114 ผลลัพธ์ สำหรับ *อึ้ง*
ภาษา
หรือค้นหา: อึ้ง, -อึ้ง-NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
อึ้ง | (v) be silent, See also: be quiet, Example: ผู้จัดการอึ้งไปนาน ก่อนพยักหน้าตอบรับ, Thai Definition: นิ่งอยู่พักหนึ่ง |
อ้ำอึ้ง | (v) be speechless, Syn. นิ่ง, อึ้ง, Example: เมื่อปรายตาไปบนผนัง พวกเราต่างก็อ้ำอึ้งหันไปมองหน้ากัน เพราะแทบจะทั่วทั้งผนังมีปีกนกน้อยใหญ่ประดับครืดเต็มไปหมด, Thai Definition: นิ่งอั้นไม่ยอมพูด, พูดไม่ออกด้วยจนใจ หรือจนปัญญา, ไม่รู้จะพูดอะไร |
นิ่งอึ้ง | (v) be dumb, See also: be voiceless, be speechless, be mute, Syn. นิ่งเฉย, นิ่งเงียบ, Example: เธอตอบเขาเบาๆ หลังจากนิ่งอึ้งไปนาน, Thai Definition: พูดไม่ออกเพราะตกใจเป็นต้น |
หนักอึ้ง | (adv) heavily, Syn. หนัก, Ant. เบาหวิว, Example: เขาสลัดคราบจอมปลอมต่างๆ ที่พันธนาการรอบตัวอย่างหนักอึ้งทิ้งจนหมดสิ้น, Thai Definition: มากจนเกือบจะแบกรับไม่ไหว |
หนักอึ้ง | (v) be heavy, Syn. หนัก, Ant. เบาหวิว, Example: กระเป๋าใบนี้หนักอึ้งจนต้องใช้คน 3 คนช่วยกันแบก, Thai Definition: มากจนเกือบจะแบกรับไม่ไหว |
อ้ำๆ อึ้งๆ | (adv) murmur, Syn. อ้ำอึ้ง, Example: เขากล่าวตอบอย่างอ้ำๆ อึ้งๆ กับนักข่าวเมื่อถูกถามถึงข่าวฉาวที่เกิดขึ้น, Thai Definition: กล่าวอย่างไม่เต็มปาก |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กระดูกอึ่ง | น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล Dendrolobium และ Dicerma วงศ์ Leguminosae คือ ชนิด D. triangulare (Retz.) Schindl. มักขึ้นในที่โล่งตํ่าซึ่งชุ่มแฉะในฤดูฝน ฝักเล็กแบนคอดกิ่วเป็นข้อ ๆ ใช้ทำยาได้, ขมิ้นนาง ขมิ้นลิง ลูกประคำผี หน้านวล เหนียวหมา หรือ อีเหนียว ก็เรียก |
กระดูกอึ่ง | ชนิด D. lanceolatum (Dunn) Schindl. ขึ้นตามป่าผลัดใบที่มีต้นไผ่ สูงประมาณ ๑ เมตร ใบรูปไข่กลับ โคนใบสอบ, กระดูกเขียด แกลบหนู แกลบหูหนู แปรงหูหนู หรือ อึ่งใหญ่ ก็เรียก |
กระดูกอึ่ง | และชนิด Dicerma biarticulatum (L.) DC. ชอบขึ้นตามไหล่ทางที่ตัดผ่านทุ่งนา สูงประมาณ ๑ เมตร ใบเล็กคล้ายใบมะขาม ดอกสีม่วง. |
ปัญญาแค่หางอึ่ง | ว. มีความรู้น้อย, โง่. |
อ้ำอึ้ง | ก. นิ่งอั้นไม่ยอมพูด, พูดไม่ออกด้วยจนใจหรือจนปัญญา, ไม่รู้จะพูดอะไร. |
อึ่ง | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Microhylidae ขนาดแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดอยู่ระหว่าง ๒-๘ เซนติเมตร รูปร่างอ้วนป้อมและมักพองตัวได้ ส่วนใหญ่เป็นสีเทาหรือน้ำตาลเข้ม ผิวหนังเรียบ บริเวณฝ่าตีนมีสันแข็งใช้ขุดดิน อาศัยอยู่ใต้ผิวดินหรือใต้ก้อนหินในเวลากลางวันและในฤดูแล้ง ออกหากินตามพื้นดินเมื่ออากาศชื้นโดยเฉพาะช่วงหลังฝนตก กินแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น อึ่งอ่างหรืออึ่งอ่างบ้าน ( Kaloula pulchra Gray) อึ่งแว่น อึ่งแดง หรืออึ่งลาย [ Calluella guttulata (Blyth) ]. |
อึ่งอ่าง | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกในสกุล Kaloula วงศ์ Microhylidae สีนํ้าตาลลายขาว โตเต็มวัยยาวประมาณ ๗ เซนติเมตร มักทำตัวพองเมื่อถูกรบกวน ตัวผู้ร้องเสียงดังเมื่อนํ้านองหลังฝนตก ที่พบทั่วไปมี ๒ ชนิด คือ อึ่งอ่างหรืออึ่งอ่างบ้าน ( K. pulchra Gray) และอึ่งอ่างหลังขีดหรืออึ่งอ่างก้นขีด [ K. mediolineata (Smith) ]. |
อึ้ง | ว. นิ่งอั้นอยู่. |
อึ่งใหญ่ | ดู กระดูกอึ่ง. |
กระดูกเขียด | ดู กระดูกอึ่ง. |
แกลบหนู, แกลบหูหนู | (แกฺลบ-) ดู กระดูกอึ่ง. |
ขมิ้นนาง | ดู กระดูกอึ่ง. |
ขมิ้นลิง | ดู กระดูกอึ่ง. |
งัน | ก. หยุดชะงัก เช่น นิ่งงัน, ไม่งอกงาม เช่น ต้นไม้งันไป, อาการที่ชะงักนิ่งอึ้งไปชั่วขณะเพราะคาดไม่ถึง ในคำว่า ตะลึงงัน. |
ตะลึง | ก. อาการที่ชะงักงันนิ่งอึ้งไปชั่วขณะหนึ่งเพราะคาดไม่ถึง. |
เบ่ง | ก. ตะเบ็ง เช่น เบ่งเสียง, พยายามขับดันสิ่งเช่นอุจจาระปัสสาวะเป็นต้นให้ออกมา เช่น เบ่งอุจจาระเบ่งปัสสาวะ เบ่งลูก, ทำให้พองตัวขึ้นหรือขยายตัวออก เช่น อึ่งอ่างเบ่ง เบ่งกล้าม |
แปรงหูหนู | ดู กระดูกอึ่ง. |
พอง | ก. อาการที่โป่งหรือฟูขึ้นมาเพราะมีอากาศหรือน้ำเป็นต้นอยู่ภายใน เช่น ลูกโป่งพองลม ถูกน้ำร้อนลวกหนังพอง เหยียบไฟเท้าพอง, ทำให้โป่ง ฟู หรือตั้งขึ้น เช่น อึ่งอ่างพองตัว เป่าลูกโป่งให้พอง เป่าปี่จนแก้มพอง ลิงพองขน แมวทำขนพอง |
ลูกประคำผี | ดู กระดูกอึ่ง. |
สะเทินน้ำสะเทินบก | ว. ที่อยู่ได้หรือปฏิบัติการได้ทั้งในนํ้าและบนบก เช่น การรบสะเทินนํ้าสะเทินบก เรือสะเทินนํ้าสะเทินบก เครื่องบินสะเทินนํ้าสะเทินบก, เรียกสัตว์จำพวกที่อยู่ได้ทั้งในนํ้าและบนบก เช่น กบ คางคก อึ่งอ่าง ว่า สัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบก. |
หน้านวล ๓ | ดู กระดูกอึ่ง. |
เหนียวหมา | ดู กระดูกอึ่ง. |
อมพะนำ | ว. นิ่งอึ้งไม่พูดจา, อำพะนำ ก็ว่า. |
อั้น | ว. อาการที่นิ่งอึ้ง พูดไม่ออก, มักใช้เข้าคู่กับคำ นิ่ง เป็น นิ่งอั้น. |
อั้นตู้, อั้นอ้น | ว. นิ่งอึ้ง, อํ้าอึ้ง, จนปัญญา, คิดไม่ออก. |
อำพะนำ | ว. นิ่งอึ้งไม่พูดจา, อมพะนำ ก็ว่า. |
อีเหนียว | ดู กระดูกอึ่ง. |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
อึ่ง | [eung] (n) EN: bullfrog |
อึ้ง | [eung] (v) EN: be struck dumb ; be speechless ; be tongue-tied ; be silent FR: être interdit ; être interloqué |
อึ้ง | [eung] (adj) EN: speechless FR: interdit ; sans voix ; interloqué |
อึ่งอ่าง | [eung-āng] (n) EN: spade toad ; bullfrog |
อึ่งกรายหมอบุญส่ง | [eung krāi Mø Bunsong] (n, exp) EN: Boonsong's Horned Toad |
อึ่งยาง | [eungyāng] (n) EN: bullfrog |
ใจ อึ๊งภากรณ์ | [Jai Eungphakøn] (n, prop) EN: Giles Ji Ungpakorn FR: Giles Ji Ungpakorn ; Giles Ungpakorn |
จอน อึ๊งภากรณ์ | [Jøn Eungphakøn] (n, prop) EN: Jon Ungpakorn FR: Jon Ungpakorn |
นิ่งอึ้ง | [ning eung] (v, exp) EN: keep silent ; remain quiet ; be tongue-tied |
ป๋วย อึ๊งภากรณ์ | [Pūay Eungphakon] (n, prop) EN: Puey Ungpakorn FR: Puey Ungpakorn |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
falter out | (phrv) พูดออกมาอย่างตะกุกตะกัก, See also: พูดอ้ำอึ้ง |
dumbly | (adv) อย่างพูดอะไรไม่ออก, See also: อึ้ง, Syn. mutely |
falter | (vi) พูดตะกุกตะกัก, See also: พูดเสียงสั่น, พูดอ้ำอึ้ง, พูดละล่ำละลัก |
falter | (vt) พูดตะกุกตะกัก, See also: พูดเสียงสั่น, พูดอ้ำอึ้ง, พูดละล่ำละลัก |
haw | (vi) ทำเสียงที่แสดงความลังเล, See also: ทำเสียงอ้ำอึ้ง |
haw | (n) เสียงพูดแสดงความลังเล, See also: เสียงอ้ำอึ้ง |
taken aback | (idm) อึ้ง, See also: ตกตะลึง, ตกใจ |
throw someone | (idm) ทำให้สับสน, See also: ทำให้อึ้ง, ทำให้นึกอะไรไม่ออก |
silent | (adj) เงียบ, See also: ไร้เสียง, ไม่ออกเสียง, สงบนิ่ง, นิ่งเงียบ, นิ่งอึ้ง, เงียบกริบ, ไม่ค่อยพูด, Syn. hushed, soundless, speechless |
swamp | (vt) ทำให้แบกรับภาระ, See also: ทำให้หนักอึ้ง, Syn. overburden, overwhelm, overload |
Hope Dictionary
falter | (ฟอล'เทอะ) { faltered, faltering, falters } v., n. (การ) เดินสะดุด, เดินโซเซ, เดินตัวสั่น, พูดตะกุกตะกัก, ลังเล, รีรอ, วอกแวก, แกว่งไปแกว่งมา, อ้ำ ๆ อึ้ง ๆ, See also: falterer n. faltering adj. falteringly adv., Syn. doubt, hesitate |
haw | (ฮอ) n. ผลไม้ของต้นhawthorn vi. ลังเล, อ้ำอึ้ง. n. เสียงพูดแสดงการลังเล, เสียงอ้ำอึ้ง interj. คำอุทานเรียกสัตว์ให้เลี้ยวซ้าย. vt., vi. (ทำให้) หันซ้าย, (ทำให้) เลี้ยวซ้าย |
leaden | (เลด'เดิน) adj. หนัก, หนักอึ้ง, ไม่มีรสชาติ, ดื้อ, ไม่มีชีวิตชีวา, สีเทา, เฉื่อยชา, เชื่องช้า, งุ่มง่าม, ประกอบด้วยตะกั่ว vt. ทำให้หนัก, ทำให้เชื่องช้า., Syn. precede |
mumble | (มัม'เบิล) vi. พูดพึมพำ, พูดไม่ชัด vt. พูดพึมพำ, อ้ำอึ้งอยู่ในปาก. n. เสียงพึมพำ, เสียงพูดที่ไม่ชัด, คำพูดอู้อี้., See also: mumbler n. mumblingly adv., Syn. murmur, Ant. speak up |
oppressive | (อะเพรส'ซิฟว) adj. เป็นการกดขี่, ซึ่งทำให้ลำบากใจ, ซึ่งทำให้เป็นทุกข์หนักอึ้ง., See also: oppressiveness n., Syn. tyrannical |
plod | (พลอด) v., n. (การ) เดินอย่างหนักอึ้งหรือลำบาก, ค่อย ๆ เดิน, เพียรพยายาม, See also: plodder n. plodness n, Syn. drudge |
speechless | (สพีชฺ'ลิส) adj. เงียบอึ้ง, ไม่พูด, พูดไม่ออก, เป็นใบ้, ไม่มีถ้อยคำ, ไม่มีการกล่าวสุนทรพจน์, ไม่สามารถจะถ่ายทอดเป็นคำพูดได้., See also: speechlessness n. |
Nontri Dictionary
falter | (vi อ้ำๆ) อึ้งๆ, พูดตะกุกตะกัก, พูดไม่คล่อง, เดินสะดุด |
mumble | (vi, vt) บ่นพึมพำ, พูดอู้อี้, พูดไม่ชัด, อ้ำอึ้ง, เคี้ยวเอื้อง |
Longdo Approved DE-TH
sprachlos | (adj) อึ้งจนพูดไม่ออก หรือ ดีใจ, ประหลาดใจจนพูดไม่ออก (vor Freude; Schreck; Überraschung; Erstaunen sprachlos sein), See also: Related: die Sprachlosigkeit |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.7221 seconds
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม