ช้างเอเชีย | น. ชื่อช้างชนิด Elephas maximus (Linn.) หัวโต เห็นเป็นโหนก ๒ โหนก เรียก ตะพอง ปลายงวงด้านบนมีจะงอย ๑ จะงอย ใบหูเล็กรูปสามเหลี่ยม หลังเรียบหรือโค้งเล็กน้อย ผิวหนังค่อนข้างละเอียดนุ่ม มีขนสีดำทั่วตัวแต่ที่เห็นได้ชัดบริเวณตา ปลายหาง โหนกหัวและมุมปาก หางยาวเกือบถึงพื้น ขาหน้ามีเล็บข้างละ ๕ เล็บ ขาหลังมีเล็บข้างละ ๔ หรือ ๕ เล็บ ตัวผู้มีงายาว เรียก ช้างพลาย ไม่มีงาหรืองาสั้น เรียก ช้างสีดอ ตัวเมีย เรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาหรือมีงาสั้น งาของตัวเมีย เรียก ขนาย. |
กระซู่ | น. ชื่อแรดชนิด Dicerorhinus sumatrensis (Fischer) ในวงศ์ Rhinocerotidae เป็นแรดขนาดเล็กที่สุด มี ๒ นอ ขนดกกว่าแรดชนิดอื่น อาศัยอยู่ในแถบเอเชีย เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. |
เกาหลี | (-หฺลี) น. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่ง อยู่ในคาบสมุทรทางตะวันออกของทวีปเอเชีย. |
ขันที | น. ชายที่ถูกตอน บางประเทศทางเอเชียสมัยโบราณใช้สำหรับควบคุมฝ่ายใน. |
เขมร ๑ | (ขะเหฺมน) น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับไทย ลาว และเวียดนาม มีภาษาพูดอยู่ในตระกูลมอญ–เขมร และมีอักษรของตนเองใช้ เรียกว่า อักษรขอม. |
แขก ๒ | น. คำเรียกชาวอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังกลาเทศ อัฟกานิสถาน เนปาล ชวา มลายู ชาวเอเชียตะวันออกกลางและตะวันออกใกล้ ยกเว้นชาวยิว แอฟริกาเหนือ และ นิโกร. |
คีรีบูน | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Fringillidae เป็นนกที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ปากสั้นหนาแข็งแรง ลำตัวอ้วนป้อม คล้ายนกจาบปีกอ่อน ขนลำตัวมีหลายสี ขาค่อนข้างยาวบอบบาง กินเมล็ดพืช ถิ่นกำเนิดส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น เช่น ทวีปยุโรป ตอนเหนือของทวีปเอเชีย นิยมเลี้ยงในกรง ร้องเสียงไพเราะ เช่น ชนิดสีเหลือง [ Serinus pusillus (Pallas) ]. |
จีน ๑ | น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับมองโกเลีย รัสเซีย เวียดนาม ลาว พม่า ภูฏาน เนปาล อินเดีย คีร์กีซ และคาซัคสถาน มีภาษาพูดและอักษรของตนเองใช้. |
ช้าง ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุด ในวงศ์ Elephantidae ผิวหนังหนา สีดำหรือดำอมเทา รับสัมผัสได้ไว ขนสีดำ จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง ปลายงวงมีจะงอยสำหรับจับสิ่งของ ขมับทั้ง ๒ ข้างมีรูเปิดของต่อมน้ำมัน จะมีน้ำมันไหลออกมาเมื่อถึงวัย ขาใหญ่เป็นลำ กินพืช มี ๒ ชนิด คือ ช้างเอเชียและช้างแอฟริกา. |
ช้างแอฟริกา | น. ชื่อช้างชนิด Loxodonta africana (Blumenbach) รูปร่างสูงเพรียวกว่าช้างเอเชีย หัวเล็กลาดลงไปข้างหน้าถึงโคนงวง ปลายงวงทั้งด้านบนและด้านล่างมีจะงอยด้านละ ๑ จะงอย ใบหูใหญ่รูปคล้ายพัด มีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย หนังหยาบแข็ง มีขนสีดำทั่วตัวแต่ที่เห็นได้ชัดบริเวณตา ปลายหาง และมุมปาก ท้องป่อง หลังแอ่น นูนสูงขึ้นบริเวณท้ายลำตัว หางสั้น ขาหน้ามีเล็บข้างละ ๔ หรือ ๕ เล็บ ขาหลังมีเล็บข้างละ ๓ เล็บ แต่บางตัวมี ๔ เล็บ. |
ตะวันออก | เรียกประชาชนที่อยู่ในทวีปเอเชีย ส่วนมากเป็นพวกผิวเหลือง ว่า ชาวตะวันออก. |
ตะวันออกกลาง | น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศอินเดียและปากีสถาน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา, เดิมหมายรวมถึงประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย และพม่า ด้วย. |
ตะวันออกใกล้ | น. กลุ่มประเทศในคาบสมุทรบอลข่านของทวีปยุโรปและในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ได้แก่ กรีซ เซอร์เบีย มอนเตเนโกร โรมาเนีย แอลเบเนีย ตุรกี เลบานอน ซีเรีย อิสราเอล จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย และประเทศอื่น ๆ ในคาบสมุทรอาหรับ บางทีก็หมายรวมถึงอียิปต์และซูดานด้วย. |
ตะวันออกไกล | น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันออกของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ห่างไกลจากทวีปยุโรปมาก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มองโกเลีย และไซบีเรีย บางทีก็รวมถึงประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และอินโดนีเซียด้วย. |
เต่าหก | น. ชื่อเต่าบกขนาดใหญ่ชนิด Manouria emys (Schlegel & Müller) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมขนาดต่าง ๆ ลักษณะคล้ายเล็บยื่นออกมาจากผิวหนัง ทำให้เข้าใจผิดว่าเต่าชนิดนี้มี ๖ ขา กินพืชและผลไม้ป่า เช่น กล้วยป่า บอน หน่อไผ่ มักพบอาศัยอยู่ตามที่ที่มีความชื้นสูงตามป่าเขาสูงที่เป็นป่าดงดิบ จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ตัวเต็มวัย หนักได้ถึง ๓๗ กิโลกรัม ในประเทศไทยพบ ๒ ชนิดย่อย ได้แก่ เต่าหกเหลือง [ M. e. emys (Schlegel & Müller) ] กระดองสีน้ำตาลอมเหลือง พบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง และเต่าหกดำ [ M. e. phayrei (Blyth) ] กระดองสีดำ พบเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้. |
ทวีป | (ทะวีบ) น. เปลือกโลกส่วนที่เป็นพื้นดินซึ่งมีขนาดใหญ่โตกว้างขวาง มี ๗ ทวีป คือ เอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และแอนตาร์กติกา บางทวีปกำหนดนํ้าล้อมรอบเป็นขอบเขต เช่น ทวีปออสเตรเลีย ทวีปแอนตาร์กติกา บางทวีปกำหนดภูเขา ทะเล แหล่งอารยธรรมเป็นต้น เป็นแนวแบ่งเขต เช่น ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป |
ไทย ๑ | (ไท) น. ชื่อประเทศที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับลาว เขมร มาเลเซีย และพม่า |
ภาคพื้น | น. พื้นแผ่นดิน, แผ่นดินใหญ่ เช่น ภาคพื้นยุโรป ภาคพื้นเอเชีย. |
ร่วมวงศ์ไพบูลย์ | ก. ร่วมเป็นพวกเดียวกัน เช่น ร่วมวงศ์ไพบูลย์มหาเอเชียบูรพา |
รัสเซีย | น. ชื่อประเทศที่ส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันออกและอีกส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปเอเชียภาคเหนือและภาคกลาง, เรียกเต็มว่า สหพันธรัฐรัสเซีย. |
ลา ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Equidae รูปร่างคล้ายม้าแต่ตัวเล็กกว่า หูยาว ปลายหางเป็นพู่ ขนแผงคอสั้นตั้งตรง ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาลำตัวสีเทา เช่น ชนิด Equus asinus (Linn.) และทวีปเอเชียลำตัวสีเหลืองเข้มจนถึงสีน้ำตาลอมแดง เช่น ชนิด E. hemionus (Pallas) ที่นิยมนำมาเลี้ยง เช่น ชนิดย่อย E.a. asinus (Linn.) |
ลาว ๑ | น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับไทย เขมร เวียดนาม พม่า และจีน, เรียกเต็มว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. |
ลิ่น | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Manidae ตัวยาว เกล็ดใหญ่หนาแข็งซ้อนเหลื่อมกัน หน้าแหลม เล็บหนายาวโค้งปลายแหลมใช้ขุดดินและปีนต้นไม้ หางยาวม้วนงอได้ เมื่อตกใจหรือป้องกันศัตรูจะม้วนตัวกลม ลิ้นยาวเป็นเส้นมีน้ำลายเหนียวใช้จับมดและปลวก แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Manis javanica Desmarest และชนิด M. pentadactyla Linn. ชนิดหลังตัวเล็กกว่าเล็กน้อยและมีโอกาสพบได้น้อยกว่าชนิดแรก, นิ่ม ก็เรียก. |
เวียดนาม | น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับเขมร ลาว และจีน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนเชื้อชาติเวียด, เรียกเต็มว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม. |
สิงโต ๒ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Panthera leo (Linn.) ในวงศ์ Felidae รูปร่างคล้ายแมวแต่มีขนาดไล่เลี่ยกับเสือโคร่ง ตัวสีนํ้าตาล ไม่มีลาย ขนปลายหางเป็นพู่ ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสร้อยคอยาว ตัวเมียไม่มี อาศัยอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง ตัวเมียมักทำหน้าที่ล่าเหยื่อ มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย สิงโตเอเชียมีขนาดเล็กกว่าสิงโตแอฟริกาเล็กน้อย. |
หงส์ ๒ | (หง) น. ชื่อนกจำพวกเป็ดขนาดใหญ่หลายชนิด วงศ์ย่อย Cygninae ในวงศ์ Anatidae คอยาว เป็นนกที่นำเข้ามาในประเทศไทย มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป อเมริกา และตอนเหนือของทวีปเอเชีย เช่น หงส์ขาว [ Cygnus olor (Gmelin) ] หงส์ดำ [ C. atratus (Latham) ] หงส์คอดำ [ C. melanocorypha (Molina) ]. |
หมาป่า | น. ชื่อหมาในวงศ์ Canidae มีถิ่นกำเนิดเกือบทั่วทุกภูมิภาคของโลก ขนลำตัวมีสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาลเทา เทาปนแดง ฟันและเขี้ยวคมมาก นิสัยดุร้าย อาศัยอยู่ทั้งป่าโปร่งหรือป่าทึบ ส่วนใหญ่หากินเป็นฝูง กินเนื้อสัตว์ มีหลายชนิด เช่น ชนิด Canis vulpes (Linn.) มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชียกลาง, ชนิด Chrysocyon brachyurus (Illiger) มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้, ชนิด Canis lupus (Linn.) มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป, ชนิด Fennecus zerda (Zimmermann) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา, หมาจิ้งจอก (Canis aureusLinn.) และหมาใน [ Cuon alpinus (Pallas) ] มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย. |
อาหรับ | (-หฺรับ) น. ชื่อชนชาติผิวขาวพวกหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย. |
อินเดีย | น. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งในเอเชียใต้ อยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศพม่า. |
ฮั่น | น. เรียกชนชาติโบราณกลุ่มใหญ่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในตอนกลางของทวีปเอเชีย. |
ฮาเร็ม | น. สถานที่ที่จัดไว้ให้เป็นที่อยู่ของบรรดานางสนมหรือนางบำเรอของพระเจ้าแผ่นดิน ผู้มีอำนาจ หรือเศรษฐีที่เป็นมุสลิม มักจะเป็นประเทศในแถบเอเชียตะวันออกกลางและอินเดียสมัยที่มุสลิมปกครองเป็นต้น. |
Congress of Southeast Asian Librarians | การประชุมบรรณารักษ์เอเชียอาคเนย์, Example: <html> <head> <title>HTML Online Editor Sample</title> </head> <body> <p> <strong>CONSAL</strong> : <span style="color:#0000cd;">Congress of Southeast Asian Librarians</span></p> <p> การประชุมสภาบรรณารักษ์เอชียอาคเนย์ หรือ การประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัตถุประสงค์หลักเพื่อความร่วมมือในระหว่างประเทศสมาชิกเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ในการพัฒนาห้องสมุดของแต่ละประเทศ</p> <p> สมาชิก CONSAL คือ หอสมุดแห่งชาติ ของประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน จำนวน 10 ประเทศ คือ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย</p> <p> การประชุมสภาบรรณรักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำหนดจัดทุก 3 ปี โดยสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ หมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพ โดยที่ผ่านมาครั้งล่าสุด เป็นการประชุมครั้งที่ 15 วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2555 ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเชีย ในหัวข้อเรื่อง Preserving and Disseminating National Heritage และการประชุมครั้งต่อไป ครั้งที่ 16 ปี 2558 ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมอีกครั้ง ซึ่งประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม CONSAL แล้ว จำนวน 2 ครั้ง ในปี 2521 และ 2536</p> <p> ประวัติของการรวมกลุ่มสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการประชุมครั้งแรกในปี 2513 ที่ประเทศสิงคโปร์ รายละเอียดหัวข้อการประชุม วันเวลา และประเทศเจ้าภาพการประชุม CONSAL ทั้งหมดที่ผ่านมา รวม 15 ครั้ง ดังนี้</p> <ol> <li> New prospects for Southeast Asians Cooperation วันที่ 14-16 สิงหาคม 2513 