ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*สมัชชา*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: สมัชชา, -สมัชชา-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
สมัชชา(n) assembly, Syn. คณะบุคคล, คณะผู้แทน
สมัชชา(n) assembly, Example: สมัชชาคนจนถือเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในบรรดาม็อบขณะนี้, Thai Definition: การประชุมเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ, Notes: (บาลี)

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
สมัช, สมัชชา(สะมัด-) น. การประชุมเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ไปร่วมประชุมสมัชชาแห่งชาติ
สมัช, สมัชชาที่ประชุม เช่น สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ.
สุนทรพจน์(สุนทอนระ-, สุนทอระ-) น. คำพูดที่ประธานหรือบุคคลสำคัญเป็นต้นกล่าวในพิธีการหรือในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น นายกรัฐมนตรีกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
popular assemblyสมัชชาประชาชน [ ดู civic assembly ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
assembly๑. สภา๒. สมัชชา๓. การชุมนุม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
assembly๑. สภา, สมัชชา (ก. ปกครอง)๒. การชุมนุม (ก. ปกครอง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
Assembly of the United Nations, Generalสมัชชาแห่งสหประชาชาติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Assembly, National๑. สมัชชาแห่งชาติ๒. สภาผู้แทนราษฎร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
assembly, popularสมัชชาประชาชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
civic assemblyสมัชชาประชาชน [ ดู popular assembly ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
General Assemblyสมัชชาใหญ่ (สหประชาชาติ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
general assemblyที่ประชุมใหญ่, สมัชชาใหญ่ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
General Assembly of the United Nationsสมัชชาแห่งสหประชาชาติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
National Assembly๑. สมัชชาแห่งชาติ๒. สภาผู้แทนราษฎร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
United Nations. General Assemblyสหประชาชาติ. สมัชชาใหญ่ [TU Subject Heading]
Accessionการภาคยานุวัติ คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติ พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชา ชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก [การทูต]
Ad hocเพื่อวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายโดยเฉพาะ เช่น คณะกรรมการการเมืองพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะ ตามที่รับมอบหมายจากสมัชชาสหประชาชาตินั้น แต่เดิมมีชื่อว่าคณะกรรมการการเมืองเฉพาะเรื่อง (Ad hoc Committee) [การทูต]
Amendments to the Charter of the United Nationsการแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรของสหประชาชาตินั้น เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขได้โดยสมัชชาสหประชาชาติหรือโดยที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ของสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งอาจจะประชุมกัน ณ วันเวลาและสถานที่ตามแต่จะมีการตกลงกัน โดยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ส่วนของสมัชชาใหญ่ และโดยคะแนนเสียงของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงใด ๆ 7 เสียง ในที่ประชุมใหญ่นั้น สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติจะมีเสียงลงคะแนน 1 เสียงการที่จะแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติให้เป็นผลสำเร็จ จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกเป็นจำนวน 2 ใน 3 ส่วนของสมาชิกทั้งหมดในสมัชชาหรือจากที่ประชุมใหญ่ เมื่อการแก้ไขกฎบัตรเป็นที่รับรองแล้ว จะมีผลบังคับต่อสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ก็ต่อเมื่อได้รับการสัตยาบันจากสมาชิก 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนทั้งหมด รวมทั้งการรับรองจากสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงด้วยอาทิเช่น ในสมัยประชุมที่ 18 ของสมัชชาใหญ่ การแก้ไขกฎบัตรได้รับการรับรองเห็นชอบด้วย โดยผ่านข้อมติที่ 1991 (XVII) ในการแก้ไขครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงจาก 11 เป็น 15 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจาก 18 เป็น 27 ประเทศ การแก้ไขดังกล่าวได้รับการลงมติรับรองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ในปัจจุบันนี้ ประเทศสมาชิกเป็นจำนวนมากกำลังเรียกร้องให้มีการปรับจำนวนสมาชิกถาวรของคณะ มนตรีความมั่นคงเสียใหม่ [การทูต]
Conference on Disamamentการประชุมว่าด้วยการลดอาวุธ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 เพื่อเป็นเวทีเจรจาการลดอาวุธระหว่างประเทศ มีขอบเขตความรับผิดชอบเกี่ยวกับประเด็นด้านการลดอาวุธทุกด้าน และมีหน้าที่ รายงานต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติทุกปี ปัจจุบันมีสมาชิก 65 ประเทศ(ไทยมิได้เป็นสมาชิก) โดยที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จในการเจรจาจัดทำความตกลงระหว่างประเทศ ด้านการลดอาวุธหลายฉบับ ที่สำคัญได้แก่ สนธิสัญญาไม่แพร่อาวุธนิวเคลียร์ อนุสัญญาห้ามเคมี อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ และสนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ [การทูต]
Convention on Elimination of All Forms of Discrimination Against Womenอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2522 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2527 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบและเพื่อความ เสมอภาคระหว่างสตรีและบุรุษในทุกด้าน ขณะนี้มีประเทศต่าง ๆ เป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว 167 ประเทศ (ข้อมูลถึงกรกฎาคม 2543) ไทยยังคงมีข้อสงวนอีก 2 ข้อ ในอนุสัญญาฯ คือ ข้อ 16 เรื่องความเสมอภาคในด้านครอบครัวและการสมรส และ ข้อ 29 เรื่องการระงับการตีความ การระงับข้อพิพาท โดยรับอนุญาโตตุลาการ [การทูต]
Commission on Human Rightsคณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต]
Convention on the Rights of the Childอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ได้รับการรับรองจากสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2532 โดยอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2533 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อคุ้มครองสิทธิของเด็ก (บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี) เพื่อให้ได้รับการศึกษา การดูแล ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือกระทำทารุณกรรม ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่เป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว 191 ประเทศ คงเหลือโซมาเลียและสหรัฐอเมริกาที่ยังมิได้ให้สัตยาบัน ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กด้วยการภาคยานุวัติ อนุสัญญาฯ มีผลปังคับใช้กับประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2535 ขณะนี้ไทยยังคงมีข้อสงวน 2 ข้อ คือ ข้อ 7 เรื่องสัญชาติ และ ข้อ 22 เรื่องการให้สถานะเป็นผู้ลี้ภัย [การทูต]
Economic and Social Councilคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (แห่งสหประชาชาติ) เป็นองค์กรหลักของสหประชาชาติ ที่ทำหน้าที่ในการศึกษาและรายงานเกี่ยวกับเรื่องระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา อนามัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจัดทำคำแนะนำเสนอต่อสมัชชา สมาชิกของสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมการเคารพ และการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน และอิสรภาพของมวลมนุษย์ ทั้งนี้ ประกอบด้วยสมาชิกของสหประชาชาติ 54 ประเทศ [การทูต]
