ท้องถิ่น | (n) region, See also: area, Syn. แคว้น, ภาค, ดินแดน, ขอบเขต, อาณาเขต, Example: การร่วมมือในท้องถิ่นเอเซียอาคเนย์ได้เริ่มขึ้นแล้ว, Thai Definition: พื้นที่ภายในเขตการปกครองของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น, Notes: (กฎหมาย) |
ท้องถิ่น | (adj) local, See also: district, Syn. ภูมิภาค, พื้นบ้าน, พื้นเมือง, เฉพาะถิ่น, Example: ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นทำหน้าที่ส่งเสริม และพัฒนาวัฒนธรรมท้องถิ่นของแต่ละภาค, Thai Definition: ที่เกี่ยวกับท้องที่ใดท้องที่หนึ่งโดยเฉพาะ |
ท้องถิ่น | (n) locality, Syn. ภูมิภาค, พื้นบ้าน, พื้นเมือง, เฉพาะถิ่น, Example: คนไทยมีความเชี่ยวชาญในการเลือกวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาสร้างงานประติมากรรม, Count Unit: ที่, แห่ง, Thai Definition: ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งโดยเฉพาะ |
ข่าวท้องถิ่น | (n) local news, Example: นักข่าวกำลังเสนอข่าวท้องถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียง, Count Unit: ข่าว, Thai Definition: ข่าวที่เกิดขึ้นในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งโดยเฉพาะ |
ภาษาท้องถิ่น | (n) vernacular, See also: dialect, Syn. ภาษาถิ่น, Example: หลายครั้งที่ได้ยินพวกคุณพูดคุยกันด้วยภาษาท้องถิ่น มันทำให้ผมอดที่จะคิดถึงบ้านของผมไม่ได้, Count Unit: ภาษา, Thai Definition: ภาษาที่มีสำเนียงหรือถ้อยคำที่พูดกันเป็นพื้นเฉพาะถิ่น |
ส่วนท้องถิ่น | (adj) local, Example: ภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีท้องถิ่น ซึ่งจัดเก็บโดยหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่น |
ส่วนท้องถิ่น | (n) local part, Example: การมอบอำนาจการบริการการศึกษาส่วนกลางไปยังส่วนท้องถิ่น หรือส่วนภูมิภาคยังไม่ดีเท่าที่ควร |
เฉพาะท้องถิ่น | (adj) local, See also: regional, provincial, Example: ถ้าจะดูวัฒนธรรมเฉพาะท้องถิ่น ก็ต้องดูวัฒนธรรมของส่วนรวมแห่งท้องถิ่นนั้น |
รัฐบาลท้องถิ่น | (n) local government, See also: local authorities, Example: การจัดเก็บภาษีจะแบ่งเป็นหลายส่วน โดยให้ทั้งรัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น แทนที่จะให้แต่รัฐบาลกลางแต่อย่างเดียว |
เขตการปกครองท้องถิ่น | (n) township, Count Unit: เขต |
ท้องถิ่น | น. ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เวลาท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น. |
ผู้บริหารท้องถิ่น | น.ผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นให้ทำหน้าที่บริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี. |
ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น, ราชการส่วนท้องถิ่น | น. การปกครอง ดูแล จัดการ และการให้บริการของรัฐ ที่รัฐกระจายอำนาจให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนในการดำเนินการ เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องที่นั้น โดยจัดเป็นองค์กรในรูปแบบต่าง ๆ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และรูปแบบอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ เช่น กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา. |
ส่วนท้องถิ่น | น. เขตเทศบาล. |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | น. องค์กรของราชการบริหารส่วนท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ. (ดู ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ประกอบ) |
กระดี่ ๑ | น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Trichogaster วงศ์ Belontiidae เช่นเดียวกับปลาสลิดแต่มีขนาดเล็กกว่า ครีบท้องยาวยื่นเป็นเส้น มี ๓ ชนิด คือ กระดี่หม้อ [ T. trichopterus (Pallas) ] ข้างตัวมีลายหลายเส้นพาดขวาง มีจุดดำที่กลางลำตัวและคอดหางแห่งละ ๑ จุด ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร, สลาก หรือ สลาง ก็เรียก, กระดี่นาง [ T. microlepis (Günther) ] สีขาวนวล และ กระดี่นางฟ้าหรือกระดี่มุก [ T. leeri (Bleeker) ] พบเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม, บางท้องถิ่นในแถบอีสานเรียก กระเดิด. |
กะตัก | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Encrasicholina และ Stolephorus วงศ์ Engraulidae รูปร่างยาว กลม หรือแบนข้างเล็กน้อยแล้วแต่ชนิด ปากกว้าง ที่สันท้องระหว่างครีบท้องและครีบก้นมีหนามแหลมขนาดเล็กมาก ๒-๗ อัน ข้างลำตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินพาดตลอดตามยาว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ฝั่ง อาจคละกันหลายชนิด, หัวอ่อน ชินชัง ไส้ตัน เส้นขนมจีน หัวไม้ขีด มะลิ เก๋ย เรียกปะปนกันระหว่างขนาด ชนิด หรือต่างกันตามท้องถิ่นที่จับ ขนาดยาวได้ถึง ๑๔ เซนติเมตร. |
ข้อบัญญัติ | น. กฎที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตราขึ้นเพื่อใช้บังคับในเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา. |
