66 ผลลัพธ์ สำหรับ *ด้วยเหตุนี้*
ภาษา
หรือค้นหา: ด้วยเหตุนี้, -ด้วยเหตุนี้-NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ด้วยเหตุนี้ | (conj) so, See also: therefore, thus, for this reason, that is why, Syn. ดังนี้, ดังนี้, เพราะเหตุนี้, , Example: หลวงพ่อเป็นพระที่มากด้วยเมตตามีความกรุณาต่อมนุษย์และสัตว์ด้วยเหตุนี้จึงมีคนชอบนำสัตว์นานาชนิดมาถวาย |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Hugo Grotius (1583-1645) | บรมครูทางกฎหมายของเนเธอร์แลนด์ เป็นบุคคลแรกที่ได้ประกาศเสรีภาพของทะเล (Freedom of the Seas) ในตำราของท่านชื่อ Mare Liberumนักกฎหมาย รัฐบุรุษ และปรัชญาเมธีด้านมนุษยธรรมของเนเธอร์แลนด์ผู้นี้ ภายหลังเกิดมาได้ไม่กี่ปีก็ส่อให้เห็นว่าเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดอย่างน่า มหัศจรรย์ เขาเริ่มศึกษาวิชากฎหมายตั้งแต่มีอายุได้ 11 ขวบ ณ สถาบันศึกษาชั้นสูงแห่งเลย์เด็นในเนเธอร์แลนด์ และได้รับปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัย ณ เมืองออร์ลีนส์ ในประเทศฝรั่งเศสเมื่อมีอายุได้เพียง 15 ปี โดยที่เป็นผู้ฝักใฝ่ในการเมือง เขาได้ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1618 ด้วยข้อหาทางการเมือง แต่ต่อมาใน ค.ศ. 1621 ได้หลบหนีไปยังประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ 1625 เขาได้แต่งตำรากฎหมายซึ่งถือกันว่าเป็นตำราอมตะชื่อว่า Jure Belli ac Pacis (แปลว่า เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสงครามและสันติภาพ) เป็นงานเขียนที่เหมาะกับสมัย และเขียนอย่างนักวิชาการอันเยี่ยมยอดที่สุดไม่มีใครเหมือนในสมัยนั้น และด้วยความรู้สึกที่รักความยุติธรรมอย่างแรงกล้าด้วยเหตุนี้ ทั่วโลกจึงขนานนาม Hugo Grotius ว่าเป็นบิดาแห่งกฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายนานาชาติ (Father of the Law of Nations) [การทูต] |
Niccolo Machiavelli (1469-1527) | คือรัฐบุรุษและปรัชญาเมธีทางการเมืองของสาธารณรัฐ ฟลอเรนส์ (Florence) ระหว่างรับราชการ ท่านดำรงตำแหน่งฝ่ายธุรการหลายตำแหน่งซึ่งไม่สู้มีความสำคัญเท่าใด แต่สิ่งที่ท่านสนใจมากที่สุดได้แก่ศิลปะของการเมือง หนังสือสำคัญ ๆ ที่ท่านประพันธ์ขึ้นไว้คือ The Prince เล่มหนึ่ง อีกเล่มหนึ่งชื่อ The Art of War และอีกเล่มหนึ่งคือ Discourses on the First Ten Books of Livyมีนักเขียนหลายคนวิพากษ์ Machiavelli ที่แสดงความเห็นสนับสนุนว่า รัฐบาลใดก็ตมที่ต้องการรักษาอำนาจการปกครองตนให้เข้มแข็งไว้ ย่อมจะใช้วิถีทางใด ๆ ก็ได้ ถึงแม้หนทางเช่นนั้นจะผิดกฎหมายหรือไร้ศีลธรรมก็ตาม และก็มีนักเขียนอีกหลายคนสนับสนุนท่าน โดยชี้ให้เห็นว่า ท่านเป็นแต่เพียงตีแผ่ให้เห็นพฤติกรรมที่แท้จริงของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในยุคสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่มากกว่าอย่างอื่น อาทิเช่น ในหนังสือ The Prince ของท่านตอนหนึ่งอ้างว่า การต่อสู้นั้นมีอยู่สองวิธี วิธีแรกเป็นการต่อสู้โดยวิถีทางกฎหมาย อีกวิธีหนึ่งคือการต่อสู้โดยใช้กำลัง (Force) วิธีแรกนั้นเป็นวิธีที่มนุษย์พึงใช้ ส่วนวิธีที่สองเป็นวิธีเยี่ยงสัตว์ป่า แต่การใช้วิธีแรกมักจะไม่ค่อยได้ผลเสมอไป เพราะไม่เพียงพอ ก็ย่อมจะหันเข้าใช้วิธีที่สองได้ ฉะนั้น ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้น ซึ่ง Machiavelli เรียกว่า Prince จึงจำเป็นต้องรู้ดีว่าจะใช้ทั้งวิธีที่มนุษย์จะพึงใช้ และวิธีเยี่ยงสัตว์ป่าอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้นไม่จำเป็นต้องมีสัจธรรม หากการกระทำนั้น ๆ จะทำความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของประเทศ ท่านเห็นว่า หากมนุษย์ทุกคนเป็นคนดี กฎเช่นนี้ก็เป็นกฎที่ไม่ถูกต้อง แต่โดยที่มนุษย์ไม่ใช่คนดีทั้งหมด ในเมื่อเขาไม่ยอมให้ความศรัทธาความไว้วางใจในตัวท่าน ก็ไม่มีอะไรที่จะมาห้ามมิให้ท่านเลิกศรัทธากับเขาเหล่านั้นได้ [การทูต] |
United Nations Emergency Force | กองกำลังฉุกเฉินของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 สมัชชาแห่งสหประชาชาติได้ขอรัองให้เลขาธิการสหประชาชาติเสนอแผนการภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติของสหประชาชาติ โดยได้รับอนุมัติจากชาติที่เกี่ยวข้อง ให้ทำหน้าที่ยุติและควบคุมดูแลการหยุดรบในประเทศอียิปต์ วันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 5 พฤศจิกายน สมัชชาก็ได้ลงมติให้จัดตั้งกองบัญชาการแห่งสหประชาชาติขึ้นปรากฏว่า ผู้แทนของสหภาพโซเวียตได้กล่าวอ้างว่า การจัดตั้งกองกำลังดังกล่าวเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ โดยยกบทที่ 7 ของกฎบัตรขึ้นมาอ้างว่า คณะมนตรีความมั่นคงองค์กรเดียวเท่านั้น ที่กฎบัตรให้อำนาจจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติได้ ด้วยเหตุนี้ สหภาพโซเวียตและอีกบางประเทศจึงแถลงว่า จะไม่ยอมมีส่วนร่วมในการออกเงินค่าใช้จ่ายสำหรับกองกำลังดังกล่าวโดยเด็ดขาด พึงสังเกตว่า การที่สหภาพโซเวียตอ้างยืนยันว่า คณะมนตรีความมั่นคงเท่านั้นที่กฎบัตรสหประชาชาติให้อำนาจตั้งกองกำลังสห ประชาชาติได้ ก็เพราะหากยินยอมตามข้ออ้างของสหภาพโซเวียตดังกล่าว จะไม่มีทางจัดตั้งกองกำลังขึ้นได้เลย เพราะสหภาพโซเวียตจะใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคงอย่างไม่ต้องสงสัย [การทูต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
ด้วยเหตุนี้ | [dūay hēt nī] (conj) EN: so ; therefore ; thus ; for this reason ; that is why FR: c'est pour cette raison |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
so | (adv) ดังนั้น, See also: เพราะเหตุนี้, ด้วยเหตุนี้, ฉะนั้น, Syn. hence, then, therefore |
therefor | (adv) ด้วยเหตุนั้น (คำโบราณ), See also: ด้วยเหตุนี้ |
Hope Dictionary
hereupon | adv. พร้อมกันนี้, ด้วยเหตุนี้, ครั้นแล้ว |
thus | (ธัส) adv. ดังนี้, เช่นนี้, ด้วยเหตุนี้, ดังเช่น |
whereupon | (แวร์อะพอน') conj. ที่ซึ่ง, ดั้งนั้นด้วยเหตุนี้, อยู่ที่ใคร |
Nontri Dictionary
hence | (adv) จากนี้, ดังนี้, ด้วยเหตุนี้, เพราะฉะนั้น |
hereupon | (adv) บนสิ่งนี้, ถัดไป, ด้วยเหตุนี้, ครั้นแล้ว, พร้อมกันนี้ |
therefor | (adv) เพื่อสิ่งนั้น, เพื่อประสงค์อย่างนั้น, ด้วยเหตุนั้น, ด้วยเหตุนี้ |
thus | (adv) เช่นนี้, ดังนั้น, ดังนี้, ด้วยเหตุนี้, ด้วยประการฉะนี้ |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
arm's length transaction | ธุรกรรมระหว่างคู่สัญญาสองฝ่ายที่มีความสัมพันธ์หรือเป็นเครือเดียวกัน แต่ดำเนินธุรกรรมเสมือนไม่ได้มีความเกี่ยวพันกัน ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน หรือบางครั้งอาจหมายถึงธุรกรรมระหว่างคู่สัญญาที่ต่างไม่มีความสัมพันธ์หรือไม่อยู่ในเครือเดียวกัน |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.3325 seconds, cache age: 1.636 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม