Archival box | กล่องเอกสารจดหมายเหตุ, Example: กล่องเอกสารจดหมายเหตุ (Archival box) หมายถึง กล่องที่ใช้เก็บเอกสารจดหมายเหตุที่ได้จัดหมวดและจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยทุกขั้นตอนแล้ว เพื่อจัดวางบนชั้นเก็บต่อไป กล่องเอกสารจดหมายเหตุนี้เป็นกล่องมีฝาปิด ทำด้วยกระดาษแข็งเป็นกระดาษไร้กรด (Acid-free) และมีสารบัฟเฟอร์ที่จะต่อต้านกรดและมลพิษในบรรยากาศ ช่วยป้องกันฝุ่นสิ่งสกปรกและการแทรกซึมของแสง เป็นกล่องที่มีความแข็งแรงได้รับการออกแบบโดยเฉพาะสำหรับการจัดเก็บข้อมูลระยะยาวของเอกสารจดหมายเหตุ (ต้นฉบับเอกสาร จดหมาย วารสาร แผนที่ ภาพพิมพ์ รูปถ่าย ฯลฯ) สำหรับกล่องกระดาษแข็งจะทำจากใยที่ไม่ได้ฟอก และไม่มีสารส้มและชันสน (Alum/Rosin size) อนุภาคของโลหะ ไขผึ้ง สารที่ใส่ในโพลิเมอร์ (เช่น สารเพิ่มความแข็งแรงเมื่อเปียก) และมีกำมะถันน้อยกว่า 0.0008 % นอกจากนั้น พื้นผิวของกล่องจะไม่มีปม และรอยแตก มุมกล่องเสริมด้วยโลหะสร้างความปลอดภัยด้วยแนวตะเข็บต้านการบีบอัด แม้ในขณะที่วางซ้อนกันโดยไม่ต้องใช้กาวหรือลวดเย็บกระดาษ สีของกล่องโดยทั่วไปใช้สีกลาง ๆ กล่องเอกสารจดหมายเหตุนี้มีหลายขนาดและหลากหลายรูปแบบให้เหมาะกับการใช้ตามมาตรฐานของเอกสารจดหมายเหตุประเภทต่าง ๆ <p> <img alt="Archival box" src="http://www.thaiglossary.org/sites/default/files/20120907-archival-box.jpg" style="width: 200px; height: 140px" /></p> [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Archival materials | วัสดุจดหมายเหตุ [TU Subject Heading] |
Archival resources | ทรัพยากรจดหมายเหตุ [TU Subject Heading] |
Archival value | คุณค่าเอกสารจดหมายเหตุ, Example: คุณค่าเอกสารจดหมายเหตุเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเพื่อตัดสินใจเลือกว่าเอกสารใดควรเก็บรักษาเป็นเอกสารจดหมายเหตุและเอกสารใดควรทำลาย การประเมินคุณค่าเอกสารจดหมายเหตุมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกเอกสารที่มีคุณค่าสำคัญ เพื่อเก็บรักษาเป็นเอกสารจดหมายเหตุไว้ตลอดไป ดังนั้น การประเมินคุณค่าเอกสารจดหมายเหตุจึงเป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งในหลักวิชาการดำเนินงานจดหมายเหตุสากลและเป็นภารกิจหนึ่งที่สำคัญของนักจดหมายเหตุ ในการพิจารณาคุณค่าของเอกสารสามารถพิจารณาได้ ดังต่อไปนี้<br> <b>คุณค่าของเอกสารสามารถจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ </b><br> 1. คุณค่าขั้นต้น คือ การใช้ประโยชน์ในช่วงระยะแรกที่ได้จัดทำเอกสารขึ้นในด้านการบริหาร การปฏิบัติงาน หรือเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงทางกฎหมายและทางการเงิน โดยพิจารณาจาก หน้าที่หรือวัตถุประสงค์ของเอกสารที่มีต่อหน่วยงานหรือบุคคลที่จัดทำและใช้เอกสารนั้น<br> 2. คุณค่าขั้นรอง คือ คุณค่าที่มีหลังจากเอกสารสิ้นกระแสการปฏิบัติงานแล้ว ซึ่งยังสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานในการศึกษาค้นคว้าอ้างอิงในเรื่องเกี่ยวกับบุคคล สถานที่ เหตุการณ์ ประวัติ และพัฒนาการของหน่วยงาน <br> <b>คุณค่าของเอกสารที่ใช้กำหนดเป็นเกณฑ์สำหรับการประเมินคุณค่าเอกสารจดหมายเหตุ</b><br> 1. คุณค่าด้านการบริหาร คือ เอกสารที่เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน/บริหารของหน่วยงานในปัจจุบันหรือในอนาคต เช่น เอกสารนโยบาย แผนงาน คำสั่ง ระเบียบ ประกาศ รายงานการประชุม<br> 2. คุณค่าด้านกฎหมาย คือ เอกสารที่จัดทำขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด/รองรับ และเอกสารที่เป็นพยานถึงเหตุการณ์หรือข้อตกลง ซึ่งสามารถนำมาอ้างอิงทางกฎหมาย เช่น เอกสารทางด้านเอกสิทธิ์ สัญญาต่างๆ ข้อตกลง พระราชบัญญัติ โฉนด<br> 3. คุณค่าด้านการเงิน คือ เอกสารที่จำเป็นต่อการดำเนินงานเรื่องการเงิน งบประมาณ เช่น หลักฐานทางการเงิน เอกสารการใช้จ่ายงบประมาณ ประมาณการรายรับรายจ่าย<br> 4. คุณค่าทางประวัติศาสตร์ แสดงประวัติศาสตร์ของหน่วยงานที่ผ่านมา โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตและ กิจกรรมของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาพถ่าย โปสเตอร์ ของที่ระลึก จดหมาย<br> 5. คุณค่าด้านวิชาการ คือ เอกสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับบุคคล สถานที่ วัตถุสิ่งของ เหตุการณ์ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า วิจัย<br> นอกจากนี้ยังต้องใช้เทคนิคการประเมินด้วยการพิจารณาด้านกายภาพของเอกสารมาเป็นเกณฑ์การประเมินเพิ่มเติม เช่น ความสมบูรณ์ ความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ แล้วจึงนำข้อมูลและรายละเอียดที่ได้มาพิจารณาตัดสินใจและจัดทำเป็น “ตารางกำหนดอายุเอกสาร” เพื่อใช้เป็นแนวทางการพิจารณาหรือเป็นคู่มือในการจัดเก็บและทำลายเอกสารต่อไป [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |