135 ผลลัพธ์ สำหรับ *กัมมันตรังสี*
หรือค้นหา: กัมมันตรังสี, -กัมมันตรังสี-

NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
กัมมันตรังสี(v) radioactive, See also: radioactive ray, Example: ยูเรเนียมเป็นธาตุกัมมันตรังสี, Count Unit: ธาตุ

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กัมมันตรังสี(กำมันตะ-) ว. ที่สามารถเกิดกัมมันตภาพรังสีได้ (ใช้แก่ธาตุหรือสาร).
แกมมาน. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโฟตอน (photon) ที่มีพลังงานสูงมาก มีช่วงคลื่นสั้นมาก มักเรียกกันว่า รังสีแกมมา เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๓๐๐, ๐๐๐ กิโลเมตร/วินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุได้สูง สามารถเจาะทะลุแผ่นตะกั่วหนาหลายเซนติเมตรได้ เกิดจากการเสื่อมสลายของสารกัมมันตรังสี เช่น ธาตุเรเดียม ธาตุโคบอลต์-๖๐ หรือเกิดจากการที่อนุภาคบีตาพุ่งชนอะตอมของธาตุ ใช้ประโยชน์ในการแพทย์รักษาโรคมะเร็งและในการเกษตร.
คูเรียมน. ธาตุลำดับที่ ๙๖ สัญลักษณ์ Cm เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ.
แคลิฟอร์เนียมน. ธาตุลำดับที่ ๙๘ สัญลักษณ์ Cf เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ.
ทอเรียมน. ธาตุลำดับที่ ๙๐ สัญลักษณ์ Th เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทาเข้ม หลอมละลายที่ ๑๗๕๐ ° ซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสี ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ.
เทคนีเชียมน. ธาตุลำดับที่ ๔๓ สัญลักษณ์ Tc เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ.
เนปทูเนียมน. ธาตุลำดับที่ ๙๓ สัญลักษณ์ Np เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน.
โนเบเลียมน. ธาตุลำดับที่ ๑๐๒ สัญลักษณ์ No เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ.
บีตาน. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมกัมมันตรังสี มี ๒ ชนิด คือ อิเล็กตรอน และ โพซิตรอน. (อ. beta particle), มักเรียกกระแสอนุภาคบีตาว่า รังสีบีตา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๙๐, ๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุมากกว่ารังสีแอลฟา แต่น้อยกว่ารังสีแกมมา.
เบอร์คีเลียมน. ธาตุลำดับที่ ๙๗ สัญลักษณ์ Bk เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ.
ปฏิกรณ์น. เครื่องที่ใช้สำหรับก่อให้เกิดปฏิกิริยาแตกสลายทางนิวเคลียร์อย่างสมํ่าเสมอและควบคุมได้เพื่อผลิตพลังงาน สารกัมมันตรังสี เครื่องชนิดนี้มีหลายแบบ และใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ซึ่งมักเป็นแท่งยูเรเนียม, มักเรียกว่า เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู.
พลูโทเนียม(พฺลู-) น. ธาตุลำดับที่ ๙๔ สัญลักษณ์ Pu เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ.
พอโลเนียมน. ธาตุลำดับที่ ๘๔ สัญลักษณ์ Po เป็นธาตุกัมมันตรังสี ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๕๔ ºซ.
โพรโทแอกทิเนียม(โพฺร-) น. ธาตุลำดับที่ ๙๑ สัญลักษณ์ Pa เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทาอ่อน หลอมละลายที่ ๑๒๓๐ °ซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสี, โพรแทกทิเนียม ก็เรียก.
โพรมีเทียม(โพฺร-) น. ธาตุลำดับที่ ๖๑ สัญลักษณ์ Pm เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นไม่มีปรากฏในธรรมชาติ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๐๒๗ °ซ.
เฟอร์เมียมน. ธาตุลำดับที่ ๑๐๐ สัญลักษณ์ Fm เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ.
แฟรนเซียม(แฟฺรน-) น. ธาตุลำดับที่ ๘๗ สัญลักษณ์ Fr เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๗ °ซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสี.
เมนเดลีเวียมน. ธาตุลำดับที่ ๑๐๑ สัญลักษณ์ Md เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ.
ยูเรเนียมน. ธาตุลำดับที่ ๙๒ สัญลักษณ์ U เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว เนื้อแข็ง หลอมละลายที่ ๑๑๓๒ °ซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มีปรากฏในธรรมชาติ ใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์.
รัทเทอร์ฟอร์เดียมน. ธาตุลำดับที่ ๑๐๔ สัญลักษณ์ Rf เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ ในสหพันธรัฐรัสเซียเรียกชื่อธาตุนี้ว่า เคอร์ชาโทเวียม (kurchatovium) และใช้สัญลักษณ์ Ku.
เรดอนน. ธาตุลำดับที่ ๘๖ สัญลักษณ์ Rn เป็นแก๊สกัมมันตรังสีที่มีปรากฏในธรรมชาติ ลักษณะเป็นแก๊สเฉื่อย.
เรเดียมน. ธาตุลำดับที่ ๘๘ สัญลักษณ์ Ra เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มีปรากฏในธรรมชาติ เป็นโลหะที่หายากมาก หลอมละลายที่ ๗๐๐ ºซ. ใช้ประโยชน์ในทางแพทย์สำหรับรักษาโรคมะเร็ง.
ลอว์เรนเซียมน. ธาตุลำดับที่ ๑๐๓ สัญลักษณ์ Lr (ใช้ Lw ก็มี) เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ.
อะเมริเซียมน. ธาตุลำดับที่ ๙๕ สัญลักษณ์ Am เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ.
แอกทิเนียมน. ธาตุลำดับที่ ๘๙ สัญลักษณ์ Ac เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวคล้ายเงิน หลอมละลายที่ ๑๐๕๐ ํซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มีปรากฏในธรรมชาติ.
แอลฟาน. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมกัมมันตรังสี เป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม มักเรียกกระแสอนุภาคแอลฟาว่า รังสีแอลฟา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๐, ๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุได้น้อย เมื่อกระทบกับฉากเรืองแสงจะทำให้เกิดแสงเรืองขึ้นได้.
แอสทาทีนน. ธาตุลำดับที่ ๘๕ สัญลักษณ์ At เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มีปรากฏในธรรมชาติ.
ไอน์สไตเนียมน. ธาตุลำดับที่ ๙๙ สัญลักษณ์ Es เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ.
ฮาห์เนียมน. ธาตุลำดับที่ ๑๐๕ สัญลักษณ์ Ha เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ.

ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
radiocarbon dating; carbon datingการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
radiochemyผลกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radiophosphorus; radioactive phosphorusฟอสฟอรัสกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radioactive carbon; radiocarbonคาร์บอนกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radioactive element; radioelementธาตุกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radioactive gold; radiogoldทองกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radioactive iodine; radioiodineไอโอดีนกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radioactive iron; radioironเหล็กกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radioactive isotope; radioisotopeไอโซโทปกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radioactive lead; radioleadตะกั่วกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radioactive mineralแร่กัมมันตรังสี [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
radioactive phosphorus; radiophosphorusฟอสฟอรัสกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radioactive sodium; radiosodiumโซเดียมกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radioiodine; radioactive iodineไอโอดีนกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radioiron; radioactive ironเหล็กกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radioisotope; radioactive isotopeไอโซโทปกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radiolead; radioactive leadตะกั่วกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radioactive calcium; radiocalciumแคลเซียมกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radiosodium; radioactive sodiumโซเดียมกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radiosulfur; radioactive sulfur; radioactive sulphur; radiosulphurกำมะถันกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radiosulphur; radioactive sulfur; radioactive sulphur; radiosulfurกำมะถันกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radioactive substance; radiogenสารกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radioactive substance; radiogenสารกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radioactive sulfur; radioactive sulphur; radiosulfur; radiosulphurกำมะถันกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radioactive sulphur; radioactive sulfur; radiosulfur; radiosulphurกำมะถันกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radioactive tracerสารกัมมันตรังสีตามรอย [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radiocalcium; radioactive calciumแคลเซียมกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radiocarbon; radioactive carbonคาร์บอนกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radioelement; radioactive elementธาตุกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radiogen; radioactive substanceสารกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
radiogold; radioactive goldทองกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
substance, radioactive; radiogenสารกัมมันตรังสี [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
carbon dating; radiocarbon datingการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
tracer, radioactiveสารกัมมันตรังสีตามรอย [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Radioactive wasteกากกัมมันตรังสี [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
Radioactive elementธาตุกัมมันตรังสี [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
Radioactive substanceสารกัมมันตรังสี [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
Radioactive contamination of milkการปนเปื้อนกัมมันตรังสีในน้ำนม [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
Actinide seriesอนุกรมแอกทิไนด์, กลุ่มธาตุในตารางพีริออดิก ตั้งแต่ลำดับที่ 89 แอกทิเนียม (actinium, Ac) จนถึงลำดับที่ 103 ลอว์เรนเซียม (lawrencium, Lr) รวม 15 ธาตุ ซึ่งเป็นธาตุกัมมันตรังสีทั้งสิ้น [นิวเคลียร์]
Activationการก่อกัมมันตภาพรังสี, กระบวนการทำให้ธาตุเกิดกัมมันตภาพรังสีโดยการระดมยิงธาตุนั้นๆ ด้วยนิวตรอน โปรตอน หรือ อนุภาคอื่นๆ ตัวอย่างการก่อกัมมันตภาพรังสี เช่น การผลิตสารไอโซโทปกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 โดยการระดมยิงธาตุเทลลูเรียมด้วยนิวตรอน [นิวเคลียร์]
Activation analysisการวิเคราะห์เชิงก่อกัมมันตภาพรังสี, การจำแนกชนิดและตรวจหาปริมาณของธาตุในสารตัวอย่าง โดยการตรวจวัดรังสีแกมมาลักษณะเฉพาะที่ปลดปล่อยจาก <em>นิวไคลด์กัมมันตรังสี</em>ที่เกิดขึ้นจากการนำสารตัวอย่างนั้นไปก่อกัมมันตภาพรังสี (ดู Activation ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Activation productsผลผลิตจากการก่อกัมมันตภาพรังสี, <em>นิวไคลด์กัมมันตรังสี</em>ที่เกิดจาก<em>การก่อกัมมันตภาพรังสี</em> (ดู Fission products ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Activityกัมมันตภาพ, <em>การสลาย</em>ของ<em>นิวไคลด์กัมมันตรังสี</em>ต่อหน่วยเวลา ปัจจุบันหน่วยที่ใช้ คือ <em>เบ็กเคอเรล</em> คำนี้ตามรายงานฉบับที่ 33 ของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศด้านหน่วยและการวัดรังสี (International Commission on Radiation Units and Measurement: ICRU No. 33) ให้ความหมายว่า เป็นจำนวนของนิวไคลด์กัมมันตรังสีในขณะใดขณะหนึ่งที่สลายเปลี่ยนแปลงไปต่อวินาที (ดู Becquerel, Bq และ Curie, Ci ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Activity concentrationความเข้มข้นกัมมันตภาพ, <em>กัมมันตภาพ</em>ของ<em>นิวไคลด์กัมมันตรังสี</em>ต่อหน่วยปริมาตร เช่น เบ็กเคอเรลต่อมิลลิลิตร (Bq/ml) มิลลิคูรีต่อมิลลิลิตร (mCi/ml) [นิวเคลียร์]
Acute intakeการรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีเฉียบพลัน, การรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายภายในระยะเวลาสั้น ซึ่งสามารถนำไปคำนวณเป็นปริมาณรังสีผูกพันที่ได้รับในคราวเดียว [นิวเคลียร์]
Annual Limit on Intakeเอแอลไอ, ขีดจำกัดการรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีรอบปี, ปริมาณสูงสุดของนิวไคลด์กัมมันตรังสีแต่ละชนิด ที่ร่างกายได้รับโดยการหายใจ การกิน หรือ ผ่านทางผิวหนังในเวลา 1 ปี ได้จากการคำนวณปริมาณรังสีผูกพันโดยใช้แบบจำลองมนุษย์อ้างอิง (Reference Man) จะเท่ากับขีดจำกัดปริมาณรังสี [นิวเคลียร์]
Alpha particleอนุภาคแอลฟา, อนุภาคที่มีประจุบวก ประกอบด้วย<em>โปรตอน</em> 2 อนุภาค และ<em>นิวตรอน</em> 2 อนุภาค ซึ่งเหมือนกับนิวเคลียสของฮีเลียม-4 มีความสามารถในการทะลุทะลวงต่ำ ผ่านอากาศได้เพียง 2-3 เซนติเมตร และไม่สามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษหรือผิวหนังได้ อนุภาคแอลฟาเกิดจาก<em>การสลาย</em>ของสารกัมมันตรังสีบางชนิด เช่น ยูเรเนียม และทอเรียม [นิวเคลียร์]
Annual doseปริมาณรังสีรอบปี, ปริมาณรังสีรวมในรอบปีที่ได้รับจากภายนอกร่างกาย และจากนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เข้าสู่ร่างกาย, Example: [นิวเคลียร์]
Area monitoringการเฝ้าสังเกตพื้นที่, การเฝ้าสังเกตปริมาณรังสี หรือการเปื้อนของสารกัมมันตรังสีจากการตรวจวัดพื้นที่ในสถานปฏิบัติการทางรังสี ณ ตำแหน่งต่างๆ [นิวเคลียร์]
Atomic energyพลังงานอะตอม, พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาเมื่อมีการแบ่งแยกนิวเคลียสหรือการหลอมนิวเคลียสของอะตอม หรือจากการสลายของสารกัมมันตรังสี ปัจจุบันนิยมใช้ “พลังงานนิวเคลียร์" [นิวเคลียร์]
Autoradiographภาพรังสีในตัว, ภาพบันทึกการกระจายของรังสีจากสารกัมมันตรังสีในวัตถุหรือสิ่งมีชีวิต โดยวางวัตถุนั้นไว้ใกล้แผ่นฟิล์มถ่ายภาพหรือเยื่อไวแสง (emulsion) รังสีที่แผ่ออกมาจะทำให้เกิดภาพบนแผ่นฟิล์มหรือเยื่อไวแสง (ดู radiography ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Background radiationรังสีพื้นหลัง, รังสีจากสิ่งแวดล้อมซึ่งมีที่มาจากหลายแหล่ง เช่น รังสีคอสมิกจากอวกาศ รังสีจากสารกัมมันตรังสีตามธรรมชาติที่มีอยู่ในดิน น้ำ อากาศ อาหาร รวมทั้งที่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์ (ดู natural exposure ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Becquerelเบ็กเคอเรล, หน่วยเอสไอที่ใช้วัดกัมมันตภาพ ปัจจุบันใช้แทนหน่วยคูรี 1 เบ็กเคอเรล หมายถึง การสลายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสี 1 ครั้งต่อวินาที (ดู curie, Ci ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Biological half-lifeครึ่งชีวิตทางชีวภาพ, ระยะเวลาที่สารกัมมันตรังสีในเนื้อเยื่อ อวัยวะ หรือร่างกายลดลงครึ่งหนึ่ง อันเนื่องมาจากกระบวนการทางชีวภาพ [นิวเคลียร์]
Boron Neutron Capture Therapyบีเอ็นซีที, รังสีรักษาโดยการจับยึดนิวตรอน, การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งบางชนิด โดยการฉีดสารประกอบโบรอนเสถียรให้ไปสะสมในเซลล์มะเร็ง แล้วฉายรังสีนิวตรอนไปที่บริเวณนั้น อะตอมโบรอนจะจับยึดนิวตรอนไว้กลายเป็นโบรอนกัมมันตรังสี ซึ่งจะสลายพร้อมกับปล่อยอนุภาคแอลฟาออกมาทำลายเซลล์มะเร็งนั้น (ดู neutron capture ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Body burdenปริมาณสะสมในร่างกาย, ปริมาณสารกัมมันตรังสีที่อยู่ภายในร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ (ดู Background radiation และ Wholebody counter ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Brachytherapyรังสีรักษาระยะใกล้, การรักษาโดยใช้สารกัมมันตรังสีที่เป็นของแข็ง ฝังไว้ในร่างกายใกล้ๆ กับบริเวณที่ต้องการรักษา, Example: [นิวเคลียร์]
Carbon-14คาร์บอน-14, ไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุคาร์บอน มีครึ่งชีวิต 5, 730 ปี เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นบนของโลก โดยอนุภาคนิวตรอนที่เกิดมาจากรังสีคอสมิกไปชนนิวเคลียสของธาตุไนโตรเจนเกิดเป็นคาร์บอน-14 และถูกออกซิไดส์ไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่วงจรของสิ่งมีชีวิต หลังจากสิ่งมีชีวิตตายไป จะไม่มีการแลกเปลี่ยนกับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศอีก คาร์บอน-14 ที่มีอยู่ก็จะสลายลดลงด้วยอัตราที่สามารถทราบได้ จึงใช้ในการคำนวณอายุซากสิ่งมีชีวิตและวัตถุโบราณที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ (ดู Radiocarbon dating ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Chronic exposureการรับรังสีต่อเนื่อง, การรับรังสีเป็นเวลานาน เช่น การรับรังสีจากนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่มีอายุยาวในธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี [นิวเคลียร์]
Chronic intakeการรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีต่อเนื่อง, การรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ การกิน หรือ การซึมผ่านผิวหนังหรือบาดแผล อย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลานาน ดังนั้น ปริมาณรังสีผูกพันจึงเป็นผลรวมของปริมาณรังสีผูกพันที่ได้รับในคราวเดียวของแต่ละช่วง [นิวเคลียร์]
Clean bombคลีนบอมบ์, ระเบิดนิวเคลียร์ที่มีฝุ่นกัมมันตรังสีเกิดขึ้นค่อนข้างน้อย (ดู dirty bomb ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Clearanceการปล่อยผ่าน, 1. การให้สารกัมมันตรังสีหรือวัสดุกัมมันตรังสีพ้นจากการดำเนินการภายใต้การควบคุมทางด้านการป้องกันอันตรายจากรังสี โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย 2. กระบวนการทางชีววิทยาในการขจัดสารกัมมันตรังสีออกจากอวัยวะหรือร่างกาย [นิวเคลียร์]
Clearance levelระดับปล่อยผ่าน, ค่าที่เท่ากับหรือน้อยกว่า ค่าความเข้มข้นกัมมันตภาพรังสี หรือค่ากัมมันตภาพรังสีรวมของวัสดุกัมมันตรังสี หรือสารกัมมันตรังสี ที่คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติกำหนดไว้ ให้พ้นจากการควบคุม [นิวเคลียร์]
Coincidence countingการนับรังสีบรรจวบ, การนับรังสีที่เกิดจากเหตุการณ์การแผ่รังสีลักษณะเฉพาะตั้งแต่สองเหตุการณ์ขึ้นไป ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกันหรือเกิดในช่วงเวลาที่สัมพันธ์กัน การนับรังสีนี้เป็นวิธีหนึ่งเพื่อตรวจหาหรือจำแนกวัสดุกัมมันตรังสี และใช้เทียบมาตรฐานอัตราการสลายของวัสดุกัมมันตรังสีนั้น ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการวิเคราะห์เชิงก่อกัมมันตภาพรังสี การถ่ายภาพทางการแพทย์ การศึกษารังสีคอสมิก และการวัดรังสีระดับต่ำ (ดู counter ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Committed doseปริมาณ (รังสี) ผูกพัน, ปริมาณรังสียังผลจากสารกัมมันตรังสีที่เข้าสู่ร่างกาย บางชนิดจะกระจายไปทั่วร่างกาย บางชนิดจะไปสะสมอยู่ในอวัยวะเฉพาะที่ เรียกว่า อวัยวะวิกฤติ (critical organ) เช่น ไอโอดีนจะสะสมอยู่ที่ต่อมไทรอยด์ รังสีจะมีผลต่อร่างกายจนกว่าสารกัมมันตรังสีนั้นสลายหมดไปหรือถูกขับถ่ายออกจนหมด ปกติจะคำนวณระยะเวลาการรับรังสี 50 ปีสำหรับผู้ใหญ่ และ 70 ปีสำหรับเด็ก มีหน่วยเป็น ซีเวิร์ต [นิวเคลียร์]
Conditioning wasteการปรับสภาพกากกัมมันตรังสี, กระบวนการปรับสภาพกากกัมมันตรังสีที่อยู่ภายในภาชนะบรรจุ ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการต่อไป เช่น การขนส่ง การเก็บพัก และ/หรือ การขจัดกากกัมมันตรังสี การปรับสภาพกากกัมมันตรังสี ได้แก่ การทำให้อยู่ในสภาพของแข็ง การหีบห่อ และการบรรจุในภาชนะหลายชั้น [นิวเคลียร์]
Confinementสิ่งกักกั้น, สิ่งที่สร้างขึ้นล้อมอุปกรณ์หลักของโรงงานนิวเคลียร์ เพื่อป้องกันหรือบรรเทาการปล่อยวัสดุกัมมันตรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อมในสภาวะการทำงานปกติหรือกรณีเกิดอุบัติเหตุ เช่น บ่อน้ำแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (ดู containment ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Containmentอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, อาคารหรือสิ่งก่อสร้างชั้นนอกที่ออกแบบให้มีความแข็งแรงเป็นพิเศษเพื่อป้องกันเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์จากอุบัติภัยภายนอก และเพื่อไม่ให้สารกัมมันตรังสีแพร่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อมกรณีเกิดอุบัติเหตุภายในอาคารหรือสิ่งกักกั้นชำรุดหรือเสียหาย [นิวเคลียร์]
Contaminationการเปื้อนสารกัมมันตรังสี, สารกัมมันตรังสีทั้งในรูปของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ที่ปนเปื้อนในอาหาร น้ำ อากาศ หรือเปรอะเปื้อนที่พื้นผิววัสดุ อุปกรณ์ ร่างกาย และหรือบริเวณที่ต้องการใช้งาน ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่เจตนา เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ [นิวเคลียร์]
Controlled areaพื้นที่ควบคุม, พื้นที่ที่ต้องมีมาตรการป้องกันและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยโดยเฉพาะในการควบคุมการรับรังสีจากการทำงาน หรือจำกัดการเปื้อนของสารกัมมันตรังสีไม่ให้แพร่กระจายออกไปในระหว่างการทำงานเพื่อหลีกเลี่ยง หรือจำกัดโอกาสการได้รับรังสี, Example: [นิวเคลียร์]
Cosmogenic radionuclidesนิวไคลด์กัมมันตรังสีเกิดจากรังสีคอสมิก, นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นเมื่อรังสีคอสมิกชนกับโมเลกุลของแก๊สในชั้นบรรยากาศของโลก เช่น ทริเทียม (<sup>3</sup>H) คาร์บอน-14 (C-14) โซเดียม-22 (Na-22) และ เบริลเลียม-7 (Be-7) [นิวเคลียร์]
curie, Ciคูรี, หน่วยเดิมที่ใช้วัดกัมมันตภาพ 1 คูรี หมายถึง การสลายของนิวไคลด์กัมมันตรังสี 3.7 x 10<sup>10</sup> ครั้งต่อวินาที ซึ่งมาจากอัตราการสลายโดยประมาณของธาตุเรเดียมหนัก 1 กรัม หน่วยคูรีตั้งขึ้นตามชื่อของแมรี และปีแอร์ คูรี ผู้ค้นพบธาตุเรเดียม เมื่อ พ.ศ. 2441 ปัจจุบันใช้หน่วยเป็น เบ็กเคอเรล แทน โดย 1 คูรี เท่ากับ 3.7 x 10<sup>10</sup> เบ็กเคอเรล [นิวเคลียร์]
Derived Air Concentrationค่ากำหนดความเข้มข้นนิวไคลด์กัมมันตรังสีในอากาศ, ดีเอซี, ขีดจำกัดความเข้มข้นของนิวไคลด์กัมมันตรังสีแต่ละชนิดในอากาศ ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณนั้นตลอดระยะเวลาทำงานใน 1 ปี ได้รับนิวไคลด์กัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายเท่ากับขีดจำกัดการรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีรอบปี โดยคำนวณจากแบบจำลองมนุษย์อ้างอิง (Reference Man) (ดู annual limit on intake (ALI) ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Daughter nuclideนิวไคลด์ลูก, นิวไคลด์ที่เกิดจากการสลายกัมมันตรังสีของนิวไคลด์ใดๆ ซึ่งเรียกว่า นิวไคลด์แม่ (ดู decay, radioactive ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์]
Daughter nuclideนิวไคลด์ลูก, นิวไคลด์ที่เกิดจากการสลายกัมมันตรังสีของนิวไคลด์ใดๆ ซึ่งเรียกว่า นิวไคลด์แม่ (ดู decay, radioactive ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Daughter productนิวไคลด์ลูก, นิวไคลด์ที่เกิดจากการสลายกัมมันตรังสีของนิวไคลด์ใดๆ ซึ่งเรียกว่า นิวไคลด์แม่ (ดู decay, radioactive ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Decay chainลูกโซ่การสลายกัมมันตรังสี , อนุกรมของนิวไคลด์ที่เริ่มต้นจากนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เรียกว่านิวไคลด์แม่ สลายตัวเป็นนิวไคลด์ลำดับต่อ ๆ กันไป ที่เรียกว่านิวไคลด์ลูก จนถึงผลผลิตสุดท้ายที่เป็นนิวไคลด์เสถียร [นิวเคลียร์]
Decay, radioactiveการสลาย(กัมมันตรังสี), การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิวไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์]
Decommissioningการเลิกดำเนินงาน, กระบวนการด้านบริหารจัดการและด้านเทคนิค เพื่อยกเลิกการควบคุมโรงงานนิวเคลียร์บางส่วนหรือทั้งหมด เนื่องจากไม่มีการใช้งานอีกต่อไป โดยต้องให้มีความปลอดภัยต่อสาธารณชนและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว รวมถึงการลดปริมาณนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่ตกค้างอยู่ตามวัสดุและสถานที่ต่างๆ หลังจากเลิกดำเนินงาน วัสดุบางส่วนสามารถนำกลับมาแปรใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ หรือจัดเก็บเป็นกากกัมมันตรังสี ส่วนสถานที่ก็สามารถใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้ (ดู commissioning ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Decontaminationการขจัดการเปื้อนสารกัมมันตรังสี, การใช้กระบวนการทางเคมี ฟิสิกส์ หรือชีวภาพ เพื่อให้สารกัมมันตรังสีทั้งหมดหรือบางส่วน หลุดออกจากสิ่งที่เปื้อน [นิวเคลียร์]
Dirty bombเดอร์ตีบอมบ์, ระเบิดนิวเคลียร์ที่มีฝุ่นกัมมันตรังสีเกิดขึ้นค่อนข้างมาก ปัจจุบันคำนี้หมายรวมถึง ระเบิดที่มีสารกัมมันตรังสีรวมอยู่ด้วยเพื่อให้มีการกระจายของกัมมันตภาพรังสี [นิวเคลียร์]
Disintegration, radioactiveการสลายกัมมันตรังสี, การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิวไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์]
Disposal, wasteการขจัดกากกัมมันตรังสี, การดำเนินการเก็บกากกัมมันตรังสีไว้ในสถานที่ที่เหมาะสม โดยไม่มีการนำกลับมาใช้งานอีก รวมถึงการระบายน้ำและแก๊สจากสถานปฏิบัติการทางรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (ดู radioactive discharge ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Effective half-lifeครึ่งชีวิตยังผล, ระยะเวลาที่สารกัมมันตรังสีใช้เพื่อลดกัมมันตภาพเหลือครึ่งหนึ่งของกัมมันตภาพตั้งต้น ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการการสลายกัมมันตรังสี และ กระบวนการทางชีวภาพ [นิวเคลียร์]

NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
actinium(n) ธาตกัมมันตรังสีทีมีสัญลักษณ์ Ac
americium(n) ธาตุกัมมันตรังสีที่เกิดจากการยิงธาตุฮีเลียมด้วยธาตุยูเรเนียมและพลูโตเนียม
decay(n) การสลายกัมมันตรังสี (ทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์), See also: การสลายอนุภาคหรือรังสี, Syn. disintegration, degeneration, radioactive decay
fallout(n) ฝุ่นกัมมันตรังสีหลังนิวเคลียร์ระเบิด
fermium(n) ธาตุกัมมันตรังสี (สัญลักษณ์คือ Fm)
mendelevium(n) ธาตุกัมมันตรังสี
radon(n) ธาตุกัมมันตรังสีชนิดหนึ่ง (มีลักษณะเป็นแกซ)
scintillation counter(n) อุปกรณ์ตรวจนับวัดกัมมันตรังสีตรังสีโดยใช้หลักการของ scintillation
technetium(n) ธาตุโลหะกัมมันตรังสี (สัญลักษณ์ย่อคือ Tc)
thorium(n) ธาตุโลหะกัมมันตรังสี มีสีเทาเข้ม มีสัญลักษณ์ Th
tritium(n) ไอโซโทปกัมมันตรังสี
uranium(n) ยูเรเนียม, See also: ธาตุโลหะที่มีกัมมันตรังสี ใช้ผลิตพลังงานปรมาณู

Hope Dictionary
deactivate(ดีแอค'ทะเวท) vt. ทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้, ยับยั้งฤทธิ์ของ, ทำให้ใช้การไม่ได้, ทำให้ไม่ได้ผล vi. สูญเสียกัมมันตรังสี., See also: deactivator n. ดูdeactivate deactivation n. ดูdeactivate
einsteiniumธาตุกัมมันตรังสีชนิดหนึ่ง, Es.
francium(แฟรน'เซียม) n. ธาตุกัมมันตรังสีชนิดหนึ่ง, Fr
half-lifen. ระยะเวลาที่อะตอมครึ่งหนึ่งของปริมาณสารกัมมันตรังสีที่กำหนดให้ที่จะสลายตัว -pl. half-lives, Syn. half-life period
mendelevium(เมนดะลี'เวียม) n. ธาตุกัมมันตรังสีที่มนุษย์สร้างขึ้น

Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Hepatobiliary scintigraphy (HIDA)เทคนิคการวินิจฉัยที่ภาพสองมิติของเนื้อเยื่อภายในร่างกายมีการผลิตผ่านการตรวจสอบของรังสีที่ออกมาจากสารกัมมันตรังสีที่ได้รับการจัดการในร่างกาย ที่เกี่ยวข้องกับ, ตั้งอยู่ในหรือใกล้, ผลิตใน, หรือส่งผลกระทบต่อตับและน้ำดี, ท่อน้ำดี, และถุงน้ำดี
radiator[เรดิเอเตอร์] (n) ธาตุกัมมันตรังสี, ธาตุที่สามารถแผ่รังสีได้ (ธาตุสุดท้ายของแต่ละหมู่ของตารางธาตุและธาตุที่ไม่เสถียรต่างๆ)

Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
放射能汚染[ほうしゃのうおせん, houshanouosen] การเปรอะเปื้อนสารกัมมันตรังสี
放射性廃棄物[ほうしゃせいはいきぶつ, houshaseihaikibutsu] (n) กากกัมมันตรังสี, See also: R. radioactive waste

Time: 0.0645 seconds, cache age: 1.451 (clear)Longdo Dict -- https://dict.longdo.com/