ประเทศสิงคโปร์</li> <li> Education and Training for Librarianship วันที่ 10-14 ธันวาคม 2516 ประเทศฟิลิปปินส์</li> <li> Integrated Library and Documentation Services within the Framework or NATIS วันที่ 1-5 ธันวาคม 2518 ประเทศอินโดนีเซีย</li> <li> Regional Cooperation for the Development of National Information Services วันที่ 5-9 มิถุนายน 2521 ประเทศไทย</li> <li> Access to Information วันที่ 25-29 พฤษภาคม 2524 ประเทศมาเลเซีย</li> <li> The Library in the Information Revolution วันที่ 30 พฤษภาคม - 3 มิถุนายน 2526 ประเทศสิงคโปร์</li> <li> Libraries for Countryside Development in Southeast Asia วันที่ 12-21 กุมภาพันธ์ 2530 ประเทศฟิลิปปินส์</li> <li> New Challenges in Library Services in the Developing World วันที่ 11-14 มิถุนายน 2533 ประเทศอินโดนีเซีย</li> <li> Future Dimensions and Library Development วันที่ 2-7 พฤษภาคม 2536 ประเทศไทย</li> <li> Libraries in National Development วันที่ 21-25 พฤษภาคม 2539 ประเทศมาเลเซีย</li> <li> Stepping into the New Millennium: Challenges for Library and Information Professionals วันที่ 26-28 เมษายน 2543 ประเทศสิงคโปร์</li> <li> Information Empowerment: Enhancing Knowledge Heritage วันที่ 20-23 ตุลาคม 2546 ประเทศบรูไน</li> <li> CONSAL at the Crossroads: Challenges for greater regional cooperation วันที่ 25-30 มีนาคม 2549 ประเทศฟิลิปปินส์</li> <li> Towards Dynamic Libraries and Information Services in Southeast Asian Countries วันที่ 20-23 เวียดนาม 2552 ประเทศเวียดนาม</li> <li> Preserving and Disseminating National Heritage วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2555 ประเทศอินโดนีเชีย</li> </ol> <p> สนใจกิจกรรมการประชุม CONSAL เข้าถึงได้ที่เว็บไซต์ <a href="http://www.consal.org">www.consal.org</a></p> <p> <img alt="consal " height="305" src="http://www.thaiglossary.org/sites/default/files/20120925-consal.png" width="699" /></p> </body> </html> [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Asian currency market | ตลาดเงินตราเอเชีย [เศรษฐศาสตร์] |
Asian currency unit | หน่วยเงินตราเอเชีย [เศรษฐศาสตร์] |
Asian dollar market | ตลาดเงินดอลลาร์ในเอเชีย [เศรษฐศาสตร์] |
Association of Souteast Asian Nations | สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, Example: ประเทศสมาชิก ASEAN ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเชีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม [ธุรกิจ] |
Asian Bond Fund | กองทุนพันธบัตรเอเชีย, Example: เป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2546 โดยธนาคารกลางของกลุ่มประเทศ และเขตเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก-แปซิฟิกรวม 11 ประเทศหรือที่รู้จักกันในนาม Executive’s Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย กองทุน ABF จะมุ่งลงทุนในพันธบัตรเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่ออกโดยรัฐบาลหรือ รัฐวิสาหกิจของประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศเอเชียยกเว้นพันธบัตรที่ออกโดยประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ กองทุนพันธบัตรเอเชียกองแรกนั้นมีวงเงินแรกเริ่มจำนวนประมาณ 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ [ตลาดทุน] |
Asian Bond Fund 2 | กองทุนพันธบัตรเอเชีย ระยะที่ 2, Example: กองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่ 2 หรือ กองทุน ABF2 จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2547 โดยมีวัตถุประสงค์ลงทุนในตราสารหนี้สกุลเงินท้องถิ่นของกลุ่มประเทศเอเชีย ทั้ง 8 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ฮ่องกง สาธารณรัฐเกาหลี และมาเลเซีย เงินทุนใน ABF2 มีจำนวน 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะได้รับการจัดสรรแบ่งเป็นกองทุนใหญ่ 2 กอง ได้แก่ กองทุนแพน-เอเชีย บอนด์ อินเด็กซ์ ฟันด์ (Pan-Asia Bond Index Fund : PAIF) ซึ่งจะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและกึ่งรัฐบาลในสกุลเงินท้องถิ่นของสมาชิก EMEAP 8 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ จำนวน 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ และฟันด์ ออฟ บอนด์ ฟันด์ (Fund of Bond Funds : FoBF) ซึ่งเป็น 8 กองทุนย่อยใน 8 ประเทศซึ่งจะลงทุนในพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลและกึ่งรัฐบาลในสกุลเงินท้องถิ่นของแต่ละตลาด รวมจำนวน 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ [ตลาดทุน] |
Yao language (Southeastern Asia) | ภาษาเย้า (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) [TU Subject Heading] |
Art objects, Asia | ศิลปวัตถุเอเชีย [TU Subject Heading] |
Art, Asia | ศิลปะเอเชีย [TU Subject Heading] |
Art, Asian | ศิลปะเอเชีย [TU Subject Heading] |
Art, East Asian | ศิลปะเอเชียตะวันออก [TU Subject Heading] |
Art, South Asian | ศิลปะเอเชียใต้ [TU Subject Heading] |
Art, Southeast Asian | ศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [TU Subject Heading] |
Arts, Asian | ศิลปกรรมเอเชีย [TU Subject Heading] |
Asia | เอเชีย [TU Subject Heading] |
Asia Pacific Economic Cooperation (Organization) | ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก [TU Subject Heading] |
Asia, Central | เอเชียกลาง [TU Subject Heading] |
Asia-Pacific Parliamentarians' Union (APPU) | สหภาพสมาชิกรัฐสภาเอเชียและแปซิฟิก [TU Subject Heading] |
Asian Americans | ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย [TU Subject Heading] |
Asian cooperation | ความร่วมมือของเอเชีย [TU Subject Heading] |
Asian dollar market | ตลาดเงินสกุลเอเชีย [TU Subject Heading] |
Asian games | การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ [TU Subject Heading] |
Asians | ชาวเอเชีย [TU Subject Heading] |
East Asia | เอเชียตะวันออก [TU Subject Heading] |
East-West Economic Corrideor (Asia) | เส้นทางเชื่อมสายตะวันตก-ตะวันออก (เอเชีย) [TU Subject Heading] |
Golden Triangle (Southeastern Asia) | สามเหลี่ยมทองคำ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) [TU Subject Heading] |
Kyoto University. The Center for Southeast Asian Studies Library | มหาวิทยาลัยเกียวโต. ห้องสมุดศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา [TU Subject Heading] |
Motion pictures, Asian | ภาพยนตร์เอเชีย [TU Subject Heading] |
Philosophy, Asia | ปรัชญาเอเชีย [TU Subject Heading] |
South Asia | เอเชียใต้ [TU Subject Heading] |
Southeast Asia | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [TU Subject Heading] |
Southeast Asian literature | วรรณกรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [TU Subject Heading] |
Association of South East Asian Nations (ASEAN) | สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน), Example: อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2510 เป็นความพยายามร่วมมือกัน เพื่อให้เกิดสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคในช่วงนั้น ซึ่งเป็นช่วงหลังจากที่สหรัฐอเมริกาพ่ายแพ้ในสงครามอินโดจีนในช่วงแรกของการ ก่อตั้งอาเซียน ความร่วมมือส่วนใหญ่จะเน้นไปทางด้านการเมือง แต่ต่อมาได้หันมาให้ความสนใจทางด้านเศรษฐกิจมากขึ้น โดยได้มีการลงนามในปฏญญาแห่งอาเซียนที่นครบาหลีเมื่อ พ.ศ. 2519 เพื่อกำหนดเป้าหมายและแนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การเมืองและข้อมูลข่าวสาร ใน พ.ศ. 2520 ได้มีการลงนามในความตกลงว่าด้วยการให้สิทธิพิเศษทางการค้าของอาเซียน (ASEAN Preferential Trading Arrangement) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อนำไปสู่การ พัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค และ พ.. 2535 ได้มีการลงนามเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้า เพื่อให้ตลาดอาเซียนรวมตัวกันเป็นตลาดใหญ่ตลาดเดียว เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ในการนี้ได้มีการลดอัตราภาษีระหว่างกันในสินค้าทุกประเภท โดยใช้หลักอัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (ดู CEPT) เป็นกลไกหลัก ปัจจุบัน (ปี 2538) ประกอบด้วยสมาชิก 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ บรูไน และเวียดนาม [สิ่งแวดล้อม] |
Asia-Africa Forum | การประชุมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียกับแอฟริกา [การทูต] |
Asian-African Sub-Regional Organizations Conference | การประชุมองค์การอนุภูมิภาคเอเชีย-แอฟริกา มีการประชุมครั้งแรกที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี 2546 [การทูต] |
Asia Cooperation Dialogue | ความร่วมมือเอเชีย เวทีความร่วมมือในระดับทวีปเอเชีย โดยเป็นความคิดริเริ่มของไทยในการสร้างกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกอนุ ภูมิภาคของเอเชีย มีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงจุดแข็งและต่อยอดความร่วมมือต่าง ๆ ของประเทศเอเชีย โดยอาศัยความแตกต่างหลากหลายและทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเอเชียมีอยู่มา ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมุ่งสร้างความร่วมมือในวงกว้างทั้งทวีปเอเชีย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคเอเชียแข็งแกร่งและเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งสำหรับภูมิภาค อื่น ๆ เอซีดีได้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อ 18-19 มิถุนายน 2545 โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจาก 18 ประเทศเข้าร่วม ที่ประชุมได้แบ่งกรอบความร่วมมือเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติการหารือ (dialogue dimension) และมิติโครงการความร่วมมือ (project dimension) เช่น การท่องเที่ยว ความมั่นคงทางพลังงาน และการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Market) [การทูต] |
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy | ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต] |
Asian Development Bank | ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 มีสมาชิกทั้งหมด 59 ประเทศ (สถานะเมื่อ เดือนตุลาคม 2543) แบ่งเป็นประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 43 ประเทศ (รวมทั้งไทย) และประเทศที่อยู่นอกภูมิภาคอีก 16 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ [การทูต] |
Asian Development Preparedness Center | ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย [การทูต] |
Asia-Europe Business Forum | สภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรป เป็นกลไกหนึ่งภายใต้ความร่วมมืออาเซม(ASEM) ประกอบด้วยผู้แทนจากภาคเอกชนของประเทศสมาชิกอาเซม เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2540 [การทูต] |
Asia-Europe Cooperation Framework | กรอบความร่วมมือเอเชีย-ยุโรป เป็นเอกสารที่กำหนดแนวทางความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมในกรอบอาเซม ซึ่งได้รับรองในที่ประชุมผู้นำอาเซม ครั้งที่ 2 ที่กรุงลอนดอน [การทูต] |
Asia-Europe Environmental Technology Centre | ศูนย์เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเอเชีย-ยุโรป เป็นกลไกหนึ่งภายใต้อาเซม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศสมาชิก [การทูต] |
Accelerating Economic Recovery in Asia | โครงการเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจในเอเชีย (สำหรับประเทศไทย) เป็นโครงการที่สหรัฐอเมริกาได้ประกาศในระหว่างการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 6 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 ที่จะให้ความช่วยเหลือประเทศในเอเชีย 3 ประเทศที่ประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ คือ สาธารณรัฐเกาหลี อินโดนีเซีย และไทย [การทูต] |
Asia-Europe Vision Group | กลุ่มวิสัยทัศน์เอเชีย-ยุโรป เป็นกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งจัดตั้งภายหลังจากการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป (อาเซม) ครั้งที่ 2 ที่กรุงลอนดอน เพื่อระดมความคิดเกี่ยวกับอนาคตของกระบวนการอาเซม [การทูต] |
ASEAN Finance Minister + 3 (China, Japan and the Republic of Korea) Meeting | การประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนกับผู้แทนจากจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี มีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ในช่วงการประชุม ประจำปีของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่กรุงมะนิลา และได้ ตกลงในหลักการที่จะจัดเป็นประจำทุกปี เพื่อหารือสถานการณ์การเงินและเศรษฐกิจในภูมิภาค และร่วมมือหามาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขวิกฤตการณ์การเงินในภูมิภาค ผลงานที่สำคัญคือ ข้อตกลงริเริ่มที่เชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) [การทูต] |
ASEM Trust Fund | กองทุนอาเซม " เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นในธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการฟื้นฟูและ การพัฒนา (World Bank) โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกอาเซม เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในเอเชียที่ประสบกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ " [การทูต] |
Asia-Pacific Inter-Governmental Consultations on Refugees Displaced Persons and Migrants | กรอบการหารือระหว่างรัฐบาลในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วย ผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่น และผู้โยกย้ายถิ่น [การทูต] |
Asia Pacific Economic Cooperation | ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก " เป็นกระบวนการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2532 มีเป้าหมายในการเปิดการค้าเสรีและการลงทุน ภายในปี พ.ศ. 2553 สำหรับสมาชิกพัฒนาแล้ว และปี พ.ศ. 2563 สำหรับสมาชิกกำลังพัฒนา ขณะนี้มีสมาชิกประกอบด้วย ออสเตรเลีย บรูไน ดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกีนี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม โดยประเทศไทยเป็นสมาชิกก่อตั้ง " [การทูต] |
ASEAN Regional Forum | การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต] |
Asia | (n) ทวีปเอเชีย, Syn. the Orient, the East |
Asia | (n) เอเชีย |
Asian | (adj) เกี่ยวกับทวีปเอเชีย, See also: แห่งเอเชีย, Syn. Oriental |
Asian | (n) ชาวเอเชีย |
carabao | (n) กระบือที่มีต้นกำเนิดทางเอเชียตะวันตกเฉียงใต้, Syn. water buffalo |
Eastern hemisphere | (n) ครึ่งโลกด้านตะวันออก (ด้านตะวันออกของเส้นสมมติ Greenwich) ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา ออสเตรเลียและส่วนใหญ่ของยุโรป |
Eurasia | (n) พื้นที่ที่เกิดขึ้นจากการรวมทวีปยุโรปและเอเชีย |
Eurasian | (adj) เกี่ยวกับยุโรปและเอเชีย |
Eurasian | (n) คนที่มีเชื้อสายจากทั้งทางยุโรปและเอเชีย |
Far East | (n) กลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออก |
gook | (n) คนผิวเหลือง, See also: คนเอเชีย |
heather | (n) ต้นไม้พุ่มเตี้ยชนิดหนึ่งขึ้นอยู่ตามภูเขาในทวีปยุโรปและเอเชีย มีชื่อในภาษาละตินว่า Calluna Vulgaris, Syn. ling |
Hittite | (n) ชนชาติหนึ่งในเอเชียสมัยโบราณที่ปกครองดินแดนในเอเชียไมเนอร์และทางเหนือของซีเรีย |
jackal | (n) หมาใน (พบในแอฟริกาและเอเชีย), Syn. Canis aureus |
karakul | (n) แกะพันธุ์หนึ่งในเอเชีย |
Kashmir | (n) รัฐแคชเมียร์, See also: รัฐเก่าแก่ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้อยู่ติดกับอินเดีย ปากีสถาน มณฑลซินเกียงของจีนและธิเ |
Malay Archipelago | (n) หมู่เกาะมลายูอยู่ระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย |
Malay Peninsula | (n) คาบสมุทรหรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
Mandarin duck | (n) เป็ดเอเชียซึ่งมีสีสันสดใส |
marmot | (n) ตัวมาเมิต, See also: ในตระกูล Marmota อาศัยอยู่ในรูแถบยุโรป อเมริกาเหนือและเอเชียเหนือ |
Mongolia | (n) แคว้นมองโกเลียในทวีปเอเชีย |
muntjac | (n) กวางที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, Syn. muntjak |
muntjak | (n) กวางพันธุ์เล็กในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, Syn. muntjac |
Naga | (n) คนในเอเชียใต้มักในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือและพม่าตะวันตก, See also: ภาษา Naga |
neem | (n) พืชเขตร้อนตระกูลมะฮอกกะนี มีมากในแถบเอเชีย, See also: ต้นสะเดา |
Old World | (n) โลกเก่า (หมายถึงยุโรป เอเชียและแอฟริกา) |
Pacific Rim | (n) กลุ่มประเทศแถบมหาสมุทรแปซิฟิกโดยเฉพาะเอเชียตะวันออก |
pug | (n) สุนัขพันธุ์เล็กซึ่งมีลักษณะหน้าย่น มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย |
rhododendron | (n) ไม้พุ่มชนิดหนึ่งมีดอกสีสันสดใส มีทางเอเชียใต้ |
gooner | (sl) คำเรียกคนเอเชียตะวันออก |
paki | (sl) คำเรียกชาวเอเชีย (คำหยาบโดยเฉพาะเมื่อใช้เรียกชาวอินเดีย) |
sen | (n) หน่วยเงินตราของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, See also: เซน เช่น ประเทศอินโดนีเซีย 1 รูเปียเท่ากับ 100 เซ็น, ประเทศญี่ปุ่น 1 เยนเท่ากับ 100 เซน |
Serbo-Croatian | (n) ภาษาหลักของชาวเซอร์เบียและโครเอเชีย |
Serbo-Croatian | (adj) เกี่ยวกับภาษาเซอร์เบียและโครเอเชีย |
Southeast Asia | (n) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
Southeast Asian | (n) กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
Tartar | (n) ชนกลุ่มที่อาศัยในเอเชียและตะวันออกของยุโรป |
wadi | (n) บริเวณที่อุดมสมบูรณ์ในทะเลทราย, See also: ยกเว้นในช่วงฤดูฝน อยู่ทางแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลางและเอเชียใต้, Syn. oasis |
wady | (n) บริเวณลำน้ำหรือลำธารที่แห้งผาก, See also: ยกเว้นในช่วงฤดูฝน อยู่ทางแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลางและเอเชียใต้ |
warbler | (n) นกที่มีเสียงร้องไพเราะตระกูล Silviidae แถบยุโรปและเอเชีย |
water snake | (n) งูน้ำไม่มีพิษตระกูล Natrix แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
wax plant | (n) พันธุ์ไม้ดอกแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, See also: อยู่ในตระกูล Hoya carnosa, Syn. hoya, porcelain flower, wax vine |
weaverbird | (n) นกขนาดเล็กชนิดหนึ่งในทวีปเอเชียและแอฟริกา, See also: อยู่ในตระกูล Ploceidae |
whinchat | (n) นกขนาดเล็กที่มีอกสีเหลืองและหางส่วนล่างสีขาว, See also: มีในแถบยุโรปและเอเชีย ชื่อละตินคือ Saxicola rubetra |
whitebeam | (n) ต้นไม้พื้นเมืองของทวีปยุโรปและเอเชีย, See also: ชื่อละตินคือ Sorbus aria |
wistaria | (n) ไม้เลื้อยจำพวก Wisteria, See also: เถาวัลย์ที่มีดอกหลายสีมีต้นกำเนิดแถบอเมริกาเหนือและเอเชีย |
wisteria | (n) ไม้เลื้อยจำพวก Wisteria, See also: เถาวัลย์ที่มีดอกหลายสีมีต้นกำเนิดแถบอเมริกาเหนือและเอเชีย, Syn. wistaria |
zebu | (n) วัวของเอเชียพันธุ์หนึ่ง, Syn. Brahman |