52 Results for *กองกำลัง*
หรือค้นหา: กองกำลัง, -กองกำลัง-

NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
กองกำลัง(n) troops, See also: forces, Example: เขาทำงานให้กับกองกำลังป้องกันราชอาณาจักร, Count Unit: กอง
กองกำลังตำรวจ(n) constabulary, See also: police force, Example: กองกำลังตำรวจของเรามีสมาชิกมากเป็น 3 เท่าตัวของกลุ่มผู้ก่อการร้าย

ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
police forces, internationalกองกำลังระหว่างประเทศ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
armed forcesกำลังรบ, กองกำลังติดอาวุธ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
militiaกองกำลังอาสาสมัคร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
coast guardกองกำลังรักษาชายฝั่ง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
constabularyกองกำลังตำรวจ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
guard, coastกองกำลังรักษาชายฝั่ง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Guard, Nationalกองกำลังป้องกันชาติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
forces, armedกำลังรบ, กองกำลังติดอาวุธ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
international police forcesกองกำลังระหว่างประเทศ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
National Guardกองกำลังป้องกันชาติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Guards troopsกองกำลังรักษาพระองค์ [TU Subject Heading]
Peacekeeping forcesกองกำลังรักษาสันติภาพ [TU Subject Heading]
African Unionสหภาพแอฟริกา สหภาพแอฟริกาซึ่งเป็นความร่วมมือระดับภูมิภาคที่สำคัญ ของทวีป แอฟริกา ได้ก่อกำเนิดมาจากองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity ? OAU) เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยได้ปรับปรุงกฎบัตรเดิมขององค์การเอกภาพแอฟริกา ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพและสามารถแทรกแซงกิจการของประเทศ สมาชิกโดยผ่านกองกำลังรักษาสันติภาพ กลไกที่สำคัญของสหภาพ แอฟริกาที่เพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งคือ ธนาคารกลาง นอกจากนี้ นโยบายสำคัญที่สหภาพแอฟริกาเน้น คือ การพัฒนาเศรษฐกิจและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน และได้ใช้โครงการ The New Partnership for Africa?s Development หรือ NEPAD เป็นหลักในการดำเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งมุ่งเน้นการขจัดความยากจน [การทูต]
Cobra Goldการฝึกร่วม/ผสมคอบร้าโกลด์ เป็นการฝึกทางทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกองทัพไทยและกองกำลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก (USPACOM) ร่วมกันเป็น เจ้าภาพจัดการฝึกในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี การฝึกคอบร้าโกลด์พัฒนามาจากการฝึกผสมยกพลขึ้นบกระหว่างกองทัพเรือไทยกับกอง ทัพเรือสหรัฐอเมริกาและกองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำการฝึกร่วมกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ต่อมาใน พ.ศ. 2525 ได้รวมการฝึกหลายอย่างเข้าด้วยกันแล้วกำหนดชื่อรหัสการฝึกขึ้นใหม่ว่า "การฝึกร่วม/ผสมคอบร้าโกลด์" ปัจจุบัน มีประเทศที่ร่วมฝึกรวม ทั้งร่วมสังเกตการณ์หลายประเทศ รวมทั้งได้ขยายการฝึกครอบคลุมการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การตอบโต้การก่อการร้ายด้วย [การทูต]
Gorbachev doctrineนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต]
International Force in East Timorกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก จัดตั้งขึ้นตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1264 (1999) เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2542 มีภารกิจหลัก 3 ประการ คือ ฟื้นฟูสันติภาพและเสถียรภาพในติมอร์ตะวันออก ป้องกันและสนับสนุนงานของเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติ และอำนวยความสะดวกในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม กองกำลังนานาชาติปฏิบัติหน้าที่ในติมอร์ตะวันออกจนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 [การทูต]
United Nations Emergency Forceกองกำลังฉุกเฉินของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 สมัชชาแห่งสหประชาชาติได้ขอรัองให้เลขาธิการสหประชาชาติเสนอแผนการภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติของสหประชาชาติ โดยได้รับอนุมัติจากชาติที่เกี่ยวข้อง ให้ทำหน้าที่ยุติและควบคุมดูแลการหยุดรบในประเทศอียิปต์ วันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 5 พฤศจิกายน สมัชชาก็ได้ลงมติให้จัดตั้งกองบัญชาการแห่งสหประชาชาติขึ้นปรากฏว่า ผู้แทนของสหภาพโซเวียตได้กล่าวอ้างว่า การจัดตั้งกองกำลังดังกล่าวเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ โดยยกบทที่ 7 ของกฎบัตรขึ้นมาอ้างว่า คณะมนตรีความมั่นคงองค์กรเดียวเท่านั้น ที่กฎบัตรให้อำนาจจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติได้ ด้วยเหตุนี้ สหภาพโซเวียตและอีกบางประเทศจึงแถลงว่า จะไม่ยอมมีส่วนร่วมในการออกเงินค่าใช้จ่ายสำหรับกองกำลังดังกล่าวโดยเด็ดขาด พึงสังเกตว่า การที่สหภาพโซเวียตอ้างยืนยันว่า คณะมนตรีความมั่นคงเท่านั้นที่กฎบัตรสหประชาชาติให้อำนาจตั้งกองกำลังสห ประชาชาติได้ ก็เพราะหากยินยอมตามข้ออ้างของสหภาพโซเวียตดังกล่าว จะไม่มีทางจัดตั้งกองกำลังขึ้นได้เลย เพราะสหภาพโซเวียตจะใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคงอย่างไม่ต้องสงสัย [การทูต]
United Nations Transitional Administration in East Timorองค์กรบริหารชั่วคราวของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก " จัดตั้งขึ้นตามมติสหประชาชาติที่ 1272 (1999) เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2542 พลโทบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ นายทหารไทย ได้รับเลือกให้เป็นผู้บัญชาการกองกำลังรักษาสันติภาพของ UNTAET ในติมอร์ตะวันออก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 " [การทูต]

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
กองกำลัง[køngkamlang] (n) EN: troops ; forces  FR: forces [ fpl ] ; troupes [ fpl ]
กองกำลังตำรวจ[køngkamlang tamrūat] (n, exp) EN: constabulary ; police force  FR: forces de police [ fpl ]

Longdo Approved EN-TH
national guard service(n) กองกำลังรักษาความมั่นคงแห่งชาติ

NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
corps(n) กองกำลังทหาร
force(n) กองทหาร, See also: กองทัพ, กองกำลัง, Syn. army, troop, legion
military(n) ทหาร, See also: กองกำลัง, กองทัพ, Syn. armed forces, soldiery, troops
National Guard(n) กองกำลังรักษาดินแดนแห่งชาติ (สัญลักษณ์ย่อ NG / N.G.)
pitched battle(n) สงครามที่จัดกองกำลังทหารอย่างเป็นระเบียบ
posse(n) กองกำลังติดอาวุธที่มีอำนาจตามกฎหมาย, Syn. armed band, police force, vigilantes
post(n) ที่มั่น, See also: กองกำลังรักษาการณ์, ฐาน
reserve(n) กองหนุน, See also: กองกำลัง, กำลังพล
task force(n) หน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจ, See also: กองกำลังทหารเฉพาะกิจ, คณะกรรมการเฉพาะกิจ, Syn. armada, detachment
troops(n) กองกำลัง, See also: กองทหาร

Hope Dictionary
battalion(บะแทล'เยิน) n. กองพัน, กองกำลังใหญ่
force(ฟอร์ส) n. กำลัง, แรง, พลัง, อำนาจ, อิทธิพล, ผลบังคับทางกฎหมาย, พลังจิต, กองกำลัง, กองทัพ, กลุ่ม, คณะบุคคล -Phr. (in force ซึ่งปฏิบัติการอยู่, มีผล) . vt. บังคับ, ผลักดัน, บีบบังคับ, รุน, ดัน, ยัด, เร่ง. vi. บากบั่น, บุกเบิก, ไปด้วยกำลัง., See also: able adj. force
pitched battlen. การสงครามที่ได้มีการจัดกองกำลังทหารอย่างมีระเบียบและมีการกำหนดสนามรบไว้ก่อน, การรบแบบตั้งที่มั่น, การรบที่ดุเดือด
posse(โพส'ซี) n. กองกำลังติดอาวุธที่มีอำนาจตามกฎหมาย,
reinforcement(รีอินฟอร์ส'เมินทฺ) n. การเสริมกำลัง, สิ่งที่ใช้เสริมกำลัง, กองกำลังเสริม, กองกำลังสนับสนุน
screen(สครีน) n. จอ, ม่าน, ฉาก, ที่บัง, เครื่องบัง, สิ่งปกปิด, ของอำพราง, จอภาพยนตร์, จอแก้ว (โทรทัศน์) , ภาพยนตร์, กองกำลังคุ้มกัน, ม่านคุ้มกัน, ม่านควัน, ตะแกรงร่อน, ตะแกรงกรอง, แผ่นตาข่าย, ป้ายปิดประกาศ vt. ปกคลุม, ป้องกัน, ซ่อนเร้น, คุ้มกัน, เลือก, เรียบเรียง, ร่อนด้วยตะแกรง, กรอง,
task force n.กองกำลังทหารเฉพาะกิจ, คณะกรรมการเฉพาะกิจ
troop(ทรุพ) n. กองทหาร, หมู่ทหาร, กลุ่มคน, หมู่คน, กองกำลัง, กองกำลังทหารม้า, หมู่, กลุ่ม, ฝูง, กลุ่มนักแสดง, คณะผู้แสดง, จำนวนมากมาย. vi. รวมกลุ่ม, ชุมนุม, ไปเป็นกลุ่ม, จับกลุ่ม. vt. ถือธงประจำกลุ่มนำขบวน
unit(ยู'นิท) n. หน่วย, กอง, กลุ่ม, กองกำลัง, จำนวนเฉพาะ, หน่วยเฉพาะ, หน่วยกิต, หลักหน่วย, ตำแหน่งหลัก, จำนวนฐาน, จำนวนเต็มที่น้อยที่สุด, ชุด, ชุดเครื่องมือ, หน่วยฤทธิ์ยา, หน่วยฤทธิ์ของสาร, Syn. measure, part
united frontn. กลุ่มรวมกันของหน่วยต่าง ๆ เพื่อต่อต้านกองกำลังข้าศึกที่คุกคามอยู่, แนวร่วม
van(แวน) n. กองหน้า, กองกำลังส่วนหน้า, แนวหน้ามรถบรรทุก, รถสินค้า, รถตู้, เกวียนบรรทุกสินค้า, Syn. wagon, truck, lorry

Nontri Dictionary
troop(n) กองทหาร, กองกำลัง, หมู่, กลุ่ม, ฝูง
unit(n) หน่วย, กลุ่ม, หน่วยกิต, กองกำลัง, ขุดเครื่องมือ, หน่วยเฉพาะ

Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
guerrillas(n) กองโจร, กองกำลัง
gürrillas(n) กองกำลัง
task force[ท๊าสค์ ฟอร์ส] (n) คณะทำงานเฉพาะกิจ กองกำลังเฉพาะกิจ

Longdo Approved JP-TH
自衛隊[じえいたい, jieitai] (n) กองกำลังป้องกันตนเอง (เทียบได้กับกองทัพของญี่ปุ่นในปัจจุบัน แต่ญี่ปุ่นจะไม่นับว่าเป็นทหาร)

Longdo Approved DE-TH
Bundeswehr(n) |die, nur Sg.| กองทัพเยอรมัน, กองกำลังทหารเยอรมัน เช่น Morgen übernimmt die Bundeswehr in Masar-i-Scharif das Kommando über die Internationale Afghanistanschutztruppe Isaf im Norden des Landes.

Longdo Unapproved FR-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
SylvainKz(n) อ่านว่า Sylvain เป็น ถูกเรียกชื่อใหม่โดยชาวฝรั่งเศษผู้หนึ่งซึ่งได้อ่าน เจอในตำนานกรีก ซึ่งเป็นนักรบร่างกำยำ ฉลาดเป็นเลิศ (ชื่อของแม่ทัพนั้นออกเสียงคล้ายกัน) และได้ถูกยกย่องเป็นกษัตริย์ หลังจากได้นำกองกำลังไปช่วยเครทอส เพื่อปราบเทพเจ้า Olympus จึงได้ตั้งชื่อไปในพจนานุกรมใหม่ว่า SylvainKz K หมายถึงกษัตริย์ z หมายถึง ผู้ที่อยู่เบื้องหลังสุด ของชัยชนะในสงครามเทพเจ้านั้น

Time: 0.0264 seconds, cache age: 1.195 (clear)Longdo Dict -- https://dict.longdo.com/