General Assembly of the United Nationsสมัชชาแห่งสหประชาชาติ, Example: หน้าที่สำคัญของสมัชชามีดังนี้1. พิจารณาและจัดทำคำแนะนำเกี่ยวกับหลักการของความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง รวมทั้งหลักการเรื่องการลดอาวุธ และข้อบังคับว่าด้วยกำลังอาวุธ2. พิจารณาและอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสันติภาพและความมั่นคง พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ นอกจากในกรณีที่ข้อพิพาทหรือสถานการณ์กำลังอยู่ในระหว่างการอภิปรายในคณะ มนตรีความมั่นคงในขณะนั้น3. พิจารณาและอภิปราย เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาใด ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎบัตร หรือที่เกี่ยวข้องกับอำนาจและหน้าที่ขององค์กรใด ๆ ในสหประชาชาติ4. ริเริ่มศึกษา และจัดทำคำแนะนำเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการเมืองระหว่างประเทศ ส่งเสริมการพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งพยายามทำให้ทุกคนได้มีสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพมูลฐานประจักษ์ผลตลอดจน ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และการสาธารณสุข5. รับและพิจารณารายงานจากคณะมนตรีความมั่นคงและองค์กรอื่นๆ ของสหประชาชาติ6. จัดทำคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการระงับสถานการณ์ที่ยุ่งยากใดๆ โดยสันติวิธี โดยไม่คำนึงถึงต้นเหตุซึ่งอาจจะยังความเสียหายแก่ความสัมพันธ์ฉันมิตร ระหว่างประเทศ7. ควบคุมดูแลโดยผ่านทางคณะมนตรีภาวะทรัสตีให้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามความ ตกลงเกี่ยวกับภาวะทรัสตีในดินแดนทั้งหมดที่มิได้ถูกกำหนดว่าเป็นพื้นที่ทาง ยุทธศาสตร์8. เลือกตั้งสมาชิกไม่ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง สมาชิกในคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม สมาชิกของคณะมนตรีภาวะทรัสตีจะได้รับการเลือกตั้งให้มีส่วนร่วมกับคณะมนตรี ความมั่นคง ในการเลือกตั้งผู้พิพากษาของศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศ และแต่งตั้งตัวเลขาธิการสหประชาชาติตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง9. พิจารณาและอนุมัติงบประมาณของสหประชาชาติจัดสรรเงินค่าบำรุงในระหว่างประเทศ สมาชิก และพิจารณางบประมาณของบรรดาองค์การชำนัญพิเศษ (Specialized agencies)ข้อมติใด ๆ ของสมัชชานั้น ถือว่าเป็นข้อเสนอแนะ (recommendations) หรือคำแนะนำแก่ประเทศสมาชิกองค์กรหรือองค์การรัฐบาลอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสหประชาชาติ แม้ว่าข้อเสนอแนะเหล่านี้ไม่เป็นเครื่องผูกมัดก็ตาม แต่ก็ถือว่ามีลักษณะชักจูงจิตใจของรัฐบาลต่าง ๆ ที่เป็นเสียงส่วนข้างมากของโลก และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังข้อเสนอแนะดังกล่าวสมัชชาจะประชุมกันปีละครั้งเป็น ประจำทุกปี โดยมากจะเริ่มต้นในวันอังคารที่สามของเดือนกันยายน สมัชชาย่อมเรียกประชุมสมัยพิเศษได้ ถ้าคณะมนตรีความมั่นคงขอร้อง หรือสมาชิกส่วนข้างมากของสหประชาชาติ หรือประเทศสมาชิกหนึ่งใดที่เป็นประเทศสมาชิกส่วนข้างมากเห็นพ้องด้วย สมัชชาจักประชุมสมัยพิเศษยามฉุกเฉินได้ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งได้รับการขอร้องจากคณะมนตรีความมั่นคง ด้วยคะแนนเสียงของประเทศสมาชิกใดๆ 7 ประเทศของคณะมนตรีความมั่นคงหรือด้วยเสียงข้างมากของประเทศสมาชิกของสหประชา ชาติ หรือตามคำขอร้องของประเทศสมาชิกหนึ่งใด ซึ่งสมาชิกส่วนข้างมากของสหประชาชาติเห็นพ้องด้วยสมัชชาสหประชาชาติประกอบ ด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมดทุกประเทศ แต่ละประเทศสมาชิกมีผู้แทนในสมัชชาไม่เกินกว่า 5 คน และแต่ละประเทศสามารถตัดสินใจเลือกผู้แทนได้ตามวิถีทางของตน สมัชชาจะทำงานโดยผ่านคณะกรรมการใหญ่รวม 7 คณะ และประเทศสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิที่จะเลือกผู้แทนของตนไปประจำอยู่ในคณะ กรรมการเหล่านั้น คณะกรรมการดังกล่าวมี - คณะกรรมการที่หนึ่ง (First Committee) คือคณะกรรมการฝ่ายการเมืองและความมั่นคง รวมทั้งการจัดระเบียบควบคุมกำลังอาวุธด้วย- คณะกรรมการฝ่ายการเมืองพิเศษ (Special Political Committee) มีส่วนร่วมทำงานกับคณะกรรมการที่หนึ่ง- คณะกรรมการที่สอง (Second Committee) คือคณะกรรมการฝ่ายเศรษฐกิจและการคลัง- คณะกรรมการที่สาม (Third Committee) คือคณะกรรมการฝ่ายสังคม มนุษยธรรม และวัฒนธรรม- คณะกรรมการที่สี่ (Fourth Committee) คือคณะกรรมการฝ่ายภาวะทรัสตี รวมทั้งดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง- คณะกรรมการที่ห้า (Fifth Committee) คือคณะกรรมการฝ่ายธุรการและงบประมาณ- คณะกรรมการที่หก (Sixth Committee) ได้แก่ คณะกรรมการฝ่ายกฎหมายนอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการทั่วไป (General Committee) อีกคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ตัวประธาน และรองประธานสมัชชาอีก 13 คน รวมทั้งประธาน (President) ของคณะกรรมการสำคัญทั้ง 7 คณะ คณะกรรมการทั่วไปนี้จะทำการประชุมกันบ่อยครั้งในระหว่างสมัยประชุมสมัชชา เพื่อดูแลให้งานการประชุมของสมัชชาดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการฝ่ายการแต่งตั้ง (Credentials Committee) ซึ่งประธานสมัชชาจะเป็นผู้แต่งตั้งทุกสมัยการประชุม เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบหนังสือแต่งตังของบรรดาผู้แทนประเทศสมาชิกตามปกติ สมัชชาเป็นฝ่ายนำเสนอเรรื่องทั้งหมดในระเบียบวาระของสมัชชาไปให้คณะกรรมการ สำคัญคณะหนึ่ง คือ คณะกรรมการร่วม (Joint Committee) หรือคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง (Ad hoc Committee) ที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นพิเศษเพื่อพิจารณาเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ จากนั้น คณะกรรมการเหล่านี้จะส่งข้อเสนอของตนไปให้สมัชชารับรองในการประชุมเต็มคณะ (Plenary meeting)อนึ่ง สมัชชาสหประชาชาติมีคณะกรรมการที่เรียกว่า Standing Committee ทำหน้าที่ช่วยเหลืออยู่สองคณะ คือ คณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาด้านธุรการและงบประมาณ และคณะกรรมการเกี่ยวกับเงินค่าบำรุงของประเทศสมาชิก สมาชิกในคณะกรรมการเกี่ยวกับเงินค่าบำรุงของประเทศสมาชิก สมาชิกในคณะกรรมการเหล่านี้จะได้รับการเลือกตั้งจากสมัชชาให้อยู่ในคณะ กรรมการสามปีจึงจะครบวาระ การพิจารณาเลือกตั้งนั้นให้ถือตามคุณวุฒิส่วนตัว และการแบ่งสรรถือตามเขตภูมิรัฐศาสตร์ (Geographical distribution) [การทูต]
Genocideการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต]
Humanitarian Interventionการแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรม " เป็นแนวคิดที่นายโคฟี อันนาน เลขาธิการสหประชาชาติเสนออย่างเป็น ทางการครั้งแรกต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 54 เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมุ่งจะให้สหประชาชาติสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนภาย ในประเทศต่าง ๆ ได้โดย คำนึงถึงประเด็นเรื่องมนุษยธรรมเป็นหลัก ขณะนี้ แนวคิดนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันและยังไม่ยุติ โดยบางประเทศเห็นว่า เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นการละเมิดอธิปไตยของรัฐ บางประเทศเห็นว่าเป็นมาตรการที่จำเป็นเพื่อแก้ปัญหาของมนุษยชาติ ส่วนบางประเทศเห็นว่าการแทรกแซงดังกล่าวจะต้องอยู่ใต้กรอบหลักเกณฑ์ หรือกรอบกฎหมายบางประการ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ " [การทูต]
International Civil Aviation Organizationเรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต]
International Court of Justiceศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต]
International Law Commission of the United Nationsคือคณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมปรับปรุงกฎหมายระหว่า ประเทศ รวมทั้งการทำประมวลกฎหมายให้ก้าวหน้าและทันสมัยคณะกรรมาธิการนี้ประกอบด้วย สมาชิกรวม 25 คน ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งสมาชิกคราวละ 5 ปี และจะทำงานในคณะกรรมาธิการในฐานะตัวบุคคล มิใช่เป็นตัวแทนจากประเทศของตน ตลอดการประชุมสมัชชาสหประชาชาติเป็นจำนวนหลายสมัยมาแล้ว คณะกรรมาธิการได้ทำหน้าที่ร่างกฎหมายในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นกฎหมายระหว่างประเทศเป็นจำนวนไม่น้อย บางเรื่องได้ริเริ่มขึ้นเองโดยคณะกรรมาธิการ แต่บางเรื่องทางสมัชชาสหประชาชาติหรือคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ได้ส่งไปให้พิจารณาดำเนินการคณะกรรมาธิการได้ร่างสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายทาง ทะเลไปแล้วไม่น้อยกว่า 4 ฉบับ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง อนุสัญญาว่าด้วยอาณาเขตทางทะเลและพื้นที่ติดชายฝั่งอนุสัญญาเกี่ยวกับการจับ ปลา การอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีชีวิตในท้องทะเลหลวง พร้อมทั้งได้รับสัตยาบันสารจากประเทศต่าง ๆ ไว้แล้วเป็นจำนวนมาก เมื่อ ค.ศ.1961 และ 1963 คณะกรรมาธิการได้จัดให้มีการประชุมใหญ่สองครั้งตามลำดับ ณ กรุงเวียนนา พร้อมทั้งได้ลงมติรับรองอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต และอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล [การทูต]
Palestine Questionปัญหาปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1947 ประเทศอังกฤษได้ขอให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทำการประชุมสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหาปาเลสไตน์ สมัชชาได้ประชุมกันระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และที่ประชุมได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับปาเลสไตน์ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกรวม 11 ประเทศ ซึ่งหลังจากที่เดินทางไปตรวจสถานการณ์ในภาคตะวันออกกลาง ก็ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รายงานนี้ได้ตั้งข้อเสนอแนะรวม 12 ข้อ รวมทั้งโครงการฝ่ายข้างมาก (Majority Plan) และโครงการฝ่ายข้างน้อย (Minority Plan) ตามโครงการข้างมาก กำหนดให้มีการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐอาหรับแห่งหนึ่ง รัฐยิวแห่งหนึ่ง และให้นครเยรูซาเล็มอยู่ภายใต้ระบบการปกครองระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ดินแดนทั้งสามแห่งนี้มีความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปสหภาพเศรษฐกิจ ส่วนโครงการฝ่ายข้างน้อย ได้เสนอให้ตั้งรัฐสหพันธ์ที่เป็นเอกราชขึ้น ประกอบด้วยรัฐอาหรับและรัฐยิว อันมีนครเยรูซาเล็มเป็นนครหลวงต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติได้ประชุมลงมติรับรองข้อเสนอของโครงการฝ่ายข้างมาก ซึ่งฝ่ายยิวได้รับรองเห็นชอบด้วย แต่ได้ถูกคณะกรรมาธิการฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่รับรอง โดยต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐอาหรับแต่เพียงแห่งเดียว และทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของคนยิวที่เป็นชนกุล่มน้อย อนึ่ง ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้อำนาจอาณัติเหนือดินแดนปาเลสไตน์ สิ้นสุดลงและให้กองทหารอังกฤษถอนตัวออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1948 นอกจากนั้นยังให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีของสหประชาชาติจัดทำธรรมนูญการปกครองโดย ละเอียดสำหรับนครเยรูซาเล็มจากนั้น สมัชชาสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติขึ้น ประกอบด้วยประเทศโบลิเวีย เช็คโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก ปานามา และฟิลิปปินส์ ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงก็ได้รับการขอร้องให้วางมาตรการที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่า สถานการณ์ในปาเลสไตน์จักถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพหรือไม่ และถ้าหากมีการพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงความตกลงตามข้อมติของ สมัชชาเมื่อใด ให้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ โดยอาศัยข้อ 39 ของกฎบัติสหประชาชาติเป็นบรรทัดฐาน [การทูต]
Secretariat of the United Nationsคือสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสมัชชาตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ตามที่องค์การต้องการหน้าที่สำคัญของเลขาธิการสหประชา ชาติ คือ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การ นำเรื่องใดก็ตามเสนอต่อคณะมนตรีความมั่นคง ซี่งตามทรรศนะของเลขาธิการเห็นว่าเป็นภัยคุกคามสันติภาพและความมั่นคง ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ทำรายงานประจำปี และรายงานเพิ่มเติมใด ๆ ที่จำเป็นเสนอต่อสมัชชาสหประชาชาติ เกี่ยวกับงานขององค์การ สหประชาชาติคณะเจ้าหน้าที่ที่ทำงานช่วยเหลือเลขาธิการนั้น ถือเป็นเจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศ ประกอบด้วยชนชาติต่าง ๆ ในการเกณฑ์เจ้าหน้าที่เหล่านี้เข้าทำงานกับสหประชาชาติ จะคัดแต่ผู้ที่มีประสิทธิภาพ ความสามารถ และความซื่อสัตย์ในระดับสูงสุด และคำนึงถึงเขตภูมิศาสตร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการทำงานตามหน้าที่ ทั้งตัวเลขาธิการและคณะเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมงาน จะต้องไม่แสวงหรือรับคำสั่งจากรัฐบาลใด ๆ หรือจากผู้มีอำนาจหน้าที่อื่นใดที่อยู่นอกเหนือองค์การสหประชาชาติ ขณะเดียวกัน สมาชิกของสหประชาชาติได้ตกลงยอมรับนับถือความรับผิดชอบที่มีลักษณะระหว่าง ประเทศของสำนักเลขาธิการ และจักไม่แสวงใช้อิทธิพลใด ๆ ต่อสำนักเลขาธิการ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบเหล่านั้น [การทูต]
Security Council of the United Nationsคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ [การทูต]
Universal Declaration of Human Rightsปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป็นเอกสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรก ซึ่งที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติให้การรับรองตามข้อมติที่ 217 A (III) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 โดยไทยออกเสียงสนับสนุน [การทูต]
United Nations Emergency Forceกองกำลังฉุกเฉินของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 สมัชชาแห่งสหประชาชาติได้ขอรัองให้เลขาธิการสหประชาชาติเสนอแผนการภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติของสหประชาชาติ โดยได้รับอนุมัติจากชาติที่เกี่ยวข้อง ให้ทำหน้าที่ยุติและควบคุมดูแลการหยุดรบในประเทศอียิปต์ วันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 5 พฤศจิกายน สมัชชาก็ได้ลงมติให้จัดตั้งกองบัญชาการแห่งสหประชาชาติขึ้นปรากฏว่า ผู้แทนของสหภาพโซเวียตได้กล่าวอ้างว่า การจัดตั้งกองกำลังดังกล่าวเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ โดยยกบทที่ 7 ของกฎบัตรขึ้นมาอ้างว่า คณะมนตรีความมั่นคงองค์กรเดียวเท่านั้น ที่กฎบัตรให้อำนาจจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติได้ ด้วยเหตุนี้ สหภาพโซเวียตและอีกบางประเทศจึงแถลงว่า จะไม่ยอมมีส่วนร่วมในการออกเงินค่าใช้จ่ายสำหรับกองกำลังดังกล่าวโดยเด็ดขาด พึงสังเกตว่า การที่สหภาพโซเวียตอ้างยืนยันว่า คณะมนตรีความมั่นคงเท่านั้นที่กฎบัตรสหประชาชาติให้อำนาจตั้งกองกำลังสห ประชาชาติได้ ก็เพราะหากยินยอมตามข้ออ้างของสหภาพโซเวียตดังกล่าว จะไม่มีทางจัดตั้งกองกำลังขึ้นได้เลย เพราะสหภาพโซเวียตจะใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคงอย่างไม่ต้องสงสัย [การทูต]
United Nations Security Councilคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ " ประกอบด้วยสมาชิกสหประชาชาติ 15 ประเทศ แบ่งออกเป็นสมาชิกถาวร 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา (กำหนดในกฎบัตรสหประชาชาติ) และสมาชิกไม่ถาวรที่มาจากการเลือกตั้งจากสมัชชาฯ อีก 10 ประเทศ มีกำหนดคราวละ 2 ปี คณะมนตรีความมั่นคงฯ ทำหน้าที่หลักในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยกระทำในนามของสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด และสมาชิกสหประชาชาติมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำวินิจ- ฉัยของคณะมนตรีความมั่นคงฯ " [การทูต]
United Nations General Assemblyสมัชชาสหประชาชาติ เป็นที่ประชุมใหญ่ของประเทศสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด ปัจจุบันมีสมาชิก 189 ประเทศ [การทูต]
Voting Procedure in the United Nationsวิธีการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ในเรื่องนี้ สมาชิกแต่ละประเทศมีคะแนนเสียง 1 คะแนน ข้อมติของสมัชชาในปัญหาสำคัญ (Important Questions) จะกระทำโดยถือคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียง ที่เรียกว่าปัญหาสำคัญนั้นได้แก่ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การเลือกตั้งสมาชิกไม่ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีภาวะทรัสตี การรับสมาชิกใหม่ของสหประชาชาติ การงดใช้สิทธิและเอกสิทธิแห่งสมาชิกภาพ การขับไล่สมาชิก ปัญหาการดำเนินงานของระบบภาวะทรัสตี และปัญหางบประมาณ คำวินิจฉัยปัญหาอื่น ๆ รวมทั้งการกำหนดประเภทแห่งปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 เพิ่มเติมนั้น จัดกระทำโดยอาศัยคะแนนเสียงข้างมากของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียงอนึ่ง ในการเลือกตั้งผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจักต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (Absolute majority) ในที่ประชุมของสมัชชาและในที่ประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงด้วย นอกจากนี้สมาชิกสหประชาชาติที่ค้างชำระค่าบำรุงแก่องค์การ ย่อมไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในสมัชชา ถ้าหากจำนวนเงินที่ค้างชำระเท่าหรือมากกว่าจำนวนเงินค่าบำรุงที่ถึงกำหนด ชำระสำหรับ 2 ปีเต็มที่ล่วงมา อย่างไรก็ตาม สมัชชาอาจอนุญาตให้สมาชิกเช่นว่านั้นลงคะแนนเสียงก็ได้ ถ้าทำให้เป็นที่พอใจได้ว่า การไม่ชำระนั้น เนื่องมาจากภาวะอันอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของสมาชิกนั้น [การทูต]
Vienna Convention on Consular Relationsอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1961 สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ตกลงให้จัดการประชุมระหว่างผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม จากประเทศสมาชิก เพื่อทำหน้าที่พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล และได้ประชุมกัน ณ กรุงเวียนนา เมื่อต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 1963 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ถึงวันที่ 22 เมษายน มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม เป็นจำนวน 92 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ส่วนประเทศโบลิเวีย กัวเตมาลา ปละปารากวัย ได้เข้าร่วมประชุมด้วยในฐานะผู้สังเกตการณ์ (Observers)มีข้อน่าสังเกตว่า ในข้อ 73 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอนุสัญญานี้ว่า จะไม่มีผลกระทบต่อความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้บังคับระหว่างรัฐภาคีแห่งความตกลงดังกล่าว และไม่มีข้อความใดในอนุสัญญานี้ที่จะตัดหนทางของรัฐในการทำความตกลงระหว่าง ประเทศ เพื่อยืนยันหรือเติมต่อหรือยืดขยายบทแห่งอนุสัญญานี้ออกไปอีก [การทูต]
Vienna Convention on Diplomatic Relationsอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1959 ให้จัดการประชุมระหว่างผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากประเทศสมาชิก เพื่อพิจารณาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการติดต่อและการคุ้มกันทางการทูต และได้เริ่มต้นประชุมกัน ณ กรุงเวียนนา ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม ถึงวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1961 มีรัฐบาลของประเทศสมาชิกส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมร่วมด้วย 81 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย อนุสัญญาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1964 [การทูต]
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoplesงานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต]
Work of the United Nations on Human Rightsงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต]
Ad hoc Group on Article 13(คณะกรรมการ) ที่จัดตั้งโดยที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ สมัยแรก, (คณะกรรมการ) ที่จัดตั้งโดยที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ สมัยแรก เพื่อหาทางช่วยเหลือรัฐบาลที่เกี่ยวข้องในการขจัดอุปสรรคที่อาจประสบในการดำเนินการตามพันธกรณี [Climate Change]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
And by the way you don't get to have this little democracy forum in those communities either.คุณก็คงไม่มีสมัชชาประชาธิปไตยเล็ก ๆ แบบนี้ ในชุมชนต่าง ๆ ด้วย The Corporation (2003)
-...is set to arrive in Los Angeles to deliver a speech before the security league.- ... เดินทางมาถึงในวันนี้... เพื่อกล่าวสุนทรพจน์ ต่อหน้าสมัชชาความมั่นคง... Pilot (2007)
The recent release of Nelson Mandela from prison has triggered a power struggle between the ANC and their black rivals.ข่าวการปล่อยตัว.. เนลสัน แมนเดล่า ออกจากเรือนจำ.. จุดชนวนให้เกิดการแก่งแย่งอำนาจกัน ระหว่างสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา และกลุ่มนิยมแอฟริกัน Invictus (2009)
Mr. Mandela has traveled to Durban in an effort to persuade 100, 000 angry young ANC supporters on the frontline to make peace.คุณแมนเดล่าได้เดินทางไป เดอร์บัน.. เพื่อเกลี้ยกล่อมผู้สนับสนุนสมัชชาแห่งชาติแอฟริการุ่นเยาว์ กว่า 1 แสนคน.. ที่กำลังจะไปปะทะกับอีกฝ่ายหนึ่ง Invictus (2009)
The murder victim is Tokyo Assembly member Matsushita Yuriko, age 44.เหยื่อฆาตกรรมคือ สมาชิกสมัชชาโตเกียว มัทสึชิตะ ยูริโกะ อายุ 44 ปี Episode #1.5 (2009)
What happened to the nomination?เกิดอะไรขึ้นกับการประชุมสมัชชา? Episode #1.8 (2011)
The assembly has been advised of tonight's question.ทางสมัชชาได้รับแจ้ง\ ถึงคำขอร้องต่อที่ประชุมในคีนนี้ Leave It to Beavers (2012)
Moriarty will then use the President as a pawn to destabilise the United Nations General Assembly, which is due to vote on a nuclear non-proliferation treaty, tipping the balance in favour of a first-strike policy against Russia.จากนั้นมอริอาร์ตี้จะใช้ประธานาธิบดีเป็นตัวประกัน เพื่อจะสร้างความไม่มั่นคงให้สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ที่กำลังจะลงมติเรื่องสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ The Six Thatchers (2017)

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
assembly(อะเซม'บลี) n. ชุมนุมชน, การชุมนุม, การมั่วสุม, ที่ประชุมสภา, สมัชชา, สัญญาณรวมพล, การเคลื่อน (รถถังหรือทหาร) , เข้าสู่บริเวณหนึ่ง, ประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องจักร, Syn. collection, meeting, Ant. dispersal, separation
general assemblyn. สมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติ, สภานิติบัญญัติ

English-Thai: Nontri Dictionary
assembly(n) การชุมนุม, การประชุม, ที่ประชุม, สมัชชา

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
MLAsMembers of the Northern Ireland Assembly สมาชิกผู้แทนสมัชชาไอร์แลนด์
UN General Assembly(n, name, uniq) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top