*ตราชั่ง* แปลว่าอะไร ดูความหมาย ตัวอย่างประโยค หมายความว่า พจนานุกรม Longdo Dictionary แปลภาษา คำศัพท์
×
Dictionaries languages







English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


36 ผลลัพธ์ สำหรับ *ตราชั่ง*
ภาษา
หรือค้นหา: ตราชั่ง, -ตราชั่ง-

มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กรัม(กฺรำ) น. หน่วยมาตราชั่งนํ้าหนัก ตามมาตราเมตริก มีอัตรา = ๑๐๐ เซนติกรัม หรือ ๑ ใน ๑, ๐๐๐ แห่งกิโลกรัม, อักษรย่อว่า ก.
กล่อม ๑(กฺล่อม) น. ชื่อมาตราชั่งของไทยโบราณ ๔ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ กล่อม ๒ กล่อม เป็น ๑ กลํ่า.
กล่ำ ๑(กฺลํ่า) น. ชื่อมาตราชั่งของโทยโบราณ ๒ กล่อม เป็น ๑ กลํ่า ๒ กลํ่า เป็น ๑ ไพ.
กะรัต ๑(-หฺรัด) น. หน่วยมาตราชั่งเพชรพลอย ๑ กะรัต เท่ากับ ๒๐ เซนติกรัม หรือ ๓.๐๘๖๕ เกรน เช่น เพชรเม็ดนี้หนัก ๕ กะรัต.
กิโลกรัมน. ชื่อมาตราชั่งนํ้าหนัก เท่ากับ ๑, ๐๐๐ กรัม, อักษรย่อว่า กก., (ปาก) เรียกสั้น ๆ ว่า กิโล หรือ โล.
เกรน(เกฺรน) น. มาตราชั่งอย่างหนึ่งของอังกฤษ ๑ เกรน เท่ากับ ๖๔.๗๙๙ มิลลิกรัม.
คืบ ๑น. ช่วงระยะจากปลายนิ้วหัวแม่มือถึงปลายนิ้วก้อยเมื่อกางมือออกเต็มที่ เท่ากับ ๙ นิ้ว (มาตราชั่ง ตวง วัด), ช่วงระยะจากปลายนิ้วหัวแม่มือถึงปลายนิ้วกลางเมื่อกางมือออกเต็มที่ เท่ากับ ๙-๑๐ นิ้ว (ปรัดเล, แมคฟาแลนด์)
ชั่งหลวงน. ชื่อมาตราชั่งของหลวง มีนํ้าหนักเท่ากับ ๖๐๐ กรัม.
เซนติกรัม(-กฺรำ) น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐๐ ของ ๑ กรัม, อักษรย่อว่า ซก.
ดุล, ดุล-(ดุน, ดุนละ-) น. ตราชู, คันชั่ง, มาตราชั่งนํ้าหนักโบราณ เช่น ทองคำหนัก ๒๐ ชั่ง เรียกว่า ดุลหนึ่ง
เดคากรัม(-กฺรำ) น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑๐ กรัม, อักษรย่อว่า ดคก.
เดซิกรัม(-กฺรำ) น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของกรัม, อักษรย่อว่า ดก.
ต่อ ๕เทียบส่วนกันในอัตราชั่งตวงวัด เช่น ๓ ต่อ ๑.
ตัน ๒น. มาตรานํ้าหนักและมาตราวัด มีหลายอัตราแล้วแต่วัตถุที่ใช้ คือ ๑. เมตริกตัน มาตราชั่งเท่ากับนํ้าหนัก ๑, ๐๐๐ กิโลกรัม หรือ หาบหลวง หรือเป็นมาตราวัดเท่ากับ ๑.๑๓ ลูกบาศก์เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต. ๒.ตันระวางเรือ ถ้าคำนวณระวางบรรทุกสินค้าและห้องทั่วไป เรียก ตันกรอส, ถ้าคำนวณเฉพาะบรรทุกสินค้า เรียก ตันเน็ต, และถ้าคำนวณนํ้าหนักทั้งลำเรือเช่นเรือรบ เรียก ตันระวางขับน้ำ, ทั้ง ๓ นี้วัด ๑๐๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่งเช่นเดียวกัน. ๓. ตันระวางบรรทุกอื่น ๆ ถ้าของหนักคิด ๑, ๐๑๖.๐๔๗ กิโลกรัม เป็นตันหนึ่ง ถ้าเป็นของเบาคิดวัด ๑.๑๓ ลูกบาศก์เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่ง.
ตำลึง ๒ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สําหรับกําหนด นํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๔ บาท หรือ ๖๐ กรัม. (ข. ฎํฬึง, ตมฺลึง).
ตีนกา ๒, ตีนครุ(-คฺรุ) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ + สําหรับบอกจํานวนเงิน ปลายเส้นดิ่งข้างบนเป็นหลักชั่ง มุมบนด้านซ้ายเป็นหลักตําลึง มุมบนด้านขวาเป็นหลักบาท มุมล่างด้านขวาเป็นหลักสลึง มุมล่างด้านซ้ายเป็นหลักเฟื้อง ปลายเส้นดิ่งข้างล่างเป็นหลักไพ เช่น อ่านว่า ๕ ชั่ง ๔ ตําลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ๒ ไพ, เฉพาะ จํานวนตําลึง บาท สลึง เฟื้อง อาจเขียนย่อแต่เพียงมุมใดมุมหนึ่งที่ต้องการก็ได้ เช่น = ๔ ตําลึง = ๓ บาท = ๒ สลึง = ๑ เฟื้อง, ปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณยังใช้เครื่องหมายตีนกาหรือตีนครุเป็นมาตราชั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องยาเท่านั้น.
บาท ๒ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงิน ทอง หรือนากหนัก ๑๕ กรัม.
ปอนด์ชื่อหน่วยมาตราชั่งของอังกฤษ เท่ากับ ๔๕๔ กรัม หรือ ๑๖ ออนซ์
ภาระ ๒, ภารา ๑น. ชื่อมาตราชั่งนํ้าหนักมคธ ๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ.
มาตรา(มาดตฺรา) น. หลักกำหนดการวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก
มิลลิกรัมน. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑, ๐๐๐ ของ ๑ กรัม, อักษรย่อว่า มก.
เมตริกตันน. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑, ๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๖๐ หาบ, อักษรย่อว่า ต.
วิธีประเพณีน. มาตราชั่ง ตวง วัด หรือมาตราเงินที่ถือกันมาแต่โบราณ เช่น มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๐ ตำลึง เป็น ๑ ชั่ง.
สตางค์ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๐.๑๕ กรัม
สลึง(สะหฺลึง) ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สําหรับกําหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑ ใน ๔ บาท หรือ ๓.๗๕ กรัม.
หาบน. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๕๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ = ๖๐ กิโลกรัม, หาบหลวง ก็เรียก, ถ้าตามวิธีประเพณีแบบจีน ๑๐๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ.
หาบหลวงน. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๕๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ, หาบ ก็เรียก.
หุนน. ชื่อมาตราวัดหรือชั่งของจีน ในมาตราวัด ๑ หุน หมายถึงเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕ ใน ๑๖ ของนิ้ว ในมาตราชั่ง ๕ หุน เท่ากับ ๑ เฟื้อง.
เฮกโตกรัมน. หน่วยมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑๐๐ กรัม, อักษรย่อว่า ฮก.

ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
standard of measure; standard of weightมาตราชั่ง ตวง วัด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
standard of weight; standard of measureมาตราชั่ง ตวง วัด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
สถานีบริการสถานีบริการ, สถานที่สำหรับจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนโดยวิธีเติมหรือใส่ลงในที่บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงของยานพาหนะ โดยใช้มาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด ที่ติดตั้งไว้เป็นประจำ และให้หมายความรวมถึงสถานที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง [พลังงาน]

NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
grain(n) หน่วยมาตราชั่ง
Libra(n) กลุ่มดาวตราชั่ง
scale(n) ตราชั่ง, See also: เครื่องชั่ง, Syn. balance, scale beam, stapel scale, steelyard

Nontri Dictionary
avoirdupois(n) มาตราชั่งน้ำหนักเป็นปอนด์

ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ

Time: 0.1255 seconds, cache age: 3.96 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม