131 ผลลัพธ์ สำหรับ *ตรัส*
ภาษา
หรือค้นหา: ตรัส, -ตรัส-Longdo Unapproved TH - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ฌาณ | (n) ฌาณ หรือ อธิจิต(supraconscious) เป็นจิตที่เป็นที่สุดของปัญญา คือความรู้ชัดธรรมชาติของมนุษย์ว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(คือความรู้มรรค 8 การคิดปฏิบัติเพื่อดับทุกข์) เป็นจิตที่อยู่เหนือและสามารถ ควบคุมหรือข่ม ได้ทั้งจิตสำนึก(consious) และจิตใต้สำนึก(subconsious) ซึ่งเป็นความรู้ที่สูดของวิญญาณคือความรู้แจ้งของธรรมชาติของมนุษย์ว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข อธิจิตใช้สำหรับดับกิเลส ซึ่งสามารถทำให้เกิดนิมิตขึ้นมาได้ เพื่อดับกิเลสในเวลาที่เกิดกิเลสขึ้น พระผู้มีพระภาค(พระพุทธเจ้า)ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์๑๐. วิตักกสัณฐานสูตรว่าด้วย อาการแห่งวิตก การเรียกอธิจิตของตนเอง ถ้าไม่มีพรสวรรค์หรือบารมีที่สะสมมาแต่ปางก่อน จะเรียกไม่ได้ เพราะจิตยังไม่มั่นคงพอ จะต้องเรียนรู้และทำความเพียรที่ทนได้ยาก ฝึกฝน จนเกิดความชำนาญ ซึ่งข้าพเจ้ามีความสามารถที่จะให้คนทั่วไปเรียกอธิจิตของตนเองได้ เช่นให้ผู้ป่วยเรียกอธิจิตของเขาออกมารักษาโรคภัยไข้เจ็บทั้งทางกายและใจของเขาที่เป็นอยู่ โดยสั่งให้จิตของเขาตกอยู่ในภาวะภวังค์ ด้วยการสั่งระงับจิตหยาบที่ทำให้เขาเกิดโรคทั้งทางกายและทางใจ เพื่อเขาจะได้มีจิตที่มั่นคงถึงอธิจิตแล้วสั่งยาหรือภูมิต้านทานในตัวของเขาออกมารักษาโรค ซึ่งได้ผลดีกว่าแพทย์แผนปัจจุบัน และแพทย์ทางเลือกวิธีอื่น นี่คือประโยชน์จากการเรียกหรือฝึกเรียกอธิจิตของตนเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าสามารถเรียก Stem cell ในพระวรกายของพระองค์ออกมารักษาโรคได้นานมาแล้วหรือมากกว่า 2554 ปี ส่วนนักวิทยาศาสตร์พึ่งจะมาค้นพบวิธีใช้ Stem cell รักษาบางโรคเมื่อ 50 ปีมานี้เอง การรักษายังมีข้อบ่กพร่องและเงื่อนไขในการรักษาเพื่อจะได้ผลลัพท์จนเป็นที่น่าพอใจของแพทย์อยู่อีกมาก แต่วิธีของพระพุทธองค์ไม่มีเงื่อนไข ถ้าคนป่วยสามารถเรียกอธิจิตของตนเองได้ ข้าพเจ้าได้ใช้อธิจิตรักษา โรคปวดตามอวัยวะและโรคหวัดป่วยของข้าพเจ้าเอง และรักษาโรคปวดและอัมพาลให้กับคนป่วยแล้วหลายราย ซึ่งได้รับผลเป็นที่น่าพอใจของข้าพเจ้าและของคนป่วย |
Longdo Unapproved KO - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
오렌지 | (n) ส้ม, ส้มหวาน, ส้มซีตรัส, See also: S. 귤 |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ตรัส | (v) say, See also: speak, talk, declare, state, tell, utter, pronounce, Syn. พูด, สั่ง, บอก, Example: พระพุทธศาสนายกย่องความสุขทางใจว่าดีกว่าความสุขอย่างอื่นดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า นตฺถิ สน ฺ ติ ปร สุข ํ , Thai Definition: เปล่งเสียงออกเป็นถ้อยคำเพื่อบอกกล่าว |
ตรัสรู้ | (v) enlighten, See also: know, Syn. รู้, รู้แจ้ง, รู้แจ้งเห็นจริง, หยั่งรู้, Example: พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในวันวิสาขบูชา, Thai Definition: รู้แจ้งในเรื่องต่างๆ (ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้า) |
ตรัสรู้ | (v) become enlightened, See also: understand, foresee, intuit, Syn. รู้, รู้แจ้ง, รู้แจ้งเห็นจริง, หยั่งรู้, Example: ใครจะไปตรัสรู้ได้ทุกเรื่อง, Thai Definition: รู้เอาเองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ |
การตรัสรู้ | (n) enlightenment, See also: learning, understanding, Syn. การรู้แจ้ง, การรู้แจ้งเห็นจริง, Example: การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านำมาซึ่งความหลุดพ้น, Thai Definition: การรู้แจ้งด้วยตนเอง (ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้า) |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ตรัส | (ตฺรัด) ก. พูด. |
ตรัส | (ตฺรัด) ว. แจ้ง, สว่าง, ชัดเจน. |
ตรัสรู้ | (ตฺรัดสะ-) ก. รู้แจ้ง (ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้า) |
ตรัสรู้ | รู้เอาเองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้. |
ตรัสน้อย | (ตฺรัด-) น. คำยกย่องเรียกเจ้านายฝ่ายในชั้นเจ้าฟ้า. |
ตรัสสา | (ตฺรัดสา) น. คำยกย่องเรียกเจ้านายฝ่ายในชั้นเจ้าฟ้า. |
กฎ | (กด) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้ (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้ (อัยการเบ็ดเสร็จ), พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). |
กฎ | (กด) น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ (พงศ. ๑๑๓๖) |
กรรโชก | (กัน-) ก. ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว เช่น ผู้ใดกรานกรรโชกราษฎรแลตรัสถามตนฯ อำพรางพระเจ้าอยู่หัว มิได้กราบทูลตามสัจตามจริงก็ดี (สามดวง), โบราณเขียนเป็น กันโชก หรือ กำโชก ก็มี. (แผลงมาจาก กระโชก). |
ตะแก, ตะแก่ | น. ตัวแก เช่น แล้วตรัสกับเสนานินทาเมีย ตะแก่เสียจริตผิดแล้วเหวย (สังข์ทอง) |
ทรง | ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่น ไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน ให้ใช้ว่า ตรัส ประทับ พระราชทาน. |
เทววาจิกสรณคมน์ | (ทะเววาจิกะสะระนะคม) น. การเปล่งวาจาถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก เพราะเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์ เป็นสรณคมน์ที่ตปุสสะและภัลลิกะกล่าวหลังจากที่ได้ถวายข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงแด่พระพุทธเจ้าในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากตรัสรู้. |
ธรรมาภิสมัย | (ทำมา-) น. การตรัสรู้ธรรม, การสำเร็จมรรคผล. |
นาคราชแผลงฤทธิ์ ๑ | น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้วรรคหนึ่งมี ๘ คำ บังคับซ้ำเสียงพยัญชนะ ๓ คำ คือ คำท้ายวรรค (คำที่ ๖, ๗ และ ๘) กับ ๓ คำต้นวรรคถัดไป (คำที่ ๑, ๒ และ ๓) และซ้ำเสียงสระวรรคละ ๓ คู่ ในคำที่ ๓ กับ ๔ คำที่ ๕ กับ ๗ และคำที่ ๘ กับคำที่ ๑ ในวรรคถัดไป เช่น กรุงกระษัตริย์ตรัสฟังแค้นคั่งจิตร คิดแค้นใจไหวหวิดในจิตรฉงน จนฉงายกายไฉงใจร้อนรน จนร้าวราญการกระมลจิตรวนเวียน (ศิริวิบุลกิตติ์). |
นี่นัน | ว. อึงมี่, อึกทึก, เช่น จึงดำรัสตรัสชวนอนุชา ลงจากพลับพลาผายผัน พร้อมพวกกระบี่นี่นัน จรจรัลไปยังฝั่งนที (ตับเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนางลอย). |
บรรหาร | (บันหาน) ก. เฉลย, กล่าวแก้, ตรัสสั่ง. |
บังอร | เด็ก ๆ ที่กำลังน่ารัก เช่น จึ่งตรัสประภาษไปว่าพราหมณ์เอ่ย อย่าเพ่อน้อยใจแก่เราก่อน เราจะพาสองกุมารบังอรมาให้จงได้ (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
ปฏิเวธ | ก. เข้าใจตลอด, ตรัสรู้, ลุล่วงผลปฏิบัติ. |
ปฐมโพธิกาล | (ปะถมมะโพทิกาน) น. กาลแรกตรัสรู้ คือ ระยะเวลานับตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จนถึงทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ. |
ปรมาภิเษก | (ปะระ-, ปอระ-) น. อภิเษกอย่างยิ่ง คือ การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. |
ประภาษ | ก. บอก, พูด, เช่น ตรัสประภาษ. |
ปัจเจกพุทธะ | (ปัดเจกกะ-) น. ชื่อพระพุทธเจ้าพวกหนึ่งที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น. |
ปัจเจกโพธิ | (ปัดเจกกะโพด) น. ความตรัสรู้เฉพาะตัว คือ ความตรัสรู้ของพระปัจเจกพุทธเจ้า. |
พระ | (พฺระ) น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่รูป พระลงโบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือเนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คำพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ |
พุทธ, พุทธ-, พุทธะ | (พุด, พุดทะ-) น. ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว, ใช้เฉพาะเป็นพระนามของพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา เรียกเป็นสามัญว่า พระพุทธเจ้า. |
โพ ๑ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Ficus religiosaL. ในวงศ์ Moraceae เป็นต้นไม้ซึ่งเป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ใบรูปหัวใจ ปลายยาวคล้ายหาง ผลกินได้ ใบอ่อนและผลใช้ทำยาได้, โพศรีมหาโพธิ ก็เรียก. |
โพชฌงค์ | (โพดชง) น. องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี ๗ ประการ |
โพธิ-, โพธิ์ | (โพทิ-, โพ) น. ความตรัสรู้ |
โพธิ-, โพธิ์ | ชื่อต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า, ปัจจุบันหมายถึงต้นโพ ( Ficus religiosaL.). |
โพธิญาณ | น. พระปัญญาที่ทำให้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. |
โพธิบัลลังก์ | น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้, รัตนบัลลังก์ หรือ วัชรอาสน์ ก็ว่า. |
โพธิปักขิยธรรม | น. ธรรมเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมเกื้อกูลแก่ความตรัสรู้มี ๓๗ ประการ. |
โพธิสัตว์ | น. ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. |
เมตไตรย | (เมดไตฺร) น. พระนามของพระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ข้างหน้า. |
รัตนบัลลังก์ | น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้, โพธิบัลลังก์ หรือ วัชรอาสน์ ก็เรียก, แท่นที่รองรับพระพุทธรูป. |
วรัญญู | (วะรันยู) น. “ผู้ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ” คือ พระพุทธเจ้า. |
วัชรอาสน์ | น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้ เรียกว่า พระแท่นวัชรอาสน์, โพธิบัลลังก์ หรือ รัตนบัลลังก์ ก็เรียก. |
วันวิสาขบูชา | น. วันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า. |
ว่าขาน | ก. พูดต่อว่า, พูดติ, เช่น พระมิได้ตอบคำว่าขาน ตรัสแต่กิจการกรุงศรี แต่ดูพระกิริยาพาที เหมือนจะเคลื่อนคลายที่โกรธา (อิเหนา). |
วิศาขบูชา | น. วิสาขบูชา, การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า. |
วิสาขบูชา | น. การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า, โบราณใช้ว่า วิศาขบูชา ก็มี. |
สมโพธิ | (-โพด) น. การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. |
สมัญญา | (สะมัน-) น. ชื่อที่มีผู้ยกย่องหรือตั้งให้ เช่น พระพุทธเจ้าได้รับสมัญญาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ศาสดาของศาสนาเชนได้รับสมัญญาว่า มหาวีระ เพราะเป็นผู้มีความกล้าหาญมาก. |
สังเวชนียสถาน | (-นียะสะถาน) น. สถานที่ทางพระพุทธศาสนาอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวช มี ๔ แห่ง คือ ๑. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ได้แก่ สวนลุมพินี ปัจจุบันได้แก่ รุมมินเด ในประเทศเนปาล ๒. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ที่ควงพระศรีมหาโพธิ ปัจจุบันได้แก่ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ๓. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันได้แก่ สารนาถ ประเทศอินเดีย ๔. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา ปัจจุบันได้แก่ เมืองกาเซีย ประเทศอินเดีย. |
สัตมหาสถาน | (สัดตะมะหาสะถาน) น. สถานที่ ๗ แห่งที่พระพุทธเจ้าเสวยวิมุติสุขภายหลังตรัสรู้. |
สำแดง ๓ | คำกล่าวประกอบชื่อผู้อื่นซึ่งปรากฏอยู่เฉพาะหน้า, เป็นสำนวนแปลบาลีเก่า ใช้ในที่ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสกับพระสาวก เช่น สำแดงอานนท์. |
อภิสมโพธิ, อภิสัมโพธิ | (อะพิสมโพด, -สำโพทิ) น. ความตรัสรู้เองด้วยพระปัญญาอันยิ่ง หมายเฉพาะการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. |
อภิสมัย | (อะพิสะไหฺม) น. ความตรัสรู้, ความบรรลุ, การถึง, ใช้ในคำว่า ธรรมาภิสมัย. |
อภิสัมโพธิญาณ | (อะพิสำโพทิยาน) น. ญาณคือความตรัสรู้เองด้วยพระปัญญาอันยิ่ง หมายเฉพาะการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. |
อสัตถพฤกษ์, อัสสัตถพฤกษ์ | (อะสัดถะพฺรึก, อัดสัดถะพฺรึก) น. ชื่อต้นไม้ที่พระโคตมพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ต้นแล้วได้ตรัสรู้ เรียกว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ต้นโพธิ์. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
enlightenment | การตรัสรู้, การรู้แจ้ง [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Nitrous oxide | ไนตรัสออกไซด์ [TU Subject Heading] |
Great Powers | ประเทศมหาอำนาจ รัฐที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นประเทศมหาอำนาจ คือรัฐที่มีอำนาจอิทธิพลครอบงำในกิจการระหว่างประเทศ ไม่มีกฎหมายใดๆ ที่จะกำหนดว่าประเทศนั้น ประเทศนี้มีสถานภาพเป็นมหาอำนาจ หากเป็นเพียงเพราะรัฐนั้นๆ มีขนาด พละกำลัง และอำนาจอิทธิพลทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐาน และจะสังเกตได้ว่า สถานะของกลุ่มประเทศมหาอำนาจเช่นนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงได้บ่อยๆ เช่น ในสมัยการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาในปี ค.ศ. 1815 ประเทศมหาอำนาจในสมัยนั้นได้แก่ อังกฤษ ออสเตรีย ฝรั่งเศส ปอร์ตุเกส ปรัสเซีย สเปน สวีเดน และรัสเซีย หลังจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่เกี่ยวกับพละกำลังของประเทศมหาอำนาจ คือก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ หนึ่ง ประเทศที่จัดว่าเป็นมหาอำนาจในตอนนั้นคือ อังกฤษ ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปยุโรป รวมทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่นอกยุโรป เมื่อตอนสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศที่เป็นมหาอำนาจได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ โซเวียตรัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน พึงสังเกตด้วยว่า องค์การสหประชาชาติได้ถือว่า ประเทศทั้ง 5 นี้มีอำนาจและมีความสำคัญมากที่สุดในขณะนั้น ทั้ง 5 ประเทศนี้ต่างเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ซึ่งมีอำนาจใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในที่ประชุม ซึ่งในปัจจุบันก็ยังปฏิบัติเช่นนั้นอยู่ [การทูต] |
Intelligence | เรื่องสืบราชการลับ กล่าวอย่างกว้าง ๆ คือ เรื่องลับไม่ว่าชนิดใด โดยเฉพาะที่จะมีประโยชน์แก่ผู้กำหนดนโยบาย หรือฝ่ายทหารที่มีหน้าที่ว่างนโยบายหรือวางแผนยุทธศาสตร์ ถือว่าเป็น Intelligence ทั้งสิ้น เช่น ในสหรัฐอเมริกามีองค์กรสืบราชการลับอยู่หลายแห่ง เช่น CIA (สำนักงานสืบราชการลับกลาง) The NSA (National Security Agency หรือองค์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติ) G-2 (ฝ่ายสืบราชการลับของกองทัพบก) FBI (Federal Bureau of Investigation หรือหน่วยสืบสวนของรัฐบาลกลาง) Bureau of Intelligence and Research of the State Department หรือหน่วยสืบราชการลับและวิจัยของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ รวมทั้งฝ่ายสืบราชการลับของกองทัพเรือและกองทัพอากาศ ส่วนในโซเวียตรัสเซีย (ปัจจุบันเรียกชื่อใหม่ว่ารัสเซีย) แต่เดิมมีองค์การสืบราชการลับอยู่จำนวนหนึ่ง ที่สำคัญๆ ได้แก่ ฝ่ายสืบราชการลับทางทหารของกระทรวงกลาโหม หรือที่เรียกว่า YRU (Ylavnoe Razdevyvatelnoe Uptavlenie) และ KGB (Kommissariat Gosudatstvennoie Bezopastnotsi หรือ Commisariat of State Security) ในประเทศอังกฤษ มีฝ่ายสืบราชการลับเรียกว่า M15 (British Counter Intelligence) M16 เป็นหน่วยสาขาซึ่งทำงานด้านจารกรรมในต่างประเทศ และ M18 เป็นฝ่ายสืบราชการฝ่ายทหาร (Cryptographic Bureau of Military Intelligence) [การทูต] |
