Dublin Core Metadata | ดับลินคอร์เมทาดาทา, Example: ดับลินคอร์เมทาดาทา เป็นหลักเกณฑ์ของการลงเมทาดาทาสำหรับเอกสารบนเว็บ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีสารสนเทศจำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นเอกสารที่เจ้าของผลงานผลิตขึ้นเองโดยใช้เพียงภาษาเอชทีเอ็มแอล ในการกำหนดรูปแบบการแสดงผลและเชื่อมโยงข้อมูลเท่านั้น ไม่มีโครงสร้างมาตรฐานสำหรับสืบค้นที่ระบุเขตข้อมูล คณะทำงานดับลินคอร์ซึ่งประกอบด้วย บรรณารักษ์ นักเทคโนโลยีสารสนเทศและผู้ทำงานด้านสร้างข้อมูลในเว็บของสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และหลายประเทศในยุโรปต่างประสบปัญหาและเห็นว่าการสร้างสารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องมีการกำหนดคำจำกัดความตามมาตรฐาน เพื่อช่วยให้สืบค้นสารสนเทศได้เนื้อหาตรงกับความต้องการได้ ในปี ค.ศ. 1995 คณะทำงานดับลินคอร์จึงได้ประชุมกันครั้งแรกที่เมืองดับลิน รัฐโอไฮโอ และกำหนดชุดหน่วยข้อมูลย่อย 15 หน่วย สำหรับใช้พรรณนาสารสนเทศดิจิทัลเพื่อให้เจ้าของผลงานจัดทำเมทาดาทาด้วยตนเอง และสามารถสืบค้นร่วมกันกับฐานข้อมูลต่างระบบ ปัจจุบันดับลินคอร์ได้รับการประกาศเป็นมาตรฐานสากล ISO 15836 และมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา NISO Z39.85 ดับลินคอร์ได้รับการนำไปใช้อย่างกว้างขวางและเป็นพื้นฐานของการประยุกต์ใช้ ในโครงการต่างๆ หรือห้องสมุดต่างๆ มากมาย หน่วยข้อมูลย่อยดับลินคอร์แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ <p>หน่วยข้อมูลย่อยที่เกี่ยวกับเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศ เป็นหน่วยข้อมูลที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับ ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ต้นฉบับ (แหล่งที่มา) ภาษา เรื่องที่เกี่ยวข้อง และขอบเขต <p>หน่วยข้อมูลย่อย ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา เป็นหน่วยข้อมูลที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับ ผู้เขียน ผู้สร้างสรรค์ผลงาน สำนักพิมพ์ ผู้มีส่วนร่วมในผลงานนั้นๆ และสิทธิ <p>หน่วยข้อมูลย่อยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบที่ปรากฏให้ใช้งาน เป็นหน่วยข้อมูลที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับ วัน เดือน ปี ที่สร้างผลงาน ประเภทของเนื้อหา รูปแบบของการนำเสนอผลงาน และตัวบ่งชี้หรือตัวระบุถึงทรัพยากร <p>ดับลินคอร์เมทาดาทา 15 เขตข้อมูล ได้แก่ <p> 1. Title ชื่อของทรัพยากรสารสนเทศ ชื่อหนังสือ ชื่อวารสาร โดยทั่วไปใช้ชื่อที่รู้จักแพร่หลายอย่างเป็นทางการ <p> 2. Creator ผู้รับผิดชอบการจัดทำต้นฉบับเนื้อหาทรัพยากร หมายรวมถึง บุคคล องค์กร หรือหน่วยบริการ ปกติชื่อเจ้าของงานควรใช้ชื่อที่มีตัวตนเป็นรูปธรรมหรือหน่วยงานที่มีอยู่จริง <p> 3. Subject หัวเรื่องของเนื้อหา จะแสดงด้วยคำสำคัญ วลีสำคัญ หรือรหัสหมวดวิชาที่กล่าวถึงทรัพยกร <p> 4. Description คำอธิบายย่อเนื้อหาของทรัพยากร เป็นบทคัดย่อจากเนื้อหาของทรัพยากรที่เจ้าของงานหรือผู้อื่นเป็นผู้จัดทำ <p> 5. Publisher ผู้รับผิดชอบให้มีการสร้างหรือผลิตทรัพยากรขึ้น หมายรวมถึง บุคคล องค์กรหรือหน่วยบริการ ปกติควรใช้สำนักพิมพ์ที่มีตัวตนเป็นรูปธรรมหรือหน่วยงานที่มีอยู่จริง <p> 6. Contributor ผู้รับผิดชอบร่วมให้มีการสร้างหรือผลิตด้านเนื้อหาทรัพยากร หมายรวมถึงบุคคล องค์กรหรือหน่วยบริการ ปกติควรใช้ชื่อที่มีตัวตนเป็นรูปธรรมหรือหน่วยงานที่มีอยู่จริง <p> 7. Date ปีที่จัดพิมพ์เผยแพร่เอกสารในรูปสิ่งพิมพ์ แนะนำให้ใช้แบบแผน ISO 8601 yyyy-mm-dd <p> 8. Type ประเภททรัพยากร ชนิดของเนื้อหาหรือประเภทของสารสนเทศ <p> 9. Format รูปลักษณ์ของทรัพยากร <p> 10. Identifier รหัสทรัพยากรสารสนเทศ รหัสที่ใช้ระบุว่าหมายถึงทรัพยากรรายการนั้น เช่น URL UR ISBN หรือเลขเรียกหนังสือ (Call no.) <p> 11. Source การอ้างอิงต้นฉบับของทรัพยากรซึ่งเป็นที่มาของการแปลง แปร หรือแปลทรัพยากรสู่รูปแบบปัจจุบัน <p> 12. Language ภาษาที่ใช้เรียบเรียงเนื้อหา <p> 13. Relation การอ้างอิงถึงทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง <p> 14. Coverage ระยะเวลาหรือขอบเขตเนื้อหาของทรัพยากร <p> 15. Rights ข้อมูลเกี่ยวกับผู้มีสิทธิในทรัพยากรนั้นๆ <p> ตัวอย่าง Dublin Core ในเอกสารเว็บ <p><a href ="http://www.thaiglossary.org/sites/default/files/20120526-Dublin-Core.jpg"><img src="http://www.thaiglossary.org/sites/default/files/20120526-Dublin-Core.jpg" alt="Dublin Core" width="670px"></a> <p>การที่ดับลินคอร์เมทาดาทาเป็นที่นิยมใช้ เนื่องจาก ผู้นำไปใช้ไม่จำเป็นต้องใช้หน่วยข้อมูลย่อยทั้งหมด สามารถเลือกใช้เท่าที่จำเป็นหรือต้องการ สามารถใช้หน่วยข้อมูลซ้ำได้ สามารถเพิ่มขยายหน่วยข้อมูลได้ตามความจำเป็น และใช้งานได้หลากหลายระบบ (Interoperability) และเป็นสากล <p>บรรณานุกรม: <p>Dublin Core Metadata Initiative. [ Online ]. Available: http://dublincore.org/ Accessed: 2012-05-26. <p>Dublin Core Tutorial. [ Online ]. Available: http://www.tutorialsonline.info/Common/DublinCore.html. Accessed: 2012-05-26. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |