เสียทองเท่าหัวไม่ยอมเสียผัวให้ใคร | ก. ไม่ยอมยกสามีให้หญิงอื่นแม้จะแลกกับทรัพย์สินเงินทองจำนวนมากก็ตาม. |
กฎหมายปิดปาก | น. หลักกฎหมายที่ไม่ยอมให้อ้างหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามพฤติการณ์ ไม่ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม. |
ก้นหนัก | ก. นั่งอยู่ที่ใดที่หนึ่งได้นาน ๆ ไม่ลุกหรือขยับเขยื้อนไปไหนง่าย ๆ เช่น แม่คนนี้ก้นหนัก ไปนั่งคุยอยู่บ้านเพื่อนตั้งแต่เช้ายังไม่ยอมกลับ. |
ก้มหัว | ก. น้อมหัวลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ, โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร. |
กระด้างกระเดื่อง | ว. ไม่อ่อนน้อม, เอาใจออกหากไม่ยอมอ่อนน้อมอย่างเคย. |
กระดูก ๓ | ว. ขี้เหนียวอย่างไม่ยอมให้อะไรแก่ใครง่าย ๆ เช่น เจ้านายคนนี้กระดูกจริง ๆ ดินสอแท่งเดียวก็ไม่ยอมให้เบิก. |
กระดูกขัดมัน | ว. ขี้เหนียวมากอย่างไม่ยอมให้อะไรแก่ใครง่าย ๆ เช่น แม่ค้าคนนี้กระดูกขัดมันเหลือเกิน เราซื้อผลไม้แกตั้งร้อยกว่าบาทขอแถมเงาะลูกหนึ่งก็ไม่ได้ |
กระต่ายสามขา | ว. ยืนกรานไม่ยอมรับ, กระต่ายขาเดียว ก็ว่า. |
กลับลำ | ก. เปลี่ยนความคิด เช่น เมื่อวานเขาให้สัมภาษณ์ว่าจะไม่ยอมให้มีวันหยุดชดเชย วันนี้กลับลำอนุญาตให้มีตามเดิมแล้ว. |
กอดเก้าอี้ | ก. ยึดตำแหน่ง, ไม่ยอมละตำแหน่ง, เช่น ไม่ว่างานของเขาจะล้มเหลวและก่อให้เกิดความเสียหายเพียงใด เขาก็กอดเก้าอี้แน่น ไม่ยอมลาออก. |
กาหลงรัง | น. ผู้ที่ไปหลงติดอยู่ ณ บ้านใดบ้านหนึ่งแล้วไม่ยอมกลับบ้านของตน, ผู้เร่ร่อนไปไม่มีที่พักพิงเป็นหลักแหล่ง. |
เก | ไม่ยอมปฏิบัติตามระเบียบ |
เกลือจิ้มเกลือ | ว. ไม่ยอมเสียเปรียบกัน, แก้เผ็ดให้สาสมกัน. น. คนเค็มต่อคนเค็มมาพบกัน. |
เกี่ยง | ก. อาการที่ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมทำเพราะกลัวจะเสียเปรียบกันเป็นต้น. |
โกง | ก. ใช้อุบายหรือเล่ห์เหลี่ยมหลอกลวง เช่น โกงเงิน, แสดงอาการดื้อไม่ยอมทำตาม เช่น เด็กโกง ม้าโกง. |
ขวนขวาย | (-ขฺวาย) ก. หมั่นเสาะแสวงหาเพิ่มเติมโดยไม่ยอมอยู่นิ่ง, ขวายขวน ก็ว่า. |
ขวายขวน | (ขฺวายขฺวน) ก. หมั่นเสาะแสวงหาเพิ่มเติมโดยไม่ยอมอยู่นิ่ง, ขวนขวาย ก็ว่า. |
ขัดข้อง | ก. ไม่ยอมให้ทำ, ไม่ตกลงด้วย, ติดขัด. |
ขัดใจ | ก. โกรธเพราะทำไม่ถูกใจ, ไม่ยอมให้ทำตามใจ. |
ขิงก็ราข่าก็แรง | ต่างก็จัดจ้านพอ ๆ กัน, ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอ ๆ กัน, ต่างไม่ยอมลดละกัน. |
ขี้แพ้ชวนตี | ก. แพ้ตามกติกาแล้วยังไม่ยอมรับว่าแพ้จะเอาชนะด้วยกำลัง, แพ้แล้วพาล. |
ขืน | ไม่ควรทำแต่ยังกล้าทำ เช่น ขืนกิน ขืนสู้, ไม่ยอมทำตาม เช่น ขืนคำสั่ง. |
เขยื้อน | (ขะเยื่อน) ก. ไหวตัวหรือเคลื่อนที่, ทำให้ไหวตัวหรือให้เคลื่อนที่, (มักใช้แก่ของหนัก) เช่น ตู้ใบนี้หนักมาก ดันเท่าไรไม่เขยื้อนเลย, โดยปริยายหมายความว่า ขยับตัว เช่น เรียกใช้ให้ทำงานเท่าไร ๆ ก็นั่งนิ่งไม่ยอมเขยื้อน. |
เข้า ๑ | ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายเร่งรัด เช่น เร็วเข้า คิดเข้า, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายมากขึ้น เช่น หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงสภาพหรือความรู้สึกที่เกิดมีขึ้น เช่น พอสวยเข้าก็มีหนุ่ม ๆ มารุมจีบ พอเหนื่อยเข้าก็อยากจะเลิกทำ, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายว่าหนุนให้ทำ (มักใช้ในความประชดประชัน) เช่น เอาเข้าไป ว่าแล้วยังไม่ยอมหยุด. |
แข็ง | ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, เช่น ใจแข็ง |
แข็งข้อ | ก. ไม่ยอมตาม, ตั้งข้อสู้. |
แข็งเมือง | ก. กลับตั้งเป็นอิสระ, ไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นอีกต่อไป. |
แข่งดี | ก. มุ่งเอาชนะชิงดีชิงเด่นโดยไม่ยอมลดราวาศอกให้แก่กัน, มุ่งเอาชนะชิงดีชิงเด่นโดยไม่ยอมผ่อนปรนให้แก่กัน. |
คว่ำบาตร | ก. ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย, เดิมหมายถึงสังฆกรรมที่พระสงฆ์ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ผู้ประทุษร้ายต่อศาสนาด้วยการไม่คบ ไม่รับบิณฑบาต เป็นต้น. |
คอเป็นเอ็น | ว. ขึ้นเสียงเถียงโต้อย่างไม่ยอมลดละ, เถียงเก่ง, เช่น หวงแหนหึงผัวตัวเป็นเกลียว จนเสียงขุ่นเสียงเขียวคอเป็นเอ็น (คาวี). |
คิดเล็กคิดน้อย | ก. คิดละเอียดถี่ถ้วนเกินไป ไม่ยอมเสียเปรียบใคร. |
โค่ง ๒ | น. คำเรียกผู้บรรพชาเป็นสามเณรมาจนอายุครบอุปสมบทเป็นภิกษุแต่ไม่ยอมอุปสมบท ว่า เณรโค่ง. |
งมงาย | ก. หลงเชื่อโดยไม่มีเหตุผล หรือโดยไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นหรือเหตุผลของผู้อื่น. |
จารีตนครบาล | น. วิธีไต่สวนพิจารณาคดีนครบาลซึ่งเป็นคดีโจรผู้ร้ายหรือคดีที่มีโทษหลวง เมื่อคนร้ายจนต่อพยานหลักฐานแล้วแต่ยังไม่ยอมรับสารภาพ โดยให้ใช้ได้ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น เฆี่ยน แต่ไม่ให้ถึงแก่ชีวิต. |
ใจแข็ง | ว. ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, อดกลั้นความเจ็บปวดหรือทุกข์โศกไว้ได้. |
ใจหิน | ว. มีใจโหดเหี้ยม, มีใจที่แข็งมากไม่ยอมโอนอ่อน, เช่น โจรใจหิน. |
ชักดาบ | ก. ไม่ยอมจ่ายเงิน. |
ชี้ตาไม่กระพริบ | ก. ดื้อมาก, สู้สายตาไม่ยอมแพ้, เช่น เหม่ ! ออนี่หนักหนา ชี้ตาไม่กระพริบเลย ว่าแล้วซิยังเฉยดื้อถือบุญ (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
เชื่อหน้า | ก. เชื่อในความซื่อสัตย์หรือความสามารถ เช่น ไม่มีใครเชื่อหน้าเขา เพราะชอบยืมเงินแล้วไม่ยอมใช้คืน นักกีฬาคนนี้แข่งแพ้อยู่เรื่อยจนไม่มีใครเชื่อหน้า. |
ดอกพิกุลร่วง | เรียกอาการที่นิ่งไม่ยอมพูด ว่า กลัวดอกพิกุลจะร่วง. |
ดันทุรัง | ว. ดื้อดึงไม่ยอมแพ้, ดื้อดึงไม่เข้าเรื่อง, ดัน ก็ว่า. |
ดีดดิ้น | ก. เล่นตัวอย่างมีจริตหรือตั้งแง่ไม่ยอมทำหรือไม่ยอมให้ทำง่าย ๆ. |
ดึงดื้อ | ว. ดื้อไม่ยอมฟังเหตุผล, ดื้อดึง ก็ว่า. |
ดื้อ | ว. ไม่ยอมเชื่อฟังหรือทำตาม. |
ดื้อด้าน | ว. ดื้อมากแม้จะถูกลงโทษ ติเตียน หรือตำหนิหลายครั้ง ก็ไม่เข็ดหลาบหรือไม่ยอมฟัง. |
ดื้อดึง | ว. ดื้อไม่ยอมฟังเหตุผล, ดึงดื้อ ก็ว่า. |
ดื้อแพ่ง | ก. ขัดขืนไม่ยอมปฏิบัติตาม, ขัดขืนไม่ยอมให้ความร่วมมือ. |
ตระหนี่ตัว | ก. หวงตัว ไม่ยอมให้ใครอุ้ม (ใช้แก่เด็ก). |
ตัดเชือก | ก. ตัดความสัมพันธ์ ไม่ยอมให้ความช่วยเหลืออีกต่อไป. น. การแข่งขันรอบ ๔ คนหรือ ๔ ทีมสุดท้าย. |
ตามอำเภอใจ | ว. เอาแต่ใจตัว ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น. |
Cap Rock | ชั้นหินที่ไม่ยอมให้ของเหลวหรือก๊าซไหลผ่าน, ชั้นหินที่ไม่ยอมให้ของเหลวหรือก๊าซไหลผ่าน ปิดทับอยู่ด้านบนของชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียม และปิดกั้นไม่ให้ไฮโดรคาร์บอนหนีออกมาถึงพื้นผิวดินได้ [ปิโตรเลี่ยม] |
Rejection | สำนักงานสิทธิบัตรปฏิเสธ ไม่ยอมรับคำขอรับสิทธิบัตร [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
Consular office Declared ?Non grata? | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น [การทูต] |
Good Offices และ Mediation | วิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยฉันมิตร คำว่า Good Offices หมายถึง การช่วยเป็นสื่อกลาง ส่วน Mediation หมายถึง การไกล่เกลี่ยศัพท์ทั้งสองนี้หมายถึงวิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ โดยฉันมิตร กล่าวคือ ในกรณีข้อพิพาทซึ่งการเจรจากันทางการทูตไม่สามารถตกลงกันได้ง่าย ๆ ดังนั้น รัฐที่สามอาจยื่นมือเข้าช่วยเป็นสื่อกลาง หน้าที่ในการนี้มิใช่ออกความเห็นหรือวินิจฉัยชี้ขาดว่าใครถูกใครผิดในกรณี ข้อพิพาท หากเป็นแต่เพียงแสวงหาลู่ทางที่จะระงับข้อพิพาทจะต้องมีให้น้อยที่สุดเท่า ที่จะทำได้ และถือว่าเป็นกาดรกระทำฉันมิตร (Friendly act) คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธข้อเสนอได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดทางการ เมือง หรือคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจขอร้องให้ช่วยเป็นสื่อกลาง หรือให้ช่วยไกล่เกลี่ย ตามธรรมดาการช่วยเป็นสื่อกลางนั้นเป็นเพียงการเข้าช่วยงานพื้นฐาน หรือให้มีการเริ่มต้นการเจรจาเท่านั้น ส่วนงานเจรจาที่จะกระทำโดยตรงกว่าจะมีลักษณะเป็นการไกล่เกลี่ย แต่ในทางปฏิบัติไม่ค่อยมีการคำนึงกันนักถึงความแตกต่างจริงๆ ระหว่างวิธีทั้งสอง คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธไม่ยอมรับการไกล่เกลี่ยไม่ว่าเวลาใดก็ได้ จะเห็นได้ว่า การช่วยเป็นสื่อกลางกับการไกล่เกลี่ยนั้นแตกต่างกัน คือ ในกรณีการช่วยเป็นสื่อกลาง ฝ่ายที่สามจะกระทำแต่เพียงช่วยให้มีการหันหน้าเข้าเจรจากันระหว่างคู่พิพาท ส่วนในกรณีการไกล่เกลี่ย ฝ่ายที่สามพยายามจัดให้มีการเจรจากันจริง ๆ ตามมูลฐานข้อเสนอของตน ฝ่ายที่เสนอช่วยเป็นสื่อกลางหรือช่วยไกล่เกลี่ยนั้น อาจจะมาจากประเทศที่สาม หรือจากองค์การระหว่างประเทศ หรือจากบุคคลธรรมดาคนหนึ่งก็ได้ [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Iron Curtain | ม่านเหล็ก เป็นศัพท์ที่อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ผู้ล่วงลับไปแล้ว คือ เซอร์วินสตัน เชอชิลล์ เป็นผู้บัญญัติขึ้นหมายถึงเครื่องกีดขวางปิดกั้นเขต ซึ่งโซเวียตรัสเซียและประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกไม่ยอมให้มีการ ติดต่อหรือเดินทางเข้าไปในอาณาเขตของประเทศดังกล่าว ที่เรียกกันว่า ประเทศหลังม่านเหล็ก เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองในระหว่างสงครามเย็น แต่ภายหลังที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ล่มสลาย ม่านเหล็กก็พลอยหมดสภาพไปในที่สุด [การทูต] |
Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] |
Niccolo Machiavelli (1469-1527) | คือรัฐบุรุษและปรัชญาเมธีทางการเมืองของสาธารณรัฐ ฟลอเรนส์ (Florence) ระหว่างรับราชการ ท่านดำรงตำแหน่งฝ่ายธุรการหลายตำแหน่งซึ่งไม่สู้มีความสำคัญเท่าใด แต่สิ่งที่ท่านสนใจมากที่สุดได้แก่ศิลปะของการเมือง หนังสือสำคัญ ๆ ที่ท่านประพันธ์ขึ้นไว้คือ The Prince เล่มหนึ่ง อีกเล่มหนึ่งชื่อ The Art of War และอีกเล่มหนึ่งคือ Discourses on the First Ten Books of Livyมีนักเขียนหลายคนวิพากษ์ Machiavelli ที่แสดงความเห็นสนับสนุนว่า รัฐบาลใดก็ตมที่ต้องการรักษาอำนาจการปกครองตนให้เข้มแข็งไว้ ย่อมจะใช้วิถีทางใด ๆ ก็ได้ ถึงแม้หนทางเช่นนั้นจะผิดกฎหมายหรือไร้ศีลธรรมก็ตาม และก็มีนักเขียนอีกหลายคนสนับสนุนท่าน โดยชี้ให้เห็นว่า ท่านเป็นแต่เพียงตีแผ่ให้เห็นพฤติกรรมที่แท้จริงของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในยุคสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่มากกว่าอย่างอื่น อาทิเช่น ในหนังสือ The Prince ของท่านตอนหนึ่งอ้างว่า การต่อสู้นั้นมีอยู่สองวิธี วิธีแรกเป็นการต่อสู้โดยวิถีทางกฎหมาย อีกวิธีหนึ่งคือการต่อสู้โดยใช้กำลัง (Force) วิธีแรกนั้นเป็นวิธีที่มนุษย์พึงใช้ ส่วนวิธีที่สองเป็นวิธีเยี่ยงสัตว์ป่า แต่การใช้วิธีแรกมักจะไม่ค่อยได้ผลเสมอไป เพราะไม่เพียงพอ ก็ย่อมจะหันเข้าใช้วิธีที่สองได้ ฉะนั้น ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้น ซึ่ง Machiavelli เรียกว่า Prince จึงจำเป็นต้องรู้ดีว่าจะใช้ทั้งวิธีที่มนุษย์จะพึงใช้ และวิธีเยี่ยงสัตว์ป่าอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้นไม่จำเป็นต้องมีสัจธรรม หากการกระทำนั้น ๆ จะทำความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของประเทศ ท่านเห็นว่า หากมนุษย์ทุกคนเป็นคนดี กฎเช่นนี้ก็เป็นกฎที่ไม่ถูกต้อง แต่โดยที่มนุษย์ไม่ใช่คนดีทั้งหมด ในเมื่อเขาไม่ยอมให้ความศรัทธาความไว้วางใจในตัวท่าน ก็ไม่มีอะไรที่จะมาห้ามมิให้ท่านเลิกศรัทธากับเขาเหล่านั้นได้ [การทูต] |
persona non grata | บุคคลทางการทูตที่รัฐผู้รับไม่ยอมรับ เช่น กรณีนักการทูตทำผิดกฎหมายหรือข้อบังคับทางศาสนาในประเทศที่พำนักอยู่ จนทางรัฐบาลของประเทศนั้นไม่อาจยอมรับได้และต้องให้เดินทางกลับออกนอกประเทศ นั้น อย่างไรก็ตาม นักการทูตอาจถูกรัฐบาลของรัฐผู้รับให้ออกนอกประเทศเป็น persona non grata ด้วยเหตุผลของการดำเนินการโต้ตอบทางการเมืองระหว่างรัฐผู้รับและรัฐผู้ส่งก็ เป็นได้ โดยที่นักการทูตผู้นั้นมิได้กระทำผิดกฎหมายของรัฐผู้รับหรือกระทำผิดทาง ศาสนาของรัฐผู้รับแต่อย่างใด [การทูต] |
Potsdam Proclamation | คือคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม ออกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 โดยหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน ลงนามโดยประธานาธิบดีของรัฐบาลจีนคณะชาติ เป็นคำประกาศเมื่อตอนใกล้จะเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฝ่ายสัมพันธมิตรดังกล่าวกำลังทำสงครามขับเคี่ยวอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่น พึงสังเกตว่า สหภาพโซเวียต ในตอนนั้นมิได้มีส่วนร่วมในการออกคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดมแต่อย่างใดโดยแท้จริงแล้ว คำประกาศนี้เท่ากับเป็นการยื่นคำขาดให้ฝ่ายญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกเอาว่าจะทำ การสู้รบต่อไป หรือจะยอมจำนนเพื่อยุติสงคราม คำประกาศได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า หากญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะสู้รบต่อไป แสนยานุภาพอันมหาศาลของสัมพันธมิตรก็จะมุ่งหน้าโจมตีบดขยี้กองทัพและประเทศ ญี่ปุ่นให้แหลกลาญ แต่หากว่าญี่ปุ่นยอมโดยคำนึงถึงเหตุผล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ตั้งเงื่อนไขไว้หลายข้อ สรุปแล้วก็คือ ลัทธิถืออำนาจทหารเป็นใหญ่จะต้องถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปจากโลกอำนาจและอิทธิพล ของบรรดาผู้ที่ชักนำให้พลเมืองญี่ปุ่นหลงผิด โดยกระโจนเข้าสู่สงครามเพื่อครองโลกนั้น จะต้องถูกทำลายให้สิ้นซาก รวมทั้งพลังอำนาจในการก่อสงครามของญี่ปุ่นด้วยจุดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด จะต้องถูกยึดครองไว้จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของสัมพันธมิตรเป็นผล สำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นให้จำกัดอยู่เฉพาะภายในเกาะฮอนซู ฮ็อกไกโด กิวชู ชิโกกุ และเกาะเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด อาชญากรสงครามทุกคนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาล รวมทั้งที่ทำทารุณโหดร้ายต่อเชลยศึกของสัมพันธมิตร รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องกำจัดสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่เป็นอุปสรรคต่อการรื้อฟื้น และเสริมสร้างความเชื่อถือในหลักประชาธิปไตยในระหว่างพลเมืองญี่ปุ่น และจัดให้มีเสรีภาพในการพูด การนับถือศาสนา และในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมที่จะเกื้อกูลต่อภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถที่จะชำระค่าปฏิกรรมสงคราม แต่จะไม่ยอมให้คงไว้ซึ่งกิจการอุตสาหกรรมชนิดที่จะช่วยให้ญี่ปุ่นสร้างสม อาวุธเพื่อทำสงครามขึ้นมาอีก ในทีสุด กำลังทหารสัมพันธมิตรจะถอนตัวออกจากประเทศญี่ปุ่นในทันทีที่จุดประสงค์ต่าง ๆ ได้บรรลุผลเรียบร้อยแล้ว ในตอนท้ายของเงื่อนไข สัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เสียโดยไว [การทูต] |
United Nations Emergency Force | กองกำลังฉุกเฉินของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 สมัชชาแห่งสหประชาชาติได้ขอรัองให้เลขาธิการสหประชาชาติเสนอแผนการภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติของสหประชาชาติ โดยได้รับอนุมัติจากชาติที่เกี่ยวข้อง ให้ทำหน้าที่ยุติและควบคุมดูแลการหยุดรบในประเทศอียิปต์ วันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 5 พฤศจิกายน สมัชชาก็ได้ลงมติให้จัดตั้งกองบัญชาการแห่งสหประชาชาติขึ้นปรากฏว่า ผู้แทนของสหภาพโซเวียตได้กล่าวอ้างว่า การจัดตั้งกองกำลังดังกล่าวเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ โดยยกบทที่ 7 ของกฎบัตรขึ้นมาอ้างว่า คณะมนตรีความมั่นคงองค์กรเดียวเท่านั้น ที่กฎบัตรให้อำนาจจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติได้ ด้วยเหตุนี้ สหภาพโซเวียตและอีกบางประเทศจึงแถลงว่า จะไม่ยอมมีส่วนร่วมในการออกเงินค่าใช้จ่ายสำหรับกองกำลังดังกล่าวโดยเด็ดขาด พึงสังเกตว่า การที่สหภาพโซเวียตอ้างยืนยันว่า คณะมนตรีความมั่นคงเท่านั้นที่กฎบัตรสหประชาชาติให้อำนาจตั้งกองกำลังสห ประชาชาติได้ ก็เพราะหากยินยอมตามข้ออ้างของสหภาพโซเวียตดังกล่าว จะไม่มีทางจัดตั้งกองกำลังขึ้นได้เลย เพราะสหภาพโซเวียตจะใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคงอย่างไม่ต้องสงสัย [การทูต] |
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] |
Allograft, Rejection of | การไม่ยอมรับเนื้อเยื่อที่นำมาปลูกฝัง [การแพทย์] |
Denial | ไม่ยอมรับรู้, ปฏิเสธ, ไม่ยอมรับความเป็นจริง, การปฏิเสธ [การแพทย์] |
Disapproval | ไม่ยอมรับ [การแพทย์] |
Foreign Tissue, Rejection of | การไม่ยอมรับสิ่งแปลกปลอม [การแพทย์] |
capacitor | ตัวเก็บประจุ, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งมีสมบัติในการเก็บประจุไฟฟ้า ตัวเก็บประจุอย่างง่าย ๆ ประกอบด้วยแผ่น ตัวนำคู่เดียวหรือหลายคู่ซึ่งมีฉนวนคั่นระหว่าง แผ่นตัวนำ มีสมบัติสำคัญ อีกประการหนึ่ง คือให้ไฟฟ้ากระแสสลับผ่านได้แต่ไม่ยอมให้ไฟฟ้า กระแสตรงผ่าน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Mutism | การไม่ยอมพูด, ใบ้, ความเป็นใบ้, การไม่พูดเพราะเหตุผลในจิตสำนึกและจิตไร้สำนึก, พูดไม่ได้ [การแพทย์] |
ageless | (adj) ไม่ยอมแก่ |
argue with | (phrv) ไม่เห็นด้วยกับ, See also: ไม่ยอมรับความจริงว่า, Syn. disagree with, quarrel with |
blacklist | (n) รายชื่อผู้ที่รัฐบาลไม่ยอมรับหรือต้องถูกหลีกเลี่ยง |
broach | (vt) เริ่มพูดคุยในเรื่องที่น่าอับอายหรือคนอื่นไม่ยอมรับ |
baulk at | (phrv) คัดค้าน, See also: ไม่ยอมทำตาม, Syn. balk at |
be on the safe side | (idm) ไม่ยอมเสี่ยง |
brush off | (phrv) ไม่ยอมรับฟัง, See also: ปฏิเสธ |
chuck out | (phrv) ไม่ยอมรับ, See also: ปฏิเสธ, Syn. fling out, hurl out |
cry down | (phrv) ไม่ยอมรับ, See also: ปฏิเสธ |
cry out against | (phrv) ไม่ยอมรับ |
decide against | (phrv) ตัดสินใจไม่ยอมรับ, Syn. decide on |
deny to | (phrv) ปฏิเสธ, See also: ไม่ยอมรับ, Syn. refuse to |
dig in one's heels | (idm) ดื้อรั้น, See also: มุ่งมั่น, ไม่ยอมเปลี่ยนใจ |
dig one's heels in | (idm) ดื้อรั้น, See also: มุ่งมั่น, ไม่ยอมเปลี่ยนใจ |
dirty look | (idm) สีหน้าไม่ยอมรับ, See also: หน้าบอกบุญไม่รับ, สีหน้าไม่ชอบ |
disapprove of | (phrv) ไม่ยอมรับ, See also: ไม่อนุมัติ, Ant. approve of |
fling out | (phrv) ปฏิเสธ (คำแนะนำ, กฎหมาย), See also: ไม่ยอมรับ, Syn. chuck out, hurl out, throw out, toss out |
freeze off | (phrv) ปฏิเสธ, See also: ไม่ยอมรับ |
frown at | (phrv) ไม่ยอมรับ, See also: ไม่อนุมัติ, Syn. frown on |
frown on | (phrv) ไม่ยอมรับ, See also: ไม่อนุมัติ, Syn. frown at, frown upon |
frown upon | (phrv) ไม่ยอมรับ, See also: ไม่อนุมัติ, Syn. frown at, frown on |
deaf | (adj) หูหนวก, See also: ซึ่งไม่ได้ยิน, ไม่ยอมฟัง, ไม่เชื่อฟัง, Syn. obstinate, stubborn, unhearing |
decline | (vt) ปฏิเสธ, See also: บอกปัด, ไม่ยอมรับ, ไม่รับสมัคร, Syn. pass up, refuse, spurn, Ant. accept |
decline | (vi) ปฏิเสธ, See also: บอกปัด, ไม่ยอมรับ, ไม่รับสมัคร, Syn. fail to accept, refuse, reject, spurn, Ant. accept |
defaulter | (n) ผู้ไม่ยอมชำระหนี้, See also: ผู้ขาดชำระ, ผู้ค้างชำระ, Syn. avoider |
defiance | (n) การท้าทาย, See also: การไม่ยอมทำตาม, การแข็งขืน, การไม่เชื่อฟัง, Syn. opposition, antagonism, Ant. compliance |
defiant | (adj) แสดงการท้าทาย, See also: ไม่ยอมทำตาม, ไม่เชื่อฟัง, แข็งขืน, ยั่ว, Syn. resistant, insubordinate, challenging |
definitiveness | (n) การสรุปขั้นสุดท้าย, See also: การตัดสินใจขั้นเด็ดขาด, การไม่ยอมเปลี่ยนแปลง, Syn. finality |
demur | (vi) ไม่ยอมทำตาม, See also: ปฏิเสธที่จะทำตามที่ได้ถูกร้องขอให้ทำ, คัดค้าน, ปฏิเสธ, รีรอ, Syn. disagree, dispute, challenge |
denial | (n) การปฎิเสธ, See also: การไม่ยอมรับ, Syn. disovowal, rejection |
denier | (n) ผู้ปฏิเสธ, See also: ผู้ไม่ยอมรับ, Syn. unbeliever |
deny | (vt) ปฏิเสธ, See also: ไม่ยอมรับ, ไม่ยอมเชื่อ, ไม่เห็นด้วย, Syn. refuse, Ant. admit, accept, affirm |
determined | (adj) ดื้อดึง, See also: ไม่ประนีประนอม, ดึงดัน, ซึ่งไม่ยอมเปลี่ยน, Syn. firm, strong-minded, stubborn |
diehard | (adj) หัวดื้อ, See also: หัวรั้น, ซึ่งไม่ยอมเปลี่ยนแปลง, Syn. conservative, unchanging |
disapproval | (n) ความไม่เห็นด้วย, See also: ความไม่ชอบ, การไม่ยอมรับ, Syn. dismissal, refusal, Ant. acceptance, welcome |
disapprove | (vt) ไม่เห็นด้วย, See also: ไม่ชอบ, ไม่ยอมรับ, Syn. dislike, disesteem, Ant. like, favor, esteem |
disapproving | (adj) ซึ่งไม่เห็นด้วย, See also: ซึ่งไม่ยอมรับ |
disclaim | (vt) ไม่ยอมรับ, See also: ปฏิเสธ, Syn. deny, contradict, disaffirm, Ant. comfirm, affirm |
disfavor | (n) ความไม่ชอบ, See also: การไม่ยอมรับ, การปฏิเสธ, Syn. disapproval, disesteem, objection, Ant. approval, admiration, respect |
disfavor | (vt) ไม่ชอบ, See also: ไม่ยอมรับ, ปฏิเสธ, Syn. dislike, disapprove, Ant. like, favor, esteem |
disfavour | (n) ความไม่ชอบ, See also: การไม่ยอมรับ, การปฏิเสธ, Syn. disapproval, disesteem, Ant. approval, respect |
disfavour | (vt) ไม่ชอบ, See also: ไม่ยอมรับ, ปฏิเสธ, Syn. dislike, disapproval, Ant. like, favour, esteem |
dislike | (vt) ไม่ชอบ, See also: ไม่ยอมรับ, ปฏิเสธ, Syn. disesteem, displeasure |
fink | (n) คนที่ยังทำงานในขณะที่คนอื่นผละงานประท้วง (คำสแลง), See also: คนงานที่ไม่ยอมหยุดงานขณะมีการประท้วงหยุดงาน, Syn. strikebreaker, scab |
get over | (phrv) พิสูจน์, See also: ไม่ยอมรับ, บอกปัด |
have a distaste for | (idm) ไม่ยอมรับ, See also: ไม่ชอบ |
have misgivings about | (idm) สงสัย, See also: ไม่แน่ใจ, ยังไม่ยอมรับ, กังขา |
have reservations about | (idm) สงสัย, See also: ไม่แน่ใจ, ยังไม่ยอมรับ, กังขา |
hoot down | (phrv) ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับต่อสาธารณชน, Syn. howl down |
hoot off | (phrv) ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับต่อสาธารณชน, Syn. howl down |
abc | (เอบีซี) ย่อมาจาก Atanasoff-Berry Computer ว่ากันว่า เป็นชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลก (หนังสือบางเล่มว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกมีชื่อว่า ENIAC) ศาสตราจารย์ John Atanasoff แห่งมหาวิทยาลัยไอโอวา และ Clifford Berry เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องเอบีซีนี้เมื่อราวทศวรรษ 1940 ABEND การหยุดงานผิดปกติ <คำแปล>ย่อมาจาก abnormal end of task หมายถึงการหยุดงานที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้มีคำสั่งให้หยุดในโปรแกรมหรือชุดคำสั่งมักจะเกิดขึ้น เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกสั่งให้ปฏิบัติงานหนึ่งงานใด แล้วไม่ยอมปฏิบัติ อาจจะเป็นเพราะเครื่องเสีย หรือโปรแกรมผิดพลาด |
ageless | (เอจฺ' เลส) adj. ไม่ยอมแก่, ไม่ยอมล้าสมัย, ชั่วกาลปาวสาน, ตลอดไป, Syn. eternal |
cast-iron | adj. ทำด้วยเหล็กหล่อ, แข็งแกร่ง, ไม่ยอมแพ้ |
conchy | (คอง'ชี) n. การไม่ยอมเข้ารับราชการทหาร |
contumacious | (คอนทุเม'เชิส) adj. ดื้อรั้น, แข็งข้อ, ไม่ยอมเชื่อฟัง, See also: contumacity n. ดูcontumacious, Syn. obdurate |
cop-out | (คอพ'เอาท) n. การไม่ยอมรับผิดชอบ, การไม่ยอมปฏิบัติตามคำมั่นหรือสัญญา, ผู้ที่ชองละทิ้ง |
deaf | (เดฟ) adj. หูหนวก, ไม่ยอมฟัง, ไม่เชื่อฟัง., See also: deafness n. ดูdeaf |
decline | (ดิไคลน') vi., n. (การ) เอียง, ลาด, เสื่อมลง, ปฏิเสธ, บอกปัด, ไม่ยอม, Syn. lessen |
default | (ดิฟอลทฺ') v., n. (การ) ไม่ยอมชำระหนี้, ไม่เข้าร่วมแข่ง, แพ้การแข่งขันเนื่องจากไม่มาแข่ง, ไม่ปฏิบัติตามสัญญา, แพ้คดีเพราะไม่ยอมมาศาล, ทางเลือกก่อนเมื่อไร้ทางเลือก, Syn. failure ค่าโดยปริยายค่าเริ่มต้นหมายถึง ค่าค่าหนึ่งที่กำหนดไว้ในโปรแกรมสำเร็จ ทุกโปรแกรม ให้เป็นค่าที่ใช้ในตอนเริ่มต้นโปรแกรม ทุกครั้งที่เรียกโปรแกรมนี้ใช้ คอมพิวเตอร์ก็จะใช้ค่าที่ตั้งไว้นี้ เช่น ในโปรแกรม Page Maker กำหนดค่าเริ่มต้นไว้ว่า ให้ขนาดของหน้าเป็น A4 ทุกครั้งที่มีการเรียกใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ก็จะกำหนดขนาดของหน้ามาเป็น A4 ก่อนเสมอ หากต้องการเปลี่ยนแปลงภายหลัง ก็ย่อมทำได้ |
denial | (ดิไน'เอิล) n. การปฏิเสธ, การบอกปัด, การไม่ยอมรับ, การบังคับใจตัวเอง, การไม่ยอมตามใจตัวเอง |
denier | (ดิไน'เออะ) n. ผู้ปฏิเสธ, ผู้ไม่ยอมรับ |
deny | (ดิไน') { denied, denying, denies } vt. ปฎิเสธ, ไม่ยอมรับ, ไม่ตกลง, บังคับใจตัวเอง, Syn. dispute, Ant. affirm |
die-hard | (ได'ฮาร์ด) n. คนหัวดื้อที่สุด, คนที่ไม่ยอมแพ้ต่อเหตุการณ์ที่หมดหวัง |
diehard | (ได'ฮาร์ด) n. คนหัวดื้อที่สุด, คนที่ไม่ยอมแพ้ต่อเหตุการณ์ที่หมดหวัง |
disallow | (ดิสอะเลา') vt. ไม่ยอม, ไม่ยอมให้มี, ไม่ยอมรับความจริง, ปฏิเสธ, ไม่อนุญาต, See also: disallowable adj. disallowance n. |
disavow | (ดิสอะเวา') vt. บอกปัด, ไม่ยอมรับ, ปฏิเสธ (การรับภาระ) ., See also: disavowal n. ดูdisavow |
disclaim | (ดิสเคลม') vt., vi. ไม่ยอมรับ, สละสิทธิ, ละทิ้ง, ปฏิเสธความเป็นเจ้าของ, ออกตัว |
disclaimer | (ดิสเคล'เมอะ) n. ผู้สละสิทธิ์, ผู้ไม้ยอมรับ, การไม่ยอมรับ, การสละสิทธิ์, คำพูด ข้อเขียนหรือเอกสารสละสิทธิ์ |
disclamation | (ดิสคละเม'เชิน) n. การสละสิทธิ์, การปฏิเสธความเป็นเจ้าของ, การไม่ยอมรับ |
dishonor | (ดิสออน'เนอะ) n. ความเสื่อมเกียรติ, ความอัปยศอดสู, ความดูถูก, การไม่ยอมรับตั๋วเงิน, การไม่ยอมจ่ายเงินสำหรับตั๋วเงิน, Syn. disgrace |
dishonour | (ดิสออน'เนอะ) n. ความเสื่อมเกียรติ, ความอัปยศอดสู, ความดูถูก, การไม่ยอมรับตั๋วเงิน, การไม่ยอมจ่ายเงินสำหรับตั๋วเงิน, Syn. disgrace |
disown | (ดิสโอน') vt. บอกปัด, ไม่ยอมรับ, ไม่ยอมรับเป็นเจ้าของ, ปฎิเสธ., Syn. repudiate |
flour | (เฟลา'เออะ) n. แป้ง, แป้งหมี่, แป้งข้าว, ผงละเอียดอ่อน. vt. ทำให้เป็นแป้ง, บดให้ป่นเป็นแป้ง, โรยแป้ง, ลงแป้ง vi. ไม่ยอมรวมตัวกับโลหะอื่นเลยเป็นเม็ดเล็ก ๆ อยู่บนผิวหน้าของโลหะนั้น |
god forbid! | ไม่ได้อย่างแน่นอน, พระเจ้าไม่ยอม |
hard core | บุคคลที่เป็นแกนกลาง, หัวกะทิ, ผู้ไม่ยอมใครง่าย ๆ, Syn. rigid, diehard, extreme |
hard-core | adj. ไม่ยอมใครง่าย ๆ , ดื้อรั้น, เอาจริงเอาจัง, Syn. absolute |
heathen | (ฮี'เธิน) n. คนนอกศาสนา, คนที่ไม่ยอมเชื่อว่ามีพระเจ้า, คนที่ไม่นับถือศาสนาคริสต์หรือยิว, คนป่าเถื่อน adj. ไม่มีศาสนา, นอกศาสนา, นอกรีต, ป่าเถื่อน., See also: heathenness n., Syn. infidel, pagan, idolater, atheist, agnostic คำศั |
hellbent | (เฮล'เบนทฺ) adj. ดื้อรั้น, มุ่งหน้าอย่างไม่ยอมกลับ |
holdout | n. การยึดหน่วง, คนที่ไม่ยอมเข้าร่วมกิจการ |
ignore | (อิกนอรฺ') vi. ไม่สนใจ, ละเลย, ไม่ยอมรับรู้., See also: ignorable adj. ignorer n., Syn. disregard, Ant. heed |
immovable | (อิมูฟ'วะเบิล) adj. เคลื่อนไม่ได้, หยุดนิ่ง, ไม่เปลี่ยนแปลง, ไร้อารมณ์, เมินเฉย, ไม่ยอมแพ้, ยืนยัน, เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์. n. สิ่งที่เคลื่อนไม่ได้., See also: immovables n. อสังหาริมทรัพย์. immovability, immovableness n. immovably adv. คำที่ม |
immoveable | (อิมูฟ'วะเบิล) adj. เคลื่อนไม่ได้, หยุดนิ่ง, ไม่เปลี่ยนแปลง, ไร้อารมณ์, เมินเฉย, ไม่ยอมแพ้, ยืนยัน, เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์. n. สิ่งที่เคลื่อนไม่ได้., See also: immovables n. อสังหาริมทรัพย์. immovability, immovableness n. immovably adv. คำที่ม |
impenetrable | (อิมเพน' นิทระเบิล) adj. ซึ่งผ่านเข้าไปไม่ได้, ไม่ยอมรับ, หัวดื้อ, เข้าใจยาก., See also: impenetrableness n. impenetrably adv. |
impenitent | (อิมเพน' นิเทินทฺ) adj. ไม่สำนึกผิด, หัวดื้อ, ดื้อดึง, ไม่ยอม., See also: impenitence, impenitency, impenitentness n. impenitently adv., Syn. remorseless |
impermissible | (อิมเพอมิส' ซะเบิล) adj. ไม่อนุญาต, ไม่ยอม., See also: impermissibility n. |
incompliant | (อินคัมไพล' เอินทฺ) adj. ไม่ยอม, ไม่ยินยอม, ไม่อนุโลม., See also: incompliance, incompliancy n. |
inelastic | (อินอิแลส'ทิค) adj. ไม่ยืดหยุ่น, ไม่ปรับตัว, ไม่พลิกแพลง, ไม่ยอม., See also: inelasticity n., Syn. inflexible |
inexorable | (อินเอค'เซอระเบิล) adj. ไม่ยอมแพ้, ไม่ย่อท้อ, ไม่เปลี่ยนแปลง, ยืนหยัด, เหนียวแน่น, ไม่ปราณี, ไม่ยอมผ่อนปรน., See also: inexorability, inexorableness n. inexorably adv., Syn. unyielding |
inflexible | (อินเฟลค'ซะเบิล) adj. ไม่ยืดหยุ่น, ไม่ปรับตัว, งอไม่ได้, แน่วแน่, ดื้อรั้น, ไม่ยอม, มั่นคง, ไม่เปลี่ยนแปลง., See also: inflexibility, inflexibleness n. inflexibly adv., Syn. firm, Ant. flexible |
intolerant | (อินทอล'เลเรินทฺ) adj. ซึ่งทนไม่ได้, ไม่อดทน, ไม่อดกลั้น, ไม่ยอม, ถือทิฐิ., Syn. narrow-minded |
intransigent | (อินแทรน'ซิเจินทฺ) adj. ไม่ประนีประนอม, ไม่ยอม, ไม่ยอมอ่อนข้อ, ดื้อ, หัวแข็ง., Syn. uncompromising |
martyr | (มาร์'เทอะ) n. ผู้ยอมรับการทรมานจากความตายแต่ไม่ยอมละทิ้งซึ่งศาสนา ความเชื่อหรืออุดมการณ์ของตัว, ผู้ได้รับการทรมานอย่างรุนแรงหรือเนืองนิจ, ผู้เรียกร้องความเห็นอกเห็นใจหรือความสนใจโดยแสร้งได้รับความทุกข์ทรมานหรืออื่น ๆ, See also: martyrly adv. adj. |
miscreant | (มิส'ครีเอินทฺ) adj. สารเลว, เข้าใจผิด, เชื่อในสิ่งที่ผิด. n. คนสารเลว, คนชั่วร้าย, ผู้นอกรีต, ผู้ไม่ยอมเชื่อ, Syn. villain, wretch |
nonconforming | (นอนคันฟอรฺ'มิง) adj. ซึ่งไม่ลงรอยกัน, ซึ่งไม่ยอมเข้าร่วม |
object | (ออบ'เจคทฺ) { objected, objecting, objects } n. สิ่งของ, วัตถุ, สิ่งที่เข้าใจได้, เรื่อง, เรื่องราว, จดหมาย, เป้าหมาย, วัตถุประสงค์, กรรมของกริยาหรือบุพบท, ภาวะวิสัย. vi. (ออบเจคทฺ') คัดค้าน, ไม่เห็นด้วย, รังเกียจ, ไม่ยอม. vt. คัดค้าน., See also: objector n. |
overrule | (โอ'เวอะรูล) adj. ตีกลับ, ลบล้าง, ไม่ยอมตาย, ส่งกลับ, ปกครอง, ใช้อำนาจเหนือ, บังคับอยู่, พิชิต, See also: overruler n., Syn. cancel |
passive resistance | n. การต่อต้านรัฐบาลหรือกฎหมายโดยการไม่ยอมร่วมมือหรือวิธีรุนแรงอื่น ๆ, See also: passive resister n. |
refractory | (รีแฟรค'ทอรี) adj. ดื้อ, ดื้อรั้น, รั้น, ดื้อดึง, ไม่ยอมอ่อนข้อ, ไม่อ่อนน้อม, หัวแข็ง, พยศ, (โรค) รักษายาก, ดื้อยา, ต้านโรค, หลอมยาก, Syn. obstinate, headstrong |
refusable | (รีฟิว'ซะเบิล) adj. ปฏิเสธได้, ไม่ยอมได้, บอกปัดได้, |
refusal | (รีฟิว'เซิล) n. การปฏิเสธ, การไม่ยอม, การบอกปัด, Syn. rejection, denial, veto |
bilk | (vt) โกง, หนีหนี้, ไม่ยอมจ่ายเงิน |
deaf | (adj) หูตึง, หูหนวก, ไม่ยอมฟัง, ไม่เชื่อฟัง |
decline | (vt) ปฏิเสธ, บอกปัด, ไม่รับ, ไม่ยอม, กระจายคำ |
denial | (n) การปฏิเสธ, การไม่ยอมรับ, การบอกปัด |
deny | (vt) ปฏิเสธ, บอกปัด, ไม่ปฏิบัติตาม, ไม่ตกลง, ไม่ยอมรับ |
disallow | (vt) ไม่อนุญาต, ไม่ยอม, ปฏิเสธ |
disavow | (vt) ไม่ยอมรับ, ปฏิเสธ, บอกปัด |
disbelief | (n) ความไม่เชื่อ, การไม่ยอมรับ |
disbelieve | (vt) ไม่เชื่อ, ไม่ยอมรับ |
disclaim | (vt) ไม่ยอมรับ, ออกตัว, ละทิ้ง, สละสิทธิ์ |
discountenance | (vt) ไม่ยอมเชื่อถือ, ทำให้หมดกำลังใจ, ทำให้อึกอัก |
disoblige | (vt) ไม่ยอมตาม, ขัดขืน, ดื้อ |
disown | (vt) ไม่ยอมรับ, ปฏิเสธ, บอกปัด, บอกเลิก, บอกศาลา |
holdout | (vt) ทนทาน, อดทน, ยืนหยัด, ไม่ยอมอ่อนข้อ |
impenetrable | (adj) ผ่านเข้าไปไม่ได้, เข้าใจยาก, ไม่ยอมรับ |
impenitent | (adj) ไม่รู้สึกผิด, ดื้อดึง, ดื้อรั้น, ไม่ยอมรับ |
inexorable | (adj) ไม่ยอมตาย, ไม่ยอมให้, ไม่ปรานี, ใจแข็ง |
insusceptible | (adj) ไม่ยอมอยู่ในอำนาจ, ไม่ยอมอ่อนให้, ดื้อ |
militate | (vi) ต่อสู้, ไม่ยอมแพ้, คัดค้าน, แข็งข้อ |
refuse | (vi, vt) บอกปัด, ปฏิเสธ, ไม่ยอมรับ |
relentless | (adj) ไม่ยอมอ่อนข้อ, กระด้าง, ฉกรรจ์, ทรหด, บึกบึน |
repel | (vt) ขับไล่, ต้านทาน, ไม่ยอมรับ, ผลักไส, ปฏิเสธ |
scab | (n) คนที่ไม่ยอมเข้าพวก, สะเก็ดแผล |
uncompromising | (adj) ไม่ละลด, เด็ดเดี่ยว, แน่วแน่, ไม่ยอมแพ้ |