ASEAN - China, Japan and the Republic of Korea Relationship | ความสัมพันธ์อาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธาณรัฐเกาหลี เป็นกลไกความร่วมมือใหม่ที่เริ่มมีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 ซึ่งผู้นำของ อาเซียน จีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ได้พบกันเป็นครั้งแรกที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยในปี พ.ศ. 2542 ผู้นำอาเซียน+3 ได้ออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (Joint Statement on East Asia Cooperation) เป็นหลักการพื้นฐานของการเสริมสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง [การทูต] |
ASEAN Award | รางวัลอาเซียน " แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทบุคคลและประเภทองค์กร เพื่อ ยกย่องและให้การรับรองผลงานที่มีความโดดเด่นในการส่งเสริมและการพัฒนาความ ร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน " [การทูต] |
ASEAN Centre for Energy | ศูนย์พลังงานอาเซียน " จัดตั้งขึ้นที่กรุงจาการ์ตา เมื่อเดือนมกราคม 2542 มีหน้าที่ในการแสวง หาความร่วมมือระหว่างสมาชิกอาเซียนและกับประเทศนอกภูมิภาคในการศึกษา วิจัยและดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาด้านพลังงาน " [การทูต] |
ASEAN Chambers of Commerce and Industry | สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอาเซียน เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างหอการค้าและอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน มีการประชุมประจำปี ๆ ละ 1-2 ครั้ง ในช่วงประมาณเดือนเมษายนและตุลาคมของทุกปี โดยหารือเรื่องความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างภาคเอกชนในอาเซียนและความร่วมมือ กับภาคเอกชนนอกภูมิภาค [การทูต] |
ASEAN Charter | กฎบัตรอาเซียน เป็นความตกลงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จะให้สถานะทางกฎหมายหรือนิติฐานะแก่อาเซียน และวางกรอบโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อทำให้อาเซียนเป็นหน่วยงานที่ยึดมั่นมาก ยิ่งขึ้นต่อกติกาและกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ประเทศสมาชิกร่วมกันกำหนดขึ้น อันจะนำมาซึ่งการเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนยังมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชน เป็นศูนย์กลางของความร่วมมือมากยิ่งขึ้นด้วยการจัดตั้งองค์กรใหม่ๆ เพื่อปกป้องและส่งเสริมผลประโยชน์ของประชาชนอาเซียน เช่น องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ร่วมลงนามกฎบัตรฯ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 [การทูต] |
ASEAN Committee in Beijing | คณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงปักกิ่ง " ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำกรุง ปักกิ่ง มีหน้าที่ในการประสานผลประโยชน์และเป็นกลไกกลางของ อาเซียนในการมีปฏิสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนที่กรุงปักกิ่ง [การทูต] |
ASEAN Committee in Seoul | คณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงโซล ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำ กรุงโซล มีหน้าที่ในการประสานผลประโยชน์และเป็นกลไกกลางของอาเซียนในการมีปฏิ สัมพันธ์กับสาธารณรัฐเกาหลีที่กรุงโซล [การทูต] |
ASEAN Committee in Tokyo | คณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงโตเกียว ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตอาเซียน 10 ประเทศซึ่งประจำที่กรุง โตเกียว มีการหารือเป็นประจำทุก 1-2 เดือน หรือตามความจำเป็น [การทูต] |
ASEAN Committee on Culture and Information | คณะกรรมการอาเซียนด้านวัฒนธรรมและสนเทศ [การทูต] |
ASEAN Committee on Science and Technology | คณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี " มีหน้าที่ดูแลความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศสมาชิกอา เซียนและกับประเทศคู่เจรจาและองค์กรอื่น ๆ ประชุมปีละ 2 ครั้ง โดยแยกเป็นอนุกรรมการ 9 คณะ คือ (1) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร (2) ด้านอุตุนิยมวิทยาและธรณีฟิสิกส์ (3) ด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (4) ด้านวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี (5) ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (6) ด้านการวิจัยพลังงานนอกแบบ (7) ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล (8) ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (9) ด้านเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ " [การทูต] |