเครย์ (Cray) |
time sharing | การแบ่งกันใช้เวลาหมายถึง การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น ตัวประมวลผล เครื่องพิมพ์ และหน่วยขับจานบันทึกในเครื่องเมนเฟรม หรือเครือข่าย ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้ร่วมกันในเวลาเดียวกัน หรือมิฉะนั้นอาจใช้หมายถึงระบบการประมวลผลแบบหนึ่ง ที่ทำให้ เครื่องปลายทาง (terminal) ที่มีอยู่หลายเครื่อง สามารถแบ่งกันใช้เวลาของหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ได้ หมายถึงว่า ทำให้เครื่องสามารถทำงานได้หลาย ๆ อย่าง ในเวลาเดียวกัน หรือพูดง่าย ๆ ได้ว่า เป็นสมรรถวิสัยของเครื่องที่จะสามารถรับข้อมูลจากเครื่องปลายทางได้มากกว่า 1 เครื่องในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย ๆ ก็คือการถอนเงินจากตู้เงินด่วนหรือเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM) ซึ่งก็คือเครื่องปลายทางแบบหนึ่งนั่นเอง หลายคนจะสามารถถอนเงินจากสาขาต่างกันได้พร้อม ๆ กัน ในเวลาเดียวกัน (บางทีเขียนติดกัน เป็น timesharing ก็มี) |
uninterruptible power sup | uninterruptible power supply ใช้ตัวย่อว่า UPS (อ่านว่า ยูพีเอส) หมายถึง แบตเตอรี่สำรองที่จะทำงานได้ทันทีที่ไฟดับ โดยปกติ แบตเตอรี่ขนาดนี้นั้นมีไฟไว้ใช้พอที่จะสั่งให้เก็บงาน (save) ที่ทำอยู่เท่านั้น ไม่ได้มีพอให้ใช้ต่อไป เมื่อบันทึกลงเก็บเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องรีบปิดเครื่อง (อย่างน้อยก็ช่วยไม่ให้ข้อมูลที่ทำไว้หายไปหมด) |
ups | ยูพีเอส <คำอ่าน>ย่อมาจาก uninterruptible power supply หมายถึง แบตเตอรี่สำรองที่จะทำงานได้ทันทีที่ไฟดับ โดยปกติ แบตเตอรี่ขนาดนี้นั้นมีไฟไว้ใช้พอที่จะสั่งให้เก็บงาน (save) ที่ทำอยู่เท่านั้น ไม่ได้มีพอให้ใช้ต่อไป เมื่อบันทึกลงเก็บเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องรีบปิดเครื่อง (อย่างน้อยก็ช่วยไม่ให้ข้อมูลที่ทำไว้หายไปหมด) |
uptime | ช่วงเวลาให้บริการหมายถึง ระยะเวลาที่เครื่องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผลงานของเราแล้วเสร็จสมบูรณ์ มีความหมายตรงข้ามกับ downtime ซึ่งแปลว่าช่วงเวลาที่เครื่องเสียหรือไม่สามารถทำงานได้ ดู downtime เปรียบเทียบ |
viable | (ไว'อะเบิล) adj. (ทารก, เมล็ดพืชหรืออื่น ๆ) สามารถมีชีวิตและเจริญเติบโตได้, (ทารกในครรภ์) เจริญเติบโตพอที่จะมีชีวิตนอกมดลูกได้, ปฎิบัติได้, ทำงานได้, สามารถเจริญเติบโตหรือพัฒนาได้., See also: viability n. viably adv. |
Nontri Dictionary
JACK-OF-ALL-jack-of-all-trades | (n) คนทำงานได้หลายอย่าง, คนที่ทำงานคล่องแคล่ว |
viable | (adj) สามารถมีชีวิตอยู่ได้, ปฏิบัติได้, ทำงานได้ |
workable | (adj) สามารถทำงานได้, ใช้การได้, ซึ่งทำให้สำเร็จได้ |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
firewire | FireWire คือชื่อเรียกของ apple หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า i-link คือชื่อเรียกของ Sony หรือที่เรียกว่า มาตรฐาน IEEE 1394 เป็นเทคโนโลยีสำหรับการส่งผ่านข้อมูลดิจิตอล ด้วยความเร็ว 400 และ 800 เมกะบิตต่อวินาที ส่งผลให้การติดต่อระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ฮาร์ดดิส ปริ้นเตอร์ สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอลหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่มีช่อง FireWire ทำงานได้อย่างรวดเร็ว FireWire มีลักษณะการทำงานเหมือนหรือคล้ายกับ USB เพียงแต่ออกแบบมาให้เหมาะกับการใช้งานกับอุปกรณ์ทางด้านมัลติมีเดียมากกว่า เนื่องจาก USB เหมาะกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับอินพุต เช่น เมาส์ คีย์บอร์ด ฯลฯ (USB มีความเร็วน้อยกว่า FireWire) นอกจากนี้ FireWire ยังสามารถต่อพ่วงอุปกรณ์ไแบบ Daisy Chain ได้ถึง 67 ชิ้น และสนับสนุนการทำงานแบบ Hot plug คือสามารถต่อแล้วใช้งานได้เลยทันที นอกจาก นี้ ยังสามารถส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ไปกำหนดการทำงานของกล้องวิดีโอได้ด้วย ซึ่งทำให้เราสามารถทำงานในขั้นตอนเดียวกันได้ เช่น การอัดภาพจากกล้องลงมาคอมพิวเตอร์ ก็เพียงแค่สั่งจากคอมพิวเตอร์ กล้องก็จะเริ่มต้นทำงาน พร้อมกับดึงภาพมาให้เองโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องไปกังวลว่าจะต้องไปสั่งเล่นจากกล้องแล้วมาสั่งอัดที่คอมพิวเตอร์ |
sick leave | (n, vi, vt, modal, verb, aux, verb, adj, adv, prep, conj, pron, phrase, jargon, slang, colloq, vulgar, abbrev, name, o) ฉันป่วย ไม่สามารถไปทำงานได้ |
Longdo Approved DE-TH
erheblich | (adj) สำคัญ, มาก, ที่ต้องนึกถึง เช่น Es ist kein erhebliches Problem. มันไม่ใช่ปัญหาที่สำคัญนัก, In Thailand verdient man erheblich weniger als in Deutschland. ที่เมืองไทยผู้คนทำงานได้เงินเดือนน้อยกว่าที่เยอรมนีมาก, See also: viel, Syn. wesentlich |
funktionsfähig | (adj, adv) ที่สามารถทำงานได้, ซึ่งสามารถปฏิบัติการได้ เช่น Das schnurlose Telefon kann mehrere Stunden funktionsfähig benutzt werden. โทรศัพท์ไร้สายนี้สามารถใช้การได้หลายชั่วโมง |
Longdo Approved FR-TH
bien | (adv) ดี (คล้ายกับคำว่า well ในภาษาอังกฤษ) เช่น Il travaille bien. เขาทำงานได้ดี, Ant. mal |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 3.7881 seconds, cache age: 9.376 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม