ขอร้อง | ก. ขอให้ช่วยเหลือ, ขอให้ทำตามที่ขอ. |
กรุณา | ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น กรุณาส่ง |
กลพยาน | (กน-) น. บุคคลที่ทางการให้เจ้าหน้าที่ไปขอสัมภาษณ์และขอร้องให้ช่วยรับเป็นพยาน มี ๓ ประเภทคือ ทิพพยาน อุดรพยาน และอุตริพยาน เช่น อนึ่งกลพยานนั้น คือวานท่านไปถามเป็นคำนับ (สามดวง). |
เกณฑ์ | ก. บังคับหรือขอร้องแกมบังคับ เช่น เกณฑ์ประชาชนมาทำถนน. |
ขอที, ขอเสียที | ก. ห้ามเชิงขอร้อง, ขอให้ละเว้นการกระทำ. |
ใคร่ | ใช้เป็นคำช่วยกริยาแสดงการขอร้องอย่างสุภาพ เช่น ใคร่ขออนุญาตดำเนินการ. |
เจ้าหน้า, เจ้าหน้าเจ้าตา | น. ผู้ชอบทำเอาหน้า, ผู้ชอบเสนอหน้าเข้าไปทำธุระให้คนอื่นโดยเขาไม่ได้ขอร้อง. |
ช้าก่อน | เป็นคำขอร้องให้รั้งรอไว้ก่อน. |
ด้วย | ว. คำแสดงกริยารวมหรือเพิ่ม เช่น สวยด้วยดีด้วย, แสดงกริยาร่วมกันหรือในทำนองเดียวกัน เช่น กินด้วย, แสดงความขอร้อง เช่น ช่วยด้วย บอกด้วย. |
ไถ ๑ | ขอร้องแกมบังคับ เพื่อเอาทรัพย์สินเป็นต้นอย่างไม่ถูกต้อง, รีดไถ. |
บน ๒ | ก. ขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คำมั่นว่าจะให้สิ่งของตอบแทนหรือทำตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อเป็นผลสำเร็จ, บนบาน ก็ว่า. |
บนข้าวผี ตีข้าวพระ | ก. ขอร้องให้ผีสางเทวดาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือโดยจะแก้บนเมื่อสำเร็จประสงค์แล้ว. |
บนบาน | ก. ขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คำมั่นว่าจะให้สิ่งของตอบแทนหรือทำตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อเป็นผลสำเร็จ, บน ก็ว่า. |
บนบานศาลกล่าว | ก. ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ. |
บิณฑบาต | ก. กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานำมาใส่บาตร, โดยปริยายหมายถึง กิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ขอบิณฑบาตให้เลิกแล้วต่อกัน. |
ปากหนัก | ว. ไม่ใคร่พูดขอร้องต่อใคร ๆ, ไม่ใคร่ทักทายใคร. |
โปรด | (โปฺรด) ก. ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น โปรดสิ่งสวยงาม, แสดงความเมตตากรุณาโดยปลดเปลื้องความเดือดร้อนเป็นต้น เช่น โปรดข้าพเจ้าสักครั้ง, ใช้ประกอบหน้ากริยา แสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น โปรดนั่งนิ่ง ๆ. |
ฝักถั่ว | น. การแสดงความอ่อนน้อม อ้อนวอน หรือขอร้องโดยวิธียกมือไหว้ เช่น มืออ่อนเป็นฝักถั่ว, การพลอยยกมือแสดงความเห็นชอบตามเขาไป มักใช้พูดตำหนินักการเมืองในเวลาลงคะแนนเสียง. |
พิษฐาน | (พิดสะถาน) ก. มุ่งหมาย, ขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อช่วยบันดาลให้ประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ตนมุ่งหมาย. |
ยังก่อน | คำขอร้องให้รั้งรอไว้ก่อน เช่น ยังก่อน อย่าเพิ่งกิน. |
ยาจนะ, ยาจนา | (ยาจะนะ, ยาจะนา) น. การขอ, การขอร้อง, การวิงวอน. |
เรี่ยไร | ก. ขอร้องให้ช่วยออกเงินทำบุญเป็นต้นตามสมัครใจ เช่น เรี่ยไรสงเคราะห์เด็กกำพร้า. |
เล่นตัว | ก. ตั้งแง่ไม่ยอมทำหรือไม่ยอมให้ทำง่าย ๆ ตามที่มีผู้งอนง้อหรือขอร้อง เพราะคิดว่าตัวมีดี เช่น ถ้าทำเป็นก็ทำให้หน่อย อย่าเล่นตัวไปเลย. |
แล้วก็แล้วกันไป, แล้วกันไป | ว. อาการที่พูดขอร้องให้เลิกแล้วต่อกัน เช่น เหตุการณ์ก็ผ่านพ้นไปแล้ว เรื่องนี้ขอให้แล้วกันไป. |
วิญญัตติ | (วินยัดติ) น. การขอร้อง, การบอกกล่าว, การชี้แจง, รายงาน. |
สนอง | (สะหฺนอง) ก. ทำตามที่ได้รับคำสั่งหรือคำขอร้องเป็นต้น เช่น สนองโครงการในพระราชดำริ สนองนโยบายของรัฐบาล |
เสียเถอะ, เสียเถิด | ว. คำประกอบท้ายกริยา แสดงการเกลี้ยกล่อมหรือขอร้อง เช่น ไปเสียเถิด. |
เสียเถอะ, เสียเถิด | คำประกอบท้ายกริยา แสดงการเกลี้ยกล่อมหรือขอร้องเป็นต้น เช่น ไปเสียเถิด. |
ไหว้วาน | ก. ขอร้องให้ช่วยเหลือ. |
อธิฏฐาน | (อะทิดถาน) ก. ตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตั้งจิตปรารถนา, ตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, อธิษฐาน ก็ว่า. |
อธิษฐาน | (อะทิดถาน, อะทิดสะถาน) ก. ตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตั้งจิตปรารถนา, ตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, อธิฏฐาน ก็ว่า. |
อ้อนวอน | ก. พยายามพูดขอร้อง. |
อายาจนะ | (-จะนะ) น. การขอร้อง, การวิงวอน, การเชื้อเชิญ. |
Diplomatic Privileges and Immunities | เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต] |
Eisenhower Doctrine | ลัทธิไอเซนฮาวร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1957 ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความวิตกห่วงใยในสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่ออันตรายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้อ่านสารพิเศษต่อที่ประชุมร่วมระหว่างสภาผู้แทนกับวุฒิสภาขอร้องให้รัฐสภา สหรัฐฯ ลงมติรับรองโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางทหาร เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติของบรรดาประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการสนองตอบสารพิเศษดังกล่าว รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านข้อมติร่วมกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1957 มอบให้ประธานาธิบดีมีอำนาจให้ความร่วมมือและอำนวยความช่วยเหลือแก่ชาติหรือ กลุ่มชาติต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งต้องการความช่วยเหลือเช่นนั้น ในการที่จะพัฒนาพลังทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติตน และให้จัดโครงการช่วยเหลือทางทหารแก่ชาติต่างๆ ในภาคนั้นซึ่งต้องการความช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งได้มอบอำนาจให้ประธานาธิบดีสามารถใช้กองทัพสหรัฐฯ เข้าช่วยเหลือชาติเหล่านั้นที่แสดงเจตนาขอความช่วยเหลือ เพื่อต่อต้านการรุกรานจากประเทศใด ๆ ที่อยู่ใต้อำนาจควบคุมของคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศ [การทูต] |
Good Offices และ Mediation | วิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยฉันมิตร คำว่า Good Offices หมายถึง การช่วยเป็นสื่อกลาง ส่วน Mediation หมายถึง การไกล่เกลี่ยศัพท์ทั้งสองนี้หมายถึงวิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ โดยฉันมิตร กล่าวคือ ในกรณีข้อพิพาทซึ่งการเจรจากันทางการทูตไม่สามารถตกลงกันได้ง่าย ๆ ดังนั้น รัฐที่สามอาจยื่นมือเข้าช่วยเป็นสื่อกลาง หน้าที่ในการนี้มิใช่ออกความเห็นหรือวินิจฉัยชี้ขาดว่าใครถูกใครผิดในกรณี ข้อพิพาท หากเป็นแต่เพียงแสวงหาลู่ทางที่จะระงับข้อพิพาทจะต้องมีให้น้อยที่สุดเท่า ที่จะทำได้ และถือว่าเป็นกาดรกระทำฉันมิตร (Friendly act) คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธข้อเสนอได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดทางการ เมือง หรือคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจขอร้องให้ช่วยเป็นสื่อกลาง หรือให้ช่วยไกล่เกลี่ย ตามธรรมดาการช่วยเป็นสื่อกลางนั้นเป็นเพียงการเข้าช่วยงานพื้นฐาน หรือให้มีการเริ่มต้นการเจรจาเท่านั้น ส่วนงานเจรจาที่จะกระทำโดยตรงกว่าจะมีลักษณะเป็นการไกล่เกลี่ย แต่ในทางปฏิบัติไม่ค่อยมีการคำนึงกันนักถึงความแตกต่างจริงๆ ระหว่างวิธีทั้งสอง คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธไม่ยอมรับการไกล่เกลี่ยไม่ว่าเวลาใดก็ได้ จะเห็นได้ว่า การช่วยเป็นสื่อกลางกับการไกล่เกลี่ยนั้นแตกต่างกัน คือ ในกรณีการช่วยเป็นสื่อกลาง ฝ่ายที่สามจะกระทำแต่เพียงช่วยให้มีการหันหน้าเข้าเจรจากันระหว่างคู่พิพาท ส่วนในกรณีการไกล่เกลี่ย ฝ่ายที่สามพยายามจัดให้มีการเจรจากันจริง ๆ ตามมูลฐานข้อเสนอของตน ฝ่ายที่เสนอช่วยเป็นสื่อกลางหรือช่วยไกล่เกลี่ยนั้น อาจจะมาจากประเทศที่สาม หรือจากองค์การระหว่างประเทศ หรือจากบุคคลธรรมดาคนหนึ่งก็ได้ [การทูต] |
Immunity from Jurisdiction of Diplomatic Agents | ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 31 ว่า?1. ให้ตัวแทนทางการทูตได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางอาญาของรัฐผู้รับ ตัวแทนทางการทูตยังจะได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่ง และทางการปกครองของรัฐผู้รับด้วย เว้นแต่ในกรณีของก) การดำเนินคดีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับนอกจากตัวแทนทางการทูตครอบครองไว้ในนามของ รัฐผู้ส่งเพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนข) การดำเนินคดีเกี่ยวกับการสืบมรดกซึ่งเกี่ยวพันถึงตัวแทนทางการทูตในฐานะผู้ จัดการมรดกโดยพินัยกรรม ผู้จัดการมรดกโดยศาลตั้งทายาท หรือผู้รับมรดกในฐานะเอกชน และมิใช่ในนามของรัฐผู้ส่งค) การดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจกรรมใดในทางวิชาชีพ หรือพาณิชย์ ซึ่งตัวแทนทางการทูตได้กระทำในรัฐผู้รับ นอกเหนือจากการหน้าที่ทางการของตน 2. ตัวแทนทางการทูตไม่จำเป็นต้องให้การในฐานะพยาน 3. มาตรการบังคับคดี ไม่อาจดำเนินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนทางการทูต เว้นแต่ในกรณีซึ่งอยู่ภายใต้อนุวรรค (ก) (ข) และ (ค) ของวรรค 1 ของข้อนี้ และโดยมีเงื่อนไขว่ามาตรการที่เกี่ยวข้องอาจดำเนินไปได้โดยปราศจากการละเมิด ความละเมิดมิได้ในตัวบุคคลของตัวผู้แทนทางการทูต หรือที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต 4. ความคุ้มกันของตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ ไม่ยกเว้นตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้ส่ง?เกี่ยวกับความคุ้มกันตัว แทนทางการทูตจากขอบเขตของอำนาจศาลทางแพ่ง อาจกล่าวได้อย่างกว้างๆ ว่า ตัวแทนทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทน ทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทนทางการ ทูตจะถูกฟ้องมิได้ และถูกจับกุมมิได้เกี่ยวกับหนี้สิน รวมทั้งทรัพย์สินของเขา เช่น เครื่องเรือน รถยนต์ ม้า และสิ่งอื่นๆ ทำนองนั้นก็จะถูกยืดเพื่อใช้หนี้มิได้ ตัวแทนทางการทูตจะถูกกีดกันมิให้ออกไปจากรัฐผู้รับในฐานะที่ยังมิได้ชดใช้ หนี้สินของเขานั้นก็มิได้เช่นกัน อนึ่ง นักกฎมายบางกลุ่มเห็นว่า ตัวแทนทางการทูตจะถูกหมายศาลเรียกตัว (Subpoenaed) ไม่ได้ หรือแม้แต่ถูกขอร้องให้ไปปรากฎตัวเป็นพยานในศาลแพ่งหรือศาลอาญาก็ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ถ้าหากตัวแทนทางการทูตสมัครใจที่จะไปปรากฏตัวเป็นพยานในศาล ก็ย่อมจะทำได้ แต่จะต้องขออนุมัติจากรัฐบาลในประเทศของเขาก่อน [การทูต] |
International Atomic Energy Agency | สำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต] |
International Labor Organization | คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน ปีค.ศ.1919 วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ การมีส่วนเกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ด้วยการส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม โดยต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นการที่จะให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมเป็นประจำ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแรงงาน และฝ่ายจัดการ เพื่อเสนอแนะและจัดให้มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดร่างสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าแรง ชั่วโมงทำงาน อายุการทำงาน เงื่อนไขการทำงานสำหรับคนงานในระดับต่าง ๆ ค่าชดเชยสำหรับคนงาน การประกันสังคม การหยุดพักร้อนโดยให้รับเงินเดือน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม บริการต่าง ๆ ในหน้าที่การงาน การตรวจแรงงาน เสรีภาพในการคบหาสมาคมกัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น องค์การยังได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างกว้างขวางแก่รัฐบาลของประเทศ สมาชิก รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือเอกสารรายคาบ เรื่องค้นคว้าและรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสังคม อุตสาหกรรม และแรงงานILO ปฏิบัติงานผ่านองค์กรต่าง ๆ โดยองค์กรสำคัญที่สุดภายในองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ซึ่งประชุมกันเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยคณะผู้แทนแห่งชาติ ในจำนวนนี้มีผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาล 2 คน ผู้แทนฝ่ายจัดการ 1 คน และผู้แทนฝ่ายแรงงานอีก 1 คน หน้าที่สำคัญคือจัดวางมาตรฐานทางสังคมระหว่างประเทศขึ้นในรูปของอนุสัญญา องค์กรภายในองค์การอีกส่วนหนึ่งคือคณะผู้ว่าการ (Governing Body) จะประกอบด้วย สมาชิก 40 คน ในจำนวนนี้ 20 คน จะเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 คน จากจำนวนนี้จะได้แก่ ตัวแทนจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ส่วนตัวแทนของฝ่ายจัดการ (หรือนายจ้าง) จะมีจำนวน 10 คน และอีก 10 คนเป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงาน คณะผู้ว่าการนี้จะทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการขององค์การ คือสำนักแรงงานระหว่างประเทศจะมีหน้าที่รวบรวมเผยแพร่ข้อสนเทศ ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่ขอร้องให้ช่วยร่างกฎหมายตามที่ได้มีมติ ตกลงในที่ประชุมใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับดำเนินการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ เป็นพิเศษ รวมทั้งออกสิ่งพิมพ์เผยแพร่องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสำนักงานใหญ่ตั้ง อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
Inviolability of the Mission Premises | คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต] |
Palestine Question | ปัญหาปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1947 ประเทศอังกฤษได้ขอให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทำการประชุมสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหาปาเลสไตน์ สมัชชาได้ประชุมกันระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และที่ประชุมได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับปาเลสไตน์ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกรวม 11 ประเทศ ซึ่งหลังจากที่เดินทางไปตรวจสถานการณ์ในภาคตะวันออกกลาง ก็ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รายงานนี้ได้ตั้งข้อเสนอแนะรวม 12 ข้อ รวมทั้งโครงการฝ่ายข้างมาก (Majority Plan) และโครงการฝ่ายข้างน้อย (Minority Plan) ตามโครงการข้างมาก กำหนดให้มีการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐอาหรับแห่งหนึ่ง รัฐยิวแห่งหนึ่ง และให้นครเยรูซาเล็มอยู่ภายใต้ระบบการปกครองระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ดินแดนทั้งสามแห่งนี้มีความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปสหภาพเศรษฐกิจ ส่วนโครงการฝ่ายข้างน้อย ได้เสนอให้ตั้งรัฐสหพันธ์ที่เป็นเอกราชขึ้น ประกอบด้วยรัฐอาหรับและรัฐยิว อันมีนครเยรูซาเล็มเป็นนครหลวงต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติได้ประชุมลงมติรับรองข้อเสนอของโครงการฝ่ายข้างมาก ซึ่งฝ่ายยิวได้รับรองเห็นชอบด้วย แต่ได้ถูกคณะกรรมาธิการฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่รับรอง โดยต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐอาหรับแต่เพียงแห่งเดียว และทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของคนยิวที่เป็นชนกุล่มน้อย อนึ่ง ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้อำนาจอาณัติเหนือดินแดนปาเลสไตน์ สิ้นสุดลงและให้กองทหารอังกฤษถอนตัวออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1948 นอกจากนั้นยังให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีของสหประชาชาติจัดทำธรรมนูญการปกครองโดย ละเอียดสำหรับนครเยรูซาเล็มจากนั้น สมัชชาสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติขึ้น ประกอบด้วยประเทศโบลิเวีย เช็คโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก ปานามา และฟิลิปปินส์ ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงก็ได้รับการขอร้องให้วางมาตรการที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่า สถานการณ์ในปาเลสไตน์จักถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพหรือไม่ และถ้าหากมีการพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงความตกลงตามข้อมติของ สมัชชาเมื่อใด ให้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ โดยอาศัยข้อ 39 ของกฎบัติสหประชาชาติเป็นบรรทัดฐาน [การทูต] |
Persona non grata | เป็นศัพท์ที่ใช้กับนักการทูตหรือผู้แทนทางการทูต ที่ประจำอยู่ในประเทศซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ปรารถนาให้อยู่ต่อไปอีกแล้ว หลังจากที่ได้ไปประจำทำงานในตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้น หรือก่อนหน้าที่นักการทูตผู้นั้นจะเดินทางไปถึงดินแดนของประเทศผู้รับ (Receiving State) นักการทูตที่ถูกประกาศเป็น persona non grata หรือ บุคคลที่ไม่พึงปรารถนานั้น เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ กล่าวคำดูหมิ่นรัฐบาลของประเทศที่ตนไปประจำอยู่ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองนั้น แทรกแซงในการเมืองภายในของเขา เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของเขา ใช้ถ้อยคำก้าวร้าวต่อประเทศนั้น วิพากษ์ประมุขแห่งประเทศของเขากระทำการอันเป็นที่เสียหายต่อประโยชน์หรือต่อ ความมั่นคงของประเทศ และกระทำการอื่น ๆ ในทำนองนั้นตามปกติรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพที่เป็นฝ่ายเสียหายจะขอร้องให้ รัฐบาลผู้ส่ง (Sending government) เรียกตัวนักการทูตผู้กระทำผิดกลับประเทศ ซึ่งตามปกติรัฐบาลผู้ส่งมักจะปฏิบัติตาม รัฐบาลของประเทศผู้เสียหายจะแจ้งให้นักการทูตผู้นั้นทราบว่า รัฐบาลจะไม่ทำการติดต่อเกี่ยวข้องเป็นทางการกับเขาอีกต่อไป หรืออาจจะบอกให้นักการทูตผู้นั้นออกไปจากประเทศโดยไม่เกรงใจแต่อย่างใดก็ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 9 ดังต่อไปนี้ ?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ และโดยมิต้องชี้แจงถึงการวินิจฉัยของตนว่า หัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่พึงโปรด หรือว่าบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีใดเช่นว่านี้ ให้รัฐผู้ส่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นกับคณะผู้แทนเสียก็ได้ตามที่เหมาะสมบุคคลอาจจะ ถูกประกาศให้เป็นผู้ไม่พึงโปรด หรือไม่พึงยอกรับได้ก่อนที่จะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธ หรือไม่นำพาภายในระยะเวลาอันสมควร ที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันของคนภายใต้วรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับสามารถปฏิเสธที่จะยอมรับนับถือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็นบุคคล ในคณะผู้แทนก็ได้? [การทูต] |
Recall of Diplomats | การเรียกตัวนักการทูตกลับประเทศของตน คือ ผู้แทนทางการทูตอาจถูกรัฐบาลของตนริเริ่มเรียกตัวกลับประเทศได้ด้วยเหตุผล ต่าง ๆ เช่น ผู้แทนทางการทูตนั้นขอลาออก หรือลาออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ หรือถูกโยกย้ายไปประจำอีกแห่งหนึ่ง หรือเกิดความไม่พอใจอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ถ้าหากรัฐบาลปรารถนาจะเรียกหัว หน้าคณะผู้แทนทางการทูตกลับโดยถาวรเนื่องจากไม่พอใจในตัวเขา โดยมากเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกัน คือ รัฐบาลจะเปิดโอกาสให้หัวหน้าคณะทูตผู้นั้นทำหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งเสีย มากกว่าที่จะใช้วิธีสั่งปลด อันเป็นการกระทำที่รุนแรงกว่ามากนอกจากนี้ หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตหรือเอกอัครราชทูตอาจถูกรัฐบาลเรียกตัวกลับตามคำ ขอร้องของรัฐบาลประเทศผู้รับ เนื่องจากกระทำตนไม่เป็นที่พึงปราถนาของประเทศผู้รับ (Persona non grata) ก็ได้ ตามปกติ คำขอร้องจากรัฐผู้รับขอให้เรียกตัวกลับนั้น มักได้รับการตอบสนองโดยดีในทันทีจากรัฐผู้ส่ง แต่ถ้าหากรัฐผู้ส่งปฏิเสธคำขอร้องดังกล่าวนั้น รัฐผู้รับอาจขับให้ออก (Dismiss) จากประเทศก็ได้ [การทูต] |
Security Council of the United Nations | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ [การทูต] |
Termination of Mission of Diplomatic Agent | ภารกิจของผู้แทนทางการทูตหรือหัวหน้าคณะทูตจะสิ้น สุดลง 1. ระยะเวลาที่ผู้แทนทางการทูตได้รับแต่งตั้งให้ประจำอยู่ในประเทศผู้รับได้ครบ กำหนดตามวาระ2. เมื่อวัตถุประสงค์ของภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติได้สัมฤทธิผลเรียบ ร้อยแล้ว3. ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากต้องโยกย้ายไปที่อื่น หรือลาออก หรือเนื่องจากครบเกษียณอายุ4. ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของรัฐบาลของตน หรือกระทำตามคำขอร้องของรัฐบาลของประเทศผู้รับ ซึ่งเขาได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงานอยู่5. เนื่องจากการเสด็จสวรรคตของพระมหากษัตริย์ของประเทศตน หรือประเทศที่ตนได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงาน6. หากตัวเขาเองได้กระทำการอันเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศบางอย่าง หรือเนื่องจากเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่คาดไม่ถึง และมีลักษณะร้ายแรงจริง ๆ ตัวเขาเองจะต้องรับผิดชอบในการตัดความสัมพันธ์7. เมื่อรัฐบาลผู้รับ ซึ่งตัวเขาได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงานอยู่นั้น แล้วจะด้วยเหตุผลอย่างใดก็ตาม ได้แจ้งให้เขาเดินทางออกไปจากประเทศในทันที โดยไม่ต้องระให้รัฐบาลของตนเรียกตัวกลับ8. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งของผู้แทนทางการทูต ดังเช่น ได้รับเลื่อนตำแหน่งจากอัครราชทูตขึ้นเป็นเอกอัครราชทูต9. เนื่องจากเกิดสงครามขึ้นระหว่างรัฐทั้งสอง10. เนื่องจากถูกถอดจากตำแหน่ง หรือสละราชบัลลังก์ของประมุขของประเทศใดประเทศหนึ่ง 11. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในประเทศใดประเทศหนึ่ง จากระบบพระมหากษัตริย์เป็นระบบสาธารณรัฐ หรือเป็นระบบสาธารณรัฐอันมีประมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมาย12. เนื่องจากรัฐใดรัฐหนึ่งของทั้งสองรัฐต้องสูญสภาวะในการเป็นรัฐเหตุผลข้างต้น ทั้งหมดนี้ เป็นทรรศนะของเซอร์เออร์เนสท์ ซาทาว ซึ่งได้ให้ไว้ในหนังสือของท่าน ชื่อว่า ?A Guide to Diplomatic Practice? ฉบับเรียบเรียงใหม่ครั้งที่ 4 โดยเซอร์เนวิลล์ แบลนด์ [การทูต] |
The Hague Peace Conferences | การประชุมสันติภาพ ณ กรุงเฮก ในประเทศเนเธอร์แลนด์ การประชุมนี้ได้กระทำกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1899 โดย พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่สอง ของประเทศรัสเซียเป็นผู้จัดให้มีขึ้น ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1899 ที่ประชุมได้รับรองอนุสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติ วิธี ได้ตกลงจัดตั้งศาลซึ่งตัดสินประเทศโดยสันติวิธี พร้อมทั้งได้ตกลงจัดตั้งศาลซึ่งตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการเป็นการถาวร และเสนอแนะให้วางประมวลพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ ทั้งยังได้ตกลงรับรองอนุสัญญาและปฏิญญาต่าง ๆ หลายฉบับ ในจำนวนนี้ ที่สำคัญที่สุดได้แก่ อนุสัญญาควบคุมกฎหมายและขนบประเพณีว่าด้วยการทำสงครามภาคพื้นดินการประชุม สันติภาพ ณ กรุงเฮกครั้งที่สอง หรือการประชุม ณ กรุงเฮกปี ค.ศ.1907 ตามคำขอร้องของรัฐบาลรัสเซีย ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.1907 วัตถุประสงค์สำคัญของการประชุมคือต้องการปรับปรุงและขยายข้อความในอนุสัญญา ต่าง ๆ ที่ทำไว้เมื่อปี ค.ศ. 1899 ว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี รวมทั้งกฎหมายและขนบประเพณีเกี่ยวกับสงครามภาคพื้นดิน ตลอดจนรับรองอนุสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายและขนมประเพณีของการทำสงครามทางทะเล การประชุม ณ กรุงเฮกครั้งที่สองนี้ยังได้เสนอแนะให้ที่ประชุมกำหนดให้ประเทศผู้ลงนาม รับรองและนำออกใช้ซึ่งร่างอนุสัญญาว่าด้วยการก่อตั้งศาลสถิตยุติธรรม เพื่อพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการอีกด้วย [การทูต] |
appeal | (n) คำขอร้อง |
ask | (vi) ขอร้อง, See also: ขอ, Syn. request, beg |
ask | (vt) ขอร้อง, See also: ขอ |
at someone's request | (idm) ตามคำขอร้องของ |
beg | (vt) ขอร้อง, See also: อ้อนวอน |
beseech | (vt) ขอความกรุณา, See also: ขอร้อง, อ้อนวอน, วิงวอน, Syn. beg, ask |
be onto | (phrv) เฝ้าบอก, See also: คอยบอก, ขอร้อง, Syn. go on at |
beg of | (phrv) ขอร้อง (อย่างสุภาพ), See also: วิงวอน |
cast oneself on someone's mercy | (idm) ขอความเมตตา, See also: ขอร้อง, Syn. fling on, throw on |
crave for | (phrv) อ้อนวอน (แกมบังคับ), See also: วิงวอน, ขอร้อง |
entreat | (vt) อ้อนวอน (คำทางการ), See also: วิงวอน, ขอร้อง, ออดอ้อน, ร้องขอ, Syn. beg, plead |
entreat | (vi) อ้อนวอน (คำทางการ), See also: วิงวอน, ขอร้อง, ออดอ้อน, ร้องขอ, Syn. beg, plead |
entreaty | (n) การขอร้อง, See also: การวิงวอน, การออดอ้อน, Syn. plea, request, supplication |
intercede for | (phrv) ไกล่เกลี่ยให้กับ, See also: ขอร้องให้กับ, Syn. intercede with |
intercede with | (phrv) ไกล่เกลี่ยให้กับ, See also: ขอร้องให้กับ, Syn. intercede for |
invoke on | (phrv) อ้อนวอนให้มีบางสิ่ง (ที่ลงมาจากสวรรค์) เกิดขึ้นกับ, See also: ขอร้องให้เกิด บางสิ่ง กับ, Syn. call down on |
invoke upon | (phrv) อ้อนวอนให้มีบางสิ่ง (ที่ลงมาจากสวรรค์) เกิดขึ้นกับ, See also: ขอร้องให้เกิด บางสิ่ง กับ, Syn. call down on |
hist | (int) คำอุทานเพื่อเรียกร้องความสนใจหรือขอร้องให้คนเงียบ |
hit up | (vt) ขอร้องให้ทำ, Syn. request |
hustle | (vt) ขอร้อง, See also: วิงวอนขอ |
implore | (vt) อ้อนวอน, See also: ขอร้อง, วิงวอน, Syn. beg, beseech, plead |
intercede | (vi) ขอร้องให้คนอื่น, See also: วิงวอนให้คนอื่น, พยายายามประนีประนอม |
invocate | (vt) ขอร้อง, See also: อ้อนวอน, Syn. invoke, appeal to, petition, Ant. deny, disclaim |
invocation | (n) คำขอร้อง, See also: การอ้อนวอน, Syn. appeal, petition, supplication |
invoke | (vt) วิงวอน (เทพเจ้า), See also: ขอร้อง, อ้อนวอน, Syn. call upon, appeal to, petition |
obsecrate | (vt) ขอร้อง |
petition | (n) การอ้อนวอน, See also: การสวดอ้อนวอน, การขอร้อง, Syn. appeal, solicitation |
petition | (n) คำอ้อนวอน, See also: คำขอร้อง, Syn. prayer, request, supplication |
petition | (vt) อ้อนวอน, See also: ขอร้อง, Syn. appeal, request, solicit |
plea | (n) คำร้อง, See also: คำขอ, คำขอร้อง, คำวิงวอน, Syn. request, overture |
plea | (n) การขอร้อง, See also: การวิงวอน, Syn. appeal, request |
pleadings | (n) การแก้ต่าง, See also: การแก้ตัว, การแก้ฟ้อง, การขอร้อง, การวิงวอน |
please | (adv) ได้โปรด (ใช้แสดงการขอร้อง), See also: กรุณา, โปรด |
please | (int) ได้โปรด (ใช้แสดงการขอร้อง), See also: กรุณา, โปรด |
postulator | (n) ผู้ขอร้อง, See also: ผู้เรียกร้อง |
plead for | (phrv) ขอร้อง, See also: วิงวอน |
plead with | (phrv) ขอร้องกับ, See also: วิงวอนกับ |
push for | (phrv) กระตุ้น, See also: ขอร้อง, บังคับ, Syn. press for |
request | (vt) ขอร้อง, See also: ขอ, เรียกร้อง, Syn. ask for, demand, desire |
request | (n) การขอร้อง, See also: การขอ, คำขอร้อง, การเรียกร้อง, Syn. asking, appeal |
suit | (n) คำร้อง, See also: คำร้องเรียน, การขอร้อง, Syn. petition |
summon | (vt) ขอร้อง, See also: เรียกร้อง, Syn. request, require |
tell | (vt) สั่ง, See also: ขอร้องให้ทำ, บอกให้ทำ, Syn. direct |
unbidden | (adj) ไม่ได้บังคับ, See also: ไม่ได้ขอร้อง, ไม่ได้รับเชิญ, Syn. improvident, Ant. provident |
uncalled-for | (adj) ไม่ได้เชิญ, See also: ไม่ได้เชื้อเชิญ, ไม่ได้ขอร้อง, ไม่ได้เรียก, Syn. unlucky, improvident, unfortunate, unbidden, unwanted, unwarranted, Ant. fortunate, provident, lucky |
wish | (n) คำขอร้องอย่างสุภาพ (คำเป็นทางการ), Syn. desire |
would | (n) คำกริยาที่ใช้สำหรับการขอร้องอย่างสุภาพ |
adjure | (อะจัวร์') vt. ให้สาบาน, ขอร้อง, อ ้อนวอน. -adjuration n., -adjuratory adj. |
askrask | (อาสคฺ) vt., vi. ถาม, ถามข่าว, ขอร้อง, ขอ, เชื้อเชิญ, ซักถาม, Syn. entreat, crave |
behest | (บิเฮสทฺ') n. คำสั่ง, คำขอร้อง, พระบรมราชโองการ, Syn. command |
beseech | (บิซีช') { besought/beseeched, besought/beseeched, beseeching, beseeches } vt., vi. อ้อนวอน, ขอร้อง, ขอความกรุณา, See also: beseecher n., Syn. solicit |
bespeak | (บิสพีค') { bespoke, bespoke, bespeaking, bespeaks } vt., n. (การ) ถามหา, กล่าว, ว่า, แสดงให้เห็น, บอกล่วงหน้า, จองล่วงหน้า, ขอร้อง, Syn. indicate, Ant. negate |
entreat | (เอนทรีท') vt., vi. ขอร้อง, วิงวอน, อ้อนวอน., See also: entreatingly adv. ดูentreat entreatment n. ดูentreat, Syn. implore, beg |
entreaty | (เอนทรี'ที่) n. การขอร้อง, การวิงวอน, คำขอร้อง, คำวิงวอน, คำอ้อนวอน |
evocable | (เอฟ'วะคะเบิล) adj. ซึ่งเรียกปลุกได้, ซึ่งขอร้องได้ |
evocation | (เอฟวะเค'เชิน) n. การเรียกปลุก, การขอร้อง, การเรียก, การกระตุ้นให้เกิดขึ้น, การนำมาซึ่ง |
hist | (ฮิสท) interj. คำอุทาน "ฮือ!" (เรียกร้องความสนใจหรือขอร้องให้คนเงียบ) |
imperative | (อิมเพอ' ระทิฟช) adj. ซึ่งเลี่ยงไม่ได้, จำเป็น, เชิงบังคับ -n. คำสั่ง, ความจำเป็น, ข้อบังคับ, กฎเกณฑ์, น้ำเสียงขอร้องหรือเป็นเชิงบังคับ, มาลาเชิงบังคับของไวยากรณ์ |
implore | (อิมพลอร์') vt. ขอร้อง, เรียกร้อง, วิงวอน, อ้อนวอน., See also: implorer n. imploringly adv., Syn. beseech, entreat |
importunity | (อิมพอร์ทู' นิที) n. การรบเร้า, การเรียกร้อง, การพร่ำ, การขอร้องอย่างไม่หยุด |
intercede | (อินเทอะซีด') vi. ขอร้อง, ร้องขอ, ไกล่เกลี่ย, พยายามให้มีการประนีประนอมกัน., See also: interceder n., Syn. arbitrate |
invite | (อินไวทฺ') vt. เชื้อเชิญ, เชิญ, ขอร้อง, ร้องขอ, ก่อให้เกิด, นำมาซึ่ง. vi. เชิญ, นำมาซึ่ง., See also: inviter n., Syn. call for, ask |
invocate | (อิน'วะเคท) vt. เรียกผี, ขอร้อง, อุทธรณ์, วิงวอน., See also: invocative adj. invocator n., Syn. invoke |
invoke | (อินโวค') vt. เรียกผี, ปลุกผี, ขอร้อง, อุทธรณ์, วิงวอน, ก่อให้เกิด, นำมาซึ่ง., See also: invocable adj. invoker n., Syn. call |
motion | (โม'เชิน) n. การเคลื่อนที่, อำนาจการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหว, วิธีการหรือท่าทางในการเดิน, กิริยาท่าทาง, ข้อเสนอเป็นทางการ, การขอร้องต่อศาล, แรงดลใจ, ความโน้มน้าว -Phr. (in motion กำลังเคลื่อนที่) vt. โบกไม้โบกมือหรือให้สัญญาณเคลื่อนที่, See also: motioner n. |
obsecrate | (ออบ'ซะเครท) vt. อ้อนวอน, วิงวอน, ขอความกรุณา, ขอร้อง, See also: obsecration n. |
obtest | (ออบเทสท) vt. ขอร้องให้มาเป็นพยาน, ขอร้องขอ. vi. คัดค้าน., See also: obtestation. n., Syn. beseech. protest |
plea | (พลี) n. คำแก้ตัว, คำแก้ต่าง, คำแก้ฟ้อง, ข้อต่อสู้ในอรรถคดี, คำขอร้อง, การขอร้อง, การวิงวอน |
plead | (พลีด) vt., vi. แก้ต่าง, แก้ฟ้อง, ขอร้อง, วิงวอน., See also: pleadable adj. pleader n. pleading n. |
postulate | (พอส'ชะลิท) n. ขอร้อง, ยืนยัน, อ้าง, วางสมมุติฐาน, วางหลัก. n. สมมุติฐาน, หลัก, หลักฐาน, หลักการพื้นฐาน, เงื่อนไขที่ต้องมีก่อน., See also: postulation n. postulational adj., Syn. demand premise |
pray | (เพร) vt. สวดมนต์, อธิษฐาน, ขอร้อง, วิงวอน, ภาวนา, ขอได้โปรด., See also: prayingly adv. |
prayer | (แพร) n. การสวดมนต์, การอธิษฐาน, คำสวดมนต์, คำอธิษฐาน, การขอร้อง, การภาวนา, สิ่งที่อ้อนวอน, สิ่งที่ขอ, ผู้สวดมนต์, ผู้อธิษฐาน, ผู้วิงวอน |
request | (รีเควสทฺ') n. การขอร้อง, ความต้องการ, คำขอร้อง, คำเรียกร้อง, คำอ้อนวอน, สิ่งที่ขอร้อง, ความต้องการ -Phr. (at (by) request ตามคำขอร้อง) vt. ขอร้อง, เรียกร้อง, อ้อนวอน, ขอ, ถามหา, See also: requester n., Syn. desire, wish, appeal |
require | (รีไคว'เออะ) vt., vi. ต้องการ, ประสงค์, ปรารถนา, ขอร้อง, เรียกร้อง, กำหนด, See also: requirable adj. requirer n., Syn. need, demand |
shoo | (ชู) intetj. คำอุทานที่ใช้ไล่แมวสุนัขหรือสัตว์อื่น ๆ vi. ไล่ไปโดยใช้เสียง "ชู" vt. ขอร้องให้ไป, บังคับให้ไป |
solicit | (ซะลิส'ซิท) vt., vi. เรียกร้อง, ชักชวน, ขอร้อง, วิงวอน, เชื้อเชิญ, จูงใจ, ล่อใจ, (โสเภณี) ดึงแขก, กระตุ้นใจ., See also: solicitant n. solicitation n. |
solicitor | (ซะลิส'ซิเทอะ) n. ผู้เรียกร้อง, (ชักชวน, ขอร้อง, วิงวอน, เชื้อเชิญ, จูงใจ, ล่อใจ, กระตุ้นใจ) , (ในอังกฤษ) ทนายความชั้นรองลงมาจากbarrister, อัยการ., See also: solictorship n. |
sue | (ซู) vt., vi. ฟ้อง, ฟ้องร้อง, ขอร้อง, เกี้ยวผู้หญิง, See also: suer n., Syn. ask |
suit | (ซูท) n. คำร้อง, คำขอร้อง, การขอร้อง, การขอแต่งงาน, การเกี้ยวพาราสี, การฟ้องร้อง, การฟ้องร้องคดี, คดี, ฎีกา, ชุดเสื้อผ้า, ชุด, ชุดไพ่ดอกสีเดียวกัน, ผู้ติดตาม. vt., vi. ทำให้เหมาะกับ, เหมาะสม, จัดให้มีชุดเสื้อผ้าหรืออื่น ๆ |
suitor | (ซู'เทอะ) n. ชายที่เกี้ยวผู้หญิง, โจทก์, ผู้ร้องทุกข์, ผู้ฟ้องร้อง, ผู้ขอร้อง., Syn. young man |
summons | (ซัม'เมินซ) n. การเรียกตัว, การออกหมายเรียก, การขอร้อง, การเรียกร้อง, หมายศาล, หมายเรียก, การเรียกตัวให้มาประชุมรัฐสภา. pl. summonses, Syn. subpoena, call |
unbidden | (อันบิด'เดิน) adj. ไม่ได้บังคับ, โดยตัวของมันเอง, ไม่ได้ขอร้อง, ., Syn. unbid |
uncalled | (อันคอลดฺ') adj. ไม่ได้เชื้อเชิญ, ไม่ได้ขอร้อง, ไม่ได้เรียก, ไม่จำเป็น |
uncalled-for | (อันคอลดฺ'ฟอร์) adj. ไม่ได้เชิญ, ไม่ได้ขอร้อง, ไม่ได้เรียก, ไม่เป็นที่ต้องการ |
adjuration | (n) การขอร้อง, การอ้อนวอน, การให้คำสัตย์, คำสั่ง |
adjure | (vt) อ้อนวอน, ขอร้อง, ให้คำสัตย์, สาบาน, สั่ง |
appeal | (vt) ขอร้อง, อ้อนวอน, ร้องเรียน, อุทธรณ์, เรียกร้อง, ดึงดูดความสนใจ |
ask | (vi, vt) ถาม, ขอ, ขอร้อง, เชื้อเชิญ |
beg | (vt) ขอร้อง, ขอ, อ้อนวอน, ขอความกรุณา |
beseech | (vt) อ้อนวอน, ขอร้อง, ขอความกรุณา |
conjure | (vt) ขอร้อง, อ้อนวอน, วิงวอน |
demand | (n) ความต้องการ, คำขอร้อง, อุปสงค์, การเรียกร้อง |
demand | (vt) ต้องการ, ขอร้อง, เรียกร้อง, ขอทราบ, ถาม |
entreat | (vi, vt) อ้อนวอน, วิงวอน, ร้องขอ, ขอร้อง |
entreaty | (n) การอ้อนวอน, การวิงวอน, การขอร้อง, การร้องขอ, คำขอร้อง |
implore | (vt) วิงวอน, อ้อนวอน, ขอร้อง, เรียกร้อง |
importunity | (n) การคะยั้นคะยอ, การรบเร้า, การเรียกร้อง, การขอร้อง |
instance | (n) ตัวอย่าง, คำขอร้อง, กรณี, โอกาส, ความรีบด่วน, การฟ้องร้อง |
intercession | (n) การขอร้อง, การร้องขอความกรุณา |
intercessor | (n) ผู้ขอร้อง |
invitation | (n) คำเชิญ, คำขอร้อง, บัตรเชิญ, การเชิญ |
invite | (vt) เชื้อเชิญ, ขอร้อง, นำมาซึ่ง |
invocation | (n) การภาวนา, การขอร้อง, การอุทธรณ์, การเรียกผี |
invoke | (vt) ภาวนา, ขอร้อง, อุทธรณ์, วิงวอน |
plea | (n) คำขอร้อง, คำแก้ตัว, ข้ออ้าง, การวิงวอน, การอ้อนวอน |
plead | (vt) ขอร้อง, วิงวอน, แก้ตัว, สู้คดี, อ้อนวอน |
postulate | (vt) สมมุติ, อ้าง, ยืนยัน, ขอร้อง, วางหลัก |
pray | (vt) สวดมนตร์, อ้อนวอน, โปรด, ภาวนา, ขอร้อง, อธิษฐาน |
request | (n) คำร้อง, การขอร้อง, คำขอ, การเรียกร้อง, ความต้องการ |
request | (vt) ต้องการ, ขอร้อง, ขอ, เรียกร้อง, ถามหา |
solicit | (vt) วิงวอน, ขอร้อง, เชื้อเชิญ, ชักชวน, จูงใจ |
solicitation | (n) การวิงวอน, การขอร้อง, การเชื้อเชิญ, การชักชวน, การจูงใจ |
solicitor | (n) ผู้ขอร้อง, ผู้เชื้อเชิญ, ผู้ชักชวน, ทนายความ |
sue | (vi, vt) ขอร้อง, ร้องขอ, เกี้ยว, ฟ้องร้อง |
suit | (n) คดีความ, คำขอร้อง, หน้าไพ่, เสื้อผ้าทั้งชุด, การเกี้ยว |
summons | (n) หมายศาล, หมายเรียกตัว, การเรียกตัว, การขอร้อง |
suppliance | (n) การอุทธรณ์, การขอร้อง, การเรียกร้อง |
suppliant | (adj) เรียกร้อง, ขอร้อง, อ้อนวอน, อุทธรณ์ |
suppliant | (n) ผู้ขอร้อง, ผู้อ้อนวอน, ผู้อุทธรณ์, ผู้วิงวอน |
supplicant | (n) ผู้ขอร้อง, ผู้อ้อนวอน, ผู้อุทธรณ์, ผู้วิงวอน |
supplicate | (vt) เรียกร้อง, ขอร้อง, อ้อนวอน, อุทธรณ์ |
supplication | (n) การเรียกร้อง, การขอร้อง, การอ้อนวอน, การอุทธรณ์ |
UNCALLED-uncalled-for | (adj) ไม่ได้เรียกหา, ไม่ได้เชิญ, ไม่ได้ขอร้อง |
woo | (vt) ขอร้อง, วิงวอน, เกี้ยว, ขอความรัก, ขอแต่งงาน |