ข้าราชการ | บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง ทบวง กรม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการการเมือง ข้าราชการครู ข้าราชการทหาร ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ. |
เขตเลือกตั้ง | น. ท้องที่ที่กำหนดเป็นเขตสำหรับจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติหรือผู้บริหารท้องถิ่น. |
เจ้าถิ่น | น. เจ้าของถิ่น, ผู้ชำนาญในเรื่องของท้องถิ่นนั้น ๆ, (ปาก) นักเลงโต. |
ชันโรง | (ชันนะ-) น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Apidae โดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาวไม่เกิน ๑๐ มิลลิเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงและแบ่งวรรณะเหมือนผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กในอย่างผึ้งทั่วไป จึงไม่สามารถต่อยได้ ทำรังตามโพรงไม้หรือตามรอยแตกฝาผนังของบ้านเรือน รังทำจากสารเหนียวผสมขี้ดินและยางไม้ ที่พบมากในประเทศไทยอยู่ในสกุล Trigona ชนิดที่พบบ่อย เช่น ชนิด T. terminata Smith, T. apicalis Smith มีชื่ออื่น ๆ อีกตามท้องถิ่น เช่น หูด ขี้ตังนี หรือ กินชัน, อีสานเรียก ขี้สูด, ปักษ์ใต้เรียก ขี้ชัน. |
เชิงกอบ | น. ภาษีผ่านด่าน, ภาษีปากเรือ, ภาษีที่เก็บเพื่อใช้บำรุงท้องถิ่น, จังกอบ ก็เรียก. |
ทบวงการเมือง | น. ส่วนราชการและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีสภาพเป็นนิติบุคคล และมีอำนาจหน้าที่ในทางปกครอง เช่น กระทรวง ทบวง กรม เทศบาล. |
ที่ราชพัสดุ | น. อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด แต่ไม่รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจและขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสาธารณสมบัติของแผ่นดินบางชนิด. |
เทศ, เทศ-, เทศะ | (เทด, เทดสะ-, เทสะ) น. ถิ่นที่, ท้องถิ่น, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส. |
เทศกาล | น. คราวสมัยที่กำหนดไว้เป็นประเพณีเพื่อทำบุญและการรื่นเริงในท้องถิ่น เช่น ตรุษ สงกรานต์ เข้าพรรษา สารท |
เทศบาล | น. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ประกอบด้วยนายกเทศมนตรีและสภาเทศบาล. |
นายกเทศมนตรี | น. ตำแหน่งผู้รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล. |
นายกเมืองพัทยา | น. ตำแหน่งผู้รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษ เมืองพัทยา. |
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด | น. ตำแหน่งผู้รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัด. |
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล | น. ตำแหน่งผู้รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบองค์การบริหารส่วนตำบล. |
บ ๒, บ่ | (บอ, บ่อ) ว. ไม่, มักใช้ในหนังสือเก่าหรือกวีนิพนธ์ หรือบางท้องถิ่น, ในที่ใช้ บ เมื่อใช้ว่า บ่ ก็มีความเช่นเดียวกัน. |
บริการสาธารณะ | น. กิจการอันจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเป็นส่วนรวมที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำขึ้นเพื่อบริการแก่ประชาชน เช่น กิจการสาธารณูปโภค กิจการขนส่งคนโดยสาร . |
บริหาร | ปกครอง เช่น บริหารส่วนท้องถิ่น |
ประชาบาล | น. การศึกษาของท้องถิ่น มีราชการบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ, เรียกโรงเรียนประเภทนี้ ว่า โรงเรียนประชาบาล |
ประชาบาล | การปกครองพลเมืองในท้องถิ่น. |
แพน ๒ | น. เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งของท้องถิ่น ใช้เป่า. |
ภาษาถิ่น | น. ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น. |
ภาษี | น. เงินที่มีกฎหมายกำหนดให้รัฐหรือท้องถิ่นเรียกเก็บจากบุคคลในเหตุต่าง ๆ เช่น การมีรายได้ การมีทรัพย์สิน การประกอบกิจการ การบริโภค เพื่อใช้จ่ายในการบริหารประเทศหรือท้องถิ่น เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม |
ภาษีบำรุงท้องที่ | น. ภาษีที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บจากผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือผู้ครอบครองที่ดินที่ไม่ใช่ของเอกชน โดยคำนวณตามจำนวนเนื้อที่ดินที่มีหรือครอบครองตามราคาปานกลางที่ทางราชการประกาศกำหนด. |
รถพยาบาล | รถยนต์ขนาดใหญ่ มีแพทย์ พยาบาล และเวชภัณฑ์พร้อมสำหรับไปรักษาพยาบาลผู้ป่วยในท้องถิ่นต่าง ๆ คล้ายโรงพยาบาลเคลื่อนที่. |
แรงงาน | น. คนงาน, ผู้ใช้แรงในการทำงาน, เช่น การพัฒนาชนบทต้องอาศัยแรงงานจากท้องถิ่น งานก่อสร้างต้องการแรงงานเพิ่ม, ประชากรในวัยทำงาน ไม่รวมถึงคนพิการ คนวิกลจริต นักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน นักบวช ทหาร ผู้ต้องขัง และผู้ประกอบกิจการเพื่อหากำไร เช่น วันแรงงาน, แรงที่ใช้ในการทำงาน เช่น ถนนนี้สร้างสำเร็จด้วยแรงงานของชาวบ้าน |
วัสสานฤดู | (วัดสานะรึดู) น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อนอันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้นวันแรมค่ำหนึ่ง เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, บางทีก็เขียนเพี้ยนไปเป็น วสันต์. |
ศูนย์ชุมชน | น. หน่วยงานถาวรที่เป็นศูนย์กลางในการวางแผนปฏิบัติงานและประสานงานบริการของหน่วยราชการและองค์การต่าง ๆ โดยประชาชนในท้องถิ่นนั้นจะเลือกคณะกรรมการขึ้นทำหน้าที่กำหนดนโยบายและบริหารงาน. |
ส้มตำ | น. ของกินชนิดหนึ่ง เอาผลไม้มีมะละกอเป็นต้นมาตำประสมกับเครื่องปรุงมี กระเทียม พริก มะนาว กุ้งแห้ง เป็นต้น มีรสเปรี้ยว, บางท้องถิ่นเรียก ตำส้ม. |
สวนรุกขชาติ | น. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้นานาชนิด โดยเฉพาะไม้ยืนต้นที่มีค่าทางเศรษฐกิจและไม้ดอกซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่น มักเขียนป้ายบอกชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ไว้ด้วย เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เช่น สวนรุกขชาติห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่. |
ส่วนควบ | น. ส่วนของทรัพย์ซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป. |
ส่วนราชการ | น. หน่วยงานของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นและกำหนดให้เป็นส่วนราชการเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น. |
สุขาภิบาล | น. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นสำหรับท้องถิ่นที่ยังไม่พร้อมที่จะจัดตั้งเป็นเทศบาล โดยมีนายอำเภอเป็นประธาน. |
เสียผี | ก. ทำพิธีเซ่นผีเพื่อขอขมาในความผิดเชิงชู้สาวตามประเพณีท้องถิ่น. |
ไส้ตัน ๒ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดโดยเฉพาะในสกุล Encrasicholinaรวมทั้งในสกุล Stolephorusวงศ์ Engraulidae หรือ Engraulididae รูปร่างกลมยาว แบนข้างเล็กน้อยหรือปานกลาง ปากกว้างมาก และอยู่ต่ำกว่าจะงอยปาก เกล็ดเป็นแบบเรียบและบาง ครีบอกอยู่ใกล้แนวสันท้อง ระหว่างครีบอก และครีบท้องมีหนามแหลมเล็กมาก ๒-๗ อัน มีสีเด่นเพียงแถบสีเงินพาดตลอดข้างลำตัว อยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้ผิวน้ำเพื่อหากินแพลงก์ตอนบริเวณใกล้ฝั่ง ใช้ทำน้ำปลาที่มีคุณภาพดีหรือทำเป็นปลาตากแห้งทั้งตัว โดยเฉลี่ยยาว ๕-๑๐ เซนติเมตร บางชนิดยาวถึง ๑๕ เซนติเมตร มีชื่อเรียกที่รู้จักกันดีอีก คือ กะตัก ชื่ออื่น ๆ ที่แตกต่างกันตามขนาดหรือตามท้องถิ่นจากปลาขนาดเล็กถึงโตตามลำดับ คือ สายไหม เส้นขนมจีน ข้าวสาร หัวไม้ขีด หัวอ่อน และ ชินชัง นอกจากนี้ก็ยังมีชื่อ กล้วย มะลิ และ เก๋ย. |
องค์การบริหารส่วนจังหวัด | น. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยทับซ้อนกับพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น มีอำนาจหน้าที่ในการประสานและร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น รวมตลอดทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตพื้นที่ของตน. (ดู ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ประกอบ) |
องค์การบริหารส่วนตำบล | น. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่มีพื้นที่ครอบคลุมตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการให้บริการสาธารณะพื้นฐาน. (ดู ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ประกอบ) |
pays; pais | บ้านเมือง, ท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
pais, trial per; per pais, trial | การพิจารณาคดีในท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
pais; pays | บ้านเมือง, ท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
pork barrel | เงินช่วยท้องถิ่นเพื่อหาคะแนนนิยม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
parish | เขตการปกครองส่วนท้องถิ่น (อังกฤษ, อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
parish | เขตการปกครองส่วนท้องถิ่น (อังกฤษ, สหรัฐอเมริกา), เขตแพริช [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
parish | ๑. เขตการปกครองทางศาสนา๒. เขตการปกครองส่วนท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
powers, permissive; permissive powers | อำนาจที่มอบให้องค์การส่วนท้องถิ่น (ใช้ตามที่เห็นสมควร) (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
permissive powers; powers, permissive | อำนาจที่มอบให้องค์การส่วนท้องถิ่น (ใช้ตามที่เห็นสมควร) (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
private bill | ร่างกฎหมายเกี่ยวกับประโยชน์เฉพาะบุคคลหรือเฉพาะท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
per pais | ในท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
per pais, trial; pais, trial per | การพิจารณาคดีในท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
private bill | ร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยประโยชน์ส่วนบุคคลหรือท้องถิ่น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
local move | การย้ายภายในท้องถิ่น [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
local politics | การเมืองท้องถิ่น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
local self-government | การปกครองตนเองของท้องถิ่น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
local | ส่วนท้องถิ่น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
local act | กฎหมายท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
local administration | ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
local affairs | กิจการส่วนท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
local authorities | เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
local authority | เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
local colour | สีสันท้องถิ่น [วรรณกรรม ๖ มี.ค. ๒๕๔๕] |
local courts | ศาลท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
local government | การปกครองส่วนท้องถิ่น, ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
local government | การปกครองส่วนท้องถิ่น, ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
local land charges | ภาระติดพันที่ดินส่วนท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
local legislation; legislation, local | ข้อบัญญัติส่วนท้องถิ่น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
local legislation | ข้อบัญญัติส่วนท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
local loop | ข่ายสายท้องถิ่น [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
local tax | ภาษีท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
local war | สงครามท้องถิ่น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
locality | ท้องถิ่น, ท้องที่ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
locality | ท้องถิ่น [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
locality | ท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legislation, local; local legislation | ข้อบัญญัติส่วนท้องถิ่น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
residential mobility | การย้ายถิ่นที่อยู่ (ภายในท้องถิ่น) [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
rule, home | การปกครองตนเองของท้องถิ่น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
shire | เทศมณฑล, เขตท้องถิ่น (อังกฤษโบราณ) [ ดู county ประกอบ ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
son, favourite | ตัวเก็งของท้องถิ่น (ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
ordinance | ๑. กฤษฎีกา๒. ข้อบัญญัติขององค์การส่วนท้องถิ่น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
administration, local | ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
authorities, local | เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
autogenetic | ๑. ภูมิลักษณ์ท้องถิ่น๒. การระบายน้ำแบบอิสระ [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖] |
autogenic | ๑. -ท้องถิ่น๒. การระบายน้ำแบบอิสระ [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖] |
quasi corporation | หน่วยงานส่วนท้องถิ่น (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
quasi corporation | หน่วยงานของท้องถิ่น (อเมริกัน) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
borough | ๑. บุรี (เขตการปกครองท้องถิ่นรูปหนึ่ง)๒. เขตเลือกตั้ง (สมัยก่อน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
bill, private | ร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยประโยชน์ส่วนบุคคลหรือท้องถิ่น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
by-law; bye-law; bylaw | เทศบัญญัติ, ข้อบัญญัติขององค์กรส่วนท้องถิ่น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Localization | การปรับให้เข้ากับท้องถิ่น [คอมพิวเตอร์] |
integration | บูรณาการ, การรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, บูรณาการ มี ๒ ความหมาย <p>ความหมายที่ ๑ คือ ทำให้เป็นเนื้อเดียวกันโดยรวมหรือผสมผสานส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น การสอนภาษาแบบบูรณาการ หมายถึง การรวมทักษะการพูด ฟัง อ่าน เขียน ไว้ในวิชาเดียวกัน, หลักสูตรแบบบูรณาการสำหรับภิกษุสามเณร เป็นหลักสูตรที่รวมหลักสูตรธรรมศึกษา บาลีศึกษา และสามัญศึกษา ให้เป็นหลักสูตรเดียว <p>ความหมายที่ ๒ หมายถึงเชื่อมหรือประสานกับสิ่งอื่นหรือหน่วยงานอื่น เช่น โรงเรียนหลายแห่งบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ที่มีรากฐานจากความเป็นไทยและนำไปสู่การ พัฒนาประเทศที่ยั่งยืน [การจัดการความรู้] |
Central-local government relations | ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางและส่วนท้องถิ่น [TU Subject Heading] |
Civic centers | ศูนย์ชุมชนท้องถิ่น [TU Subject Heading] |
Civic leaders | ผู้นำท้องถิ่น [TU Subject Heading] |
Community newspapers | หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น [TU Subject Heading] |
Journalism, Rural | ข่าวท้องถิ่น [TU Subject Heading] |
Local budget | งบประมาณท้องถิ่น [TU Subject Heading] |
Local elections | การเลือกตั้งท้องถิ่น [TU Subject Heading] |
Local finance | การคลังท้องถิ่น [TU Subject Heading] |
Local geography | ภูมิศาสตร์ท้องถิ่น [TU Subject Heading] |
Local government | การปกครองท้องถิ่น [TU Subject Heading] |
Local history : History, Local | ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น [TU Subject Heading] |
Local mass media | สื่อมวลชนท้องถิ่น [TU Subject Heading] |
Local officials and employees | ข้าราชการและพนักงานท้องถิ่น [TU Subject Heading] |
Neighborhood Information Center Project | ศูนย์ข้อมูลระดับท้องถิ่น [TU Subject Heading] |
Women civic leaders | ผู้นำท้องถิ่นสตรี [TU Subject Heading] |
Endemic Disease | โรคประจำท้องถิ่น, Example: โรคที่มีผลกระทบอย่างสำคัญต่อประชากรกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง [สิ่งแวดล้อม] |
Local Rainfall | ฝนท้องถิ่น หรือฝนเฉพาะแห่งหรือบางแห่ง, Example: น้ำฟ้า หรือฝนที่ตกในบริเวณเล็ก ๆ และตกเฉพาะแห่ง ดังนั้น จึงเป็นน้ำฟ้าหรือฝนที่ตกจากเมฆที่ผ่านไป และตกชั่วระยะที่เมฆนั้นลอยผ่าน [สิ่งแวดล้อม] |
civil society | ประชาสังคม หมายถึง สังคมที่ประชาชนในระดับต่าง ๆ มีการรวมตัวกันอย่างแข็งแกร่ง เพื่อที่จะเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินทางเลือกสาธารณะ ที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของท้องถิ่นและประเทศโดยรวม [การทูต] |
Exemption from Taxation of Diplomatic Agent | การยกเว้นภาษีอากรให้แก่ตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ข้อ 34 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ให้ตัวแทนทางการทูตได้รับยกเว้นจากภาระผูกพันและภาษีทั้ง ปวงของชาติท้องถิ่นหรือเทศบาล ในส่วนบุคคลหรือในทรัพย์สิน เว้นแต่ก. ภาษีทางอ้อม ชนิดที่ตามปกติรวมอยู่ในราคาของสินค้าหรือบริการแล้วข. ภาระผูกพันและภาษีจากอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ซึ่งตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับ นอกจากว่า ตัวแทนทางการทูตครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นไว้ในนามของรัฐผู้ส่ง เพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนค. อากรกองมรดก การสืบมรดก หรือการรับมรดก ซึ่งรัฐผู้รับเรียกเก็บภายในบังคับแห่งบทของวรรค 4 ข้อ 39 ง. ภาระผูกพันและภาษีจากเงินได้ส่วนตัว ซึ่งมีแหล่งกำเนิดในรัฐผู้รับ และภาษีเก็บจากเงินทุนซึ่งได้ลงทุนในการประกอบการพาณิชย์ในรัฐผู้รับจ. ค่าภาระซึ่งเรียกเก็บสำหรับบริการจำเพาะที่ได้ให้ฉ. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ค่าธรรมเนียมศาล หรือสำนวนความ ภาระผูกพันในการจำนอง และอากรแสตมป์ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ภายในบังคับแห่งบทของข้อ 23?นอกจากนี้ ข้อ 35 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติไว้ด้วยว่า ?ให้รัฐผู้รับให้ตัวแทนทางการทูตได้รับการยกเว้นจากการบริการส่วนบุคคลทั้ง มวล จากบริการส่วนสาธารณะทั้งมวล และจากข้อผูกพันทางทหาร เช่น ส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกเกณฑ์ ส่วนบำรุง หรือเรียกคืนที่พักอาศัยเพื่อปฏิบัติการทางทหาร? [การทูต] |
Exequatur | คำนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า ?let him perform? เป็นหนังสือหรืออนุมัติบัตรแสดงการรับรองผู้ที่ดำรงตำแหน่งกงสุลโดยประมุข หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐซึ่งกงสุลผู้นั้นได้ถูกส่งไป ประจำ Exequatur เป็นอนุมัติบัตรที่มอบให้กงสุล แสดงว่ามีอำนาจที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ของกงสุลทั้งหมด สามารถเป็นหลักฐานที่ใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นภายในเขตอาณัติของกงสุล ด้วย รัฐที่ปฏิเสธไม่ออก Exequatur ให้นั้น ไม่จำเป็นต้องบอกเหตุผลแก่รัฐผู้ส่งว่าเพราะเหตุผลใดจึงปฏิเสธ ในเรื่องนี้ข้อ 12 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลได้บัญญัติไว้ว่า?1. หัวหน้า สถานที่ทำการทางกงสุล จะเข้าปฏิบัติการหน้าที่ของตนได้ โดยอนุมัติจากรัฐผู้รับเรียกว่า อนุมัติบัตรไม่ว่าการให้อนุมัติจะเป็นไปในรูปใดก็ตาม 2. รัฐซึ่งปฏิเสธไม่ให้อนุมัติบัตรไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการปฏิเสธ เช่นว่านั้นแก่รัฐผู้ส่ง 3. ภายในข้อบังคับแห่งบทของข้อ 13 และ 15 หัวหน้าสถานที่ทำการทางกงสุลจะไม่เข้ารับหน้าที่ของตนจนกว่าจะได้รับอนุมัติ บัตรแล้ว? [การทูต] |
Honorary Consul | กงสุลกิตติมศักดิ์ " ได้แก่ บุคคลในท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งและมอบหมายให้ดูแล ส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศและคนชาติในพื้นที่ในเขตอาณา และดำเนินการตรวจลงตราหนังสือเดินทางแก่บุคคลที่จะเดินทางเข้าประเทศที่ กงสุลกิตติมศักดิ์เป็นผู้แทน การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ และต้องยื่นสัญญาบัตร และได้รับอนุมัติบัตรเช่นเดียวกับผู้แทนฝ่ายกงสุลอาชีพ (career consular officer) ทั้งนี้ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์จะได้รับมอบหมายให้ดูแลเขตอาณาที่ครอบคลุมพื้นที่ กว้างกว่าและสำคัญกว่า ในส่วนของไทย กงสุลกิตติมศักดิ์แตกต่างจากกงสุลอาชีพใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) กงสุลกิตติมศักดิ์ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม หรือเป็นผู้นำที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับไทย (2) กงสุลกิตติมศักดิ์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสำนักงาน ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์หรือสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ทั้งหมด (3) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุลน้อยกว่ากงสุลอาชีพ ในการปฏิบัติงานของกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยจะมีคู่มือกงสุลกิตติมศักดิ์ เป็นระเบียบกฎเกณฑ์และข้อมูลสำหรับการปฏิบัติงาน " [การทูต] |
Immunity from Jurisdiction of Diplomatic Agents | ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 31 ว่า?1. ให้ตัวแทนทางการทูตได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางอาญาของรัฐผู้รับ ตัวแทนทางการทูตยังจะได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่ง และทางการปกครองของรัฐผู้รับด้วย เว้นแต่ในกรณีของก) การดำเนินคดีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับนอกจากตัวแทนทางการทูตครอบครองไว้ในนามของ รัฐผู้ส่งเพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนข) การดำเนินคดีเกี่ยวกับการสืบมรดกซึ่งเกี่ยวพันถึงตัวแทนทางการทูตในฐานะผู้ จัดการมรดกโดยพินัยกรรม ผู้จัดการมรดกโดยศาลตั้งทายาท หรือผู้รับมรดกในฐานะเอกชน และมิใช่ในนามของรัฐผู้ส่งค) การดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจกรรมใดในทางวิชาชีพ หรือพาณิชย์ ซึ่งตัวแทนทางการทูตได้กระทำในรัฐผู้รับ นอกเหนือจากการหน้าที่ทางการของตน 2. ตัวแทนทางการทูตไม่จำเป็นต้องให้การในฐานะพยาน 3. มาตรการบังคับคดี ไม่อาจดำเนินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนทางการทูต เว้นแต่ในกรณีซึ่งอยู่ภายใต้อนุวรรค (ก) (ข) และ (ค) ของวรรค 1 ของข้อนี้ และโดยมีเงื่อนไขว่ามาตรการที่เกี่ยวข้องอาจดำเนินไปได้โดยปราศจากการละเมิด ความละเมิดมิได้ในตัวบุคคลของตัวผู้แทนทางการทูต หรือที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต 4. ความคุ้มกันของตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ ไม่ยกเว้นตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้ส่ง?เกี่ยวกับความคุ้มกันตัว แทนทางการทูตจากขอบเขตของอำนาจศาลทางแพ่ง อาจกล่าวได้อย่างกว้างๆ ว่า ตัวแทนทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทน ทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทนทางการ ทูตจะถูกฟ้องมิได้ และถูกจับกุมมิได้เกี่ยวกับหนี้สิน รวมทั้งทรัพย์สินของเขา เช่น เครื่องเรือน รถยนต์ ม้า และสิ่งอื่นๆ ทำนองนั้นก็จะถูกยืดเพื่อใช้หนี้มิได้ ตัวแทนทางการทูตจะถูกกีดกันมิให้ออกไปจากรัฐผู้รับในฐานะที่ยังมิได้ชดใช้ หนี้สินของเขานั้นก็มิได้เช่นกัน อนึ่ง นักกฎมายบางกลุ่มเห็นว่า ตัวแทนทางการทูตจะถูกหมายศาลเรียกตัว (Subpoenaed) ไม่ได้ หรือแม้แต่ถูกขอร้องให้ไปปรากฎตัวเป็นพยานในศาลแพ่งหรือศาลอาญาก็ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ถ้าหากตัวแทนทางการทูตสมัครใจที่จะไปปรากฏตัวเป็นพยานในศาล ก็ย่อมจะทำได้ แต่จะต้องขออนุมัติจากรัฐบาลในประเทศของเขาก่อน [การทูต] |
Inviolability of the Mission Premises | คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต] |
Notes in Diplomatic Correspondence | หมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้ [การทูต] |
Regional Operate Center | ศูนย์ปฏิบัติการร่วม กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ROC เป็นโครงการนำร่อง ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศกระทรวงมหาดไทย สำนักงาน ก.พ.ร. และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้น เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2549 เพื่อพัฒนาการทำงานร่วมกันระหว่างเอกอัครราชทูตในประเทศเพื่อนบ้านกับผู้ว่า ราชการจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงการทำงานระหว่างเอกอัครราชทูตกับผู้ว่าราชการ จังหวัด เพื่อบูรณาการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ให้สอดคล้องกับนโยบายต่างประเทศ รวมทั้งให้บริการข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและจังหวัดในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและงานวิจัยในท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนนโยบายต่างประเทศ [การทูต] |
Community Participation | ประชาชนในท้องถิ่นมามีส่วนร่วม [การแพทย์] |
Community Resource Team | กลุ่มคนในท้องถิ่นเอง [การแพทย์] |
Distribution, Local | การกระจายของโรคในท้องถิ่น [การแพทย์] |
Endemic | ระบาดเป็นแห่ง, ท้องถิ่นที่มีโรค, ประจำท้องถิ่น, ประจำถิ่น, โรคเรื้อรังประจำถิ่น, เกิดประปรายประจำ, การระบาด [การแพทย์] |
Local precipitation | น้ำฟ้าท้องถิ่น หรือน้ำฟ้าเฉพาะแห่งหรือบางแห่ง [อุตุนิยมวิทยา] |
Local rainfall | ฝนตกท้องถิ่น หรือฝนเฉพาะแห่งหรือบางแห่ง [อุตุนิยมวิทยา] |
Local wind | ลมท้องถิ่น [อุตุนิยมวิทยา] |
common name | ชื่อสามัญ, ชื่อของสิ่งมีชีวิตหรือสารเคมีเรียกตามภาษาท้องถิ่น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
อาหารท้องถิ่น | [āhān thøngthin] (n, exp) EN: local dishes FR: plat du terroir [ m ] ; cuisine du terroir [ f ] |
เฉพาะท้องถิ่น | [chaphǿ thøngthin] (adj) EN: local ; regional ; provincial |
ข่าวท้องถิ่น | [khāo thøngthin] (n, exp) EN: local news FR: information régionale [ f ] ; information locale [ f ] |
ข้อบัญญัติท้องถิ่น | [khøbanyat thøngthin] (n, exp) EN: local law ; local legislation |
คนท้องถิ่น | [khon thøngthin] (n, exp) EN: native FR: natif [ m ] ; native [ f ] |
โองการบริหารส่วนท้องถิ่น | [ōngkān børihān suanthøngthin] (n, exp) EN: Local Administration Organization |
ภาษาท้องถิ่น | [phāsā thøngthin] (n, prop) EN: dialect ; regional speech ; localism ; vernacular ; local speech ; slang FR: langue régionale [ f ] ; dialecte [ m ] |
ภาษีท้องถิ่น | [phāsī thøngthin] (n, exp) EN: local tax FR: taxe locale [ f ] |
ภูมิปัญญาท้องถิ่น | [phūmpanyā thøngthin] (n, exp) EN: intelligence of locality |
ประเพณีประจำท้องถิ่น | [praphēnī prajam thøngthin] (n, exp) EN: local tradition FR: tradition locale [ f ] |
สภาท้องถิ่น | [saphā thøngthin] (n, exp) EN: local council |
ส่วนท้องถิ่น | [suanthøngthin] (adj) EN: local FR: local ; régional |
ท้องถิ่น | [thøngthin] (n) EN: district ; locality ; area ; region FR: localité [ f ] ; région [ f ] ; voisinage [ m ] |
ท้องถิ่น | [thøngthin] (adj) EN: local ; regional ; native FR: local ; du coin ; du voisinage ; régional |
เวลาท้องถิ่น | [wēlā thøngthin] (n, exp) EN: local time FR: heure locale [ f ] |
city hall | (n) สถานที่ราชการส่วนท้องถิ่น |
council | (n) สภา, See also: สภาท้องถิ่น, สภาเทศบาล |
dialect | (n) ภาษาถิ่น, See also: ภาษาท้องถิ่น, ภาษาพื้นเมือง, Syn. argot, cant |
domestic | (adj) ภายในประเทศ, See also: เกี่ยวกับท้องถิ่น, พื้นบ้าน, Syn. native, not foreign, indigenous, Ant. foreign, imported |
Ethernet | (n) เครื่องหมายการค้าของระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายท้องถิ่นโดยใช้สายเคเบิล |
fauna | (n) ช่วงชีวิตของสัตว์ในท้องถิ่นหนึ่งๆ หรือช่วงเวลาหนึ่งๆ |
go native | (phrv) ประพฤติตัวเหมือนคนท้องถิ่นหรือคนพื้นเมือง (เช่น ทางด้านประเพณีหรือวัฒนธรรม) |
homegrown | (adj) ซึ่งเกิดขึ้นภายในท้องถิ่น |
indigenous | (adj) เกี่ยวกับชนพื้นเมือง, See also: ซึ่งเป็นของดั้งเดิม, ซึ่งเป็นของท้องถิ่น, Syn. domestic, native, original |
inhabitant | (n) ผู้อาศัย, See also: คนพื้นเมือง, คนท้องถิ่น, Syn. occupant, resident, dweller |
justice of the peace | (n) เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีเล็กๆ น้อยๆ, Syn. magistrate |
local | (n) คนพื้นเมือง, See also: คนท้องถิ่น, Syn. bus, train |
local | (adj) ประจำท้องถิ่น, See also: ส่วนท้องถิ่น, เฉพาะท้องถิ่น, แห่งท้องถิ่น, Syn. community, district, Ant. national |
local | (n) ลักษณะพิเศษของเฉพาะท้องถิ่น |
local colour | (n) รายละเอียดหรือลักษณะต่างๆ ของท้องถิ่นในเรื่องที่นักประพันธ์จะต้องรู้เพื่อเพิ่มความสมจริง |
local government | (n) เทศบาล, See also: องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น |
local time | (n) เวลาในท้องถิ่น, See also: เวลาในประเทศนั้น |
municipalize | (vt) ปกครองส่วนท้องถิ่น, See also: ปกครองตนเอง |
native | (n) ชาวพื้นเมือง, See also: คนท้องถิ่น, เจ้าของประเทศ, Syn. inhabitants, precursor, fellow citizen |
nay | (adv) การบอกปฏิเสธ ไม่ใช่เช่นนั้น, ไม่ (คำเก่าหรือคำท้องถิ่น) |
patois | (n) ภาษาท้องถิ่น (โดยเฉพาะของฝรั่งเศส), Syn. dialect, lingo |
provincial | (adj) ประจำจังหวัด, See also: ส่วนท้องถิ่น, ส่วนภูมิภาค, Syn. rural |
provincial | (n) คนท้องถิ่น, See also: คนบ้านนอก, คนต่างจังหวัด |
quarter sessions | (n) ศาลท้องถิ่น, See also: ศาลอังกฤษ, เปิดพิจารณาคดีทุกฤดูกาล, ศาลท้องถิ่นของอเมริกาบางรัฐ |
local yokel | (sl) คนท้องถิ่น (ในชนบท), See also: คนพื้นเมือง |
surrogate | (n) ตุลาการท้องถิ่น (ในบางรัฐ), Syn. judge |
Swiss | (n) ภาษาท้องถิ่นที่ใช้ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ |
urban renewal | (n) การฟื้นฟูดินแดนท้องถิ่นที่เสียหายหรือเสื่อมสลายไปแล้ว, Syn. modernization, gentrification, improvement |
adventive | (แอดเวน' ทิฟว) adj., n. ไม่ใช่ของท้องถิ่น, ไม่ใช่ของของพื้นเมือง, มาจากที่อื่น, สัตว์หรือพืชที่ไม่ใช่ท้องถิ่น |
amerind | (แอม' เมอไรนดฺ) n. ชาวอินเดียแดงและเอสกิโมในอเมริกาเหนือและใต้, ภาษาท้องถิ่นของอินเดียแดง. -Amerindian adj., n. -Amerindic adj. |
apostle | (อะพอส'เซิล) n. สาวกของพระเยซูคริสต์, มิชชั่นนารีแรกหรือที่รู้จักกันดีที่สุดของประเทศหรือท้องถิ่นนั้น, ผู้เผยแพร่, ผู้ปฏิรูป. |
