ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*อันว่า*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: อันว่า, -อันว่า-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
อันว่า(conj) for, Example: อันว่าความชั่วนั้นถึงจะปกปิดอย่างไร ก็ย่อมจะปรากฎออกมา, Thai Definition: ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธาน หรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่างๆ
เป็นอันว่า(conj) regard as, See also: count as, Syn. สรุปว่า, Example: หลังจากที่อบให้ผิวเรียบสนิทแล้วก็เป็นอันว่าเราได้วัตถุดิบที่พร้อมเข้าสู่ขั้นตอนการปั้มรูปร่างแผ่นดิสก์, Thai Definition: เป็นคำเชื่อมแสดงการสรุปเหตุการณ์ที่จะเกิดตามมา

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
เป็นอันว่าก. รวมความว่า, แสดงว่า, เช่น เป็นอันว่ายุติ, เป็นอัน ก็ใช้.
อันว่าว. ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันว่าทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อัน ก็มี เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า).
กรรกศ(กันกด) ว. หยาบช้า, เขียนเป็น กรรกษ ก็มี เช่น อันว่าพระญาติท่ววไท้ บมิหวังไหว้พระตถาคต ใจแลไปกรรกษ บารนีฯ (ม. คำหลวง ทศพร).
กรรมขัย(กำมะไข) น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่าอายุสม์ยังมิควรตายแลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล (ไตรภูมิ).
กระไทชายน. กระทาชาย, คนผู้ชาย, เช่น อันว่ากระไทชายผู้หนึ่ง (ม. คำหลวง กุมาร; มหาราช).
กฤดีกา, กฤตยฎีกา(กฺริ-, กฺริดตะยะ-) แผลงมาจาก กติกา เช่น อันว่าความกฤดีกา แต่สองราแรกทรงพรต (ม. คำหลวง กุมาร), ชำระกฤตยฎีกา (ไวพจน์พิจารณ์).
กฤษฎาญชลี(กฺริดสะดานชะลี) ก. มีอัญชลีอันกระทำแล้ว, กระทำอัญชลี, เช่น กฤษฎาญชลียะยุ่งแล (ม. คำหลวง ทศพร), ในวรรณคดีแผลงไปเป็นรูปต่าง ๆ คือ กฤษฎาญชลิต เช่น กฤษฎาญชลิตไหว้ (มาลัยคำหลวง), กฤษฎาญชวลิตวา เช่น อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา (มาลัยคำหลวง), กฤษฎาญชวลิศ เช่น อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), กฤษฎาญชวเลศ เช่น ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์ (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลี เช่น กฤษฎาญชุลีน้อม (ฉันทลักษณ์).
กลหาย(กะละ-) ก. กระหาย เช่น อันว่าทวยท่ววทงงหลายหื่นกลหายสาหัส (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
กลิ่ง(กฺลิ่ง) ก. เลือกสรร เช่น อันว่าพระพรใดทงงผองสิบสิ่ง แลพี่แกล้งกลิ่งให้แล้ว (ม. คำหลวง ทศพร).
กษัตรีย์เจ้าผู้หญิง เช่น อันว่าพระมหาสัตว์แลกษัตรีย์ (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
กษีณาศรพ(กะสีนาสบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษิณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์).
กันแสง ๒น. ผ้า, ผ้าสไบ, โบราณเขียนเป็น กนนแสง ก็มี เช่น อันว่ายกผ้าสรลอนยอกรสรไสว ไกวกนนแสงแคลงยยาบ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).
กัปนก(กับปะหฺนก) ว. กำพร้า, น่าสงสาร, เช่น อันว่าพราหมณชรา ชีณกัปนก (ม. คำหลวง ชูชก).
กัมปีก. ไหว เช่น อันว่ามหาปรัตพีผืนผไทแท่น แผ่นผเทศมณฑล สกลกัมปี ดุจครวีไหวหว่นนป่นนไปมาเมื่อน้นน (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์).
กานน(-นน) น. ป่า, ดง, เช่น อันว่าท้องเขาวงกฏกานน (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
โกษ ๒(โกด) น. โลก เช่น อันว่าโกลาหลแต่ผืนแผ่น ดลเท้าแท่นพรหมโกษ (ม. คำหลวง กุมาร).
จรรจา(จัน-) ก. พูด, กล่าว, เช่น อันว่าคนจรรจาลิ้นล่าย กล่าวสองฝ่ายให้ดูดี (ม. คำหลวง กุมาร).
ฉวาง(ฉะหฺวาง) ก. ขวาง เช่น อันว่าพยัคฆราช อันฉวางมรรคาพระมัทรี (ม. คำหลวง มัทรี).
ชิ่นก. สิ้น, หมด, เช่น อันว่าพระญาติท้งงชิ่น สทิ่นท้ยนจินดา (ม. คำหลวง ทศพร).
เชอก. เป็นคำใช้เข้าคู่กับคำ บำเรอ เช่น อันว่าอมิตดาก็อยู่บำเรอเชอภักดิ์ (ม. คำหลวง ชูชก), จำนำบำเรอเชอถนอม (สรรพสิทธิ์).
ซวดก. เกินขนาด, นูนขึ้นสูงขึ้น, เช่น อันว่าสวภาพท้องบมิซวดเสมออก (ม. คำหลวง ทศพร).
ด้ามต้น, ทาง, เช่น รยกคันธมาทน์ โดยด้ามอาทิสวคนธ์ (ม. คำหลวง จุลพน), อันว่าพระสรรเพชญ์ ผู้เผด็จด้ามตัณหา ลุปรมาภิสมพุทธ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์), บพิตร ข้าอยู่ศุขเสวอยราช โดยด้ามอาทิทศธรรมสนท้าว (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), ดูกรเจ้าอำเภอใด แลราชผู้มีอยู่ในด้ามมารคธรรม ทำโทษน้นน (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).
ตระง่อง(ตฺระหฺง่อง) ก. จ้อง, คอยดู, เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล (ม. คำหลวง กุมาร), กระหง่อง กระหน่อง ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็มี.
ตระดก(ตฺระ-) ก. หวาด, ผวา, สะดุ้ง, ตกใจ, เขียนเป็น ตรดก ก็มี เช่น อันว่าพระพิศวกรรม ก็ยงงไปศาจผีเสื้อเนื้อแลนก อันมีเสียงตรดกพึงภีต บมิให้กีดให้ก้อง บมิให้ร้องระงี่มี่รงม (ม. คำหลวง วนประเวศน์).
ตระหง่อง, ตระหน่อง(ตฺระ-) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล (ม. คำหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.
ตู ๑ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑ พหูพจน์, เช่น อันว่าพวกตูผู้เถ้า ก็จะน่งงเฝ้าแฝงหลัง (ม. คำหลวง ทศพร).
ไตรโลกย์น. ไตรโลก เช่น อันว่าพระไตรโลกย์ครู สวยมภูญาณนายก (ม. คำหลวง สักบรรพ).
ถัทธ(ถัด) ว. แน่น, แข็ง, กระด้าง, เช่น อันว่าชูชกใจถัทธ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).
ทรวด(ซวด) ก. นูนขึ้น เช่น อันว่าสวภาพท้องบมิทรวดเสมออก (ม. คำหลวง ทศพร).
ทวย ๒ว. ระทวย, อ่อน, งอน, เช่น อันว่าไม้มีผลค่าค้อม ก็น้อมนวยทวยทอดมาเอง (ม. คำหลวง วนประเวศน์).
ทวัย(ทะไว) น. หมวด ๒, ทั้ง ๒ เช่น แม้อันว่าทวัยราชาคือองค์บิดุราธิราชมาดุรงค์ วิสญฺ หุตฺวา ทรงกรรแสงสาหศรทดรทาย (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์).
ทัน ๒เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทันพระศรีสรรเพชญ์ เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล (ม. คำหลวง กุมาร).
ท้างว. ทั้ง, ทั่ว, ตลอด, เช่น อันว่าแผ่นดินกว้างท้างทุกแดน อนนหนาได้หยิบแสนสี่หมื่นโยชนประมาณ (ม. คำหลวง กุมาร).
ทำนูลก. บอก, กล่าว, เช่น อันว่าพราหมณ์ทั้งหลาย ก็ทำนายโดยทำนูล (ม. คำหลวง มหาราช)
เทง, เท้ง ๑ก. ทุบ, เคาะ, เช่น อันว่าพระมหาสัตว์ก็ถามเพื่อว่าดึกดื่น ตื่นนอนใครแลมาเทงทรวารพระกุฎีกูดังนี้ (ม. คำหลวง กุมาร), ตระบัดก็ให้เท้ง กระทุ่มเภรียครืนเครง กึกก้องบันลือเลวง (อนิรุทธ์).
นาโครคินทระ(นาโคระคินทฺระ) น. พญานาค เช่น อันว่าพระญานาโครคินทรกคำนึง (นันโท).
นามไธย(นามมะไท) น. ชื่อ เช่น อันว่านามไธยทั้งหลาย หมายแห่งราชธิดาทงงเจ็ดองค์ (ม. คำหลวง ทศพร).
บันทึกย่นย่อ, ทำให้สั้น, เช่น อันว่าเทพยดาก็ปรานีกระษัตรท้งงสี่ ก็บันทึกที่หนทางน้นนเข้ามา (ม. คำหลวง วนประเวศน์).
บารนีดั่งนี้ เช่น อันว่าพระญาติท่ววไท้ บมิหวังไหว้พระตถาคต ใจแลไปกรรกษ บารนี (ม. คำหลวง ทศพร).
บำเรอเชอภักดิ์ก. ตั้งใจรับใช้ เช่น อันว่าอมิดดาก็อยู่บำเรอเชอภักดิ์ (ม. คำหลวง ชูชก).
ปโยธรน. “ผู้ทรงไว้ซึ่งนํ้า” คือ เมฆ เช่น อันว่าปโยธรอัศจรรย์ ก็ให้โบษขรพรรษธารา (ม. คำหลวง ทศพร)
เป็นอันก. รวมความว่า, แสดงว่า, เช่น เป็นอันยุติ, เป็นอันว่า ก็ใช้
เพณีน. เวณิ, ผมซึ่งเกล้าไว้, สายที่ถัก เช่น อันว่าสร้อยสังวาลเพณี (ม. คำหลวง ทศพร).
วิภัตติประเภทคำในภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคำแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล.
วิลาสินีว. งามอย่างสดใส, งามมีเสน่ห์ เช่น อันว่าเจ้ามัทรีวิลาสินีนงราม (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).
สัตยวาทีน. ผู้พูดแต่ความจริง เช่น อันว่าพระมหาบุรุษรัตน ผู้อยู่ในสัตยวาที (ม. คำหลวง กุมาร).
หือรือโหดก. หฤโหด, ชั่วร้าย, เลวทราม, เช่น แม้อันว่าเฒ่าหือรือโหดหีนชาติทาสเมถุน (ม. ร่ายยาว ชูชก).
อันว. อย่าง เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่าทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า).

Japanese-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
結局[けっきょく, kekkyoku] ในที่สุด ท้ายที่สุด ผลสุดท้าย(เป็นอันว่า)

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top