ผันวรรณยุกต์ | ก. เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์, โบราณใช้ว่า ผันอักษร. |
วรรณยุกต์, วรรณยุต | น. ระดับเสียงสูงต่ำของคำในภาษาไทย มี ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา มีรูปเครื่องหมายบอกระดับของเสียงอยู่เบื้องบนอักษร ๔ รูป คือ (ไม้เอก) (ไม้โท) (ไม้ตรี) (ไม้จัตวา). |
กากบาท | ใช้ + เป็นเครื่องหมายวรรณยุกต์บอกเสียงจัตวา. |
คำโท | น. คำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์โทกำกับอยู่ไม่ว่าคำนั้นจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด เป็นคำบังคับในการแต่งโคลง เช่น ข้า คว้า แล้ว. |
คำสุภาพ | น. คำที่ไม่ผันด้วยวรรณยุกต์ทั้ง ๔. |
จัตวา | เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ว่า ไม้จัตวา, ตีนกา ก็เรียก. |
ตรี ๓ | เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ว่า ไม้ตรี. |
ตรีประดับ | น. ชื่อกลอนกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดให้แต่ละวรรคมีคำเดียวกัน ผันวรรณยุกต์รูปสามัญ เอก และโท เรียงกัน หรือโท เอก สามัญ ก็ได้ เช่น อมรแมนแม่นแม้นเจ้างามโฉม ชฬอฬ่อฬ้อโลกย์ให้โศกโทรม แต่เลาเล่าเล้าโลมฤดีแด (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน). |
ตรีเพชรพวง | น. ชื่อกลอนกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดให้แต่ละวรรคมีคำเดียวกัน ผันวรรณยุกต์รูปสามัญ เอก โท ตรี และจัตวา สลับกันก็ได้ เช่น มโหรีรี่รี้ดีดสีเสียง จับปี่หริงหริ่งหริ้งพริ้งเพราะเพรียง ฆ้องสำเนียงเต๋งเต่งเต้ง ติงเหน่งโยน (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน). |
โท | เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ว่า ไม้โท. |
โทโทษ | น. คำที่ใช้ไม้โทแทนไม้เอก ในตำแหน่งของบทร้อยกรองที่บังคับให้ใช้ไม้โท โดยคงเสียงวรรณยุกต์เดิม เช่น หง้าย แทน ง่าย ผลั้ง แทน พลั่ง. |
บังคับโท | น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท. |
บังคับเอก | น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และบรรดาคำตายทั้งสิ้นในโคลงและร่ายใช้แทนเอกได้. |
ผันอักษร | ก. เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์, ผันวรรณยุกต์ ก็ว่า. |
ไม้จัตวา | น. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ บอกเสียงสูงสุดใน ๕ เสียง. |
ไม้ตรี | น. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ . |
ไม้โท | น. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ . |
ไม้เอก | น. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ . |
สนธิ | การเปลี่ยนแปลงเสียงซึ่งเกิดจากการเชื่อมเสียง ๒ เสียง ที่อยู่ชิดกันให้กลมกลืนกัน ในภาษาบาลีและสันสกฤตมีพยัญชนะสนธิ เช่น ทุส + ชน เป็น ทุรชน สระสนธิ เช่น พจน + อนุกรม เป็น พจนานุกรม และนิคหิตฺสนธิ เช่น เอวํ + เม เป็น เอวมฺเม ในภาษาอื่น ๆ ที่มีวรรณยุกต์เช่นภาษาจีนมีวรรณยุกต์สนธิ เช่น เกี๊ยม + ฉ่าย เป็น เกี่ยมฉ่าย. |
สัทอักษร | (สัดทะอักสอน) น. อักษรและเครื่องหมายที่กำหนดใช้แทนเสียงประเภทต่าง ๆ เช่น สัญลักษณ์แทนเสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายพิเศษแทนการออกเสียงอื่น ๆ. |
อักษรกลาง | (อักสอน-) น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คำตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ. |
อักษรต่ำ | (อักสอน-) น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น คะ ค่ะ ค๋ะ คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ้ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น คาก ค้าก ค๋าก มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ. |
อักษรสูง | (อักสอน-) น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท เช่น ขา ข่า ข้า คำตายพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท เช่น ขะ ข้ะ มี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห. |
เอก, เอก- | เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ว่า ไม้เอก |
เอกโทษ | (เอกโทด) น. คำที่ใช้ไม้เอกแทนไม้โท ในตำแหน่งของบทร้อยกรองที่บังคับให้ใช้ไม้เอก โดยคงเสียงวรรณยุกต์เดิม เช่น เค่า แทน เข้า, ท่า แทน ถ้า. |