arrondissement | (อะรอน'ดิสเมินทฺ) n., Fr. การบริหารส่วนท้องถิ่น, ท้องถิ่นการปกครอง (ในฝรั่งเศส) |
autochthon | (ออทอค'ธัน) n., (pl. thons, -thones) ชาวพื้นเมืองแต่เริ่มแรก, สัตว์หรือพืชของท้องถิ่นนั้น. -autochthonous, autochthonic, autochthonal adj., -autochthonism n., -autochtohny n. |
avifauna | (เอวิฟอ'นะ) n. นกในท้องถิ่นหรือเขตหนึ่ง (birds of a given region) |
backbone network | (แบค' โบน เนทเวิร์ค) n. ส่วนของเครือข่ายอันกว้างใหญ่ที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายท้องถิ่น |
brogue | (โบรก) n. สำเนียงท้องถิ่น, สำเนียงบ้านนอก, สำเนียงพื้นบ้าน, รองเท้าทำงานที่มีรูเจาะเป็นสิ่งประดับ, อุบาย, กล, See also: broguery n. ดูbrogue broguish adj. ดูbrogue |
bylaw | (บาย'ลอ) n. กฎหมายประกอบ, กฎเทศบาล, กฎหมายท้องถิ่น, ข้อปลีกย่อย -S.byelaw |
city room | n. ห้องข่าวท้องถิ่น, คณะบรรณาธิการข่าวท้องถิ่น |
councillor | (เคา'ซะเลอะ) n. ที่ปรึกษา, ผู้แนะนำ, สมาชิกสภาท้องถิ่น, สภาเทศบาล., See also: councilorship, councillorshipn. |
councilor | (เคา'ซะเลอะ) n. ที่ปรึกษา, ผู้แนะนำ, สมาชิกสภาท้องถิ่น, สภาเทศบาล., See also: councilorship, councillorshipn. |
country | (คัน'ทรี) n. ประเทศ, แผ่นดินของประเทศ, รัฐ, ประชากรของท้องถิ่น, รัฐหรือชาติ, ถิ่นบ้านนอก, ชนบท, ถิ่นที่อยู่ adj. ชนบท, บ้านนอก, เกี่ยวกับประเทศ, เกี่ยวกับบ้านเกิดเมืองนอน. --Phr. (across the country ข้ามทุ่งนาทุ่งไร่.) --Phr. (go to the country ยุบรัฐสภาเพื่อเลือกต |
dialect | (ได'อะเลคทฺ) n. ภาษาท้องถิ่น, สำเนียงท้องถิ่น ๆ, See also: dialectal adj. ดูdialect, Syn. jargon |
district | (ดิส'ทริคทฺ) n. เขต, ตำบล, แถบ, ท้องถิ่น, เมือง, มณฑล. vt. แบ่งออกเป็นเขต (ตำบล แถบ, ท้องถิ่น, มณฑล), Syn. area, region |
endemic | (เอนเดม'มิค) adj. เกี่ยวกับท้องถิ่นหนึ่งเฉพาะ -n. โรคประจำท้องถิ่นหนึ่ง, See also: endemical adj.ดูendemic endemism n. ดูendemic endemicity n.ดูendemic, Syn. indigenous |
hawaiian | (อะไว'เอียน) adj. เกี่ยวกับฮาวาย. n.ชาวเกาะฮาวาย, ภาษาท้องถิ่นของเกาะฮาวาย |
hombred | (โฮม'เบรด) adj. ท้องถิ่น, เจริญเติบโตที่บ้าน, เลี้ยงที่บ้าน, ผลิตในประเทศ, หยาบคาย, ไม่ได้รับการอบรมที่ดี |
idiom | (อิด'เดียม) n. สำนวน, ภาษาเฉพาะท้องถิ่น, ลักษณะจำเพาะ, Syn. dialect, colloquialism |
inbred | (อิน' เบรด) adj. ตั้งแต่เกิด, แต่แรกเกิด, โดยกำเนิด, ตั้งแต่ดั้งเดิม, เป็นของท้องถิ่น, เกี่ยวกับการผสมพันธุ์โดยเชื้อสายที่ใกล้ชิด, Syn. innate |
indigenous | (อินดิจ' จะเนิส) adj. ท้องถิ่น, พื้นเมือง, แต่กำเนิด, โดยกำเนิด., See also: indigenous- ly adv. indigenousness, indigenity n. |
inland | (อิน'เลินดฺ) adj. ภายในประเทศ, ภายในดินแดน, ท้องถิ่น. adv. ภายในประเทศ, เข้าไปในประเทศ. n. (อิน'แลนดฺ) บริเวณภายในประเทศ, Syn. domestic, internal |
local | (โล'เคิล) adj. เฉพาะแห่ง, เฉพาะที่, ซึ่งหยุดทุกสถานที่. n. รถไฟหรือรถเมล์ที่หยุดทุกสถานี, สาขาของสมาคม สโมสร สหภาพหรือองค์การ, คนท้องถิ่น, ร้านเหล้าประจำท้องถิ่น., See also: localness n., Syn. limited, regional, Ant. general, worl |
municipality | (มิวนิส'ซะแพล'ลิที) n. เทศบาล (นคร, เมือง, ท้องถิ่น) , การปกครองด้วยตนเอง, นครภิบาล, Syn. city, town |
native | (เน'ทิฟว) adj. แต่กำเนิด, โดยกำเนิด, ของพื้นเมือง, ของท้องถิ่น, โดยสันดาน, ไม่เปลี่ยนแปลง. n. คน (ต้นไม้, สัตว์) พื้นเมือง, See also: nativeness n., Syn. indigenous |
time chart | n. แผนภูมิเทียบเวลาท้องถิ่นต่าง ๆ ของโลก |
topical | (ทอพ'พิเคิล) adj. (เกี่ยวกับ) เรื่องท้องถิ่น, เหตุการณ์ปัจจุบันที่น่าสนใจ, หัวข้อ, เรื่องสนทนาหรือปราศรัย, เฉพาะแห่ง, เฉพาะที่, ถูกกาลเทศะ, See also: topically adv., Syn. parochial, local, thematic, pertinent |
vernacular | (เวอแนค'คิวละ) adj. เกี่ยวกับภาษาพื้นเมือง, เกี่ยวกับภาษาท้องถิ่น, ใช้ภาษาธรรมดา ๆ ที่ใช้กันประจำวัน, เกี่ยวกับชื่อทั่วไปของสัตว์หรือพืช. n. การพูดภาษาพื้นเมือง, ภาษาพื้นเมือง, ภาษาท้องถิ่น, ภาษาที่ใช้กันประจำวัน, ชื่อธรรมดาหรือชื่อทั่วไปของสัตว์หรือพืช |
adventive | (adj) มาจากที่อื่น, ไม่ใช่ของท้องถิ่น, มาจากภายนอก |
bylaw | (n) เทศบัญญัติ, กฎหมายท้องถิ่น |
dialect | (n) ภาษาถิ่น, ภาษาพื้นเมือง, สำเนียงท้องถิ่น |
district | (n) ตำบล, เขต, ท้องถิ่น, แถบ, เมือง, มณฑล |
inland | (adj) ภายในประเทศ, ไกลทะเล, ท้องถิ่น |
inland | (adv) ภายในประเทศ, เข้าไปในประเทศ, ภายในท้องถิ่น |
local | (adj) ประจำท้องถิ่น, ภายในเมือง, ของตำบล, เฉพาะแห่ง |
locality | (n) ท้องถิ่น, ละแวก, สถานที่, ตำบล, ตำแหน่งที่ตั้ง, ถิ่นที่อยู่ |
locally | (adv) ในท้องถิ่น, ภายในเมือง, เฉพาะแห่ง, เฉพาะที่, เฉพาะส่วน |
native | (n) คนพื้นเมือง, คนท้องถิ่น, ของพื้นเมือง |
provincialism | (n) ลัทธิท้องถิ่น |
ranger | (n) คนเฝ้าป่า, ตำรวจท้องถิ่น, ผู้ท่องเที่ยวไป |
vernacular | (n) ภาษาพื้นเมือง, ภาษาท้องถิ่น |