Iron Curtain | ม่านเหล็ก เป็นศัพท์ที่อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ผู้ล่วงลับไปแล้ว คือ เซอร์วินสตัน เชอชิลล์ เป็นผู้บัญญัติขึ้นหมายถึงเครื่องกีดขวางปิดกั้นเขต ซึ่งโซเวียตรัสเซียและประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกไม่ยอมให้มีการ ติดต่อหรือเดินทางเข้าไปในอาณาเขตของประเทศดังกล่าว ที่เรียกกันว่า ประเทศหลังม่านเหล็ก เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองในระหว่างสงครามเย็น แต่ภายหลังที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ล่มสลาย ม่านเหล็กก็พลอยหมดสภาพไปในที่สุด [การทูต] |
Estrus | การเป็นสัด, เอสตรัส, อีสตรัส [การแพทย์] |
greenhouse gas | แก๊สเรือนกระจก, แก๊สที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ได้แก่ ไอน้ำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน โอโซน ไนตรัสออกไซด์ ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูไรด์ สารกลุ่มฟลูออโรคาร์บอน (CFCs และ HFCs) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
nitrous oxide | ไนตรัสออกไซด์, แก๊สที่เกิดจากกระบวนการในอุตสาหกรรม เป็นแก๊สเรือนกระจก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
ไนตรัสออกไซด์ | [naitrat øksai] (n, exp) EN: nitrous oxide ; happy gas ; laughing gas FR: protoxyde d'azote [ m ] ; oxyde nitreux [ m ] ; gaz hilarant [ m ] |
ตรัสรู้ | [tratsarū] (v) EN: be enlightened FR: atteindre l'éveil |
ตรัสรู้ | [tratsarū] (adj) FR: illuminé ; éveillé |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
Buddha | (n) พระพุทธเจ้า, See also: พระพุทธ, ผู้ตรัสรู้, พระพุทธองค์, พระโพธิสัตว์, พระพุทธคุณ, ธรรมาทิตย์, พระศาสดา, ภควันต์ |
enlightened person | (n) ผู้ตรัสรู้, See also: ผู้รู้แจ้ง |
enlightenment | (n) การตรัสรู้, See also: ความเห็นแจ้ง, การรู้แจ้งเห็นจริง |
nitrous acid | (n) กรดไนตรัส เป็นกรดดินประสิว |
nitrous oxide | (n) แก๊ซไนตรัสออกไซด์ที่ใช้ป้องกันการเจ็บปวดเมื่อทำฟัน, Syn. laughing gas |
Hope Dictionary
speak | (สพีค) { spoke, spoken, speaking, speaks } vi., vt. พูด, คุย, กล่าว, แสดงความเห็น, สนทนา, เจรจา, ปราศรัย, ตรัส, บรรยาย, แถลง, แสดงถึง, เกิดเสียง, Syn. talk, mention |
Nontri Dictionary
omniscience | (n) การตรัสรู้, การรู้แจ้ง |
omniscient | (adj) ที่รู้แจ้ง, ที่รอบรู้, ที่ตรัสรู้ |
speak | (n) การสนทนา, การพูด, การเจรจา, การตรัส |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
悟り | [さとり, satori] (n) การรู้แจ้ง, การตรัสรู้, See also: R. 悟りを開く |
悟りを開く | [さとりをひらく, satoriwohiraku] (phrase) ตรัสรู้ รู้แจ้งเห็นจริง |
悟り | [さとり, satori] (n) ความรู้แจ้งเห็นจริง การตรัสรู้, See also: R. 悟りを開く |
悟る | [さとる, satoru] (vi) ตรัสรู้ |
悟る | [さとる, satoru] ตรัสรู้, รู้แจ้ง, เบิกเนตร, ตาสว่าง |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0446 seconds, cache age: 6.576 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม